[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
26 เมษายน 2567 06:08:15 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: 28 ธ.ค. วันพระเจ้าตากสินมหาราช  (อ่าน 3129 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 03 มิถุนายน 2553 18:30:50 »

ย้ายมาจากบทความของ อ.ฐิตา ที่ไปโพสท์ไว้ในบอร์ดเก่าครับ




๒๘ ธ.ค. "วันพระเจ้าตากสินมหาราช"


เมื่อวาน-๒๘  ธันวาคม  เป็น  "วันพระเจ้าตากสินมหาราช"  ถ้าไม่มีพระองค์  ก็จะไม่มีประเทศไทย   และคนไทยในวันนี้  แต่ดูเหมือนว่าพระองค์จะทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่อาภัพ  พระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ยิ่งใหญ่ขนาดไหน  คนไทยก็ดูคล้ายลืมกันไปขนาดนั้น  ขนาดพระราชประวัติ  ใครต้องการศึกษาให้ลึกซึ้ง  ต้องพึ่งหนังสือฝรั่งรวบรวมมากกว่าจะหาได้จากการขวนขวายนำเสนอของคนไทยกันเอง

     ไม่เชื่อก็ลองทดสอบดูก็ได้นี่ครับว่า  คนไทยมีความรู้-ความเข้าใจเกี่ยวกับ  "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตากสินมหาราช"  มากน้อยแค่ไหน...เอ้า..ลองตอบซิว่า  "วันที่  ๒๘  ธันวาคม  ที่เป็นวันพระเจ้าตากสินมหาราช  นั้น  มีความหมายถึงวันอะไร?"

     เป็นวันพระราชสมภพ,  เป็นวันเสด็จสวรรคต,  เป็นวันชนะศึก,  เป็นวันสถาปนากรุงธนบุรีพร้อมเสด็จขึ้นครองราชย์  หรือเป็นวันกู้ชาติสำเร็จ?

     อึกอักๆ  กันใช่มั้ยล่ะ  วันที่  ๒๘  ธันวาคม  คือ  หลังจากขับไล่พม่าพ้นไปจากแผ่นดินไทยแล้ว  ทรงปราบดาภิเษกขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระเจ้ากรุงธนบุรี  เมื่อวันที่  ๒๘  ธันวาคม  พุทธศักราช  ๒๓๑๐  ก็ช่วยกันจำให้แม่นต่อจากนี้ไปนะครับ

     ส่วนวันพระราชสมภพ  คือ  ปีขาล  วันอาทิตย์ที่  ๗  เมษายน  พ.ศ.๒๒๗๗  ถ้านับถึงปีหน้า-ปีขาล  ๗  เมษายน  พ.ศ.๒๕๕๓  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตากสินมหาราช  ก็ทรงมีชาตกาลยาวนานครบ  ๒๗๖  ปี!

     บ้านเมืองช่วงนี้  มีแต่ปฏิบัติการหมาหอน  หมาเห่า  และหมากัดกัน  ไม่มีคุณค่า  และไม่มีสาระอะไรที่จะหยิบมาคุยกันให้เกิดสนิมอารมณ์  ฉะนั้น  วันนี้เรามาเรียนประวัติศาสตร์ไทยในอีกแง่มุมหนึ่งเกี่ยวกับ  "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตากสินมหาราช"  กันดีไหม?  ผมไม่ได้รวบรวมมาเองหรอก   หากแต่คัดลอกของ  "คุณอมรรัตน์  เทพกำปนาท"  กลุ่มประชาสัมพันธ์  สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ  กระทรวงวัฒนธรรม  ที่เผยแพร่อยู่ในเว็บสนุกดอตคอม  เขามาให้ท่านอ่าน  ดังนี้

