[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 12:56:18 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ค่าปรับโลกร้อน "ลูกล้ำหน้า"ต้อนไทยสู่จุดอับ  (อ่าน 2063 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 12 มิถุนายน 2553 15:00:33 »

[ โดย อ.มดเอ็กซ์ บอร์ดเก่า ]



เมื่อเรื่องโลกร้อนกลายเป็นประเด็นที่วิตกกังวลทั่วโลก เป็นหัวข้อที่โลกกำลังหยิบยกขึ้นมาเจรจาต่อรองกันในเวทีระดับนานาชาติ โดยที่ทิศทางของการหาผู้รับผิดชอบขยายวงไปยังประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งนับว่าเป็นการเบนเข็มจากที่เคยพุ่งเป้าไปที่ชาติพัฒนาแล้ว ซึ่งตกเป็นจำเลยแบบจำนนต่อหลักฐาน ให้มารับผิดชอบการปล่อยก๊าซเรือนกระจกไปยังชั้นบรรยากาศ
 
อย่างไรก็ตาม แม้กติกาโลกจะประดิษฐ์คิดค้นรูปแบบของความรับผิดชอบผู้ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนขึ้นมา และ "คาร์บอนเครดิต" ก็เป็นนวัตกรรมใหม่ที่นำเอาหลักเศรษฐศาสตร์มาเชื่อมโยงปัญหาโลกร้อน หลักการที่ว่านี้ก็คือ การตีค่าปริมาณของก๊าซคาร์บอนฯ ออกมาเป็นรูปของตัวเงินและการซื้อขายแลกเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนฯ กันในระดับประเทศ
 
ปัจจุบันมีกลไกตลาดของการซื้อขายคาร์บอนเครดิตขึ้นอย่างคึกคัก "ผู้ซื้อ" ส่วนใหญ่นั้นแน่นอนว่าต้องเป็นชาติอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นผู้ก่อก๊าซคาร์บอนฯ หลัก ส่วน "ผู้ขาย" นั้นหนีไม่พ้นชาติกำลังพัฒนาหรือชาติด้อยพัฒนา ที่ไม่มีอุตสาหกรรมการผลิตที่ก่อมลพิษมากมาย การซื้อขายก๊าซคาร์บอนฯ เริ่มขยายวงขึ้น แม้แต่ในประเทศไทยก็มีการตั้งหน่วยงานขึ้นมาดูแลงานด้านนี้เรียกว่าเป็นการรองรับอนาคตการตลาดคาร์บอนเครดิตในอนาคต พร้อมกับการซื้อขายคาร์บอนเครดิตระหว่างเอกชนไทยกับชาติพัฒนาแล้วบางประเทศก็เริ่มมีความธุรกรรมเกิดขึ้นประปรายบ้างแล้ว
 
บนความเคลื่อนไหวของโลกที่พยายาม "จี้" หาผู้รับผิดชอบปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ และพุ่งเป้าไปที่ชาติอุตสาหกรรม นี้มีปรากฏการณ์แปลกใหม่เกิดขึ้นในประเทศไทยและกลายเป็นประเด็นช็อกสังคมและสร้างความกังขาอย่างมาก เมื่อศาลตัดสินให้ชาวบ้านคือนายกำจาย ชัยทอง ถูกดำเนินดคีแพ่งเรียกค่าเสียหายตามคำฟ้องของกรมอุทยานสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ข้อหาบุกรุกพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาปู่-เขาย่า จังหวัดพัทลุง จำนวน 8 ไร่ 2 งานเศษ จากการตัดต้นยางเก่าในพื้นที่ซึ่งชาวบ้างอ้างว่าได้ทำกินมานานแล้วหลายรุ่น คิดเป็นค่าเสียหายทั้งหมด 1,306,875 บาท
 
โดยกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ซึ่งเป็นหน่วยงานรับผิดชอบในเรื่องนี้ได้มีหนังสือถึงสำนักงานอัยการจังหวัดพัทลุงเพื่อแจกแจงว่ามีหลักเกณฑ์คิดคำนวณความเสียหายอย่างไร พบว่า นอกเหนือจากความเสียหายด้านสิ่งแวดล้อมที่ทางกรมอุทยานฯ อ้างถึง เช่น การสูญหายของธาตุอาหาร 4,064.15 บาทต่อไร่/ปี ทำให้ดินไม่ดูดซับน้ำฝน 600 บาทต่อไร่/ปี ยังมีรายการความเสียหายที่ระบุว่าทำให้อากาศร้อนมากขึ้น 45,453.45 บาทต่อไร่/ปี ทำให้ฝนตกน้อยลง 5,400 บาทต่อไร่/ปี
 
นอกจากนายกำจายแล้วยังมีชาวบ้านเทือกเขาบรรทัดอีก 48 ราย ทั้งจาก จ.พัทลุง ตรัง และกระบี่ ที่ถูกกรมอุทยานสัตว์ป่าและพันธุ์พืชฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายทางแพ่งฐานทำให้โลกร้อน รวมมูลค่ากว่า 31 ล้านบาท
 
ล่าสุดนายกำจาย ชาวบ้านผู้ถูกกล่าวหาไม่ยอมรับ "ข้อกล่าวหาสากล" ว่าเป็นผู้ทำให้เกิดโลกร้อน โดยข้อกล่าวหานี้องค์การสหประชาชาติออกกฎเหล็กขึ้นมาเพื่อบังคับใช้กับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมทั่วโลกและยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง โดยอ้างว่าที่ดินดังกล่าวเป็นพื้นที่เกษตรกรรมที่เป็นมรดกตกทอดมาจากปู่ย่าหลายชั่วอายุคน ใช้เพื่อการเพาะปลูกมากว่า 200 ปี
 
