[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
30 เมษายน 2567 07:31:57 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ชัมบาลา : บทที่ ๕ ประสานจิตกับกาย  (อ่าน 1339 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 8.0 Firefox 8.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 22 พฤศจิกายน 2554 12:54:28 »





ชัมบาลา : บทที่ ประสานจิตกับกาย

" การประสานจิตกับกายเข้าด้วยกันมิใช่เป็นเพียง
ความคิดหรือเป็นวิธีการอันไร้แบบแผน ที่ผู้ใดผู้หนึ่ง
คิดขึ้นมาเพื่อใช้ปรับปรุงตนเอง ทว่ามันคือหลักการณ์
พื้นฐานของความเป็นมนุษย์
และการใช้ผัสสะ ใช้จิตและกายอย่างสอดคล้องกัน"

......การสำแดงออกแห่งความดีงามพื้นฐานนั้น ย่อมมีส่วนสัมพันธ์กับความอ่อนโยนอยู่เสมอ ความอ่อนโยนนั้นมิใช่อ่อนปวกเปียก นุ่ม ๆ นิ่มๆหรือมากจนเลื่ยน ทว่าเป็นความอ่อนโยนที่เต็มเปี่ยมและสง่าผ่าเผย ความอ่อนโยนในที่นี้เกิดขึ้นจากการที่ได้เข้าถึงภาวะที่ปราศจากความลังเลสงสัย ซึ่งก็คือความชัดเจนนั่นเอง การปราศจากความลังเลสงสัยนี้ไม่เกี่ยวกับ การยอมรับถึงแนวความคิดหรือหลักปรัชญา มันไม่ใช่การที่คุณจะถูกชักจูงเกลี้ยกล่อมให้เข้าร่วมสงครามศาสนา จนกระทั่งคุณเริ่มปราศจากความสงสัยในความเชื่อของตนเอง เรามิได้กำลังพูดถึงผู้คนที่ปราศจากความสงสัยซึ่งได้กลายเป็นพวกบ้าศาสนา ซึ่งพร้อมที่จะเสียสละตนเองเพื่อความเชื่อ การไร้ความสงสัยนี้ก็คือความเชื่อมั่นในหัวใจของตนเอง เชื่อมั่นตนเอง การปราศจากความสงสัยนี้หมายความว่า คุณได้เชื่อมโยงเข้ากับตนเอง คือการที่คุณได้เข้าถึงการประสานกายกับจิตเข้าด้วยกัน เมื่อจิตกับกายเชื่อมโยงเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เมื่อนั้นเองที่ความสงสัยได้สิ้นสุดลง
 
.....การประสานจิตกับกายเข้าด้วยกันมิใช่เป็นเพียงความคิดหรือเป็นวิธีการอันไร้แบบแผน ที่ผู้ใดผู้หนึ่งคิดขึ้นมาเพื่อใช้ปรับปรุงตนเอง ทว่ามันคือหลักการพื้นฐานของความเป็นมนุษย์และการใช้ผัสสะ ใช้จิตและกายอย่างสอดคล้องกัน ร่างกายนั้นเปรียบเสมือนกล้องถ่ายรูป และจิตนั้นเหมือนฟิล์มที่อยู่ในกล้อง ปัญหาอยู่ที่ว่า คุณจะใช้มันร่วมกันอย่างไร เมื่อขนาดความกว้างของรูกล้องและความเร็วชัตเตอร์ได้ถูกกำหนดอย่างเหมาะสมอย่างสอดคล้องกับ ความไวแสงของฟิล์มที่อยู่ภายใน เมื่อนั้นคุณก็อาจถ่ายได้ภาพที่ดีและคมชัด เพราะเหตุที่คุณได้ประสานกันอย่างเหมาะเจาะสอดคล้อง เมื่อนั้นคุณก็จะมีการรับรู้ที่แจ่มชัดจะเกิดความรู้สึกแน่แก่ใจขึ้นมา ปราศจากความหวาดหวั่นแกว่งไกวและการมองอย่างแคบ ๆ อันมีความวิตกกังวลเป็นสาเหตุ ซึ่งทำให้พฤติกรรมของคุณสับสนเลอะเลือนยิ่ง .
 
