12 ข้อ ปมส่งกลับ 'อุยกูร์' สรุปคำถามคาใจ ส่งกลับไปแล้ว ทำอย่างไรได้บ้าง
<span>12 ข้อ ปมส่งกลับ 'อุยกูร์' สรุปคำถามคาใจ ส่งกลับไปแล้ว ทำอย่างไรได้บ้าง</span>
<span><span>XmasUser</span></span>
<span><time datetime="2025-03-07T17:17:55+07:00" title="Friday, March 7, 2025 - 17:17">Fri, 2025-03-07 - 17:17</time>
</span>
<div class="field field--name-field-byline field--type-text-long field--label-hidden field-item"><p>รายงาน: ณัฐพล เมฆโสภณ</p><p>ภาพปก/ภาพประกอบ: กิตติยา อรอินทร์</p></div>
<div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><p>ถือเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์ที่ถาโถมเข้าใส่รัฐบาลแพทองธาร หลังจากเมื่อ 27 ก.พ. 2568 รัฐบาลตัดสินใจส่งผู้ลี้ภัยชาวอุยกูร์จำนวน 40 คนกลับจีน ดินแดนที่พวกเขาลี้ภัยออกมาตั้งแต่ปี 2557 ทำให้หลายฝ่ายต่างกังวลว่า ชาวอุยกูร์เสี่ยงถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง และอาจละเมิดหลักการไม่ผลักดันบุคคลใดก็ตามกลับไปเผชิญอันตราย หรือที่เรียกว่า ‘Non-Refoulement’</p><ul><li aria-level="1">ฝั่งรัฐบาลชี้แจงว่าปัจจัยสำคัญที่ทำให้ตัดสินใจส่งกลับ เนื่องจากทางการจีนมีการร้องขอมานานและมีเอกสารหลักฐานยืนยันความเป็นพลเมืองของชาวอุยกูร์ ประกอบกับหนังสือรับประกันความปลอดภัย และอนุญาตให้ไทยสังเกตการณ์กระบวนการส่งกลับ และส่งตัวแทนติดตามผล เพื่อยืนยันว่าจีนทำตามสัญญา</li><li aria-level="1">นอกจากเหตุผลข้างต้น รัฐบาลยังกล่าวอ้างถึงการไม่มีประเทศที่ 3 ที่ยินดีรับผู้ลี้ภัยชาวอุยกูร์ทั้งหมด แม้ว่า รัศม์ ชาลีจันทร์ ที่ปรึกษา รมต.กต. จะเปิดเผยภายหลังว่าไม่มีประเทศไหนเสนอ ‘รับจริงจัง’ และไทยทำไปโดยคำนึงผลประโยชน์ของชาติ การกักขังชาวอุยกูร์ในห้องกักต่อไปหลังผ่านไปกว่า 10 ปี น่าจะเป็นผลเสียต่อผู้ลี้ภัย การส่งกลับโดยที่จีนรับประกันว่าทุกคนจะได้พบครอบครัวที่พลัดพรากกัน ถือเป็นทางออกที่ดีที่สุดสำหรับทุกฝ่าย</li></ul><p>คำถามสำคัญคือการชี้แจงของรัฐบาลแพทองธาร เพียงพอหรือไม่ที่จะทำให้รัฐบาลหลุดพ้นข้อกล่าวต่างๆ เรื่องนี้เกี่ยวพันกับความเข้าใจในหลายประเด็น</p><p>ประชาไทรวบรวมประเด็นข้อกังวลสุดคาใจ และข้อถกเถียงจากหลายฝ่ายไว้ที่เดียว ทั้งประเด็นที่ว่าการส่งกลับประเทศต้นทางโดยยึดเพียงหนังสือรับประกันและให้ติดตามไปสังเกตการณ์ด้วยนั้นเพียงพอหรือไม่ที่จะหลุดจากข้อกล่าวหาละเมิดหลักการไม่ผลักดันกลับไปเผชิญอันตราย ทางเลือกอื่นๆ ของการกักขังชาวอุยกูร์ ข้อถกเถียงดรามาสรุปชาวอุยกูร์ยินยอมกลับจีนหรือไม่ ทำไมหลายประเทศจึงกังวลและดูไม่เชื่อถือรัฐบาลจีน รวมถึงรากฐานของปัญหาว่า ชาวอุยกูร์คือใครในแผ่นดินจีน พวกเขามีปัญหาอะไร</p><h2>1.ชาวอุยกูร์เป็นใคร และทำไมต้องลี้ภัย</h2><p>สำหรับชาวชาติพันธุ์อุยกูร์ ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม อาศัยอยู่ในมณฑลซินเจียง ฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศจีน มีจำนวนประชากรในพื้นที่ประมาณ 11-12 ล้านคน หรือคิดเป็นประมาณ 45% ของจำนวนประชากรทั้งหมดในมณฑลซินเจียง 45 ล้านคน พวกเขามีวัฒนธรรมใกล้เคียงกับคนตะวันออกกลาง และพูดภาษากลุ่มเตอร์กิซ</p><p class="picture-with-caption"><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/53584235249_83113e38ea_b.jpg" width="1024" height="794" loading="lazy">แผนที่ซินเจียง โดยฮิวแมนไรท์วอตช์</p><p>จากการสำรวจสื่อและข้อมูลเบื้องต้น พบว่าการเข้าใจปัญหาในพื้นที่ซินเจียง และการอพยพลี้ภัยของชาวอุยกูร์ มี 3 ปัจจัยที่ต้องพิจารณาร่วมกัน</p><ol><li aria-level="1">นับตั้งแต่
