[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 14:13:52 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เรื่องยาก 4 อย่างในโลก  (อ่าน 8950 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 10 มิถุนายน 2553 18:00:56 »




เรื่องยาก 4 อย่างในโลก
โดย อาจารย์ไชยวัฒน์ กปิลกาญน์

พระพุทธเจ้าตรัสเรื่องยากในโลกไว้ ๔ อย่าง อย่างนี้ ว่า :

กิจฺโฉ มนุสฺสปฏิลาโภ
- การได้ความเป็นมนุษย์เป็นเรื่องยาก

กิจฺฉํ มจฺจาน ชีวิตํ
- ชีวิต (ความเป็นอยู่) ของสัตว์ทั้งหลาย เป็นเรื่องยาก

กิจฺฉํ สทฺธมฺมสวนํ
- การฟังพระสัทธรรมเป็นเรื่องยาก

กิจฺโฉ พุทฺธานมุปฺปาโท
- ความเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นเรื่องยาก


ดังนี้

แต่ละอย่างเป็นเรื่องยากอย่างไรนั้น จะขอพรรณนาความให้ทราบไปตามลำดับ

อันดับแรก การได้ความเป็นมนุษย์ เป็นเรื่องยาก คือ หาได้ยาก สำเร็จยาก แน่นอน เพราะต้องประกอบบุญญาธิการไว้เป็นอันมากในภพก่อน จึงจะได้อัตภาพเป็นมนุษย์ในภพนี้ บุญญาธิการที่ก่อไว้มากมายนั้นจัดเป็นเหตุอดีตที่ล่วงเลยมาแล้ว ความเป็นมนุษย์นั้นมิใช่เฉพาะจะสำเร็จได้ด้วยเหตุปัจจุบันคือ เพียงแต่มารดาและบิดาผู้เป็นมนุษย์มาอยู่ร่วมกัน ก็ย่อมให้กำเนิดบุตรผู้เป็นมนุษย์ อย่างนี้เท่านั้น ก็ถ้าหากว่า สำเร็จได้ด้วยเหตุในปัจจุบันอย่างเดียวอย่างนี้ไซร้ คู่ภรรยาสามีอยู่ร่วมกัน ปรารถนาจะได้บุตร ก็ย่อมได้ตามปรารถนากันทุกคู่ แต่ปรากฏว่า บางคู่ผิดหวัง ไม่ได้ตามที่ปรารถนา ทั้ง ๆ ที่ได้ให้แพทย์ตรวจสภาพของร่างกายแล้วพบว่าไม่มีสิ่งที่เป็นอุปสรรคขัดขวางการมีบุตรเลยก็ตาม แสดงว่ายังมีเหตุปัจจัยอย่างอื่นอีก ไม่ใช่เฉพาะมารดาบิดาอยู่ร่วมกันเท่านั้น และจะต้องเป็นเหตุปัจจัยที่มีก่อนหน้าแต่ความเกิดของบุคคลผู้นั้น และจะต้องเป็นเหตุปัจจัยที่มีก่อนหน้าแต่ความเกิดของบุคคลผู้นั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ก็จะต้องเป็นเหตุเป็นปัจจัยในอดีตภาพของผู้ที่เกิดมานั้นนั่นเอง จะเห็นว่า สัตว์บางจำพวก แม้ไม่ต้องอาศัยมารดาบิดาเกิดก็เกิดเองได้ เป็นความจริงว่า พระพุทธเจ้าตรัสโยนิ (อาการที่เกิดมา) ของสัตว์ทั้งหลายไว้ ๔ อย่าง อย่างนี้ ว่า :

“ จตสฺโส โข อิมา สาริปุตตฺ โยนิโย กตมา จตสฺโส ? อณฺฑชา โยนิ ชลาพุชา โยนิ สํเสทชา โยนิ โอปปติกา โยนิ ”

แปลว่า : “ ดูกร สารีบุตร โยนิ (อาการที่เกิด, หรือประเภทของสัตว์ผู้มีอาการที่เกิดแตกต่างกัน) มี ๔ อย่างเหล่านี้ ๔ อย่างอะไรบ้าง ? ได้แก่ อัณฑชโยนิ ชลาพุชโยนิ สังเสทชโยนิ โอปปติกโยนิ ”

ดังนี้เป็นต้น

เป็นอันตรัสว่า สัตว์ทั้งหลายนั้น สามารถแบ่งได้เป็น ๔ จำพวกตามโยนิ คือ พวกอัณฑชะ เป็นต้น แล้วทรงขยายความให้ทราบด้วยพระองค์เอง ว่า :

สัตว์พวกที่เรียกว่า อัณฑชะ นั้น ได้แก่พวกที่เจาะเปลือกไข่ออกมา ก็เป็นอันตรัสถึงสัตว์ที่เกิดในไข่ อย่างพวกสัตว์ปีกทั้งหลายทั่วไป, งู, สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำบางชนิด เป็นต้น ก็คำว่า “ อัณฑชะ ” แปลว่า “ ผู้เกิดในไข่ ”

ส่วน พวกที่เรียกว่า ชลาพุชะ นั้น ได้แก่พวกที่ชำแรกมดลูกออกมา อย่างพวกมนุษย์ทั้งหลายทั่วไป สัตว์เดรัจฉานบางจำพวก เปรตบางจำพวก ภุมเทวดาบางจำพวก ก็คำว่า “ ชลาพุชะ ” แปลว่า “ ผู้เกิดในมดลูก ”

ส่วน พวกที่เรียกว่า สังเสทชะ ได้แก่พวกที่เกิดในที่แฉะชื้น เช่นว่า ในซากปลาเน่า ซากศพเน่า ขนมบูด บ่อน้ำครำ เป็นต้น (เกิดได้เอง ไม่ใช่โดยการที่สัตว์อื่นเช่นแมลงไปวางไข) แต่แม้ที่แฉะชื้นที่สะอาดก็มีอยู่ เช่น โพรงดอกบัว เป็นต้น สถานที่ที่เป็นเช่นนี้ก็เป็นที่อาศัยเกิดของสัตว์แม้กระทั่งเทวดาและมนุษย์ได้เหมือนกัน ทราบกันว่า โปกขรสาติพราหมณ์ผู้เป็นพระอาจารย์ของพระเจ้าปเสนทิโกศลนั้น เป็นสังเสทชะสัตว์ เกิดในโพรงดอกบัว แรกเกิดมีขนาดหัวแม่มือ ฤาษีไปพบเข้ากํนำมาเลี้ยงไว้ พร้อมทั้งสอนศิลปวิทยาทั้งหลายให้จนเติบใหญ่ ก็คำว่า “ สังเสทชะ ” แปลว่า “ ผู้เกิดในที่แฉะชื้น ”

ส่วน พวกที่เรียกว่า โอปปาติกะ เป็นพวกที่ผุดเกิดทันที ตั้งอยู่ในวัยหนุ่มวัยสาวทันทีที่เกิด ได้อวัยวะทั้งหลาย พร้อมด้วยอายตนะทั้งหลายมีตา เป็นต้น ครบถ้วนสมบูรณ์ทันทีที่เกิดนั้นแหละ ได้แก่ พวกเทวดาทั้งหลายทั่ว ๆ ไป พวกสัตว์นรก พวกเปรต บางจำพวกส่วนมาก แม้มนุษย์ที่เป็นโอปปาติกสัตว์ก็มีอยู่ คือ พวกมนุษย์ครั้งต้นกัป (ครั้งที่กัปเริ่มขึ้นใหม่ ๆ)

ตามพระดำรัสนี้ จะเห็นว่า สัตว์พวกชลาพุชะและอัณฑชะเท่านั้น ที่เป็นสัตว์ผู้ต้องอาศัยการอยู่ร่วมกันของมารดากับบิดา พวกที่ไม่ต้องอาศัยการอยู่ร่วมกันของมารดากับบิดาเกิดก็มีอยู่ ทีนี้เผอิญว่าพวกมนุษย์ทั้งหลายทั่วไปในสมัยนี้ เป็นพวกที่เนื่องอยู่ในชลาพุชโยนิ เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็ย่อมเป็นเหตุให้คนทั้งหลายเข้าใจว่า เฉพาะมารดาบิดาของคนแต่ละคนเท่านั้น เป็นผู้ทำให้คนผู้นั้นได้เกิดมา เมื่อหาความแน่นอนไม่ได้ว่า การอยู่ร่วมกันแห่งหญิงและชายจะเป็นเหตุให้ได้บุตรเสมอไป ดังได้กล่าวแล้วประกอบกับโยนิมีหลายอย่าง อย่างนี้ ก็ขอให้พึงตระหนักเถิดว่า ยังมีเหตุอย่างอื่นอีก ที่ทำให้เราเกิดมาเป็นมนุษย์ อันเป็นเหตุที่นอกเหนือไปจากการอยู่ร่วมกันแห่งมารดากับบิดาของเรานั้น นั่นก็คือกรรมดีที่เราได้ทำไว้ในภพอดีต ก่อนหน้าที่จะได้เกิดมาเป็นมนุษย์ในภพปัจจุบันนี้ ถ้าหากทำกรรมชั่วไว้ กรรมชั่วนั้นให้ผล เราก็ไม่อาจเกิดมาเป็นมนุษย์ได้หรอก ต้องเกิดเป็นสัตว์ในอบายภูมิ มีสัตว์เดรัจฉานเป็นต้น.

เป็นความจริงว่า กรรมมี ๒ อย่าง คือ กุศลกรรมและอกุศลกรรม กุศลกรรมนั่นเองเป็นสิ่งที่ควรทำให้เต็มให้บริบูรณ์ จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ บุญ ” , อกุศลกรรมซึ่งเป็นฝ่ายตรงข้าม เพราะเป็นเหตุให้ไปสู่ทุคติคืออบายภูมิ จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ บาป ” , แต่คนทั้งหลายในสมัยปัจจุบันนิยมกล่าวว่า “ กรรมดี, กรรมชั่ว ”

 
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11 มิถุนายน 2553 04:31:13 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: จัดหน้าค่ะ » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 10 มิถุนายน 2553 18:12:50 »



กุศลกรรม หรือบุญ ที่ทำไว้ในอดีต หากได้โอกาสให้ผล ก็ย่อมทำสัตว์ให้เกิดในสุคติ (คติที่ดี) อย่างต่ำสุดก็ได้เกิดเป็นมนุษย์ สูงไปกว่ามนุษย์ก็คือเทวดาชั้นต่าง ๆ เพราะว่า แม้เป็นกุศลกรรมด้วยกันก็ตาม ก็ยังมีความแตกต่างกัน เกี่ยวกับว่า เป็นประเภททาน คือการให้ การบริจาคบ้าง, เป็นประเภทศีล คือความงดเว้นจากความประพฤติชั่วทางกาย ทางวาจาทั้งหลายบ้าง, เป็นประเภทภาวนา คือการอบรมจิตด้วยการเจริญสมาธิที่เรียกว่าสมถะ และด้วยการเจริญปัญญาที่เรียกว่าวิปัสสนาบ้าง ก็บุญเหล่านี้ แม้แต่ละอย่าง ก็ยังมีความแตกต่างกันโดยเกี่ยวกับเป็นอย่างหยาบบ้าง อย่างประณีตบ้างแตกต่างกันไป เพราะฉะนั้น พวกมนุษย์ผู้เกิดจากบุญที่แตกต่างกันดังกล่าวนี้ จึงมีความแตกต่างกัน เกี่ยวกับเป็นหญิงบ้าง เป็นชายบ้าง มีรูปร่างผิวพรรณงดงามบ้าง มีรูปร่างผิวพรรณขี้ริ้วขี้เหร่บ้าง เกิดในตระกูลสูงบ้าง เกิดในตระกูลต่ำบ้าง อายุยืนบ้าง อายุสั้นบ้าง มีโรคภัยไข้เจ็บมากบ้าง มีโรคภัยไข้เจ็บน้อยบ้าง เป็นต้น แม้เกิดเป็นเทวดา ก็มีความแตกต่างกันทำนองนี้ ตามสมควรแก่อัตภาพที่เป็นเทวดา ความแตกต่างกันเหล่านี้ ล้วนมาจากเหตุคือกรรมที่ตนทำไว้ในภพก่อน ๆ จัดสรร ไม่ใช่พระเจ้า พระอินทร์ พระพรหมที่ไหน เป็นผู้จัดสรรเลย

