[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
06 กรกฎาคม 2568 22:42:28 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - ฝ่ายอนุรักษนิยมไทยมองอย่างไร หลังบังคับใช้ 'สมรสเท่าเทียม'  (อ่าน 101 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 14 กุมภาพันธ์ 2568 19:31:59 »

ฝ่ายอนุรักษนิยมไทยมองอย่างไร หลังบังคับใช้ 'สมรสเท่าเทียม'
 


<span>ฝ่ายอนุรักษนิยมไทยมองอย่างไร หลังบังคับใช้ 'สมรสเท่าเทียม'</span>
<span><span>See Think</span></span>
<span><time datetime="2025-02-14T16:18:09+07:00" title="Friday, February 14, 2025 - 16:18">Fri, 2025-02-14 - 16:18</time>
</span>

            <div class="field field--name-field-byline field--type-text-long field--label-hidden field-item"><p>จ่อ ซวา รายงาน</p></div>
     
            <div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><p>ขณะที่รัฐบาลสหรัฐอเมริกาภายใต้การนำของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ยกเลิกโครงการด้านความหลากหลาย ความเท่าเทียม และความเปิดกว้างโอบรับ (Diversity, Equity, and Inclusion หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ DEI) ซึ่งถูกมองว่ามีลักษณะ 'woke' ทั้งในและต่างประเทศ ไทยกลับดูเหมือนจะมุ่งไปในทิศทางตรงกันข้าม หลังจากเฉลิมฉลองการบังคับใช้กฎหมายสมรสเท่าเทียม เมื่อ 23 มกราคมที่ผ่านมา น่าสนใจว่าสถาบันจารีตของสังคมไทยก็ร่วมแสดงความยินดีกับความรักของกลุ่มหลากหลายทางเพศด้วย แม้ฝ่ายอนุรักษนิยมบางคนจะยังพยายามปรามๆ สิ่งที่คนเหล่านี้ถกเถียงว่าล้นเกินอยู่บ้างก็ตาม</p><p>หลังจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ภายใต้ความเห็นชอบของรัฐสภา ซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อกฎหมายสมรสเท่าเทียมในเดือนกันยายน 2567 ส่งผลให้กฎหมายมีกำหนดมีผลบังคับใช้ 120 วันหลังจากนั้น ประเทศไทยกลายเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นประเทศที่สองในเอเชียต่อจากไต้หวัน ที่ให้การรับรองการแต่งงานของคู่รักเพศเดียวกันอย่างถูกกฎหมาย</p><p>ในวันแรกของการบังคับใช้กฎหมาย มีคู่รักจดทะเบียนสมรสทั้งสิ้น 2,792 คู่ โดยในจำนวนนี้ 1,832 คู่เป็นคู่รักเพศเดียวกัน แบ่งเป็นคู่รักชายรักชาย 616 คู่ และคู่รักหญิงรักหญิง 1,216 คู่ ซึ่งบางคู่มาจากครอบครัวที่มีแนวคิดอนุรักษนิยมมากกว่า ต่างจากสหรัฐฯ ที่มีเจ้าหน้าที่รัฐปฏิเสธการจดทะเบียนสมรสโดยอ้างความเชื่อทางศาสนา เจ้าหน้าที่ไทยใน 878 อำเภอปฏิบัติตามคำสั่งโดยไม่มีรายงานเหตุวุ่นวาย ภายใต้แนวคิด“กรมการปกครองยินดีเป็นนายทะเบียนให้กับทุกความรัก”</p><p>ในการจดทะเบียนสมรสระหว่างคุณกำพล วงษ์นารี ข้าราชการในพระองค์ สังกัดกองบัญชาการทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ 