[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 12:42:11 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ชะตากรรม โลก ผลกรรม เรา ในวันที่ร้อนจนเกินเยียวยา  (อ่าน 2224 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 05 มิถุนายน 2553 11:37:21 »

คัดลอกมาจาก อ.มดเอ็กซ์ ที่บอร์ดเก่า มาอีกที


ชะตากรรม โลก ผลกรรม “เรา” ในวันที่ร้อนจนเกินเยียวยาโดย ASTVผู้จัดการออนไลน์18 ธันวาคม 2552 08:19 น.
นักวิทยาศาสตร์ที่เข้าร่วมประชุม UNFCCC ที่กรุงโคเปนเฮเกน เดนมาร์ก แสดงให้เห็นว่าถ้ายังไม่ลดก๊าซเรือนกระจกอย่างจริงจัง อุณหภูมิเฉลี่ยบนพื้นผิวโลกในปี 2100 จะเพิ่มขึ้น 2 (สีเหลือง) - 4 องศาเซลเซียส (สีส้ม) ในสิ้นศตวรรษนี้แน่นอน (AFP)[/SIZE]


หากอุณหภูมิบนพื้นผิวโลกสูงขึ้นจนผิดวิสัย มหันตภัยหลากหลายรูปแบบจะถาโถมเข้ามาสู่ดาวเคราะห์สีน้ำเงินดวงนี้ และสิ่งมีชีวิตที่เคยอาศัยอยู่ได้อย่างปกติสุข อาจต้องเผชิญกับความทุกข์ยากจนสุดจะทนทานไหว บางเผ่าพันธุ์อาจถูกกวาดล้างจนสิ้นซากไปพร้อมกับสิ้นศตวรรษนี้
 
นี่ไม่ใช่แค่ฉากหนึ่งในภาพยนตร์เกี่ยวกับมหันตภัยล้างโลกที่ทำรายได้มหาศาล แต่เป็นหนึ่งในหลายฉากที่มนุษย์อย่างพวกเราอาจได้เผชิญด้วยตัวเอง ดั่งที่ปรากฏในรายงานฉบับที่ 4 (Fourth Assessment Report) ของคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยความเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ หรือ “ไอพีซีซี” (Intergovernmental Panel on Climate Change: IPCC) ที่เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อปี 2007
 
ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ในรายงานฉบับดังกล่าว เผยให้เห็นถึงมหันตภัยรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นกับโลกใบนี้ ภายในศตวรรษนี้ หากอุณหภูมิเฉลี่ยบนพื้นผิวโลกเพิ่มสูงขึ้นอีกราว 1.8-4 องศาเซลเซียส
 
เอเชียเผชิญอุทกภัยทั่ว พืชพันธุ์ถูกทำลาย โรคร้ายระบาด
 
ประชากรในทวีปเอเชียราว 120-1,200 ล้านคน จะต้องเผชิญกับอุทกภัยที่เพิ่มมากขึ้นภายในปี 2020 และอีกราว 185-981 ล้านคน ที่ต้องประสบชะตากรรมแบบเดียวกันภายในปี 2050 พร้อมกับผลผลิตพืชพันธุ์ธัญญาหารในบางพื้นที่ของเอเชียใต้จะถูกทำลายลงไป 30% จากปัจจุบัน
 
แม้ระดับน้ำทะเลจะเพิ่มสูงขึ้นไม่มาก แต่ก็หนุนให้แม่น้ำสายสำคัญหลายแห่งเอ่อล้นทะลักตลิ่ง และสร้างความเสียหายแก่พื้นที่เกษตรกรรม โดยเฉพาะบริเวณปากแม่น้ำสายสำคัญๆ ที่มีประชาชนอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น เช่น แม่น้ำแยงซีในจีน แม่น้ำแดงในเวียดนาม และแม่น้ำคงคา-พรหมบุตร ในบังกลาเทศ
 
เมื่ออุทกภัยแผ่ขยายกินบริเวณกว้างมากขึ้น อหิวาตกโรคและมาลาเรียก็ระบาดหนักยิ่งกว่าเดิม
 
หากอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มสูงขึ้นถึง 3 องศาเซลเซียส ธารน้ำแข็งในเทือกเขาหิมาลัยที่มีขนาดไม่ถึง 4 กิโลเมตร จะละลายหายไปหมด และเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาน้ำท่วมและดินโคลนถล่มตามมา แต่ท้ายที่สุดจะจบลงด้วยความแห้งเหือดของแม่น้ำที่ถูกหล่อเลี้ยงด้วยธารน้ำแข็งจากเทือกเขาหิมาลัย ชาวอินเดียจะมีน้ำใช้ต่อหัวลดลงจาก 1,900 ลูกบาศก์เมตร เหลือเพียงแค่ 1,000 ลูกบาศก์เมตร ภายในปี 2025
 
แอฟริกาทำลายโลกน้อยสุด แต่โดนหนักสุด นับร้อยล้านชีวิตขาดน้ำ-อาหาร
 
แม้แอฟริกาจะเป็นพื้นที่ปลดปล่อยก๊าซก่อเรือนกระจกน้อยที่สุด แต่กลับกลายเป็นทวีปที่ต้องเผชิญชะตากรรมเลวร้ายกว่าใครเพื่อน เพราะจะมีประชากรในทวีปนี้หลายร้อยล้านคนหรือราว 90% ของประชากรทั้งหมด จะต้องประสบกับภาวะขาดแคลนอาหารและน้ำดื่มอย่างรุนแรงในปี 2080 หรืออาจเร็วกว่านั้น และในตอนนั้นประชากรโลกที่ขาดแคลนอาหารราว 40-50% คือชาวแอฟริกันที่อาศัยอยู่ใกล้กับทะเลทรายซาฮารา เมื่อเทียบกับจำนวนในปัจจุบันนี้ที่คิดเป็น 25% ของผู้ที่ขาดแคลนอาหารจากทั่วโลก
 
ภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป จะส่งผลให้ฤดูเพาะปลูกหดสั้นลง และหลายพื้นที่ทำการเกษตรไม่ได้อีกต่อไป ทำให้ในบางประเทศเพาะปลูกได้ผลผลิตน้อยลงกว่าครึ่งหนึ่ง ความแห้งแล้งแผ่ปกคลุมผืนดินกินพื้นที่กว้าง 6-9 แสนตารางกิโลเมตร
 
ประชากรในแอฟริกากว่า 500 ล้านคนจะต้องเผชิญกับภาวะขาดแคลนน้ำดื่มอย่างฉับพลัน
 
หากอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้นจากปี 1990 แม้เพียง 2 องศาเซลเซียส อหิวาตกโรค เยื่อหุ้มสมองอักเสบ และไข้เลือดออก จะระบาดหนักและทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น เกิดอุทกภัยสร้างความเสียหายแก่ประชาชนและพื้นที่เศรษฐกิจบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์และไนเจอร์ อันเป็นผลพวงมาจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น
 
ยุโรปหิมะละลาย ความหลากหลายหายมากกว่า 60%
 
ประเทศแถบเมดิเตอร์เรเนียนจะสามารถยืนหยัดอยู่บนความเสี่ยงต่อภัยแล้งที่รุนแรง ผลผลิตตกต่ำ และมหันตภัยจากคลื่นความร้อนได้มากกว่า ขณะที่ประเทศในยุโรปที่ตั้งอยู่บนละติจูดที่สูงขึ้นไป จะต้องเผชิญกับน้ำท่วมและสภาพอากาศที่เลวร้าย ทว่าจะได้รับความสมดุลจากการที่มีฤดูเพาะปลูกยาวนานขึ้น และมีพื้นที่เกษตรกรรมและป่าไม้ขยายกว้างมากขึ้น
 
อุณหภูมิบริเวณเทือกเขาแอลป์จะพุ่งสูงขึ้นจนสร้างความเสียหายร้ายแรงต่ออุตสาหกรรมการเล่นสกี ตลอดจนกวาดล้างชนิดพันธุ์พืชและสัตว์ให้หมดไปจากบริเวณดังกล่าวมากถึง 60% พื้นที่ลุ่มแม่น้ำที่ได้รับผลจากภาวะน้ำท่วมขยายตัวจาก 19% ในปัจจุบัน เป็น 36% ในปี 2070
 
อุทกภัยฤดูหนาวมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นบริเวณชายฝั่งของยุโรป ขณะที่บริเวณตอนกลางของยุโรปจะประสบกับอุทกภัยและน้ำท่วมฉับพลันอันเนื่องมาจากหิมะละลาย เกิดผลกระทบอย่างเลวร้ายต่อความหลากหลายทางชีวภาพในยุโรป พืชพรรณในท้องถิ่นเกือบทั้งหมดต้องตกอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ หรือบางชนิดอาจสูญพันธุ์เมื่อสิ้นศตวรรษนี้
 
