[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 09:07:34 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พุทธทำนาย ถอดความจากศิลาจารึก เขตมหาวิหาร สวนมฤคทายวัน ประเทศอินเดีย  (อ่าน 4167 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 05 มิถุนายน 2553 11:23:42 »

วันพฤหัสบดี, กันยายน 3, 2009
พุทธทำนาย
พุทธทำนาย ถอดความจากศิลาจารึก เขตมหาวิหาร สวนมฤคทายวัน ประเทศอินเดีย



 




พุทธทำนาย: ถอดความจากศิลาจารึก เชตมหาวิหาร สวนมฤคทายวัน ประเทศอินเดีย

สาธุ อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นพระสัพพัญญูรู้แจ้งโลกทั้งในอดีตและอนาคต ทรงทีเมตตากรุณาแก่สัตว์โลกเป็นล้นพ้น เมื่อครั้งพระองค์ดำรงพระชนมายุอยู่ได้ตรัสแก่พระอานนท์ว่า

ดูก่อน อานนท์ เมื่อศาสนาตถาคตล่วงเลยไปถึงกึ่งพุทธกาล สัตว์โลกทั้งหลายที่เกิดในยุคนั้นจะพบความลำบากทุกชาติทุกศาสนา ตามธรรมชาติอันหมุนเวียนของโลก ที่หมุนไปใกล้ความแตกทำลาย แผ่นดินแผ่นน้ำจะลุกเป็นไฟ มนุษย์และสัตว์จะได้รับภัยพิบัติสารพัดทั่วทิศ

คน ในสมัยนั้น ( คือปัจจุบัน ) จะมีวิสัยโหดดุจกำเนิดจากสัตว์ป่าอำมหิต จะรบราฆ่าฟันกันถึงเลือดนองแผ่นดินแผ่นน้ำ ส่วนเวไนยสัตว์ผู้ขวนขวายในกุศลตามวัจนะของตถาคต ก็จะระงับร้อนไม่รุนแรง บ้านเมืองใดมีความเคารพยำเกรงในพระรัตนตรัยและคุณบิดามารดา เหตุร้ายภัยพิบัติจักเบาบาง แต่ก็จะหนีกฏธรรมชาติไม่พ้น

เริ่มแต่ พระพุทธศาสนาล่วงเลย 2,500 ปีเป็นต้นไป ไฟจะลุกลามทางทิศตะวันออก(เอเชีย) ไหม้วัดวาอารามสมณะชีพราหมณ์จะอดอยากยากเข็ญ(ไหม้จริงที่ภาคใต้พระไปบิ ณทบาตรยังไม่ได้เลยแล้วจะกินอะไรละโยม) ลูกไฟจะตกจากฟ้าเป็นเพลิงผลาญ เหล็กกล้าจะทะยานจากน้ำ (เรือดำน้ำ)มหาสมุทรจะชอกช้ำ สงครามจะทั่วทิศ ศึกจะติดเมือง ทหารจะเป็นเจ้า ข้าวจะขาดแคลน ทั่วแคว้นจะอดอยาก ผีโขมดป่าจะเข้าเมือง พระเสื้อเมืองพระทรงเมืองจะหนีเข้าไพร ผู้เป็นใหญ่มีอำนาจจะเรียกแมลงผีเสื้อเหล็กนับแสนตัว(เครื่องบินงัย) มาปล่อยไข่เป็นไฟผลาญ(ลูกระเบิด) ยักษ์หินที่ถูกสาบ(ภูเขาไฟ)มาเป็นเวลานาน จะตื่นขึ้นมาอาละวาดโลก ดินฟ้าอากาศจะแปรปรวน ตลิ่งจะพัง แผ่นอธรรมจะถล่มเป็นทะเล โลกมนุษย์จะดิ่งสู่ความหายนะ นักปราชญ์จะถูกทำร้ายให้สิ้นสูญ

ในระยะนั้นศาสนาของตถาคตเสื่อมลง มาก เพราะพุทธบริษัทไม่ตั้งอยู่ในศีลธรรม เชื่อคำของคนโกง กล่าวคำเท็จไม่เคารพหลักธรรมนิยม คนประจบสอพลอได้รับการเชื่อถือในสังคม ผู้มีศีลธรรมประพฤติชอบกลับไม่มีใครเคารพยำเกรง

พระธรรมจะเริ่ม เปล่งแสงรัศมีฉายส่องโลกอีกวาระหนึ่งก็ต่อเมื่อมีธรรมิราชโพธิญาณบังเกิด ขึ้นอยู่ในความอุปถัมภ์ของพระเถระผู้ทรงธรรมฤทธิ์ ทั้งสองพระองค์สถิตย์ ณ เบื้องตะวันออกของมัชฌิมประเทศ(ชนบท) จะเสด็จมาเสริมสร้างศาสนาของตถาคตให้รุ่งเรืองสืบไปถึง 5.000 พระวรรษา

ดู ก่อนอานนท์ เวลานั้นพลโลกเหลือน้อย คำทำนายของตถาคตนี้ย่อมยังเวไนยสัตว์ให้ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท ผู้ใดรู้แล้วไม่เชื่อ นับว่าเป็นกรรมของสัตว์โลกที่ต้องสิ้นสุดไปตามกรรมชั่วของตน

ผู้ใด ปรารถนารอดพ้นจากภัยพิบัติให้รักษาศีลห้าประการ เจริญเมตตากรุณา ประกอบสัมมาอาชีพ มีใจสันโดษ รู้จักพอ ไม่หลงมัวเมาอำนาจและลาภยศ ตั้งใจประพฤติตนตามคำสอนของตถาคตให้มั่นคงจึงจะพ้นอันตรายในยุคกึ่งพุทธกาล



 

