แหวกลวดหนามชมวัฒนธรรม: คนรุ่นใหม่ชายแดนใต้ คลี่คลายความไม่สงบด้วย 'การพัฒนา'
<span>แหวกลวดหนามชมวัฒนธรรม: คนรุ่นใหม่ชายแดนใต้ คลี่คลายความไม่สงบด้วย 'การพัฒนา'</span>
<div class="field field--name-field-byline field--type-text-long field--label-hidden field-item"><p>เกาซัร รายงาน</p></div>
<span><span>See Think</span></span>
<span><time datetime="2025-06-30T16:56:09+07:00" title="Monday, June 30, 2025 - 16:56">Mon, 2025-06-30 - 16:56</time>
</span>
<div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><p>ระหว่างวันที่ 19-25 มิ.ย. ที่ผ่านมา ผู้สื่อข่าวอิสระได้มีโอกาสท่องเที่ยวในจังหวัดนราธิวาสและปัตตานีกับมิตรสหายในพื้นที่ ซึ่งรู้จักกันมาตั้งแต่สมัยเรียนมหาวิทยาลัย นี่น่าจะเป็นการท่องเที่ยวในจังหวัดชายแดนใต้เป็นครั้งแรก หากไม่รวมความทรงจำอันพร่าเรือนในอดีต ซึ่งไม่สามารถยืนยันความถูกต้องได้</p><p>หลังมาถึงที่พักอย่างปลอดภัย มีรายงานในเช้าวันต่อมาว่าเกิดเหตุระเบิดที่
งานกาชาดปัตตานี และเหตุลอบวางระเบิดตำรวจนราธิวาส หลังกลับมาถึงกรุงเทพแล้วก็มี
เหตุความรุนแรงอีก ระหว่างเดินทางไปตามสถานที่ต่างๆ ท้องถนนเต็มไปด้วยด่านตรวจ และโปสเตอร์หมายจับขนาดมหึมา บางครั้งมีการถ่ายภาพยานพาหนะของผู้สัญจรไปมาจากเจ้าหน้าที่ โดยไม่แจ้งล่วงหน้าใดๆ แต่บางครั้งก็ไม่พบเจ้าหน้าที่ มีเพียงด่านตั้งไว้ให้ยานพาหนะขับหลบสิ่งกีดขวางราวกับอยู่ในสถาบันสอนการขับขี่</p><p>การมองเห็นสิ่งเหล่านี้ในระดับพื้นผิวทำให้อดถามไม่ได้ว่า "ปลอดภัยหรือไม่" เมื่อความไม่สงบเริ่มกลับมา หลังการเจรจาเข้าสู่ภาวะชะงักงัน ท่ามกลางเสียงวิจารณ์รัฐบาลว่าขาดความชัดเจนในการดำเนินนโยบาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยามที่เสถียรภาพของพรรคร่วมรัฐบาลสั่นคลอน ภายใต้ความไม่ปกติเช่นนี้ ผู้รับหน้าที่ในการสื่อสารกับผู้มาเยือนคือพลเมืองในท้องถิ่นที่คอยถามไถ่ว่ารู้สึกกังวลหรือไม่ และบอกให้อุ่นใจเสมอว่าที่นี่ปลอดภัย ไม่อันตรายอย่างที่คิด และชื่นชมในความกล้าหาญของผู้มาเยือนตลอดการเดินทาง</p><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54623649738_d2a3dddceb_o.jpg" width="1477" height="1108" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">ภาพโดย เกาซัร</p><h2>ศิลปะเพื่อสันติภาพ</h2><p>De’Lapae Art Space เป็นพื้นที่ศิลปะร่วมสมัย ตั้งอยู่ที่บางนรา จังหวัดนราธิวาส ก่อตั้งโดย ผศ. คีต์ตา อิสรั่น และ ดร. ปรัชญ์ พิมานแมน ศิลปินและอาจารย์คณะศิลปกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) นอกจากเป็นพื้นที่ศิลปะยังมีส่วนที่เป็นร้านกาแฟชื่อว่า D’ Art Cafe & Coffee Lab หน้าร้านมีใบรับรอง Arabica Q Grader ตั้งอยู่ด้วย</p><p>"ทำไมดูเป็นภาษาฝรั่งเศสมากๆ (ทั้งที่ตั้งอยู่ภาคใต้) ขอตอบตรงนี้ว่านอกจาก De’ ที่นำหน้าชื่อแล้ว ชื่อหอศิลป์แห่งนี้ไม่มีอะไรเกี่ยวกับฝรั่งเศสเลยแม้แต่น้อย เพราะ “ลาแป” มาจากคำมลายูที่หมายถึงเลข 8 และความเป็นอนันต์ ซึ่งคำเดียวกันนี้ก็ยังพ้องเสียงกับคำว่า “ลาปัน” ที่แปลว่าพื้นที่กว้างใหญ่ หรือสเปซ อีกด้วย" ตามข้อมูลของ