จีนเริ่มผนวกพื้นที่แห่งนี้เข้าภายใต้การปกครองของจีนเมื่อประมาณปี 2492 เป็นต้นมา
จีนก็มีนโยบายให้ชาวฮั่นอพยพเข้ามาในมณฑลซินเจียงมากขึ้นผ่านโครงการพัฒนาต่างๆ จนทำให้พลเมืองชาวฮั่นมีจำนวนมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ทำให้ชาวอุยกูร์อาจรู้สึกว่าตัวเองกำลังกลายเป็นพลเมืองชั้นสอง และสูญเสียอิทธิพลทางเศรษฐกิจ สังคม และการค้า</li><li aria-level="1">ปัจจัยที่สื่อหลายสื่อระบุว่าเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้คนอุยกูร์เลือกอพยพลี้ภัยคือนโยบายกดขี่ทางด้านศาสนาและวัฒนธรรมของจีนโดยเฉพาะการห้ามประกอบศาสนพิธี ห้ามถือศีลอดเดือนรอมฎอน มีการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่เกี่ยวกับศาสนาอิสลามบางแห่ง ควบคุมเนื้อหาคำสอน ภาษาอุยกูร์ในการศึกษา และการละเมิดทางศาสนาอื่นๆ สำหรับอิสลามที่ผนวกเข้ากับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมอย่างเข้มข้น เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องใหญ่</li></ol><p>‘มาซียะห์’ (นามสมมติ) คนใกล้ชิดกับชาวอุยกูร์ในเรือนจำคลองเปรม ให้สัมภาษณ์ว่า ชาวอุยกูร์บางส่วนอพยพออกมา เพราะว่าปัญหาเรื่องชาวฮั่นที่อพยพเข้าไปในมณฑลซินเจียงมีจำนวนเยอะขึ้น ประกอบกับปัญหาการห้ามประกอบศาสนกิจตามศาสนาอิสลาม พวกเขายังรู้สึกด้วยว่าหากอยู่ในจีนต่อไป อาจถูกบังคับให้ร้องเล่นเต้นรำแสดงโชว์ทางวัฒนธรรม หรือต้องดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตามงานต่างๆ ซึ่งถือเป็นข้อห้ามสำคัญในศาสนาอิสลาม</p><ol start="3"><li aria-level="1">
มาตรการกดปราบที่เข้มข้นในพื้นที่ซินเจียงของจีน อันเป็นผลต่อเนื่องมาจากเหตุการณ์รุนแรงในพื้นที่ โดยเฉพาะหลังจากเหตุการณ์ 9/11 เริ่มจากเมื่อปี เม.ย. 2552 ที่มีการก่อจลาจลโดยชาวอุยกูร์ที่เมืองอุรุมชี เมืองหลวงของซินเจียง เพื่อต่อต้านการอพยพเข้ามาของชาวฮั่น และการเลือกปฏิบัติทางศาสนา วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ ในครั้งนั้นตำรวจจีนใช้กำลังปราบจนมีผู้เสียชีวิตเกือบ 200 คน</li></ol><p>อีกเหตุการณ์คือเมื่อ 30 เม.ย. 2557 ได้เกิดเหตุระเบิดและโจมตีด้วยมีดที่สถานีรถไฟเมืองอุรุมชี ซึ่งตรงกับวันสุดท้ายของการเยือนซินเจียงของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง เหตุการณ์นี้เป็นเหมือนจุดเปลี่ยนที่นำมาสู่นโยบายที่แข็งกร้าวต่อกลุ่มศาสนาอิสลามมากยิ่งขึ้น และจีนมักชี้ว่าตัวการเบื้องหลังความรุนแรงในพื้นที่คือกลุ่มที่ชื่อว่า 'อิสลามเตอร์กิสถานตะวันออก (ETIM)'</p><p>หลังจากนั้นเป็นต้นมา รัฐบาลจีนก็ถูกวิจารณ์เรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนในพื้นที่ซินเจียงอย่างต่อเนื่อง
รายงานจาก สหประชาชาติ (UN) เผยแพร่เมื่อปี 2565 ระบุว่า มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างการบังคับใช้แรงงาน การทรมาน และคุมขังโดยพลการในค่ายปรับทัศนคติ ซึ่งทางรายงานเชื่อว่ามีผู้ถูกกักขังประมาณ 1 ล้านคน และส่วนใหญ่เป็นคนที่นับถือศาสนาอิสลาม ขณะที่รัฐบาลจีนเรียกว่า 'ศูนย์ฝึกวิชาชีพ' เพื่อต่อต้านกับลัทธิแนวคิด 'สุดโต่ง' สร้างความปรองดอง และพัฒนาเศรษฐกิจ</p><p>ด้านสหรัฐฯ คู่ปรับของรัฐบาลปักกิ่ง เรียกการกระทำของจีนต่อชนกลุ่มน้อยมุสลิมด้วยคำที่รุนแรงว่ามันคือการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์</p><p>ส่วน
สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย เคยโพสต์ข้อความออกมาปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าวโดยระบุว่ามีบางประเทศหรือกลุ่มต่อต้านที่พยายามเผยแพร่ข่าวลือที่ไม่เป็นจริง และสร้างความเข้าใจผิดโดยเจตนาเกี่ยวกับพื้นที่ซินเจียง ทางการจีนได้นำคนท้องถิ่นสู้กับปัญหาก่อการร้ายจนประสบความสำเร็จในปี 2559 และยังร่วมกันเสริมสร้างพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการศึกษา จนส่งผลให้เศรษฐกิจในพื้นที่เจริญเติบโต</p><p>"ปัจจุบัน รายได้ต่อหัวต่อปีของประชาชนในซินเจียงเพิ่มขึ้นถึง 6.7% เมื่อเทียบกับ พ.ศ. 2567 ชนเผ่าต่างๆ ได้อยู่ร่วมกันอย่างปรองดอง และประชาชนใช้ชีวิตและทำงานด้วยความสงบสุข" สถานเอกอัครราชทูตจีน ระบุ</p><p>นอกจากนี้ หลังจากมีการส่งตัวชาวอุยกูร์กลับรอบล่าสุด ผู้สื่อข่าวได้ลองเช็กหน้าเพจสถานเอกอัครราชทูตจีนฯ ได้มีการโพสต์วิดีโอหลายตัวสัมภาษณ์คนท้องถิ่นเกี่ยวกับสิ่งดีๆ ในซินเจียง เช่น
การมีเสรีภาพในการประกอบพิธีทางศาสนา
ความรู้สึกของนักท่องเที่ยว ความสวยงามของซินเจียง และอื่นๆ</p><h2>2.จุดเริ่มต้นของการกักขังเกือบ 11 ปีในไทย</h2><p>ย้อนไปในประมาณปี 2557 สมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในสวนยางของ อ.รัตภูมิ จ.สงขลา ตำรวจตรวจคนเข้าเมืองภาค 6 ได้ควบคุมตัวกลุ่มผู้ลี้ภัยได้ประมาณ 220 คน แบ่งเป็น ชาย 78 ราย หญิง 60 ราย และเด็ก 82 ราย โดยทาง ตม.เองยังไม่ทราบว่ากลุ่มผู้ลี้ภัยกลุ่มนี้เป็นใคร และมาจากไหน</p><p>ในห้วงเวลานั้น
กัณวีร์ สืบแสง อดีตเจ้าหน้าที่ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) ที่ประจำอยู่ที่ อ.หาดใหญ่ (ปัจจุบันเป็น สส.พรรคเป็นธรรม) ได้รับการประสานให้เข้ามาช่วยดูผู้ลี้ภัยกลุ่มนี้ เขาได้พยายามพูดคุยจนท้ายสุดพบว่า ผู้ลี้ภัยกลุ่มนี้คือชาวอุยกูร์จากประเทศจีน และพยายามเดินทางไปยังประเทศตุรกี</p><p>กัณวีร์ ยืนยันว่า เขาพยายามประสานจนกระทั่งตุรกียอมรับผู้ลี้ภัย และมีการส่งเครื่องบินจากกรุงอังการา เมืองหลวงประเทศตุรกี เพื่อเข้ามารับตัวชาวอุยกูร์รวมประมาณ 420 คน โดยแบ่งเป็นชาวอุยกูร์ที่สงขลา 220 คน และชาวอุยกูร์ในห้องกัก ตม.สวนพลู อีกประมาณ 200 คน แต่ไม่สำเร็จ โดยเขาอ้างว่ากระบวนการดังกล่าวถูกหยุดลงจากการแทรกแซงของจีน </p><p>หลังจากนั้นชะตากรรมของผู้ลี้ภัยชาวอุยกูร์ก็ถูกกระจายไปยังห้องกักกัน สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองทั่วประเทศ และเป็นจุดเริ่มต้นของการกักขังอันยาวนาน</p><h2>3.เคยมีการส่งตัวอุยกูร์มาแล้ว 2 ครั้ง</h2><p>ช่วงระยะเวลากว่าทศวรรษ รัฐบาลไทยมีการส่งตัวชาวอุยกูร์ไปประเทศที่ 3 และการส่งกลับจีน รวม 2 ครั้ง โดยเกิดขึ้นในปี 2558 ในสมัยรัฐบาลจากรัฐประหารของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา</p><ul><li aria-level="1">เมื่อ 29 มิ.ย. 2558 ทางการไทยส่งตัวผู้หญิงและเด็กชาวอุยกูร์จำนวนราว 172 ราย ลี้ภัยประเทศตุรกี</li><li aria-level="1">เมื่อ 8 ก.ค. 2558 ทางการไทยมีการบังคับชาวอุยกูร์จำนวน 109 คน ใส่กุญแจมือ ใช้ถุงดำครอบศีรษะ และส่งตัวพวกเขาให้กับเจ้าหน้าที่จีนที่กรุงเทพฯ ก่อนจะพาชาวอุยกูร์ขึ้นเครื่องบินกลับไปจีน</li><li aria-level="1">ครั้งล่าสุดเมื่อกลางดึกของวันที่ 27 ก.พ. 2568 รัฐบาลแพทองธาร ส่งตัวชาวอุยกูร์จำนวน 40 คนกลับประเทศจีนแล้ว</li></ul><div class="more-story"><p><strong>เรื่องที่เกี่ยวข้อง</strong></p><ul><li>
ย้อนหนึ่งทศวรรษของการคุมขังผู้ลี้ภัยชาวอุยกูร์</li><li>
3 รมต.แถลงด่วนส่งกลับ 40 อุยกูร์ กัก 10 กว่าปีหาประเทศที่ 3 ไม่ได้ โฟนอินจากจีนยันดูแลดี-ไม่มีคดี</li></ul></div><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54371350112_3c7a9d4c0c_b.jpg" width="819" height="1024" loading="lazy"><h2>4. ตอนนี้เหลือชาวอุยกูร์ทั้งหมดกี่ราย</h2><p>หลังจากการส่งตัวชาวอุยกูร์จำนวน 40 คนกลับประเทศจีน ข้อมูลล่าสุดจากสื่อต่างๆ และภาคประชาสังคมอย่างมูลนิธิศักยภาพชุมชน ระบุว่า ตอนนี้จะเหลือชาวอุยกูร์ในประเทศไทยอย่างน้อย 8 คน โดยแบ่งเป็นชาวอุยกูร์ 3 คนที่ถือพาสสปอร์ตต่างประเทศ และ 5 คนในเรือนจำคลองเปรม เนื่องจากต้องคดีอาญาจากกรณีแหกห้องกักใน จ.มุกดาหาร และคดีลักทรัพย์ โดยคาดว่าจะครบกำหนดโทษในปี 2572</p><h2>5. 'เข้าเมืองผิดกฎหมาย' ไม่เท่ากับผลักดันกลับประเทศต้นทางได้</h2><p>หลังการส่งกลับ รัฐบาลไทยต้องเผชิญเสียงวิพากษ์วิจารณ์ที่โหมกระหน่ำจากทั้งในและนอกประเทศ โดยเฉพาะข้อกล่าวหาการละเมิดหลักการไม่ผลักดันกลับไปเผชิญอันตราย หรือที่เรียกว่า ‘Non-Refoulement’</p><p>ภัทรพงษ์ แสงไกร อาจารย์นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระบุว่า หลักการ ‘Non-Refoulement’ กำหนดว่ารัฐผู้รับผู้ลี้ภัยไม่สามารถผลักดันผู้ลี้ภัย หรือผู้แสวงหาที่พักพิงกลับประเทศต้นทาง หากมีหลักฐานหรือข้อบ่งชี้ให้เชื่อได้ว่า หากผลักดันกลับไปแล้ว บุคคลดังกล่าวจะได้รับอันตรายต่อชีวิตหรือเสรีภาพของผู้ที่ถูกผลักดัน</p><p>"ความสำคัญของหลักนี้ อาจจะเรียกง่ายๆ ว่า ‘ปลอดภัยไว้ก่อน’ คือ เป็นการป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงด้วยการไม่ส่งคนออกไปเผชิญความเสี่ยงตั้งแต่แรก" ภัทรพงษ์ ระบุ</p><p>หลักการนี้ถูกระบุไว้ทั้งในกฎหมายภายในประเทศอย่าง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้สูญหาย มาตรา 13 หรือในอนุสัญญาที่ไทยไปเป็นภาคีอย่างอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี (CAT)</p><p>สุณัย ผาสุข ที่ปรึกษาองค์กรระหว่างประเทศ ‘ฮิวแมนไรท์วอตช์’ ประจำประเทศไทย อธิบายว่า หลักการนี้ครอบคลุมต่อทุกคนไม่ว่าเขาจะมีสถานะอย่างไรก็ตาม แม้แต่การส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน หรือคนที่เป็นที่ต้องการตัวโดยรัฐประเทศอื่น </p><p>"เขาจะเป็นผู้ลี้ภัยที่ได้รับการรับรองจาก UN เป็นบุคคลที่เข้าเมืองผิดกฎหมาย แม้แต่เป็นบุคคลที่ถูกต้องการตัวโดยกฎหมายของประเทศอื่น เช่น มีการออกหมายเรียกต่างๆ ที่ต้องการตัวคนเหล่านั้น ก็อยู่ในหลักการห้ามส่งกลับไปเผชิญอันตรายครอบคลุมทุกคน" ที่ปรึกษาฮิวแมนไรท์วอตช์ ระบุ</p><p>ที่ปรึกษาฮิวแมนไรท์วอตช์กล่าวอีกว่า ก่อนหน้านี้มีความพยายามบอกว่า ชาวอุยกูร์เป็นผู้หลบหนีเข้าเมืองผิดกฎหมาย และยังไม่ได้เป็นผู้ลี้ภัยของ UNHCR หรือประเทศไหนเลย เราจึงสามารถส่งตัวเขากลับในฐานะผู้หลบหนีเข้าเมืองผิดกฎหมายได้เลยนั้น คำกล่าวอ้างเช่นนี้มีปัญหา</p><p>"คนเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย เป็นส่วนหนึ่งของอาชญากรรมลักลอบเข้าเมือง มันไม่ได้เกี่ยวกับการที่จะไปปลดภาวะความคุ้มครองที่เขาได้รับ การคุ้มครองภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ หรือภาวะความคุ้มครองตามกฎหมายที่ไทยมีอยู่" สุณัย กล่าว</p><h2>6. ต่างจากรัฐบาลประยุทธ์ จีนรับประกันความปลอดภัย แต่อาจไม่พอ</h2><p>สำหรับที่รัฐไทยอ้างว่า จีนมีหนังสือทางการทูตถึงนายกรัฐมนตรี เพื่อรับประกันความปลอดภัยของชาวอุยกูร์ เพียงพอที่จะทำให้หลุดพ้นจากข้อกล่าวหาละเมิดหลักการไม่ผลักดันกลับไปเผชิญอันตรายหรือไม่ </p><p>อาจารย์จากนิติศาสตร์ มธ. อธิบายก่อนว่า หนังสือรับรองทางทูตเป็นแนวปฏิบัติที่ค่อนข้างแพร่หลายในทางการทูต โดยเฉพาะช่วงหลังเหตุการณ์ 9-11 เป็นต้นมา หรือบางครั้งเราจะเรียกหนังสือรับรองว่า “Diplomatic Assurance” แต่ปัญหาพื้นฐานคือ ‘ลำพังแค่หนังสือรับรองอย่างเป็นทางการแค่อย่างเดียวมักจะไม่เพียงพอที่จะประกันว่าคนที่รัฐส่งตัวออกไปจะไม่เสี่ยงที่จะถูกทรมาน ถูกทารุณกรรม ถูกประหัตประหาร หรือถูกละเมิดสิทธิ์อย่างร้ายแรงในรูปแบบอื่นๆ’ แต่ต้องพิจารณาปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น สถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศปลายทางเป็นอย่างไร ที่ผ่านมารัฐนั้นปฏิบัติตามหนังสือรับรองลักษณะนี้หรือไม่เพียงใด ในประเทศปลายทางมีกลไกทางกฎหมายอะไรบ้างที่จะช่วยประกันว่ารัฐนั้นๆ สามารถปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาตามหนังสือรับรองได้จริง และหากรัฐไม่ปฏิบัติตามหนังสือรับรอง จะมีกลไกบังคับใช้อย่างไรบ้าง นอกจากนี้อาจจะต้องคำนึงถึงความประสงค์ของคนที่จะถูกส่งตัวด้วย ในแง่นี้หลักห้ามผลักดันกลับ จึงมีความเข้มงวดและเคร่งครัดมาก</p><p>
ภัทรพงษ์ กล่าวว่า เมื่อปี 2 ก่อน (2566) ศาลสหราชอาณาจักรเคยวินิจฉัยปัดตกการส่งตัวผู้ลี้ภัยกลับประเทศรวันดา แม้ทางการรวันดาจะมีหนังสือรับรองทางการทูต และมีเงินสนับสนุนจากอังกฤษให้ แต่ศาลก็พิจารณาตามปัจจัยต่างๆ ที่ได้กล่าวข้างต้น และให้เหตุผลว่าแม้ว่ารวันดาจะทำหนังสือรับรองโดยสุจริต (in good faith) และแม้จะมีแรงจูงใจในการปฏิบัติตามหนังสือรับรองเป็นความช่วยเหลือทางการเงินจากอังกฤษ แต่ดูจากพยานหลักฐานทั้งหมดแล้ว ศาลเห็นว่า ณ เวลานั้น ยังขาดกลไกและแนวปฏิบัติอีกมากที่จะประกันว่าผู้ขอลี้ภัยจะไม่เผชิญความเสี่ยงจะที่ถูกประหัตประหาร</p><p>ภัทรพงษ์ กล่าวต่อว่า ในกรณีการส่งกลับชาวอุยกูร์ 40 คนของไทยสามารถนำเรื่องนี้มาตั้งคำถาม หรือพูดคุยต่อได้ว่า สถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของชาวอุยกูร์ในซินเจียงตอนนี้เป็นอย่างไรแล้ว ที่ผ่านมาจีนปฏิบัติตามหนังสือรับรองหรือไม่ ในกรณีของไทยรัฐบาลเคยส่งชาวอุยกูร์กลับไปแล้ว ซึ่งเข้าใจว่าครั้งนั้นก็มีหนังสือรับรองลักษณะเดียวกัน ตรงนี้ถามได้ว่าจีนทำตามหนังสือรับรองมากน้อยแค่ไหน การที่อนุญาตให้รัฐบาลไทยไปติดตามสภาพความเป็นอยู่ของผู้คนนั้นมีเงื่อนไขอย่างไร ฝ่ายไทยสามารถขอไปตรวจเองได้หรือไม่ หรือจะได้ไปก็ต่อเมื่อฝ่ายจีนเชิญเท่านั้น นอกจากนี้ มีกลไกคุ้มครองสิทธิชาวอุยกูร์อย่างไร เข้าถึงทนายหรือเข้าถึงศาลได้หรือไม่ และในท้ายที่สุด ถ้าจีนไม่ปฏิบัติตามหนังสือรับรอง จะมีกลไกบังคับใช้อย่างไร</p><p>สุณัย ก็มองเช่นเดียวกันว่า หนังสือรับรองไม่เพียงพอใช้เป็นเหตุผลส่งชาวอุยกูร์กลับ แม้ว่าทางการจีนจะมีการรับปากกับนายกรัฐมนตรีว่าจะรับประกันความปลอดภัย แต่ในกรณีของชาวอุยกูร์เป็นกรณีพิเศษ เพราะเคยมีรายงานหลายฉบับระบุว่าชาวชาติพันธุ์อุยกูร์ถูกประหัตประหาร และปฏิบัติอย่างโหดร้ายต่อเนื่องยาวนาน จนถูกเรียกว่าเข้าข่าย ‘การก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ’ ดังนั้น ไทยควรต้องตรวจสอบในบริบทโดยรวมด้วยว่าสถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนและการกระทำโหดร้ายต่อชาวอุยกูร์ดีขึ้นหรือยัง หากสภาพแวดล้อมยังไม่เปลี่ยนแปลง ก็หมายความการส่งกลับชาวอุยกูร์ของไทยก็ยังไม่เพียงพอที่จะพ้นจากพันธะกรณีของหลักการไม่ผลักดันบุคคลกลับไปเผชิญอันตรายที่ประเทศต้นทาง</p><h2>7.