[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
30 เมษายน 2567 11:35:38 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ชัมบาลา : บทที่ ๔ ความกลัวกับความไม่หวาดหวั่น  (อ่าน 1401 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 8.0 Firefox 8.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 22 พฤศจิกายน 2554 12:05:22 »





ชัมบาลา : บทที่ ความกลัวกับความไม่หวาดหวั่น

" การยอมรับถึงความกลัวใช่ว่าจะทำให้รู้สึกหดหู่
หรือท้อแท้ เพราะด้วยเหตุที่เรามีความกลัวเช่นนี้อยู่

เราจึงยังมีศักยภาพที่จะเข้าถึงความไม่หวาดหวั่น
อยู่ในตัวด้วย ความไม่หวาดหวั่นที่แท้จริงนั้นมิใช่การ
ลดทอนความกลัวลง แต่เป็นการขึ้นอยู่เหนือความกลัวนั้น "

......ในการที่จะเข้าถึงความไม่หวาดหวั่นได้ จำเป็นที่จะต้องประสบกับความกลัวเสียก่อน แก่นของความขลาดอยู่ตรงที่การไม่ยอมรับการมีอยู่จริงของความกลัว ความกลัวนั้นอาจปรากฎขึ้นในหลายรูปแบบ โดยมีเหตุผลแล้ว เรารู้ว่าเราไม่อาจมีชีวิตอยู่ชั่วกาลนาน เรารู้ว่าเราจะต้องตายสักวันหนึ่ง ดังนั้นเราจึงรู้สึกกลัว เราหวาดหวั่นต่อความตาย ในอีกระดับหนึ่งเรากลัวว่าเราจะไม่สามารถจัดการกับปัญหาของโลกนี้ได้ ความกลัวชนิดนี้แสดงออกมาในความรู้สึกด้อย รู้สึกว่าตนเองไม่เก่ง เรารู้สึกว่าชีวิตของเรานี้ไร้หวัง และการต้องเผชิญกับโลกทั้งโลกยิ่งเป็นสิ่งพรึงเพริด ซึ่งอุบัติขึ้น เมื่อมีสถานการณ์ใหม่ ๆ เกิดขึ้นกับชีวิตอย่างกะทันหัน เมื่อเรารู้สึกว่าเราไม่สามารถจัดการกับมัน เราก็เต้นแร้งเต้นกาหรือไม่ก็สั่นสะท้าน บางครั้งความกลัวก็สำแดงออกมาในรูปของความกระวนกระวาย ขีดเขียนอะไรเล่นในแผ่นกระดาษ ประสานมือไขว้นิ้วเล่นหรือนั่งอยู่ไม่เป็นสุขบนเก้าอี้ เรารู้ว่าเราต้องเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา เหมือนดังเครื่องรถยนต์ ลูกสูบเครื่องที่ขึ้น-ลง ขึ้น-ลง ตราบใดที่ลูกสูบเคลื่อนที่ เราก็รู้สึกมั่นคงปลอดภัย มิเช่นนั้นเราก็คงกลัวลนลาน และอาจหัวใจวายตายไปตรงนั้น
 