พุทธทำนาย (คัดลอกจากพระไตรปิฎกอรรถกถา)
พระ บรมศาสดาเมื่อประทับอยู่  ณ  พระเชตวันมหาวิหารทรงปรารภมหาสุบิน  ๑๖  ข้อ  ตรัสพระธรรมเทศนานี้  มีคำเริ่มต้นว่า  ลาวูนิ  สีทนฺติ  ดังนี้.
        ดังได้สดับมา  วันหนึ่งพระเจ้าโกศลมหาราช  เสด็จเจ้าสู่นิทรารมย์  ในราตรีกาล  ในปัจฉิมยาม  ทอดพระเนตรเห็น  พระสุบินนิมิตอันใหญ่หลวง  ๑๖  ประการ  ทรงตระหนกพระทัยตื่นพระบรรทม  ทรงพระดำริว่า  เพราะเราเห็นสุบินนิมิตเหล่านี้จักมีอะไรแก่เราบ้างหนอ  เป็นผู้อันความสะดุ้งต่อมรณภัยคุกคามแล้ว  ทรงประทับเหนือพระแท่นที่ไสยาสน์นั่นแล  จนล่วงราตรีกาล
        ครั้นรุ่งเช้า      พวกพราหมณ์ปุโรหิตเข้าเฝ้ากราบทูลถามว่า 
พ. "ข้าแต่พระมหาราชเจ้า  พระองค์บรรทมเป็นสุขหรือพระเจ้าข้า ?"  รับสั่งตอบว่า 
ร. "ท่านอาจารย์ทั้งหลาย  เราจักมีความสุขได้อย่างไรเมื่อคืนนี้เวลาใกล้รุ่ง  เราเห็นสุบินนิมิต  ๑๖  ข้อ  ตั้งแต่เห็นสุบินนิมิตเหล่านั้นแล้ว  เราถึงความหวาดกลัวเป็นกำลัง"  เมื่อพวกปุโรหิตกราบทูลว่า 
พ. "ข้าแต่พระมหาราชเจ้า  โปรดตรัสเล่าเถิดพระเจ้าข้า  พวกข้าพระองค์สดับแล้ว  จักทำนายถวายได้"  จึงตรัสเล่าพระสุบินที่ทรงเห็นแล้วให้พวกพราหมณ์ฟัง  แล้วตรัสว่า 
ร. "เพราะเหตุเห็นสุบินเหล่านี้  จักมีอะไรแก่เราบ้าง ?"  พวกพราหมณ์พากันสลัดมือ.  เมื่อรับสั่งถามว่า 
ร. "เพราะเหตุไร  พวกท่านจึงพากันสลัดมือเล่า  ?"  พวกพราหมณ์จึงพากันกราบทูลว่า   
พ. "ข้าแต่พระมหาราชเจ้า  พระสุบินทั้งหลายร้ายกาจนัก"
ร. "พระสุบินเหล่านั้นจักมีผลเป็นประการใด  ?"
พ. "จักมีอันตราย  ๓  อย่างเหล่านี้  คือ  อันตรายแก่ราชสมบัติ  ๑  อันตราย  คือโรคจะเบียดเบียน  ๑  อันตรายแก่พระชนม์  ๑  อย่างใดอย่างหนึ่ง"
ร. "พอจะแก้ไขได้  หรือแก้ไขไม่ได้"
พ. "ขอเดชะ  พระสุบินเหล่านี้  หมดทางแก้ไขเป็นแน่แท้  เพราะร้ายแรงยิ่งนัก  แต่พวกข้าพระองค์ทั้งหลาย  จักกระทำให้พอแก้ไขได้  เมื่อพวกหม่อมฉันไม่สามารถเพื่อจะแก้ไขพระสุบินเหล่านี้ได้แล้ว  ขึ้นชื่อว่าความเป็นผู้สำเร็จการศึกษา  จักอำนวยประโยชน์อะไร ?"
ร. "ท่านอาจารย์ทั้งหลาย  จักกระทำอย่างไรเล่า  ถึงจักให้คืนคลายได้"
พ. "ข้าแต่มหาราชเจ้า  พวกข้าพระองค์ต้องบูชายัญด้วยวัตถุอย่างละ  ๔  ทุกอย่างพระเจ้าข้า"  พระราชา
ทรงสะดุ้งพระทัย"  ตรัสถามว่า
ร. "ท่านอาจารย์ทั้งหลายถ้าเช่นนั้น  เราขอมอบชีวิตไว้ในมือของพวกท่านเถิด  พวกท่านรีบกระทำความสวัสดีแก่เราเร็ว  ๆ  เถิด" 
พวก พราหมณ์พากันร่าเริงยินดี ว่า  พวกเราต้องได้ทรัพย์มาก  จักต้องได้ของเคี้ยวกินมามาก  ๆ   แล้วพากันกราบทูลปลอบพระราชาว่า  ข้าแต่มหาราชเจ้า  อย่าได้ทรงวิตกเลยพระเจ้าข้า  แล้วพากันออกจากราชนิเวศน์จัดทำหลุมบูชายัญที่นอกพระนคร  จับฝูงสัตว์  ๔  เท้ามาเหล่ามัดเข้าไว้ที่หลักยัญ  รวบรวมฝูงนกเข้าไว้เสร็จแล้ว  เที่ยวกันขวักไขว่ไปมา  กล่าวว่า  เราควรจะได้สิ่งนี้  ๆ.
        ครั้งนั้นแล  พระนางมัลลิกาเทวีทรงทราบเหตุนั้น  ก็เข้าเฝ้า พระราชากราบทูลถามว่า 
ม. "ข้าแต่มหาราชเจ้า  พวกพราหมณ์พากันเที่ยวขวักไขว่ไปมา  มีเรื่องอะไรหรือเพคะ ?" 
ร. "แน่ะนางผู้เจริญ  เธอมัวแต่สุขสบาย  จึงไม่รู้ว่าอสรพิษมันสัญจรอยู่ใกล้  ๆ  หูของพวกเรา"   
ม. "ข้าแต่มหาราช  เรื่องนั้นคืออะไรเพคะ ?"  พระราชารับสั่งว่า 
ร. "เราฝันร้ายถึงปานนี้  พวกพราหมณ์พากันทำนายว่า  อันตรายใน  ๓  อย่างไม่อย่างใดอย่างหนึ่งก็จักปรากฏ  เพื่อบำบัดอันตรายเหล่านั้นต้องบูชายัญ  จึงต้องสัญจรไปมาอยู่บ่อยๆ" 
ม. "ข้าแต่มหาราชเจ้า  ก็ผู้ที่เป็นยอดพราหมณ์ในโลก  พร้อมทั้งเทวโลก  ทูลกระหม่อมได้ทูลถามถึงการแก้ไข  พระสุบินแล้วหรือเพคะ ?"   
ร. "นางผู้เจริญ  พระ-ผู้เป็นยอดพราหมณ์ในโลกพร้อมทั้งเทวโลกนั้น  เป็นใครกันเล่า?" 
ม. "ทูลกระหม่อมไม่ทรงรู้จัก  มหาพราหมณ์โคดมผู้ตถาคต  หมดกิเลสบริสุทธิ์แล้ว  เป็นสัพพัญญู  เป็นบุคคลผู้เลิศในโลก  พร้อมทั้งเทวโลก  ดอกหรือเพคะ  พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น  คงทรงทราบเหตุในพระสุบินแน่นอน  ขอเชิญทูลกระหม่อม  เสด็จพระราชดำเนินไปกราบทูลถามเถิดเพคะ"
ร. "ดีละ  เทวี"
แล้ว เสด็จไปยังพระวิหาร ถวายบังคมพระบรมศาสดาแล้วประทับนั่งอยู่  พระศาสดาทรงเปล่งพระสุรเสียงอันไพเราะ  ตรัสถามว่า  มหาบพิตร  เหตุไรเล่า  บพิตรจึงเสด็จมา  ดุจมีราชกิจด่วน.  พระราชากราบทูลว่า 
ร. "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  เมื่อใกล้รุ่ง  หม่อมฉันเห็นมหาสุบิน  ๑๖  ข้อ สะดุ้งกลัว  บอกเล่าแก่พวกพราหมณ์  พวกพราหมณ์ทำนายว่า  ข้าแต่มหาราชเจ้า  พระสุบินร้ายแรงนัก  เพื่อระงับสุบินเหล่านั้นต้องบูชายัญ  ด้วยยัญวัตถุ  อย่างละ  ๔  ครบทุกอย่าง  แล้วพากันเตรียมบูชายัญ  ฝูงสัตว์เป็นอันมากถูกมรณภัยคุกคาม  ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า  พระองค์เป็นบุคคลผู้เลิศในโลก  ทั้งเทวโลก. เญยยธรรมที่เข้าไปกำหนดอดีต  อนาคต  ปัจจุบัน  ที่ยังไม่มาถึงซึ่งครรลองในญานมุขของพระองค์นั้นมิได้มีเลย  ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า  ขอพระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดทำนายผลแห่งสุบินของหม่อมฉันเหล่านั้นเถิด  พระเจ้าข้า" พระศาสดาตรัสว่า
ภ. "ขอถวายพระพร  เป็นเช่นนั้นทีเดียวมหาบพิตร  ในโลกทั้งเทวโลกเว้นตถาคตเสียแล้ว  ผู้อื่นที่จะได้ชื่อว่าสามารถรู้เหตุ  หรือผลของพระสุบินเหล่านี้  ไม่มีเลย  ตถาคตจักทำนายให้มหาบพิตรก็แต่ว่ามหาบพิตรจงตรัสบอกพระสุบินตามทำนองที่ทรง เห็นนั้นเถิด"  พระราชาทรงรับพระพุทธดำรัสว่า 
ร. "ดีละ  พระพุทธเจ้าข้า"  เริ่มกราบทูลพระสุบิน  ตามทำนองที่ทรงเห็นอย่างถี่ถ้วน  โดยทรงวางหัวข้อไว้ดังนี้  ว่า…