904 กับคุณณัฐภูมิ แถนสีแสง "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้เชิญช่อดอกไม้และของขวัญไปพระราชทานแก่ทั้งคู่ในโอกาสพิเศษนี้ด้วย” ในการรายงานของ Royal World Thailand พร้อมรูปภาพคุณกำพลแต่งกายในชุดเครื่องแบบอย่างสง่างามยืนเคียงข้างคู่สมรส</p><p>ด้านความเคลื่อนไหวอื่นๆ ของฝ่ายความมั่นคง พบว่าเว็บไซต์ของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) นำเสนอข่าวในประเด็นนี้ตามปกติ ขณะที่บัญชี X (Twitter) ของมณฑลทหารบกที่ 27 ได้เผยแพร่ถ้อยแถลงของแพทองธาร ชินวัตร ระบุว่า "กฎหมายสมรสเท่าเทียมเป็นจุดเริ่มต้นความตระหนักรู้ของสังคมไทยในการเคารพความหลากหลายทั้ง เพศสภาพ เพศวิถี เชื้อชาติ และศาสนา ที่ทุกคนมีสิทธิ์และศักดิ์ศรีเท่าเทียมกันค่ะ”</p><p>แม้แต่ สนธิ ลิ้มทองกุล นักอนุรักษนิยมก็ใช้โอกาสนี้สนับสนุนการแต่งงานของคนรักเพศเดียวกันผ่านรายการสนธิ ทอล์ค หลังวิจารณ์ "พรรคเพื่อไทย ที่พยายามโปรโมตเหลือเกินเรื่อง LGBTQ+ จัด Pride Month สมรสเท่าเทียม โปรโมตมากเสียจนเหมือนยัดเยียดให้คนที่เขาเฉยๆ หรือเห็นต่างเขารู้สึกหมั่นไส้ เพราะรู้สึกว่าเป็นการบีบบังคับให้คนอื่นต้องให้สิทธิพิเศษกับพวก LGBTQ+ มากเกินไป” สนธิอธิบายต่อ(ในการเสนอข่าวของผู้จัดการออนไลน์) ว่า</p><p>“ตัวผมเองมีพี่น้อง เพื่อนฝูง ลูกน้อง ที่เป็นตุ๊ด เกย์ เลสเบี้ยน กะเทย เยอะแยะ แต่ผมเปิดรับเรื่องนี้มานานแล้ว หนังสือพิมพ์ผู้จัดการก็รับนักข่าว LGBTQ มานานแล้ว ไม่เคยกีดกัน ไม่เหมือนบางสำนักข่าวที่แม้แต่เด็กฝึกงานก็ไม่ยอมรับ แต่ท่านผู้ชมครับ การผลักดันเรื่องนี้ที่เกินพอดี และเรียกร้องสิทธิพิเศษมากมายเกินไป ผมเห็นว่าเราต้องระมัดระวังและทำให้เกิดความสมดุลด้วย"</p><p>“ในเมื่ออเมริกาที่ใครหลายคนนับถือเขาเป็นพ่อ พอเปลี่ยนยุคมาเป็นยุคนายทรัมป์ มันกลับหลังหัน 180 องศา เรื่องนี้พวกคุณ พรรคประชาชน คุณพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ จะว่าอย่างไร พวกพรรคประชาชน เด็กสามกีบ คุณพิธา น่าจะเดินทางไปยื่นหนังสือเรียกร้องที่สถานทูตอเมริกานะ บอกว่านโยบายทรัมป์ เป็นการลิดรอนสิทธิพลเมือง จำกัดสิทธิเสรีภาพ ล้าหลัง พวกคุณกล้าไหม ตอบผมหน่อยซิ ถ้าไม่กล้ามันก็เป็นข้อเท็จจริงว่าคุณเป็นแค่ทาสรับใช้นักการเมืองและทุนนิยมของตะวันตก”</p><p>ในงาน "Marriage Equality Day" จัดขึ้นที่ชั้น 5 ห้างสยามพารากอน มติชนรายงานว่า ส.ต.อ.