แต่ถ้าหากว่า กุศลกรรมพลาดโอกาสไป อกุศลกรรมที่ได้ทำไว้ ได้โอกาสให้ผล ก็ต้องไปเกิดเป็นสัตว์ในทุคติ (คติที่ไม่ดี) คืออบายภูมิ ๔ อันได้แก่ นรก เปรต อสุรกาย และสัตว์เดรัจฉาน ประเภทใดประเภทหนึ่ง ก็ภูมิทั้ง ๔ นี้ ท่านเรียกว่า “ อบายภูมิ ” ก็เพราะเป็นภูมิคือเป็นที่เกิด ที่ปราศจากความเจริญคือความสุข เพราะมากไปด้วยทุกข์ มีชีวิตแสนลำเค็ญ กล่าวคือ เกิดเป็นสัตว์นรกก็ต้องได้รับความเจ็บปวด ทรมานแสนสาหัส เพราะการถูกลงโทษลงทัณฑ์, เกิดเป็นเปรตก็มีแต่ความหิวโหย ความกระหายสุดประมาณ, เกิดเป็นอสุรกายก็ได้แต่แอบอยู่ในที่มืด คอยแต่หวาดระแวงภัยจากสัตว์อื่นผู้มีอำนาจเหนือกว่า เร่ร่อนไปไม่มีจุดหมาย ไร้เพื่อน ไร้ญาติ, เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน ก็คอยแต่ถูกเฆี่ยนด้วยแซ่ ถูกทุบตีด้วยท่อนไม้ ตลอดจนการตกเป็นภักษาหารของสัตว์อื่น เป็นต้น เป็นทุกข์ที่สัตว์ในอบายต้องได้รับเป็นธรรมดา เพราะเป็นผลของกรรมชั่ว อันการจะหลีกหนีทุกข์เหล่านี้ได้ ประการแรกที่ต้องได้ก่อน คือต้องเกิดเป็นสัตว์ในสุคติ อย่างต่ำก็มนุษย์นั่นเทียว ด้วยการสั่งสมบุญไว้ให้มาก

ก็แต่ว่ากุศลกรรม หรือบุญนี้ แม้อย่างต่ำสุดคือ ทาน – การให้ เท่านั้น ก็เป็นสิ่งที่ทำได้ยาก เพราะบุคคลส่วนมากเป็นผู้มีความตระหนี่เกาะกุมจิตใจ เพราะฉะนั้น จึงเกิดความคิดจะให้สิ่งที่ควรให้ แก่บุคคลแม้ว่าเป็นผู้ที่สมควรจะให้ได้ยาก จะให้หรือไม่ให้ ก็อาศัยความพอใจหรือไม่พอใจของตนเป็นสำคัญ พอใจจะให้จึงให้ ไม่พอใจก็ไม่ให้ มิได้อาศัยความเห็นว่าควรให้หรือไม่ควรให้เป็นสำคัญเลย เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็เป็นธรรมดาว่า ส่วนมากจะไม่ให้นั่นแหละ ก็แม้แต่ทานอันเป็นบุญขั้นต่ำสุด เป็นการกระทำที่มีการฝืนจิตใจ ฝืนกิเลสคือความตระหนี่น้อยที่สุดแล้ว ก็ยังทำได้ยาก เมื่อเป็นเช่นนี้ จะต้องกล่าวไปไยถึงศีลและภาวนา อันเป็นการกระทำที่สูงส่งกว่า ฝืนจิตใจมากกว่าเล่า คนส่วนมากชอบปล่อยใจไหลไปตามกระแสกิเลส ไม่ชอบฝืนกิเลส เพราะง่ายกว่าสบายกว่า เมื่อกุศลเป็นเรื่องฝืนกิเลสทำ การเจริญกุศลจึงไม่ใช่สำเร็จกันได้ง่าย ๆ เลย จะคิดปรารภทำบ้างก็นาน ๆ ครั้ง และมักจะมีเรื่องสนุกสนานบันเทิงเข้ามาเกี่ยวข้องจึงทำ


เมื่อบุญทั้งหลายเป็นสิ่งที่แม้มนุษย์ผู้มีใจสูงก็ยังทำได้ยากอย่างนี้ สัตว์เดรัจฉานที่มีใจอ่อนแอกว่าต่ำทรามกว่า ก็ไม่ต้องพูดถึงกันเลยนะ มีสุนัขของใครที่ไหนสักตัวบ้าง ที่มีความคิดว่า “ วันนี้ ฉันจักใส่บาตร, จักสงเคราะห์คนพิการ, นับตั้งแต่วันนี้ไปฉันจะรักษาศีล ไม่ฆ่าสัตว์ ” อย่างนี้เป็นต้น ความคิดอย่างนี้ ไม่มีแก่สัตว์เดรัจฉานทั่วไป หรือแม้สัตว์ในทุคติประเภทอื่นหรอก ความคิดทำกุศลย่อมเป็นของสัตว์ในสุคติย่อมมีสติ มีปัญญาพอที่จะเกิดความคิดอย่างนี้ได้ เพียงแต่ว่า เมื่อเอาแต่ปล่อยใจไหลไปตามกระแสกิเลสท่าเดียว ความคิดจะทำกุศลย่อมเกิดได้ยาก

ถึงอย่างไรก็ตาม ในเมื่อเราก็ได้เกิดมาเป็นมนุษย์แล้วอย่างนี้ ก็แสดงว่าในอดีตชาติเราได้ทำบุญไว้เป็นอันดี และบุญนั้นก็ได้โอกาสให้ผล เพียงแต่ว่าพอได้ความเป็นมนุษย์มาอีกครั้งหนึ่งอย่างนี้ เราก็อาจจะเกิดความประมาทมัวเมาในความเป็นมนุษย์แล้วละเลยการทำกุศลไปเสียอีกเท่านั้น ซึ่งถ้าหากว่าเป็นอย่างนี้ หลังจากตายไปแล้ว จะได้กลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีกนั้น ยากนัก

เป็นความจริงว่า แม้พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าของพวกเรา ก็ได้ตรัสเทียบเป็นอุปมาว่าคนที่ตายไปแล้ว ได้กลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีกนั้นจำนวนน้อยนัก มีอุปมาเหมือนผงคลีดินที่ติดอยู่ที่ปลายพระนขาของพระองค์ ส่วนคนที่ตายไปแล้ว ไปเกิดในนรกนั้นมีจำนวนมากมายนัก มีอุปมาเหมือนแผ่นดินใหญ่

มีเรื่องว่า ครั้งหนึ่ง พระพุทธเจ้าทรงใช้ปลายพระนขาตักผงคลีดินขึ้นมาเล็กน้อย รับสั่งถามพระภิกษุทั้งหลายว่า “ อย่างไหนที่มากกว่ากัน ผงคลีดินที่เราใช้ปลายเล็บตักขึ้นมาเล็กน้อยนี้ หรือว่าแผ่นดินใหญ่ ” ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า แผ่นดินใหญ่นี้แหละมีมากกว่าพระเจ้าข้า ผงคลีดินที่พระองค์ทรงใช้ปลายพระนขาตักขึ้นมาเล็กน้อยนี้ เทียบกับแผ่นดินใหญ่แล้ว จัดว่าเล็กน้อยนัก ” ครั้งนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า “ เอวเมว โข ภิกฺขเว อปปฺกา เต สตฺตา เย มนุสฺสา จุตา มนุสฺเสสุ ปจฺจาชายนฺติ ” เป็นต้น ความเต็มแปลว่า “ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล สัตว์ทั้งหลายผู้เคลื่อน (ตาย) จากมนุษย์ แล้วกลับมาเกิดในหมู่มนุษย์ มีจำนวนน้อย แต่ทว่าสัตว์ทั้งหลาย ผู้เคลื่อนจากมนุษย์ แล้วกลับมาเกิดในนรกมีมากกว่า แล ” ดังนี้
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 10 มิถุนายน 2553 18:48:47 »




ธรรมที่เกิดในโลกนี้ล้วนเป็นอริยสัจ 

พระบาลีตอนนี้ ชี้ให้เห็นเป็นตัวอย่างว่า สัตว์ผู้ได้เกิดเป็นมนุษย์ แล้วรักษาความเป็นมนุษย์ของตนเอาไว้ไม่ได้ หลังจากตายไปเกิดเป็นสัตว์ในทุคติ มีนรกเป็นต้นนั้น มีจำนวนมากมายนัก ที่ได้กลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีก มีเพียงนิดหน่อย เมื่อเป็นอย่างนี้ก็เป็นธรรมดาว่า จำนวนสัตว์ในทุคติย่อมมีมากกว่าจำนวนสัตว์ในสุคติ อย่างไม่อาจจะเทียบกันได้ ขอให้พิจารณาดูภายในบ้านเราเพียงหลังเดียวเท่านั้น จะพบว่า สัตว์เดรัจฉาน เช่นว่ามด ประเภทเดียวเท่านั้นก็มีจำนวนมากกว่ามนุษย์ผู้อาศัยอยู่ในบ้าน ผู้มีเพียง ๑๐ คน ๒๐ คน หรือแม้มากกว่านั้น อย่างไม่อาจเทียบกันได้ ที่กล่าวถึงนี้ ก็มดประเภทเดียวเท่านั้น ยังไม่พูดถึงสัตว์ประเภทอื่นเลยเทียว พลโลกที่เป็นมนุษย์ทั้งโลก เรายังสามารถสำรวจแล้วประมาณจำนวนกันได้ แต่ว่าสัตว์เดรัจฉานนั้น เราไม่อาจสำรวจจำนวนโดยประมาณได้เลย จำนวนรวมกันทั้งสัตว์บก ทั้งสัตว์น้ำนั้น มากมายมหาศาลนักทีนี้ก็พอจะปลงใจเชื่อได้ว่า การได้เกิดเป็นมนุษย์นี้เป็นของยากแน่นอน ไม่มีเหตุบังเอิญ

ก็แต่ว่า แม้ว่าการได้ความเป็นมนุษย์ เป็นของยาก เป็นเรื่องยากแค่ไหน เพียงไรก็ตาม ถึงอย่างไร ๆ เราก็ได้มาแล้ว เมื่อได้มาแล้วอย่างนี้ ก็น่าจะมีความสำเหนียกในชีวิตความเป็นมนุษย์ ทำนองว่าเราได้ของยากคือความเป็นมนุษย์แล้วอย่างนี้ เราควรจะเป็นอยู่อย่างไร ควรจะดำเนินชีวิตอย่างไร จึงจะคุ้มค่ากับการที่ได้อัตภาพเป็นมนุษย์นี้ ชีวิตของเราที่เป็นอยู่นี้ประเสริฐกว่า ดีกว่าสัตว์เดรัจฉานแล้วหรือไม่ อย่างพวกนกกาออกจากรังแต่เช้าตรู่ แสวงหาอาหาร ส้มสูกลูกไม้ แมลงต่าง ๆ เป็นต้น เลี้ยงตนเองแล้ว ยังคาบเหยื่อนั้นมาป้อนลูกน้อยที่รออยู่ที่รังในที่สุดก็ล้มหายจากกันไป พวกมนุษย์ทั้งหลายทั่วไปก็เป็นอย่างเดียวกันมิใช่หรือ ออกจากบ้านแต่เช้าไปทำการทำงาน หาเลี้ยงตนเองและครอบครัวเป็นอย่างนี้ทุกวี่ทุกวัน จนแก่จนเฒ่า ในที่สุดก็ล้มหายตายจากกันไป เมื่อเป็นอย่างนี้ ก็ไม่น่าจะแตกต่างจากสัตว์เดรัจฉานสักเท่าไร ตรงหลักการ ตรงที่ต่างก็ทำมาหากิน ต่างกันอยู่บ้างก็เกี่ยวกับวิธีการที่แยบยลกว่าของสัตว์เดรัจฉานเท่านั้น เพราะสมองดีกว่า รู้จักจัดสรรการทำมาหากินให้เป็นอาชีพหลากหลายต่าง ๆ กัน

เป็นพ่อค้า นักธุรกิจ ข้าราชการ เป็นต้น รู้จักสะสมเงินทองทรัพย์สมบัติ แม้กระทั่งกอบโกยเพื่อความสุขสำราญที่ยิ่ง ๆ ขึ้นไป แล้วก็หลงมัวเมาอยู่กับสิ่งที่หามาได้ เพลินไปกับตำแหน่งหน้าที่การงานนั้น ๆ ที่จัดอุปโลกน์กันขึ้นมาให้เป็นที่ยอมรับในสังคม แล้วก็หลงติดอยู่ในสิ่งที่อุปโลกน์ขึ้นมานั้นเสียเอง จนกระทั่งลืมสำเหนียกความเป็นมนุษย์ที่ประเสริฐกว่าสัตว์เดรัจฉาน ตรงที่มีปัญญามีความคิดอ่านดีกว่าสัตว์เดรัจฉานที่มีความสามารถเพียงการรู้จักทำมาหากินเท่านั้น กลับใช้ปัญญา ใช้ความคิดเพียงเพื่อความเป็นอยู่ที่หรูหราวิจิตร อันนอกเหนือไปจากการทำมาหากิน เท่านั้น ไม่เคยสำเหนียกเลยว่า อะไรละเป็นสิ่งที่มนุษย์ควรทำ ควรประกอบ อันเป็นข้อที่สัตว์เดรัจฉานไม่อาจทำได้ ไม่อาจประกอบได้ ผู้เป็นมนุษย์เท่านั้น ทำได้ ประกอบได้ แล้วก็เป็นเหตุให้ถึงความเป็นผู้ประเสริฐกว่าสัตว์เดรัจฉานแท้จริง สมกับการที่ได้อัตภาพเป็นมนุษย์