......มีกลวิธีอยู่มากมายที่เราใช้เพื่อดึงใจออกจากความกลัว บางคนก็ใช้ยาระงับประสาท บางคนก็ทำโยคะ บางคนก็ดูโทรทัศน์หรืออ่านนิตยสารหรือไปดื่มเบียร์ที่ร้านเหล้า จากทัศนะของคนขลาด ความเบื่อหน่ายเป็นสิ่งที่ต้องหลีกเลี่ยง เพราะเมื่อเรารู้สึกเบื่อเราจะเริ่มรู้สึกวิตกกังวล เราเริ่มเขยิบเข้าใกล้ความกลัวเข้าไปทุกที สิ่งบันเทิงใจต่าง ๆ ล้วนได้รับการต้อนรับ และความคิดใดๆ เกี่ยวกับความตายล้วนเป็นสิ่งพึงหลีกเลี่ยง ดังนั้นคนขลาดจึงพยายามใช้ชีวิตอยู่ดังประหนึ่งว่าความตายนั้นเป็นสิ่งไม่มีอยู่ มีบางยุคสมัยในประวัติศาสตร์ซึ่งมีคนอยู่ไม่น้อยผู้แสวงหายาอายุวัฒนะ เนิ่นนานก่อนที่เขาจะมีอายุครบพันปี เขาอาจจะพากันฆ่าตัวตายไปเสียก่อน และถึงแม้ว่าคุณอาจมีชีวิตอยู่ชั่วนิรันดร์คุณก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงสัจจะแห่งมรณะ และความทุกข์ของผู้คนที่แวดล้อมคุณอยู่
 
......ความกลัวเป็นสิ่งที่ต้องยอมรับ เราจำเป็นต้องประจักษ์ถึงความกลัวของเราและเชื่อมโยงตัวเองเข้ากับมัน เราจะต้องสำรวจดูตัวเองว่าเราเคลื่อนไหวอย่างไร พูดคุยอย่างไร ประพฤติปฎิบัติเช่นไร กัดเล็บอย่างไรและบางครั้งก็เอามือล้วงกระเป๋าโดยไม่จำเป็น เมื่อนั้นเราจะค้นพบว่าความกลัวสำแดงตนออกมาอย่างไรในรูปของความกระวนกระวาย เราจะต้องเผชิญกับความจริงที่ว่าความกลัวนั้นห้อมล้อมชีวิตของเราอยู่ตลอดเวลาและในทุกสิ่งที่เรากระทำ
 
......อีกนัยหนึ่ง การยอมรับถึงความกลัวใช่ว่าจะทำให้รู้สึกหดหู่หรือท้อแท้ เพราะด้วยเหตุที่เรามีความกลัวเช่นนี้อยู่ เราจึงยังมีศักยภาพที่จะเข้าถึงความไม่หวาดหวั่นอยู่ด้วยในตัว ความไม่หวาดหวั่นที่แท้จริงนั้น มิใช่การลดทอนความกลัวลง แต่เป็นการขึ้นอยู่เหนือความกลัวนั้น ทว่าโชคร้ายที่ในภาษาอังกฤษนั้นเราไม่มีคำเฉพาะซึ่งหมายถึงสิ่งนี้ คำว่า "fearlessness" นับว่ามีความหมายใกล้เคียงที่สุด แต่โดยคำว่า "fearless" เรามิได้หมายถึงว่า "กลัวน้อย" (less fear) หากหมายถึง "อยู่เหนือความกลัว" (beyond fear)
 

......การขึ้นอยู่เหนือความกลัวเริ่มขึ้นเมื่อเราพิจารณาดูความกลัวของเรา เฝ้าดูความวิตกกังวล ความทุรนทุราย และความกระวนกระวายของตน ถ้าเราจ้องมองเข้าไปในความกลัว ถ้าเรามองทะลุลงไปใต้พื้นผิวของมัน สิ่งแรกที่เราพบก็คือความเศร้า ซึ่งซ่อนเร้นอยู่ใต้ความทุรนทุรายนั้น ความทุรนทุรายนั้นเป็นอาการผิดปกติ มันดำเนินไปและสั่นไหวอยู่ตลอดเวลา เมื่อเราทำตัวให้เนิบช้าลง เมื่อเราผ่อนคลายจากความกลัว เราจะพบความเศร้าซึ่งสงบและอ่อนโยนยิ่ง ความเศร้านี้สะเทือนใจคุณ และร่างกายก็ขับน้ำตาออกมา ก่อนที่คุณจะร้องไห้มีความรู้สึกวูบอยู่ในทรวงอก ครั้นแล้วคุณก็หลั่งน้ำตาออกมา คุณแทบจะหลั่งมันออกมามากมายดังสายฝนหรือธารน้ำตกทีเดียว คุณรู้สึกเศร้าและเหงาหงอยยิ่งขณะเดียวกันก็รู้สึกโรแมนติคด้วย นั่นคือเงื่อนปมรกของความไม่หวาดหวั่นและเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นนักรบที่แท้ คุณอาจคิดเอาเองว่า เมื่อคุณเข้าถึงความไม่หวาดหวั่น คุณคงจะได้ยินเสียงซิมโฟนีหมายเลข 5 ของปีโทเวน หรือ ได้เห็นระเบิดก้องในท้องฟ้า แต่อัศจรรย์เหล่านั้นจะไม่มีอุบัติขึ้น ตามแนวทางของซัมบาลา การค้นพบถึงความไม่หวาดหวั่นย่อมอุบัติขึ้นจากการกระทำการร่วมกับความอ่อนโยนในหัวใจของมนุษย์
 
