[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
13 กรกฎาคม 2568 03:21:37 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - เปิดความเห็นพ้องของคนพุทธ-มุสลิมชายแดนใต้ 10 ปี Peace Survey พูดคุยสันติภาพ คือความต้อง  (อ่าน 55 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: วานนี้ »

เปิดความเห็นพ้องของคนพุทธ-มุสลิมชายแดนใต้ 10 ปี Peace Survey พูดคุยสันติภาพ คือความต้องการของประชาชน
 


<span>เปิดความเห็นพ้องของคนพุทธ-มุสลิมชายแดนใต้ 10 ปี Peace Survey พูดคุยสันติภาพ คือความต้องการของประชาชน</span>

            <div class="field field--name-field-byline field--type-text-long field--label-hidden field-item"><p>มูฮำหมัด ดือราแม</p></div>
      <span><span>See Think</span></span>
<span><time datetime="2025-07-11T18:18:44+07:00" title="Friday, July 11, 2025 - 18:18">Fri, 2025-07-11 - 18:18</time>
</span>

            <div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><p>‘ประชาชนเชื่อมั่นสันติภาพมาก แต่กระบวนการพูดคุยกลับคืบหน้าน้อย’ เป็นส่วนหนึ่งของการประมวลผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน&nbsp;PEACE SURVEY 7 ครั้ง ระหว่างปี 2559 – 2566 ของเครือข่ายวิชาการ PEACE SURVEY</p><p>โดยเครือข่ายวิชาการ PEACE SURVEY รวม&nbsp;25 องค์กร ได้เปิดเวทีข้อเสนอเชิงนโยบาย “โครงการขับเคลื่อนผลการสำรวจความคิดเห็นประชาชนต่อกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้” ที่คณะวิทยาการอิสลามนานาชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เมื่อวันอังคารที่ 8 กรกฎาคม 2568 ที่ผ่านมา</p><p>แม้การสำรวจครั้งล่าสุด (ครั้งที่ 7) ผ่านมา 2 ปีที่แล้ว แต่สถานการณ์ส่วนใหญ่ยังไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก ยกเว้นบางเรื่องที่ก้าวหน้า เช่น การตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญของรัฐสภา เพื่อศึกษาแนวทางการสร้างสันติภาพ&nbsp;</p><p>ยิ่งรัฐบาลปัจจุบันที่ไม่ได้ให้ความสำคัญต่อนโยบายสันติภาพชายแดนใต้มากนัก ทั้งที่ “ประชาชนอยากฟังข้อมูลการพูดคุยสันติภาพ/สันติสุขจากรัฐบาลมากที่สุด” ซึ่งเป็นอีกหนึ่งข้อสรุปจาก&nbsp;PEACE SURVEY</p><p>ประกอบกับ ปัญหาต่าง ๆ ที่รุมเร้ารัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร อยู่ขณะนี้ แล้วรัฐบาลจะสนใจปัญหาและการสร้างสันติภาพได้แค่ไหน ความหวังสันติภาพของประชาชนจะมีเหมือนเดิมหรือไม่ ขณะที่ความรุนแรงและการสูญเสียยังเกิดขึ้นทุกวัน</p><p>ปัจจุบันเครือข่าย PEACE SURVEY ทำงานร่วมกันมาถึงปีที่&nbsp;10 แล้วและเตรียมสำรวจความเห็นครั้งที่&nbsp;8 เร็วๆนี้</p><h2>ประมวลข้อเสนอ&nbsp;10 ปี&nbsp;Peace Survey</h2><p>สำหรับ PEACE SURVEY ทั้ง 7 ครั้งที่ผ่านมา รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 10,582 คนใน&nbsp;3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และ&nbsp;4 อำเภอของสงขลา แยกเป็นประชาชนที่นับถือศาสนาอิสลามร้อยละ&nbsp;77.10 และศาสนาพุทธร้อยละ 22.30 ซึ่งเป็นไปตามสัดส่วนประชากรในพื้นที่ และจากการสัมภาษณ์ผู้นำ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและประชาชนกลุ่มต่าง ๆ&nbsp;14 กลุ่ม โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบเข้มข้น</p><p>ผศ.