[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
30 เมษายน 2567 11:46:35 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ชัมบาลา : บทที่ ๘ การตัดทอนและความกล้า  (อ่าน 1209 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 8.0 Firefox 8.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 22 พฤศจิกายน 2554 17:11:19 »





ชัมบาลา : บทที่ ๘ การตัดทอนและความกล้า

" สิ่งที่นักรบต้องตัดทอนลงก็คือ สิ่งใดก็ตามในประสบการณ์ของเขา
ซึ่งเป็นเครื่องกั้นขวางระหว่างตัวเขากับผู้อื่น
กล่าวอีกนัยหนึ่ง การตัดทอนนี้กลับช่วย ให้ตนสามารถขึ้น อ่อนโยน
และเปิดกว้างต่อผู้อื่นมากยิ่งขึ้น "

......สภาพการณ์แห่งความกลัวซึ่งดำรงอยู่ในชีวิตของเราย่อมคล้ายดังขั้นบันไดให้เราก้าวขึ้นอยู่เหนือความกลัว อีกด้านหนึ่งของความขลาดก็คือความกล้า ถ้าเราก้าวไปได้อย่างเหมาะสม เราก็อาจข้ามพ้นจากขอบเขตของความขลาดไปสู่ความกล้า เราคงไม่อาจค้นพบความกล้าได้ในทันทีแต่ทว่าเราอาจพบความอ่อนโยนอันหวั่นไหว ซึ่งอยู่พ้นจากความกลัวขึ้นไป เราก็ยังคงตัวสั่นระรัวอยู่ แต่ยังมีความอ่อนโยนอยู่ แทนที่จะเป็นความตระหนกตกใจ
 
......ในความอ่อนโยนนั้นมีส่วนผสมของความเศร้ารวมอยู่ด้วย ดังที่เราได้เคยอภิปรายกันมาแล้ว มันมิใช่ความเศร้าอันเกิดจากการสงสารตัวเองหรือ ความรู้สึกสูญเสีย แต่มันเป็นภาวการณ์ตามธรรมชาติอันเต็มเปี่ยม คุณรู้สึกเต็มเปี่ยมและรุมรวยยิ่ง ดังว่าคุณแทบจะหลั่งน้ำตาออกมาทีเดียว ดวงตาของคุณจะเอ่อล้นด้วยอัสสุชล และเมื่อคุณกระพริบ หยาดน้ำตาก็จะหยดไหลลงมาตามแก้ม ในการที่จะเป็นนักรบที่ดีได้นั้น เราจำเป็นต้องรู้สึกได้ถึงดวงใจอันแสนอ่อนโยนนี้ ถ้าหากว่าคนมิได้รู้สึกเดียวดายและเศร้าสร้อย เขาก็มิอาจเป็นนักรบได้เลย นักรบนั้นย่อมอ่อนไหวต่อทุกภาวะของปรากฏการณ์ ไม่ว่าจะเป็นภาพ กลิ่น เสียง หรือความรู้สึก เขาเป็นผู้ที่เห็นคุณค่าของทุกสิ่งทุกอย่างซึ่งดำเนินอยู่ในโลกของเราดังประหนึ่งที่ศิลปินเป็น ประสบการณ์ของเขาเต็มเปี่ยมและชัดเจนยิ่ง เสียงใบไม้ไหวและเสียงฝนตกต้องเสื้อคลุมของเขาล้วนได้ยินชัดเจนยิ่ง ทั้งผีเสื้อที่เผอิญมาบินเวียนว่อนอยู่รอบ ๆ ตัวเขา ก็แทบจะเป็นสิ่งที่ทนทานไม่ได้ เพราะเหตุที่เขาเป็นคนอ่อนไหวยิ่ง และในการที่เขาเป็นคนอ่อนไหวนี้เอง นักรบย่อมอาจก้าวล่วงไปในหนทางแห่งการขัดเกลาตนเอง เขาเริ่มที่จะเรียนรู้ถึงความหมายของการตัดทอน
 