คลื่นร้อนรุนแรง-พายุถาโถมอเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ไร้ธารน้ำแข็งเขตร้อน
 
ภาวะโลกร้อนจะเป็นตัวหนุนให้พายุเขตร้อนและคลื่นความร้อนมีพละกำลังรุนแรงมากขึ้นในอเมริกาเหนือ พร้อมกับที่เป็นภัยคุกคามหลายสปีชีส์ในอเมริกาใต้ที่ต้องตกเป็นเหยื่อถูกทำให้สูญพันธุ์ และต้องอดอยากหิวโหยอีกมากมาย
 
ดินเยือกแข็งรวมทั้งน้ำแข็งในทะเลแถบแคนาดาและอะแลสกาถูกเร่งให้ละลายเร็วขึ้น แมวน้ำและหมีขั้วโลก ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตหลักในบริเวณดังกล่าวจะถูกคุกคามก่อนใครเพื่อน ทั้งยังเป็นการเกื้อหนุนชนิดพันธุ์ต่างถิ่นให้แพร่กระจายไปในบริเวณนั้นได้มากยิ่งขึ้น และไปเบียดเบียนสิ่งมีชีวิตประจำถิ่นมากกว่าเดิม
 
ผู้คนกว่าครึ่งในทวีปอเมริกาต้องตกอยู่ในภาวะยากแค้นจากอุทกภัย วาตภัย คลื่นความร้อน โรคระบาด และหมอกควันในย่านชุมชนเมือง การเติบโตอย่างรวดเร็วของเมืองริมชายฝั่งจะทำให้เสี่ยงได้รับความเสียหายจากพายุมากยิ่งขึ้น และจะหนักหน่วงยิ่งกว่าเดิมเมื่อได้รับแรงหนุนจากระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้น
 
ในอเมริกาใต้มีแนวโน้มสูงมากที่ธารน้ำแข็งเขตร้อนจะละลายหายไปภายในช่วงปี 2020 และมีประชากรราว 7-77 ล้านคนต้องทนทุกข์ทรมานจากการขาดแคลนน้ำ และมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 60-150 ล้านคน ในปี 2100
 
ส่วนในบริเวณอ่างแคริบเบียนจะมีพายุเฮอริเคนเกิดถี่และรุนแรงมากขึ้น ขณะที่หากอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 2 องศาเซลเซียส จะเกิดการสูญเสียน้ำในดินไปในบริเวณอะเมซอนตะวันออก และป่าฝนเขตร้อนทางตอนกลางและตอนใต้ของเม็กซิโกจะกลายสภาพเป็นทุ่งหญ้าสะวันนา
 
โลกร้อนพ่วงท่องเที่ยวทำลายแนวปะการังยักษ์
 
ประเทศและหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก รวมทั้งออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ จะสูญเสียทั้งชนิดพันธุ์ต่างถิ่นและสิ่งมีชีวิตดั้งเดิมในท้องถิ่นนั้น อันเป็นผลพวงมาจากการท่องเที่ยวและเกี่ยวเนื่องกับภาวะโลกร้อน โดยเฉพาะระบบนิเวศบริเวณแนวปะการังยักษ์ (Great Barrier Reef) และอุทยานแห่งชาติคาคาดูในออสเตรเลีย ที่เสี่ยงจะถูกทำลายได้มากที่สุด
 
ปัญหาขาดแคลนน้ำที่สั่งสมมานานทางใต้และตะวันออกของออสเตรเลียจะยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นในปี 2030 พื้นที่ลุ่มน้ำเมอเรย์-ดาร์ลิ่ง (Murray-Darling Basin) จะลดลงอีก 10-25% ในปี 2050 ผลิตผลจากภาคเกษตรกรรมและป่าไม้ลดลงอย่างมากทั้งในออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ แต่ยังมีบางพื้นที่ของนิวซีแลนด์ที่มีแนวโน้มเก็บเกี่ยวผลผลิตได้มากขึ้น
 
