'ทะเลาะ ระวังติดคุกนะ' เมื่อ ม.112 เป็นเครื่องมือทำลายฝ่ายตรงข้าม
<span>'ทะเลาะ ระวังติดคุกนะ' เมื่อ ม.112 เป็นเครื่องมือทำลายฝ่ายตรงข้าม</span>
<span><span>XmasUser</span></span>
<span><time datetime="2025-01-21T10:23:23+07:00" title="Tuesday, January 21, 2025 - 10:23">Tue, 2025-01-21 - 10:23</time>
</span>
<div class="field field--name-field-byline field--type-text-long field--label-hidden field-item"><p>รายงาน: ณัฐพล เมฆโสภณ</p><p>กราฟิก: กิตติยา อรอินทร์</p></div>
<div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><p>ถือเป็นกระแสต่อเนื่องหลังจาก 15 ม.ค. 2568 'แสตมป์' อภิวัชร์ เอื้อถาวรสุข นักร้องเจ้าพ่อเพลงรัก ได้ออกมาเปิดเผยเรื่องราวบนเวทีคอนเสิร์ต 'Wednesday Song concert Vol.1' ถึงสาเหตุที่เขาหายหน้าหายตาไปในช่วงที่ผ่านมาว่าต้องไปจัดการปัญหาเรื่องราวส่วนตัวระหว่างตัวเขา-ภรรยา กับ ‘แจม’ คู่กรณีที่เคยมีความสัมพันธ์ลึกซึ้งกับแสตมป์-‘แก๊ป’ แฟนของคู่กรณี จนถึงขึ้นมีการฟ้องร้องคดีความ</p><p>ประเด็นที่สาธารณชนและสื่อดูจะให้ความสนใจไม่น้อยคือกรณีที่
แสตมป์ อ้างว่าถูกพ่อของคู่กรณีซึ่งเป็นทหารยศใหญ่ ขู่แจ้งมาตรา 112 และกลัวติดคุก ทำให้เขาถอนฟ้องแพ่งและอาญาทุกคดี รวม 3 คดี โดยมีวัตถุพยานเป็นแชทระหว่างเขา-แจม</p><p>ต่อมา
เดชา กิตติวิทยานันท์ ทนายความที่คู่กรณีของแสตมป์ปรึกษาด้านกฎหมาย ชี้แจงว่าจากการเปิดเผยของแสตมป์ ทำให้พ่อของคู่กรณีถูกเรียกเข้าไปให้ข้อมูลเรื่องการฟ้องคดีมาตรา 112 ที่กองทัพบก และกระทรวงกลาโหม ส่วนเรื่องจะฟ้องร้องมาตรา 112 หรือไม่นั้น ทนายเดชา กล่าวว่าเป็นเรื่องของกองทัพบก</p><p>เรื่องการข่มขู่ที่เกิดขึ้น ทนายเดชา อ้างว่าไม่ได้เป็นการข่มขู่ แค่เป็นการแจ้งให้เห็นว่าการแสดงความคิดเห็น หรือการสนทนาบางสิ่งของแสตมป์ อาจเข้าข่ายมาตรา 112 ซึ่งไม่เรียกว่าเป็นการขู่ แต่เป็นสิทธิของประชาชนในการปกป้องสถาบันฯ เพราะฉะนั้นก็ต้องว่ากันไปตามกฎหมาย</p><p>จากการแถลงของหลายฝ่ายยังไม่แน่ชัดว่ามีการฟ้องร้องคดีความมาตรา 112 แล้วหรือยัง หรือข้อความของแสตมป์เข้าข่ายมาตรา 112 หรือไม่ แต่เรื่องราวที่เกิดขึ้นได้นำมาสู่การวิพากษ์วิจารณ์ถกเถียงถึงปัญหาของมาตรา 112 ที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือกลั่นแกล้งคู่ขัดแย้งส่วนตัว</p><p>ประชาไทชวนย้อนดูคดีฟ้องร้องมาตรา 112 ในอดีตที่มีมูลเหตุมาจากการทะเลาะส่วนตัว พร้อมพูดคุยกับ<strong>พูนสุข พูนสุขเจริญ</strong> ทนายความประจำศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน เพื่อร่วมมองอีกปัญหาของมาตรา 112 และข้อเสนอเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว</p><h2>สถิติประชาชนแจ้ง ม.112 กันเอง นับตั้งแต่ยุค คสช.