พิสิษฐ์ สิริหิรัญชัย และชนาธิป สิริหิรัญชัย พนักงานบริษัทเอกชน ได้จดทะเบียนสมรสในวันแรกที่กฎหมายมีผลบังคับใช้ หลังจากที่ใช้ชีวิตร่วมกันมาเป็นเวลา 6 ปี ก่อนมาจดทะเบียนสมรสได้มีการแจ้งกับเจ้านายแล้ว และได้รับคำอวยพรมาเป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ตำรวจทุกคนที่ยินดีกับข่าวดังกล่าว</p><p>&nbsp;</p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54282606276_e85286c95b_b.jpg" width="1024" height="683" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">ชนาธิป สิริหิรัญชัย (ซ้าย) และ พิสิษฐ์ สิริหิรัญชัย (ขวา) ในงานอีเวนต์จดทะเบียนสมรสเท่าเทียมวันแรก</p><p>"เท่าเทียมก็เท่าเทียมไปสิผมไม่ว่า แต่อย่าเสือกเอาเครื่องแบบตำรวจไป เห็นแล้วทุเรศขยะแขยง โพสต์หอมแก้มลงโซเชียล" พล.ต.ท.เรวัช กลิ่นเกษร อดีตผู้บัญชาการสำนักงานปราบปรามยาเสพติด (บช.ปส.) แสดงความเห็น หลังมองว่าการ "แต่งเครื่องแบบตำรวจ" ไป "ทำท่าจูบกันหอมกัน" ทำให้ "เสื่อมเสียเกียรติและศักดิ์ศรีในวิชาชีพ ผู้บังคับบัญชาควรตั้งคณะกรรมการสอบทางจริยธรรมและวินัย" เนื่องจาก "ประพฤติตนไม่เหมาะสม” แม้ "ไม่ได้ผิดร้ายแรง" ตามรายงานข่าวของผู้จัดการออนไลน์</p><p>"ผมโทรไปต่อว่าอย่าทำอย่างนี้ ไม่ดี ไม่เหมาะ ผมเห็นด้วยกับสมรสเท่าเทียม ไม่ได้ว่าคนอื่นแต่ว่าน้องตำรวจคนนั้น ทุกอย่างจะดีจะสวยแล้ว เขาดันไปแต่งเครื่องแบบตำรวจ ถ้าไม่แต่งทุกอย่างสดชื่นสมูทมาก"</p><div class="more-story"><p><strong>เรื่องที่เกี่ยวข้อง</strong></p><ul><li>'สมรสเท่าเทียม' กทม.จดทะเบียนสมรสคึกคัก</li><li>กฎหมายสมรสเท่าเทียมบังคับใช้แล้ว ต้องทำอะไรต่อ? | หมายเหตุประเพทไทย EP.561</li></ul></div><h2>“เขาอาจจะรู้สึกหมั่นไส้”</h2><p>น่าสนใจว่าฝ่ายอนุรักษนิยมมีปฏิกิริยาออกมาในลักษณะอิหลักอิเหลื่อ หลังการบังคับใช้กฎหมายสมรสเท่าเทียม ด้านหนึ่งเห็นด้วยและยินดี (ต่างจากฝ่ายขวาอเมริกาที่ต่อต้านเรื่องนี้อย่างเข้มข้น) แต่อีกด้านก็ห้ามปรามการรณรงค์และการแสดงออก (ต่างจากฝ่ายขวาอเมริกาที่ดูจะต่อต้านเรื่องเหล่านี้น้อยกว่า โดยเฉพาะในประเด็นที่ตัวเองผลักดัน) คำถามจึงมีอยู่ว่าเพราะเหตุใดฝ่ายอนุรักษนิยมไทยจึงมีปฏิกิริยาออกมาในลักษณะดังกล่าว</p><p>รายงานของ BBC Thai ระบุว่าเดิมทีสังคมไทยเคยให้การยอมรับกลุ่มคนหลากหลายทางเพศมาก่อน เพราะเป็นสังคมพหุวัฒนธรรมและไม่ได้ซึมซับอคติทางเพศมาจากเจ้าอาณานิคมเหมือนกับชาติเพื่อนบ้าน ในประวัติศาสตร์ บุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศเคยมีส่วนร่วมในขนบการแสดงละครต่างๆ รวมถึงพิธีกรรมล้านนามาตลอด อย่างไรก็ตาม ทัศนะต่อต้าน LGBT ดูเหมือนจะเข้ามาแผ่ซ่านอยู่ช่วงหนึ่ง ภายใต้ระบอบทหารของจอมพล ป. พิบูลสงคราม</p><p>เมื่อเวลาผ่านไป สังคมไทยยอมรับความหลากหลายทางเพศมากขึ้นตามลำดับ จะเด็จ เชาวน์วิไล ผู้อำนวยการมูลนิธิหญิงชายก้าวไกลให้สัมภาษณ์กับประชาไทว่า สังคมไทยคุ้นเคยกับคู่รัก LGBT มานานแล้ว แต่ความก้าวหน้าสำคัญเกิดขึ้นหลังการเคลื่อนไหวของ LGBT ในการประท้วงเพื่อประชาธิปไตยในปี 2562-2563 จนกลายเป็นกฎหมายสมเท่าเทียมอย่างที่เห็นในปัจจุบัน</p><p>ความก้าวหน้าดังกล่าวอาจถูกขัดขวางจากกลุ่มอนุรักษนิยมได้ทุกเมื่อ เนื่องจากสถาบันจารีตเป็นผู้กุมอำนาจชี้ขาด อย่างไรก็ตาม พวกเขากลับไม่ได้มองว่ากฎหมายสมรสเท่าเทียมเป็นภัยคุกคามที่สำคัญต่อผลประโยชน์หรือระบบความเชื่อของพวกเขามากนัก ด้วยเหตุนี้พรรคการเมืองอนุรักษนิยมจึงร่วมกับพรรคการเมืองอื่นๆ ในการสนับสนุนประเด็นนี้</p><p>“เรายังเหมือนกับว่าเป็นสังคมที่ยังยืดหยุ่น เลยทำให้เวลาต่อสู้เรื่อง LGBT เนี่ย ฝ่ายขวา กลาง หรือว่าฝั่งซ้าย มีบางเรื่องที่ยังไปด้วยกันได้” จะเด็จกล่าวหลังอธิบายเปรียบเทียบกับสังคมมุสลิมซึ่งมีมักลงโทษคู่รักเพศเดียวกันอย่างรุนแรง</p><p>"เรื่อง LGBT มันไม่ได้ไปแก้โครงสร้างมาก คือถ้าเป็นอย่างเรื่องแก้รัฐธรรมนูญ คุณก็ต้องไปแก้หลายเรื่อง ซึ่งฝั่งอนุรักษ์อาจจะรับไม่ได้ เช่น เข้าไปทำให้อำนาจของทหารมีปัญหา ระบบราชการลดลง แบบนี้เขารับไม่ได้"</p><p>“ดังนั้น ผมคิดว่า LGBT ในสังคมไทยที่ยอมรับเนี่ย มันมาจากการที่ไม่ไปแตะผลประโยชน์เชิงโครงสร้าง ซึ่งทำให้เขาเสียผลประโยชน์มากมายนัก เพียงแต่ว่าเขาอาจจะรู้สึกหมั่นไส้ ถูกไหมครับ มันถึงได้ออกมาแบบแซว ออกมาพูดอะไรบ้าง</p><p>"อันนี้เราก็ต้องมองว่ามันเป็นเรื่องธรรมดาที่มันเป็นการถกเถียงแนวคิด สิ่งที่เราควรจะออกมาแลกเปลี่ยนก็คือเราต้องเอาเหตุผล แล้วก็จุดยืนที่เรามีอยู่ออกมาลบล้าง อย่างเช่นบอกว่าคุณจะไปห้ามตำรวจแต่งเป็นเครื่องแบบ แต่งตัว สำหรับผมแล้วมันเป็นเรื่องธรรมดามาก มันจะยิ่งทำให้วงการตำรวจดูก้าวหน้าด้วยซ้ำ"</p><div class="more-story"><p><strong>เรื่องที่เกี่ยวข้อง</strong></p><ul><li>ครบรอบ 10 ปี กม.สมรสเท่าเทียม อังกฤษและแคว้นเวลส์ มีคู่แต่งงาน LGBTQ+ ไปแล้วกี่คู่</li></ul></div><h2>ทางข้างหน้ายังอีกไกล</h2><p>แม้การสมรสเท่าเทียมจะเป็นสัญญาณที่ดี แต่จะเด็จเห็นว่าขบวนการเคลื่อนไหวของกลุ่ม LGBT ยังมีประเด็นต้องผลักดันอีกมาก ในสถาบันจารีต เช่น ตำรวจและทหารซึ่งแนวคิดชายเป็นใหญ่ยังยึดกุมแน่นหนา ก้าวต่อไปอาจเป็นการเรียกร้องสิทธิเสรีภาพการแสดงออกอัตลักษณ์ทางเพศในที่ทำงานมากขึ้น</p><p>"คุณให้เขาแต่งกายตามเพศสภาพได้ไหม อันนี้สเต็ปหนึ่งเลยนะครับ ต้องสู้เรื่องนี้ให้ขาดให้ได้ ไม่ว่าตำรวจหรือทหาร คุณก็ต้องยอมรับ ยังไงก็ต้องสู้เรื่องนี้ อันนี้ผมมองว่ามันเป็นสัญลักษณ์ เหมือนกับตอนนี้มหา’ลัยเขาก็ยอมแล้ว"</p><p>แทนที่จะยึดติดกับแนวคิดชายเป็นใหญ่เหมือนในอดีต ฝ่ายความมั่นคงควรส่งเสริมนโยบายโอบรับความหลากหลาย และส่งเสริมการแข่งขันโดยมุ่งเน้นไปที่ความสามารถของบุคลากรแทนการด่วนตัดสินผ่านอคติทางเพศ เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพของการบริการประชาชน</p><p>"ไม่ว่าเพศไหน ถ้ามีปัญหาเรื่องบทบาทหน้าที่การงานก็ต้องถูกจัดการหมด ไม่ใช่ว่าเฉพาะเพศหญิง หรือ LGBT เท่านั้นที่ทำให้ภาพพจน์เสีย