[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
10 กรกฎาคม 2568 01:29:36 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ตามรอยยายหอม วัดพระประโทณเจดีย์วรวิหาร อ.เมือง จ.นครปฐม  (อ่าน 95 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 6119


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0 Chrome 109.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 06 กรกฎาคม 2568 17:50:26 »



พระประโทณเจดีย์

วัดพระประโทณเจดีย์วรวิหาร
ตำบลพระประโทน อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม


วัดพระประโทณเจดีย์วรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่ที่หมู่ ๑ ตำบลพระประโทน อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม อยู่ห่างจากพระปฐมเจดีย์เป็นระยะทางประมาณ ๒ กิโลเมตร จุดเด่นของวัดคือ พระประโทณเจดีย์ เป็นเจดีย์สมัยทวารวดี มีรูปแบบเดิมเป็นทรงโอคว่ำ มีการขุดพบวัตถุโบราณจำนวนมากที่วัดแห่งนี้ เช่น พระพุทธรูป เศียรพระพุทธรูปปูนปั้น พระดินเผา รวมทั้งโลหะสำริดรูปพญาครุฑเหยียบนาค ซึ่งรัชกาลที่ ๖ ทรงใช้เป็นเครื่องหมายราชการของพระองค์

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติสันนิษฐานว่าสร้างวัดขึ้นราว พ.ศ.๒๓๒๔ วัดตั้งอยู่เหนือองค์พระประโทณเจดีย์ประมาณ ๒๐ เมตร สันนิษฐานว่าย้ายมาจากที่เดิมเมื่อ ๒๐๐ ปีเศษ เนื่องจากพบจารึกตัวหนังสือและตัวเลขด้วยปูนบอกว่าซ่อมเมื่อ พ.ศ.๒๔๕๖ บริเวณกุฏิ วัดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ.๒๓๒๗ จากตำนานพญากง พญาพาน พญาพานสร้างพระประโทนเจดีย์เพื่อไถ่บาปที่ได้ฆ่ายายหอมผู้เลี้ยงดูมา ทั้งพระปฐมเจดีย์และพระประโทนถูกทอดทิ้งไว้ในป่าหลายร้อยปี จนในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ขณะพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงผนวชอยู่ ได้ธุดงค์ไปพบเข้า จึงกราบทูลรัชกาลที่ ๓ แต่พระองค์ไม่เห็นว่าจะเกิดประโยชน์อะไรหากจะปฏิสังขรณ์ขึ้นมา จนพระองค์ครองราชย์จึงได้บูรณะ





พระประโทณเจดีย์

การก่อสร้างวัดพระประโทณเจดีย์ยังไม่มีหลักฐานเอกสารที่ยืนยันแน่ชัด มีเพียงตำนานเล่าสืบต่อกันมา คือ ตำนานพระประโทณเจดีย์ ฉบับนายอ่อง ไวกำลัง และตำนานพระปฐมเจดีย์และพระประโทณเจดีย์ ฉบับพระยามหาอรรคนิกรและฉบับนายทองคำ กล่าวความไว้คล้ายกัน คือบริเวณที่ตั้งพระประโทณเจดีย์นั้น แต่เดิมเป็นตำบลบ้านพราหมณ์ เรียกว่า “บ้านโทณพราหมณ์” ซึ่งได้นำ “ทะนานทอง” ที่ใช้ตวงพระบรมสารีริกธาตุมาบรรจุไว้ในเรือนหิน เมื่อ พ.ศ.๑๑๓๓ ท้าวศรีสิทธิชัยพรหมเทพ มาสร้างเมืองนครไชยศรีขึ้นเป็นเมืองใหม่ ได้ขอทะนานทองจากพราหมณ์เพื่อจะนำไปแลกเปลี่ยนกับพระบรมสารีริกธาตุจากเจ้าเมืองลังกา แต่ได้รับการปฏิเสธ ทำให้รู้สึกขัดเคืองพระทัย จึงยกรี้พลออกไปตั้งเมืองใหม่ชื่อว่า “ปาวัน” และให้สร้างพระปฐมไสยาสน์องค์หนึ่งใหญ่ยาวมหึมา หลังจากนั้น จึงยกรี้พลมาแย่งทะนานทองไปให้เจ้าเมืองลังกาเพื่อบรรจุไว้ในสุวรรณเจดีย์  ต่อมาเมื่อพระพุทธศักราชล่วงได้ ๑๑๙๙ พรรษา พระเจ้ากากะวรรณดิศราชแห่งเมืองละโว้ ได้มาก่อพระเจดีย์ล้อมเรือนศิลาที่เคยบรรจุทะนานทองไว้แล้วให้นามว่า “พระประโทณเจดีย์”