</h2><p>สำหรับประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 หรือ ‘กฎหมายหมิ่นประมาทกษัตริย์’ คุ้มครองด้วยกัน 4 ตำแหน่ง คือ 1. กษัตริย์องค์ปัจจุบัน (แต่หลายกรณีพบว่าศาลตัดสินคุ้มครองไปยังอดีตกษัตริย์) 2. พระราชินี 3. รัชทายาท และ 4. ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ โดยมีโทษจำคุกระหว่าง 3-15 ปี</p><p>ในภาพรวมคดีการฟ้องร้องคดีมาตรา 112 ช่วงปี 2557-2562 หรือยุคคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เรืองอำนาจ มีจำนวนอย่างน้อย 169 คดี แบ่งเป็นคดีแสดงออกทางการเมือง 106 คดี และส่วนที่เหลือเป็นการแอบอ้างเพื่อแสวงหาผลประโยชน์</p><p>ต่อมา ระหว่างปี 2561-2563 มีการหยุดดำเนินคดีมาตรา 112 ช่วงสั้นๆ และหันไปใช้มาตรา 116 หรือยุยงปลุกปั่นแทน แต่หลังจากการชุมนุมของม็อบราษฎรรุ่นใหม่ ตั้งแต่กลางปี 2563 เป็นต้นมา ทำให้พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีขณะนั้น ประกาศใช้ทุกข้อกฎหมายดำเนินคดีกับผู้ชุมนุมและผู้เห็นต่างทางการเมือง และทำให้มาตรา 112 กลับใช้อย่างหนักหน่วงอีกครั้ง</p><p>ดังนั้น ตั้งแต่ 24 พ.ย. 2563 จนถึง 13 ม.ค. 2568 มีคดีการใช้มาตรา 112 พุ่งเป็นจำนวน 276 คน จากจำนวนอย่างน้อย 309 คดี แบ่งเป็น "
ประชาชน" เป็นผู้ไปร้องทุกข์กล่าวโทษจำนวน 163 คดี หรือจำนวนมากกว่าครึ่งนั่นเอง</p><h2>ใครแจ้งความก็ได้</h2><p>พูนสุข พูนสุขเจริญ ทนายความประจำศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน มองผ่านกรณีแสตมป์ว่า ปัญหาหลักคือมาตรา 112 ถูกมองว่าเป็นคดีความมั่นคง และเปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปแจ้งความได้ กลายเป็นช่องทางให้คนที่มีปัญหาความขัดแย้งในทางส่วนตัว หยิบประเด็นนี้มาใช้เป็นเครื่องมือในการดำเนินคดีกับคนรู้จัก เท่าที่ศูนย์ทนายฯ เคยบันทึกไว้อาจมีอยู่ราว 10 คดีความด้วยกัน</p><p>ขณะที่ 'บูม' จิรวัฒน์ (สงวนนามสกุล) พ่อค้าขายของออนไลน์ และผู้ต้องหาคดี 112 ที่ถูกญาติฝั่งภรรยาที่เคยมีปัญหาทะเลาะเบาะแว้งแจ้งความในมาตรา 112 จากกรณีแชร์โพสต์โซเชียลมีเดียช่วงปี 2564 จำนวน 3 ข้อความ ภายหลังศาลชั้นต้นตัดสินจำคุกจิรวัฒน์ เป็นระยะเวลา 9 ปี ก่อนลดโทษ 1 ใน 3 เหลือ 6 ปี และเขาถูกฝากขังระหว่างพิจารณาคดีชั้นอุทธรณ์ ตั้งแต่ 6 ธ.ค. 2566 - 13 ธ.