ก็การสร้างปัญญาความรอบรู้ ว่าอะไรเป็นสาระควรแสวงหา
อะไรไม่เป็นสาระไม่ควรแสวงหา อะไรควรทำซึ่งทำแล้วนำมาแต่คุณประโยชน์ อะไรไม่ควรทำซึ่งทำแล้วก็นำมาแต่โทษแต่ความหายนะ ทั้งในภพนี้ ทั้งในภพหน้า โดยเริ่มด้วยการฟังธรรมของบัณฑิตนั่นเทียว เป็นสิ่งที่ผู้เป็นมนุษย์ควรทำควรประกอบ อันเป็นข้อที่เหลือวิสัยของสัตว์เดรัจฉานที่จะทำตามได้ เพราะฉะนั้น เมื่อพร้อมที่จะทำ พร้อมที่จะประกอบ ก็ไม่ควรละเลยเพิกเฉย


บางคนได้ความเป็นมนุษย์ที่ได้กันแสนยากอย่างนี้แล้ว ก็ไม่ประสบความสวัสดีในความเป็นมนุษย์ของตนมาตั้งแต่ต้น โดยเกี่ยวกับว่า เกิดมาเป็นคนพิกลพิการ อวัยวะส่วนนั้นส่วนนี้บกพร่อง ขาด้วน แขนด้วน สมองพิการ ปัญญาอ่อน ฯลฯ ไม่เช่นนั้นก็เป็นเด็กที่น่าเวทนา มารดาคลอดทิ้งไว้ตามโรงพยาบาล ต้องไปอยู่ในสถานเลี้ยงเด็กกำพร้า ว้าเหว่ขาดแม่ขาดพ่อน่าสงสารเป็นที่ยิ่ง เพราะฉะนั้น ผู้ที่โชคดี ไม่เป็นอย่างนี้ จึงไม่ควรมัวเมา ควรฟังธรรมของบัณฑิต จะได้รู้จักว่า “ นี้บุญ, บุญเป็นอย่างนี้ ” และว่า “ นี้บาป, บาปเป็นอย่างนี้ ” ดังนี้ ด้วยปัญญาที่เกิดจากการฟังนั้น ไม่ใช่สักแต่เชื่อว่าเป็นบุญ เป็นบาป อย่างที่ว่าตาม ๆ กันมาเท่านั้น

เพราะเรื่องบุญเรื่องบาปเป็นเรื่องลึกซึ้ง มีเหตุผลให้ตัดสินใจว่าเป็นบุญเป็นบาปที่ตรงไหน อย่างไร ได้ปัญญาแล้วก็จะได้เว้นจากบาป ประพฤติแต่บุญ เท่านั้น อย่ามัวแต่เพลิน เวลามีน้อย ความตายมาถึงเมื่อไรไม่อาจทราบได้ เมื่อถึงเวลานั้น คิดจะทำก็อาจจะสายไป ควรระลึกถึงคำของพระตถาคต ที่ตรัสไว้ว่า “ อปฺปมิทํ ภิกฺขเว มนุสฺสานํ อายุ ” เป็นต้น ซึ่งความเต็มแปลว่า “ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย อายุของพวกมนุษย์ทั้งหลายที่น้อย โลกหน้าก็ยังต้องไป จึงควรทำกุศล ควรประพฤติพรหมจรรย์ การที่คนเราเกิดมาแล้วไม่ตาย ไม่มี ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดเป็นอยู่ได้ยืนนาน ผู้นั้นย่อมเป็นอยู่ได้สัก ๑๐๐ ปี หรือยิ่งกว่าก็นิดหน่อย ” ดังนี้อยู่เนือง ๆ เถิด แล้วจะถึงความเจริญงอกงามอยู่ในกุศล เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ชื่อว่าได้ทำตนสมควรต่อการที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ทั้งยังชื่อว่าปฏิบัติเพื่อการได้ซึ่งสิ่งที่ได้แสนยาก คือความเป็นมนุษย์นั่นเทียว ในภพต่อ ๆ ไปอีก
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 11 มิถุนายน 2553 04:16:58 »




ชีวิต (ความเป็นอยู่) ของสัตว์ทั้งหลายเป็นเรื่องยาก อย่างไร ?

ไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงชีวิตที่ลำบากแสนสาหัสของสัตว์ในอบายหรอก แม้ชีวิตของสัตว์ในสุคติ คือมนุษย์นี้ ก็เป็นเรื่องยาก เราได้ความเป็นมนุษย์อันเป็นเรื่องยากอย่างแรก แล้วเราก็ยังประสบเรื่องยากอย่างอื่นต่อไปอีก หลีกเลี่ยงไม่ได้เลย นั่นก็คือชีวิตความเป็นอยู่ของเรา นั่นเอง ตั้งแต่ยังอยู่ในท้องมารดาเลยเทียว คือการที่ค่อย ๆ เจริญเติบโตมาตามลำดับ จับตั้งแต่เป็นกลุ่มละอองเล็ก ๆ จนกระทั่งเป็นก้อนเนื้อ แล้วก็ปรากฏเป็นอวัยวะ ศีรษะ แขน ขา งอกเงยออกมา เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ อย่างนี้ว่า “ ปฐมํ กลลํ โหติ กลลา โหติ อพฺพุทํ ” เป็นต้น

ความเต็มแปลว่า :

แรกเกิดเป็นกลละ ต่อจากลละเป็นอัพพุทะต่อจากอัพพุทะก็เกิดเปสิ ต่อจากเปสิก็บังเกิดฆนะ ต่อจากฆนะก็เกิดปัญจสาขา ทั้งผม ขนและเล็บ อนึ่ง มารดาของสัตว์ผู้นั้นบริโภคอาหาร คือข้าวและน้ำอันใด สัตว์ผู้อยู่ในท้องของมารดานั้น ย่อมเป็นไปในท้องมารดานั้นด้วยอาหารที่มารดาบริโภคนั้น

ดังนี้

ในคำพูดเหล่านี้ คำว่า กลละ ได้แก่กลุ่มรูปที่เป็นเพียงละอองน้ำใส ๆ มีประมาณเท่าน้ำมันงาใสอันเปื้อนอยู่ที่ปลายขนแกะ ต่อมามีปริมาณมากขึ้นและขุ่นขึ้น มีสีเหมือนน้ำล้างเนื้อ เรียกว่า อัพพุทะ (บางแห่งเป็น “ อัมพุทะ ” ) ส่วน เปสิ เป็นกลุ่มรูปที่เติบโต เจริญต่อมาจากอัพพุทะ แข็งตัวเป็นวุ้นเป็นชิ้นขึ้น มักเรียกว่า ก้อนเลือด เจริญเติบโตจากเปสินั้นมาอีกทีจนเป็นก้อนเนื้อ ตอนนี้ เรียกว่า ฆนะ ภายหลังต่อมา สาขา ๕ คือมือ ๒ เท้า ๒ ศีรษะ ๑ ก็ปรากฏขึ้น มีผม ขน และเล็บ ติดตามมา เป็นอยู่ด้วยอาหารที่มารดากลืนกินซึมซาบเข้าไปในกลุ่มรูปเหล่านี้ จนกระทั่งส่งไปทางสายสะดือ จนกว่าจะคลอดจากครรภ์

ลำดับความเป็นไปในครรภ์เป็นอย่างนี้ก็จริงแต่ก็ไม่ใช่ว่ามีลำดับเป็นไปด้วยดีจนคลอดออกมาด้วยดีทุกคน หากว่าครรภ์นั้นได้การบริหารที่ไม่ดี หรือเกิดอุปสรรค เกิดอุปัททวอันตราย อย่างใดอย่างหนึ่งเข้ามากล้ำกราย ชีวิตของสัตว์ผู้อยู่ในครรภ์ก็ต้องวิบัติไปฉับพลัน บางคนได้ความเป็นกลละเท่านั้น ยังไม่ถึงความเป็นอัพพุทะเลย ก็วิบัติไปเสียก่อนแล้ว บางคนถึงความเป็นอัพพุทะแล้ว ยังไม่ถึงความเป็นเปสิเลย ก็วิบัติไปเสียก่อน อย่างนี้เป็นต้น บางคนครบองค์ประกอบทุกอย่าง แต่ว่าอยู่ได้เพียงวันเดียวก็วิบัติ บางคนอยู่มาได้ถึง ๗ วันก็วิบัติ บางคนก็เดือนหนึ่ง บางคนก็หลายเดือนมาก กว่านั้น

ระหว่างที่อยู่ในครรภ์นี้ ผู้เป็นมารดาต้องคอยบริหาร ระมัดระวังอิริยาบถ อย่าให้ล้ม อย่าให้ลื่นเลือกสรรของกินของดื่ม เฉพาะที่เห็นเหมาะแก่ครรภ์ ถึงกระนั้น โอกาสที่มาพลั้งพลาด เกิดความวิบัติตอนคลอดก็มีได้อีก อย่างนี้เป็นต้น คลอดออกมาได้ก็ต้องเป็นอยู่อย่างที่ไม่อาจช่วยเหลือตนเองได้ จำต้องพึ่งพาอาศัยผู้อื่น อาศัยน้ำนมมารดาเลี้ยงชีวิตตน อาศัยคนอื่นช่วยป้อนข้าวป้อนน้ำ ชีวิตอยู่ในกำมือของผู้อื่นสิ้นเชิง เขาทำให้ด้วยดี ด้วยจิตเมตตา เอื้ออาทร ก็สวัสดีไป ถ้าเขาทำให้อย่างหาความเยื่อใยมิได้ ก็ต้องประสบความหายนะ ความวิบัติตั้งแต่เด็ก ไม่อยู่ในฐานะที่จะป้องกันตนเอง จากการกระทำที่ทารุณของคนอื่นได้เลย

พ้นระยะเวลานี้มา ถ้ามารดาบิดามิได้เยื่อใยหวังดีนัก หรือว่าเยื่อใยนั่นแหละ แต่ไม่อยู่ในฐานะที่จะสนับสนุน ส่งเสริมให้ได้รับโอกาสที่ดี โดยเฉพาะการศึกษาศิลปะวิทยาทั้งหลาย เพื่อประโยชน์แก่การหาเลี้ยงชีพที่สะดวกสบายในอนาคตต่อไป ก็จะต้องกลายเป็นเด็กไร้การศึกษา คบเพื่อนเลวทราม เที่ยวเร่ร่อนขอเขากิน อดอยากขาดแคลนมากเข้าก็อาจประพฤติชั่ว ขโมยข้าวของของผู้อื่น ถึงความเป็นอาชญากร หรือไม่ก็ถูกผู้ใหญ่ชั่วบางคนฉวยโอกาสสั่งสอนให้ประพฤติทุจริตต่าง ๆ เพื่อประโยชน์แก่ตน ด้วยค่าจ้างเพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ เป็นที่รังเกียจในสังคมในที่สุด ก็อาจต้องไปจบชีวิตในคุกตะราง หรือไม่ก็ถูกเขาฆ่าตาย ถ้ามารดาบิดามีที่มีทาง มีไร่มีนา ก็อาจจะพอเอาตัวรอดได้ด้วยที่ทางไร่นาที่ได้รับมอบนั้น แม้คนที่โชคดีกว่านั้น มารดาบิดามีฐานะพอที่จะอุปถัมภ์ค้ำจุน ส่งเสียให้ได้รับการศึกษาด้วยดี ก็ต้องมีภาระเกี่ยวกับการเรียนการศึกษาของตน


พวกมนุษย์ทั่วไปที่ไม่ใช่พระราชา หรือมิได้มีฐานะเท่าเทียมพระราชา ท่านเรียกว่า อุฏฐานผลูปชีวี แปลว่า พวกเลี้ยงชีพด้วยผลแห่งความหมั่นเพียร หมายความว่า จะมีกินมีใช้ ต้องใช้ความเพียรพยายามในการประกอบอาชีพ เริ่มตั้งแต่การศึกษาเล่าเรียนนั่นเทียว เพราะฉะนั้น ก็ต้องมีภาระเกี่ยวกับการเรียนการศึกษาของตน ต้องสนใจทบทวนบทเรียน เพื่อการสอบผ่านไปได้แต่ละชั้น บางคนก็พลาดหวัง บางคนก็สมหวัง ได้รับการยอมรับในการเข้าประกอบอาชีพนั้น ๆ เป็นแพทย์ เป็นวิศวกร เป็นข้าราชการ นักธุรกิจ อันเป็นอาชีพที่สะดวกสบายด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกสบายต่าง ๆ หรือเป็นอาชีพที่มีเกียรติ ต้องแข่งขันชิงเด่นชิงดีกันในระหว่างเพื่อนร่วมงาน เพื่อเกียรติ หรือตำแหน่งที่สูง ๆ ขึ้นไป คนที่ได้ก็ถูกริษยา ถูกอาฆาต คนที่ไม่ได้ก็โทมนัส เสียใจ ถูกคนทั้งหลายเยาะเย้ย ถากถาง เปิดช่องให้ก่อเวร ใจก็ฝักใฝ่อยู่แต่เรื่องได้ ไม่ได้ เกี่ยวกับเงินทอง เกียรติยศ ตำแหน่ง อยู่ตลอดเวลา จนไม่ได้โอกาสแม้สักแวบเดียว ในอันจะเฉลียวถึงสิ่งที่เป็นสาระอย่างอื่น เวลาแทบตลอดทั้งชีวิตหมดไปกับการดิ้นรน แสวงหาในสิ่งที่อยากได้ และภาระเกี่ยวกับการคอยตามรักษาสิ่งที่ได้มาแล้ว โอกาสที่จะเกิดความฉุกใจ ความเฉลียวใจ ว่าตนดำเนินชีวิตอย่างนี้ นับว่าเป็นสาระแล้วหรือไม่ ก็มีได้ยาก
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: 11 มิถุนายน 2553 05:17:15 »