......กำเนิดของนักรบนั้นคล้ายดั่งเขากวางเรนเดียร์ที่เพิ่งงอก หะแรกเขาของมันที่นุ่มนิ่มดั่งยาง มีขนอ่อนขึ้นอยู่บนนั้นด้วย นั่นยังมิใช่เขาแต่เป็นเพียงปุ่มปมที่มีเลือดหล่อเลี้ยงอยู่ในนั้น ครั้นพอกวางเรนเดียร์มีอายุมากขึ้น เขาก็แข่งแกร่งขึ้นตามวัย แตกกิ่งออกสี่กิ่งบ้างจนถึงสี่สิบก็มี ความไม่หวาดหวั่นนั้นเริ่มแรกคล้ายดังเขาอ่อนนุ่ม ๆ เหล่านั้น มันดูคล้ายเขาก็จริงแต่ไม่สามารถใช้มันเป็นอาวุธต่อสู้ได้ เมื่อกวางเริ่มงอกเขาอ่อน มันก็ไม่รู้ว่าจะใช้เขานั้นทำอะไร คุณคงต้องรู้สึกเคอะเขินมากที่เดียวที่ต้องมีปุ่มปมนุ่ม ๆ งอกอยู่บนหัว แต่ในไม่ช้ากวางจะเริ่มตระหนักได้ว่ามันจะต้องมีเขาและเขานั้นเป็นธรรมชาติส่วนหนึ่งของการเป็นกวาง ในทำนองเดียวกันเมื่อมนุษย์เริ่มให้กำเนิดแก่ดวงใจอันอ่อนโยนของนักรบเป็นคราแรก เขา(ไม่ว่าชายหรือหญิง) ย่อมรู้สึกเคอะเขินอย่างบอกไม่ถูก เต็มไปด้วยความไม่แน่ใจว่าจะสัมพันธฺกับความไม่หวาดหวั่นชนิดนี้อย่างไร แต่แล้วเมื่อคุณได้สัมผัสรับรู้ถึงความเศร้าชนิดนี้มากขึ้นเป็นลำดับ คุณจะประจักษ์แจ้งแก่ใจว่ามนุษย์นั้นควรจะต้องมีความอ่อนโยนและเปิดกว้าง ดังนั้นจึงไม่จำเป็นที่คุณจะต้องรู้สึกอายหรือเคอะเขินต่อความเป็นคนอ่อนโยนเลย แท้ที่จริงความอ่อนโยนของคุณเริ่มจะกลายเป็นความกรุณาไปเสียแล้ว คุณเริ่มอยากที่จะเข้าหาผู้อื่นและสื่อสารกับเขา
 