ค. 2567 รวมระยะเวลากว่า 1 ปีเศษก่อนจะได้ประกัน</p><p class="picture-with-caption"><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54282717735_ba25dedf31_b.jpg" width="1024" height="683" loading="lazy">'บูม' จิรวัฒน์ (สงวนนามสกุล) (ถ่ายโดย แมวส้ม)</p><p>พ่อค้าออนไลน์เคยให้สัมภาษณ์กับศูนย์ทนายฯ ว่า การฟ้องมาตรา 112 โดยเฉพาะเคสของเขาคือการกลั่นแกล้งกันอย่างชัดเจน เพราะคนแจ้งความคือญาติฝั่งภรรยาที่เคยมีปัญหาทะเลาะกับภรรยาเขามาตลอด</p><p>"คดีคนอื่นผมไม่รู้นะว่าเป็นยังไง แต่ของผมมันชัดมาก แล้วมันก็ทำให้เราเห็นจุดบกพร่องของกฎหมายนี้คือใครมันจะแจ้งความใส่กันก็ได้" จิรวัฒน์ กล่าว และระบุเพิ่มว่า การถูกดำเนินคดีมาตรา 112 ทำให้รู้เลยทันทีว่า แค่เราอยู่บ้านใกล้เรือนเคียง เป็นญาติ เป็นเพื่อนกัน หากเรามีเฟซบุ๊กของกันและกัน ถ้ามีความเห็นทางการเมืองไม่ตรงกัน ก็สามารถใช้แจ้งความกฎหมายข้อนี้ได้เลย</p><p>อีกตัวอย่างคือ '
ยุทธภูมิ มาตรนอก' อีกหนึ่งผู้ต้องหามาตรา 112 ซึ่งถูกพี่ชายที่เคยทะเลาะกันเรื่องการทำธุรกิจส่วนตัวและเรื่องอื่นๆ ทั่วไป ฟ้องโดยมีมูลเหตุมาจากการทะเลาะกันระหว่างดูทีวี พี่ชายกล่าวหาว่ายุทธภูมิเขียนคำหยาบลงบนแผ่น CD ใต้คำว่า 'พระเจ้าอยู่หัว'</p><p>แม้ท้ายที่สุด ยุทธภูมิได้รับการยกฟ้อง แต่ก็ต้องถูกจำคุกระหว่างพิจารณาคดีเป็นระยะเวลา 349 วัน ก่อนศาลมีคำสั่งยกฟ้อง</p><h2>ฝั่งสนับสนุนมองเป็นสิทธิของประชาชน</h2><p>
แน่งน้อย อัศวกิตติกร อดีตผู้สมัคร สส.พิษณุโลก พรรครวมพลังประชาชาติไทย มองกรณีของ ‘แสตมป์ว่า การฟ้องร้องมาตรา 112 ไม่น่ากลัวเลยถ้าไม่ได้ทำผิด และการลงโทษส่วนใหญ่ก็รอลงอาญาให้โอกาสไปปรับปรุงความประพฤติตัวใหม่ ส่วนการตั้งข้อสังเกตว่ามีการนำมาตรา 112 มาเป็นเครื่องมือในการข่มขู่นั้น เธอเองคิดว่าถ้าเราไม่ได้ทำจะกลัวทำไม ถ้าเราไม่ได้ทำก็ไม่ควรกลัว</p><p>แน่งน้อยสนับสนุนให้มาตรา 112 เปิดโอกาสให้ใครฟ้องก็ได้เหมือนเดิม เพราะเป็นสิทธิของประชาชนในการปกป้องสถาบันกษัตริย์ กษัตริย์คงไม่ลดตัวลงมาฟ้องร้องด้วยตัวเอง แต่เธออยากเสนอเพิ่มเติมว่า ก่อนฟ้องร้องมาตรา 112 ควรทักไปคุยก่อนว่าให้ลบข้อความ เตือนว่าไม่ดี สุ่มเสี่ยง เพราะหากมีการฟ้องร้องจะมีผลกระทบตามมาอีกมาก แต่ถ้าคนดังกล่าวยังยืนยันว่า สิ่งที่เขาทำนั้นถูกแล้ว เขาต้องการแบบนี้ ก็ค่อยว่ากันอีกสเตปหนึ่ง</p><p>อนึ่ง
