[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
15 ธันวาคม 2567 02:04:50 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พระเจ้าอโศกมหาราชกับพระพุทธศาสนา เวอร์ชั่น เสฐียรพงษ์ วรรณปก  (อ่าน 10558 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
sometime
บุคคลทั่วไป
« เมื่อ: 16 มิถุนายน 2553 16:28:48 »





...................................จากพระพุทธเจ้าถึงพระเจ้าอโศกมหาราช................................




เรื่องราวพระเจ้าอโศก และกิจกรรมที่พระเจ้าอโศกกระทำเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ไม่ค่อยมีบันทึกไว้ในหลักฐานฝ่ายอื่น นอกจากคัมภีร์ฝ่ายเถรวาท ข้อมูลอีกส่วนหนึ่งหาได้จากศิลาจารึกของพระองค์เอง และศิลาจารึกนี้ก็ถูกละเลยให้จมดินไปเป็นศตวรรษๆ ถ้าไม่ได้นักวิชาการฝรั่งมาขุดขึ้นมาศึกษา ก็ไม่แน่นักว่า ชื่ออโศกมหาราชจะเด่นดังในประวัติศาสตร์อินเดียเหมือนปัจจุบัน
ขอว่า ถึงคัมภีร์ศาสนาก่อน คัมภีร์ฝ่ายเถรวาท อาทิ สมันตปาสาทิกา (อรรถกถาพระวินัยปิฎก) เล่าไว้ละเอียด ว่า เมื่อสมัยเป็นอุปราช ถูกพระราชบิดา
ส่งไป กิน เมืองอุชเชนี แคว้นอวันตีอยู่นั้น พระราชบิดาสวรรคต บรรดาพี่น้องพระเจ้าอโศก มีทั้งหมด ๑๐๐ พระองค์ (จากมเหสีหลายองค์) แย่งราชสมบัติกัน อโศกกุมารทราบข่าว ถือว่าตนเป็นรัชทายาทโดยชอบธรรม ราชบัลลังก์จะเป็นของใครไม่ได้ จึงยกทัพเข้าเมืองปาตลีบุตร สั่งจับพี่ชายน้องชายมาสำเร็จโทษสิ้นจำนวน ๙๙ องค์ ยกเว้นองค์เดียวคือ ติสสกุมาร พระอนุชาร่วมพระอุทร
พระเชษฐาหรือพี่ชายใหญ่ที่มิได้เกิด จากอัครมเหสี นามว่า สุมนะ ก่อนถูกสำเร็จโทษ ได้สั่งให้พระชายาผู้ทรงครรภ์แก่ รีบหนีเอาตัวรอดให้รักษาลูกในครรภ์ให้ดี นางหลบหนีไปอาศัยอยู่ที่หมู่บ้านคนจัณฑาลแห่งหนึ่งนอกเมือง ให้กำเนิดบุตรชายน่าเกลียดน่าชังคนหนึ่ง ตั้งชื่อว่า นิโครธ (ไทร) เพราะคลอดใต้ต้นไทรเพราะเหตุที่พระเจ้าอโศกตะลุยบัลลังก์เลือดขึ้น ครองราชย์โดยฆ่าฟันพระเชษฐาและพระอนุชาทั้งหมด (ยกเว้นพระอนุชาร่วมพระอุทร) และเพราะทรงนิยมแผ่พระราชอาณาจักรโดยการทำสงคราม พระองค์จึงได้สมญานามว่า จัณฑาโศก (แปลว่าอโศกผู้ดุร้าย) อย่างนี้เขาเรียกว่าชื่อเสียครับ มิใช่ชื่อเสียง




Asoka- 4

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16 มิถุนายน 2553 17:08:37 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #1 เมื่อ: 16 มิถุนายน 2553 16:32:57 »