"โคอุสุภราชทั้งหลาย  ๑  ต้นไม้ทั้งหลาย  ๑
แม่โคทั้งหลาย  ๑  โคทั้งหลาย  ๑ 
ม้า ๑  ถาดทอง  ๑
สุนัขจิ้งจอก  ๑  หม้อน้ำ  ๑ 
สระโบกขรณี  ๑  ข้าวไม่สุก  ๑ 
แก่นจันทน์  ๑   น้ำเต้าจม  ๑ 
ศิลาลอย  ๑   เขียดขยอกงู  ๑ 
หงส์ทองล้อมกา  ๑  เสือกลัวแพะ ๑

สุบินนิมิตข้อที่ ๑
แล้ว ตรัสว่า  ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  หม่อมฉันเห็นสุบินข้อ  ๑  อย่างนี้ก่อนว่า  โคผู้  สีเหมือนดอกอัญชัน  ๔  ตัว  ต่างคิดว่าจักชนกัน  พากันวิ่งมาสู่ท้องพระลานหลวง  จากทิศทั้ง  ๔  เมื่อมหาชนประชุมกันคิดว่า  พวกเราจักดูโคชนกัน  ต่างแสดงท่าทางจะชนกัน  บันลือเสียงคำรามลั่น  แล้วไม่ชนกัน  ต่างถอยออกไป  หม่อมฉันเห็นสุบินนี้เป็นปฐม  อะไรเป็นผลของสุบินนี้  พระเจ้าข้า  ?
        มหาบพิตร  ผลของสุบินข้อนี้  จักไม่มีในชั่วรัชกาลของมหาบพิตร  ในชั่วศาสนาของตถาคต  แต่ในอนาคต  เมื่อโลกหมุนไปถึงจุดเสื่อม  ในรัชกาลของพระราชาผู้กำพร้า  ผู้มิได้ครองราชย์โดยธรรม  และในกาลของหมู่มนุษย์ผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม  เมื่อกุศลธรรมลดน้อยถอยลง  อกุศลธรรมหนาแน่นขึ้น  ในกาลที่โลกเสื่อม  ฝนจักแล้ง  และตีนเมฆจักขาด  ข้าวกล้าจักแห้ง  ทุพภิกขภัยจักเกิด  เมฆทั้งหลายตั้งขึ้นจากทิศทั้ง  ๔  เหมือนจะย้อยเม็ด  พอพวกผู้หญิงรีบเก็บข้าวเปลือกเป็นต้น  ที่เอาออกผึ่งแดดไว้เข้าภายในร่ม  เพราะกลัวจะเปียก  เมื่อพวกผู้ชายต่างถือจอบถือตะกร้าพากันออกไป  เพื่อจะก่อคันกั้นน้ำ  ก็ตั้งเค้าจะตก  ครางกระหึ่ม  ฟ้าแลบ  แล้วก็ไม่ตกเลย  ลอยหายไป  เหมือนโคตั้งท่าจะชนกันแล้วไม่ชนกันฉะนั้น  นี้เป็นผลของสุบินนั้น  แต่ไม่มีอันตรายไร  ๆ  แก่มหาบพิตร  เพราะเรื่องนั้นเป็นปัจจัย  มหาบพิตรเห็นสุบินนี้  ปรารภอนาคต  ฝ่ายพวกพราหมณ์อาศัยการเลี้ยงชีวิตของตน  จึงทำนายดังนี้.  พระบรมศาสดาครั้นตรัสบอกผลแห่งสุบินด้วยประการฉะนี้แล้ว  ตรัสว่า  จงตรัสเล่าสุบินข้อที่  ๒ เถิด  มหาบพิตร.