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน บันทึกข้อมูลระหว่างปี 2565-2568 พบว่ามีการต่อสู้คดีและศาลมีคำพิพากษาคดีมาตรา 112 อย่างน้อย 87 คดี แบ่งเป็น</p><ul><li aria-level="1">ยกฟ้อง 19 คดี</li><li aria-level="1"><strong>ลงโทษจำคุกโดยไม่รอลงอาญา 50 คดี</strong></li><li aria-level="1"><strong>ลงโทษจำคุกโดยให้รอลงอาญา 11 คดี</strong></li><li aria-level="1">ยกฟ้องข้อหามาตรา 112 แต่ลงโทษในข้อหาอื่น 4 คดี</li><li aria-level="1">ยกฟ้องจำเลยบางคน แต่ลงโทษจำคุกจำเลยที่เหลือ 3 คดี</li></ul><p>แม้ว่าผู้สนับสนุนมาตรา 112 มักมองว่าต่อให้ถูกฟ้องร้อง แต่ถ้าผู้ถูกกล่าวหาไม่ได้ทำผิดจะกังวลทำไมเพราะสุดท้ายจะมีการยกฟ้อง แต่ในมุมมองของทนายเมย์ มองว่า คนที่ถูกดำเนินคดีมาตรา 112 บางคนถูกศาลปฏิเสธการให้ประกันตัวระหว่างพิจารณาคดี ส่งผลให้เกิดผลกระทบตามมา ทั้งเรื่องชีวิตครอบครัว การงาน โอกาสหลายอย่าง บางคนเลิกกับแฟน สูญเสียสมาชิกครอบครัวระหว่างที่ถูกคุมขัง ซึ่งเรื่องนี้สะท้อนว่า ต่อให้ผู้ถูกกล่าวหาสุดท้ายจะชนะคดี แต่ก็เหมือนพ่ายแพ้ในชีวิตจริง เพราะว่าพวกเขาต้องสูญเสียอะไรหลายอย่าง</p><h2>ย้อนดูคดีในอดีตจากความขัดแย้งส่วนตัว สู่การฟ้องร้อง</h2><p>เพื่อให้ภาพการฟ้องร้องจากประเด็นความขัดแย้งส่วนตัวชัดเจนขึ้น ผู้สื่อข่าวได้สำรวจ
ฐานข้อมูลคดีความของ iLaw และศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน พบว่ามีคดีบางส่วนที่มีมูลเหตุลักษณะคล้ายคลึงกับกรณีของแสตมป์ คือการดำเนินคดีมาตรา 112 ที่มีเหตุมาจากการทะเลาะกันส่วนตัวในเรื่องอื่น โดยมีตัวอย่างดังนี้ </p><div align="left"><table><tbody><tr><td><strong>ปีของคดี</strong></td><td><strong>ชื่อผู้ถูกกล่าวหา</strong></td><td><strong>มูลเหตุของคดีความ</strong></td><td><strong>คำพิพากษา</strong></td><td><strong>ผลกระทบ</strong></td></tr><tr><td>2552</td><td>
ยุทธภูมิ มาตรนอก</td><td><p>ถูกพี่ชายที่เคยทะเลาะเรื่องการประกอบธุรกิจส่วนตัว และเรื่องทั่วไป แจ้งความตามมาตรา 112</p><p>มูลเหตุจากการทะเลาะกันระหว่างดูทีวี และกล่าวหาว่าเขียนคำหยาบลงบนแผ่นซีดี ใต้คำว่า ‘พระเจ้าอยู่หัว’ </p></td><td>ยกฟ้อง</td><td>ถูกฝากขังเป็นระยะเวลา 349 วัน หรือเกือบ 1 ปี ก่อนยกฟ้อง</td></tr><tr><td>2549</td><td>
อัศวิน (สงวนนามสกุล)</td><td>ถูกสกาวเดือน จริยากรกุล เจ้าของโครงการเอราวัณ รีสอร์ท ซึ่งเคยมีประเด็นขัดแย้งเรื่องธุรกิจ แจ้งความมาตรา 112 โดยอ้างว่า ‘อัศวิน’ เคยพูดจาพาดพิงกษัตริย์ 3 ครั้ง</td><td>ยกฟ้อง</td><td> </td></tr><tr><td>2557</td><td>