แต่หลังจากเสร็จสิ้นสงครามกับแคว้น กลิงคะไม่นานพฤติกรรมของพระเจ้าอโศกเปลี่ยนไป คราวนี้ทรงหันมาใช้สันติวิธีเน้นความไม่เบียดเบียน ว่ากันว่า พระเจ้าอโศกทรงได้คิด หรือ คิดได้ เกิดสลดพระทัยที่เห็นผู้คนล้มตายในสงครามจำนวนมาก ทรงรู้สึกเป็นบาปอย่างยิ่งที่เป็นต้นเหตุให้คนตายมากมาย
ในศิลาจารึก ของพระองค์เอง เล่าไว้ว่า พระองค์หันมาใช้สันติวิธี และความไม่เบียดเบียนตามหลักพระพุทธศาสนามาแต่ครั้งนั้น จะนับถือพระพุทธศาสนาตั้งแต่เวลานั้นหรือไม่ ไม่มีหลักฐานในศิลาจารึก มีแต่เพียงว่า หลังจากเป็นพุทธศาสนิกแล้ว พระเจ้าอโศกก็ เข้าถึงพระสงฆ์ชั่วคราว คำว่า สังฆังคะโต
= เข้าถึงพระสงฆ์ ในศิลาจารึก ผู้รู้บางท่านแปลว่า ทรงผนวชเป็นภิกษุชั่วคราวขณะครองราชย์อยู่
คัมภีร์ สมันตปาสาทิกา ได้บอกไว้ว่า พระเจ้าอโศกหันมานับถือพระพุทธศาสนา เป็นพุทธศาสนิกชน เพราะการชักนำของสามเณรนามว่า นิโครธ สามเณรน้อยรูปนี้ ก็คือบุตรชายของพระชายาของเจ้าชายสุมนะ ที่เอ่ยไว้ข้างต้นนั้นเอง เด็กน้อยโตมารู้เรื่องราวของตน ก็สลดใจ ขออนุญาต มารดาไปบวช มารดาเห็นว่าเป็นทางหนึ่งที่ลูกจะปลอดจาก ราชภัย จึงยินดีอนุญาต
มื่อบวชแล้ว วันหนึ่งไปบิณฑบาตในเมือง ผ่านพระราช วังพระเจ้าอโศกทรงยืนอยู่ใกล้สีหบัญชร ทอดพระเนตรเห็นนิโครธสามเณรเดินเหินด้วยอากัปกิริยาสงบสำรวม น่าเลื่อมใสยิ่ง จึงให้คนไปนิมนต์สามเณรมาสนทนาด้วย ทรงทราบว่า สามเณรน้อยนี้ที่แท้ก็คือหลานของพระองค์เอง ยิ่งศรัทธามากขึ้น ถวายอาหารบิณฑบาตแล้ว ขอให้สามเณรแสดงธรรมให้ฟัง
สามเณรน้อยยกพุทธ ภาษิตในธรรมบทมาแสดงให้ฟัง พระเจ้าอโศกก็ทรงเลื่อมใส ขอประกาศตนเป็นพุทธศาสนิก นับถือพระรัตนตรัยตลอดชีวิต
คงอยากทราบว่า พุทธภาษิตที่สามเณรน้อยยกมาเทศน์นั้นเกี่ยวกับอะไร เกี่ยวกับความไม่ประมาทครับ มีใจความว่า
ความประมาทเป็นทางแห่งความตาย ความไม่ประมาทเป็นทางไม่ตาย ผู้ใดประมาท ถึงแม้มีชีวิตอยู่ ก็เสมือนคนตายแล้ว
เมื่อเป็นพุทธศาสนิกแล้ว พระเจ้าอโศกก็ทะนุบำรุงพระพุทธศาสนาเป็นการใหญ่ สร้างวัดแปดหมื่นสี่พันวัด สร้างเจดีย์แปดหมื่นสี่พันองค์ พระสงฆ์องค์เจ้าก็อยู่สบาย ไม่ลำบากด้วยปัจจัยสี่ พวกนักบวชนอกพระพุทธศาสนา อันเรียกรวมว่า อัญเดียรถีย์ก็พากันมาปลอมบวชเพื่อหวังจะได้อยู่ดีกินดีเหมือนพระภิกษุสงฆ์บ้าง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16 มิถุนายน 2553 17:09:27 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #2 เมื่อ: 16 มิถุนายน 2553 16:34:55 »