สุบินนิมิตข้อที่ ๒
        ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  หม่อมฉันได้เห็นสุบินข้อที่  ๒  อย่างนี้ว่า  ต้นไม้เล็ก  ๆ  และกอไผ่  แทรกแผ่นดินพอถึงคืบหนึ่งบ้าง  ศอกหนึ่งบ้าง  เพียงแค่นี้ก็ผลิตดอกออกผลไปตาม  ๆ.  กัน นี้เป็นสุบินข้อที่  ๒  ที่หม่อมฉันได้เห็น  อะไรเป็นผลของสุบินนี้  พระเจ้าข้า  ?
        มหาบพิตร  ผลแม้ของสุบินข้อนี้  ก็จักมีในกาลที่โลกเสื่อม เวลามนุษย์มีอายุน้อย  ด้วยว่าสัตว์ทั้งหลายในอนาคตจักมีราคะกล้า  กุมารีมีวัยยังไม่สมบูรณ์  จักสมสู่กับบุรุษอื่น  เป็นหญิงมีระดู  มีครรภ์  พากันจำเริญด้วยบุตรและธิดา  ความที่กุมารีเหล่านั้น  มีระดูเปรียบเหมือนต้นไม้เล็ก  ๆ  มีดอก  กุมารีเหล่านั้นจำเริญด้วยบุตรและธิดา  ก็เหมือนต้นไม่เล็ก ๆ   มีผล  ภัยแม้มีนิมิตนี้เป็นเหตุ  ไม่มีแก่มหาบพิตรดอก  จงตรัสเล่าข้อที่  ๓  ต่อไปเถิด  มหาบพิตร.

สุบินนิมิตข้อที่ ๓
        ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  หม่อมฉันได้เห็นแม่โคใหญ่  ๆ พากันดื่มนมของฝูงลูกโค  ที่เพิ่งเกิดในวันนั้น  นี้เป็นสุบินข้อที่  ๓  ของหม่อมฉัน  อะไรเป็นผลแห่งสุบินนั้น  พระเจ้าข้า  ?
        มหาบพิตร  แม้ผลของสุบินนี้  ก็จักมีในอนาคตเหมือนกัน  จักมีผลในเวลาที่มนุษย์ทั้งหลาย  พากันละทิ้งเชษฐาปจายิกกรรม  คือความเป็นผู้ประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่  เพราะในอนาคตฝูงสัตว์จักมิได้ตั้งไว้ซึ่งความยำเกรงในมารดาบิดา  หรือในแม่ยาย  พ่อตา  ต่างแสวงหาทรัพย์สินด้วยตนเองทั้งนั้น  เมื่อปรารถนาจะให้ของกินของใช้แก่คนแก่  ๆ  ก็ให้  ไม่ปรารถนาจะให้ก็ไม่ให้  คนแก่  ๆ  พากันหมดที่พึ่ง  หาเลี้ยงตนเองก็ไม่ได้  ต้องง้อพวกเด็ก  ๆ เลี้ยงชีพ  เป็นเหมือนแม่โคใหญ่  ๆ  พากันดื่มนมลูกโคที่เกิดในวันนั้น  แม้ภัยมีสุบินนี้เป็นเหตุ  ก็ไม่มีแก่มหาบพิตร  ตรัสเล่า
สุบินข้อที่  ๔  ต่อไปเถิดมหาบพิตร.

สุบินนิมิตข้อที่ ๔
        ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  หม่อมฉันเห็นฝูงชนไม่เทียมโคใหญ่  ๆ  ที่เคยพาแอกไป  ซึ่งสมบูรณ์ด้วยร่างกายและเรี่ยวแรงเข้าในระเบียบแห่งแอก  กลับไปเทียมโครุ่น  ๆ  ที่กำลังฝึกเข้าในแอก  โครุ่น  ๆ  เหล่านั้นไม่อาจพาแอกไปได้  ก็พากันสลัดแอกยืนเฉยเสีย  เกวียนทั้งหลายก็ไปไม่ได้  นี้เป็นสุบินข้อที่  ๔  ของหม่อมฉัน  อะไรเป็นผลของสุบินนี้พระเจ้าข้า  ?
        มหาบพิตร  ผลของสุบินแม้ข้อนี้  ก็จักมีในรัชสมัยของพระราชาผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม  ในอนาคตเหมือนกัน  ด้วยว่าในภายหน้า  พระราชาผู้มีบุญน้อย  มิได้ดำรงในธรรม  จักไม่พระ-ราชทานยศแก่มหาอำมาตย์ผู้เป็นบัณฑิต  ฉลาดในประเพณี สามารถที่จะยังสรรพกิจให้ลุล่วงไปได้  จักไม่ทรงแต่งตั้งอำมาตย์ผู้ใหญ่  ผู้เป็นบัณฑิต  ฉลาดในโวหารไว้ในที่วินิจฉัยคดีในโรงศาล  แต่พระราชทานยศแก่คนหนุ่ม  ๆ  ตรงกันข้ามกับที่กล่าวแล้วนั้น  แต่งตั้งบุคคลเช่นนั้นไว้ในตำแหน่งผู้วินิจฉัยอรรถคดี  คนหนุ่มพวกนั้น  ไม่รู้ทั่วถึงราชกิจ  และการอันควรไม่ควร  ไม่อาจดำรงยศนั้นไว้ได้  ทั้งไม่อาจจัดทำราชกิจให้ลุล่วงไปได้  เมื่อไม่อาจก็จักพากันทอดทิ้งธุระการงานเสีย  ฝ่ายอำมาตย์ที่เป็นบัณฑิตเป็นผู้ใหญ่   เมื่อไม่ได้ยศ  ถึงจะสามารถที่จะให้กิจทั้งหลายลุล่วงไป  ก็จักพากันกล่าวว่า  พวกเราต้องการอะไรด้วยเรื่องเหล่านี้  พวกเรากลายเป็นคนภายนอกไปแล้ว  พวกเด็กหนุ่มเขาเป็นพวกอยู่วงใน  เขาคงรู้ดี  แล้วไม่รักษาการงานที่เกิดขึ้น  เมื่อเป็นเช่นนี้  ความเสื่อมเท่านั้นจักมีแก่พระราชาเหล่านั้น  ด้วยประการทั้งปวง  เป็นเสมือนเวลาที่คนจับโครุ่น  ๆ  กำลังฝึก  ยังไม่สามารถจะพาแอกไปได้  เทียมไว้ในแอก  และเป็นเวลาที่ไม่จับเอาโคใหญ่  ๆ 
ผู้เคยพาแอกไปได้  มาเทียมแอกฉะนั้น  แม้ภัยมีสุบินนี้เป็นเหตุ ก็ย่อมไม่มีแก่มหาบพิตร  เชิญตรัสบอกสุบินที่  ๕  เถิดมหาบพิตร.