ดร.ศรีสมภพ&nbsp;จิตร์ภิรมย์ศรี ผู้อำนวยการศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ เป็นผู้นำการเสนอครั้งนี้&nbsp;นำเสนอว่า จากการประมวลความคิดเห็นในช่วง&nbsp;10 ปีของการสำรวจทั้ง&nbsp;7 ครั้ง พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ&nbsp;62.7 รู้สึกว่าสถานการณ์เหมือนเดิม/แย่ลง แต่มีร้อยละ&nbsp;33.5 ที่รู้สึกว่าสถานการณ์ดีขึ้น</p><p>จากการประมวลผลทั้งหมด แบ่งเป็น&nbsp;8 ข้อเสนอ โดยแต่ละข้อเสนอมีประเด็นสำคัญๆ ดังนี้</p><h2>ชาวพุทธ-มุสลิมเห็นพ้อง “ปรึกษาหารือสาธารณะ ลงนามเอกสารสันติภาพ คุยรูปแบบการปกครอง”</h2><p>ข้อเสนอแรก คือ การลดความรุนแรงและป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชน มีประเด็นที่ประชาชนทั้งพุทธและมุสลิมมีทั้งความเห็นที่ “เหมือนกันและต่างกัน”</p><p>โดยประเด็นที่เห็นพ้องต้องกันอย่างชัดเจน 3 ข้อ โดยมีคะแนนใกล้เคียงกันมาก ได้แก่ (1) การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีสิทธิและเสรีภาพในการเข้าร่วมการปรึกษาหารือสาธารณะโดยไม่ถูกภัยคุกคาม (พุทธ&nbsp;3.35 คะแนน, มุสลิม&nbsp;3.48 คะแนน)</p><p>(2) การให้คู่ขัดแย้งทั้งสองฝ่ายลงนามในเอกสารการพูดคุยสันติภาพอย่างเป็นทางการ (พุทธ&nbsp;3.05 คะแนน, มุสลิม&nbsp;3 คะแนน) และ (3) การพูดคุยถึงรูปแบบการเมืองการปกครองที่เหมาะสมในการจัดการท้องถิ่น (พุทธ&nbsp;3.05 คะแนน, มุสลิม&nbsp;3.03 คะแนน)</p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54646597672_4710b4315a_o.jpg" width="1280" height="720" loading="lazy"><p>&nbsp;</p><h2>5&nbsp;ข้อที่เห็นต่าง มีทั้งสิทธิความเป็นเจ้าของพื้นที่-วิสามัญฆาตกรรม และการยกเลิกกฎหมายพิเศษ</h2><p>ส่วนประเด็นที่คนพุทธและมุสลิมเห็นต่างกัน หมายถึง ชาวพุทธไม่เห็นด้วย แต่ชาวมุสลิมต้องการ ได้แก่ (1) การพูดคุยกันถึงสิทธิความเป็นเจ้าของพื้นที่ของชาวมลายูปาตานี และ (2) เจ้าหน้าที่พยายามหลีกเลี่ยงวิสามัญฆาตกรรมผู้มีความเห็นต่างจากรัฐระหว่างการปิดล้อมตรวจค้น</p><p>ส่วนอีก 3 ข้อที่เห็นต่างกันมาก คือ (3) การพักโทษนักโทษคดีความมั่นคงเพื่อสร้างบรรยากาศการพูดคุย (4) การยกเลิกกฎหมายพิเศษ (กฎอัยการศึก/พรก.ฉุกเฉินฯ/พรบ.ความมั่นคงฯ) และ (5) การลดปฏิบัติการทางทหารของทั้งสองฝ่าย</p><h2>นี่คือเจตจำนงทางการเมืองของประชาชน เป็นตัวช่วยแก้ปัญหาความขัดแย้ง</h2><p>ผศ.ดร.