ศศิวิมล (สงวนนามสกุล)</td><td><p>มีประชาชนจำนวน 9 รายไปแจ้งความดำเนินคดี ‘รุ่งนภา ’ ว่าโพสต์เข้าข่ายมาตรา 112 แต่ศศิวิมลกลับเป็นผู้ถูกดำเนินคดี 112 เนื่องจากเธอเคยมีเรื่องทะเลาะกับ ‘รุ่งนภา’ ซึ่งเป็นภรรยาใหม่ของสามี เมื่อไปเล่าความขัดแย้งนี้ให้เพื่อนฟัง เพื่อนเสนอให้สร้างบัญชีเฟซบุ๊กปลอมเป็นรุ่งนภาโดยเพื่อนของศศิวิมลอาสาเป็นคนดำเนินการให้แต่ใช้คอมของศศิวิมลสร้างแอ็กเคานต์ปลอมขึ้นมาพร้อมทั้งมีการโพสต์ข้อความเข้าข่ายมาตรา 112</p><p>ศศิวิมล เผยว่า เธอทราบว่ามีการสร้างบัญชีปลอม แต่ไม่ทราบว่ามีการโพสต์เข้าข่ายมาตรา 112 และไม่ทราบรหัสเข้าใช้ บช.ดังกล่าว</p></td><td>ศาลทหารจำคุก 28 ปี</td><td>ถูกขังตั้งแต่ชั้นพิจารณาคดี โดยศาลทหารปฏิเสธให้ประกันตัว และหลังคำพิพากษาได้รับอภัยโทษทั่วไป 3 ครั้งจนพ้นโทษออกมาเมื่อเดือนกันยายน 2563</td></tr><tr><td>2558</td><td>
วิชัย (สงวนนามสกุล)</td><td><p>ถูกฟ้องมาตรา 112 จำนวน 10 ข้อความ จากกรณีที่วิชัยได้นำชื่อและภาพถ่ายของเพื่อนร่วมงานที่เคยหลอกขายพระเครื่องให้เขา มาใช้เปิดบัญชีเฟซบุ๊ก เพื่อให้บุคคลทั่วไปเข้าใจว่าเป็นเฟซบุ๊กของเพื่อน ก่อนโพสต์ข้อความ ภาพ และคลิปวิดีโอที่มีเนื้อหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์จำนวน 10 ข้อความ</p><p>ภายหลัง เพื่อนของวิชัย ได้ไปแจ้งความที่ สภ.แม่ปิง จึงเป็นที่มาของการดำเนินคดี</p></td><td>ศาลทหารพิพากษาจำคุก 30 ปี 60 เดือน</td><td>ถูกคุมขังมาตั้งแต่ปี 2558 ก่อนได้รับการปล่อยตัวเมื่อปี 2564 (ราว 5 ปีกว่า) เนื่องจากได้รับอภัยโทษ</td></tr><tr><td>2560</td><td>
สกันต์</td><td><p>ถูกตัวแทนเรือนจำแจ้งความมาตรา 112 จากการกล่าวถ้อยคำจำนวน 3 ครั้งขณะที่ยังถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำพิเศษกรุงเทพ</p><p>สกันต์ เคยเล่าให้ผู้สังเกตการณ์คดีฟังว่า เหตุแห่งคดีเกิดจากความขัดแย้งตอนสกันต์ ถูกคุมขัง เขาเคยได้รับมอบหมายให้เป็นผู้นำออกกำลังกาย ซึ่งบางครั้งการเป็นผู้นำก็สร้างความไม่พอใจให้แก่นักโทษบางกลุ่ม </p><p>ภายหลังนักโทษกลุ่มนั้นก็เป็นผู้ร้องทุกข์ในคดีนี้ ประกอบกับความไม่ลงรอยเรื่องการเมือง</p></td><td>ยกฟ้อง</td><td>การถูกร้องเรียนว่าเขาละเมิดมาตรา 112 ทำให้เขาเสียโอกาสได้รับการอภัยโทษและต้องโทษจำคุกจนครบกำหนด</td></tr><tr><td>2565</td><td>
‘บูม’ จิรวัฒน์ (สงวนนามสกุล)</td><td>ถูกญาติของฝ่ายภรรยาที่เคยมีเรื่องทะเลาะกัน ฟ้องดำเนินคดีมาตรา 112 จากกรณีที่ ‘บูม’ แชร์โพสต์เพจ ‘คนไทย UK’ และบุคคลทั่วไปรวม 3 โพสต์เมื่อปี 2564</td><td><p>ศาลชั้นต้น ลงโทษจำคุก 9 ปี ก่อนลดโทษเหลือ 6 ปี</p><p> </p></td><td>ถูกจำคุกระหว่างสู้คดีชั้นอุทธรณ์ ตั้งแต่ 6 ธ.ค. 2566 และได้รับการประกันตัวออกจากเรือนจำเมื่อ 13 ธ.ค. 2567 (รวมระยะเวลาถูกฝากขังประมาณ 1 ปีเศษ)</td></tr><tr><td>2565</td><td>