กระบวนการติดตามผลต้องเปิดกว้าง-อิสระ</h2><p>ส่วนมาตรการติดตามตรวจสอบผู้ถูกส่งกลับไปว่าจะได้รับอันตรายหรือมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนของรัฐบาลไทยถือว่าเพียงพอที่จะหลุดพ้นจากข้อกล่าวหาละเมิดหลักการไม่ผลักดันกลับไปเผชิญอันตรายหรือไม่นั้น</p><p>ความเห็นของสุณัย มองว่า มาตรการติดตามที่ไทยทำเป็นเรื่องที่ถูกต้องแล้ว แต่อาจยังไม่เพียงพอ เนื่องจากเบื้องต้น ฉัตรชัย บางชวด รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) และรองผู้บัญชาการตรวจแห่งชาติ ได้ไปร่วมสังเกตการณ์การส่งกลับเฉพาะกิจ ก็เผชิญข้อครหาด้านความน่าเชื่อถือ เรามีข้อมูลหรือไม่ว่าญาติที่พลัดพรากและมาเจอผู้ถูกส่งกลับเป็นญาติฝ่ายไหน ระดับไหน หรือมาโดยเต็มใจหรือไม่ อีกทั้ง ยังมีข้อกังวลด้านระยะเวลาการสังเกตการณ์นี้จะดำเนินไปยาวนานแค่ไหน หากสั้นไป มันก็ไม่พอที่จะมาสรุปว่าจีนรักษาคำพูด</p><p class="picture-with-caption"><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54357874215_ca332fe74e_b.jpg" width="1024" height="768" loading="lazy">ภาพรองเลขาฯ สมช. เดินทางไปสังเกตการณ์การส่งกลับชาวอุยกูร์ 40 คน (ที่มา:
พรรคเพื่อไทย)</p><h2>8. ข้อเสนอหลังส่งกลับอุยกูร์แล้ว</h2><p>ที่ปรึกษาฮิวแมนไรท์วอตช์ มีข้อเสนอถึงการส่งคณะผู้สังเกตการณ์ไปตรวจสอบกระบวนการชาวอุยกูร์ในประเทศจีน ดังนี้</p><p>1. ไทยควรระบุให้ชัดเจนถึงระยะเวลาที่จะไปสังเกตการณ์ ซึ่งอาจต้องไปตรวจสอบติดต่อกันเป็นระยะเวลาหลายปี และควรระบุให้ชัดด้วยว่าจะส่งคณะผู้แทนฯ ไปสังเกตการณ์ทุกกี่วัน เช่น 15 วัน 30 วัน เป็นต้น</p><p>2. ไทยทำตามลำพังอาจไม่มีความน่าเชื่อมากพอ เพราะว่ามีข้อครหาว่าเป็นการจัดฉากหรือไม่ ดังนั้น ไทยควรเจรจากับจีนให้มีการเปิดกว้างด้านการตรวจสอบ โดยควรมีผู้แทนจากหน่วยงานระหว่างประเทศอย่างสหประชาชาติ (UN) องค์กรอิสระที่มีความน่าเชื่อ หรือสถานทูตต่างๆ เข้ามาร่วมตรวจสอบในกรณีนี้</p><p>3. ผู้เข้าร่วมสังเกตการณ์ต้องมีความอิสระอย่างแท้จริง ไม่ถูกจำกัด เช่น ทางการจีนบอกว่าจะดูอะไรได้ที่ไหน เท่าไร ในการไปเยี่ยมแต่ละครั้งผู้ร่วมสังเกตการณ์ควรมีอิสระในการบอกว่าจะทำอะไร</p><p>ศิววงศ์ สุขทวี จากเครือข่ายปฏิรูปการโยกย้ายถิ่นฐาน กลุ่มที่ทำงานเรื่องกฎหมายโยกย้ายถิ่นฐาน ก็ให้ความเห็นในแนวทางเดียวกันว่า คณะผู้แทนจากรัฐบาลไทยที่จะไปร่วมสังเกตการณ์ควรมีหน่วยงานที่เป็นอิสระและมีความน่าเชื่อถือร่วมติดตามไปด้วย อย่างน้อยที่สุดคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)</p><p>โดยความเคลื่อนไหวล่าสุด เมื่อ 5 มี.ค. 2568
ภูมิธรรม เวชยชัย ในฐานะรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ระบุว่าเขาและทวี ในฐานะประธาน สมช.จะเดินทางไปเยี่ยมชาวอุยกูร์ และจะมาแจ้งให้ทราบ โดยเบื้องต้น คณะผู้แทนไทยมีการเปิดเผยว่าจะให้สื่อมวลชนประมาณ 40 คนร่วมเดินทางไปสังเกตการณ์ด้วย </p><h2>9.จากไม่มีประเทศที่ 3 สู่ไม่มีประเทศไหน 'จริงจัง'</h2><p>อีกประเด็นที่ถูกตั้งข้อสงสัยคือ รัฐบาลไทยระบุว่าไม่มีประเทศที่ 3 รับผู้ลี้ภัยอุยกูร์จริงหรือไม่ โดยก่อนหน้านี้
ภูมิธรรม ออกมาเผยว่า ช่วง 2-3 ปีแรกมีการเสนอให้ UNHCR รับผู้ลี้ภัยชาวอุยกูร์ไป แต่ว่าเรื่องนี้ก็ไม่มีความคืบหน้า และประเทศตุรกีตอบรับชาวอุยกูร์แค่ผู้หญิง เด็ก-คนชราเท่านั้น ในช่วงท้ายก่อนส่งกลับก็ได้พูดคุยกับประเทศมหาอำนาจว่าไทยมีเพียง 2 หนทางคือส่งกลับประเทศต้นทาง และส่งไปประเทศที่ 3 ซึ่งรอมา 11 ปี แต่ไม่มีประเทศไหนยินดีรับ แต่พอจีนส่งเรื่องยืนยันว่ามีชาวอุยกูร์ตกค้างอยู่ และรับปากเรื่องสวัสดิภาพ จึงนำมาสู่การส่งคืนกลับประเทศตามกฎหมาย</p><p>ประเด็นนี้ทาง
กัณวีร์ สืบแสง สส.พรรคเป็นธรรม ได้ออกมาโต้โดยเอาเอกสารชวเลข การประชุมคณะกรรมาธิการการกฎหมายฯ สภาผู้แทนราษฎร เมื่อ 10 ก.ค. 2567 มาเผยแพร่ ในตอนนั้นตัวแทนของกระทรวงการต่างประเทศได้ให้ข้อมูลในที่ประชุมว่ามีบางประเทศพร้อมรับผู้ลี้ภัยชาวอุยกูร์ไปตั้งถิ่นฐาน เช่น สหรัฐฯ สวีเดน และออสเตรเลีย ซึ่งหากรวมกับที่
สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานด้วย จะมีประเทศแคนาดา เพิ่มมาอีก 1 ประเทศ</p><p class="picture-with-caption"> </p><blockquote class="twitter-tweet"><p lang="th" dir="ltr">มาตามหา!! คนที่ถามหาหลักฐานครับ ว่าทางผู้แทนกระทรวงต่างประเทศแจ้งกับผมว่ามีประเทศที่ 3 มาขอรับชาวอุยกูร์ เอามาให้แล้วนะครับ “ชวเลข ของการประชุม กมธ.การกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน วันที่ 10 กรกฎาคม 2567” ทางผู้แทน กต. ได้ให้ข้อมูลในที่ประชุมว่า…
pic.twitter.com/1PltTkECJa</p><p>— กัณวีร์ สืบแสง Kannavee Suebsang (@nolkannavee)
March 5, 2025</p><script async src="
https://platform.twitter.com/widgets.js" charset="utf-8"></script><p> </p><p class="picture-with-caption">ที่มา: แพลตฟอร์ม X :
กัณวีร์ สืบแสง</p><p>
รัศม์ ชาลีจันทร์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศ โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กเมื่อ 5 มี.ค.ที่ผ่านมา ชี้แจงว่ามีประเทศที่ 3 ที่ต้องการรับผู้ลี้ภัยชาวอุยกูร์จริง แต่พร้อมกันก็ระบุว่า “ไม่มีประเทศไหนที่แน่วแน่ที่จะรับไปจริงจัง” ที่จะไปเจรจาล็อบบี้ประเทศจีนให้อนุญาตให้ไทยส่งชาวอุยกูร์ไปประเทศที่ 3 หรือถ้าทางการไทยถูกจีนตอบโต้ เขาเชื่อว่าจะไม่มีประเทศไหนเข้ามาช่วยเหลือ และประชาชนในประเทศก็จะได้รับผลกระทบ</p><p>โพสต์ของรัศม์ ระบุต่อว่า เขาเคยหวังว่าจะส่งชาวอุยกูร์ไปประเทศที่ 3 ได้โดยเฉพาะเมื่อ 11 ปีที่แล้วตอนที่ยังไม่มีแรงกดดัน แต่ตอนนี้ต้องยอมรับว่าผลกระทบต่อการส่งไปประเทศที่ 3 ของไทยนั้นมันมหาศาล ยากที่จะทำได้จริงและโดยส่วนตัวเขาไม่เชื่อว่ามีรัฐบาลไหนกล้าทำ ซึ่งถ้าไม่ทำอะไรจะทำให้ชาวอุยกูร์ถูกขังอย่างยาวนาน และอาจเสียชีวิตในสถานกักกัน ดังนั้น จึงเชื่อว่าการส่งกลับจีนโดยที่รัฐบาลปักกิ่งรับประกันความปลอดภัยและชาวอุยกูร์จะได้รับการกลับคืนสู่สังคม จะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับทุกฝ่าย เขาเชื่อว่าจีนจะรักษาคำพูด เนื่องจากเป็นประเทศมหาอำนาจ</p><p>รัศม์ เชื่อว่า การส่งไปประเทศที่ 3 ไม่ใช่การตัดสินใจอยู่บนหลักความเป็นจริง และปัญหาของเรื่องนี้ไม่ใช่ว่าไม่มีประเทศที่ 3 ยินดีรับ แต่อยู่ที่ไทยต้องรักษาผลประโยชน์ของชาติ และทำยังไงให้กระทบกับประชาชนคนไทยน้อยที่สุด</p><h2>10.มีทางเลือกอื่นไหม ให้ชาวอุยกูร์อยู่ในไทยต่อได้</h2><p>คำถามสำคัญต่อมา คือ จริงหรือไม่ที่บอกว่าไม่มีช่องทางให้ผู้ลี้ภัยชาวอุยกูร์อยู่ในประเทศไทยต่อได้</p><p>ศิววงศ์ ในฐานะผู้ประสานงานเครือข่ายปฏิรูปการโยกย้ายถิ่นฐาน กลุ่มทำงานด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้ลี้ภัย ให้สัมภาษณ์ว่า หากตอบในกรณีผู้ลี้ภัยคนอื่นๆ ที่ไม่ใช่ชาวอุยกูร์ ก็มีช่องทางที่รัฐบาลสามารถทำให้อยู่ในประเทศไทยต่อได้</p><p class="picture-with-caption"><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/53587170571_0d82c39671_b.jpg" width="1024" height="683" loading="lazy">ศิววงศ์ สุขทวี (แฟ้มภาพ)</p><p>ศิววงศ์ กล่าวต่อว่า ในช่วงปลายวิกฤตการแพร่ระบาดโควิด-19 เมื่อปี 2565 รัฐบาลเคยมีมติ ครม. ครอบคลุมผู้ที่ไม่สามารถกลับประเทศต้นทางให้ออกมาทำงานได้ แม้ว่าในทางปฏิบัติยังมีปัญหา แต่ที่ยกตัวอย่างเพราะอยากสะท้อนว่าไทยมีทางเลือกอื่นในการจัดการกลุ่มผู้ต้องกักไม่ว่าจะคนจีน คนเกาหลีเหนือ หรือชาติอื่นๆ ไทยมีอำนาจตามกฎหมายที่จะอนุญาตให้เขาออกมานอกห้องกัก ทำอะไรก็ได้โดยมีเงื่อนไขตามที่ไทยกำหนด ผ่านการใช้อำนาจตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง มาตรา 17 ที่ให้อำนาจ ครม.