นิตยสาร Art4D</p><p>แทนที่จะใช้กำลังประหัตประหารกัน De’Lapae Art Space นำเสนอเส้นทางสู่สันติภาพในลักษณะต่างออกไป กล่าวคือใช้ศิลปะเป็นสื่อกลางในการสร้างความเข้าใจระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมในการสนทนา แทนที่จะปล่อยให้การคลี่คลายความขัดแย้งเป็นเพียงหน้าที่ของบรรดาผู้นำ</p><p>คุณลีน่า ผู้นำชมการจัดแสดงเล่าว่าสถานที่แห่งนี้มีการจัดแสดงงานศิลปะตลอดปี และมีผลงานใหม่ของศิลปินปีละ 2-3 ครั้งตามแต่โอกาส ศิลปินที่มาจัดแสดงมักเป็นศิลปินมลายู ผู้เยี่ยมชมมักเข้ามาเยี่ยมชมหนาแน่นกว่าปกติในช่วงที่มีการเริ่มจัดแสดง ประกอบด้วย ครู นักเรียน บุคคลทั่วไป ไปจนถึงเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจ</p><p>งานศิลปะที่จัดแสดงในช่วงนี้ คือ
“ฤดูกาลเบิกบาน” MUSIM BERBUNGA โดย อับดุลฮากีม ยูโซ๊ะ จัดแสดงระหว่าง 1มิ.ย. - 31 ส.ค. อาจตีความได้ว่าเป็นผลงานชุดนี้เป็นนวัตกรรมการอนุรักษ์ เมื่อเข้าไปในห้องนิทรรศการจะพบภาพงานออกแบบจำนวนมาก จำแนกเป็นสถาปัตยกรรมรูปแบบต่างๆ พร้อมกับภาพลวดลายดอกไม้ ซึ่งคุณลีน่าระบุว่าเป็นเอกลักษณ์ของมลายู</p><p>นอกจากนี้ยังมีบันทึกของศิลปินเกี่ยวกับชื่อโครงการที่คิดไว้ในใจ เช่น "วาดเมืองในความทรงจำ" “วาดอดีตที่สาปสูญ" “ช่วงหนึ่งของความรุ่งโรจน์” และ "บันทึกประวัติศาสตร์ผ่านงานวาดเส้น" ภายใต้แนวคิดคือ "การสื่อสะท้อนภาพลักษณ์ของความรุ่งโรจน์ว่าครั้งหนึ่งเมืองอังกาสุกะมีอยู่ในดินแดนปาตานี ไม่ใช่อุปโลกหรือเรื่องเล่าชาดกที่เล่าต่อๆ กันมา"</p><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54623638374_68853306cf_o.jpg" width="2048" height="1528" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">ตัวอย่างผลงานชุด “ฤดูกาลเบิกบาน” 20 มิ.ย. 2568 ภาพจาก 'เกาซัร’</p><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54623742235_6a10877d93_o.jpg" width="1477" height="1108" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">ตัวอย่างผลงานชุด “ฤดูกาลเบิกบาน” 20มิ.ย. 2568ภาพจาก 'อานีซะ’</p><p>นอกจากจัดแสดงงานศิลปะของศิลปินท้องถิ่น De’Lapae Art Space ยังมีบทบาทในการจัดงานนิทรรศการสำคัญในกรุงเทพฯ รวมถึงเปิดรับศิลปินจากต่างประเทศมาพำนักที่นราธิวาส และมีการจัดกิจกรรมเพื่อสังคม เช่น การจัด
กิจกรรมพัฒนาทักษะด้านศิลปะให้กับเด็ก การรับบริจาคเสื้อผ้าเพื่อ
ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยเมื่อปลายปีที่แล้ว ไปจนถึงทำงานประสานกับเครือข่ายในแวดวงศิลปะอีกหลายแห่ง</p><p>ที่จะเห็นได้จับมือร่วมงานกันบ่อยๆ คือ
P.art.y Gallery Pattani ก่อตั้งโดย ดร. ปรัชญ์ พิมานแมน ร่วมกับ ผศ. ดร. อัญชนา นังคลา และอาจารย์ณัฐพล พิชัยรัตน์ ซึ่งมาจาก มอ. เช่นกัน ชื่อโครงการ "มาจากการผสมคำเข้าด้วยกันระหว่าง P แทนคำว่า ‘Pattani’ ปัตตานี ‘ART’ ที่แปลว่าศิลปะ และ ‘Y’ ที่มาจาก Gen Y” ซึ่งเป็นรุ่นอายุของกลุ่มผู้ก่อตั้ง เป็นการ "ออกแบบและปรับปรุงพื้นที่โกดังเก่าที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ให้กลายมาเป็นพื้นที่จัดแสดงงานศิลปะและคาเฟ่”</p><p>P.art.y Gallery Pattani มีโอกาสได้