ศรีสมภพ ให้ข้อสังเกตเพิ่มเติมว่า จุดร่วมที่คนพุทธและมุสลิมต้องการ คือให้หลีกเลี่ยงการก่อเหตุกับเป้าหมายอ่อนแอ พลเรือนผู้บริสุทธิ์ มีคะแนนที่สูงมากจากทั้ง 2 ศาสนาและจากทุกกลุ่มอายุ ถือเป็นความรู้สึกร่วมที่ใกล้กันมาก ส่วนข้อที่ต่างกันมาก เช่น ยกเลิกกฎหมายพิเศษ หรือยกเลิกปฏิบัติการทางทหาร จึงทำให้มีปัญหากันมาก</p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54647671599_3ab82f2c37_o.jpg" width="1280" height="720" loading="lazy"><p>“ประเด็นต่อมา ที่ทั้งสองศาสนาเห็นด้วยว่าควรเร่งหาทางออกทางการเมือง คือการพูดคุยเรื่องรูปแบบการปกครองในพื้นที่ เช่นเดียวกับเรื่องเสรีภาพในการปรึกษาหารือโดยไม่ถูกภัยคุกคามก็มีคะแนนที่ใกล้เคียงกันมาก”</p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54647671574_e37a72464d_o.jpg" width="1280" height="720" loading="lazy"><p>ข้อสุดท้ายที่ทั้งสองศาสนาเห็นพ้องกัน คือการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงของความรุนแรงในพื้นที่ มีคะแนนใกล้เคียงกัน เพราะฉะนั้น ทั้งสองฝ่ายยอมรับว่า ต้องหาข้อเท็จจริงว่าเกิดอะไรขึ้น ใครเป็นคนทำ เพื่อแสวงหาทางออกจากความขัดแย้งให้ได้ นี่คือสิ่งที่จะช่วยในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งได้</p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54647671599_3ab82f2c37_o.jpg" width="1280" height="720" loading="lazy"><p>“ดังนั้น โดยสรุป&nbsp;PEACE SURVEY&nbsp;เป็นการยืนยันเจตจำนงทางการเมืองของประชาชนที่เข้มแข็ง ประชาชนต้องการสันติภาพและสันติภาพเชิงบวกที่ต้องการได้รับการตอบสนอง เพราะฉะนั้น เจตจำนงทางการเมืองของประชาชน ชัดเจน แต่เจตจำนงทางการเมืองของรัฐยังไม่ชัดเจน”&nbsp;ผศ.ดร.ศรีสมภพ กล่าว</p><h2>คนรุ่นใหม่&nbsp;Gen X และ&nbsp;Y มีความตื่นตัวมากที่สุด</h2><p>เมื่อพิจารณาแยกเป็นกลุ่มอายุ ได้แก่ ผู้ตอบที่มีอายุระหว่าง 18-25 ปี (Gen Z) กลุ่มอายุ 26-43 ปี (Gen Y) กลุ่มอายุ 44-58 (Gen X) และกลุ่มอายุ 59 ปีขึ้นไป (Gen B/Boomer) จะพบว่า คนรุ่นใหม่ ทั้ง&nbsp;Gen X และ&nbsp;Y เป็นกลุ่มที่มีความตื่นตัวในการแสดงความคิดเห็นและให้ความสำคัญกับข้อเสนอทั้ง 5 ด้านมากกว่าคนกลุ่มวัยอื่น ๆ</p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54646597667_dea5bd102a_o.jpg" width="1280" height="720" loading="lazy"><h2>เกินครึ่งสนับสนุนพูดคุยสันติภาพ ย้ำเป็นเจตนารมณ์ของประชาชน</h2><p>ข้อเสนอ&nbsp;เรื่อง&nbsp;สานต่อกระบวนการพูดคุยสันติภาพ/สันติสุขที่ครอบคลุมทุกฝ่าย และมีกลไกรับรองให้การพูดคุยฯ มีเสถียรภาพ<strong>&nbsp;</strong>นำเสนอโดย ผศ.ดร.กุสุมา กูใหญ่&nbsp;ผู้อำนวยการสถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์</p><p>พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ&nbsp;59.3 สนับสนุนการพูดคุย/เจรจาเป็นแนวทางแก้ไขปัญหา ซึ่งกลุ่มตัวอย่างทุกกลุ่มวัยสนับสนุนข้อนี้ มีเพียงร้อยละ&nbsp;6-7 เท่านั้นที่ระบุว่าไม่สนับสนุน ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า ประชาชนในพื้นที่เรียกร้องแนวทางสันติวิธีและต้องการให้กระบวนการพูดคุยสันติภาพ/สันติสุขเดินหน้าต่อ และควรมีกลไกรองรับให้การพูดคุยมีเสถียรภาพและต่อเนื่อง</p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54646597712_74eda68eda_o.jpg" width="1280" height="720" loading="lazy"><h2>ประชาชนเชื่อมั่นสันติภาพมาก แต่กระบวนการพูดคุยกลับคืบหน้าน้อย</h2><p>จากการสำรวจทั้ง 7 ครั้ง แสดงให้เห็นว่า ประชาชนสนับสนุนและเชื่อมั่นต่อกระบวนการพูดคุยฯ มากขึ้นเรื่อย ๆ ตลอดระยะเวลา&nbsp;10 ปีของกระบวนการพูดคุยฯ และยังหวังว่ากระบวนการพูดคุยจะนำไปสู่การสร้างสันติภาพในพื้นที่ได้ในอนาคต ถึงแม้ว่าความก้าวหน้าของการพูดคุยจะยังมีไม่มากก็ตาม</p><p>ผศ.ดร.กุสุมา กล่าวว่า ดังนั้น รัฐบาลควรสานต่อกระบวนการพูดคุยสันติภาพ/สันติสุขที่ครอบคลุมทุกฝ่ายอันเป็นเจตนารมณ์และความคาดหวังของประชาชน</p><p>“เรื่องนี้ประชาชนพร้อมมาก อยู่ที่ฝ่ายเกี่ยวข้องว่าจะพร้อมแค่ไหน ความเชื่อมั่นของประชาชนขยับขึ้น แต่ความคืบหน้าของการพูดคุยมีน้อยมากในช่วง&nbsp;10 ปีที่ผ่านมา ขอเรียกร้องว่า <strong>เสียงของประชาชนมีความหมาย ฉะนั้นการพูดคุยจึงน่าจะเป็นแนวทางที่เหมาะสมในการแสวงหาทางออกที่ยั่งยืน</strong>” ผศ.ดร.กุสุมา กล่าว</p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54647441871_7c18b47c8b_o.jpg" width="1280" height="720" loading="lazy"><h2>รัฐสภา พื้นที่ปลอดภัยในการพูดคุยปัญหาความขัดแย้ง</h2><p>ส่วนกลไกทางการเมืองและกฎหมาย เพื่อให้กระบวนการพูดคุยฯมีเสถียรภาพนั้น มีข้อเสนอให้ใช้รัฐสภาเป็นพื้นที่ปลอดภัยในการพูดคุยปัญหาความขัดแย้ง และออกกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น พ.ร.บ.สันติภาพชายแดนใต้ การตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญของสภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณากระบวนการสันติภาพชายแดนใต้ซึ่งก็มีแล้ว การยกเลิกการใช้กฎอัยการศึก และการปฏิรูประบบราชการที่มีความโปร่งใสและเป็นธรรม</p><h2>ต้องสร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับประชาชนทุกกลุ่ม</h2><p>ข้อเสนอ เรื่อง สร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับประชาชนทุกกลุ่ม ส่วนใหญ่ตอบว่า รู้สึกปลอดภัยในการอยู่ในพื้นที่สาธารณะ เช่น ศาสนสถาน การเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนา สถานที่ราชการ ตลาด ร้านน้ำชา</p><p>แต่อย่างไรก็ตาม ประชาชนยังรู้สึกไม่ปลอดภัยในการแสดงออกทางความคิด ไม่ว่าจะเป็นการพูดถึงขบวนการฯ การวิจารณ์ขบวนการฯ การวิจารณ์ภาครัฐ อยู่ใกล้เจ้าหน้าที่รัฐที่มีอาวุธ การชุมนุมเรียกร้องด้วยสันติวิธี และการพบปะคนแปลกหน้า</p><h2>สร้างพื้นที่ปลอดภัยให้เริ่มที่ชุมชน</h2><p>เมื่อพิจารณาถึงบริบทของพื้นที่ปลอดภัยดังกล่าว จำแนกได้&nbsp;3 ลักษณะ ได้แก่ <strong>พื้นที่สาธารณะของประชาชนโดยทั่วไป พื้นที่ของรัฐ และ พื้นที่แสดงออกทางความคิด</strong> พบว่า ทั้งสามพื้นที่เป็นปัจจัยให้ประชาชนที่มีวัฒนธรรมแตกต่างกัน มีความรู้สึกปลอดภัยในการอยู่ในพื้นที่เหล่านั้นแตกต่างกันด้วย คือ</p><p>พื้นที่สาธารณะต้องปลอดภัยสำหรับประชาชน คือในศาสนสถานของตัวเอง ประชาชนรู้สึกปลอดภัยที่สุด ในขณะที่ตลาด