เพศชายที่อยู่ในตำรวจภาพพจน์ก็แย่อยู่แล้ว ดังนั้น มีหลากหลายเพศแล้วอาจจะช่วยกันทำให้ตำรวจได้รับการยอมรับมากขึ้นก็ได้" จะเด็จกล่าว</p><p>"ถ้ามีเพศที่เป็น LGBT หรือมีเพศหญิงมากๆ ในวงตำรวจ แล้วก็มีลักษณะการที่จะรับใช้ประชาชน แล้วเค้ามีความหลากหลาย คนที่เป็นเพศหญิง คนที่เป็น LGBT เขาก็อยากไปใช้บริการ คุณควรจะสนับสนุนด้วยซ้ำใช่ไหมครับ มันจะทำให้ตำรวจเข้าถึงประชาชนมากขึ้น มากกว่าที่จะมีเฉพาะเพศชาย ซึ่งมีอำนาจเยอะ แล้วก็คนก็กลัว บางทีก็ไปแสดงอำนาจกับประชาชน"</p><p>การกำหนดโควตาให้แก่ผู้หญิงและกลุ่มผู้มีความหลากหลายเพศในระยะแรกอาจช่วยเปิดโอกาสให้คนเหล่านี้เข้ามาพิสูจน์ศักยภาพของตัวเองได้มากขึ้น จากนั้นจึงค่อยละทิ้งมาตรการเหล่านี้เมื่อสังคมให้การยอมรับแล้วอย่างกว้างขวาง</p><p>"ผมเชื่อว่าทุกคนอาจจะมี LGBT หรือเพศหญิงเป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ หรือเป็น ผบ.ทบ. ในอนาคต มันก็เป็นได้ถูกมั้ยครับ เพราะว่าอะไร เพราะว่าต่อให้คุณเป็นเพศไหน คุณก็สามารถที่จะบริหารงานและดูแลประชาชนได้อยู่แล้ว หรือสามารถที่จะทำให้ประชาชนปลอดภัยจากปัญหาเรื่องอาชญากรรมได้ มันไม่เกี่ยวกับเรื่องเพศไง เรื่องภาระหน้าที่มันเป็นเรื่องของความสามารถ ศักยภาพ ซึ่งไม่จำกัดเรื่องเพศ"</p><div class="more-story"><p><strong>เรื่องที่เกี่ยวข้อง</strong></p><ul><li>ทำไมต้องมี พ.ร.บ.คำนำหน้านาม? สิทธิอินเตอร์เซ็ก คนข้ามเพศ นอนไบนารี</li></ul></div><h2>ไปให้ไกลกว่าสมรสเท่าเทียม</h2><p>จะเด็จกล่าวถึงข้อเสนอในการคุ้มครองสิทธิ LGBT ที่ยังต้องผลักดันต่อไป แม้ว่าจะมีกฎหมายสมรสเท่าเทียมแล้ว</p><p>“คุณต้องอย่าลืมว่า LGBT ไม่ได้มีแค่ชนชนชั้นกลางอย่างเดียว LGBT ยังมีคนยากคนจน มีกลุ่มชาติพันธุ์ มีคนงาน มีกลุ่มพนักงานบริการ มีกลุ่มต่างๆ หลากหลาย ฉะนั้นเนี่ย LGBT ก็ต้องเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการทางสังคม ที่ขับเคลื่อนไปกับขบวนการทางสังคม ไม่ว่าเรื่องสวัสดิการทางสังคม ไม่ว่าเรื่องประเด็น sex worker หรือประเด็นเรื่องความเหลื่อมล้ำอื่นๆ”</p><p>"ตอนนี้มูลนิธิเรารับเคสที่เค้ามีชีวิตคู่แบบชายรักชายทำร้ายกัน คุณก็ต้องปกป้องเค้าถูกไหมครับ ดังนั้น LGBT บางคนก็มีลักษณะของชายเป็นใหญ่ อำนาจนิยม ทำร้ายชีวิตคู่ เรื่องนี้ก็ต้องออกมาเคลื่อนว่าทำแบบนี้มันไม่ได้"</p><p>หลังสมรสเท่าเทียมแล้ว คู่รัก LGBT ก็ยังต้องฝ่าฟันมายาคติอีกหลายอย่าง เช่น ความเชื่อว่าครอบครัว LGBT ไม่สามารถมีลูกได้