สุบินนิมิตข้อที่ ๕
        ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  หม่อมฉันได้เห็นม้าตัวหนึ่ง  มีปากสองข้าง  ฝูงชนพากันให้หญ้าที่ปากทั้งสองข้างของมัน  มันเคี้ยวกินด้วยปากทั้งสองข้าง  นี้เป็นสุบินที่  ๕  ของหม่อมฉัน  อะไรเป็นผลของสุบินนี้  พระเจ้าข้า  ?
        มหาบพิตร  ผลของสุบินแม้นี้  ก็จักมีในรัชกาลของพระราชาผู้ไม่ดำรงในธรรม  ในอนาคตเหมือนกัน  ด้วยว่าในกาลภายหน้าพวกพระราชาโง่เขลา  ไม่ดำรงธรรม  จักทรงแต่งตั้งมนุษย์โลเลไม่ประกอบด้วยธรรม  ไว้ในตำแหน่งวินิจฉัยคดี  คนเหล่านั้นเป็นพาล  ไม่เอื้อเฟื้อในบาปบุญ  พากันนั่งในโรงศาล   เมื่อให้คำตัดสิน  ก็จักรับสินบนจากมือของคู่คดีทั้งสองฝ่ายมากิน  เป็นเหมือนม้ากินหญ้าด้วยปากทั้งสองฉะนั้น  ภัยแม้มีสุบินนี้เป็นเหตุก็ย่อมไม่มีแก่มหาบพิตรดอก  เชิญตรัสบอกสุบินที่  ๖  เถิดมหาบพิตร.

สุบินนิมิตข้อที่ ๖
        ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  หม่อมฉันเห็นมหาชนขัดถูถาดทองราคาตั้งแสนกระษาปณ์  แล้วพากันนำไปให้หมาจิ้งจอกแก่ตัวหนึ่งด้วยคำว่า  เชิญท่านเยี่ยวใส่ในถาดทองนี้เถิด  หมาจิ้งจอกแก่นั้นก็ถ่ายปัสสาวะใส่ในถาดทองนั้น นี้เป็นสุบินข้อที่ ๖ ของหม่อมฉันอะไรเป็นผลแห่งสุบินข้อนี้พระเจ้าข้า?
        มหาบพิตร  ผลของสุบินนี้ก็จักมีในอนาคตเหมือนกันด้วยว่า  ในกาลภายหน้า  พวกพระราชาผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม  ทรงรังเกียจกุลบุตรผู้สมบูรณ์ด้วยชาติเสีย  แล้วไม่พระราชทานยศให้  จักพระราชทานให้แก่คนที่ไม่มีสกุลเท่านั้น  เมื่อเป็นเช่นนี้สกุลใหญ่  ๆ  จักพากันตกยาก  สกุลเลว  ๆ  จักพากันเป็นใหญ่ก็เมื่อพวกมีสกุลเหล่านั้น  ไม่อาจเลี้ยงชีวิตอยู่ได้  จักคิดว่า  เรา
ต้องอาศัยพวกเหล่านี้เลี้ยง ชีวิตสืบไป  แล้วก็พากันยกธิดาให้แก่ผู้ไม่มีสกุล  การอยู่ร่วมกับคนพวกไม่มีสกุลของกุลธิดาเหล่านั้นก็จักเป็นเช่นเดียวกับถาด ทองรองเยี่ยวหมาจิ้งจอก  ภัยแม้มีสุบินนี้เป็นเหตุ  ก็ย่อมไม่มีแก่มหาบพิตร  เชิญตรัสบอกสุบินที่  ๗  เถิดมหาบพิตร.       




สุบินนิมิตข้อที่ ๗
        ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  หม่อมฉันได้เห็นอย่างนี้  บุรุษผู้หนึ่งฟั่นเชือก  แล้วหย่อนไปที่ใกล้เท้าแม่หมาจิ้งจอกโซตัวหนึ่ง  นอนอยู่ใต้ตั้งที่บุรุษนั่ง  กัดกินเชือกนั้น  เข้าไม่ได้รู้เลยที่เดียว  นี้เป็นสุบินข้อที่  ๗  ของหม่อมฉัน  อะไรเป็นผลแห่งสุบินข้อนี้  พระเจ้าข้า  ?
        มหาบพิตร  ผลแม้ของสุบินข้อนี้  ก็จักมีในอนาคตเหมือนกันด้วยว่าในกาลภายหน้า  หมู่สตรี  จักพากันเหลาะแหละโลเลในบุรุษ  ลุ่มหลงในสุรา  เอาแต่แต่งตัว  ชอบเที่ยวเตร่ตามถนนหนทาง  เห็นแก่อามิส  เป็นหญิงทุศีล  มีความประพฤติชั่วช้าพวกนางจักกลุ้มรุมกันแย่งเอาทรัพย์ที่สามีทำงาน  มีกสิกรรมและโครักขกรรมเป็นต้น  สั่งสมไว้ด้วยยาก  ลำบากลำเค็ญเอาไปซื้อสุราดื่มกับชายชู้  ซื้อดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้มาแต่งตน  คอยสอดส่องมองหาชายชู้  โดยส่วนบนของบ้านที่มิดชิดบ้าง  โดยที่ซึ่งลับตาบ้าง  แม้ข้าวเปลือกที่เตรียมไว้สำหรับหว่านในวันรุ่งขึ้น  ก็เอาไปซ้อม  จัดทำเป็นข้าวต้ม  ข้าวสวย  และของเคี้ยวเป็นตน  มากินกัน  เป็นเหมือนนางหมาจิ้งจอกโซ  ที่นอนใต้ตั่งคอยกัดกินเชือกที่เขาฟั่นแล้ว  หย่อนลงไว้ใกล้  ๆ  เท้าฉะนั้นภัยแม้มีสุบินนี้เป็นเหตุ  ก็ยังไม่มีแก่มหาบพิตร  เชิญตรัสเล่าสุบินข้อที่  ๘  เถิดมหาบพิตร.