บวชมาแล้วไม่ศึกษาเล่าเรียน แสดงธรรมผิด ๆ ถูก ๆ สร้างความสับสนให้เกิดขึ้นในพระพุทธศาสนาจนเกิดความวุ่นวายในพระศาสนา พระภิกษุผู้เคร่งในพระธรรมวินัย ก็แสดงความรังเกียจพวกเดียรถีร์ จนถึงขั้นไม่ร่วมทำอุโบสถสังฆกรรมด้วยเรียกสำนวนชาวบ้านว่า ไม่ลงโบสถ์ด้วย
เรื่องรู้ไปถึงพระกรรณ พระเจ้าอโศกมหาราช ทรงมอบภาระให้มหาอำมาตย์คนหนึ่งไป จัดการ ให้พระสงฆ์สามัคคีกัน ร่วมลงโบสถ์สังฆกรรมกัน มหาอำมาตย์ถือว่าตนได้รับมอบดาบอาญาสิทธิ์ให้ไปจัดการก็จัดการจริง ๆ
คือเรียกประชุมสงฆ์ อ้างกระแสพระราชดำรัสของในหลวงขอให้พระภิกษุทั้งหลาย ร่วมลงอุโบสถสังฆกรรม
พระเถระผู้ยึดมั่นในหลักแห่งพระธรรมวินัยก็ไม่ยอม มหาอำมาตย์จึงตัดศีรษะพระที่ไม่ยอม ตายไปสองรูป พอถึงรูปที่สามไม่กล้าทำอะไร พอชักดาบจะฟันคอท่านเท่านั้น ก็ทิ้งดาบกลับไปกราบทูลในหลวงว่า จัดการไม่สำเร็จ เพราะพระอนุชาของพระองค์มาขัดขวาง
ถามว่าทำไม มหาอำมาตย์จึงฟันคอพระหนุ่มไม่ลง ก็เพราะพระหนุ่มรูปนี้เห็นเรื่องมันจะไปกันใหญ่ จึงถลันมานั่งขวาง มหาอำมาตย์จำหน้าท่านได้ ว่าท่านเป็นพระอนุชาของพระเจ้าอยู่หัว จึงไม่กล้าทำอะไรไม่อย่างนั้น คุณเอ๋ย เลือดคงไหลนองท่วมท้องช้างแน่ๆ




..................................พระเจ้าอโศกเป็นเชื้อสายศากยะ............................



......................................สัมผัสพระพุทธเจ้า.............................



แสดงว่าสงครามล้างโคตรคราวนั้น ไม่ถูกล้างหมด อย่างน้อยพระเจ้าตา (เจ้ามหานาม) และพรรคพวกจำนวนหนึ่งยังรอดชีวิตประวัติศาสตร์ ไม่รู้กระซิบหรือไม่ ระบุว่าเจ้าศากยะที่ถูกปลงพระชนม์คราวนั้นจำนวนถึง ๗๗,๐๐๐ องค์ ส่วนที่หนีไปได้ก็มีจำนวนหนึ่ง
จำนวนหนึ่ง ที่อ้างถึงนี้ก็มีเจ้ามหานามกับพรรคพวก และเจ้าศากยะอื่น หนีลึกเข้าไปยังป่าหิมพานต์ ได้พบชัยภูมิพื้นที่แห่งหนึ่งอุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพรรณและน้ำ มีนกยูงส่งเสียงร้องอยู่ทั่วไป และมีเมืองโบราณตั้งอยู่ไม่มีผู้คน จึงเข้าครอบครอง
จันทรคุปต์ ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์โมริยะ (หรือเมารยะ) อ้างตัวว่ามาจากศากยะพวกที่หนีตายมานี้แล เมื่อยึดเมืองปาตลีบุตรได้ตั้งราชวงศ์ใหม่ จึงเอานกยูงมาเป็นสัญลักษณ์ตั้งว่า ราชวงศ์โมริยะ ด้วยประการฉะนี้แล เรื่องมันเป็นอย่างนี้แหละ ท่านสารวัตร
เมื่อจันทรคุปต์สงบศึกกับพวกกรีกผู้เป็นลูกหลานพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ เพราะรบไม่แพ้ไม่ชนะสักที ได้มีการแลกทูตกัน ชาวกรีกอพยพมาอยู่ชมพูทวีป ชาวชมพูทวีปอพยพไปอยู่เมืองกรีกมีจำนวนมาก พระเจ้าจันทรคุปต์ก็ได้ขัตติยนารีเชื้อสายกรีกมาเป็นมเหสีหลายองค์ ว่ากันว่าพระราชโอรสของพระเจ้าจันทรคุปต์พระนามว่า พินทุสาร มีความเก่งกล้าสามารถในการรบยิ่งกว่าพระราชบิดาอีก จนพวกกรีกให้สมญาว่า จอมพิฆาตศัตรู (สัตตุฆ็อต) พินทุสารก็คงอภิเษกสมรสกับขัตติยนารีกรีกเช่นเดียวกัน