ร้านอาหาร อยู่ในระดับปานกาง ส่วนพื้นที่ของรัฐนั้นไม่ควรทำให้ประชาชนรู้สึกว่าถูกคุกคาม และ พื้นที่แสดงออกทางความคิดควรเป็นพื้นที่ปลอดภัยของความเห็นต่างที่สร้างสรรค์</p><p>ในประเด็นนี้ นางสาวคนึงนิต มากชูชิต ผู้นำเสนอมีข้อเสนอว่า ถ้าจะสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้เริ่มที่ชุมชน เพราะประชาชนจะรู้พื้นที่ของตัวเองดี แล้วขยายไปสู่ระดับตำบล อำเภอ โดยประชาชนมีส่วนร่วม</p><h2>เพิ่มบทบาทประชาชน สร้างการมีส่วนร่วมอย่างครอบคลุมทุกฝ่าย</h2><p>ข้อเสนอ เรื่อง&nbsp;เพิ่มบทบาทของประชาชน สร้างการมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างครอบคลุมทุกฝ่าย หรือ&nbsp;Inclusivity<strong>&nbsp;</strong>ส่วนใหญ่ระบุว่า เป็นเรื่องเร่งด่วนและเร่งด่วนอย่างยิ่งในเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชน และการมีส่วนร่วมกับทุกฝ่าย คือประชาชนมีสิทธิและเสรีภาพในการเข้าร่วมการปรึกษาหารือสาธารณะโดยไม่ถูกภัยคุกคาม</p><p>ให้ตั้งคณะกรรมการที่ประกอบด้วยบุคคลหลายฝ่ายในการตรวจสอบข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ความรุนแรง มีผู้ตอบว่าเป็นเรื่องเร่งด่วนและเร่งด่วนอย่างยิ่ง รวมกันมากถึงร้อยละ&nbsp;66.8</p><h2>ตั้งคณะกรรมการร่วม ฝ่ายรัฐบาล ฝ่าย BRN&nbsp;และภาคประชาสังคม</h2><p>ส่วนการตั้งกรรมการร่วมระหว่างฝ่ายรัฐบาล ฝ่าย BRN และภาคประชาสังคมเพื่อจัดการปรึกษาหารือสาธารณะในรูปแบบต่างๆ นั้น เห็นว่าเป็นเรื่องเร่งด่วนและเร่งด่วนอย่างยิ่ง รวมกันถึงร้อยละ&nbsp;52.9</p><p>นอกจากนี้ มีการให้ข้อสังเกตว่า&nbsp;อยากให้เยาวชนมีส่วนร่วมมากขึ้น แต่เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างไม่ครอบคลุมเด็กและเยาวชนอายุต่ำว่า&nbsp;18 ปี จึงทำให้ข้อเสนอนี้ไม่ออกมา และอยากให้พี่น้องภาคประชาสังคมมีส่วนร่วมมากขึ้น เนื่องจากองค์ภาคประชาสังคมมีบทบาทหลากหลายถึง&nbsp;12-14 ประเด็น เช่น ด้านเด็ก ผู้หญิง สิทธิมนุษยชน กระบวนการยุติธรรม สันติภาพ โดยมีประมาณ&nbsp;500 กว่าองค์กร เพราะการขยายตัวมากขึ้น</p><h2>บทบาทผู้หญิงในการสร้างสันติภาพและการเยียวยา</h2><p>ด้านบทบาทของผู้หญิงในการสร้างสันติภาพ จากการสำรวจครั้งที่&nbsp;7 ประชาชนเสนอว่า บทบาทของผู้หญิงในด้านการเยียวยาฟื้นฟูและช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบควรมีเป็นอันดับหนึ่ง (ร้อยละ&nbsp;68.6) รองลงมาคือ การผลักดันเรื่องพื้นที่ปลอดภัย (ร้อยละ&nbsp;64.3) การปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชน การถูกซ้อมทรมานและการเรียกร้องความยุติธรรม (ร้อยละ&nbsp;57.7) และควรมีส่วนร่วมบนโต๊ะเจรจาสันติภาพ (ร้อยละ&nbsp;48.2)</p><h2>ปรับโครงสร้างรัฐเน้นแก้ปัญหาด้วยมิติสันติภาพประชาธิปไตย</h2><p>ผลจากการสำรวจเชิงปริมาณดังกล่าวสอดคล้องกับผลจากการสัมภาษณ์ด้านลึก คือ ประชาชนต้องการให้ปรับโครงสร้างอำนาจรัฐจากเดิมที่ยังเน้นการแก้ไขปัญหาด้วยมิติความมั่นคงของชาติและขับเคลื่อนการแก้ปัญหาแบบรัฐราชการ มาเน้นที่มิติของการสร้างสันติภาพที่เป็นประชาธิปไตยเป็นธงนำ&nbsp;โดยการเปิดกว้างในการการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนทุกกลุ่ม (Inclusivity)</p><h2>รูปแบบการปกครอง&nbsp;เลือกตั้งผู้ว่าฯ หรือเขตปกครองพิเศษ</h2><p>ข้อเสนอ เรื่อง กระจายอำนาจการปกครองมากขึ้นให้สอดคล้องกับลักษณะเฉพาะของพื้นที่ ประมวลจากกลุ่มคำถามเกี่ยวกับรูปแบบการปกครอง พบว่า&nbsp;ประชาชนที่อยากให้มีการปกครองแบบกระจายอำนาจมากขึ้น โดยโครงสร้างการปกครองเฉพาะพื้นที่ภายใต้กฎหมายไทย เช่น การเลือกตั้งผู้ว่าฯ หรือเขตปกครองพิเศษ (ร้อยละ 26.5)</p><p>ส่วนรูปแบบที่เป็นอิสระจากประเทศไทยนั้น มีสัดส่วนเพียงร้อยละ&nbsp;13.2 แต่ที่น่าสังเกตคือ มีผู้ตอบว่าไม่รู้/ขอไม่ตอบ สูงถึงร้อยละ&nbsp;37.4 เนื่องจากเป็นประเด็นค่อนข้างอ่อนไหว</p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54647684953_f6d5f1575e_o.jpg" width="1280" height="720" loading="lazy"><h2>ยิ่งคนอายุน้อย ยิ่งสนับสนุนแนวทางกระจายอำนาจ</h2><p>นอกจากนี้ ยังพบว่า ในกลุ่มคำถามเกี่ยวกับรูปแบบการปกครองเปรียบเทียบ&nbsp;4 รูแปบบนั้น ยิ่งผู้ตอบแบบสอบถามอายุน้อยก็ยิ่งสนับสนุนการกระจายอำนาจ จึงสามารถคาดการณ์ในอนาคตได้ว่า จะเป็นไปในแนวทางนี้มากขึ้น เพราะกลุ่มคนเหล่านี้จะเติบโตขึ้น ถ้ายังไม่เปลี่ยนแปลงแนวคิดไปเป็นอย่างอื่นเสียก่อน</p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54647671604_568362de96_o.jpg" width="1280" height="720" loading="lazy"><h2>ประชาชนอยากฟังข้อมูลการพูดคุยสันติภาพจากรัฐบาลมากที่สุด</h2><p>ข้อเสนอ เรื่อง พัฒนาและปรับปรุงกลไกการสื่อสาร เพื่อสร้างการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ประสานความเข้าใจระหว่างผู้คนต่างวัฒนธรรม/พื้นที่&nbsp;พบว่า ร้อยละ&nbsp;33.6 ไม่เคยได้ยินข่าวการพูดคุยสันติภาพ/สันติสุข ซึ่งการสื่อสารเป็นข้อท้าทายสำคัญ และการปรึกษาหารือสาธารณะเป็นกลไกการสื่อสารระหว่างคู่เจรจากับประชาชน</p><p>ฝ่ายที่ประชาชนอยากฟังข้อมูลมากที่สุดคือ รัฐบาล (ร้อยละ&nbsp;55.4) รองลงมาคือ นักวิชาการ (ร้อยละ&nbsp;50) และภาคประชาสังคม (ร้อยละ&nbsp;49.8)</p><p>นอกจากนี้ ต้องมีการสื่อสารไปยังคนในและนอกพื้นที่ได้เข้าใจและรับรู้เท่าทันในประเด็นที่เป็นข้อตกลงหรือข้อที่ยังเป็นที่ถกถียง</p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54647758885_ba6d4f271b_o.jpg" width="1280" height="720" loading="lazy"><h2>เปิดพื้นที่ให้คนรุ่นใหม่ พัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ให้ดังกว่าความรุนแรง</h2><p>ข้อเสนอ เรื่อง พัฒนาเศรษฐกิจบนฐานทุนทางสังคมและวัฒนธรรมของพื้นที่ และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน</p><p>ส่วนใหญ่ตอบว่า มีรายได้ต่อเดือนประมาณ&nbsp;5,001-10,000 บาท รองลงมามีรายได้ตั้งแต่&nbsp;5,000 บาทลงไปจนถึงไม่มีรายได้ รวมกว่าร้อยละ&nbsp;90 สะท้อนว่า ส่วนใหญ่เป็นผู้มีรายได้น้อยและประชาชนส่วนใหญ่มีฐานะทางเศรษฐกิจค่อนข้างลำบาก ทำให้นโยบายแก้ปัญหาความยากจนเป็นเหตุผลหนึ่งในการเลือก สส.