[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 เมษายน 2567 10:55:03 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เหมือนที่ต่าง  (อ่าน 2705 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 03 มิถุนายน 2553 23:23:41 »




เหมือนที่ต่าง

 
     คนเรามีความแตกต่างกันด้วยรูปลักษณ์ ความคิด และพฤติกรรม ที่เป็นดังนี้ เพราะปัจจัยสองอย่างคือ เวลา และ สถานที่ คนไหนเกิดเวลาเดียวกันต้องเป็นคนละเตียง คนไหนเกิดเตียงเดียวกันต้องคนละเวลา ความเหมือนกันเช่นนี้จึงสร้างความแตกต่างให้แต่ละคนเป็นหนึ่งเดียวในโลกเหมือนกันหมดเพราะต่างมีกรรมเป็นสมบัติของตน ดังนั้นฝาแฝดจึงไม่เหมือนกัน

       พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงกล่าวว่า แม้ร่างกายแตกต่างกัน แต่ปัญญาเหมือนเหมือนกันหมดทุกคน ข้อที่แตกต่างกันอยู่ตรงที่ว่า ใจของเขาสว่างไสวหรือมืดมนเท่านั้นเอง คนที่ไม่รู้จักธรรมญาณของตนเองและมีความเห็นอย่าง โง่เขลาว่าการบรรลุพุทธธรรมมีได้ด้วยศาสนพิธีต่างๆ ที่ประพฤติทางกายภายนอกมิได้เกี่ยวข้องกับจิตเลย คนพวกนี้เข้าใจอะไรได้ยาก

     ส่วนคนที่เข้าใจคำสอนของ "นิกายฉับพลัน" และรู้สึกว่าพิธีรีตองต่างๆ ไม่เป็นของสำคัญ มีความคิดเห็นเป็นไปในทางที่เรียกว่า "สัมมาทิฏฐิ" อย่างเดียว คือมีความเห็นถูกต้องจนกระทั่งตนเองหลุดพ้นไปจากกิเลสมลทินต่างๆ อย่างเด็ดขาด คนจำพวกนี้แหละที่เรียกว่าเป็นผู้รู้จัก "ธรรมญาณ" ของตนแล้ว

    ความหมายของพระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงชี้ให้เห็นเป็นความจริงถึงพิธีต่างๆ มิได้ทำให้ใครพ้นจากความทุกข์ได้เลยเพราะพิธีการทั้งปวงเป็นเรื่องที่ปฏิบัติด้วย "กาย" ซึ่งมีความเปลี่ยนแปลงหรือเป็นสิ่งที่ "ติดยึด" ได้ง่ายกว่าสิ่งใดทั้งหมด ส่วนทาง "ใจ" นั้นเป็นเรื่องที่ปราศจากรูปลักษณ์จึงเป็นเรื่องยากที่จะปฏิบัติได้ เพราะเหตุนี้ จึงชอบ "ทำบุญ" มากกว่าการ "บำเพ็ญจิต"

    พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงกล่าวถึงการปฏิบัติทางใจว่า "ขึ้นชื่อว่าใจแล้ว เป็นสิ่งที่ควรได้รับการจัดวางไว้ในกรอบของการปฏิบัติ โดยเป็นอิสระจากอารมณ์ทั้งภายในและภายนอก มีอิสระที่จะไปหรือจะมา ไม่ถูกพัวพัน และใสสว่างโดยทั่วถึงปราศจากสิ่งบดบังแม้แต่นิดเดียว บุคคลที่สามารถจะทำได้เช่นนี้จึงถือว่าดีถึงขนาดบัญญัติไว้ในสูตรทั้งหลายของ "ปัญญา"

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 03 มิถุนายน 2553 23:28:11 »




ความหมายอีกอย่างหนึ่งก็คือบรรดาคนเหล่านี้จึงมีความสามารถในการให้อรรถาธรรมใดๆ ซึ่งไม่แตกต่างไปจากพระสูตรต่างๆ ซึ่งพระอริยะเจ้าทั้งปวงได้บัญญัติไว้ ดังนั้นพระสูตรและปิฎกทั้งปวงไม่ว่าจะเป็นของฝ่ายมหายานหรือหินยานรวมทั้งคัมภีร์อรรถกถาทั้งสิบสองภาค ทั้งหมดถูกจำแนกไว้เป็นชั้นๆ เพื่อให้เหมาะกับความต้องการและอุปนิสัยของบุคคลผู้มีอินทรีย์ยิ่งหย่อนกว่ากันเป็นชั้นๆ นั่นเอง โอวาทที่มีสอนอยู่ในพระคัมภีร์ เหล่านั้นพระอริยะเจ้าบัญญัติขึ้นโดยยึดหลักสำคัญว่า มีตัวปัญญาแฝงอยู่ในทุกคนถ้าไม่มีคนก็ไม่จำเป็นต้องมีธรรมะด้วย