อีกอย่างหนึ่ง แม้จะไม่กล่าวถึงภาระหนักเกี่ยวกับความดิ้นรนประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเป็นต้น อย่างที่กล่าวนั้น ก็ย่อมเห็นได้ว่า สักว่าเกิดมา ได้ชีวิตมาเท่านั้น ก็ย่อมพบกับความยากลำบากที่มีติดตัวมาตั้งแต่เกิด โดยเป็นธรรมชาติ เป็นทุกข์ที่เป็นสาธารณะมีเท่าเทียมกันแก่คนที่เกิดมา ไม่ว่าจะเป็นคนมีบุญมากหรือมีบุญน้อย ไม่ว่าจะเป็นคนมั่งคั่งร่ำรวย หรือว่ายากจน ไม่ว่าจะเป็นผู้ดี หรือไพร่ กฏมพี เพราะว่าชีวิตของคนเราที่เกิดมานี้ทุกคน ย่อมเป็นไปเนื่องอยู่กับปัจจัยที่หมิ่นเหม่ พร้อมที่จะวิบัติ เหล่านี้ คือ :

๑. เนื่องอยู่กับลมหายใจเข้า-ออก หมายความว่า ต้องมีการหายใจเข้า หายใจออก อยู่สม่ำเสมอเท่านั้น ชีวิตนี้จึงจะตั้งอยู่ได้ ถ้าหากว่า คราวนั้นลมที่เข้าไปแล้วนั้นไม่ออกมา ก็ดี หรือที่ออกมาแล้ว ไม่กลับเข้าไปก็ดี ก็เป็นอันว่า ชีวิตนี้ย่อมถึงความวิบัติเหตุการณ์เช่นนี้ก็มีปรากฏอยู่ แต่เพราะเหตุที่เราหายใจเข้า หายใจออก ซึ่งได้สม่ำเสมอ เป็นปรกติเราก็ลืมสำเหนียกความจริงข้อนี้ไป ก็เป็นเหตุให้หลงระเริงกันอยู่

๒. เนื่องอยู่กับอิริยาบถที่เป็นไปสม่ำเสมอสมดุล จึงต้องคอยผลัดเปลี่ยนอิริยาบถให้เหมาะสมอยู่เสมอ ใช้อิริยาบถใดอิริยาบถหนึ่งนานเกินไปตรากตรำเกินไป ร่างกายไม่ได้รับการบริหารที่ดี เลือดลมเดินได้ไม่สะดวก ก็ย่อมเป็นเหตุให้ชีวิตตั้งอยู่ได้ไม่นาน ร่างกายอ่อนแอ ไม่แข็งแรง เป็นคนมีอายุสั้น

๓. เนื่องอยู่กับความเย็นความร้อน คือต้องคอยระวัง ไม่ให้ร่างกายนี้เย็นเกินไปหรือร้อนเกินไปข่าวเกี่ยวกับว่า มีคนพลัดหลงอยู่ในแดนหิมะ ถูกความหนาวเย็นครอบงำเอาจนตาย ก็ปรากฏอยู่พลัดหลงอยู่ในทะเลทราย ถูกความร้อนแผดเผาเอาจนตาย ก็ปรากฏอยู่ถึงกระนั้น แม้มีชีวิตอยู่ตามปกติมิได้ตกไปในสถานที่มีอันตรายเช่นนั้น ก็ไม่ใช่จะประสบความสวัสดีเกี่ยวกับเรื่องนี้แน่นอนเสียทีเดียว เพราะว่าต้องคอยระมัดระวังไม่ให้ร่างกายกระทบเย็นเกินไป กระทบร้อนเกินไป อยู่เสมอ จึงจะเกิดความสวัสดีได้ คือจะต้องทำร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอนั่นเอง ไม่เช่นนั้นก็จะเกิดความเจ็บไข้ได้ป่วยขึ้น ต้องมีภาระเกี่ยวกับการพยาบาลรักษาโรคติดตามมาอีก

๔. เนื่องอยู่กับความสม่ำเสมอสมดุลกันแห่งธาตุ ๔ คือ ธาตุดิน ธาตุไฟ และธาตุลม ในร่างกาย

ในคำสอนทางศาสนา ท่านบอกว่า กายนี้เป็นที่ประชุมแห่งธาตุ ๔ ซึ่งเป็นธาตุที่หาความกตัญญูมิได้
มีร่างกายไว้ให้เป็นภาระดูแล ก็เหมือนมีอสรพิษ ๔ ตระกูล ซึ่งเป็นสัตว์ไร้ความกตัญญู ไว้ให้ดูแล ได้แก่

ตระกูลงูปากไม้ ๑ ตระกูลงูปากเน่า ๑ ตระกูลงูปากไฟ ๑ ตระกูลงูปากศาสตรา ๑ คนผู้ดูแลอสรพิษ ๔ ตระกูลเหล่านี้

แม้ว่าจะเอาใจใส่เยื่อใยอาทรแค่ไหนเพียงไร อสรพิษเหล่านี้ก็หาได้ซาบซึ้งในน้ำใจ แล้วเกิดความกตัญญูไม่
ขึ้งโกรธขึ้นมา ก็ฉกกัดเอาได้ทันที ถ้าหากว่าถูกงูปากไม้กัดเอา ร่างกายแทบทุกส่วนก็แข็งทื่อไปราวกะเป็นท่อนไม้

ถ้าหากว่า ถูกงูปากเน่ากัดเอา ร่างกายก็จะเกิดแฉะชื้นที่ส่วนนั้นส่วนนี้เป็นแผลเน่า
ถ้าหากว่า ถูกงูปากไฟกัดเอา ร่างกายแทบทุกส่วนก็ร้อนเร่า ราวกะถูกเผาอยู่ข้างใน เกิดเป็นไข้ตัวร้อนจัด

ถ้าหากว่าถูกงูปากศาสตรากัดเอา ข้อต่อเส้นเอ็นทั้งหลายในกายก็เป็นเหมือนถูกบั่น ถูกตัดขาดไปสิ้น
ขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวร่างกายแทบไม่ได้เอาเลยเทียว

อสรพิษเหล่านี้ทุกตระกูล ล้วนอาจทำให้ถึงตายได้ ข้อนี้ฉันใด, ธาตุ ๔ ในกายก็ฉันนั้น เมื่อธาตุดินกำเริบ ธาตุนอกนี้อ่อนไป ร่างกายก็แข้งทื่อ มีอาการเหมือนถูกงูปากไม้กัด, เมื่อธาตุน้ำกำเริบร่างกายก็แฉะชื้น เป็นแผลเปื่อยเน่า มีอาการเหมือนถูกงูปากเน่ากัด, เมื่อธาตุไฟกำเริบ ร่างกายก็เร่าร้อนเป็นไข้ตัวร้อน มีอาการเหมือนถูกงูปากไฟกัด เมื่อธาตุลมกำเริบ ร่างกายก็เป็นเหมือนไม่มีข้อต่อเส้นเอ็น มีอาการเหมือนถูกงูปากศาสตรากัด

ความกำเริบแห่งธาตุเหล่านี้ ล้วนอาจทำให้ถึงตายได้ เป็นของอกตัญญูแน่นอน โดยเกี่ยวกับว่า เราประคบประหงมอย่างดีแค่ไหนเพียงไร ไม่ว่าด้านการให้ที่อยู่ที่อาศัย ที่บังแดด บังฝน กันร้อนกันหนาวได้เป็นอย่างดี ให้เสื้อผ้าไว้สร้างความอบอุ่น เลือกสรรอาหารให้ได้รับประทานทุกมื้อ แทบจะไม่เคยปล่อยให้หิว อย่างนี้เป็นต้น ก็ยังคอยจ้องหาโอกาสทำร้ายโดยเฉพาะคราวเผลอ เผลอเดินตากแดดหน่อยหนึ่งเท่านั้น ก็เกิดตัวร้อนเป็นไข้ เผลอเดินตากฝนหน่อยก็เป็นหวัดน้ำมูกไหล เป็นต้น อย่างไม่เคยคำนึงคุณถึงอุปการะที่มีมามากมายก่อนหน้านั้นเลย อย่างนี้แล

๕. เนื่องอยู่กับอาหาร คือต้องได้อาหารบริโภคตามกาลอันควร ประจำสม่ำเสมอเท่านั้น ชีวิตนี้จึงจะเป็นอันตั้งอยู่ได้ แต่ว่า แม้ว่าได้อาหารตามกาลที่ว่านั้นแล้ว การบริโภคมากเกินไป ก็เป็นโทษ การบริโภคน้อยเกินไป ก็เป็นโทษ อนึ่ง ต้องระวังอาหารที่บูด เสีย หรือไม่สะอาด ซึ่งเป็นโทษโดยประการทั้งปวง ถ้ามีโอกาสเลือกได้ ก็ต้องมีภาระเกี่ยวกับการพิจารณาคุณค่าของอาหารที่ควรได้ ขาดสารอาหารบางอย่างที่ร่างกายต้องการติดต่อกันนานไป ก็อาจทำให้เป็นคนอ่อนแอ ปวกเปียก เกิดโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ได้ง่าย หรือแม้อวัยวะบางอย่างในร่างกายต้องถึงความพิกลพิการไป เช่น ตาบอด ง่อยเปลี้ย เป็นต้น รวมทั้งบั่นทอนอายุให้เป็นคนมีอายุสั้น ก็แต่ว่า เพราะเหตุที่ในเวลารับประทานอาหาร คนส่วนมากจะเพ่งแต่รสชาติ ความเอร็ดอร่อยที่ถึงได้จากอาหารเป็นสำคัญ เพราะฉะนั้น จึงลืมสำเหนียกเรื่องยากของชีวิต ที่เป็นภาวะเกี่ยวกับการคอยค้ำจุนด้วยอาหารนี้

ก็เพราะเหตุที่ชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย เนื่องอยู่กับปัจจัยที่เปราะบาง หมิ่นเหม่ ๕ อย่าง ตกอยู่ใต้อำนาจความเป็นไปของปัจจัย ๕ อย่าง เหล่านี้ แลชีวิตคือความเป็นอยู่ของสัตว์ทั้งหลายนี้ จึงนับว่าเป็นเรื่องยาก คือเป็นของที่ได้มาแล้วก็เป็นภาระ เกี่ยวกับการบริหารให้ตั้งอยู่ด้วยดี ได้ยากนั่นเอง

เพราะฉะนั้น นักปราชญ์ทั้งหลาย ท่านได้มองเห็นสัจจะแห่งชีวิตตามประการที่กล่าวมาทั้งหมดนี้แล้วท่านจึงไม่ประมาทในความเป็นอยู่ของท่าน แสวงหาอยู่แต่หนทางหลุดพ้นจากชีวิตอันแสนยาก หาสาระมิได้นี้
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #5 เมื่อ: 11 มิถุนายน 2553 06:44:19 »





การฟังพระสัทธรรมเป็นเรื่องยาก อย่างไร ?

