[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
24 เมษายน 2567 10:31:16 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พลังแห่งการหยั่งรู้ Intuitive Power  (อ่าน 1884 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 11 มิถุนายน 2553 13:40:28 »




พลังแห่งการหยั่งรู้ Intuitive Power

เราต้องการอะไรมากที่สุดในชีวิต คำตอบก็คือ “ต้องการความสุขและความสำเร็จในชีวิต” เชาวน์อารมณ์ (EQ) ซึ่งจะตรงกับคำว่า “ปัญญา” และ “ศรัทธา” ในทางพุทธศาสนาจึงหมายถึง ความเฉลียวฉลาดทางอารมณ์ของบุคคล ที่ตระหนักถึงความรู้ ความคิด ความรู้สึก และอารมณ์ของตนเอง และผู้อื่น สามารถควบคุมอารมณ์และแรงกระตุ้นภายใน ตลอดจนสามารถ รอคอย การตอบสนอง ความต้องการของตนเองได้อย่างเหมาะสม ถูกกาลเทศะ สามารถให้กำลังใจตนเอง ในการที่จะเผชิญ ข้อขัดแย้งต่างๆ ได้อย่างไม่คับข้องใจ รู้จักขจัดความเครียด ที่จะขัดขวางความคิดริเริ่มสร้างสรรค์อันมีค่าของตนเองได้ สามารถทำงานกับผู้อื่น ทั้งในฐานะผู้นำหรือผู้ตามได้อย่างมีความสุข จนประสบความสำเร็จในการเรียน ความสำเร็จในอาชีพ ตลอดจนประสบความสำเร็จในชีวิต

องค์ประกอบของเชาวน์อารมณ์ (EQ)

สติ (รู้ว่าอะไรเป็นอะไร)
ปัญญา (การค้นหาทางสำเร็จและเหตุปัจจัย)
ศรัทธา (ความเชื่อในเรื่องกรรมดี)
สมาธิ (ไม่วอกแวกไปกับความโกรธ ความคับข้องใจ ความรู้สึกจากแรงกดดัน)

การปล่อยวาง (การขจัดความเครียด)
อริยสัจสี่ (การหาเหตุเพื่อแก้ปัญหาและดับปัญหาหรือดับทุกข์)
สังคหวัตถุ (การทำงานร่วมกับผู้อื่น)
อิทธิบาทสี่ (การสร้างความสำเร็จในงานที่ตัวเอง)

1. การรู้อารมณ์คน (Knowing One Emotion) หมายถึง ตระหนักรู้ตนเอง สามารถรับรู้และเข้าใจความรู้สึก ความคิด และอารมณ์ของตนตามความเป็นจริง และสามารถควบคุมความรู้สึกได้
รู้อารมณ์คน : การพิจารณาตนเอง และตัณหา (ความอยาก) การใช้ปัญญาไตร่ตรองทุกสิ่งที่เข้ามากระทบ

2. การควบคุมอารมณ์ (Managing Emotion) หมายถึง ความสามารถในการจัดการกับอารมณ์ตนเองได้อย่างเหมาะสมตามสถานการณ์ เพื่อไม่ให้เกิดความเครียด สามารถคลายเครียด สลัดความวิตกจริตรุนแรงได้อย่างรวดเร็ว ไม่ฉุนเฉียวง่าย ทำให้อารมณ์ขุ่นมัวหายไปโดยเร็ว
การควบคุมอารมณ์ : การวางอุเบกขา อนุสสติ 10 การละโลภ โกรธ หลง (กิเลส)

3. การเอาใจเขามาใส่ใจเรา (Recognizing Emotion in Other หรือ Empathy) หมายถึง การรับรู้อารมณ์และความต้องการของผู้อื่น เห็นอกเห็นใจ การเอาใจเขามาใส่ใจเรา และสามารถแสดงออกได้อย่างเหมาะสม
การฝึกสมาธิ พรหมวิหาร 4 สันโดษ

4. การให้กำลังใจตนเองได้ (Motivation Oneself) หมายถึง สามารถจูงใจตนเอง ควบคุมความต้องการจากแรงกระตุ้นได้อย่างเหมาะสม สามารถรอคอยการสนองตอบความต้องการเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ดีกว่า มองโลกในแง่ดี สามารถจูงใจและให้กำลังใจตนเองได้
การเอาใจเขามาใส่ใจเรา : ศีล เมตตา ทาน

5. การมีมนุษย์สัมพันธ์ดี (Handling Relationship) หมายถึง สามารถสร้างความสัมพันธ์กับคนรอบข้างได้ มีมนุษย์สัมพันธ์ดี
การมีมนุษย์สัมพันธ์ดี : สังคหวัตถุ 4 สัปปุริสธรรม 7 ทิศ 6



