เงื่อนไขปลดล็อกการเมือง ของ ปชน. เป็นไปได้แค่ไหนในสมการความเป็นจริง
<span>เงื่อนไขปลดล็อกการเมือง ของ ปชน. เป็นไปได้แค่ไหนในสมการความเป็นจริง</span>
<div class="field field--name-field-byline field--type-text-long field--label-hidden field-item"><p>รายงาน: ทีมข่าวการเมือง</p></div>
<span><span>XmasUser</span></span>
<span><time datetime="2025-07-08T20:15:00+07:00" title="Tuesday, July 8, 2025 - 20:15">Tue, 2025-07-08 - 20:15</time>
</span>
<div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><p>ท่ามกลางการสั่นคลอนเสถียรภาพรัฐบาลระดับหลายแมกนิจูด ภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกฯ และรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย รับหน้าที่เป็นรักษาการนายกรัฐมนตรีไปก่อน หากเกิดกรณีที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้แพทองธาร มีความผิดตามข้อกล่าวหาของบรรดา สว.ที่ตั้งเรื่องไว้ คำถามต่อมาคือ ฉากทัศน์การเมืองจะเป็นยังไงต่อไป การเลือกนายกฯ ใหม่กลายเป็นประเด็นถกเถียงร้อนแรง ระหว่างแคดิเดตสำคัญ 2 คน ‘ชัยเกษม-อนุทิน’ ซึ่งพรรคประชาชนยังไม่ฟันธงว่าจะโหวตให้ใคร เพียงตั้งเงื่อนไขหลักไว้ 3 อย่าง 1.แก้รัฐธรรมนูญ 2.แก้ปัญหาชายแดน-ผ่านงบประมาณ 3.รีบยุบสภาภายในปีนี้ เงื่อนไขเหล่านี้หากเกิด ‘จุดเปลี่ยน’ จากศาลรัฐธรรมนูญ นายกฯ ค่ายแดง กับค่ายน้ำเงิน มีความแตกต่างกันตรงไหน และมีโจทย์อะไรที่ยังแก้ไม่ตกสำหรับการปลดล็อคการเมืองที่ตั้งธงไว้ </p><p> </p><p>เป็นกระแสร้อนแล้วร้อนอีก ต่อเนื่องหลังจากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยรับคำร้องถอดถอนแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และสั่งให้นายกฯ ‘หยุดปฏิบัติหน้าที่ชั่วคราว’ จากกรณีที่สมาชิกวุฒิสภา นำโดย
พลเอกสวัสดิ์ ทัศนา ยื่นถอดถอนด้วยข้อหาละเมิดจริยธรรมร้ายแรง ปมคลิปคุยส่วนตัวกับฮุนเซน</p><p>ท่ามกลางการสั่นคลอนเสถียรภาพรัฐบาลระดับหลายแมกนิจูด ภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกฯ และรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย รับหน้าที่เป็นรักษาการนายกรัฐมนตรีไปก่อน หากเกิดกรณีที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้แพทองธาร มีความผิดตามข้อกล่าวหาของบรรดา สว.ที่ตั้งเรื่อง คำถามต่อมาคือ ฉากทัศน์การเมืองจะเป็นยังไงต่อไป การเลือกนายกฯ ใหม่กลายเป็นประเด็นถกเถียงร้อนแรง ระหว่างแคดิเดตสำคัญ 2 คน ‘ชัยเกษม-อนุทิน’ ซึ่งพรรคประชาชน ซึ่งยืนยันให้ระบบรัฐสภาทำงานต่อไปได้ ยังไม่ฟันธงว่าจะโหวตให้ใคร เพียงตั้งเงื่อนไขไว้หลัก 3 อย่าง 1.แก้รัฐธรรมนูญ 2.แก้ปัญหาชายแดน-ผ่านงบประมาณ 3.รีบยุบสภาภายในปีนี้ เงื่อนไขเหล่านี้หากเกิด ‘จุดเปลี่ยน’ จากศาลรัฐธรรมนูญ นายกฯ ค่ายแดง กับค่ายน้ำเงิน มีความแตกต่างกันตรงไหน และมีโจทย์อะไรที่ยังแก้ไม่ตกสำหรับการปลดล็อคการเมืองที่ตั้งธงไว้ </p><h2>ปชน.ยันระบบสภาไปต่อ เปิดทาง ‘โหวตนายกฯ’ ไม่ร่วมรัฐบาล</h2><p>ตัวแสดงทางการเมืองหลักรอบบนี้คือ ศึก 3 ก๊ก อันประกอบไปด้วย 1. พรรคเพื่อไทย ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลปัจจุบัน และมี สส.มากเป็นอันดับสอง 2. พรรคประชาชน ฝ่ายค้านที่มี สส.มากที่สุด และ 3. พรรคภูมิใจไทย ที่เพิ่งโดนดีดไปเป็นฝ่ายค้าน แม้ว่าจะมี สส.เป็นอันดับ 3 แต่อาวุธสำคัญของเขาที่ใครๆ ต่างโจษจันคือ เสียง สว.ส่วนใหญ่ หรือกลุ่ม ‘สว.สีน้ำเงิน’</p><p>2 ขั้วใหญ่ที่เสนอทางออกให้กับประเทศไทย คือพรรรคเพื่อไทย และพรรคประชาชน</p><p>จุดยืนพรรคเพื่อไทย คือไม่ยุบสภาฯ และเสนอให้พยุงรัฐบาลให้อยู่ต่อจนครบวาระปี 2570 เพื่อแก้ปัญหาเร่งด่วนต่างๆ โดยเฉพาะปัญหาชายแดนไทย-กัมพูชา ที่โดนฮุนเซน วางหมากเขย่าให้เห็น ‘ความเปราะบางขั้นสุด’ ของการเมืองไทย และหากเจอพิษ ‘นิติสงคราม’ จนหลุดจากตำแหน่ง และถูกตัดสิทธิทางการเมืองตลอดชีวิตด้วยข้อหา ‘ฝ่าฝืนจริยธรรมร้ายแรง’ ก็ยังมีชัยเกษม นิติสิริ แคนดิเดตนายกฯ เบอร์ 3 ของพรรคขึ้นมาสานต่อหน้าที่นายกฯ จุดยืนนี้มีมาต่อเนื่องตั้งแต่