......เมื่อความอ่อนโยนพัฒนาไปตามแนวทางนั้น เมื่อนั้นแหละที่คุณอายแลเห็นคุณค่าของโลกรอบ ๆ ตัวอย่างแท้จริง สัมผัสและการรับรู้กลายเป็นสิ่งที่น่าสนใจยิ่ง คุณได้กลายเป็นความอ่อนโยนและความเปิดกว้างไปเสียแล้ว จนคุณต้องเปิดออกสู้สิ่งต่าง ๆ รอบ ๆ ตัวไปโดยปริยาย เมื่อคุณเห็นสีแดงหรือเขียว เหลืองหรือดำ คุณก็ตอบสนองออกไปจากก้นบึ้งของหัวใจ เมื่อคุณเห็นใครบางคนร้องไห้หรือหัวเราะหรือหวาดกลัว คุณก็ตอบสนองไปอย่างเหมาะสม จากจุดนี้เอง ความไม่หวาดหวั่นในระดับรากฐานก็ได้คลี่คลายไปสู่ความเป็นนักรบ เมื่อคุณเริ่มรู้สึกที่จะเป็นคนอ่อนโยนและสุภาพอย่างปล่อยวางตามสบาย เขากวางเรนเดียร์ของคุณก็จะมิใช่เขาอ่อนที่มีขนอยู่อีกต่อไป หากมันได้กลายเป็นเขาที่แท้จริง สภาพการณ์ต่าง ๆ กลับกลายเป็นของจริงและจริงยิ่ง อีกแง่มุมหนึ่งก็กลับเป็นสิ่งธรรมดาสามัญยิ่งเช่นกัน ความกลัวคลี่คลายมาเป็นความไม่หวาดหวั่นโดยธรรมชาติ เป็นไปอย่างง่าย ๆ และตรงไปตรงมายิ่ง
 
......อุดมคติของความเป็นนักรบก็คือจะต้องมีใจเศร้าและอ่อนโยนและด้วยเหตุนั้นเอง นักรบจึงองอาจกล้าหาญยิ่ง หากปราศจากใจเศร้าเช่นนั้นแล้ว ความกล้าหาญก็จะกลับกลายเป็นสิ่งเปราะบางยิ่ง เหมือนดังถ้วยกระเบื้อง ถ้าคุณทำตก มัานก็จะแตกกระจายหรือบิ่นร้าว แต่ความกล้าของนักรบนั้นเปรียบประดุจดังถ้วยเขิน ซึ่งมีไม้เป็นแกนเคลือบด้วยยางรัก ถ้าทำถ้วยเขินตก มันก็จะกระดอนแทนที่จะแตก มันมีทั้งความอ่อนนุ่มยืดหยุ่นและแข็งแกร่งในขณะเดียวกัน


Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
คำค้น: Shambhala : The Sacred Path of the Warrior เชอเกียม ตรุงปะ รินโปเช 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
ชัมบาลา : บทที่ ๒ ค้นหารากฐานแห่งความดีงาม
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
เงาฝัน 0 1634 กระทู้ล่าสุด 21 พฤศจิกายน 2554 11:44:11
โดย เงาฝัน
ชัมบาลา : บทที่ ๓ ใจเศร้าที่แท้จริง
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
เงาฝัน 0 1758 กระทู้ล่าสุด 22 พฤศจิกายน 2554 11:24:44
โดย เงาฝัน
ชัมบาลา : บทที่ ๕ ประสานจิตกับกาย
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
เงาฝัน 0 1339 กระทู้ล่าสุด 22 พฤศจิกายน 2554 12:54:28
โดย เงาฝัน
ชัมบาลา : บทที่ ๖ รุ่งอรุณแห่งอาทิตย์อุทัยอันยิ่งใหญ่
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
เงาฝัน 0 1825 กระทู้ล่าสุด 22 พฤศจิกายน 2554 13:40:45
โดย เงาฝัน
ชัมบาลา : บทที่ ๗ รังดักแด้
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
เงาฝัน 0 1233 กระทู้ล่าสุด 22 พฤศจิกายน 2554 15:46:08
โดย เงาฝัน
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.36 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 19 มีนาคม 2567 01:14:20