ต้อนรับบุคคลสำคัญ เช่น เอกอัครราชทูตสหรัฐ และอดีตสมาชิกวุฒิสภาปัจจุบันมีการจัดแสดงผ้าลวดลายต่างๆ รวมถึงพร้อมขายของที่ระลึกให้ผู้คนซื้อติดไม้ติดมือ ในร้านมีการ์ดเกมส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัว และมีกาแฟที่ปัจจุบันค่อนข้างหาได้ยากตามท้องตลาดของไทย เช่น กาแฟสายพันธุ์ไลเบอริกาจากมาเลเซีย และกาแฟอาราบิกาจากเยเมน</p><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54622547822_cbbf69b67c_o.jpg" width="1477" height="1108" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">โซนของที่ระลึกของ P.art.y Gallery Pattani 22 มิ.ย. 2568 ภาพจาก 'อานีซะ’</p><h2>Lyft: ธุรกิจครอบครัวสู่วิสาหกิจเพื่อสังคม</h2><p>ที่ อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี มีร้านกาแฟแห่งหนึ่งตั้งอยู่ริมถนน AH18 ใกล้กับโรงพยาบาลยะหริ่ง และสนามกีฬาเทศบาลตำบลยะหริ่ง เดิมทีผืนดินที่ตั้งของร้านเคยเป็นที่นาของครอบครัวของไซยิดฮัดรีย์ อัลอิดรุส (ไซยิด) หลังจากจบการศึกษา ไซยิดตั้งใจกลับบ้านมาทำธุรกิจปลากระพง แต่เนื่องจากตลาดมีความผันผวนและปลากะพงมาเลเซียทะลักเข้าไทย เขาจึงตัดสินใจหันมาทำธุรกิจร้านกาแฟกับน้องชาย</p><p>ร้านแห่งนี้ชื่อว่า Lyft ซึ่งไซยิดตั้งตามชื่อพี่ชายผู้ร่วมก่อตั้งที่เสียไป เพื่อให้รู้สึกว่าเหมือนยังอยู่ด้วยกัน ร้านแห่งนี้เปิดมาได้ 2 ปีกว่าแล้ว เริ่มต้นมาจากการได้แนวคิดจากพี่สาวว่าในรัศมี 10 กิโลเมตร ยังไม่มีใครเปิดร้านที่เป็นกาแฟสด บวกกับไซยิดสังเกตจากประสบการณ์ตอนที่เลี้ยงปลาว่าทิวทัศน์น่าจะเป็นจุดขายได้</p><p>“เรารู้สึกว่าวิวมันดีมาก เวลาลมมาปะทะหน้าหรือว่าอะไรแบบนี้ เรารู้สึกว่า เอ้ย ชอบ น่าจะมีคนชอบเหมือนเรา ก็เลยคิดไปเอง" ไซยิดพูดแล้วหัวเราะ</p><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54622547847_81df2fb577_o.jpg" width="2048" height="1536" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">บรรยากาศที่ร้าน Lyft 21 มิ.ย. 2568 ภาพจากมิตรสหายผู้สื่อข่าว</p><p>ต่างจากที่รัฐและสังคมมองเข้ามา อุปสรรคของการประกอบกิจการสำหรับไซยิดไม่ใช่ปัญหาความไม่สงบ แม้อาจจะกระทบกับผู้ประกอบการรายอื่นบ้างทั้งในทางตรงและทางอ้อม</p><p>“ความจริงมันก็มีระเบิดหลายที่ แต่ว่าก็ยังไม่กระทบ หมายถึงว่าเรื่องตัวเลขก็ยังเท่าเดิมอยู่ตลอด ไม่ว่าจะระเบิดใกล้ระเบิดไกลก็ยังไม่กระทบ" ไซยิดพูดถึงสถานการณ์ของที่ร้าน</p><p>“คนในพื้นที่เขาน่าจะชินแล้วกับอะไรแบบนี้ อย่างล่าสุดที่ระเบิดที่ลาดโต้รุ่ง ระเบิดเสร็จปุ๊บวันต่อมาเขาก็มาตั้งขาย ปิดทางจอดรถไว้เลนนึง แต่อีกเส้นนึงยังสามารถจอดได้ พ่อค้าแม่ค้าก็ยังขายต่อ แต่ว่าลดจำนวนการขายลง"</p><p>น่าสนใจว่า สำหรับไซยิดแล้ว อุปสรรคใหญ่คือความผันผวนของสภาพอากาศ ซึ่งส่งผลกระทบต่อฐานลูกค้าโดยตรง ทั้งในแง่ของสถานการณ์เกี่ยวกับรายได้ พฤติกรรมการใช้จ่าย และความสามารถในการแวะเวียนมาเข้าร้าน</p><p>“ที่กลัวอย่างเดียวคือฝนฟ้าอากาศมันไม่เหมือนเดิม ไม่เหมือนสมัยก่อน แต่ก่อนก็คือฝนมันจะตกแบบเป๊ะๆ ช่วงสมัยเลี้ยงปลา เราจะสามารถคำนวณได้ว่าช่วงเดือนนี้ ปุ๊บๆ มันจะเป็นอย่างนี้ เราจะวางแผนได้ แต่ว่าพอปัจจุบันก็คือฝนมาแล้วน้ำท่วม ก็คือไม่เหมือนเดิม