ช่วงพีคของม็อบรวมพลังแผ่นดินปกป้องอธิปไตย จนถึงศาลรับคำร้องและสั่งนายกฯ หยุดปฏิบัติหน้าที่ </p><p>ส่วนพรรคประชาชนออกแถลงการณ์เมื่อ 3 ก.ค. 2568 หรือ 2 วันหลังจากศาลสั่งนายกฯ หยุดปฏิบัติหน้าที่ เสนอทางออกปลดล็อกการเมืองแบบ
"Semi-Confidence and Supply" ความหมายรูปธรรมก็คือ พรรคประชาชนช่วยอุดความเสี่ยงของอำนาจนอกระบบ ให้ระบบรัฐสภาเดินต่อไปได้ โดยจะช่วยโหวตสนับสนุน ‘นายกฯ ใหม่’ กรณีที่ศาลตัดสินในแพทองธารหลุดจากตำแหน่ง โดยไม่ขอร่วมรัฐบาล ‘อย่างเด็ดขาด’ แต่การโหวตดังกล่าวพรรคแกนนำต้องยอมรับเงื่อนไขของพรรคประชาชน หลักๆ ได้แก่ ยุบสภาฯ ภายในปลายปีนี้, ผลักดันการแก้รัฐธรรมนูญ โดยให้จัดให้มีประชามติ ‘ครั้งแรก’ พร้อมเลือกตั้งเพื่อถามประชาชนเรื่องการมีสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) มาจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่</p><p>พรรคประชาชน มองว่า รัฐบาลที่นำโดยพรรคเพื่อไทย บริหารประเทศต่อยาก เพราะขาดความชอบธรรม และหากดื้อรั้นให้แพทองธารอยู่ต่อ ก็มีแต่จะเจอนิติสงครามรุมสกรัมไปเรื่อยๆ จนอาจเกิดเดทล็อกไม่ให้ยุบสภาฯ เลือกตั้งใหม่ แต่ในเวลาเดียวกัน ประเทศตอนนี้ก็มีเรื่องเร่งด่วนที่ต้องจัดการเรื่องข้อพิพาทไทย-กัมพูชา พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่าย 2569 รวมถึงการเจรจาภาษีกับรัฐบาลสหรัฐฯ ของโดนัลด์ ทรัมป์ ที่ขึ้นภาษีศุลกากรนำเข้าสินค้าจากไทย สูงลิ่วไปกว่า 36% จึงจะให้เวลาในการจัดการปัญหาต่างๆ ก่อนแล้วค่อยยุบสภาฯ</p><h2>อลหม่าน โหวต ‘อนุทิน’ มายังไง</h2><p>ความอลหม่านในข้อถกเถียงเกิดขึ้น เพราะก่อนที่พรรคประชาชน จะมีแถลงเงื่อนไขอย่างเป็นทางการ 1 วัน (2 ก.ค.) ‘ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ’ หัวหน้าพรรคได้ให้สัมภาษณ์ในรายการ
กรรมกรข่าวคุยนอกจอ โดยตอบคำถามผู้ดำเนินรายการทำนองที่ตีความว่าไม่ได้ปิดกั้นโอกาสของการโหวตแคนดิเดตนายกฯ พรรคภูมิใจไทย หากยอมรับเงื่อนไขของพรรคประชาชนได้ นอกจากนี้ ยังมีการพูดคุยในระดับ ‘ปฏิบัติการ’ อยู่บ้าง จากนั้นจึงเกิดการถกเถียงกันมาในสื่อโซเชียลตามมาเป็นระลอก มีการตีความและวิจารณ์ถึงการที่พรรคประชาชนจะดัน ‘อนุทิน’ ขึ้นเป็นนายกฯ ขณะที่บางส่วนยืนยันว่า หัวหน้าพรรคไม่ได้พูดชัดเจนว่าจะโหวตให้ใคร</p><p>อย่างไรก็ตาม
ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ที่ปรึกษาของนายกฯ ได้ออกมาโพสต์ตอบโต้การให้สัมภาษณ์ครั้งนี้ของณัฐพงษ์ พร้อมตั้งคำถามล่วงหน้าว่าจะบังคับให้ภูมิใจไทย ทำตามเงื่อนไขเหล่านี้ได้จริงหรือไม่ และหากตั้งรัฐบาลภูมิใจไทยสำเร็จ มีคนจากพรรคการเมืองบางพรรคเป็น รมว.ยุติธรรม กำกับราชการ DSI ชะตากรรมของคดีฮั้ว สว.ที่กำลังเดินหน้าจะเป็นอย่างไร</p><p>อย่างไรก็ดี หากดูจากตัวแถลงของพรรคประชาชน อย่างเป็นทางการและคำให้สัมภาษณ์ของแกนนำหลายคนต่างยืนยันว่าไม่มีการล็อกสเปกพรรคใดพรรคหนึ่งแต่เอาเงื่อนไขเป็นตัวตั้ง ข้อดีของวิธีการนี้ พรรคประชาชน ระบุว่าพรรคที่ต้องการจัดตั้งรัฐบาลจะไม่ต้องเผชิญกับ สส.พรรคร่วมที่มาต่อรองเก้าอี้ รมต. หรือเรียกค่าตัวสูงจนเกินไปจนรัฐบาลเกิดปัญหาไปต่อไม่ได้นั่นเอง</p><p>ขณะเดียวกัน สส.พรรคภูมิใจไทย รวมถึงอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคต่างก็ปฏิเสธเสียงแข็งว่าไม่เคยมีการเสนอตัวเพื่อให้ ปชน.โหวตแคนดิเดตนายกฯ และเป็นความเข้าใจที่ “คลาดเคลื่อนอย่างมาก”</p><p>วันที่ 3 พ.ค.เช่นเดียวกัน มีการประชุมพรรคร่วมฝ่ายค้าน ได้แก่ พรรคประชาชน, ภูมิใจไทย, พลังประชารัฐ, ไทยสร้างไทย และเป็นธรรม และมีการ