พลังแห่งการหยั่งรู้

พลังแห่งการหยั่งรู้ (Intuitive Power) เป็นแนวคิดใหม่ ที่อิง "จิตวิญญาณ คือ ต้นตอแห่งการเปลี่ยนแปลง" ในวงการบริหาร การพัฒนาผู้นำ และการนำยุคใหม่ จึงจำเป็นต้องใช้การตัดสินใจอย่างฉับพลัน ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง อย่างรวดเร็วของ “ตัวแปร” จำนวนมาก ซึ่งเกิดขึ้นและดับไปอย่างรวดเร็ว ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของข้อมูลข่าวสาร การเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจ ความนิยม เป็นต้น ซึ่งเป็นเนื้อแก่นของสังคมข้อมูลข่าวสาร ตามกระแสโลกาภิวัฒน์ การเปลี่ยนแปลงในระดับ “คุณภาพ” ใหม่เช่นนี้ จะใช้การตัดสินใจ แบบเดิมๆ ที่อาศัยตรรกะและการวิเคราะห์เชิงตัวเลข ที่เป็นสูตรตายตัว ไม่สามารถรับมือกับสถานการณ์ได้อย่างทันการณ์ได้ แนวคิดหรือเครื่องมือใหม่ที่จะต่อสู้ ก็คือ “พลังแห่งการหยั่งรู้” ซึ่งเกี่ยวพันโดยตรงกับเชาวน์อารมณ์ (EQ) และการปฏิบัติสมาธิภาวนา เชาวน์ปัญญา (IQ) คือ กุญแจไขไปสู่ความสำเร็จ

โดยเปิดทางให้กับสมองซีกซ้ายเต็มที่ เนื่องจากปัญหา รอบกายนั้น ส่วนใหญ่จะวนเวียน กับเรื่องกายวัตถุ ต้องชั่ง ตวง วัด และคำนวณเป็นสรณะ ส่วนเรื่องอื่นๆ ที่ “จับต้องไม่ได้” นั้น ถูกละเลยไป การใช้เชาวน์อารมณ์ จึงกลายเป็นเรื่องส่วนเกิน ไม่มีความจำเป็น และเป็นเรื่องหยุมหยิม ของสตรีเพศ กระบวนทัศน์เก่าเรื่องเชาวน์ปัญญา จึงพบทางตัน เชาวน์อารมณ์ (EQ) ได้รับการยอมรับมากขึ้นทุกที ในการจัดการปัญหาในแทบทุกด้านและวงการ เปิดสมองซีกขวาให้ทำงาน หัวใจของเชาวน์อารมณ์ ก็คือ “พลังแห่งการหยั่งรู้” นั่นเอง ที่แสดงออกมาในรูปของความรู้สึกลึกซึ้งจากภายในกาย มีการประเมินกันว่า ความสำเร็จในชีวิต ของคนยุคใหม่ ต้องอาศัยเชาวน์อารมณ์ถึง 80 % ซึ่งจะเห็นว่าองค์กรธุรกิจแขนงต่างๆ ที่ตระหนักถึงความจริงแท้ในเรื่องนี้ ต่างปรับกระบวนทัศน์ของตน จนเกิดกระแสกระบวนการ “รีเอนจิเนียริ่ง” อย่างต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ การเปรียบเทียบเชาวน์ปัญญาและเชาวน์อารมณ์ ดังแสดงในตาราง

เชาวน์ปัญญา (EQ)กระบวนทัศน์เก่า วิธีการ

1. มุ่งไปที่กายวัตถุ
2. มุ่งไปที่นอกกาย
3. มุ่งด้านหยาบ
4. มุ่งความสำเร็จที่ผู้ชนะผล * หักหาญเอาชนะฝ่ายตรงข้ามหรือคู่แข่ง แย่งกันไปตาย
เช่น กรณีวิกฤตเศรษฐกิจ การทำลายล้าง สงครามแย่งชิง 

เชาวน์อารมณ์ (EQ)กระบวนทัศน์ใหม่ วิธีการ

1. มุ่งไปที่จิตวิญญาณ
2. มุ่งสู่ในกาย
3. มุ่งด้านละเอียด
4. มุ่งความสำเร็จจากการร่วมมือกัน ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องผล * ความสร้างสรรค์ การถนอมรัก
การเอาใจเขามาใส่ใจเรา สังคมสงบ เศรษฐกิจพอเพียง


http://www.novabizz.com/NovaAce/Intuitive.htm
ufoatkaokala11.com

Pics by : Google
ขอบพระคุณที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
คำค้น: IQ  มนุษย์สัมพันธ์  ทัศนะ การค้นหา  จิตวิญญาณ  โลกาภิวัฒน์  ปฏิบัติสมาธิ 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.329 วินาที กับ 34 คำสั่ง

Google visited last this page 19 มีนาคม 2567 10:12:14