เท่าที่รู้สึกนะ”</p><p>แม้มีอุปสรรค แต่ธุรกิจยังไปได้ ร้านมีแผนว่าจะโฆษณาบนโซเชียลมากขึ้น และกำลังสร้างอาคารอีกหนึ่งหลังอยู่ติดกัน เพื่อแยกเป็นโซนสำหรับเมนูอาหารใหม่ๆ นอกจากกาแฟและเครื่องดื่ม</p><p>นอกจากนี้ ไซยิดยัง "อยากจะให้ร้านกาแฟเป็นมากกว่าร้านกาแฟ" กล่าวคือเติมมิติของการบริการสังคม ด้วยการติดบอร์ดประกาศรับสมัครงานทั่วไป เช่น ตัดหญ้า ตัดไม้ หรือติวเตอร์ เพื่อเป็นจุดเชื่อมโยงระหว่างผู้ประกอบอาชีพและผู้มองหาบริการต่างๆ</p><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54623433256_e99b617d8d_o.jpg" width="1062" height="1536" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">ไซยิดฮัดรีย์ อัลอิดรุส 21 มิ.ย. 2568ภาพจาก ‘อานีซะ’</p><p>ในอนาคต เขามีแผนจะริเริ่มโครงการวิสาหกิจเพื่อสังคม กล่าวได้ว่าร้าน Lyft ของไซยิดต้องการจะ "lift [ยกระดับ]" คุณภาพชีวิตของคนสามจังหวัดด้วย ไซยิดมีข้อสังเกตว่า ปัจจุบันในพิธีกุรบานหรือการเชือดสัตว์พลีทานของคนสามจังหวัดนั้น เนื้อจากการประกอบพิธีมักถูกส่งมอบให้กับคนที่รู้จักมักคุ้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้มีอันจะกินอยู่แล้ว</p><p>“มันมีอีกเยอะเลย คนที่ว่าไม่มีไฟใช้ บางครอบครัว 70 บาทอยู่กัน 7-8 คน” ไซยิดกล่าว “ในตำบลหนึ่งเราสามารถลิสต์กลุ่มอ่อนแอพวกนี้เข้ามารับเนื้อได้ เพราะว่าแต่ละปีเนื้อเยอะมากๆ เราเชือดพลีแล้วก็กินกัน บางทีก็กินเพื่อให้มันหมด แต่เรารู้สึกว่ามันยังมีกลุ่มอ่อนแอที่ควรจะเข้าถึงเนื้อได้ตลอดทั้งปี”</p><p>"ยังมีอีกหลายคนที่เชือดพลีแต่ไม่รู้จะทำอะไร ล่าสุดผมก็เชือดพลีไป แล้วก็แบ่งให้ชาวบ้านไปจัดการ ซึ่งต่อให้เราทำอย่างนั้น ตู้เย็นของชาวบ้านเขาก็มีจำกัดในบางครัวเรือน ใส่ในตู้เย็นก็อาจจะอยู่ได้แค่ประมาณ 2-3 เดือน"</p><p>ไซยิดจึงฝันว่าอยากจะก่อตั้ง 'ธนาคารเนื้อ' ประจำตำบล สร้างระบบแช่แข็งเพื่อเก็บไว้แจกจ่าย และสร้างช่องทางการสื่อสารระหว่างผู้ให้และผู้รับ ซึ่งเป็นการยิงนัดเดียวได้นกถึง 3 ตัว</p><p>นอกจาก (1.) แก้ปัญหาอาหารเหลือทิ้ง และ (2.) แบ่งเบาภาระของกลุ่มเปราะบาง ให้มีเงินเหลือส่งเสียการศึกษาของลูกหลาน (3.) ยังเป็นโอกาสในการดึงดูดผู้ลงทุนจากต่างชาติ ที่กำลังมองหาสถานที่ประกอบพิธีกุรบานในราคาย่อมเยา สำหรับชาวมุสลิมในบางประเทศที่กฎหมายไม่อนุญาต เช่น กรณีของสิงคโปร์</p><p>เทียบกับประเทศอื่นแล้ว เนื้อในสามจังหวัดราคาถูกกว่า นับเป็นอีกหนึ่งปัจจัยในการดึงดูดผู้ลงทุน แม้ดูเป็นโครงการใหญ่ แต่ไซยิดคำนวณต้นทุนมาแล้ว ไม่ได้แพงอย่างที่คิด เมื่อเทียบกับโครงการอื่นๆ ขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นต่างๆ ในปัจจุบัน</p><p>“ทุกวันนี้เรารู้สึกว่าที่นักการเมืองเขาเอาเงินไปใช้โดยเฉพาะ อย่างนักการเมืองท้องถิ่น ก็รู้สึกว่ามันไม่สัมฤทธิ์ผลเท่าไหร่ เช่น เอาไปทำถนนที่มันมีอยู่แล้ว แต่ก็ทำไปเรื่อยๆ จริงๆ แค่งบ 1 ล้าน เราสามารถจัดการทำให้มีธนาคารเนื้อ แล้วก็จัดหาให้กับคนขัดสนแบบนี้ได้อีกเยอะเลย”</p><p>นับเป็นข้อสังเกตที่น่าสนใจ เมื่อพิจารณาว่าข้อจำกัดในการกระจายอำนาจทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่มีอำนาจอิสระในการจัดสรรงบประมาณ และดำเนินนโยบายตามทิศทางของตัวเองเท่าที่ควร ภายใต้กฎระเบียบอันรัดกุมของกระทรวงมหาดไทย</p><p>แม้จะเชื่อในการวางแผนอย่างระมัดระวังก่อนตัดสินใจลงทุน และการพยายามด้วยตัวเองอย่างถึงที่สุดก่อน แต่ไซยิดก็ยังอยากให้รัฐเข้ามาสนับสนุนมากกว่านี้ "ในส่วนของภาครัฐ จริงๆ อยากให้สนับสนุน เรื่องการท่องเที่ยวของสามจังหวัด อะไรพวกนี้จริงๆ มันมีเสน่ห์เยอะ"</p><p>"ยังมีอีกหลายคนที่เขาอยากจะทำร้าน หรือว่าเข้าถึงข้อมูลโดยการปฏิบัติจริง แต่ว่ามันไม่เอื้อ หรือที่เคยเจอก็คือภาครัฐให้งบมา ให้วิทยากรมาให้ข้อมูล ให้ความรู้ แต่ก็ไม่ได้ผ่านการคัดสรร"</p><h2>Bangnara Delta: “อยากให้นรารู้จักคำว่าอาร์ต”</h2><p>มูบารัด สาและ (ยะ) เป็นกวี ช่างภาพ และนักดนตรี เคยมีผลงานกับมติชนสุดสัปดาห์ ประชาไท และช่องยูทูปของตัวเอง มูบารัดเคยถูกเสนอชื่อเป็นผู้ท้าชิงรางวัลซีไรต์ตอนอายุ 28 มีผลงานออกมาแล้ว 4 เล่ม แต่ละเล่มระดับความหายากต่างกัน ผลงานล่าสุดคือ "ทุกสิ่งมิได้เป็นไปตามฤดูกาล" ซึ่งเขาเรียกมันว่า "พาวเวอร์เรนเจอร์สีเหลือง" ตีพิมพ์กับสำนักพิมพ์สมมติ</p><p>หลังผ่านมรสุมของการค้นหาตัวเอง จนเข้าโรงพยาบาลจิตเวชไปช่วงหนึ่ง มูบารัดนิยามอารมณ์ช่วงนี้ของชีวิตว่าเป็นสีฟ้าและสีเขียว เขาใช้ชีวิตกับครอบครัวและลูกและเขาเปรียบลูกเป็นเหมือน "ดอกไม้" มูบารัดให้ความสำคัญกับการดำเนินกิจวัตรอย่างเชื่องช้าในยามเช้า หลังเคยผลิตผลงานอย่างอุตสาหะ ปัจจุบันเขาพยายาม "เค้น" งานออกมาน้อยลง และค่อยๆ ละเลียดเขียนมากขึ้น โดยอาศัยห้วงอารมณ์ตามช่วงเวลาต่างๆ ในแต่ละวัน</p><p>มูบารัดก่อตั้งร้าน Southern Coffee ที่ ต.บางนาค อ.เมือง จ. นราธิวาส "ไม่ได้ต้องการสร้างให้มันเป็นร้านกาแฟ แต่ต้องการสร้างให้มันเป็นห้องสมุดสาธารณะ หรือตั้งใจให้มันเป็นintellectual center [ศูนย์ระดมความคิด]” ในร้านมีวรรณกรรมน่าสนใจให้หยิบอ่านหลายเล่ม เช่น สงครามและสันติภาพของดอสโตเยฟสกี้ หากสืบย้อนกลับไป ก็จะเห็นมุมมองของเขาเกี่ยวกับการอ่านของคนรุ่นใหม่ใน
รายงานเสวนาเมื่อ 8 ปีก่อนว่า "เราไม่สามารถทำให้หนังสือนั้นหาซื้อได้ง่าย ไม่เหมือนเวลาที่เราเดินไปซื้อของในร้านสะดวกซื้อ”</p><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54623649768_39cb79d401_o.jpg" width="1477" height="1108" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">ระหว่างสัมภาษณ์ที่ Southern Coffee ขวา: มูบารัด สาและ (ยะ) กลาง: นูรียา วาจิ (จูนี่) ซ้าย: ผู้สื่อข่าว 23 มิ.ย. 2568 ภาพจาก 'อานีซะ’</p><p>มูบารัดผันตัวมาทำงานเบื้องหลังมากขึ้น และมีโอกาสได้รับแขกศิลปินต่างชาติที่มาพำนักในนราธิวาสเป็นประจำ ในช่วงหลัง เขาให้ความสำคัญกับ
Bangnara Delta โดย "บางนรา" เป็นชื่อของนราธิวาสในอดีต ส่วน "เดลตา" แปลว่าดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ ที่มาพร้อมกับความอุดมสมบูรณ์ มูบารัดใช้ชื่อนี้เป็นเวทีศิลปะสำหรับการเรียนรู้ของทุกคน เพราะเขา "อยากให้นรารู้จักคำว่าอาร์ต"</p><p>"ไม่ได้บอกว่านักวิชาการผิด แต่เราอยากให้มันมีชีวิตชีวา ตอนนี้สนใจความเป็นวัฒนธรรม" มูบารัดกล่าวถึงบางนราเดลตา</p><p>“ในความเป็นเรา มันเป็นออแกนิกมากกว่า เหมือนกับเรามีธุรกิจ ทุกคนในเครือข่ายเราเป็นนักธุรกิจหมดเลย เช่น ร้านกาแฟ ร้านข้าว ทุกคนมีอาชีพเป็นของตัวเอง ทุกคนมีเงินของตัวเอง แต่ทุกคนมีจุดร่วมตรงกลางก็คือแพชชั่นในสิ่งที่ชอบ ตรงนี้ที่เรามาสร้างร่วมกัน ทุกคนไม่มีผลประโยชน์ตรงนี้เลย ไม่มีการเงินเข้ามา"</p><p>"และสิ่งที่ได้คืออะไร คือเวทีสำหรับเยาวชน คุณจะร้องเพลง คุณจะถ่ายรูป คุณจะวาดรูป คุณได้หมดเลย ล่าสุดเพิ่งจัดไป [เป็นกิจกรรม]