ก่อนอื่น อะไรชื่อว่า พระสัทธรรม คำว่า “ สัทธรรม ” แปลว่า “ ธรรมของสัตบุรุษ ” ก็ใครล่ะ คือสัตบุรุษ สัตบุรุษ แปลว่า บุรุษผู้สงบ คือสงบบาป สงบทุจริต ทั้งหลายทั้งปวง เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ บัณฑิต ” แปลว่า ผู้ดำเนินไปด้วยปัญญา หมายความว่า ยังชีวิตให้ดำเนินไปด้วยใช้ปัญญาพิจารณา นั่นเอง

ธรรมของสัตบุรุษ คืออะไร ? คือ โอวาท คำแนะนำตักเตือนเกี่ยวกับว่า นี้ควรทำ เพราะนำมาซึ่งประโยชน์เกื้อกูล นี้ไม่ควรทำ เพราะนำมาซึ่งความทุกข์ความเดือดร้อน ท่านจงมีความเพียรในการทำกุศล ในการประพฤติพรหมจรรย์เถิด อย่าได้ทอดทิ้งความเพียร ถึงความเป็นคนเกียจคร้านเลย อย่างนี้เป็นต้น และ อนุศาสนี คือคำพร่ำสอน เพื่อให้เกิดปัญญามองเห็นเหตุเห็นผลในสัจธรรมทั้งหลายว่า นี้คือสติ สติเป็นอย่างนี้ นี้คือปัญญา ปัญญาเป็นอย่างนี้ สติปัฏฐาน ๔ เป็นอย่างนี้ โพชฌงค์ ๗ เป็นอย่างนี้ อริยสัจ ๔ เป็นอย่างนี้ เป็นต้น อันจะเป็นประโยชน์แก่การปฏิบัติ เพื่อประโยชน์ทั้ง ๓ คือประโยชน์ในโลกนี้ เกี่ยวกับความสุขความสวัสดี ที่พึงได้รับในโลกนี้ ประโยชน์ในโลกหน้า เกี่ยวกับความสุขความสวัสดี ที่พึงได้รับในโลกหน้าหลังตาย และประโยชน์อย่างยิ่ง คือพระนิพพาน ธรรมที่ดับทุกข์

ก็ธรรมที่ผู้รู้ทั้งหลายอนุศาสน์ไว้ คนทั้งหลายศรัทธานับคือแล้วปฏิบัติตาม สามารถบันดาลความสุขความสำเร็จให้แก่คนที่ประพฤติปฏิบัติตามนั้น มีอยู่ทุกยุคทุกสมัย ก็จริงอยู่ แต่ว่าธรรมเหล่านั้นจะได้ชื่อว่าเป็นสัทธรรม คือธรรมของสัตบุรุษไปเสียทั้งนั้น ก็หาไม่ ถ้าไม่มีลักษณะกล่อมเกลาอัธยาศัยให้ประณีตยิ่ง ๆ ขึ้นไป จนแม้อาจบรรลุถึงได้โลกุตตรธรรมทั้งหลายได้ ก็ยังไม่ชื่อว่าสัทธรรม ธรรมของสัตบุรุษมิได้เป็นไปเพื่อประโยชน์ในโลกนี้เท่านั้น ทว่ายังใช้เป็นทางสวัสดีสำหรับโลกหน้าด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป็นเครื่องกล่อมเกลาอัธยาศัยให้ประณีตควรแก่การได้บรรลุโลกุตตธรรม ในกาลภายภาคหน้า เพราะฉะนั้น ธรรมของท่านจึงเป็นของประณีตละเอียดอ่อน ทวนกระแสทิฏฐิ ทวนกระแสตัณหาเป็นของลึกซึ้ง ควรแก่การใช้ปัญญา ท่านผู้เป็นสัตบุรุษย่อมนิยมประกาศธรรมที่สร้างความเป็นสัตบุรุษเช่นเดียวกับท่าน เพราะฉะนั้น จึงมิได้มีอยู่ดาดดื่นทุกยุคทุกสมัยเลย

ก็พระสัมมาสัมพุทธเจ้านั่นเทียว ทรงเป็นยอดแห่งสัตบุรุษทั้งหลายทั้งปวง เพราะฉะนั้น ก็ไม่ควรจะต้องกล่าวให้มากความเลยเทียว ว่าโดยประการทั้งปวง พระศาสนาคือคำสอนทั้งสิ้นของพระองค์นั่นเอง คือพระสัทธรรม แม้ว่าพระองค์จะทรงล่วงลับดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้ว ท่านสัตบุรุษทั้งหลาย ผู้เป็นสาวกของพระองค์ เล็งเห็นคุณค่าความประเสริฐในคำสอนนี้แล้ว ก็ช่วยกันรักษาเผยแผ่ สืบต่อกันมาจนถึงทุกวันนี้
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #6 เมื่อ: 11 มิถุนายน 2553 07:09:29 »



ก็แต่ว่า การฟังพระสัทธรรมนั้น เป็นเรื่องยากแท้ เพราะประกอบด้วยเหตุที่เป็นอุปสรรคหลายอย่าง ดังต่อไปนี้ คือ :

๑. เพราะพระสัทธรรมเองเกิดได้ยาก โดยเกี่ยวกับการที่ทีแรกพระศาสดาตรัสรู้แล้ว ทรงพิจารณาเห็นว่า เป็นของลึกซึ้ง ที่ผู้มีกิเลสหนา มีปัญญาน้อยทั้งหลายมากมายทั่ว ๆ ไป เข้าถึงยาก ไม่อาจจะหยั่งรู้ตามได้ ทรงเห็นอย่างนี้แล้ว ก็ทรงเกิดท้อพระทัย ไม่ขวนขวายในอันจะแสดงธรรม เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ด้วยพระองค์เอง ว่า : “ กิจฺเฉน เม อธิคตํ หลนฺทานิ ปกาสิตุ ” เป็นต้น ซึ่งความเต็มแปลว่า :

“ บัดนี้ พอกันที ที่จะประกาศธรรมที่เราบรรลุได้โดยยาก ธรรมนี้มิใช่สิ่งที่สัตว์ผู้ถูกราคะ โทสะ ครอบงำ จะรู้ได้ง่ายเลย สัตว์ทั้งหลายผู้ถูกราคะย้อมใจ ถูกกองความมืดห่อหุ้มไว้ย่อมมองไม่เห็นธรรมที่ไปทวนกระแส ที่ละเอียด ลึกซึ้ง ที่เห็นได้แสนยาก ที่ประณีต นี้ได้หรอก ”

ดังนี้. เป็นเหตุให้ท่านท้าวมหาพรหม ทราบพระดำริจะไม่แสดงธรรมของพระองค์แล้ว ก็เกิดพระทัยสั่นไหวด้วยกรุณา เกรงไปว่า สัตว์ผู้มีกิเลสน้อย มีปัญญามาก ซึ่งพอจะมีอยู่บ้าง ไม่ได้ฟังธรรม เพราะพระพุทธเจ้าไม่ทรงแสดง ก็จะพลาดจากประโยชน์ไปเสีย จึงเสด็จลงมาจากพรหมโลก ทูลขอร้องให้ทรงกลับพระทัยใคร่แสดงธรรมอีก พระพุทธเจ้าผู้มีน้ำพระทัยกรุณาต่อสัตว์ทั้งหลายอยู่ก่อนแล้ว เมื่อท่านท้าวมหาพรหมมาทูลขอร้องอย่างนั้น พระมหากรุณาของพระองค์ก็ลุกโพลงขึ้นอีกครั้ง ทรงยอมรับคำทูลขอร้องของท่านท้าวมหาพรหม ต่อจากนั้น ก็เสร็จจาริกไปข้างนั้น ข้างนี้ เพื่อโปรดสัตว์ พระสัทธรรมก็ปรากฏขึ้นมาในโลก เป็นอันว่า พระสัทธรรมที่มีความดีงาม สมบูรณ์โดยอาการทั้งปวงนี้ จะมีก็ต่อเมื่อมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอุบัติในโลก แล้วประกาศให้ทราบเท่านั้น ซึ่งโอกาสนี้ มีได้ยากนักหนา..

๒. เพราะเหตุที่คนส่วนมากมีกิเลสมาก มีปัญญาน้อย ไม่อาจรองรับพระสัทธรรมส่วนที่ประณีตสุขุมนี้ได้ คนที่มีกิเลสน้อย มีปัญญามาก ที่แสวงหาอยู่เท่านั้น ได้ฟังแล้วรองรับไว้ได้ เพราะฉะนั้นพระสัทธรรมนี้ จึงกล่าวได้ว่า คนส่วนน้อยเท่านั้นที่ช่วยกันรักษาอยู่ จึงไม่ปรากฏแพร่ หลายทั่วไป เมื่อเกิดมีคนใคร่ดีต้องการจะฟัง ก็ไม่ทราบว่าจะไปหาฟังได้ที่ไหน ต้องไปฟังจากใคร นี่คือความเป็นเรื่องยากอีกประการหนึ่ง

๓. เนื่องจากเข้ายุคเข้าสมัยที่นับว่าเป็นกาลวิบัติผู้คนมีจิตใจค่อย ๆ โอนลาดไปทางต่ำเรื่อย ๆ หมกมุ่นอยู่แต่วัตถุ เครื่องมอมเมาจิตใจทั้งหลาย มักมากใคร่ได้ ไม่รู้จักพอ ทำโดยประการต่าง ๆ ที่เห็นว่าจะเป็นเหตุให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ตนต้องการ ไม่คำนึงว่าสุจริตหรือทุจริต เพราะฉะนั้น อย่าว่าแต่จะฟังพระสัทธรรมอันมีเนื้อหาสาระทวนกระแสกิเลสเลย แม้แต่ความคิดจะฟังก็ไม่เกิดขึ้น แม้พวกที่ดีกว่านี้หน่อย มีผู้มาชี้แนะประโยชน์ของการฟังธรรมให้รับทราบ เกิดเห็นดีเห็นงามขึ้นมาบ้าง ก็ไม่ถึงกับให้ความสำคัญจริงจังอะไรนัก ยังมีเรื่องอื่นอีกมากมายที่เขาเห็นว่าสำคัญกว่า ต้องเป็นเวลาว่าง ไม่มีกิจอะไร ๆ จะให้ทำเลย เท่านั้น จึงใช้เวลาในคราวนั้นฟังธรรม ฟังบ้าง ไม่ฟังบ้าง ไม่มีการฟังอย่างเคารพหนักแน่น ไม่มีการฟังติดต่อพอมีเรื่องที่เห็นว่าน่าสนใจอย่างอื่นเกิดขึ้น ทั้ง ๆ ที่ไม่มีสาระประโยชน์ เพียงแต่เป็นเรื่องที่ตนชอบใจมากกว่าเท่านั้น ก็ย่อมทิ้งการฟังได้ฉับพลัน หากมีผู้ท้วงติงเกี่ยวกับการไม่ไปฟังธรรม คนพวกนี้จะกล่าวอ้างเพียงเท่านี้ว่า “ ยังไม่มีเวลา ” ที่ว่ามานี้ ก็เป็นเหตุผลอีกข้อหนึ่ง ที่แสดงว่าการฟังพระสัทธรรม เป็นเรื่องยาก.

๔. การฟังพระสัทธรรมนั้น เป็นเรื่องยากแน่ในสมัยนี้ เพราะผู้แสดงพระสัทธรรมที่แท้จริงนั้น หาได้ยากนัก พระสัทธรรมที่แท้จริงยังไม่เลือนหายเสียทีเดียว เกี่ยวกับว่า ยังมีตำรา (พระไตรปิฎก) ให้ได้เรียนได้ศึกษา ทั้งผู้รู้ที่พอจะแนะนำได้ ก็ยังพอมีอยู่ก็จริงอยู่ แต่ผู้แสดงที่เป็นสัตบุรุษ หรือประพฤติเยี่ยงอย่างสัตบุรุษนั้นแสนหายาก ส่วนมากมีแต่ผู้ที่มักมากอยากได้ลาภสักการ เงินทอง ชื่อเสียงเกียรติยศ อาศัยความมักมากอยากได้ เรียนธรรมของสัตบุรุษแล้วไปเผยแผ่แก่คนทั้งหลาย เพื่อประโยชน์แก่สิ่งที่ตนต้องการ เมื่อเป็นเช่นนี้ ธรรมเทศนานั้น ก็ไม่บริสุทธิ์ คำพูด ความหมาย ถูกบิดเบือนไปจากประการที่พระพุทธเจ้าทรงประสงค์ เพียงเพื่อให้คนฟังชอบอกชอบใจ เกิดความนับถือเลื่อมใส แล้วน้อมนำลาภสักการทั้งหลายมาให้ หรือเพื่อตนจะได้มีชื่อเสียงเด่นดังว่าเป็นผู้รู้ เป็นนักปราชญ์ทางศาสนา พระสัทธรรมส่วนที่ประเสริฐพิเศษ ที่ควรแก่การเทิดทูนยกย่องบูชา ที่ทราบกันมาว่าเป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าบำเพ็ญพระบารมีมาแสนนานจึงตรัสรู้ แล้วได้สำเร็จความเป็นพระพุทธเจ้า ก็กล้าบิดเบือนให้เป็นของต่ำต้อยเล็กน้อย รู้กันได้ทั่วไป อย่างหาความสำนึกรับผิดชอบมิได้

เป็นความจริงว่า อริยสัจ ๔ เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงใช้เวลาบำเพ็ญพระบารมี แสนนานยิ่งหลายภพ หลายชาติ ไม่อาจจะนับได้ จึงได้ตรัสรู้ ตรัสรู้แล้วก็ได้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระพุทธเจ้าแล้วประกาศพระธรรม คนทั้งหลาย โดยเฉพาะพระสงฆ์สาวกของพระองค์ ประพฤติปฏิบัติตามที่ทรงอนุศาสน์ ท่านเหล่านั้นก็เกิดปัญญา ตรัสรู้อริยสัจ ๔ เหมือนอย่างพระองค์ ก็ถ้าหาก ว่า ไม่มีการตรัสรู้อริยสัจ ๔ ทั้งพระองค์ ทั้งคนอื่นทั้งหลาย ก็ย่อมแล่นไป ท่องเที่ยวไปในสังสารวัฎ เวียนว่ายตายเกิดไม่รู้จักจบสิ้น เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า “ จตุนฺนํ ภิกฺขเว อริยสจฺจานํ อนนุโพธา, อปฺปฏิเวธา, เอวมิทํ ทีฆมทฺธานํ สนฺธาวิตํ สํสริตํ มมญฺเจว ตุมฺหากญฺจ ”