.....เมื่อกายและจิตไม่บรรสานกัน บางครั้งจิตของคุณสั้นแต่ร่างกายกลับยาว หรือบางครั้งจิตของคุณยาว ทว่าร่างกายกลับสั้น เมื่อนั้นคุณก็จะเต็มไปด้วยความลังเล แม้แต่จะหยิบจับแก้วน้ำสักใบหนึ่ง บางครั้งคุณอาจจะเอื้อมยาวเกินไป และบางครั้งคุณก็เอื้อมไปไม่ไกลพอ คุณก็ไม่สามารถหยิบถือแก้วน้ำไว้ได้ เมื่อจิตและกายไม่บรรสานกัน เมื่อนั้นแม้ว่าคุณยิงธนูก็ยิงไม่ถูกเป้า แม้ว่ากำลังเขียนอักษรจีน แม้แต่จุ่มพู่กันลงในหินฝนหมึกก็ไม่ตรงเสียแล้ว อย่าพูดถึงการตวัดพู่กันอย่างมีพลังเลย .
 
.....การประสานกายกับจิตยังเกี่ยวพันไปถึงว่าเราได้สัมพันธ์กับโลกอย่างไรด้วย เกี่ยวพันไปถึงว่าเรากระทำการร่วมกับโลกอย่างไร กระบวนการนี้อยู่สองขั้นตอน ซึ่งเราอาจเรียกว่าการมองและการเห็น เราอาจจะพูดถึงการฟังและการได้ยินหรือการสัมผัสและการรู้สึกด้วยก็ได้ แต่ดูจะง่ายดายกว่าที่จะอธิบายกระบวนการอันสอดคล้องนี้ด้วยจักษุประสาท "การมองดู" เป็นอาการในขั้นแรก และถ้าหากคุณมีความลังเลสงสัยอยู่ ก็จะมีความหวาดหวั่นไม่มั่นคงเข้ามาแทรก คุณเริ่มมองดู ครั้นแล้วก็รู้สึกหวั่นไหว หรือกระวนกระวายเพราะเหตุที่คุณไม่เชื่อมั่นในสายตาของตนเอง ดังนั้น บางครั้งคุณจึงอยากที่จะหลับตาเสีย คุณไม่ปรารถนาจะมองต่อไปอีก แต่ประเด็นกลับอยู่ตรงที่ว่าคุณจะต้องแลดูต่อไปให้ถี่ถ้วน มองดูสีสันของมัน ขาว ดำ ฟ้า เหลือง แดง เขียว หรือม่วง แลดูต่อไป นี่คือโลกของคุณ คุณไม่อาจเพิกเฉยได้ ไม่มีโลกอื่นนอกไปจากนี้ นี่คือโลกของคุณ คือของประทานสำหรับคุณ คุณเป็นทายาทของสิ่งเหล่านี้ คุณรับมรดกลูกนัยน์ตานี้มา คุณสืบทอดโลกแห่งสีสันนี้มา จงมองดูความยิ่งใหญ่ของสรรพสิ่ง มองดูซิ อย่าได้ลังเล มองดู เปิดตาออกอย่ากระพริบ และแลดู ดู ดูให้ชัด
 
.....เมื่อนั้นคุณอาจ "เห็น" บางสิ่งบางอย่าง ซึ่งนั่นเป็นขั้นตอนทีสองยิ่งมองดูมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งเริ่มรู้สึกอยากเห็นมากขึ้นเท่านั้น ก็ยิ่งอยากจะมองให้มากขึ้น กระบวนการในการมองของคุณไม่จำเป็นจะต้องจำกัดเอาไว้ เพราะเหตุที่คุณเป็นสิ่งแท้ คุณอ่อนโยน ไม่มีอะไรจะต้องสูญเสีย และไม่จำเป็นที่จะต้องต่อสู้เพื่อครอบครองสิ่งใดไว้ คุณอาจมองดูได้มาก ๆ อาจมองได้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป และอาจเห็นได้อย่างงดงาม ที่จริง คุณอาจรู้สึกได้ถึงความอบอุ่นของสีแดงและความเย็นฉ่ำของสีฟ้า รู้สึกได้ถึงความจัดจ้าของสีเหลือง ความแหลมคมของสีเขียว รู้สึกได้พร้อม ๆ กันในทันทีนั้น คุณอาจรู้สึกถึงคุณค่าของโลกรอบๆตัว มัานคือการค้นพบอย่างใหม่อันมหัศจรรย์เกี่ยวกับโลก คุณอาจจะอยากสำรวจตรวจค้นไปในจักรวาลอันกว้างใหญ่
 
.....บางครั้ง เมื่อเรารับรู้โลก เรารับรู้โดยปราศจากภาษา เรารับรู้จากเนื้อตัวโดยตรง โดยระบบการสื่อสารที่ปราศจากภาษา แต่ในบางครั้งเมื่อยามเรายลโลก แวบแรกเราก็คิดถึงถ้อยคำ ครั้นแล้วจึงสัมผัสรับรู้ พูดอีกนัยหนึ่งอย่างแรกคือการสัมผัสรับรู้ถึงจักรวาลโดยตรง ส่วนอย่างหลังคือการบอกตัวเองให้มองดูจักรวาลของเราเอง ดังนั้นไม่ว่าคุณจะมองดูและสามารถแลเห็นเหนือภาษาขึ้นไป ในชั่วขณะแห่งสัมผัสแรก หรือคุณจะแลเห็นโลกผ่านม่านความคิดของตนโดยการพูดกับตนเอง ทุกผู้คนย่อมรู้ดีว่าการสัมผัสโดยตรงนั้นเป็นอย่างไร ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์อันแรงกล้า ตัณหาหรือความก้าวร้าวและความอิจฉาริษยา ล้วนเป็นสิ่งที่ปราศจากภาษาทั้งสิ้น มันอุบัติขึ้นมาอย่างแรงกล้าในชั่วแวบแรก ครั้นแล้ว คุณก็เริ่มคิดถึงมันโดยใจ "ฉันเกลียดคุณ" หรือ "ฉันรักคุณ" หรือ พูดว่า "ฉันรักคุณได้มากเพียงนั้นเทียวหรือ" มีการพูดคุณโต้ตอบเกิดขึ้นในจิตใจของคุณ
 
.....การประสานกายและจิตคือการมองดูและแลเห็นโดยตรง อันอยู่พ้นภาษาขึ้นไป ทั้งนี้มิใช่เพราะเราดูแคลนภาษา แต่ด้วยเหตุที่การโต้ตอบภายในของคุณนั้นกลับกลายเป็นการพูดจานินทาของจิตใต้สำนึก คุณสร้างบทกวีและความเพ้อฝันขึ้นมา คุณสร้างคำสบถสาบานของตนเองขึ้น คุณเริ่มการสนทนาระหว่างตนกับตัวเอง กับคนรัก และกับครู ทั้งหมดล้วนเกิดขึ้นในใจ แต่อักนัยหนึ่ง เมื่อไหร่ที่คุณรู้สึกว่าคุณสามารถผ่อนคลายลงและรับรู้โลกได้โดยตรง เมื่อนั้นญาณทัศนะของคุณก็จะแผ่ขยายออกไป กว้างขึ้น กว้างขึ้น และคุณจะแลเห็นว่าโลกนี้เต็มไปด้วยสีสันและความสดใหม่ทั้งยังเที่ยงตรงยิ่ง แง่มุมอันคมชัดของมันช่างเป็นสิ่งมหัศจรรย์
 