แถลงร่วมกันถึง 4 ประเด็นที่จะผลักดัน</p><p>1.กดดันให้รัฐบาลถอนร่าง พ.ร.บ.เอนเตอร์เทนเมนท์คอมแพล็กซ์</p><p>2.การเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญ ยืนยันเดินหน้าเสนอให้มีการจัดทำประชามติพร้อมกับการเลือกตั้งใหม่</p><p>3.การพิจารณากฎหมายนิรโทษกรรม ยังมีรายละเอียดอีกหลายส่วนที่พรรคร่วมฝ่ายค้านยังเห็นต่างกันจึงตั้งคณะทำงานศึกษาเรื่องนี้</p><p>4.ยังไม่ตัดสินใจยื่นญัตติเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 151 เมื่อไร เนื่องจากภายใต้สถานการณ์ ‘นิติสงคราม’ ยังมีความไม่แน่นอนสูง</p><p class="picture-with-caption"><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54628972387_e8eaceb3af_b.jpg" width="1023" height="682" loading="lazy">พรรคร่วมฝ่ายค้านแถลงข่าวหลังการประชุมเมื่อ 3 ก.ค. 2568 (ภาพจากทีมสื่อพรรคประชาชน)</p><p>ในประเด็น ‘มีการพูดคุยหลังบ้านกัน’ ได้รับการขยายความจาก
ทอม เครือโสภณ นักธุรกิจ กล่าวในรายการ EXCLUSIVE TALK ของ PPTV (4 ก.ค.) ว่า ตัวเขาเป็นคนนัด สส.รังสิมันต์ โรม และ สส.รักชนก ศรีนอก พรรคประชาชน ไปคุยกับอนุทิน ซึ่งขณะนั้นตัวของหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ออกจากรัฐบาลมาเป็นฝ่ายค้านแล้ว แต่ยืนยันว่าหัวหน้าพรรคของทั้ง 2 พรรคยังไม่เคยได้คุยกัน ต่อมาทั้ง
โรม และ
รักชนก ต่างปฏิเสธว่าการคุยดังกล่าวไม่ใช่เรื่องดีลโหวตนายกฯ แต่เป็นการคุยหาข้อมูลแก้ปัญหาแก๊งสแกมเมอร์</p><p>ท้ายที่สุด ทอม เครือโสภณ
แถลงขอโทษที่ทำให้เกิดดราม่าโดยไม่ได้ตั้งใจ พร้อมอธิบายบริบทว่าเป็นการคุยกันเรื่องแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ในช่วงรอยต่อหลังจากอนุทิน ซึ่งเคยคุมมหาดไทย ซึ่งดูแล กฟภ.ออกจากพรรคร่วมรัฐบาลพอดี</p><h2>คณิตศาสตร์การเมือง ปชน. เป็น Kingmaker หรือยัง</h2><p>ช่วงเวลานี้อาจนับว่า ปชน.ในฐานะพรรคฝ่ายค้านสามารถกำหนดวาระทางการเมืองได้พอสมควร จากการตั้งเงื่อนไขปลดล็อคการเมืองแลกกับการโหวตนายกฯ (หากมีอันสะดุดลงจากคำตัดสินของศาล)</p><p>
<strong>สส.พรรครัฐบาล</strong><strong>
11 พรรคการเมือง จำนวน 256 เสียง</strong></p><ol><li aria-level="1">พรรคเพื่อไทย 141 คน</li><li aria-level="1">พรรครวมไทยสร้างชาติ 36 คน</li><li aria-level="1">พรรคกล้าธรรม 26 คน</li><li aria-level="1">พรรคประชาธิปัตย์ 25 คน</li><li aria-level="1">พรรคพลังประชารัฐ 20 คน</li><li aria-level="1">พรรคชาติไทยพัฒนา 10 คน</li><li aria-level="1">พรรคชาติพัฒนา 3 คน</li><li aria-level="1">พรรคเสรีรวมไทย 1 คน</li><li aria-level="1">พรรคประชาชาติ 9 คน</li><li aria-level="1">พรรคประชาธิปไตยใหม่ 1 คน</li><li aria-level="1">พรรคไทยรวมพลัง 2 คน</li></ol><p><strong>
สส. พรรคฝ่ายค้าน 5 พรรค จำนวน 239 เสียง</strong></p><ol><li aria-level="1">พรรคประชาชน 143 เสียง</li><li aria-level="1">พรรคภูมิใจไทย 69 เสียง</li><li aria-level="1">พรรคพลังประชารัฐ 20 เสียง</li><li aria-level="1">พรรคไทยสร้างไทย 6 เสียง</li><li aria-level="1">พรรคเป็นธรรม 1 เสียง</li></ol><div class="note-box"><p>หมายเหตุ : จำนวนนี้ยังไม่รวมกับ สส.ที่ตัวอยู่ แต่ใจไปพรรคอื่น</p></div><p> </p><p>จะเห็นว่า รัฐบาลนี้เสียงค่อนข้างปริ่มน้ำ หลังจากภูมิใจไทย ออกจากพรรคร่วมรัฐบาลไปเป็นฝ่ายค้าน หากเป็นไปดั่งที่ณัฐวุฒิ กล่าวว่า เสียงพรรคร่วมตอนนี้เหนียวแน่น ก็เป็นไปได้ว่าอาจไม่ต้องใช้เสียงของพรรคประชาชน แต่เรื่องนี้ก็ยังเป็นปริศนาที่ต้องรอวันพิสูจน์ เนื่องจากการขยับไปมาของกลุ่มก๊วนต่างๆ ระหว่างค่ายแดงกับน้ำเงินดูเหมือนยังไม่นิ่งนัก</p><h2>4 ฉากทัศน์การจับมือ (หากแพทองธารหลุดจากตำแหน่ง)</h2><p><strong>ฉากทัศน์ 1</strong> : พรรคเพื่อไทยส่งไม้ต่อให้ ชัยเกษม นิติสิริ เป็นนายกฯ คนต่อไป โดยไม่พึ่งมือของภูมิใจไทย พรรคร่วมรัฐบาลปัจจุบันต้องห้ามแตกแถวเป็นอันขาด เพราะตอนนี้เสียงปริ่มน้ำ แต่อำนาจต่อรองของ สส.พรรคร่วมรัฐบาลก็น่าสูงยิ่ง อย่างน้อยที่สุดหากพรรคเพื่อไทยยังบริหารต่อการแก้ไขปัญหาพิพาทกับกัมพูชาที่เน้นการเจรจาน่าจะยังคงเป็นวาระหลัก และขึ้นอยู่กับว่าพรรคเพื่อไทย จะสามารถดึงอำนาจการบริหาร ‘การเปิด-ปิดด่าน’ อันเป็นจุดสำคัญสำหรับการตอบโต้ของกัมพูชา ให้มาอยู่ในมือรัฐบาลเพื่อให้ทางออกทางการเมืองนำการทหารได้มากแค่ไหน </p><p><strong>ฉากทัศน์ 2</strong> : พรรคประชาชน ยอมโหวตให้พรรคเพื่อไทย โดยไม่เป็นรัฐบาล ถือเป็นการผ่าทางตัน และการันตีให้ชัยเกษม นิติสิริ เป็นนายกฯ ต่ออย่างหนักแน่น แต่ก็ขึ้นกับว่าพรรคเพื่อไทย ยอมรับเงื่อนไขของพรรคประชาชนมากน้อยแค่ไหน อันที่จริง 2 พรรคนี้มีจุดยืนต้องการแก้รัฐธรรมนูญเหมือนกัน แต่ติดเดทล็อคที่ ‘รัฐธรรมนูญมีชัย’ วางเงื่อนไขต้องใช้เสียง สว. 1 ใน 3 เรื่องนี้ยังเป็นประเด็นเสมอมา ท่ามกลางสถานการณ์การดำเนินคดี ‘ฮั้ว สว.’ ซึ่งยังไม่รู้จะออกมาในรูปไหน ใช้เวลาเท่าไร และดูเหมือน สว.ทั้งหมดยังสามารถทำหน้าที่ได้โดยสะดวก ไม่มีการสั่งหยุดการปฏิบัติหน้าที่เหมือนฝ่ายบริหาร</p><p><strong>ฉากทัศน์ที่ 3</strong> : พรรคประชาชน โหวตให้พรรคภูมิใจไทย หลังภูมิใจไทย ตัดสินใจเสนอแคนดิเดตนายกฯ ของพรรคตนเอง โดยภูมิใจไทย ต้องยอมรับเงื่อนไขของพรรคประชาชน ประเด็นนี้มีความน่าสนใจตรงที่ใครๆ ต่างมองว่าเงื่อนปมเสียง สว.1 ใน 3 นั้นอยู่ในมือพรรคภูมิใจไทย แม้แต่หัวหน้าพรรคประชาชนเองก็นำเสนอประเด็นนี้ในการให้สัมภาษณ์กับสรยุทธ์ สุทัศนะจินดา ด้วยหวังว่าหากพรรคน้ำเงิน ‘ยอม’ รัฐบาลสีน้ำเงินจะเปิดทางแก้รัฐธรรมนูญได้เป็นรูปธรรมมากกว่ารัฐบาลสีแดง </p><p>
ชุติพงศ์ พิภพภิญโญ สส.พรรคประชาชน ให้สัมภาษณ์ว่า การเป็นรัฐบาลเสียงข้างน้อย เราอาจไม่เคยเห็นกัน นับเป็น ‘นวัตกรรม’ ทางการเมือง เมื่อฝ่ายค้านเป็นผู้นำในทางความคิด แล้วฝ่ายรัฐบาลเล็กกว่า ตอนนั้นใครเป็นรัฐบาลก็ต้องฟังเสียงฝ่ายค้านเพราะรัฐบาลเล็กกว่า เรียกว่ายอมเพราะการรับภารกิจเฉพาะนี้ ทำหน้าที่เพื่อพาประเทศออกจากวิกฤติ นักการเมืองที่อยู่ในการเมืองมานานอาจจินตนาการไม่ออก</p><p>“ถ้าวันนั้นพรรคเพื่อไทย และพรรคประชาชนเป็นฝ่ายค้าน แล้วคุณอนุทินเป็นนายกฯ แล้วตระบัดสัตย์ ผ่านไปเดือนหนึ่งก็รู้แล้วเรื่องแก้รัฐธรรมนูญ คุณโดน 2 พรรคนี้ล้ม คุณอยากเป็นนายกฯ คนแรกที่โดนอภิปรายไม่ไว้วางใจแล้วล้มไหมล่ะ” ชุติพงศ์ กล่าว</p><p class="picture-with-caption"><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54640162880_4841dac5fb_b.jpg" width="1023" height="682" loading="lazy">(ซ้าย) ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ และ (ขวา) อนุทิน ชาญวีรกูล (ที่มา: ทีมสื่อพรรคประชาชน)</p><p><strong>ฉากทัศน์ 4</strong> : พรรคเพื่อไทย และพรรคภูมิใจไทย กลับมาจับมือกัน แม้มีคนวิเคราะห์ในแนวนี้ แต่
วิสุทธิ์ ไชยณรุณ สส.พรรคเพื่อไทย และประธานวิปรัฐบาลให้สัมภาษณ์ว่า เป็นไปไม่ได้ที่จะดึงพรรคภูมิใจไทยกลับมา โดยเฉพาะเมื่อมีคดีฮั้ว สว.ซึ่งประชาชนจับตาทั้งประเทศ การจับมือกันยิ่งเกิดข้อครหาใหญ่หลวง ขณะที่