“การที่มีสมรสเท่าเทียมเนี่ยไม่ได้หมายความว่ามีข้อจำกัดว่าเขาจะมีลูกไม่ได้ เขาก็สามารถมีลูกได้ เขาก็สามารถที่จะเอาเด็กมาเลี้ยงได้ใครับ เราก็เห็นมีเด็กกำพร้าเยอะ มีหลายคู่เขาก็ต้องการที่จะมีเด็กที่เขาเลี้ยงแล้วก็สืบทอดครอบครัว ผมคิดว่าสังคมก็ต้องเปิดกว้างแล้วก็เข้าใจเรื่องนี้มากขึ้น”</p><p>กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศยังต้องเผชิญความท้าทายอีกมาก ตั้งแต่ปัญหาเรื่องการยอมรับไปจนถึงปัญหาเรื่องความยากจนและความรุนแรง เมื่อยังมีประเด็นที่ต้องผลักดัน การแสดงออกอย่างกระมิดกระเมี้ยนตามข้อเสนอของฝ่ายอนุรักษ์นิยมคงไม่ใช่ทางออก</p><p>“เราจะมาหยุดยั้งหรือจะมาบอกว่ามันเวอร์ไม่ได้ครับ เพราะว่าต้องอย่าลืมว่าที่ผ่านมา LGBT ถูกกดทับ ถูกกดดันมาก เพราะงั้นการแสดงออกของเขาก็คือเป็นการแสดงออกถึง ซึ่งเสรีภาพของเขา ที่อยากจะบอกว่าเขามีอัตลักษณ์ มีความเป็นเพศของเขายังไง ก็เป็นเรื่องธรรมดาที่เขาแต่งสมรสแล้ว แล้วเขาก็ออกมาพูดเรื่องนี้ มาแสดงออกว่า เออ ชีวิตคู่เขา”</p></div>
      <div class="node-taxonomy-container">
    <ul class="taxonomy-terms">
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" hreflang="th">ข่าhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" hreflang="th">การเมือhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1" hreflang="th">สังคhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99" hreflang="th">สิทธิมนุษยชhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95" hreflang="th">คุณภาพชีวิhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8" hreflang="th">ต่างประเทhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1" hreflang="th">สมรสเท่าเทียhttp://prachatai.com/category/%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A8%E0%B8%AA%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E" hreflang="th">เพศสภาhttp://prachatai.com/category/lgbtq" hreflang="th">LGBTQ+[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B4-%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%A5" hreflang="th">สนธิ ลิ้มทองกุhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%95%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%88" hreflang="th">ตำรวhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%9D%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%82%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2" hreflang="th">ฝ่ายขวาไทhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%88-%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B9%8C%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B9%84%E0%B8%A5" hreflang="th">จะเด็จ เชาวน์วิไhttps://prachataistore.net</div>
     
 

http://prachatai.com/journal/2025/02/112148
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.145 วินาที กับ 28 คำสั่ง

Google visited last this page วานนี้