นอกจากนี้แล้วยังมีนิทานพื้นบ้านเรื่องพระยากงและพระยาพาน เล่าสืบต่อกันมาจนติดปากชาวบ้านว่าพระยาพานเป็นผู้สร้างพระปฐมเจดีย์เพื่อไถ่บาปที่ฆ่าพระยากงผู้เป็นบิดา และสร้างพระประโทณเจดีย์เพื่อไถ่บาปที่ฆ่ายายหอมผู้มีพระคุณ  ที่มาของเรื่องพระยากงและพระยาพานนี้ ปรากฏอยู่ในตำนานพระปฐมเจดีย์ ฉบับพระยาราชสัมภารากร และฉบับตาปะขาวรอด และในพงศาวดารเหนือ แต่มีความแตกต่างกันในรายละเอียด

เรื่องมีอยู่ว่า ท้าวสิกราชครองเมืองศรีวิไชย คือ เมืองนครไชยศรี มีบุตรชื่อพระยากง ต่อมาพระยากงได้ครองเมืองศรีวิไชยต่อจากบิดา และพระมเหสีได้ประสูติพระกุมาร โหรทำนายว่า พระกุมารเป็นผู้มีบุญญาธิการมากแต่จะกระทำปิตุฆาต พระยากงจึงได้รับสั่งให้นำพระกุมารไปทิ้งเสีย ทหารได้นำพระกุมารไปทิ้งไว้ที่ชายป่าไผ่ริมบ้านยายพรหม เมื่อยายพรหมมาพบจึงเก็บไปเลี้ยงไว้โดยไม่รู้ว่าเป็นบุตรของผู้ใด แต่ยายพรหมเป็นคนมีลูกหลานมาก จึงยกพระกุมารให้กับยายหอมไปเลี้ยงไว้แทน ต่อมาเจ้าเมืองราชบุรีได้รับพระกุมารไว้เป็นบุตรบุญธรรม เมื่อพระกุมารเติบใหญ่ได้ทราบว่าเมืองราชบุรีเป็นเมืองขึ้นของเมืองศรีวิไชย ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการทุกปี จึงคิดแข็งเมือง ไม่ยอมส่งเครื่องราชบรรณาการและดอกไม้เงินดอกไม้ทองแก่เมืองนครไชยศรี พระยากงจึงได้ยกทัพมาปราบ และกระทำการยุทธหัตถีกับพระกุมาร พระยากงเสียทีถูกพระกุมารฟันด้วยของ้าวคอขาด สิ้นพระชนม์บนหลังช้าง พระกุมารจึงยกรี้พลเข้ายึดเมืองศรีวิไชย  พระยาราชบุรีจึงแต่งตั้งให้อุปราชพานทองเป็น “พระยาพานทอง” ขึ้นครองเมืองนครไชยศรี  คืนหนึ่งพระยาพานทองเข้าห้องบรรทมพระอัครมเหสีของพระยากงเพื่อเอาทำเมียตามธรรมเนียมผู้ชนะศึก แต่เทพยดาได้แสดงนิมิต จนในที่สุดก็ทราบว่าเป็นแม่ลูกกัน จึงโกรธยายหอมที่ไม่ยอมเล่าความจริงให้ตนทราบ ทำให้ต้องปิตุฆาต จึงไปที่บ้านยายหอมและจับยายหอมฆ่าเสีย คนทั่วไปจึงเรียกพระกุมารว่า “พระยาพาล” ด้วยเหตุที่ฆ่าพ่อและยายหอม ผู้มีพระคุณ เมื่อพระยาพาลได้ครองเมืองนครไชยศรีรู้สึกสำนึกในบาปที่ตนได้กระทำไป จึงคิดไถ่บาปจึงให้อำมาตย์ไปนิมนต์พระสงฆ์และสมณพราหมณ์มาประชุมที่ธรรมศาลาเพื่อหารือและได้รับคำแนะนำว่าให้สร้างพระมหาเจดีย์ใหญ่สูงชั่วนกเขาเหิร จึงสั่งการให้ก่อรากพระเจดีย์สวมแท่นที่พระพุทธเจ้าเสด็จมาบรรทม นำฆ้องใหญ่ซึ่งตีสามโหม่งดังกระหึ่มไปจนถึงค่ำ มาหนุนไว้ใต้แท่นพระบรรทม เจดีย์ที่สร้างเป็นทรงล้อมฟาง สูงชั่วนกเขาเหิร ไม่มีลานประทักษิณ ภายในบรรจุพระทันตธาตุ คือ พระเขี้ยวแก้วองค์หนึ่ง แล้วให้มีการฉลองเจ็ดวันเจ็ดคืน ต่อมาพระเจ้าหงษาผู้เป็นใหญ่ในเมืองมอญ ต้องการได้ฆ้องใหญ่ จึงยกรี้พลมาขุดเอาฆ้องแต่เมื่อขุดฆ้องก็ยิ่งจมลงไปทำให้เจดีย์ทรุดพังจึงบูรณะเจดีย์ขึ้นใหม่ โดยก่อเป็นองค์ปรางค์ตั้งบนหลังองค์ระฆังของเจดีย์เดิมที่พังลง มีลานประทักษิณรายรอบก็ยังไม่สูงเท่าเก่า จึงสร้างพระเจดีย์รอบวิหารกับทั้งอุโบสถเพิ่มเติมลงอีก ความสำคัญในตำนานมีเพียงนี้