.....ตามความเข้าใจโดยทั่ว ๆ ไปแล้ว การตัดทอนนี้ถูกถือเป็นเรื่องของการบำเพ็ญพรต คุณย่อมสละละความสนุกสนานฝ่ายโลกและหันไปถือพรตบำเพ็ญธรรม เพื่อที่จะเข้าถึงความหมายในด้านสูงของการดำรงอยู่ สิ่งที่นักรบต้องตัดทอนลงก็คือ สิ่งใดก็ตามในประสบการณ์ของเขาซึ่งเป็นเครื่องกั้นขวางระหว่างตัวเขากับผู้อื่น กล่าวอีกนัยหนึ่ง การตัดทอนนี้กลับช่วยให้ตนสามารถขึ้น อ่อนโยนและเปิดกว้างต่อผู้อื่นมากยิ่งขึ้น ความลังเลใด ๆ ในอันที่จะเปิดตัวเองต่อผู้อื่นได้ถูกขจัดออกไป คุณย่อมตัดทอนความเป็นส่วนตัวของคุณเพื่อผู้อื่น
 
.....ความจำเป็นที่จะต้องตัดทอนจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อ คุณเริ่มรู้สึกว่าความดีงามพื้นฐานนี้เป็นสมบัติส่วนตัว แน่นอน คุณไม่อาจถือเอาความดีงามพื้นฐานมาเป็นสมบัติส่วนตัวได้ ด้วยมันเป็นกฎเกณฑ์ความเป็นไปของโลก ซึ่งไม่มีทางครอบครองเป็นส่วนบุคคล มันเป็นญาณทัศนะอันยิ่งใหญ่ ยิ่งใหญ่กว่าอาณาเขตหรือแผนการณ์ส่วนตน ยิ่งไปกว่านั้น บางครั้งคุณยังพยายามที่จะแลหาความดีงามพื้นฐานภายในตน คุณคิดว่าคุณอาจฉวยเอาความดีงามพื้นฐานมาได้สักหยิบมือหนึ่งและเก็บมันไว้ในกระเป๋า ดังนี้เอง ความคิดเรื่องความเป็นส่วนตัวจึงเริ่มคืบคลานเข้ามา ตรงจุดนี้เองที่คุณจำต้องมีการตัดทอน-ตัดทอนสิ่งเร้าให้เข้าครอบครองความดีงามพื้นฐาน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องละเสียซึ่งความรู้สึกเป็นหมู่เหล่า หากจะต้องยอมรับถึงความเป็นสากลแทนที่
 
.....การตัดทอนนี้ยังจำเป็นในกรณีที่คุณรู้สึกตกใจจากญาณทัศนะของอาทิตย์อันยิ่งใหญ่ เมื่อคุณประจักษ์ว่าอาทิตย์อุทัยอันยิ่งใหญ่นั้นแผ่กว้างไพศาลและงดงามเพียงใด ในบางครั้งคุณอาจรู้สึกท่วมท้นเกินไป คุณรู้สึกว่าต้องการที่หลบซ่อนเล็ก ๆ จากความตื่นกลัวนั้น คุณต้องการหลังคาคุ้มหัว ต้องการอาหารสามเวลา คุณพยายามที่จะสร้างรังเล็กๆบ้านเล็กๆขึ้นมา เพื่อบรรจุหรือกำบังคุณไว้จากสิ่งที่ได้เห็น เพราะสิ่งนั้นดูกว้างใหญ่ไพศาลเกินไป ดังนั้นคุณจึงอยากจะถ่ายรูปอาทิตย์อุทัยอันยิ่งใหญ่ เพื่อเก็บไว้เตือนความจำ แทนที่จะออกเดินทางเข้าหาแสงสว่างโดยตรง หลักการของการตัดทอนก็คือการปฏิเสธความใจแคบชนิดนั้น
 
