[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
13 กรกฎาคม 2568 02:51:35 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ร.2 เสด็จสวรรคต สู่สถานการณ์คุกรุ่น เมื่อ “กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์” เสวยราชย์  (อ่าน 26 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 13
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2650


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 8 ชั่วโมงที่แล้ว »


พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) และกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ (รัชกาลที่ 3)
จิตรกรรมฝาผนังศาลาทรงยุโรป หลังพระสมุทรเจดีย์ สมุทปราการ
 (ภาพจาก : ศิลปวัฒนธรรม ฉบับพฤศจิากยน 2555)


ร.2 เสด็จสวรรคต สู่สถานการณ์คุกรุ่น เมื่อ “กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์” เสวยราชย์


ผู้เขียน กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม
เผยแพร่ - วันเสาร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ.2568


การเปลี่ยนรัชกาลตลอดประวัติศาตร์ 200 กว่าปีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ไม่มีเหตุนองเลือดเหมือนสมัยกรุงศรีอยุธยา แต่การผลัดแผ่นดินรัชกาลที่ 2 สู่รัชกาลที่ 3 เรียกว่าไม่ได้ราบรื่น 100% ทั้งมีลำดับเหตุการณ์ก่อนเสด็จสวรรคตที่น่าสนใจทีเดียว

ทั้งนี้เพราะนอกจากจะเกิดลางร้ายตามคติคนโบราณหลายอย่างก่อนพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 จะทรงมีพระอาการประชวรแล้ว ยังเป็นการเสด็จสวรรคตอย่างรวดเร็วหลังทรงมีพระอาการเพียงไม่กี่วันเท่านั้น ไทม์ไลน์ต่าง ๆ เป็นดังนี้

เดือนกว่า ๆ ก่อนการเสด็จสวรรคต ช้างสำคัญในรัชกาลที่ 2 ล้ม (ตาย) ในเวลาไล่เลี่ยกันถึง 2 ช้าง คือ พระยาเศวตคชลักษณ์ และพระยาเศวตไอยรา

พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 2 ฉบับที่สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงตรวจสอบชำระจากฉบับของเจ้าพระยาทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค) ระบุข้อความว่า

“พระยาเศวตคชลักษณ์ล้มอีกช้างหนึ่ง เหตุที่พระยาช้างเผือกอันเป็นศรีพระนคร นับว่าเป็นคู่พระบารมีในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลที่ 2 ล้มไปในคราวเดียวกันถึง 2 ช้างเช่นนั้น เป็นเหตุให้เกิดรู้สึกกันทั่วไปว่า เป็นอุปัทวเหตุอันสำคัญมีขึ้น จนถึงไม่สบายพระทัยในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว”

รัชกาลที่ 2 ทรงทราบดีว่าเป็นเรื่องไม่มงคล ทำให้ทรงรู้สึกไม่สบายพระราชหฤทัย ส่งผลกระทบต่องานสำคัญที่กำลังจะจัด คือ พระราชพิธีทรงพระผนวชของ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎ (ต่อมาคือรัชกาลที่ 4) จึงทรงลดทอนพระราชพิธีในช่วงแห่ ไม่ให้ยิ่งใหญ่เกินไป

7 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 ทรงพระผนวชเจ้าฟ้ามงกุฎ ซึ่งทรงได้รับพระฉายาทางธรรมว่า “วชิรญาณภิกขุ” รัชกาลที่ 2 เสด็จพระราชดำเนินไปถวายเครื่องบริขารและไตรจีวรแก่เจ้าฟ้ามงกุฎด้วยพระองค์เอง หลังจากนั้นก็ทรงเริ่มมีพระอาการประชวร

14 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 หรือ 7 วันหลังพระราชพิธีทรงพระผนวชเจ้าฟ้ามงกุฎ พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 2 ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ บอกว่า ทรงมีพระอาการประชวรมึนเมื่อยพระองค์ เสวยยาแล้วก็ไม่หาย ดังความว่า

“ทรงพระประชวรให้มึนเมื่อยพระองค์ เรียกพระโอสถชื่อ จารในเพชร ข้างที่ ที่เคยเสวยนั้นมาเสวย ครั้นเสวยแล้วให้ร้อนเป็นกำลัง เรียก ทิพยโอสถ มาเสวยอีก พระอาการก็ไม่ถอยให้เชื่อมซึมไป แพทย์ประกอบพระโอสถถวายก็เสวยไม่ได้ มิได้ตรัสสิ่งไร”