     เนื่องในโอกาส  วันที่  ๒๘  ธันวาคม  ของทุกปี  เป็น  "วันพระเจ้าตากสินมหาราช"  วีรกษัตริย์ผู้กอบกู้เอกราชให้แก่แผ่นดินไทย  ดังนั้น  เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ  และพระปรีชาสามารถ  ตลอดจนการเสียสละอย่างใหญ่หลวงของพระองค์  จึงขอน้อมนำเรื่องปัญหาเศรษฐกิจและแนวทางการแก้ไขในยุคกรุงธนบุรี  มานำเสนอเพื่อให้พวกเราปัจจุบันได้ทราบว่าในสมัยนั้น  มีวิธีการแก้ไขปัญหาให้ผ่านพ้นไปได้อย่างไร  เพราะไม่ว่ายุคใดสมัยไหน  ปัญหาเศรษฐกิจอันเป็นเรื่องเกี่ยวกับปากท้องชาวบ้านนับเป็นเรื่องใหญ่  และสำคัญของบ้านเมืองเสมอ

     ตลอดระยะเวลา  ๑๕  ปี  ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช  นับตั้งแต่ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงธนบุรี  ในปี  พ.ศ.๒๓๑๐  จนถึงปี  พ.ศ.๒๓๒๕  ที่เสด็จสวรรคต  พระองค์ต้องทรงตรากตรำกรำศึกมาโดยตลอด  นอกจากต้องรบกับพม่าเพื่อกอบกู้เอกราชในครั้งแรก  รวมถึงการทำศึกกับก๊กต่างๆ  ที่ตั้งตัวเป็นใหญ่แล้ว  ยังต้องทำการรบกับพม่าที่ยกมาโจมตีอีกถึง  ๙  ครั้งใหญ่

     ในขณะเดียวกันก็ยังได้ทำสงครามขยายอาณาเขตอีกหลายครั้ง  เป็นผลให้ไทยมีประเทศราชหลายแห่งกลับคืนมาเหมือนสมัยอยุธยา  ซึ่งในช่วงแรกหลังจากการเสียกรุงครั้งที่  ๒  กล่าวได้ว่าเศรษฐกิจของบ้านเมืองอยู่ในภาวะตกต่ำเป็นอย่างยิ่ง  การทำไร่นาและการค้าขายกับต่างประเทศหยุดชะงักลงเกือบจะสิ้นเชิง  และแม้หลังการกอบกู้ชาติได้แล้ว  ความอดอยากและการขาดแคลนเครื่องอุปโภคบริโภคก็เกิดขึ้นอยู่แทบจะตลอดรัชกาล  เนื่องจากมีปัจจัยและสิ่งแวดล้อมที่ต้องทำให้สิ้นเปลืองและกระทบกับสภาพเศรษฐกิจโดยส่วนรวมหลายอย่าง  อาทิ

     ๐ในช่วงก่อนกรุงแตก  พม่าได้ยกทัพมาปิดล้อมกรุงศรีอยุธยาอยู่นาน  ทำให้ชาวบ้านไม่สามารถทำไร่ทำนา  หรือค้าขายได้ตามปกติ  ความขาดแคลนจึงเกิดขึ้นไปทั่ว

     ๐เมื่อครั้งทำศึกกับก๊กต่างๆ  รวมทั้งศึกพม่าและชาติอื่นๆ  ที่มีอีกหลายครั้ง  ทำให้ต้องใช้กำลังพลในการตระเตรียมอาวุธยุทโธปกรณ์  เช่น  การต่อเรือ  การระดมพลเพื่อฝึกปรือ  ฯลฯ  ซึ่งมีผลกระทบต่อกำลังการผลิตเป็นอย่างมาก

     ๐ในระยะแรกที่มีการสร้างเมืองหลวงใหม่  การสถาปนาเจ้านายต่างๆ  รวมไปถึงการปูนบำเหน็จความดีความชอบแก่ข้าราชการขุนนาง  ต้องใช้กำลังทรัพย์ไม่น้อย  ทำให้มีรายจ่ายมากขึ้น

     ๐ในรัชสมัยของพระองค์  จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเร่งรีบฟื้นฟูและทำนุบำรุงพระศาสนา  ตลอดจนชำระสะสางคณะสงฆ์ให้ตั้งมั่นอยู่ในธรรมวินัย  เพราะได้ทรุดโทรมลงมากในช่วงบ้านเมืองเกิดจลาจล  จึงจำเป็นต้องใช้พระราชทรัพย์เป็นอันมากเพื่อการดังกล่าว