......การนั่งสมาธิย่อมเอื้อให้เกิดสภาพแวดล้อมอันวิเศษสุดสำหรับพัฒนาการตัดทอนขึ้นมา ในการทำสมาธิภาวนานั้น ในขณะที่คุณเฝ้าดูลมหายใจ คุณย่อมถือเอาความคิดใด ๆ ที่ผุดขึ้นมาว่าเป็นเพียงกระบวนการทางความคิดของตนเท่านั้น คุณไม่ได้ติดยึดกับความคิดใด และคุณก็ไม่ได้ประณามหรือชื่นชมมัน ความคิดซึ่งอุบัติขึ้นในขณะนั่งสมาธิถือเป็นเพียงอุบัติการณ์ตามธรรมชาติเท่านั้น และในขณะเดียวกันมันก็มิได้มีคุณค่าพิเศษอย่างใด คำจำกัดความพื้นฐานของสมาธิก็คือ "การมีจิตใจที่สงบมั่น" ในการปฏิบัติสมาธินั้น เมื่อความคิดพุ่งขึ้น คุณก็มิได้พุ่งขึ้นด้วย และก็มิได้ลดต่ำลง เมื่อความคิดลดต่ำ คุณเพียงแต่เฝ้ามองยามเมื่อความคิดขึ้นและลง ไม่ว่าความคิดของคุณจะดีหรือชั่ว ตื่นเต้นหรือน่าเบื่อหน่าย งดงามหรือร้ายกาจ คุณเพียงแต่ปล่อยให้มันเป็นไป คุณไม่จำเป็นต้องยอมรับความคิดบางอย่างและปฏิเสธบางอย่าง คุณมีความรู้สึกถึงพื้นที่ว่างอันกว้างใหญ่ซึ่งอาจห่อหุ้มความคิดใด ๆ ที่อุบัติขึ้นมาไว้ภายในนั้น
 
......กล่าวอีกนัยหนึ่ง ในการปฏิบัติสมาธินั้นคุณอาจสัมผัสได้ถึงความรู้สึกของการดำรงอยู่ หรือความเป็น ซึ่งรวมความคิดเข้าไว้ด้วย ทว่าไม่ได้ถูกกำหนดหรือกำจัดไว้ด้วยกระบวนการทางความคิด คุณสัมผัสได้ถึงความคิดของคุณ คุณเรียกมันว่า "ความคิด" และคุณก็กลับมาสู่ลมหายใจอีก หายใจออก กระจายออกไป และเลือนหายไปในความว่าง มันธรรมดาสามัญมากแต่ก็ลึกซึ้งมากเช่นกัน คุณได้สัมผัสรับรู้ถึงโลกของตนเองโดยตรง และคุณก็ไม่จำเป็นต้องไปกำจัดการรับรู้นั้นเอาไว้ คุณอาจเปิดออกโดยสิ้นเชิง โดยไม่มีอะไรต้องขัดขืนหรือต้องกลัว ในทำนองนี้คุณก็ได้พัฒนาการตัดทอนพรมแดนของความเป็นส่วนตัวและความใจแคบลง
 
.....ในขณะเดียวกัน การตัดทอนนี้ได้รวมการแบ่งแยกเอาไว้ด้วยภายใต้ความหมายพื้นฐานของความเปิดกว้าง ก็ยังมีหลักเกณฑ์แห่งการขจัดออกไปหรือปฏิเสธ และการปลูกฝังขึ้นมาหรือการยอมรับ หากกล่าวถึงผู้อื่น แต่ในอันที่จะห่วงใยผู้อื่นได้ จำเป็นที่จะต้องปฏิเสธความห่วงใยแต่เพียงตัวเอง หรือนิสัยเห็นแก่ตัวลงเสียก่อน คนเห็นแก่ตัวนั้นเหมือนเต่าที่แบกบ้านของมันไว้บนหลังไม่ว่าจะไปไหน มาถึงบางจุดที่คุณจำเป็นจะต้องละทั้งบ้านนี้ไปและโอบกอดโลกกว้างเอาไว้ นี่คือเงื่อนไขประการแรกอันจำเป็นยิ่งในการที่จะสามารถห่วงใยผู้อื่นได้
 