.....ในทำนองนั้นเอง การประสานกายกับจิตเข้าด้วยกันจึงเป็นสิ่งที่สัมพันธ์กับการเติบใหญ่ไปสู่ภาวะของความไม่หวาดหวั่นด้วย พูดถึงความไม่หวาดหวั่นนี้ เรามิได้หมายถึงการกระทำดังเช่นการกระโดดลงมาจากหน้าผา หรือเอานิ้วแหย่เข้าไปในเตาไฟ หากแต่ความไม่หวาดหวั่นในที่นี้ หมายถึงความสามารถที่จะตอบสนองอย่างเที่ยงตรงต่อโลกแห่งปรากฎการณ์ทั้งมวล มันหมายเพียงการสัมพันธ์อย่างชัดเจนและตรงไปตรงมากับโลกแห่งปรากฎการณ์ โดยอาศัยสัมผัสรับรู้ของคุณ โดยอาศัยจิตและญาณทัศนะ ญาณทัศนะอันปราศจากความกลัวนั้นย่อมสะท้อนให้เห็นอยู่ในตัวคุณด้วย มันส่งผลให้คุณมองตัวเองอย่างไร ถ้าคุณมองดูตัวเองในกระจกเงา มองดูผมเผ้า ดูฟัน ดูหนวด ดูเสื้อคลุม เสื้อเชิร์ต ดูเนคไท ดูชุดเสื้อผ้า ดูสร้อยมุกและตุ้มหู คุณย่อมและเห็นว่ามันล้วนดำรงอยู่ที่นั่น ทั้งตัวคุณเองก็ดำรงอยู่ที่นั่น ดังที่ตัวเองเป็น คุณจะเริ่มตระหนักได้ว่าคุณมีสิทธิอันชอบธรรมที่จะดำรงอยู่ในจักรวาลนี้ ที่จะเป็นอย่างนี้ ทั้งคุณจะเห็นด้วยว่ามีความเอื้ออารีพื้นฐานซึ่งโลกนี้มอบให้แก่คุณ คุณได้แลดูและได้เห็น คุณไม่จำเป็นต้องรู้สึกต่ำต้อยหรือเสียอกเสียใจที่ได้เกิดมาบนโลกนี้เลย
 
.....การค้นพบประการนี้เป็นแวบแรกของการหยั่งเห็นที่เรียกว่าอาทิตย์อุทัยอันยิ่งใหญ่ เมื่อเรากล่าวถึงคำว่าดวงอาทิตย์ ในที่นี้เราหมายถึงดวงอาทิตย์แห่งความภาคภูมิสง่างามของมนุษย์ ดวงอาทิตย์แห่งพลังของมนุษย์ ดังนั้นมันจึงหมายถึงรุ่งอรุณหรือการตื่นแห่งคุณค่าศักดิ์ศรีของมนุษย์ คือการอุบัติขึ้นของคุณค่าความเป็นนักรบแห่งมนุษย์ การประสานกายและจิตย่อมนำไปสู่รุ่งอรุณของอาทิตย์อุทัยอันยิ่งใหญ่


Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
คำค้น: Shambhala : The Sacred Path of the Warrior เชอเกียม ตรุงปะ รินโปเช 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
ชัมบาลา : บทที่ ๑ สร้างสังคมอริยะ
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
เงาฝัน 6 4780 กระทู้ล่าสุด 20 พฤศจิกายน 2554 13:04:12
โดย เงาฝัน
ชัมบาลา : บทที่ ๒ ค้นหารากฐานแห่งความดีงาม
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
เงาฝัน 0 1634 กระทู้ล่าสุด 21 พฤศจิกายน 2554 11:44:11
โดย เงาฝัน
ชัมบาลา : บทที่ ๓ ใจเศร้าที่แท้จริง
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
เงาฝัน 0 1758 กระทู้ล่าสุด 22 พฤศจิกายน 2554 11:24:44
โดย เงาฝัน
ชัมบาลา : บทที่ ๔ ความกลัวกับความไม่หวาดหวั่น
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
เงาฝัน 0 1400 กระทู้ล่าสุด 22 พฤศจิกายน 2554 12:05:22
โดย เงาฝัน
ชัมบาลา : บทที่ ๖ รุ่งอรุณแห่งอาทิตย์อุทัยอันยิ่งใหญ่
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
เงาฝัน 0 1825 กระทู้ล่าสุด 22 พฤศจิกายน 2554 13:40:45
โดย เงาฝัน
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.305 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 27 กุมภาพันธ์ 2567 23:43:02