Sketch Drawing เราดึงคนกรุงเทพ ที่เป็นศิลปินวาดรูปเร็ว เป็นสถาปนิกก็มาวาด เอ็นจอยกัน ซึ่งเราไม่อยากให้มีเงินปะปน เราอยากให้ทุกคนได้ เพราะที่นี่มันไม่ใช่กรุงเทพ มันไม่ใช่เมืองใหญ่"</p><p>มูบารัดระบุว่าทุกอย่างราบรื่นดี แม้จะเคยร่วมงานกับภาครัฐตามโอกาสต่างๆ แต่เขาชอบที่จะจัดกิจกรรมกันเองมากกว่า</p><p>“ตอนนี้ก็รัฐไม่ได้จับจ้องอะไร เพราะเราแค่ทำงานอีเวนต์สนุกๆ ออแกนิก มันไม่ได้มีการข้ามหน้าข้ามตากัน มันไม่มีการโปรโมต มันไม่มีสปอนเซอร์”</p><p>“เราโดนมาเยอะ หน่วยงานรัฐหรือการได้หน้า" มูบารัดกล่าวถึงประสบการณ์ร่วมงานในอดีต</p><p>เมื่อถามถึงอัตลักษณ์ศิลปะของนราธิวาส เขาเล่าว่า "ที่นี่มันมีเรื่องเหตุการณ์ มีเรื่องของภูมิศาสตร์ มีเรื่องของความขัดแย้ง มีเรื่องของศาสนา คนที่นี่เองก็มีประเด็นเยอะที่จะเล่น ซึ่งอัตลักษณ์แท้จริง อัตลักษณ์ที่นี่ก็คือข้าวยำ แต่ไม่ค่อยมีใครเล่น เล่นเรื่องความไม่มั่นคง"</p><p>"ส่วนประเด็นอื่น เขาไม่ค่อยพูด ซึ่งมีเยอะ เราก็เลย...อยากเป็น bright side [ด้านสว่าง] ใช่ ก็เลยพยายามพูดถึงความสวยงาม พูดถึงการอนุรักษ์ ก็ไม่ได้อนุรักษ์มากหรอก แต่อย่างก็น้อยให้คุณได้รู้ไง ว่าที่นี่มันมีสิ่งนี้อยู่”</p><p>จังหวัดชายแดนใต้ถนนหนทางเต็มไปด้วยด่านตรวจ ลวดหนาม แนวคอนกรีตกันระเบิด พร้อมข่าวความไม่สงบเป็นระยะ แต่เมื่อมาจริงๆ ภาพกลับต่างออกไป นราธิวาสและปัตตานีมีนวัตกรรมสังคมและเต็มไปด้วยงานศิลปะอย่างที่เมืองรุ่มรวยทางวัฒนธรรมควรจะเป็น คนท้องถิ่นในจังหวัดชายแดนใต้พยายามสร้างสิ่งเหล่านี้ขึ้นมาตามแนวทางของตนเอง ท้าทายต่อกรอบเรื่องเล่ากระแสหลักในการนำเสนอของสื่ออย่างยิ่ง</p><p>ความขัดกันของรั้วลวดหนามและความงามของเมือง มูบารัคให้ความเห็นว่า:</p><p>
"เราเริ่มเบื่อแล้ว มันเป็นเรื่องปกติ ที่ทุกคนตั้งคำถาม</p><p>
พอทุกคนมาเอง มันก็ทลายภาพเขาในหัว ก็โอเค สำเร็จแล้ว</p><p>
แค่มาเถอะ ไม่มาคุณก็ไม่รู้ แค่นั้นเลย</p><p>
เล่าได้ เขาไม่เชื่ออยู่ดี เขานึกภาพไม่ออก เขาไม่ผิด"</p><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54623742180_7eb669f841_o.jpg" width="1477" height="1108" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">ภาพโดย เกาซัร</p><h2>นูรียา วาจิ: ความท้าทายของศิลปินหญิง</h2><p>นูรียา วาจิ (จูนี่) ศิลปินจาก อ.สายบุรี จ.ปัตตานี และภรรยาของมูบารัด เล่าให้ฟังว่าเธอพยายามถ่ายถอดความรู้สึกของผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบ เธอมีผลงานจัดแสดงในอีเวนต์ที่่มีชื่อเสียงมาแล้วหลายครั้ง เช่น นิทรรศการ "
วิถีแห่งสตรี: Muslimah” เมื่อปี 2560 ที่เธอและกลุ่มศิลปินหญิงมุสลิมได้จัดแสดงที่่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร และนิทรรศการ "
เลือนราง : Fade away" ซึ่งเธอแสดงเดี่ยวเมื่อปี 2562 ที่ YuYuan Art & Antique ตั้งอยู่ใน LHONG 1919</p><p>จูนี่เล่าเกี่ยวกับ "ภาพชีวิต" ซึ่งเป็นชื่อผลงานวิทยานิพนธ์ของเธอ ขณะศึกษาระดับปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยศิลปากร งานชิ้นนี้แสดงให้เห็นเอกลักษณ์งานศิลปะของเธอได้เป็นอย่างดี เธอเล่าว่าในงานชิ้นนี้ เธอได้มีโอกาสสัมภาษณ์กับผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ใน 3 จังหวัดหลายคน และได้รับมอบเสื้อผ้าจากผู้ประสบเหตุโดยตรงเพื่อมาผลิตงานศิลปะ</p><p>จูนี่เล่าถึง "เสื้อในวันที่่เหตุการณ์เกิดขึ้นเลย มีทั้งคราบเลือด มีทั้งคราบน้ำมัน" ของพิทยา จันทร์ทรัพย์ หรือจู่นี่เรียกว่าพี่ยา เป็นผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ระเบิดหน้าบ้าน เมื่อวันที่ 21 ก.ย. 2555 บ้านของพี่ยาทำอาชีพอู่ซ่อมรถ "เสื้อตัวนั้นอ่ะ เหลือเพียงแค่ตัวเดียว ที่เขาเหลืออยู่เพราะว่าเขาใส่ในวันนั้น แล้วก็บ้านเขาถูกไฟไหม้ไปหมดเลย เพราะว่าเป็นวันที่เขาลงน้ำมันเข้าบ้านด้วย แล้วก็ยิ่งเป็นชนวนให้บ้านไฟไหม้"</p><p>“จูนี่ใช้กระบวนการแพทย์ ที่เย็บแผล เอาเสื้อเขากางออกให้ได้มากที่่สุด เราอยากสะท้อนว่าเขาก็คือคนบริสุทธิ์คนหนึ่ง ที่เปิดออก ฉีกออก มันก็ไม่มีอะไร ว่างเปล่า เราก็เย็บแบบวิธีการแพทย์เลย เรียนกับแพทย์เลยว่าเย็บอย่างไร แล้วก็เอามาย้อม เพื่อว่าแสดงถึงการชะล้างเรื่องราวเหล่านั้นให้เขา แล้วเอามาขึงลงบนเฟรม”</p><p>ด้วยพลังการถ่ายทอดอารมณ์ของผลงาน เธอจึงได้ไปจัดแสดงที่ ฺBangkok ฺArt Biennale และหลังจากสำเร็จการศึกษา จูนี่ก็ได้มีโอกาสไปเป็นศิลปินพำนักที่อินโดนีเซีย ได้มีโอกาสสัมภาษณ์ "คุณลุงกับคุณยาย" และผลิตผลงานเกี่ยวกับเชลยศึกในช่วงที่ดัชต์รุกรานออกมาอีกชิ้นหนึ่ง</p><p>“เศร้านะคะ" จูนี่พูดด้วยน้ำเสียงสั่นเครือ "ส่วนใหญ่ก็ทำงานประมาณเรื่องเหตุการณ์นี่แหละ หลังๆ ก็เริ่มทลายตัวเองออกจากปัญหาเหล่านี้ด้วย"</p><p>"มาเจอมูบารัด เขาก็พยายามบอกกับเราว่า ถ้าเราพูดถึงเหตุการณ์อยู่ แล้วมันไม่ได้เปลี่ยนอะไร เราเลือกที่จะต่อสู้ในแบบอื่นไหม บางทีเรื่องพวกนี้มันก็ตอกย้ำเราเหมือนกันนะ มันก็ดิ่ง มันดาร์ค ยิ่งเราผู้หญิงสภาวะคนเป็นแม่อีก ฮอร์โมนอะไรแบบนี้อีก ก็เลยพักเรื่องพวกนี้ก่อน"</p><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54623451751_d15804d902_o.png" width="797" height="627" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">เสื้อตัวที่จูนี่พูดถึง ชื่อผลงาน: นายพิทยา จันทร์ทรัพย์ ผลิต พ.ศ. 2561</p><p class="picture-with-caption">แหล่งที่มา:
วิทยานิพนธ์ของนูรียา วาจิ ลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร เข้าถึงเมื่อ 30 มิ.ย. 2568</p><p>แม้ผลงานของเธอจะทำให้คนในพื้นที่ได้เริ่มแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับผลกระทบทางอารมณ์จากเหตุการณ์ และหันมาดูแลความรู้สึกของกันและกันมากขึ้น แต่เธอเห็นว่าการเป็นศิลปินในสามจังหวัดยังคงมีความท้าทายหลายประการ</p><p>“ผู้หญิงน้อย ถ้าพูดแต่เรื่องเหตุการณ์ ไม่ค่อยเยอะ" จูนี่กล่าว "เหมือนอย่างจูนี่วาดรูปคน ขนาดปัญหาของเรา มันก็มีการตั้งคำถามว่า