     จากเหตุข้างต้น  เราจะเห็นได้ว่าสภาพเศรษฐกิจบ้านเมืองเวลานั้น  ถ้าพูดแบบสมัยนี้ก็ต้องว่า  ตกอยู่ภาวะวิกฤติอย่างยิ่ง  ด้วยเหตุนี้  พระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช  หรือพระเจ้ากรุงธนบุรี  จึงได้วางนโยบายที่จะผ่อนปรนความเดือดร้อนของราษฎร  หรือการแก้ปัญหาเศรษฐกิจที่สำคัญ  ดังนี้

     ประการแรก  ทรงแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในเรื่องความอดอยากและขาดแคลน  ด้วยการพระราชทานข้าวสารให้แก่บรรดาข้าราชการ  ทหาร  และพลเรือนทั้งไทย/จีน  คนละ  ๑  ถังต่อ  ๒๐  วัน  นอกจากนี้  ยังทรงแจกจ่ายอาหารเลี้ยงดูพลเรือนที่อดโซด้วย

     ประการที่สอง  ในช่วงแรกที่ทรงครองราชย์  และเพิ่งผ่านพ้นจากการจลาจลสงคราม  จึงยังไม่มีผู้ทำไร่ทำนาเพื่อเพิ่มผลผลิตให้พอเลี้ยงดูผู้คน  ทรงแก้ปัญหาด้วยการซื้อข้าวสารจากพ่อค้าสำเภาจีน  โดยยอมซื้อในราคาแพงเพื่อแจกจ่ายคนทั้งปวง  ซึ่งเมื่อข้าวขายได้ในราคาแพง  บรรดาพ่อค้าจีนจากที่ต่างๆ  ก็นำข้าวมาขายเพิ่มขึ้น  เกิดการแข่งการขาย  ข้าวจึงมีราคาถูกลงตามหลักดีมานด์-ซัพพลาย  ราษฎรก็ได้รับประโยชน์

     ประการที่สาม  โปรดให้ข้าราชการผู้ใหญ่และผู้น้อยทำนาปีละ  ๒  ครั้งในปี  พ.ศ.๒๓๑๑  เป็นการแก้ปัญหาความขาดแคลน  เพราะช่วงนั้นข้าวสารราคาสูงมาก  ทำให้ราษฎรเดือดร้อน

     ประการที่สี่  ปรากฏว่าในปี  พ.ศ.๒๓๑๑  นั้นเอง  ข้าวในยุ้งฉางและทรัพย์สินต่างๆ  เสียหายเป็นอันมาก  เนื่องจากมีกองทัพหนูมากัดกินเป็นจำนวนมาก  พระองค์จึงมีรับสั่งให้ข้าราชการและพลเรือนทั้งหลายจับหนูมาส่งกรมพระนครบาลทุกวัน  หนูจึงสงบหายไป

     ประการที่ห้า  ทรงให้มีการส่งเสริมการค้าขายกับต่างประเทศ  ซึ่งพ่อค้าที่มีบทบาทสำคัญในช่วงนั้นคงจะเป็นพ่อค้าจีน  ซึ่งการค้ากับต่างประเทศนี้ก็ได้ช่วยบรรเทาความขาดแคลนเครื่องอุปโภคบริโภคภายในบ้านเมืองได้ในระดับหนึ่ง

     ประการที่หก  การที่ทรงสามารถปราบปรามหัวเมืองต่างๆ  รวมทั้งประเทศราช  ทำให้มีฐานอำนาจทางการเมืองมั่นคง  ซึ่งมีผลต่อการเก็บภาษีอากร  ส่วย  และเครื่องราชบรรณาการมาเป็นรายได้  ได้อีกส่วนหนึ่ง