ส่วนหมู่เกาะต่างๆ ในแปซิฟิกจะได้รับผลกระทบทั้งจากระดับน้ำทะเลและอุณหภูมิของน้ำทะเลที่สูงขึ้น ส่งผลให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรวดเร็ว กำแพงตามธรรมชาติถูกทำลายลง ทั้งป่าชายเลนและแนวปะการัง ท่าเรือบางแห่งของเกาะฟิจิและซามัวถูกน้ำทะเลท่วม ผลผลิตลดลง 18% ในปี 2030
 
ขั้วโลกร้อนยาวนาน ลดปริมาตรธารน้ำแข็ง
 
สิ้นศตวรรษนี้มีแนวโน้มว่าน้ำแข็งในทะเลอาร์กติกจะหายไปราว 23% ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ถูกปล่อยออกมาด้วย ส่วนธารน้ำแข็งขนาดใหญ่บริเวณขั้วโลกเหนือ รวมถึงดินแดนแถบขั้วโลกเหนือที่ถูกปกคลุมด้วยน้ำแข็งและกรีนแลนด์ ก็จะสูญเสียความหนาของชั้นน้ำแข็งไป
 
ชั้นน้ำแข็งจะบางลงแค่ไหนเป็นสิ่งที่ยากเกินคาดเดาได้ แต่จะมีประชากรที่อาศัยในบริเวณดังกล่าวราว 4 ล้านคน ได้รับผลกระทบจากภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างแน่นอน
 
ส่วนชั้นดินเยือกแข็งในแถบอาร์กติกจะลดลงไปราว 20-35% ในปี 2050 และฤดูร้อนของขั้วโลกเหนือจะยาวนานขึ้นกว่าปัจจุบันราว 15-25% ซึ่งน้ำแข็งที่ละลายในฤดูร้อนก็จะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศในบริเวณนั้นด้วย
 
น้ำแข็งขั้วโลกใต้จะค่อยๆ ละลายหายไปตั้งแต่บริเวณแหลมแอนตาร์กติก ซึ่งบริเวณดังกล่าวเป็นจุดหนึ่งบนโลกที่สังเกตเห็นได้ชัดเจนว่ามีอุณหภูมิสูงขึ้นและมีแนวโน้มเป็นเช่นนี้ต่อไปอีก และคาดการณ์ว่าก้อนน้ำแข็งในทะเลแอนตาร์กติกจะละลายเพิ่มขึ้นทีละน้อยๆ และละลายจนเกือบหมดในฤดูร้อนของขั้วโลกใต้
 
ขณะที่อนาคตของแผ่นน้ำแข็งแอนตาร์กติกยังไม่มีความแน่นอน เพราะมีหลักฐานที่แสดงถึงแผ่นน้ำแข็งด้านตะวันตกถูกทำลายลง ทว่าผู้เชี่ยวชาญบางคนระบุว่า แผ่นน้ำแข็งแอนตาร์กติกนี้จะยังคงอยู่ เพราะยุคน้ำแข็งครั้งสุดท้ายเมื่อราว 12,000 ปีที่แล้ว มากกว่าที่จะละลายหายไปเพราะภาวะโลกร้อนที่เกิดจากน้ำมือของมนุษย์เมื่อไม่นานมานี้
 
แม้ข้อมูลจากไอพีซีซีตามที่เราหยิบยกมาจะทำให้หลายฝ่ายตระหนักดีว่า โลกในวันข้างหน้าเป็นเช่นไรหากยังไร้การควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก แต่ผู้แทนรัฐบาลจาก 192 ประเทศทั่วโลกที่กำลังร่วมโต๊ะประชุมภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change: UNFCCC) ที่กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์กก็ยังคงมีความขัดแย้งและไม่ลงตัวกับการเจรจาต่อรองจากผู้แทนของรัฐบาลจากหลายๆ ประเทศ
 
ถ้าเวทีที่โคเปนเฮเกนปิดลง โดยที่ยังไม่สามารถตกลงแนวทางหลังปี 2012 ได้ ขณะเดียวกันกิจกรรมของมนุษย์ที่ยังคงดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่อง ก็ไม่มีทีท่าว่าจะหยุดเพิ่มความร้อนให้โลกได้ วันสิ้นโลกอาจมาถึงเร็วกว่าที่นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ไว้.

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
คำค้น: ชะตากรรม โลกร้อน warming ผลกรรม เกินเยียวยา 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.447 วินาที กับ 34 คำสั่ง

Google visited last this page 05 มีนาคม 2567 02:58:12