สุบินนิมิตข้อที่ ๘
        ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  หม่อมฉันได้เห็นตุ่มน้ำเต็มเปี่ยมลูกใหญ่ใบหนึ่ง  ตั้งอยู่ที่ประตูวัง  ล้อมด้วยตุ่มเป็นอันมาก  วรรณะทั้ง  ๔  เอาหม้อตักน้ำมาจากทิศทั้ง  ๔  และทิศน้อยทั้งหลาย  เอา
มาใส่ลงตุ่มที่ เต็มแล้วนั่นแหละ  น้ำก็เต็มแล้วเต็มอีก  จนไหลล้นไป  แม้คนเหล้านั้นก็ยังเทน้ำลงในตุ่มนั้นอยู่เรื่อย  ๆ  แต่ไม่มีผู้ที่จะเหลียวแลดูตุ่มที่ว่าง  ๆ  เลย  นี้เป็นสุบินข้อที่  ๘  ของหม่อมฉันอะไรเป็นผลของสุบินนี้  พระเจ้าข้า  ?
        มหาบพิตร  ผลแห่งสุบินนี้จักมีในอนาคตเหมือนกัน  ด้วยว่าในกาลภายหน้า  โลกจักเสื่อม  แว่นแคว้นจักหมดความหมายพระราชาทั้งหลายจักตกยาก  เป็นกำพร้า  องค์ใดเป็นใหญ่  องค์นั้น  จักมีพระราชทรัพย์เพียงแสนกระษาปณ์ในท้องพระคลังพระราชาเหล่านั้นตกยากถึง อย่างนี้  จักเกณฑ์ให้ชาวชนบททุกคน  ทำการเพาะปลูกให้แก่ตน  พวกมนุษย์ถูกเบียดเบียนต้องละทิ้งการงานของตน  พากันเพาะปลูก  ปุพพันพืช  แลอปรันพืช  ให้แก่พระราชาทั้งหลายนั้น  ต้องช่วยกันเฝ้าช่วยกันเก็บเกี่ยว  ช่วยกันนวด  ช่วยกันขน  ช่วยกันเคี่ยวน้ำอ้อย  เป็นต้น  และช่วยกันทำสวนดอกไม้  สวนผลไม้  พากันขนปุพพันพืชเป็นต้นที่เสร็จแล้ว  ในที่นั้น  ๆ  มาบรรจุไว้ยุ้งฉางของพระราชาเท่านั้น  แม้ผู้ที่จะมองดูยุ้งฉางเปล่า  ๆ  ในเรือนทั้งหลายของตนจักไม่มีเลย  จักเป็นเช่นกับการเติมน้ำใส่  ตุ่มที่เต็มแล้ว  ไม่เหลียวแลตุ่มเปล่า  ๆ  บ้างเลยนั่นแล  ภัยแม้มีสุบินนี้เป็นเหตุ  จะยังไม่มีแก่มหาบพิตร  เชิญตรัสเล่าสุบินที่  ๙  เถิดมหาบพิตร.


สุบินนิมิตข้อที่ ๙
        ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  หม่อมฉันได้เห็นโบกขรณีสระหนึ่ง  ดารดาดไปด้วยปทุม  ๕  สี  ลึก  มีท่าขึ้นลงรอบด้าน  ฝูงสัตว์  สองเท้า  สี่เท้า  พากันลงดื่มน้ำในสระนั้นโดยรอบ  น้ำที่อยู่ในที่ลึก  กลางสระนั้นขุ่นมัว  ในที่ซึ่งสัตว์สองเท้าสี่เท้าพากันย่ำเหยียบ  กลับใสสะอาดไม่ขุ่นมัว  หม่อมฉันได้เห็นอย่างนี้  นี้เป็นสุบินข้อที่  ๙  ของหม่อมฉันอะไรเป็นผลของสุบินนี้  พระเจ้าข้า  ?
        มหาบพิตร  ผลแห่งสุบินนี้จักมีในอนาคตเหมือนกัน  ด้วยว่าในกาลภายหน้า  พระราชาทั้งหลาย  จักไม่ตั้งอยู่ในธรรม  ลุอคติด้วยอำนาจความพอใจเป็นต้น  เสวยราชสมบัติ  จักไม่ประทาน  การวินิจฉัยอรรถคดีโดยธรรม  มีพระหฤทัยมุ่งแต่สินบน  โลเลในทรัพย์  ขึ้นชื่อว่าคุณธรรมคือความอดทน  ความเมตตา  และความเอ็นดูของพระราชาเหล่านั้น  จักไม่มีในหมู่ชาวแว่นแคว้นจักเป็นผู้กักขฬะ  หยาบคาย  คอยแต่เบียดเบียนหมู่มนุษย์  เหมือนหีบอ้อยด้วยหีบยนต์  จักกำหนดให้ส่วยต่าง ๆ  บังเกิดขึ้น  เก็บเอาทรัพย์  พวกมนุษย์ถูกรีดส่วยอากรหนักเข้า  ไม่สามารถจะให้อะไร  ๆ  ได้  พากันทิ้งคามนิคมเป็นต้นเสีย  อพยพไปสู่ปลายแดนตั้งหลักฐาน  ณ  ที่นั้น  ชนบทศูนย์กลางจักว่างเปล่า  ชนบทชายแดนจักเป็นปึกแผ่นแน่นหนา  เหมือนน้ำกลางสระโบกขรณีขุ่น  น้ำฝั่งรอบ ๆ ใส  ฉันใด  ก็ฉันนั้น  ภัยแม้มีสุบินนี้เป็นเหตุ  ก็ย่อมไม่แก่มหาบพิตร  เชิญ  ตรัสเล่าพระสุบินข้อที่  ๑๐  เถิดมหาบพิตร.