แปลว่า “ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ทั้งเราทั้งพวกเธอ มีอันต้องแล่นไป ท่องเที่ยวไปแล้ว ตลอดกาลนานนี้อย่างนี้ ก็เพราะไม่ตรัสรู้ ไม่แทงตลอดอริยสัจ ๔ ” ดังนี้ เป็นข้อความที่ชี้ชัด ว่าการตรัสรู้อริยสัจ ๔ นั้น เป็นเหตุหยุดยั้งสังสารวัฎ ความเวียนว่ายตายเกิดในพระเทศนาเกี่ยวกับอริยสัจ ๔ นั้น ทรงแสดงชัดเจนว่า อริยสัจ แต่ละข้อนั้น คืออะไร อย่างนี้ ว่า

“ ชาติปิ ทุกฺขา ” - แม้ชาติ (ความเกิด) ก็เป็นทุกข์,
ชราปิ ทุกฺขา - แม้ชรา (ความแก่) ก็เป็นทุกข์,

พยาธิปิ ทุกฺขา - แม้พยาธิ (ความเจ็บไข้ได้ป่วย) ก็เป็นทุกข์,
มรณมฺปิ ทุกฺขํ - แม้มรณะ (ความตาย) ก็เป็นทุกข์ ” เป็นต้น

นี้คือทุกขอริยสัจ เรียกสั้น ๆ ว่า “ ทุกข์ ”
ส่วนทุกขสมุทัยอริยสัจ (เรียกสั้น ๆ ว่า “ สมุทัย ” ) อันเป็นเหตุเกิดขึ้นแห่งทุกข์ นั้น ตรัสว่า ได้แก่ ตัณหา,
ทุกขนิโรธอริยสัจ (เรียกสั้น ๆ ว่า “ นิโรธ ” ) ก็ได้ตรัสไว้แล้ว ว่าคือพระนิพพาน,
และทุกขนิโรธคามินีปทา (เรียกสั้น ๆ ว่า “ มรรค ” ) ก็ได้ตรัสไว้ ว่าได้แก่พระอริยมรรค มีองค์ ๘,
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #7 เมื่อ: 11 มิถุนายน 2553 08:36:33 »



ปรากฏว่า เนื้อหาเกี่ยวกับอริยสัจ ๔ นี้ ถูกบิดเบือนอย่างนี้ว่า ทุกข์ ได้แก่ปัญหา, สมุทัย ได้แก่ เหตุของปัญญา, นิโรธ - ความดับปัญหา, มรรค - วิธีการดับปัญหา, อันผิดไปจากที่ตรัสไว้สิ้นเชิง จะว่าประยุกต์เพื่อให้ฟังง่ายก็ไม่ใช่ เพราะว่าผิดกันเป็นคนละเรื่อง และที่ตรัสไว้นั้น ก็มิได้ฟังยากที่ตรงไหน ฟังง่ายและเห็นชัดดีอยู่แล้ว เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นทุกข์ ใคร ๆ ก็พอมองเห็น นับว่าเป็นอริยสัจ ก็เกี่ยวกับเป็นสัจจะของจริงที่ไม่ผันผวนปรวนแปร เป็นอย่างไรก็เป็นอย่างนั้น ใครเกิดมา คนนั้นก็ต้องพบกับความแก่ ความเจ็บ ความตาย หนีไม่พ้น แต่ถ้าทุกข์ได้แก่ปัญหา ก็จะกลายเป็นว่า ยังไม่มีปัญหาก็ยังไม่มีทุกข์ มีปัญหาจึงมีทุกข์ และปัญหาก็เป็นสิ่งที่คนเราก่อกันขึ้นมาเอง ถ้าไม่ก่อก็ไม่มี ก็หลีกเลียงได้ เมื่อเป็นอย่างนี้ เป็นอริยสัจที่ตรงไหน แม้คำพูดเกี่ยวกับสมุทัยเป็นต้น ก็หาเหตุผลมิได้ ทำนองนี้เหมือนกันอีกอย่างหนึ่ง ปัญหา เหตุของปัญหา เป็นต้น เป็นของมีประจำโลกอยู่แล้ว เป็นของหยาบหาความลึกซึ้งมิได้ เป็นที่รู้กันได้ทั่วไป ไม่ต้องใช้ความพยายาม แต่ว่า อริยสัจ ๔ ที่มีความ สัมพันธ์ เกี่ยวกับว่าเป็นเหตุเป็นผลกัน อย่างนี้ว่า ทุกข์ มีตัณหาเป็นเหตุเกิดจากตัณหา นิโรธ ธรรมที่ดับทุกข์นั้นมีมรรคเป็นเหตุให้ถึง ถึงแล้วดับทุกข์ได้ เพราะการถึงนิโรธเป็นอุบายดับเหตุแห่งทุกข์คือตัณหานั้น ถ้าหากว่า ไม่มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในโลกแล้วประกาศนั้น คนทั้งหลายไม่รู้จัก เป็นของลึกซึ้งนัก ต้องเรียนธรรม ต้องฟังธรรม จึงจะรู้ได้สักส่วนหนึ่ง

อีกอย่างหนึ่ง การไม่รู้ปัญหา ไม่รู้เหตุของปัญหา ตลอดจนไม่สามารถจะดับปัญหาได้นั้น เป็นเหตุให้แล่นไป ท่องเที่ยวไปในสังสารวัฏอย่างไร และการรู้ปัญหา รู้จักเหตุของปัญหา ตลอดจนสามารถดับปัญหาได้นั้น เป็นเหตุให้หยุดสังสารวัฏ หยุดการเวียนว่ายตายเกิดได้อย่างไร มองไม่เห็นเหตุผลเลย อริยสัจที่พระพุทธเจ้าประกาศ ไม่ใช่อย่างนั้น ถ้ายังไม่รู้ ก็จะเป็นเหตุให้เวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏไม่รู้จักจบสิ้น แต่ถ้ารู้ ถ้าแทงตลอด ก็จะหยุดความเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏได้ แล เหตุผลท่านก็แสดงไว้ชัดเจนแล้วในคัมภีร์

อีกเรื่องหนึ่ง มีพระเถระผู้ใหญ่บางท่าน คนทั้งหลายรู้จักท่านในฐานะเป็นผู้รอบรู้ทางพระ พุทธศาสนา ท่านกล่าวอย่างนี้ว่า “ คนไข้ที่นอนป่วยหนักมีคนมาเยี่ยมไข้ ถ้ามีสติระลึกได้ว่า คนที่มาเยี่ยมนั้นเป็นใคร ชื่อไร สตินั้นเป็นสติที่ยอดเยี่ยม นับว่าเป็นสติปัฏฐาน ” , เป็นความจริงว่า สติปัฏฐานที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้นั้น เป็นสติที่ยอดเยี่ยม เกี่ยวกับว่า เป็นข้อปฏิบัติส่วนเบื้องต้น ที่ทำให้เกิดการตรัสรู้อริยสัจ ๔ ในภายหลัง การระลึกได้ว่า คนนี้เป็นใคร ชื่อไร เป็นเหตุให้ตรัสรู้อริยสัจ ๔ ภายหลังได้อย่างไร ความระลึกได้อย่างที่กล่าวนั้น พอจะนับว่าเป็นสติได้ก็จริงอยู่ แต่ก็ต่ำต้อยเกินไป ต่อการที่จะนับว่าเป็นสติปัฏฐาน ทั้งเนื้อหาเกี่ยวกับสติปัฏฐานที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในพระสูตรนั้น ก็ไม่มีส่วนอย่างที่กล่าวนั้นเลย แม้เพียงนิดเดียว ก็เป็นอันว่าเป็นคำพูดเพ้อเจ้อหาสาระมิได้ เพราะ ฉะนั้น เมื่อทำให้ผิดไปจากที่ตรัสไว้อย่างนี้ ก็นับว่าขาดความรับผิดชอบสิ้นเชิง ไม่คำนึงถึงความเสียหายที่จะเกิดขึ้นต่อพระศาสนา

คำพูดคำกล่าวของผู้รู้ ในทำนองดูหมิ่นคำสอนของพระพุทธเจ้า เช่นอย่างที่กล่าวนี้ มีมากทีเดียว ไม่อาจนำมาวิจารณ์ได้หมด คนเหล่านั้นพูดไปแล้ว แสดงไปแล้ว ก็ได้ผลตามที่ตนต้องการ คือคนฟังชอบใจ เพราะฟังง่าย เป็นเรื่องปัจจุบันใกล้ตัว ผู้ฟังฟังแล้วก็เข้าใจว่าเป็นอย่างนั้น แล้วนำไปเผยแพร่ต่อให้กว้างขวางออกไป ก็เป็นอันว่า ผู้ที่พูดที่แสดงอย่างนั้น เป็นผู้สร้างพระสัทธรรมแปลกปลอม ให้เกิดขึ้น ของปลอมย่อมทำง่ายและหาง่าย ระบาดกว้างขวาง ผู้คนไปฟังธรรม ณ ที่ไหน ๆ ส่วนมากจะเจอะเจอแต่พระสัทธรรมแปลกปลอม ของปลอมยิ่งมีมาก ยิ่งแพร่หลายมาก พระสัทธรรมของจริงก็ย่อมค่อย ๆ อันตรธานเลือนหายไปตามลำดับ แน่นอนข้อนี้ก็สมจริงดังที่รับสั่งกะท่านพระมหากัสสปเถระ ว่า :

“ เสยฺยถาปิ กสฺสป น ตาว ชาตรูปสฺส อนฺตรธานํ โหติ ยาว น ชาตรูปปฏิรูปกํ โลเก อุปฺปชฺชติ ” เป็นต้น ความเต็มแปลว่า :

“ นี่แน่ะ กัสสปะ ตราบใดที่ทองปลอมยังไม่เกิดขึ้นในโลก, ตราบนั้นทองแท้ก็ยังไม่อันตรธานเลือนหาย, ก็แต่ว่า กัสสปะ เพราะเหตุที่ทองปลอมเกิดขึ้นในโลก เมื่อเป็นเช่นนั้น ทองแท้ก็ย่อมมีอันตรธานเลือนหายไป แม้ฉันใด, ดูกร กัสสปะตราบใดที่พระสัทธรรมของปลอมยังไม่เกิดขึ้นในโลกตราบนั้น พระสัทธรรมของแท้ ก็ยังไม่อันตรธานเลือนหาย, ก็แต่ว่า กัสสปะ เพราะเหตุที่พระสัทธรรมของปลอมเกิดขึ้นมาในโลก แล เมื่อเป็นเช่นนั้น พระสัทธรรมของแท้ ก็ย่อมมีอันอันตรธานเลือนหายไปฉันนั้น เหมือนกันเทียว ” ดังนี้ ที่ว่านี้ ก็เป็นเหตุผลอีกข้อหนึ่ง ที่ชี้ให้เห็นว่า การฟังพระสัทธรรมนี้ เป็นเรื่องยากจริง ๆ
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #8 เมื่อ: 11 มิถุนายน 2553 09:00:08 »




ความเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นเรื่องยาก อย่างไร ?