  เหตุนี้เราจึงทราบได้ว่าธรรมะบัญญัติขึ้นมาสำหรับคนโดยเฉพาะ พระสูตรต่างๆ เกิดขึ้นโดยพระศาสดาผู้ประกาศสูตรนั้นๆ นั่นเอง เพราะเหตุที่คนบางพวกเป็นคนฉลาดซึ่งเราเรียกกันว่า "คนเด่น" และบางพวกเป็นคนโง่เขลา ซึ่งเราเรียกกันว่า "คนด้อย" ดังนั้นคนฉลาดจึงแสดงโอวาทแก่คนเขลา ในเมื่อเขาต้องการให้สอนด้วยการกระทำเช่นนี้เอง คนเขลาก็อาจลุถึงความสว่างไสวด้วยความรวดเร็วได้และใจของเขาก็แจ่มแจ้งด้วยเหตุนี้ แล้วคนเขลาเหล่านั้นก็ไม่มีอะไรแตกต่างไปจากคนฉลาดอีกต่อไป


     พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงยืนยันว่า "ถ้าเอาการตรัสรู้ออกเสียแล้วก็ไม่มีอะไรแตกต่างกันระหว่างพระพุทธเจ้ากับคนสามัญอื่นๆ ความสว่างวาบเดียวเท่านั้นก็เพียงพอแล้วที่จะทำให้ใครก็ได้กลายเป็นคนเสมอกันกับพระพุทธเจ้า" พระวจนะตอนนี้เป็นการยอมรับสภาพความเป็นจริงของมนุษย์ว่าเหมือนกันเพราะ "ธรรมญาณ" เดิมมาจากที่เดียวกัน ไม่มีข้อแตกต่างกันเลย เพราะสมัยที่พระพุทธเจ้าหรือพระอริยะเจ้าองค์ใดก็ตามที่ยังไม่ตรัสรู้อนุตตรธรรมก็ล้วนเป็นเช่นเดียวกับมนุษย์ธรรมดา "ธรรมะเป็นของที่มีประจำอยู่ในใจของเราแล้ว จึงไม่มีเหตุผลในข้อที่ว่าเราไม่สามารถเห็นซึมซาบแจ้งชัดในสภาวะแท้ของ "ตถตา" สภาพที่มีแต่ธรรมญาณเช่นนั้นจะเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้" ทุกคนจึงมีโอกาสเห็นแจ้ง "ธรรมญาณ" เหมือนกัน

   
   พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงได้ยกเอาข้อความในโพธิสัตว์ศีลสูตรที่กล่าวเอาไว้ว่า "ธรรมญาณของเราเป็นของบริสุทธิ์โดยเด็ดขาดและถ้าเรารู้จักใจของเราเองและรู้แจ้งชัดว่าตัวธรรมชาติแท้ของเราคืออะไรแล้วเราก็จะบรรลุถึงพุทธภาวะได้ทุกๆ คน" หรือในข้อความในพระสูตร วิมลกิรตินิเทศสูตรก็ยืนยันกล่าวว่า "ทันใดนั้น เขาตรัสรู้แจ่มแจ้งสว่างไสว และได้รับใจของเขาเองกลับคืนมา" ความหมายตามข้อความนี้ก็คือ คนที่สู้รบปรบมือกับกิเลสของตนเองจนกำหราบได้หมดสิ้นแล้ว "ธรรมญาณ" เดิมแท้อันสะอาดบริสุทธิ์อยู่แล้วจักปรากฎขึ้นเองก็เสมือนหนึ่งตัวตนที่แท้จริงได้ปรากฎชัดเจนขึ้นอีกครั้งหนึ่งหลังจากที่ถูกกิเลสครอบงำเอาไว้นานถึงหมื่นปี ธาตุแท้ของทุกคนเป็นหนึ่งเดียวแต่สิ่งที่แตกต่างกันก็คือ กิเลส แต่คนมีกิเลสเหมือนกัน เพียงแต่แตกต่างกันด้วยความหยาบละเอียด ดังนั้นในความเหมือนจึงมีความแตกต่าง และในความแตกต่างนั้นเองจึงมีความเหมือนกัน



ภาพประกอบจาก อินเตอร์เน็ต
Credit by : http://www.watnai.org/forum1/index.php?topic=340.0

ขอบพระคุณที่มาทั้งหมดมากมาย
อนุโมทนาสาธุธรรมค่ะ
บันทึกการเข้า
คำค้น: ธรรมญาณ  ปัญญา  กิเลส   สัมมาทิฏฐิ  บำเพ็ญจิต 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.315 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 26 กุมภาพันธ์ 2567 06:40:22