......การที่จะมีชัยเหนือความเห็นแก่ตัวได้ จำเป็นที่จะต้องกล้า กล้าคล้ายดั่งการที่คุณแต่งชุดว่ายน้ำยืนอยู่บนกระดานโดด เบื้องหน้าคือสระน้ำและคุณก็ถามตัวเองขึ้นว่า "แล้วไงต่อ" คำตอบก็คือ "โดดลงไป" นั่นแหละคือความกล้า คุณอาจสงสัยว่าคุณจะจมน้ำหรือไม่ เจ็บหรือไม่ถ้ากระโดดลงไป แน่นอน มีทางเป็นไปได้ ไม่มีใครอาจรับประกันได้ ทว่าก็มีคุณค่าน่าเสี่ยงพอที่จะกระโดดลงไป เพื่อให้รู้แน่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ผู้ศึกษาการเป็นนักรบจะต้องกระโดดลงไป เราคุ้นเคยกับการยอมรับแต่สิ่งที่เลว และปฏิเสธสิ่งดีสำหรับตัวเอง เราติดพันกับรังดักแด้แรงเกินไป ยึดมั่นอยู่กับความเห็นแก่ตัว แถมยังกลัวความไม่เห็นแก่ตัว กลัวการก้าวหลุดพ้นออกจากตัวเองอีกด้วย ดังนั้นในการที่จะบำราบความลังแลใจในการยอมสละละความเป็นส่วนตัวลง และในการจะเอื้อเฟื้อห่วงใยผู้อื่นได้ จำเป็นจะต้องมีการก้าวกระโดดข้ามไป
 
......ในการปฏิบัติสมาธิซึ่งเป็นหนทางของความกล้า เป็นหนทางของการกระโดด ก็คือการปลดปล่อยความคิดนานาของคุณ คือการก้าวขึ้นพ้นความคาดหวังและความกลัว พ้นการขึ้นและลงของกระบวนการทางความคิด คุณเพียงแต่เป็น เพียงแต่ปล่อยให้ตัวเองเป็น โดยไม่จับยึดอยู่กับข้อเปรียบเทียบซึ่งเป็นผลผลิตของจิตใจ คุณไม่จำเป็นต้องขจัดความคิดออกไป มันเป็นกระบวนการตามธรรมชาติ มันเป็นสิ่งที่ดี จงปล่อยให้มันเป็นไปเช่นนั้นด้วย แต่จงปลดปล่อยตัวเองออกมาพร้อมกับลมหายใจ ปล่อยให้มันกระจายจางไป เฝ้าดูว่ามีสิ่งใดเกิดขึ้นบ้าง เมื่อคุณปล่อยให้ตัวเองเป็นไปอย่างนั้น คุณก็ได้สร้างความเชื่อมั่นในศักยภาพที่จะเปิดออกและขยายขอบเขตของตนออกไปสู่ผู้อื่น คุณจะตระหนักได้ว่าตัวเองนั้นรุ่มรวยและเป็นบ่อเกิดที่สามารถแบ่งปันความไม่เห็นแก่ตัวให้แก่ผู้อื่น คุณจะพบว่าคุณเต็มไปด้วยเจตจำนงอันแรงกล้าที่จะทำดังนั้น
 
......แต่ครั้นแล้ว ครั้งหนึ่งซึ่งคุณกล้ากระโดดไป คุณก็อาจหลงตัวเอง คุณอาจบอกกับตัวเองว่า "ดูซิ ฉันกระโดดแล้ว ฉันช่างยิ่งใหญ่ ช่างกล้าเสียจริง" ทว่า นักรบซึ่งหลงตัวเองนั้นใช้การไม่ได้ ไม่เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นด้วย ดังนั้นการฝึกฝนเพื่อการตัดทอนจึงต้องประกอบด้วยการปลูกฝังความอ่อนโยนให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป เพื่อว่าคุณจะได้นุ่มนวลและเปิดกว้างอันจะช่วยชักนำความอ่อนโยนมาสู่ใจ นักรบซึ่งฝึกการตัดทอนสำเร็จ ย่อมปราศจากความเสแสร้ง เปลือยเปล่าโดยสิ้นเชิง ปราศจากแม้เนื้อเยื่อหรือผิวหนัง เขา กระดูกและไขข้อเปิดออกสู่โลก เขาไม่มีความปรารถนา ทั้งไม่จำเป็นที่จะต้อเข้าไปควบคุมบงการสภาวการณ์ และความเป็นไปต่าง ๆ เขาเพียงสามารถที่จะเป็นอย่างที่เขาเป็นโดยปราศจากความกลัว
 