หลวงพ่อโตในพระวิหาร วัดพระประโทณเจดีย์วรวิหาร


รอยพระพุทธบาท วัดพระประโทณเจดีย์วรวิหาร








ทะนานทองที่โทณพราหมณ์ใช้ตวงพระบรมสารีริกธาตุ





















               อนุสาวรีย์ยายหอมอุ้มพระยาพาน สร้างในราว พ.ศ.๒๔๗๐  ปั้นโดยนายช่างนามเดิม ประดิษฐานทางด้าน
               ทิศตะวันออกของพระประโทนเจดีย์  ต่อมาได้รับการบูรณะและย้ายมาตั้งใหม่ให้ห่างจากเดิมประมาณ ๒๐
               เมตร เรียกที่นี่ว่า “ศาลยายหอม”   ศาลยายหอมจะมีผู้คนที่ศรัทธานำตุ๊กตารูปปั้นเป็นมาถวายจำนวนมาก
               สาเหตุที่นิยมนำเป็นมาเป็นของถวายไม่มีอะไรซับซ้อนมากกว่าในตำนานที่ว่า “ยายหอมมีอาชีพเลี้ยงเป็ด”
               ทั้งนี้ก็เพื่อความศรัทธาและนำมาแก้บนสำหรับผู้ที่มาขอกับยายหอม  อย่างไรก็ตาม ศาลยายหอมยังมีอีก
               ที่หนึ่งคือที่ “เนินพระ” ตำบลดอนยายหอม  อำเภอเมืองนครปฐม ที่ห่างจากกันประมาณ ๘-๙ กิโลเมตร
               ชาวบ้านเรียกว่า “วัดโคกยายหอม” ที่เชื่อกันว่ายายหอมผู้เลี้ยงพระยาพานตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณนี้
               ตามตำนาน และที่แห่งนี้ก็เป็นแหล่งโบราณสถานสำคัญอีกแห่งหนึ่ง

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 06 กรกฎาคม 2568 18:31:45 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.372 วินาที กับ 28 คำสั่ง

Google visited last this page 6 ชั่วโมงที่แล้ว