ยกเว้นมาตราบางมาตราของกฎหมายคนเข้าเมือง หรือยกเว้นทั้งฉบับก็ได้</p><div class="note-box"><p>พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 17 กำหนดว่า ในกรณีพิเศษเฉพาะเรื่อง รัฐมนตรีโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรีจะอนุญาตให้คนต่างด้าวผู้ใดหรือจำพวกใดเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรภายใต้เงื่อนไขใดๆ หรือจะยกเว้นไม่จำต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีใดๆ ก็ได้</p></div><p> </p><p>ต่อมา ไทยมีมาตรการให้ประกันตัวออกมาอยู่อาศัยภายนอกห้องกักได้ ซึ่งเป็นมาตรการที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองใช้มาตลอดกับผู้ต้องกักที่ได้รับสถานะ ‘ผู้ลี้ภัย’ ที่ได้รับรองโดย UNHCR การอนุญาตให้ประกันตัวมีเงื่อนไขคือต้องมีหลักทรัพย์ประมาณ 5 หมื่นบาท และต้องมีนายประกันตัวเป็นคนไทย แต่การประกันตัวไม่ได้หมายความว่าคุณจะมีสิทธิอยู่อาศัย แต่สามารถอยู่ภายนอกรอการส่งกลับ ซึ่งก็ดีกว่าอยู่ในห้องกัก</p><p>ท้ายสุดคือรัฐบาลมีระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการคัดกรองคนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักร และไม่สามารถกลับประเทศอันเป็นภูมิลำเนาได้ พ.ศ. 2562 หรือบางคนจะเรียกว่า 'กลไกคัดกรองแห่งชาติ' (National Screening Mechanism - NSM) ตอนนี้มีหลายร้อยคนในปีที่ผ่านมา (2567) เข้าสู่กระบวนการ แล้วเมื่อยื่นเรื่องเข้าสู่การกระบวนการแล้ว สตม. จะอนุญาตให้ประกันตัวออกมานอกห้องกัก โดยมีเงื่อนไขประกันด้วยเงินที่น้อยกว่าคนต่างด้าวทั่วไป</p><div class="note-box"><p>อนึ่ง ข้อมูลเมื่อ 30 ส.ค. 2567 ระบุว่ามีผู้ยื่นเรื่องอยู่ที่ 217 คน โดยแบ่งเป็นผู้ใหญ่ชาย 129 คน ผู้ใหญ่หญิง 50 คน เด็กชาย 14 คน และเด็กหญิง 25 คน</p></div><p>ทั้งนี้ ถ้าผ่านกระบวนการคัดกรองตามกลไกระเบียบสำนักนายกฯ คนต่างด้าวจะได้รับสถานะที่เรียกว่า ‘ผู้ได้รับการคุ้มครอง’ และได้รับหนังสือประจำตัวซึ่งออกโดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) โดยผู้ได้รับสถานะการคุ้มครองจะได้รับสิทธิดังนี้</p><ul><li aria-level="1">คนกลุ่มนี้จะไม่ถูกส่งกลับไปที่ภูมิลำเนา ยกเว้นว่าเป็นความสมัครใจ หรือมีเหตุผลด้านความมั่นคง</li><li aria-level="1">ให้ความช่วยเหลือในการกลับประเทศภูมิลำเนาตามความสมัครใจ เมื่อเหตุที่ทำให้ไม่สามารถเดินทางกลับสิ้นสุดลง หรือพิจารณาให้ความช่วยเหลือในการติดต่อประสานงานเพื่อให้ผู้ได้รับการค้มุครองสามารถเดินทางไปประเทศที่จะพำนักต่อไปได้</li><li aria-level="1">คนที่ได้รับสถานะคุ้มครอง จะสามารถอยู่ในไทยชั่วคราว หรือเป็นกรณีพิเศษ</li><li aria-level="1">ถ้าผู้ได้รับสถานะคุ้มครองเป็นเด็ก จะได้รับสิทธิด้านการศึกษา และสาธารณสุข ตามพันธะกรณีระหว่างประเทศ นโยบายรัฐบาล และมติ ครม.ที่เกี่ยวข้อง</li></ul><p>จากมาตรการที่ยกขึ้นมา ทำให้ความเห็นของศิววงศ์ มองกรณีนี้ว่าปัญหาของไทยอาจไม่ได้เป็นเรื่องทางด้านกฎหมาย แต่อยู่ที่เจตจำนงทางการเมืองมากกว่าว่าจะทำอะไร</p><h2>11. สมัครใจจริงหรือไม่ คำถามที่ยังสู้กัน</h2><p>ประเด็นสุดท้ายคือชาวอุยกูร์สมัครใจกลับประเทศต้นทางหรือไม่ เพราะนายกรัฐมนตรี ยืนยันว่าชาวอุยกูร์ทั้งหมดสมัครใจกลับ</p><p>อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะมีการส่งกลับเมื่อ 27 ก.พ.ที่ผ่านมา ได้มีการเผยแพร่ข่าวจากสำนักข่าวต่างประเทศ และองค์กรระหว่างประเทศ ระบุว่าชาวอุยก