สุบินนิมิตข้อที่ ๑๐
        ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  ข้าพระองค์ได้เห็นข้าวสุก  ที่คนหุงในหมู่ในเดียวกันแท้  ๆ  แต่หาสุกทั่วกันไม่  เป็นเหมือนผู้หุงตรวจดูแล้วว่าไม่สุก  เลยแยกกันไว้เป็น  ๓  อย่าง  คือ  ข้าวหนึ่งแฉะ
ข้าวหนึ่งดิบ  ข้าวหนึ่งสุกดี  นี้เป็นสุบินที่  ๑๐  ของหม่อมฉัน  อะไรเป็นผลแห่งสุบินข้อนี้  พระเจ้าข้า  ?
        มหาบพิตร  ผลแม้ของสุบินข้อนี้  จักมีในอนาคตเหมือนกัน  ด้วยว่าในกาลภายหน้า  พระราชาทั้งหลายจักไม่ดำรงในธรรม เมื่อพระราชาเหล่านั้นไม่ดำรงในธรรมแล้ว ข้าราชการก็ดี  พราหมณ์และคฤหบดีก็ดี  ชาวนิคม  ชาวชนบทก็ดี  รวมถึงมนุษย์ทั้งหมด  นับแต่สมณะและพราหมณ์  จักพากันไม่ตั้งอยู่ในธรรม แม้เทวดาทั้งหลายก็จักไม่ทรงธรรม  ในรัชกาลแห่งอธัมมิกราชทั้งหลาย  ลมทั้งหลายจักพัดไม่สม่ำเสมอ  พัดแรงจัด  ทำให้วิมานในอากาศของเทวดาสั่นสะเทือน  เมื่อวิมานเหล่านั้น  ถูกลมพัดสั่นสะเทือน  ฝูงเทวดาก็พากันโกรธ  แล้วจักไม่ให้ฝนตก  ถึงจะตกก็จะไม่ตกกระหน่ำทั่วแว่นแคว้น  มิฉะนั้น  จักไม่ตกให้เป็นอุปการะแก่การใด  การหว่านในที่  ทั้งปวงจักไม่ตกกระหน่ำทั่วถึง  แม้ในชนบท  แม้ในบ้าน  แม้ในตระพังแห่งหนึ่ง  แม้ในสระลูกหนึ่ง  เหมือนกันกับในแคว้นฉะนั้น  เมื่อตกตอนเหนือของตระพัง  ก็จักไม่ตกในตอนใต้  เมื่อตกในตอนใต้  จักไม่ตกในตอนเหนือ  ข้าวกล้าในตอนหนึ่งจักเสียเพราะฝนชุก  เมื่อฝนไม่ตกในส่วนหนึ่ง  ข้าวกล้า
จักเหี่ยวแห้ง  เมื่อฝนตกดีในส่วนหนึ่ง  ข้าวกล้าจักสมบูรณ์  ข้าวกล้าที่หว่านแล้วในขอบขัณฑสีมาของพระราชาพระองค์เดียวกัน  จักเป็น  ๓  สถาน  ด้วยประการฉะนี้.  เหมือนข้าวสุกในหม้อเดียวมีผลเป็น  ๓  อย่างฉะนั้น  ภัยแม้มีสุบินนี้เป็นเหตุ  จะยังไม่มีแก่มหาบพิตร  เชิญตรัสเล่าสุบินที่  ๑๑  ต่อไปเถิด  มหาบพิตร.

สุบินนิมิตข้อที่ ๑๑
        ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  หม่อมฉันได้เห็นคนทั้งหลายเอาแก่นจันทน์  มีราคาตั้งแสนกษาปณ์  ขายแลกกับเปรียงเน่า  นี้เป็นสุบินข้อที่  ๑๑  ของหม่อมฉัน อะไรเป็นผลแห่งสุบินนี้เล่าพระเจ้า ข้า  ?
        มหาบพิตรแม้ผลแห่งสุบินนี้  ก็จักมีในอนาคต  ในเมื่อศาสนาของตถาคตเสื่อมโทรมนั่นแล  ด้วยว่าในกาลภายหน้า  พวกภิกษุกอลัชชีเห็นแก่ปัจจัย  จักมีมาก  พวกเหล่านั้น  จักพากันแสดงธรรมเทศนาที่ตถาคต  กล่าวติเตียนความละโมบในปัจจัยไว้แก่ชนเหล่าอื่น  เพราะเหตุแห่งปัจจัย  ๔  มีจีวรเป็นต้น  จักไม่สามารถแสดงให้พ้นจากปัจจัยทั้งหลาย  แล้วตั้งอยู่ในฝ่ายธรรมนำสัตว์ให้พ้นจากทุกข์  มุ่งตรงสู่พระนิพพาน  ชนทั้งหลายก็จะฟังความสมบูรณ์แห่งบทและพยัญชนะ  และสำเนียงอันไพเราะอย่างเดียว  เท่านั้น  แล้วจักถวายเอง  และยังชนเหล่าอื่นให้ถวายซึ่งปัจจัยทั้งหลายมีจีวรเป็นต้น  อันมีค่ามาก  ภิกษุทั้งหลายอีกบางพวก  จักพากันนั่งในที่ต่าง ๆ  ที่ท้องถนน  สี่แยก  และประตูวังเป็นต้น  แล้วแสดงธรรมแลกรูปิยะ  มีเหรียญกษาปณ์ครึ่งกษาปณ์  เหรียญบาท  เหรียญมาสก  เป็นต้น  โดยประการฉะนี้  ก็เป็นเอาธรรมที่ตถาคตแสดง  ไว้  มีมูลค่าควรแก่พระนิพพานไปแสดงแลกปัจจัย  ๔  และรูปิยะมีเหรียญกษาปณ์และเหรียญครึ่งกษาปณ์เป็นต้น  จักเป็นเหมือนฝูงคนเอาแก่นจันทน์มีราคาตั้งแสน  ไปขายแลกเปรียงเน่าฉะนั้น  ภัยแม้มีสุบินนี้เป็นเหตุ  ก็ยังไม่มีแก่มหาบพิตร  เชิญตรัสเล่าสุบินที่  ๑๒  ต่อไปเถิด  มหาบพิตร.