ชัยเกษม นิติสิริ แคนดิเดตนายกฯ เบอร์ 3 ของพรรคเพื่อไทย ให้สัมภาษณ์เรื่องความเป็นไปได้ในการดึงพรรคภูมิใจไทย กลับมาร่วมรัฐบาลว่าต้องคุยกัน ไม่มีอะไรที่เป็นไปไม่ได้ คุยแล้วเห็นว่าถ้าทำอย่างไหนเป็นประโยชน์ต่อประชาชนมากกว่ากัน ทุกคนก็ยอมรับได้ ซึ่งต้องถึงเวลานั้นถึงจะคาดเดาสถานการณ์ได้ ส่วน
สส.ชุติพงศ์ พิภพภิญโญ จากพรรคประชาชน บอกว่า ถ้าพรรคภูมิใจไทยกลับไปจับมือกับพรรคเพื่อไทย พรรคประชาชนก็ไม่เสียหายอะไร เพราะว่าประกาศตัวเองมาเสมอว่าจะเป็นฝ่ายค้าน</p><p>ทั้งหมดนี้ต้องย้ำว่าประเด็นที่ลากมาไกลขนาดนี้ เหตุหลักสืบเนื่องจากคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งถูกวิพากษ์วิจารณ์มายาวนานแล้วว่ามักจะสร้าง ‘จุดเปลี่ยน’ ทางการเมืองที่ส่งผลเขย่าให้รัฐบาลไร้เสถียรภาพเสมอ รวมถึงทำให้ภาคการเมืองโดยรวมอ่อนแอลง
งานวิจัยของ 'ประจักษ์ ก้องกีรติ' จากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรื่อง 'การเลือกตั้งเพื่อลดความขัดแย้งและส่งเสริมคุณภาพประชาธิปไตย' ซึ่งทำให้สถาบันพระปกเกล้า (2566) มีข้อมูลส่วนหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นว่า ตลอด 30 ปีของการเลือกตั้ง นับตั้งแต่รัฐบาลชวน หลีกภัย (2535) จนถึงรัฐบาลประยุทธ์ จันทร์โอชา แทบไม่มีรัฐบาลไหนอยู่ได้ ‘ครบวาระ’ ยกเว้นรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร กับรัฐบาลประยุทธ์ จันทร์โอชา</p><p>นอกจากนี้ รัฐบาลทั้งหมดดังกล่าวก็มีลักษณะเป็น ‘รัฐบาลผสมหลายพรรค’ มีเสียง สส.เพียง 50-60% เป็นส่วนใหญ่ แต่มีเพียงรัฐบาลทักษิณ 1 เท่านั้นมีเสียงรวมกันแล้วมากถึง 73.6% และเมื่อได้รับเลือกตั้งสมัยที่ 2 ก็มีเสียงมากถึง 75.3% สามารถจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้ แต่นั่นก็มาพร้อมข้อกล่าวหา ‘เผด็จการรัฐสภา’ การชุมนุมประท้วง และจบลงที่การรัฐประหาร</p><p>ดูเหมือนปัจจุบันเรากำลังกลับไปวนซ้ำเส้นทางรัฐบาลแบบเดิม อันเป็นผลจากความขัดแย้งทางการเมืองและการออกแบบรัฐธรรมนูญ 2560 ที่ทำให้ ‘ผลงาน’ เกิดขึ้นได้ยากในทุกรัฐบาลซึ่งล้วนไร้เสถียรภาพทางการเมือง</p><h2>ส่องจุดยืน พท.-ภท.เป็นไปได้แค่ไหน ตามเงื่อนไข ปชน.</h2><p>หากเราดูจุดยืนของทั้งพรรคภูมิใจไทย พรรคเพื่อไทย และพรรคประชาชน มันเป็นไปได้หรือไม่ ที่พรรคเพื่อไทย และภูมิใจไทย จะรับเงื่อนไขของพรรคประชาชน ในเรื่องการผลักดันให้เกิดการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญใหม่ หลักเกณฑ์การทำประชามติ และนิรโทษกรรมคดีการเมือง เอาแค่ 3 ประเด็นหลัก</p><ul><li aria-level="1"><h2>
แก้ พ.ร.บ.ประชามติ ปลดล็อค 2 ชั้นถูกเตะถ่วงโดย สว.</h2></li></ul><p>พ.ร.บ.ประชามติ แต่เดิมถูกเขียนไว้ให้ใช้หลักเกณฑ์ 2 ชั้น คือ</p><ol><li aria-level="1">ต้องมีผู้มาใช้สิทธิประชามติจำนวนเกินกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติ</li><li aria-level="1">ต้องมีผู้เห็นชอบเกินกึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธิออกเสียงประชามติ</li></ol><p><strong>พรรคประชาชน และพรรคเพื่อไทย</strong> มีจุดยืนที่ชัดเจนแต่แรกว่า ต้องการแก้ไขให้เหลือหลักเกณฑ์เพียง 1 ชั้นที่ระบุว่าต้องมีผู้เห็นชอบจำนวนเกินกึ่งหนึ่งกว่าผู้มาใช้สิทธิออกเสียงประชามติ เพราะหากยังคงหลักเกณฑ์ 2 ชั้นอยู่ คงยากผ่านที่จะผ่านคำถามประชามติได้ในทุกเรื่อง ไม่ใช่เพียงการแก้ไขรัฐธรรมนูญ</p><p>นอกจากนี้ การใช้หลักเกณฑ์ 2 ชั้นผ่านประชามติ เป็นการแข่งขันที่ไม่เท่าเทียมกัน เพราะว่าฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยสามารถรณรงค์ให้คนเลือกไม่ออกมาใช้สิทธิออกเสียงในเรื่องนั้นได้ ทำให้ฝ่ายที่ต้องการผลักดันให้ผ่านประชามติเสียเปรียบอย่างมาก </p><p><strong>พรรคภูมิใจไทย</strong> มีจุดยืนแต่แรกเลยว่าต้องการใช้หลักเกณฑ์ประชามติ 2 ชั้นมาตลอด โดยให้เหตุผลว่าการร่างรัฐธรรมนูญปี 2560 มีผู้ออกมาใช้สิทธิออกเสียงประชามติจำนวนมาก ฉะนั้น การจะแก้ไขเรื่องใหญ่ของประเทศควรใช้เสียงสนับสนุนที่มากพอ จุดยืนนี้ยังสอดคล้องกับ ‘วุฒิสภา’ ที่ได้แก้ ร่าง พ.