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16 มิถุนายน 2553 17:09:59 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #3 เมื่อ: 16 มิถุนายน 2553 16:43:55 »









จึงไม่แปลกที่มีเสียงกระซิบว่า เจ้าชายอโศก ต่อมาคือ พระเจ้าอโศกมหาราชอาจมีพระราชมารดาเป็นชาวกรีก ขณะเดียวกันก็มีเชื้อสายศากยะคือเป็นลูกหลานพระพุทธเจ้าด้วย
เมื่อสมัยยังทรงดำรงตำแหน่งรัชทายาท พระราชบิดาส่งให้ไป กินเมือง อุชเชนี แคว้นอวันตี ขณะเคลื่อนพลไป ก็ทรงพบธิดานายบ้านวิทิสา ซึ่งสืบเชื้อ
สายมาจากศากยวงศ์ด้วย จึงทรงรับไว้เป็นชายา
ดูแล้วพระเจ้าอโศกทรงมีความผูกพันกับศากยวงศ์อย่างมาก เมื่อหันมานับถือพระพุทธศาสนาแล้ว จึงทรงอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาของพระศากยมุนีสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นการใหญ่ ชนิดที่ไม่เคยมีกษัตริย์แห่งราชวงศ์ใดกระทำได้เท่า
พระเจ้าอโศกนี้เอง ที่ทรงเป็นต้นแบบนำเอาคำสอนของพระพุทธศาสนามาปรับประยุกต์กับการบริหารบ้านเมืองอันเรียกว่า อโศกธรรม และเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่ประกาศให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำ ชาติ
สิ่งหนึ่งที่กษัตริย์แต่โบราณไม่ทำ แต่พระเจ้าอโศกทำคือ การจารึกข้อความลงในแผ่นศิลาบ้างหลักศิลาบ้างอันเรียกว่า ศิลาจารึกพระเจ้าอโศกจารึก
เหล่านี้ ได้เล่าเรื่องราวที่สำคัญ ๆ พระราชกรณียกิจที่ทรงบำเพ็ญ การนำเอาหลักธรรมพระพุทธศาสนามาปรับประยุกต์ใช้ ประกาศให้ชาวเมืองถือปฏิบัติ
เสด็จ ธรรมยาตรา คือ เสด็จจาริกแสวงบุญไปยังสถานที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธองค์ คือสถานที่ประสูติ ตรัสรู้ แสดงปฐมเทศนาและเสด็จดับขันธปรินิพพาน ทรงค้นจนแน่พระทัยว่าใช่สถานที่เหล่านั้นแน่ จึงทรงให้จารึกหลักศิลาบอกไว้ให้เป็นหลักฐาน เผื่อพุทธบริษัทในภายหลังจะได้ไปนมัสการถูก
เช่น ลุมพินี สถานที่ประสูติ ก็ทรงประดิษฐานเสาศิลามีข้อความจารึกว่า "สมเด็จพระปิยทรรศี ผู้เป็นที่รักของเทวดา เมื่ออภิเษกได้ ๒๐ พรรษา ได้เสด็จมาด้วยพระองค์เอง แล้วทรงกระทำการบูชา ณ สถานที่นี้เพราะว่าพระศากยมุนีพุทธเจ้าได้ประสูติแล้ว ณ .ที่นี้ พระองค์ (พระปิยทรรศี) ได้โปรดให้สร้างรั้วศิลา และโปรดให้ประดิษฐานเสาศิลาขึ้นไว้