สุบินนิมิตข้อที่ ๑๒
        ข้าแต่พระองค์เจ้าผู้เจริญ  หม่อมฉันได้เห็นกะโหลกน้ำเต้าจมน้ำได้  อะไรเป็นผลแห่งสุบิน  นี้  พระเจ้าข้า  ?
        มหาบพิตร  ผลแห่งสุบินนี้  ก็จักมีในอนาคตกาล  เมื่อโลกหมุนไปถึงจุดเสื่อม  ในรัชกาลของพระราชาผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม ด้วยว่าในครั้งนั้นพระราชาทั้งหลาย  จักไม่พระราชทานยศแก่กุลบุตรผู้สมบูรณ์ด้วยชาติ  จักพระราชทานแก่ผู้ไม่มีสกุลเท่านั้น  พวกนั้นจักเป็นใหญ่  อีกฝ่ายหนึ่งจักยากจน  ถ้อยคำของพวกไม่มีสกุล  ดุจกะโหลกน้ำเต้า  ดูประหนึ่งหยั่งรากลงแน่นในที่เฉพาะพระพักตร์พระราชาก็ดี  ที่ประตูวังก็ดี  ที่ประชุมอำมาตย์ก็ดี  ที่โรงศาลก็ดี  จักเป็นคำไม่โยกโคลง  มีหลักฐานแน่นหนาดี  แม้ในสังฆสันนิบาต  (ที่ประชุมสงฆ์)  เล่า  ในกิจกรรมที่สงฆ์พึงทำ
และคณะพึงทำก็ดี  ทั้งในสถานที่ดำเนินอธิกรณ์เกี่ยวกับบาตรจีวร  และบริเวณเป็นต้นก็ดี  ถ้อยคำของคนชั่วทุศีลเท่านั้น  จักเป็นคำนำสัตว์ออกจากทุกข์ได้  มิใช่ถ้อยคำของภิกษุผู้ลัชชี  เมื่อเป็นเช่นนี้  ก็จักเป็นเหมือนกาลเป็นที่จมลงแห่งกะโหลกน้ำเต้า  แม้ด้วยประการทั้งปวง  ภัยแม้มีสุบินนี้เป็นเหตุ  ก็ยังไม่มีแก่มหาบพิตร  เชิญตรัสเล่าสุบินที่  ๑๓  เถิด  มหาบพิตร.

สุบินนิมิตข้อที่ ๑๓
        ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  หม่อมฉันได้เห็นศิลาแท่งทึบใหญ่ ขนาดเรือนยอดลอยน้ำเหมือนดังเรือ  อะไรเป็นผลแห่งสุบินนี้  พระเจ้าข้า  ?
        มหาบพิตร  ผลแห่งสุบินแม้นี้  ก็จักมีในกาลเช่นนั้นเหมือนกัน ด้วยว่าในครั้งนั้น  พระราชาผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรมทั้งหลาย     จักพระราชทานยศแก่คนไม่มีสกุล  พวกนั้นจักเป็นใหญ่  พวกมีสกุล
จักตกยาก  ใคร  ๆจักไม่ทำความเคารพในพวกมีสกุลนั้น  จักกระทำความเคารพในพวกที่เป็นใหญ่ฝ่ายเดียว  ถ้อยคำของกุลบุตรผู้ฉลาดในการวินิจฉัย  ผู้หนักแน่น  เช่นกับศิลาทึบ  จักไม่หยั่งลง  ดำรงมั่นในที่เฉพาะพระพักตร์ของพระราชา  หรือในที่ประชุมอำมาตย์  หรือในโรงศาล  เมื่อพวกนั้นกำลังกล่าว  พวกนอกนี้จักคอยเยาะเย้ยว่า  พวกนี้พูดทำไม  แม้ในที่ประชุมภิกษุ  พวกภิกษุก็จักไม่เห็นภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก  ผู้ควรทำความเคารพว่าเป็นสำคัญ  ในฐานะต่าง ๆ  ดังกล่าวมาแล้ว  ทั้งถ้อยคำของภิกษุผ

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
คำค้น: พุทธทำนาย ศิลาจารึก มหาวิหาร สวนมฤคทายวัน อินเดีย  ภัยพิบัติ 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
พุทธทำนาย 16 ประการ - มูลเหตุจากพระสุบินนิมิตของพระเจ้าปเสนธิโกศล
คำทำนายภัยพิบัติที่จะเกิด
-NWO- 1 3403 กระทู้ล่าสุด 17 สิงหาคม 2555 02:48:07
โดย -NWO-
หลวงพ่อทองหยอด ภูริปาโล วัดไทยพุทธคยา ประเทศอินเดีย
พุทธประวัติ - ประวัติพระสาวก
ใบบุญ 0 1411 กระทู้ล่าสุด 30 มีนาคม 2559 20:16:35
โดย ใบบุญ
งานสาธยายพระไตรปิฎกนานาชาติ ครั้งที่ 11 ที่ ประเทศอินเดีย
บทสวด - คัมภีร์ คาถา - วิชา อาคม
มดเอ๊ก 0 1652 กระทู้ล่าสุด 01 ตุลาคม 2559 21:19:54
โดย มดเอ๊ก
คนเบิกทาง : ตามรอยพระพุทธศาสนา ประเทศอินเดีย
ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน
มดเอ๊ก 0 1151 กระทู้ล่าสุด 27 พฤศจิกายน 2559 14:05:59
โดย มดเอ๊ก
พระพุทธเมตตา พระประธานในพระมหาเจดีย์พุทธคยา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย
เกร็ดศาสนา
Kimleng 0 155 กระทู้ล่าสุด 02 ธันวาคม 2566 18:07:50
โดย Kimleng
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.807 วินาที กับ 34 คำสั่ง

Google visited last this page 26 มีนาคม 2567 23:54:49