เป็นมุสลิมวาดรูปคน"</p><p>"คือหลักศาสนาหรือความรู้ของคนในพิื้นที่ เขาจะจำกัดว่าห้ามวาดรูปคน หรือห้ามวาดรูปสัตว์ ซึ่งเราไม่ได้มองถึงข้อจำกัดตรงนั้น เราพูดถึงเจตนาเรามากกว่า ว่าเราถ่า่ยทอดไปเพื่ออะไร เราไม่ได้ต้องการให้คนมากราบไหว้ ซึ่งสมัยเรียนมันเกิดคำถามแบบนี้ใส่เราเยอะ"</p><p>“สำหรับเรา เรารู้สึกว่ามันตีความไม่แตก คำว่าศาสนาจำกัดว่าห้ามวาดรูปคน แต่มันจะมีบางสิ่งบางอย่างในพื้นที่ ที่เขาจำกัดขึ้นมาเอง มันมีบางอย่างที่มุสลิมทั่วโลกเป็นอีกแบบ แต่ในพืิ้นที่สามจังหวัดเขาจะเป็นอีกแบบหนึ่ง"</p><p>ยิ่งเป็นศิลปินหญิงใน 3 จังหวัดด้วยแล้ว ความท้าทายยิ่งเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องความสมดุลระหว่างการทำงานกับการใช้ชีวิต</p><p>“เราในบทบาทตอนนี้เป็นแม่ด้วย มันไม่เชิงว่าอุปสรรคหรอก แต่ว่าเราจะต้องแบ่งเวลาหนึ่งให้ลูก สองเป็นภรรยาให้กับสามี ... เราจะต้องทำให้มันอยู่ควบคู่ไปได้กับความสามารถหรือการงานที่เรารักด้วย ซึ่งอาจจะลดทอนบางอย่างลง ต้องให้เวลากับสิ่งนี้มากขึ้น"</p><p>"ด้วยความที่ว่าเราก็เป็นมุสลิมที่เชื่อคัมภีร์ มันเหมือนมีคู่มือหนึ่งที่บอกว่า เราจะต้องปฏิบัติตามหลักคำสอนด้วย และเราจะอยู่อย่างไรกับความชอบของเรา … เรารักในการงานของเรา แต่หน้าที่ตรงนี้ก็ต้องทำ จะทำยังไงให้มันอยู่ด้วยกันได้"</p><p>"สมัยเรียนอาจารย์ก็มักจะพูดว่าเป็นศิลปินหญิงจะยากกว่าเป็นศิลปินชาย เพราะว่าหน้าที่่ความเป็นแม่มันก็หนัก แต่ว่าสำหรับเราเอง เราก็มองว่ามันคือสิ่งที่ดี บางทีมันไม่ทำให้เรามุ่งจนลืมครอบครัว หรือเหมือนวันหนึ่งเราสำเร็จแล้วคนข้างหลังเราอยู่ตรงไหน อันนั้นก็น่ากลัว"</p><p>ดูเหมือนว่าเธอจะรักษาสมดุลชีวิตได้เป็นอย่างดี เพราะเร็วๆ นี้เธอจะได้ไปจัดแสดงงานอีกครั้ง</p><p>"เดือนหน้ามีแสดงงานที่ BACC ไปดูกันได้นะ เป็นนิทรรศการกลุ่มค่ะ หลายๆ ภูมิภาค มีศิลปินจากอีสาน จากทางใต้ แล้วก็กรุงเทพบางส่วน" </p></div>
<div class="node-taxonomy-container">
<ul class="taxonomy-terms">
<li class="taxonomy-term"><a href="
http://prachatai.com/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" hreflang="th">ข่า
http://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1" hreflang="th">สังค
http://prachatai.com/category/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1" hreflang="th">วัฒนธรร
http://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99" hreflang="th">สิทธิมนุษยช
http://prachatai.com/category/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%87" hreflang="th">ความมั่นค
http://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%95%E0%B9%89" hreflang="th">สามจังหวัดชายแดนใต
http://prachatai.com/category/%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B5" hreflang="th">ปัตตาน
http://prachatai.com/category/%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%AA" hreflang="th">นราธิวา
http://prachatai.com/category/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%B9" hreflang="th">วัฒนธรรมมลาย
http://prachatai.com/journal/2025/06/113521 