     ประการที่เจ็ด  ในช่วงพม่ายกมาล้อมกรุงศรีอยุธยานั้น  ปรากฏว่าราษฎรได้ฝังทรัพย์สินไว้ตามบ้านเรือนเป็นจำนวนมาก  เมื่อเสร็จสงครามก็มีเจ้าของไปขุดบ้าง  ผู้อื่นไปขุดหาทรัพย์ที่เจ้าของตายแล้วบ้าง  ดังนั้น  ในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงได้จัดเก็บภาษีแก่ผู้ที่ไปขุดหาทรัพย์เหล่านี้  โดยมีเจ้าหน้าที่ไปประจำอยู่ที่กรุงเก่า  และห้ามมิให้ผู้ใดขุดทรัพย์โดยพลการ  ซึ่งการเก็บภาษีผูกขาดเช่นนี้  เป็นการเพิ่มพูนรายได้แก่แผ่นดินไม่น้อย

     ประการที่แปด  ทรงเอาผิดและลงโทษผู้ที่บ่อนทำลายทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงและเฉียบขาด  เช่น  ลงโทษประหารชีวิตผู้ที่ลักลอบทำเงินพด  หรือผู้ที่เบิกข้าวหลวงแล้วแทนที่จะไปแจกราษฎรกลับเอาไปให้ภรรยา  ก็ได้ลงอาญาเฆี่ยนตี  ๑๐๐  ที  และปรับข้าวเป็น  ๑๐  เท่า  ลดตำแหน่งลง  และเอาลูกเมียไปจองจำ  ต่อเมื่อมีศึกจึงค่อยไปทำราชการแก้ตัว  อย่างนี้เป็นต้น  การดำเนินการอย่างเฉียบขาดเช่นนี้  ทำให้คนกลัวและช่วยพยุงฐานะเศรษฐกิจได้บ้างส่วนหนึ่ง

     นอกจากนี้  ยังได้พัฒนาประเทศในแนวแปลกใหม่สำหรับสมัยนั้นด้วย  คือ  ทรงให้มีการตัดถนนในฤดูหนาวคราวว่างศึก  เพื่อใช้เป็นเส้นทางสัญจรไปมาของพ่อค้าประชาชน  ซึ่งตามธรรมดาเส้นทางคมนาคมสมัยเมื่อ  ๒๐๐  ปีมาแล้ว  มักจะเป็นทางน้ำทั้งสิ้น  นับว่าพระองค์ทรงมีแนวคิดพัฒนาประเทศทันสมัยทีเดียว

     อย่างไรก็ดี  แม้จะดำเนินการต่างๆ  เพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจอย่างที่กล่าวมาแล้วก็ตาม  สภาพเศรษฐกิจในสมัยพระองค์ก็มิได้มีความเจริญเติบโตสมบูรณ์อย่างเต็มที่  ทั้งนี้  คงเป็นเพราะการศึกสงครามที่ยังมีอยู่แทบตลอดรัชกาลนั่นเอง  ซึ่งปัญหาความอดอยากนี้นับว่าเป็นปัญหาหนักทีเดียว  จนพระองค์ถึงกับทรงเคยเอ่ยพระโอษฐ์ด้วยความทุกข์พระราชหฤทัยว่า


ภาพจาก: board.palungjit.com/f6/28-ธันวาค ...


     "...บุคคลผู้ใด  เป็นอาทิ  คือ  เทวดา  บุคคลผู้มีฤทธิ์มาประสิทธิ์  มากระทำ  ให้ข้าวปลาอาหารสมบูรณ์ขึ้น   ให้สัตว์โลกเป็นสุขได้  แม้ผู้นั้นจะปรารถนาพระพาหาแห่งเราข้างหนึ่ง  ก็อาจตัดบริจาคให้แก่ผู้นั้นได้  ความกรุณาเป็นสัตย์ฉะนี้..."



     จากพระราชปรารภข้างต้น  คงจะทำให้เราได้เห็นน้ำพระราชหฤทัยของพระเจ้ากรุงธนบุรีอย่างชัดเจนยิ่งขึ้น  ว่าทรงตั้งใจเสียสละเพื่อราษฎรเพียงใด  ตลอดรัชกาล  พระองค์ต้องทรงพระราชดำริทั้งเรื่องการรบข้าศึกศัตรู  เรื่องการฟื้นฟูและทำนุบำรุงบ้านเมือง  คิดถึงการแก้ปัญหาปากท้องราษฎร  แต่ละเรื่องนับเป็นภาระที่หนักยิ่ง  หากมิใช่เพราะพระปรีชาสามารถ  น้ำพระราชหฤทัยที่ห้าวหาญ  และความเสียสละของพระองค์ท่านแล้ว  คงยากที่เราจะมีวันนี้ได้