พลเมือง (นามสมมติ)</td><td>ทะเลาะกันทางธุรกิจ และถูกเอาแชทไลน์ไปแจ้งความ มาตรา 112</td><td>ตัดสินจำคุก 3 ปี ก่อนลดเหลือ 1 ปี 6 เดือน รอการลงโทษ 2 ปี</td><td> </td></tr></tbody></table></div><h2>ถึงเวลาทบทวน ม.112 แก้ไขสถานการณ์ได้หลายรูปแบบ</h2><p>แม้ว่าจะยังไม่ทราบชัดเจนว่าข้อความของแสตมป์เข้าข่ายมาตรา 112 หรือไม่ แต่สำหรับความเห็นของพูนสุข กรณีนี้ชัดเจนว่าเป็นปัญหาเรื่องส่วนตัว และมีมาตรา 112 เข้ามาเกี่ยวข้อง</p><p>ในส่วนของข้อเสนอ พูนสุขขอพูดในนามของตัวเอง โดยเธออยากเสนอเรื่องการยกเลิกมาตรา 112 โดยเธอชี้แจงเพิ่มว่าการยกเลิกมาตรา 112 ไม่ได้แปลว่ายกเลิกการคุ้มครองสถาบันพระมหากษัตริย์ แต่ได้รับการคุ้มครองเทียบเท่าบุคคลทั่วไป ผ่านกฎหมายหมิ่นประมาททางอาญา ซึ่งจะทำให้บทลงโทษลดลง และมีหมวดยกเว้นการรับผิดรับโทษ</p><p class="picture-with-caption"><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/51277825814_140192582c_b.jpg" width="1024" height="681" loading="lazy">พูนสุข พูนสุขเจริญ</p><p>"การยกเลิกมาตรา 112 ไม่ใช่การล้มล้างสถาบันฯ เพียงแต่การคุ้มกันในทางกฎหมายอาจจะลดลงมา ซึ่งการลดลงมาอาจจะสอดคล้องกับหลักการของประชาธิปไตยเสียด้วยซ้ำ" ทนายความจากศูนย์ทนายฯ กล่าว</p><p>หากการเสนอยกเลิกแล้วเกิดความขัดแย้งหรือยังเป็นไปไม่ได้ พูนสุข มองว่า การแก้ไขมาตรา 112 ก็ควรกำหนดให้มีผู้กล่าวหาเป็นการเฉพาะ อย่างเช่นสำนักราชเลขาธิการฯ หรือสำนักพระราชวัง เป็นผู้ฟ้องร้องแทนกษัตริย์ หรือควรมีการตั้งหน่วยงานขึ้นมากลั่นกรองเพื่อไม่ให้เกิดการฟ้องกลั่นแกล้งกัน</p><p>ทนายพูนสุข เชื่อว่า นอกจากตัวบทกฎหมายแล้ว การบังคับใช้กฎหมายก็มีปัญหา เธออยากเรียกร้องให้หน่วยงานกระบวนการยุติธรรมมีความมั่นใจในการบังคับใช้กฎหมายอย่างเที่ยงตรง โดยไม่ถูกมองว่าขาดความจงรักภักดี</p><p>สุดท้าย ทนายพูนสุข มองว่า ควรมีการปรับลดเพดานอัตราโทษขั้นต่ำของมาตรา 112 ซึ่งอัตราโทษปัจจุบันสูงเกินสัดส่วนของการกระทำผิด เพื่อให้ศาลมีดุลยพินิจในการสั่งลงโทษมากขึ้น</p><p>จากการสังเกตการณ์ เธอพบว่าเวลาศาลมีคำพิพากษาส่วนใหญ่จะสั่งลงโทษเพดานขั้นต่ำสุดที่ 3 ปี นั่นแสดงว่าศาลอาจพิจารณาแล้วว่าบทลงโทษสูง เลยลงโทษต่ำสุดตามเพดานขั้นต่ำ เพราะฉะนั้น เป็นไปได้ไหมที่จะกำหนดเพดานการลงโทษให้ต่ำกว่า 3 ปี</p><p>อนึ่ง ก่อนหน้าปี 2519 อัตราโทษมาตรา 