แม้ความเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย นี้ก็เป็นเรื่องยากแท้ แน่นอน เพราะเหตุไร ? เพราะเหตุว่า ต่อเมื่อพุทธันดร (กาลเวลาที่ว่างเว้นจากพระศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อน) หนึ่ง ล่วงไปแล้ว นั่นเทียว จึงจะบังเกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่ง อีกพระองค์หนึ่ง แม้ว่าในกาลบางคราว ในกัปเดียวกันจะมีพระพุทธเจ้าหลายพระองค์ทรงบังเกิด เหมือนอย่างในกัปที่กำลังดำรงอยู่นี้ จะได้มีพระพุทธเจ้าทรงอุบัติ ถึง ๕ พระองค์ คือ พระกกุสันธะ พระโกนาคมนะ พระกัสสปะ พระโคตรมะ พระศรีอาริยเมต ไตยะ ถึงกระนั้น เมื่อพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งเสร็จดับขันธปรินิพพานไปแล้ว ก็จะเป็นช่วงเวลาที่เรียกว่าพุทธันดร อีกนานแสนนานนักหนา กว่าจะมีพระพุทธเจ้าสักอีกพระองค์ทรงอุบัติ พระพุทธเจ้า ๓ พระองค์ ข้างต้น มีพระกกุสันธะเป็นต้น ได้ทรงล่วงลับไปแล้ว พร้อมทั้งพระศาสดาของพวกเราทั้งหลาย ก็ได้ล่วงลับไปแล้ว พร้อมทั้งพระศาสนาของพระองค์

แม้พระโคตมะศากยมุนี ผู้เป็นพระศาสดาของพวกเราทั้งหลาย ก็ได้ล่วงลับไปแล้ว เมื่อ ๒,๕๐๐ กว่าปีก่อนหน้านี้ เพียงแต่ว่า พระศาสนาของพระองค์ยังดำรงอยู่ ยังไม่อันตรธาน จักตั้งอยู่ตลอดเวลา ๕,๐๐๐ ปี จับตั้งแต่กาลปรินิพพาน จึงจะอันตรธานไปในที่สุด หลายคนเข้าใจว่า พออายุพระศาสนานี้สิ้นสุดลงเมื่อครบ ๕,๐๐๐ ปี พระศรีอาริยเมตไตยะจักทรงอุบัติ ขอให้ทราบว่า เป็นความเข้าใจผิด สิ้นสุดอายุพระศาสนาของพระศาสดาพระองค์นี้แล้ว ก็จะเป็นช่วงเวลาที่เรียกว่าพุทธันดร ว่างจากพระพุทธศาสนาสิ้นเชิง ซึ่งเป็นเวลาที่นานนักหนา กว่าจะมีพระศรีอาริยเมตไตยะมาอุบัติ หาได้อุบัติทันทีที่ครบ ๕,๐๐๐ ปี ตามที่เข้าใจกันนั้นไม่

ในตำราทางศาสนา ท่านกล่าวว่า ประมาณอายุเฉลี่ยของมนุษย์นี้ หาความแน่นอนมิได้ ขึ้นอยู่กับระยะที่กัป (อันตรกัป) กำลังเจริญหรือกำลังเสื่อมถ้าอยู่ระหว่างกัปกำลังเจริญ อายุของมนุษย์จะเพิ่มขึ้น ๑ ปี ทุก ๆ ๑๐๐ ปี จนถึงอสงไขยปี (จำนวนที่เรียกว่าอสงไขยนั้น ท่านให้นับอย่างนี้ คือ ตั้งเลย ๑ ไว้ข้างหน้า แล้วใส่เลข ๐ ตามหลังไป ๑๔๐ ตัว) พอได้ระยะเวลาที่มีอายุเฉลี่ยอสงไขยปีแล้ว กัปก็ย่อมถึงคราวเสื่อมอีกครั้งหนึ่ง อายุของมนุษย์จะลดลง ๑ ปี ทุก ๆ ๑๐๐ ปี จนถึง ๑๐ ปี แล้วจะถึงคราวเจริญอีกครั้ง ก็แต่ว่า เวลานี้ เป็นระยะที่กัปกำลังเสื่อม ในสมัยพุทธกาล ประมาณอายุเฉลี่ยของมนุษย์ก็สัก ๑๐๐ ปีเท่านั้น เมื่อลดลงไป ๑ ปี ทุก ๆ ๑๐๐ ปี อายุเฉลี่ยของมนุษย์ในเวลานี้ ก็ประมาณ ๗๐ กว่าปีเท่านั้น ลดลงไปทำนองดังกล่าวนี้ จนถึง ๑๐ ปี ก็ถึงคราวที่กัปจะเจริญอีกครั้ง อายุของมนุษย์เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามทำนองดังกล่าวแล้ว จนถึงอสงไขยปี พอถึงอสงไขยปี ก็ถึงคราวที่กัปเสื่อมอีกครั้ง อายุของมนุษย์จะลดน้อยถอยต่ำลงไปเรื่อยๆ

เมื่อลดลงจนมีอายุเกณฑ์เฉลี่ยประมาณแสนปี นั่นเทียว พระศรีอาริยเมตไตยะจักทรงอุบัติ แต่ว่าพระองค์เองนั้น ทรงมีพระชนมายุไม่ถึงกัป ทรงมีพระชนม์ชีพอยู่ในโลกนี้แปดหมื่นปี ก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน จะเห็นว่า อีกนานนักหนา กว่าจะมีพระศรีอาริยเมตไตยะทรงอุบัติ ในกัปเดียวกันแท้ ๆ แม้มีพระพุทธเจ้าได้หลายพระองค์อย่างนี้ ก็ยังมีกาลเว้นห่างกันนานถึงเพียงนี้ เมื่อเป็นเช่นนี้ จะป่วยกล่าวไปใยว่า เมื่อสิ้นสุดพระศาสนาของพระศรีอาริยะเมตไตยะแล้ว กาลเวลาจะล่วงเลยไปนานสักเพียงไร กว่าจะมีพระพุทธเจ้าในกัปอื่นทรงอุบัติ แทบเป็นเรื่องที่ไม่ควรจะพูดถึงเลยเทียว ข้อที่ว่ามาตั้งแต่ต้นนี้เป็นเครื่องชี้ให้เห็นว่า ความเกิดขึ้นแห่งพระพุทธ เจ้าทั้งหลาย เป็นเรื่องยาก แน่นอน
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #9 เมื่อ: 11 มิถุนายน 2553 09:13:17 »


http://i80.photobucket.com/albums/j199/grippini/walking/DSC05124.jpg
เรื่องยาก 4 อย่างในโลก

หากจะถามให้ยิ่งขึ้นไปว่า เหตุอะไรเล่าหนอที่ทำให้ท่านนั้นสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้ากันได้ยากแสนยาก

ตอบว่า เพราะต้องบำเพ็ญบารมี ๑๐ ครบถ้วนทั้ง ๓ อย่างคือ อย่างที่เป็นปกติบารมี อย่างที่เป็นอุปบารมี และอย่างที่เป็นปรมัตถบารมี พร้อมทั้งต้องประกอบด้วย พุทธการกธรรม (ธรรมที่สร้างความเป็นพระพุทธเจ้า) อย่างอื่น ๆ อีกมากมาย แต่ว่าในวาระนี้ จะขอพูดเฉพาะบารมี

บารมีคืออะไร ? คือการกระทำของบุรุษผู้สูงสุด คือพระโพธิสัตว์ เพื่อประโยชน์แก่ความล่วงพ้นจากทุกข์ในสังสารวัฏ มี ๑๐ อย่าง ได้แก่ :

- ทาน - การให้ การบริจาค

- ศีล - ความประพฤติงดเว้นการกระทำที่นับว่าเป็นความทุศีล เช่น การฆ่าสัตว์ เป็นต้น

- เนกขัมมะ - การออกจากกาม คือการทอดทิ้งทรัพย์สมบัติ อันเป็นของผู้ครองเรือน ออกบวชถือเพศเป็นบรรพชิต

- ปัญญา - ความรอบรู้ในอันสอบสวนได้ว่านี้จริง นี้เท็จ นี้เป็นสาระ นี้ไม่เป็นสาระ ความฉลาดในการบริหารตน

- วิริยะ - ความเพียรที่ไม่ท้อแท้ ไม่ย่อหย่อนในกิจที่ประสงค์จะทำให้สำเร็จ

- ขันติ - ความอดทนอดกลั้น ไม่ทำความโกรธให้เกิดขึ้น เมื่อมีผู้มาว่าร้าย ทำร้าย เป็นต้น

- สัจจะ -ความเป็นผู้รักษาสัจจวาจา กล่าววาจาใดออกไป ก็ไม่บิดเบือนกลับกลอกในภายหลัง

- อธิษฐาน - ความตั้งใจจริงในอันประพฤติวัตรปฏิบัติทั้งหลาย แม้แสนยาก ไม่ยอมเลิกล้มปณิธาน มีปณิธานแน่วแน่ในการกระทำ

- เมตตา - ความเป็นผู้มีจิตเยื่อใย ใคร่ประโยชน์สุขแก่ผู้อื่น แม้ต่อชนผู้มุ่งเป็นศัตรู

- อุเบกขา - ความวางเฉยเป็นกลาง ไม่ยินดีปลาบปลื้มในสุข ไม่โทมนัสเสียใจทุกข์ที่คนอื่นสร้างให้

บารมีทั้ง ๑๐ อย่างเหล่านี้ พระโพธิสัตว์บำเพ็ญได้ไปเรื่อย ๆ ไม่มีข้อพิเศษอะไร ๆ ในการบำเพ็ญนั้น ก็ชื่อว่าเป็น ปกติบารมี ถ้าคราวนั้นต้องใช้จิตใจที่หนักแน่นกว่าคราวปกติ เกี่ยวกับจำต้องเสียสละอวัยวะ จึงจะบำเพ็ญรักษาบารมีข้อนั้นเอาไว้ได้ ปรากฏว่า ในคราวนั้น พระโพธิสัตว์ยินดีเสียสละอวัยวะ ไม่ยอมเลิกล้ม บารมีข้อนั้น ๆ ก็ถึงความเป็น อุปบารมี ไป หลายครั้งหลายคราว ที่จำเป็นต้องเสียสละชีวิต ในอันที่จะได้บำเพ็ญบารมีข้อนั้น ๆ พระโพธิสัตว์ก็ยินดีเสียสละชีวิต บารมีข้อนั้น ๆ ก็ถึงความเป็นปรมัตถบารมี เพราะเป็นบารมีที่อุกฤษฏ์ยิ่ง เกี่ยวกับมีการสละชีวิตนั่นแหละ

ก็เป็นอันว่า พระโพธิสัตว์ต้องบำเพ็ญบารมี ๓๐ ประการครบถ้วน คือ ปกติบารมี ๑๐ อุปบารมี ๑๐ และปรมัตถบารมี ๑๐ จึงจะสำเร็จเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #10 เมื่อ: 11 มิถุนายน 2553 09:27:02 »



ก็แต่ว่า การจะทำให้เต็ม ให้บริบูรณ์กันได้นี้ มิได้อาศัยเวลาบำเพ็ญกันเพียงนิด ๆ หน่อย ๆ ไม่ช้าไม่นาน ระยะเวลาที่ไม่นานพอ ไม่อาจพิสูจน์ให้เห็นความมีใจเด็ดเดี่ยวของบุคคลได้ เพราะปรากฏว่า มีหลายท่านที่ตั้งใจจะบำเพ็ญบารมี เพื่อจะเป็นพระพุทธเจ้าเอง แต่มีเรื่องปรากฏว่า สมัยหนึ่ง มีพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งทรงอุบัติในโลก ท่านได้ออกบวชเป็นพระสาวกของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ได้เจริญวิปัสสนา เกิดวิปัสสนาญาณ เห็นความเป็นของน่าเบื่อหน่ายแห่งสังขารทั้งหลายแล้ว ใจของท่านก็คลายความน้อมไปในอันจะบำเพ็ญบารมี เพื่อประโยชน์แก่พระสัพพัญญุตญาณ ทว่า กลับเบนทิศทางมุ่งไปในปฏิปทา ที่จะเป็นเหตุให้หลุดพ้นจากสังขาร ปฏิบัติต่อไปอีก ไม่ช้าไม่นาน ท่านก็สำเร็จเป็นพระอรหันต์ แล้วปรินิพพานไป เป็นอันว่า ท่านเลิกล้มปณิธานที่ตั้งไว้เพื่อความเป็นพระพุทธเจ้าสิ้นเชิง เพราะฉะนั้น เวลาที่เนิ่นนานนักหนาเท่านั้นที่จะใช้เป็นข้อพิสูจน์ความตั้งใจจริงอันยิ่งใหญ่นี้ ของบุคคลว่าจะสำเร็จได้หรือไม่ โดยเกี่ยวกับว่า พอได้พบพระพุทธเจ้าพระองค์ใดพระองค์หนึ่งในคราวนั้นแล้วก็ออกบวชเป็นสาวกในศาสนาของพระองค์ปฏิบัติจนเกิดญาณแก่กล้า ขนาดจะบรรลุมรรคผลได้ ถ้าหากว่าในคราวนั้นไม่ยอมบรรลุมรรคผล ไม่ยอมปรินิพพาน ยังมีปณิธานแน่วแน่ในอันจะสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าวันข้างหน้าอยู่นั่นเอง ก็ย่อมสำเร็จได้ ถ้าหากว่ายินดีบรรลุมรรคผล ก็ย่อมสำเร็จไม่ได้

ก็ระยะเวลาที่ใช้บำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ จนกว่าจะสำเร็จเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นี้นานแสนนักหนา นับเป็นกัปได้มากมายหลายกัป

เป็นความจริงว่า พระโพธิสัตว์นี้มี ๓ จำพวก คือ ปัญญาธิกะ - ยิ่งด้วยปัญญา, สัทธาธิกะ - ยิ่งด้วยศรัทธา และ วิริยาธิกะ - ยิ่งด้วยวิริยะ พระโพธิสัตว์ได้ชื่อว่า ปัญญาธิกะ - ยิ่งด้วยปัญญา ก็เพราะมีปัญญาออกหน้าในการบำเพ็ญบารมี แม้ที่ได้ชื่อว่า สัทธาธิกะ เป็นต้นก็มีคำอธิบายเหมือนกันนี้แหละ