ร.บ.ประชามติ จากสภาผู้แทนราษฎรที่โหวตกันไปแล้วว่าให้แก้เหลือ หลักเกณฑ์ชั้นเดียว เป็นผลให้กฎหมายนี้ต้องถูก ‘ฟรีซ’ หรือระงับไปถึง 6 เดือนก่อนที่สภาผู้แทนราษฎรจะสามารถโหวตยืนยันความเห็นของตนเอง (หลักเกณฑ์ประชามติ 1 ชั้น) ได้ คาดหมายว่าจะมีการนำร่าง พ.ร.บ.ประชามติ เข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรเร็วๆ นี้</p><p>กล่าวได้ว่า การโหวตเปลี่ยนเนื้อหากฎหมายประชามติของเหล่า สว. เป็นสารตั้งต้นที่สำคัญที่ทำให้กระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญต้องหยุดชะงัก</p><ul><li aria-level="1"><h2>
ประชามติ 2 หรือ 3 ครั้ง ยังเป็นประเด็น</h2></li></ul><p>ในประเด็นเรื่องทำประชามติ 2 หรือ 3 ครั้ง ถือว่าเป็นประเด็นถกเถียงกันหนัก เนื่องจากการตีความคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 4/2564 มีความแตกต่างกัน</p><ol><li aria-level="1"><strong>พรรคเพื่อไทย และพรรคประชาชน</strong> ตีความคำวินิจฉัยว่า ไม่ต้องทำประชามติ 3 ครั้ง โดยทำประชามติเพียงแค่ 2 ครั้ง คือ ตอนแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 256 เพื่อตั้ง สสร. ที่มาจากเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนผ่านแล้ว และครั้งที่สุดท้าย คือหลังจาก สสร.ร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว</li><li aria-level="1">ฝ่ายที่เห็นด้วยกับการทำรัฐธรรมนูญ 3 ครั้ง ยกตัวอย่าง นิกร จำนงค์ พรรคชาติไทยพัฒนา และ
<strong>พรรคภูมิใจไทย</strong> ที่ตีความว่าต้องทำประชามติตั้งแต่ก่อนแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 เพิ่มหมวด 15/1 ว่าด้วยเรื่อง สสร.</li></ol><p>โดยครั้งที่ 1 ถามประชาชนว่าประสงค์จัดทำรัฐธรรมนูญใหม่หรือไม่ แล้วจึงตามมาด้วยครั้งที่ 2 คือจะรับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 และเพิ่มหมวด 15/1 เรื่อง สสร. ที่ผ่านสภาแล้วหรือไม่ จบด้วยครั้งที่ 3 คือ รับรองรัฐธรรมนูญที่ร่างโดย สสร. หรือไม่</p><p>ย้อนไปตอน 13 ก.พ. 2568 พรรคประชาชน และพรรคเพื่อไทย ยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 เพิ่มหมวด 15/1 ว่าด้วยการตั้ง สสร.เพื่อมาร่างรัฐธรรมนูญใหม่ โดยในช่วงการเปิดประชุมรัฐสภา สมัยพิเศษวันนั้น ไชยชนก ชิดชอบ เลขาธิการพรรคภูมิใจไทย ได้ลุกขึ้นแถลงว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ม.256 สุ่มเสี่ยงจะขัดต่อคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ จึงขออนุญาตไม่ร่วมพิจารณา ก่อนพา สส.ของพรรคภูมิใจ และ สว.สีน้ำเงิน วอล์กเอาต์ จนการประชุมรัฐสภาล่ม 2 วันติดต่อกัน</p><p>จนกระทั่งเมื่อ 17 มี.ค. 2568
เปรมศักดิ์ เพียยุระ สมาชิกวุฒิสภา และ
วิสุทธิ์ ไชยณรุณ สส.พรรคเพื่อไทย ได้มีมติส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความคำวินิจฉัยเดิมอีกครั้ง ได้ยื่นถามศาลรัฐธรรมนูญว่า รัฐสภามีอำนาจแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ได้หรือไม่ โดยยังไม่ต้องทำประชามติสอบถามความต้องการของประชาชนก่อน และ 9 เม.ย. 2568
ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเสียงข้างมาก 5 ต่อ 3 รับวินิจฉัย และผ่านไปแล้ว 3 เดือนปัจจุบันยังรอคำวินิจฉัยอยู่</p><p>ผลจากเกมของพรรคภูมิใจไทย และ สว. ต้องบอกว่าเป็นผลทำให้การคิกออฟแก้ไขรัฐธรรมนูญ ยังไม่ได้นับหนึ่งเสียที และไม่แน่ใจว่าเงื่อนไขของพรรคประชาชนที่ให้ทำประชามติ พร้อมกับการเลือกตั้งใหม่หลังยุบสภาฯ พรรคภูมิใจไทยจะยอมรับได้หรือไม่</p><p class="picture-with-caption"><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54324571671_5511de44be_b.jpg" width="1024" height="576" loading="lazy">สุทิน คลังแสง นำทัพพลพรรคเพื่อไทย แถลงหลังจากการประชุมรัฐสภาล่ม เพราะว่าองค์ประชุมไม่พอ ทำให้การแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 เพิ่มหมวด 15/1 ว่าด้วยการตั้ง สสร. ต้องสะดุดลง เมื่อ 13 ก.พ. 2568 (ที่มา:
สำนักประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร)</p><ul><li aria-level="1"><h2>
แก้ไขรัฐธรรมนูญทุกหมวดทุกมาตรา หรือยกเว้นหมวด 1-2</h2></li></ul><p>สำหรับจุดยืนเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่าต้องแก้ไขทุกหมวดทุกมาตราหรือไม่นั้น ก็แบ่งออกเป็น 2 ฝ่ายเช่นเดียวกัน</p><ol><li aria-level="1"><strong>พรรคประชาชน</strong> มองว่ารัฐธรรมนูญต้องแก้ไขได้ทุกหมวดทุกมาตรา โดยไม่มีข้อห้ามตามรัฐธรรมนูญปัจจุบัน อ้างอิงจากร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 ระบุแต่เพียงว่า สสร.จะไม่มีอำนาจแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีผลให้เปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเปลี่ยนแปลงรูปแบบรัฐ ข้อเสนอนี้สอดคล้องกับภาคประชาชนด้วยเช่นกัน</li><li aria-level="1">
<strong>พรรคภูมิใจไทย และพรรคเพื่อไทย</strong> รวมถึงพรรคร่วมรัฐบาลอื่นๆ มีจุดยืนที่ไม่แตะหมวดที่ 1 (บททั่วไป) และหมวดที่ 2 (ว่าด้วยพระมหากษัตริย์)</li></ol><p>หากอ้างอิงจากร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 ของพรรคเพื่อไทย ระบุชัดเจนว่า การแก้ไขหมวด 1 และ หมวด 2 ไม่สามารถกระทำได้</p><p>ขณะที่ของพรรคภูมิใจไทย
ชาดา ไทยเศรษฐ์ สส.อุทัยธานี ของพรรคฯ เผยแพร่คลิปเมื่อ 5 ก.ค. 2568 ท่ามกลางกระแสข่าวลือว่าพรรคประชาชน และพรรคภูมิใจไทย อาจจับมือกัน โดยในช่วงหนึ่งของคลิป ชาดา ระบุว่า เขาพร้อมหนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่ขอว่าอย่าแตะหมวดที่ 1 และหมวดที่ 2</p><ul><li aria-level="1"><h2>
เกมล้างคดี ภท.</h2></li></ul><p>นอกจากข่าวลือว่า<strong>พรรคภูมิใจไทย</strong> อาจกำลังเดินเกมขอให้พรรคประชาชนช่วยโหวตให้เป็นนายกฯ ตั้งรัฐบาลเฉพาะกิจ ก็มีบางคนมาร่วมวิเคราะห์ว่าทำไมพรรคภูมิใจไทย ถึงมาอยากเป็นนายกฯ เอาช่วงนี้ เป็นไปเพื่อปลดล็อกการเมืองให้เดินหน้าหรือมีอะไรเคลือบแฝง</p><p>
ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ที่ปรึกษานายกฯ แพทองธาร ตั้งข้อสังเกตหลังเกิดกระแสตีความคำให้สัมภาษณ์หัวหน้าพรรคประชาชนเปิดทางโหวต ‘อนุทิน’ ว่า หากระหว่างที่รัฐบาลเฉพาะกิจของพรรคภูมิใจไทย บริหารประเทศก่อนยุบสภาฯ ถ้ามีคดีฮั้วเลือกสมาชิกวุฒิสภา (สว.) หรือเรื่องอื่นๆ ผุดขึ้นมา พรรคประชาชนก็ต้องคอยโหวตประคองรัฐบาลเพื่อให้บรรลุเงื่อนไขตัวเองหรือไม่ หรือจะกำหนดท่าทีต่อเรื่องเหล่านี้อย่างไร</p><p>
บางส่วนตั้งข้อสังเกตว่าการพยายามเป็นนายกฯ ของพรรคภูมิใจไทย เพื่อจะเคลียร์คดีความ ‘ฮั้ว สว.’ และเรื่องคดีเขากระโดง</p><p>ทั้งนี้ คดีฮั้ว สว.ลากยาวมาตั้งแต่ 10 ก.พ.2568 คณะกรรมการสืบสวนและไต่สวนส่วนกลาง คณะที่ 26 ของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) โดยมีสมาชิกเป็นเจ้าหน้าที่ดีเอสไอ กกต. และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) กำลังทยอยเรียก สว. และนักการเมืองที่เกี่ยวข้อง เข้ามารับทราบข้อกล่าวหาฐานความผิด พ.ร.ป.ว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2561</p><p>