16 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 จดหมายเหตุความทรงจำกรมหลวงนรินทรเทวี ระบุว่ารัชกาลที่ 2 เสด็จฯ ไปทรงประดับตกแต่งเขามอ ในพื้นที่สวนขวา ภายในพระบรมมหาราชวัง และทรงเริ่มมีพระอาการประชวรในวันนี้ 

17 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 บันทึกฉบับเดียวกันบอกว่า เกิดเหตุลางร้ายหลังรัชกาลที่ 2 เสด็จฯ ออกถวายประเคน คือ พระยาช้างร้องเสียงดังสนั่น และพระยาม้ากับพระยาโคสังวาสกัน ระบุข้อความว่า

“เสด็จออกถวายทรงประเคน เสด็จขึ้น วันนั้นพระยาปราบไตรจักรกอดเสาเบญพาดร้องก้องสนั่นไม่จับหญ้า ยกงวงฟาดงาน้ำตาไหล ทั้งพระยาสินธพชาติกับโคอุศุภราชสโมสรสังวาสกัน ที่ศาลาสารบาญชี คนดูอื้ออึงเสียงแซ่”

ทั้งนี้ จดหมายเหตุโหร ซึ่งได้รับการยอมรับจากนักวิชาการว่ามีความแม่นยำเรื่องวันและเวลามาก ระบุว่า เป็นวันที่ 17 กรกฎาคม นี่แหละ ที่พระองค์ทรงเริ่มมีพระอาการประชวร

21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 เสด็จสวรรคต ณ หมู่พระมหามณเฑียร ภายในพระบรมมหาราชวัง

ไม่ว่าจะเริ่มมีพระอาการประชวรในวันไหน ระหว่าง 14-17 กรกฎาคม การสวรรคตในวันที่ 21 เดือนเดียวกัน ถือว่าเป็นช่วงเวลาที่สั้นและกะทันหันมาก เพราะอยู่ในระยะเวลาเพียง 5-8 วันเท่านั้น

ตามกฎมณเฑียรบาลตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา พระราชโอรสที่ประสูติแต่พระอัครมเหสีจะทรงมีฐานะเป็น “สมเด็จหน่อพระพุทธเจ้า” มีพระอิสริยยศสูงสุดในตำแหน่งรัชทายาท ซึ่งจะทรงขึ้นเป็นกษัตริย์พระองค์ต่อไป

แต่ในทางปฏิบัติ กฎดังกล่าวมิได้มีการยึดถืออย่างเคร่งครัด เพราะในยุคอยุธยาก็มีการชิงราชบัลลังก์กันตลอด กล่าวคือ เจ้านายพระองค์ใดมีอำนาจมากก็มีสิทธิขึ้นครองราชย์ได้เหมือนกัน

เนื่องจากรัชกาลที่ 2 ทรงพระประชวรหนัก ถึงขั้นไม่สามารถจะทรงมีพระราชดำรัสใด ๆ ได้ จึงไม่มีพระราชกระแสรับสั่งว่าจะทรงมอบราชสมบัติให้เจ้านายพระองค์ใด เกิดเป็นปัญหาว่า ใครจะได้เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ต่อไป ? ตอนนั้นมีเจ้านาย 2 พระองค์สำคัญที่มีสิทธิครองราชย์ คือ เจ้าฟ้ามงกุฎ ซึ่งตอนนั้นยังทรงพระผนวชเป็นภิกษุ กับ พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ (ต่อมาคือรัชกาลที่ 3)

สุดท้ายปัญหาดังกล่าวไม่ได้ยืดเยื้ออะไร เพราะบรรดาเจ้านายและขุนนางปรึกษาหารือกันแล้วเห็นพ้องว่า “กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์” เหมาะสมที่สุด

เป็นที่มาของบรรยากาศการผลัดแผ่นดินสุดคุกรุ่นภายในราชสำนักสยาม อันมีเบื้องลึกเบื้องหลังมากมายที่ส่งผลต่อประวัติศาสตร์ไทยหลังจากนั้น เรื่องราวทั้งหมดเป็นอย่างไร เจาะลึกได้ใน “สับประวัติศาสตร์ ZAB HISTORY ผลัดแผ่นดินพระพุทธเลิศหล้า รัชกาลที่ 2 บรรยากาศราชสำนักคุกรุ่น”





... อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : https://www.silpa-mag.com/history/article_155452

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.262 วินาที กับ 29 คำสั่ง

Google visited last this page 3 ชั่วโมงที่แล้ว