......มาถึงจุดนี้เอง ในการที่เขาสามารถตัดทอนความสะดวกสบาย ตัดทอนความเป็นส่วนตัวลงได้อย่างสิ้นเชิง โดยนัยกลับกันนักรบจึงรู้สึกโดดเดี่ยวยิ่งขึ้น เขาเป็นเหมือนเกาะแก่งที่ตั้งอยู่โดดเดี่ยวในทะเลสาบ บางครั้งก็มีเรือข้ามฟากและนักเดินทางข้ามไปมาระหว่างเกาะกับฟากฝั่ง แต่ความเป็นไปดังนั้นยิ่งเน้นให้เห็นความโดดเดี่ยวของเกาะชัดขึ้นเป็นทวีคูณ ถึงแม้ว่าชีวิตของนักรบจะอุทิศเพื่อช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น เขากลับตระหนักได้ว่าเขาไม่มีทางที่จะแบ่งปันประสบการณ์ส่วนตนกับผู้อื่นได้ ความเต็มเปี่ยมแห่งประสบการณ์ของเขานั้นเป็นเพียงสมบัติเฉพาะตน และเขาจำเป็นต้องอยู่กับสัจจะของตนเอง กระนั้นก็ดีเขาก็ยิ่งรักโลกนี้มากขึ้น ความรักและความโดดเดี่ยวซึ่งบรรสานอยู่ด้วยกันนี้ คือสิ่งที่ทำให้นักรบยื่นมือเข้าช่วยเหลือผู้อื่นอยู่เป็นนิจ โดยการตัดทอนโลกส่วนตัวลง นักรบได้พบจักรวาลอันยิ่งใหญ่และยิ่งมีดวงใจเจ็บช้ำขึ้นทุกที นี่มิใช่สิ่งที่จะต้องรู้สึกแย่กับมัน ทว่ามันเป็นเหตุให้รื่นเริงยินดี เพราะมันคือ



พระโพธิสัตว์อมิตายุส
ธิเบตเรียก เซ.ลา.นัม.ซุม./ จีนเรียก เชียงซิ่วฮุก
อามิตายุสโพธิสัตว์ มีความหมายว่า อายุสุดประมาณ เป็นพระโพธิสัตว์ที่ประทานอายุวัฒนะ
ท่านทรงเป็นสัมโภคกายของพระอมิตาภะพุทธเจ้า
ภาพอมิตายุสโพธิสัตว์ส่วนใหญ่แล้วจะมีภาพพระโพธิสัตว์อีก 2 องค์ซึ่งเป็นพระโพธิสัตว์
ที่ประทานอายุวัฒนะเช่นกันคือ นำเกียวมาโพธิสัตว์และดาราขาวโพธิสัตว์

คาถาประจำองค์ โอม.อา.มา.รา.นี.จี.เวน.ตา.เย.โซ.ฮา.

- http://www.tairomdham.net/index.php/topic,6633.0.html

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
คำค้น: Shambhala : The Sacred Path of the Warrior เชอเกียม ตรุงปะ รินโปเช 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
ชัมบาลา : บทที่ ๑ สร้างสังคมอริยะ
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
เงาฝัน 6 4780 กระทู้ล่าสุด 20 พฤศจิกายน 2554 13:04:12
โดย เงาฝัน
ชัมบาลา : บทที่ ๒ ค้นหารากฐานแห่งความดีงาม
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
เงาฝัน 0 1634 กระทู้ล่าสุด 21 พฤศจิกายน 2554 11:44:11
โดย เงาฝัน
ชัมบาลา : บทที่ ๓ ใจเศร้าที่แท้จริง
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
เงาฝัน 0 1758 กระทู้ล่าสุด 22 พฤศจิกายน 2554 11:24:44
โดย เงาฝัน
ชัมบาลา : บทที่ ๔ ความกลัวกับความไม่หวาดหวั่น
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
เงาฝัน 0 1401 กระทู้ล่าสุด 22 พฤศจิกายน 2554 12:05:22
โดย เงาฝัน
ชัมบาลา : บทที่ ๕ ประสานจิตกับกาย
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
เงาฝัน 0 1339 กระทู้ล่าสุด 22 พฤศจิกายน 2554 12:54:28
โดย เงาฝัน
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.42 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 26 กุมภาพันธ์ 2567 07:53:15