112 เคยเท่ากับมาตรา 116 คือจำคุกไม่เกิน 7 ปี โดยเหตุที่มาตรา 116 กำหนดโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี เนื่องจากเป็นคดีทางการเมือง บางทีศาลอาจมีดุลพินิจไม่สั่งลงโทษ หรือไม่ลงโทษอัตราสูงมากนัก</p><p>พูนสุขมองว่า ช่วงระหว่างที่เรากำลังถกเถียงเรื่องความเหมาะสมของการใช้มาตรา 112 กระบวนการยุติธรรมควรให้สิทธิการประกันตัวแก่ผู้ต้องขังทางการเมืองที่อยู่ระหว่างพิจารณาคดี หรือทำในสิ่งที่หน่วยงานกระบวนการยุติธรรมเคยทำมาแล้ว คือพยายามไม่บังคับใช้มาตรา 112 (ระหว่างปี 2561-2563) ซึ่งสามารถทำได้เลยโดยไม่ต้องรอการแก้ไขกฎหมาย เพื่อให้สถานการณ์คดีความทางการเมืองคลี่คลายลง</p></div>
<div class="node-taxonomy-container">
<ul class="taxonomy-terms">
<li class="taxonomy-term"><a href="
http://prachatai.com/category/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A9" hreflang="th">รายงานพิเศ
http://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" hreflang="th">การเมือ
http://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99" hreflang="th">สิทธิมนุษยช
http://prachatai.com/category/%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2-112" hreflang="th">มาตรา 112[/url]</li>
<li class="taxonomy-term"><a href="
http://prachatai.com/category/%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A1%E0%B8%9B%E0%B9%8C" hreflang="th">แสตมป
http://prachatai.com/category/%E0%B8%AD%E0%B8%A0%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%8A%E0%B8%A3%E0%B9%8C-%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82" hreflang="th">อภิวัชร์ เอื้อถาวรสุ
http://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%9E%E0%B8%9A%E0%B8%81" hreflang="th">กองทัพบ
http://prachatai.com/category/%E0%B8%84%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" hreflang="th">คดีการเมือ
http://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B9%82%E0%B8%AB%E0%B8%A1" hreflang="th">กระทรวงกลาโห
http://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%B9%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82-%E0%B8%9E%E0%B8%B9%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%8D" hreflang="th">พูนสุข พูนสุขเจริ
https://prachataistore.net</div>
http://prachatai.com/journal/2025/01/112009 