เมื่อปี&nbsp;2566</p><p>จากการประมวล มีข้อเสนอให้ส่งเสริมกิจกรรมสร้างสรรค์ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว กิจกรรมสร้างสรรค์คือการเปิดพื้นที่ให้คนรุ่นใหม่ได้ส่งเสียงและแสดงความสามารถให้ดังกว่าเสียงแห่งความรุนแรง ใช้ฐานทุนทางสังคม วัฒนธรรมและอัตลักษณ์ของพื้นที่ในการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์</p><h2>โอกาสทางการศึกษาและคุณภาพชีวิต ปัญหายังไม่ได้รับการแก้ไข</h2><p>ด้านการยกระดับคุณภาพชีวิตและการศึกษา ผลการสำรวจพบว่า ประชาชนในพื้นที่ยังขาดโอกาสทางการศึกษาและเป็นปัญหาหนึ่งของความรุนแรงเชิงโครงสร้าง ข้อมูลจากการสำรวจครั้งที่ 7 กลุ่มตัวอย่างมองว่า ปัญหาสังคมและการขาดโอกาสในการมีคุณภาพชีวิตที่ดียังไม่ได้รับการแก้ไขให้ดีขึ้น การลดความรุนแรงเชิงโครงสร้าง จึงควรพิจารณาถึงมุมมองต่อสาเหตุความรุนแรงและปัญหาสังคมที่ประชาชนกำลังเผชิญอยู่</p><p>จากการสำรวจพบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 62.5 เห็นว่า ความรุนแรงในพื้นที่เกิดจากกลุ่มอิทธิพล ยาเสพติด และค้าของเถื่อน ดังนั้น&nbsp;แนวทางแก้ไขจึงควรให้ความสำคัญกับการขยายโอกาสทางการศึกษา ยกระดับคุณภาพการศึกษาและการแก้ปัญหาสังคม</p><h2>ส่งเสริมการเคารพสิทธิทางวัฒนธรรมและอัตลักษณ์</h2><p>ข้อเสนอ เรื่อง&nbsp;ส่งเสริมการเคารพสิทธิทางวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ คือการยอมรับในความหลากหลายทางวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ ได้แก่ การแต่งกาย อาหาร ภาษา และ ประวัติศาสตร์ ข้อเสนอคือ เปิดพื้นที่ให้ประชาชนสามารถแสดงออกทางอัตลักษณ์และวัฒนธรรมของตนเองโดยไม่ถูกคุกคาม ส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์ข้ามวัฒนธรรม ไม่ใช่แค่การจับผู้นำศาสนาสองศาสนามาพูดคุยกันบนเวที เพื่อรักต่างศาสนา เป็นต้น</p><p>สนับสนุนการพัฒนาทักษะด้านภาษาที่มีความหลากหลาย (ภาษามลายู ภาษาไทย ภาษาจีน ภาษาถิ่นใต้ ฯลฯ)&nbsp;เพื่อการสื่อสารและสร้างความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรม แต่ก็พบว่า ในช่วง&nbsp;10 ปีที่ผ่านมา มีการใช้ภาษามลายูลดลง แต่ใช้ภาษามลายูบนไทยมากขึ้น โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ เนื่องหลักสูตรการศึกษาไทย และการใช้สื่อภาษาไทย</p><div class="note-box"><p><strong>เครือข่ายวิชาการ&nbsp;PEACE SURVEY</strong></p><p>ประกอบด้วยสถาบันวิชาการและองค์กรภาคประชาชน 25 องค์กรจากทั้งในและนอกพื้นที่ ดังนี้&nbsp; &nbsp;</p><p>1) สำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า</p><p>2) สถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้</p><p>สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่</p><p>3) คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่</p><p>4) ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการสื่อสารสันติภาพ คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี</p><p>5) คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี</p><p>6) คณะวิทยาการอิสลาม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี</p><p>7) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี</p><p>8) คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี</p><p>9) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา</p><p>10) สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล</p><p>11) สถาบันอัสสลาม มหาวิทยาลัยฟาฏอนี&nbsp; &nbsp;</p><p>12) สถาบันอิสลามและอาหรับศึกษา มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์</p><p>13) สถาบันวิจัยและพัฒนาสุขภาพภาคใต้ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่</p><p>14) สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล</p><p>15) ศูนย์ข่าวสารสันติภาพ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์</p><p>16) ศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย</p><p>17) ศูนย์ความเป็นเลิศด้านผู้หญิงและความมั่นคงทางสังคม มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์</p><p>18) ศูนย์ความเป็นเลิศด้านคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล</p><p>19) ศูนย์ศึกษาสังคมและวัฒนธรรมร่วมสมัย คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์</p><p>20) สภาประชาสังคมชายแดนใต้</p><p>21) ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้&nbsp; &nbsp;</p><p>22) ศูนย์ความร่วมมือทรัพยากรสันติภาพ&nbsp; &nbsp;</p><p>23) เครือข่ายชาวพุทธเพื่อสันติภาพ</p><p>24) สมาคมร่วมสร้างชุมชนศรัทธา กัมปงตักวา</p><p>25) วิทยาลัยประชาชน</p></div></div>
      <div class="node-taxonomy-container">
    <ul class="taxonomy-terms">
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" hreflang="th">ข่าhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1" hreflang="th">สังคhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99" hreflang="th">สิทธิมนุษยชhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95" hreflang="th">คุณภาพชีวิhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8" hreflang="th">ต่างประเทhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%87" hreflang="th">ความมั่นคhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%95%E0%B9%89" hreflang="th">ชายแดนใตhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%95%E0%B9%89" hreflang="th">จังหวัดชายแดนใตhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%B9%E0%B8%94%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E" hreflang="th">กระบวนการพูดคุยสันติภาhttp://prachatai.com/journal/2025/07/113679
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.173 วินาที กับ 28 คำสั่ง

Google visited last this page วานนี้