โดย เปลว สีเงิน
29 ธันวาคม 2552


 :) : http://www.thaipost.net/news/291209/15684

กราบสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าตากสินมหาราช...
และขอบพระคุณที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
sithiphong
ชมรมพระวังหน้า
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +7/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 918


ชมรมพระวังหน้า

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 05 มิถุนายน 2553 19:21:51 »

คำบูชาสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
นโม ๓ จบ

อาราธนาดวงพระวิญญาณ

โอม สิโน ราชาเทวะ ชะยะตุภะวัง สัพพะศัตรู วินาสสันติ

ถวายเครื่องสักการะ

โอม สิโน ราชาเทวะ นะมามิหัง




พระคาถาให้โชคลาภ ( นโม ๓ จบ )

นะชาลิติ มะหาลาโภ ลาโภ มหาโชค มหาลาภ


การถวายเครื่องสักการะบูชา

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงเป็นดวงพระวิญญาณที่สถิตย์เป็นหนึ่งในสมเด็จพระสยามเทวาธิราชเจ้า คอยปกป้องรักษาแผ่นดินไทยให้มีความเจริญรุ่งเรืองไพบูลย์และมีชัยชนะเหนืออริราชศัตรู ทรงโปรดสิ่งเหล่านี้……………………………
๑.ผู้มีความซื่อสัตย์ต่อ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และราชบัลลังก์ ตลอดจนผู้ที่เป็นนักรบรั้วของชาติ
๒.พระกระยาหารที่ทรงเสวยนั้น ส่วนใหญ่เป็นแบบไทยง่ายๆ และอาหารแบบเดินทัพทั้งหลาย เช่น เครื่องของแห้งต่างๆ
๓.แต่บางแห่งเช่น ที่วัดหนองนกไข่ ทรงนิมิตรแก่ท่านเจ้าอาวาส ว่า ทรงโปรดข้าวต้มผัดและไข่ต้ม อันเป็นอาหารสำหรับเดินทัพ
๔.ผลไม้ไทยและจีน เครื่องเซ่นไหว้แบบจีนเต็มชุด เช่น เป็ด ไก่ หัวหมูบายศรี และซาแซ เป็นอาทิ
๕.น้ำเปล่า น้ำผลไม้ และน้ำหวานอื่นๆ ไม่ทรงโปรดเสวยน้ำจัณฑ์
๖.ดอกไม้ที่ใช้บูชา โปรดสีแดง อันเป็นสีแห่งวันพระราชสมภพของพระองค์
๗.เครื่องถวายแก้บนโปรดดาบไทย ครั้งละ ๒ เล่ม และปืนใหญ่จำลอง
๘.โปรดเสียงประทัด และเสียงปืน
เมื่อจะขอพระบารมี ต้องจุดธูป ๑๖ ดอก กลางแจ้ง แล้วกราบขอพระราชทานพระบารมี ตามที่ต้องการ

************************************************

ผมขอกราบในพระคุณขององค์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ที่พระองค์ท่านเหน็ดเหนื่อยตรากตรำเพื่อแผ่นดินไทยของคนไทยทุกๆคน

กราบ กราบ กราบ

Palungjit.com > พุทธศาสนา > บทสวดมนต์ - พระคาถา
รวมบทสวดมนต์และคาถา,

คำบูชาสมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเอกาทศรถ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และรัชกาลที่ 5

http://board.palungjit.com/showthread.php?t=21055
บันทึกการเข้า

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)
คำค้น: ธันวาคม วันพระเจ้าตาก พระเจ้าตากสินมหาราช 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
๒๘ ธ.ค. "วันพระเจ้าตากสินมหาราช"
สุขใจ ห้องสมุด
เงาฝัน 1 2076 กระทู้ล่าสุด 22 มกราคม 2553 16:54:43
โดย หมีงงในพงหญ้า
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.449 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 16 เมษายน 2567 21:47:46