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16 มิถุนายน 2553 17:10:49 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #4 เมื่อ: 16 มิถุนายน 2553 16:46:44 »









โดยเหตุที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ ประสูติแล้ว ณ.ที่นี้ สถานที่นี้จึงทรงโปรดให้หมู่บ้านตำบลลุมพินีเป็นเขตปลอดภาษี และให้เสียสละผลิตผลจากแผ่นดินเป็นทรัพย์แผ่นดินเพียงหนึ่งในแปดส่วน
เรื่องราวของพระเจ้าอโศกมหาราชกับพระพุทธศาสนา แม้ทรงจารึกไว้มากมาย นำไปประดิษฐานยังส่วนต่างๆ แห่งพระราชอาณาจักรพอสิ้นสุดยุคพระเจ้าอโศก สิ้นสุดราชวงศ์โมริยะ ไม่นาน เรื่องราวเหล่านี้ก็ถูกลืม
หลักฐานต่าง ๆ ก็ถูกทิ้งให้จมหายไปในดิน เป็นศตวรรษๆ แทบไม่มีใครรู้เรื่อง นักประวัติศาสตร์อินเดียก็ดูเหมือนจงใจลืมมหาราชผู้ยิ่งใหญ่พระองค์นี้ รวมถึงพระพุทธศาสนาด้วย
มาในยุคหลังนี้เท่านั้น ที่ความจริงอันจมลึกอยู่ใต้แผ่นดินถูกขุดขึ้นมาศึกษาแล้วเผยแพร่ให้รับทราบ กันโดยทั่วไป ประวัติพระพุทธศาสนา ประวัติพระเจ้าอโศก ในช่วงเวลานี้ จึงทอแสงเจิดจ้าแจ่มแจ้ง ยากที่จะมีอะไรมาปิดบังไว้ได้ต่อไปก็ ต้องขอบคุณนักวิชาการฝรั่ง ที่ได้เปิดเผยความจริงนี้ให้โลกได้รับทราบ จะได้นำมาเล่าให้ฟังในตอนต่อไป



...........................จากหนังสือพิมพ์ ข่าวสด ฉบับวันที่ 15 -06-53.............................



.................................โดยอาจารย์ เสฐียรพงษ์ วรรณปก.........................



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16 มิถุนายน 2553 17:11:43 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #5 เมื่อ: 12 กันยายน 2553 09:47:38 »



http://i682.photobucket.com/albums/vv189/jhonnyraptor/FUNNY%20IMAGES/Boedha-Gif.gif
พระเจ้าอโศกมหาราชกับพระพุทธศาสนา เวอร์ชั่น เสฐียรพงษ์ วรรณปก


ชอบวิธีเขียน วิธีถ่ายทอดของท่าน อ.เสฐียรพงษ์ วรรณปก
ขอบคุณน้อง"บางครั้ง"นะคะ มากมาย.. สำหรับการแบ่งปัน..
อนุโมทนาสาธุค่ะ...
บันทึกการเข้า
คำค้น: มหาราช เสฐียรพงษ์ india Mahabharat history บางครั้ง ตำนาน oneupon asoka 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.249 วินาที กับ 29 คำสั่ง

Google visited last this page 03 พฤศจิกายน 2567 22:11:48