ท่านที่ได้เป็นปัญญาธิกะ ผู้ยิ่งด้วยปัญญา นั้นแม้ว่าใช้เวลาเนิ่นนานนักหนา ผู้ยิ่งด้วยปัญญา นั้นแม้ว่าใช้เวลาเนิ่นนานนักหนา กว่าจะสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าได้ แต่เมื่อเทียบกับ ๒ ท่านที่เหลือแล้ว ก็นับว่าน้อยกว่า คือใช้เวลาบำเพ็ญ ๔ อสงไขยกัป กับอีก ๑ แสนกัป

ส่วน ท่านที่เป็นสัทธาธิกะ ผู้ยิ่งด้วยศรัทธาใช้เวลา ๘ อสงไขยกัป กับอีก ๑ แสนกัป

สำหรับท่านที่เป็นวิริยาธิกะ ยิ่งด้วยวิริยะ ใช้เวลามากที่สุดคือ ๑๖ อสงไขยกัป กับอีก ๑ แสนกัป ก็ พระอรหันตสาวกทั่วไป ใช้เวลาบำเพ็ญบารมีเพียง ๑ แสนกัป ก็สำเร็จเป็นพระสาวกชั้นพระอรหันต์ได้

พระโคตมสักยมุนี ผู้เป็นพระศาสดาของพวกเรา ทรงเป็นพระโพธิสัตว์ประเภทปัญญาธิกะ ส่วนพระศรีอาริยเมตไตยะที่จะมาถึงข้างหน้า เป็นประเภทวิริยาธิกะ

ก็ การนับเวลาที่ใช้บำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ ที่แตกต่างกันเป็น ๓ จำพวก ดังกล่าวนี้ เริ่มนับจับตั้งแต่การได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าองค์ก่อนหน้าแล้วได้รับการพยากรณ์จากพระพุทธองค์ในคราวนั้นว่าจักสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าในวันข้างหน้าแน่นอน คราวนั้น นั่นแหละ พระโพธิสัตว์นั้น นับว่าเป็น นิยตโพธิสัตว์ คือพระโพธิสัตว์ผู้แน่นอน หมายความว่า จะไม่มีการเลิกล้มปณิธานเด็ดขาด จักสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #11 เมื่อ: 11 มิถุนายน 2553 10:28:58 »


http://i232.photobucket.com/albums/ee274/akapong99/ninn05/001-11.jpg
เรื่องยาก 4 อย่างในโลก

พึงทราบว่า พระพุทธเจ้าเหล่านั้น จะได้ทรงพยากรณ์พระโพธิสัตว์ไปตามความพอพระทัยของพระองค์ ก็หาไม่ ทรงประมวลองค์ประกอบที่เป็นเครื่องบ่งบอกว่า ความปรารถนาจะสำเร็จ หรือไม่สำเร็จ เมื่อทรงพบว่า องค์ประกอบเหล่านั้น มีพร้อมเพรียง สามารถสำเร็จได้เท่านั้น จึงทรงพยากรณ์ เป็นความจริงว่า ท่านโบราณาจารย์ทั้งหลายได้กล่าวถึงองค์ประกอบเหล่านี้ ไว้อย่างนี้ :

มนุสฺสตฺตํ ลิงฺคสมฺปตฺติ เหตุ สตฺถารทสฺสนํ

ปพฺพชา คุณสมฺปตฺติ อธิกาโร จ ฉนฺทตา

อฏฐธมฺมสโมธานา อภินีหาโร สมิชฺฌติ


แปลว่า : ความพยายาม ย่อมสำเร็จได้ เพราะประชุมธรรม ๘ ประการ คือ :

มนุสฺสตฺตํ - การได้ความเป็นมนุษย์ ๑,

ลิงฺคสมฺปตฺติ - การได้ความถึงพร้อมด้วยเพศ ๑

เหตุ - เหตุแห่งการบรรลุความเป็นพระอรหันต์ ๑

สตฺถารทสฺสนํ - การได้เข้าเฝ้าพระศาสดา ๑

ปพฺพชา - การได้ถือเพศเป็นนักบวช ๑

คุณสมฺปตฺติ - ความถึงพร้อมด้วยคุณวิเศษ ๑

อธิกาโร - บุญที่ทำไว้ยิ่ง ๑

ฉนฺทตา - ยังมีความพอใจที่จะบำเพ็ญพุทธการกธรรมอยู่ ๑


ดังนี้. ซึ่งมีคำอธิบายย่อ ๆ อย่างนี้ ว่า :

อันว่า พระโพธิสัตว์จะได้รับการพยากรณ์ในสำนักของพระผู้มีภาคเจ้าในคราวนั้นได้ ก็ในเมื่อดำรงอยู่ใน ความเป็นมนุษย์ ก่อนเป็นอันดับแรก มิได้เป็นพรหม มิได้เป็นเทวดา มิได้เป็นนาค มิได้เป็นสุบรรณ แม้ได้ความเป็นมนุษย์แล้ว ก็ต้อง ถึงพร้อมด้วยเพศ คือเป็นบุรุษเพศ มิได้เป็นหญิง มิได้เป็นกะเทย มิได้เป็นคน ๒ เพศ, อนึ่ง แม้เป็นบุรุษเพศ ก็มิใช่บุรุษเพศทั่ว ๆ ไป ทว่า เป็นผู้มีเหตุ คืออุปนิสัยปัจจัยที่สั่งสมมามากมาย อันอาจให้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ได้ในชาติปัจจุบันนั้น ทั้งในเวลานั้น ได้เฝ้าพระผู้มีพระภาค พระศาสดาพระองค์นั้นอยู่แทบพระบาท ตั้งความปรารถนาอยู่ไม่ใช่ตั้งความปรารถนาอยู่เบื้องพระพักตร์ของพระองค์ผู้ยังทรงมีพระชนม์ชีพอยู่ไม่ใช่ตั้งความปรารถนาอยู่แทบโคนต้นโพธิ์ที่ประทับตรัสรู้ หรือ ณ ลานเจดีย์ อันเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระศาสดาผู้ล่วงลับไปแล้ว

อีกทั้งในเวลานั้น พระโพธิสัตว์นั้น ต้องถือเพศเป็นนักบวช ผู้เป็นกรรมวาที (มีปกติกล่าวกรรมและผลของกรรม) ไม่เป็นอกรรมวาที (มีปกติกล่าวปฏิเสธกรรมและผลของกรรม), อีกอย่างหนึ่ง พระโพธิสัตว์ผู้เป็นนักบวชนั้นต้องเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยคุณวิเศษ ที่นักบวชทั้งหลายผู้เป็นกรรมวาที แม้นอกศาสนาพึงมี ได้แก่สมาบัติ ๘ (รูปฌาน ๔, อรูปฌาน ๔) และโลกิยอภิญญาทั้งหลาย มีหูทิพย์เป็นต้น ทั้งในเวลานั้นเป็นผู้มั่นคงด้วยอธิการ คือบุญที่ทำไว้ยิ่ง โดยเกี่ยวกับเคยสละอัตภาพชีวิตของตน มอบถวายแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ก่อน ๆ มาแล้ว และที่สำคัญยิ่งอีกประการหนึ่ง คือ ฉันทตา ยังมีความพอใจจะบำเพ็ญพุทธการกธรรมอยู่ ยังไม่เลิกละความพอใจ ยังไม่ทอดทิ้งปณิธาน ฉะนี้ แล.


ก็พระ ทีปังกร พุทธเจ้า ทรงเล็งเห็นองค์ประกอบ ๘ ประการเหล่านี้ ในตัวท่านสุเมธดาบสผู้กำลังเฝ้าหมอบกราบอยู่มิใช่หรือ จึงทรงพยากรณ์ว่า “ นับแต่นี้ไป ๔ อสงไขยกัป กับอีก ๑ แสนกัป ข้างหน้า ดาบสผู้นี้จักได้สำเร็จเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ” ดังนี้ ซึ่งต่อมา ท่านดาบสก็ได้สำเร็จเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโคตรมะศากยมุนี พระบรมศาสดาของพวกเราทั้งหลาย ตามที่ทรงพยากรณ์

เนื้อหาสาระเกี่ยวกับเรื่องยาก ๔ อย่างในโลกก็มีเพียงเท่านี้.
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #12 เมื่อ: 11 มิถุนายน 2553 11:51:06 »



ในเรื่องยาก ๔ อย่าง นั้น ความเป็นมนุษย์เป็นเรื่องยากสักเพียงใด
เราก็ได้มาแล้ว

และเมื่อได้มาแล้วอย่างนั้น ก็เป็นธรรมดาว่าเราต้องประสบเรื่องยากอย่างที่ ๒ ต่อไปอีก

เกี่ยวกับภาระที่ต้องดิ้นรนเพื่อให้ชีวิตนี้ดำรงอยู่ได้ไปในแต่ละวัน จนกว่าจุดจบนั้นจะมาอีกครั้ง
ส่วนว่า การฟังธรรม
แม้จะเป็นเรื่องยากอย่างที่ ๓ แต่เป็นเรื่องยากฝ่ายดี เพราะนำมาซึ่งประโยชน์เกื้อกูล ความสุข

ความสวัสดี โดยส่วนเดียว เพราะฉะนั้น ก็ควรแสวงหาเมื่อพยายามอยู่ก็ย่อมได้ประสบ
เพราะแม้เป็นเรื่องยาก
แต่พระสัทธรรมนั้น
ก็ยังไม่อันตรธานเลือนหาย ยังตั้งอยู่ อนึ่ง ความอุบัติแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นเรื่องยากก็จริง

แต่ก็ทรงอุบัติแล้ว เมื่อทรงอุบัติแล้วอย่างนี้ ก็อย่าพึงเกิดความหดหู่ ท้อแท้ใจว่า พระองค์ทรงอุบัติแล้วก็จริง
แต่ก็ทรงล่วงลับดับขันธ์ไปนานแล้ว เราไม่อาจได้พบ ได้เข้าเผ้าพระองค์แล้วแน่นอนอย่างนี้เลย ขอให้ทราบเถิดว่า

คำว่า “ พระพุทธเจ้า ” นั้น เป็นเนมิตติกนาม (ชื่อที่ได้ตามคุณสมบัติอันเป็นเหตุ)

 พระองค์ทรงได้ชื่อนี้มาโดยพระคุณสมบัติของพระองค์จะทรงเป็นโอรสของใคร มีใครเป็นพระชนก มีใครเป็นพระชนนี
ไม่สำคัญเลย มีพระรูปกาย
ทรวดทรงองค์เอวเป็นต้น เป็นอย่างไร ไม่สำคัญเลย เพราะความเป็นพระพุทธเจ้าหาเนื่องอยู่กับสิ่งเหล่านี้ไม่

พระปัญญาที่ตรัสรู้สัจธรรมทั้งหลายตามความเป็นจริงนั้นต่างหาก ที่สร้างความเป็นพระพุทธเจ้า
ให้สำเร็จแก่พระองค์  พระองค์ทรงอาศัยพระปัญญานี้แหละ
ประกาศพระศาสนาของพระองค์ให้โลกได้รู้ เพราะฉะนั้น แม้พระองค์จะทรงล่วงลับดับขันธ์ไปแล้ว


แต่เมื่อชนผู้เกิดรุ่นหลัง ยังอาศัยพระศาสนาที่ยังไม่อันตรธาน เป็นแบบแผนประพฤติปฏิบัติตามได้กันอยู่อย่างนี้
ก็ย่อมเป็นเหมือนได้ฟังจากพระองค์เองทีเดียว
เป็นอันกล่าวได้ว่า เมื่อศาสนายังมีอยู่ พระศาสดาก็ยังมีอยู่ ข้อนี้ก็สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า


: “ โย โว อานนฺท มยา ธมฺโม จ วินโย จ เทสิโต ปญฺญตฺโต, โส โว มมจฺจเยน สตฺถา ”
 แปลว่า “ ดูกร อานนท์ ธรรมและวินัยใด ที่เราได้แสดงไว้ ได้บัญญัติไว้ แก่พวกเธอ ธรรมและวินัยนั้น
จักเป็นศาสดาของพวกเธอ เมื่อเราล่วงลับไป ”



เมื่อตรัสไว้ด้วยพระองค์เองอย่างนี้ ก็เป็นอันว่า เมื่อพระศาสนาทั้งสิ้น อันแยกเป็น ๒ ส่วน คือธรรมและวินัย
ยังดำรงอยู่ ยังไม่อันตรธานก็เป็นอันว่า พระศาสดาของเราก็ยังทรงดำรงอยู่


เพราะฉะนั้นแล ผู้ใดใคร่ดี ได้ฟังพระสัทธรรม คือพระธรรมวินัยนั่นแหละ ผู้นั้น ชื่อว่าได้ประสบเรื่องยากอย่างที่ ๔
คือความเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้า แล.





Credit by : raksa-dhamma.com
                รัก  ufoatkaokala11.com

Pics by : Google
อนุโมทนาสาธุ ที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ
บันทึกการเข้า
คำค้น: พระสัทธรรม  กุศลกรรม  อกุศลกรรม  อริยสัจ  สัตบุรุษ  สติปัฏฐาน  สังสารวัฏ 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.448 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 06 มีนาคม 2567 06:38:48