ระวี อักษรศิริ ผอ.กองคดีการฟอกเงินทางอาญา อัพเดทความคืบหน้าเรื่องกรณีของการฮั้ว สว.ว่า ฐานความผิดตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยการได้มาซึ่ง สว. ใกล้เสร็จแล้ว และคาดว่าจะสรุปสำนวนส่งให้ กกต.ได้ประมาณกลางเดือน ก.ค. 2568 เบื้องต้นมีผู้เกี่ยวข้องรวมแล้ว 200 กว่าราย และอาจผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอื่นๆ เพิ่มเติม</p><p>ส่วนข้อหา ‘ฟอกเงิน-อั้งยี่’ ที่ดีเอสไอ รับผิดชอบยังอยู่ระหว่างการดำเนินการ โดยตอนนี้เรียกพยานมาสอบสวนเส้นทางการเงิน ปัจจุบันมีพยานเข้ามาพบแล้วจำนวน 3 ราย จากจำนวนพยานที่เรียกมาทั้งหมด 7 ราย</p><ul><li aria-level="1"><h2>
นายกฯ รักษาการ ยุบสภาได้หรือไม่?</h2></li></ul><p>อีกข้อวิเคราะห์หนึ่งที่เปิดโดยผู้ดำเนินรายการ
เจาะลึกทั่วไทยฯ คือ แหล่งข่าวนักธุรกิจประเมินว่าพรรคเพื่อไทย เตรียมทางหนีทีไล่ไว้ราว 3 เดือน จึงยุบสภา เพื่อรอให้ผ่าน พ.ร.บ.งบประมาณ และมีการแต่งตั้งข้าราชการต่างๆ ในช่วงเดือน ก.ย. 2568 ให้เรียบร้อยเสียก่อน สอดคล้องกับระยะเวลารอคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ประเมินแล้วน่าจะกินเวลาราว 2-3 เดือน </p><p>การมีวิเคราะห์ยังมีต่อไปด้วยว่า <strong>พรรคเพื่อไทย</strong> ซึ่งอยู่ในสภาพเสียงปริ่มน้ำอย่างมาก อาจจะไม่อยากให้มีการโหวตนายกฯ คนใหม่ในสภาฯ เนื่องจากมีความเสี่ยงที่จะ ‘โดนไฮแจ็ก’ ตำแหน่งฝ่ายบริหารก็เป็นได้ จึงจะชิงยุบสภาฯ ในขณะรักษาการ
การวิเคราะห์นี้อาจไม่มีน้ำหนักมากนักก็ได้ แต่สิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นแล้วคือ ข้อถกเถียงว่า ‘รักษาการนายกฯ’ มีอำนาจยุบสภาหรือไม่ ชูศักดิ์ ศิรินิล ฝ่ายกฎหมายของพรรคเพื่อไทย ยืนยันว่า นายกฯ รักษาการมีอำนาจในการยุบสภาได้เหมือนนายกรัฐมนตรี</p><p>หากย้อนไปดูสมัย ‘รัฐบาลประยุทธ์ จันทร์โอชา’ วิษณุ เครืองาม รองนายกฯ ฝ่ายกฎหมายและกูรูที่ใครๆ มักสอบถามข้อกฎหมาย เคยตอบคำถามว่า นายกฯ รักษาการมีอำนาจยุบสภาหรือไม่ว่า “ทำได้เหมือนนายกฯ ทุกอย่าง” (24 ส.ค.2565) </p><p>เมื่อคำถามนี้มาเยือนอีกครั้ง 2 ก.ค. 2568 วิษณุ ตอบคำถามในเนชั่นทีวีอีกหนว่า “ยอมรับความมี 2 ความเห็น ความเห็นหนึ่งเห็นว่าเมื่อเป็นรักษาการนายกฯ สามารถทำอะไรได้ทุกอย่างเหมือนนายกฯ อีกความเห็นหนึ่งบอกว่าไม่ได้ อำนาจยุบสภาเป็นอำนาจเฉพาะตัวของนายกรัฐมนตรีเท่านั้น ผมเห็นไปในทางที่ว่าสามารถยุบสภาฯ ได้ อยู่ที่ว่าพระเจ้าอยู่หัวท่านจะลงพระปรมาภิไธยให้หรือไม่ ก็ถ้าถวายขึ้นไปท่านลงพระปรมาภิไธยมาแล้วใครจะเถียงกันว่าใครทำผิดรัฐธรรมนูญ ไม่มีหรอก” </p><p>ทันทีทันควัน ปกรณ์ นิลประพันธุ์ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา
โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวโต้กลับ โดยยืนยันว่า รักษาการนายกฯ ยุบสภาไม่ได้</p><p>“ผมอธิบายว่าตามประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยของบ้านเรา การเสนอแต่งตั้งรัฐมนตรี และการยุบสภา เป็นอำนาจเฉพาะตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเท่านั้น เช่นเดียวกับกลุ่มประเทศที่ปกครองในระบอบรัฐสภาแบบเวสต์มินสเตอร์ (Westminster) เป็นไปตาม “หลักความไว้วางใจ”.... รนม. (รองนายกรัฐมนตรี) รักษาราชการแทน นรม. (นายกรัฐมนตรี) จะเสนอให้ยุบสภา ถ้ายังมีผู้ดำรงตำแหน่ง น