กฎหมายที่ทางกรมอุทยานฯ นำมาเล่นงานชาวบ้านเทือกเขาบรรทัดนั้นก็คือพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2535 ที่ว่าด้วยมาตรา 97 ซึ่งระบุไว้ดังนี้
 
"กำหนดให้ผู้ใดที่กระทำหรือละเว้นการกระทำด้วยประการใด โดยมิชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นการทำลาย หรือทำให้สูญหาย หรือเสียหายแก่ทรัพยากรธรรมชาติ หรือสาธารณสมบัติของแผ่นดิน มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายแก่รัฐจากมูลค่าทั้งหมดของทรัพยากรธรรมชาติที่ถูกทำลาย สูญหาย หรือเสียหายไปแล้ว"
 
กฎหมายฉบับดังกล่าวแม้จะเกิดขึ้นตอนปี 2535 หรือเมื่อประมาณ 17 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วงก่อนที่ปัญหาโลกร้อนจะบูมขึ้นทั่วโลก แต่การระบุซึ่งตีความอย่างกว้างๆ กลับสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและสอดรับกับเรื่อง "คาร์บอนเครดิต" อย่างพอดิบพอดี
 
หลังจากรัฐบาลประกาศ "ปิดป่า" เมื่อ พ.ศ.2532 ให้ยกเลิกสัมปทานการทำไม้ของเอกชน เนื่องจากสภาพป่าถูกทำลายไปมาก โดยช่วงก่อนที่จะปิดป่าพื้นที่ป่าในประเทศไทยลดลงเหลือแค่ประมาณ 30-40% เท่านั้นเมื่อเทียบกับในอดีต
 
ไม่กี่ปีต่อมา ก็เกิดพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2535 ขึ้น ซึ่งส่วนหนึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความตื่นตัวของสังคมที่มีต่อปัญหาสิ่งแวดล้อม แต่อีกส่วนหนึ่งมีจุดมุ่งหมายต้องการ "เพิ่มโทษ" พวกตัดไม้ทำลายบุกรุกพื้นที่ป่า โดยนำหลักการทางเศรษฐศาสตร์ทางด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมมาใช้ เช่น หลักผู้ก่อมลพิษต้องจ่าย (Polluter Pays Principle) มาเป็นส่วนหนึ่งของบทลงโทษ พร้อมกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการรักษาสิ่งแวดล้อม แต่กฎหมายฉบับดังกล่าวกลับไม่เคยนำมาปปฏิบัติบังคับใช้แต่อย่างใด ทั้งๆ ที่สถานการณ์บุกรุกทำลายป่ายังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
 
ดังนั้น การที่ชาวบ้านสวนยางจังหวัดพัทลุงโดนกฎหมายดังกล่าว "เล่นงาน" จึงนับได้ว่าเป็น "รุ่นทดลอง" ปฏิบัติบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้ แม้ว่าในการฟ้องร้องจะไม่มีคำว่าคาร์บอนเครดิตแต่อย่างใด แต่ในสาระการฟ้องก็คือการให้ชดใช้และรับผิดชอบต่อภาวะโลกร้อนจากการตัดต้นยางของชาวบ้าน
 
ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการเครือข่ายวิเคราะห์วิจัยและฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงของโลกแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความเห็นว่า ประเด็นการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวต้องมองเป็น 2 ส่วน อย่างแรกต้องมองเจตนาของกฎหมายส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมปี 2535 ว่ามีเจตนาอย่างไร ต้องยอมรับว่าหลักการของกฎหมายฉบับนี้ถูกต้อง มีเจตนาดี เป็นมาตรการที่ต้องการปรามคนบุกรุกทำลายป่า และต้องการเพิ่มการลงโทษคนที่ทำลายป่า จากแต่ก่อนที่หากมีใครมาบุกรุกป่า ทำลายป่า ก็จะใช้วิธีไล่ออกไป ปรับ หรือจำคุก ป่าทุกอย่างทุกประเภทจะใช้บทลงโทษเดียวกันหมด แต่จริงๆ แล้วคุณค่าของป่าแต่ละแห่งไม่เท่ากัน จึงมีการนำหลักการ Ecology System goods services มาใช้ในการลงโทษร่วมด้วย
 
"บางครั้งการตีมูลค่าความเสียหายจากราคาไม้ อาจจะไม่คุ้มค่าความสูญเสียจากการบุกรุกทำลายป่า เพราะเทียบกับราคาไม้ที่เป็น goods ตีราคาไม่ยาก แต่เอาเข้าจริงป่า 1 ไร่ตีราคาไม้ได้ไม่เท่าไหร่ซึ่งเมื่อก่อนเขาคิดกันอย่างนี้ จึงมีนำเรื่องของ services ซึ่งเป็นสิ่งจับต้องไม่ได้มาคิดรวมด้วย เช่น สิ่งนั้นมีประโยชน์ต่อระบบนิเวศน์ หรือการท่องเที่ยว หรือคุณค่าทางศิลปวัฒนธรรมมาคิดรวมด้วย แต่ตรงนี้การคำนวณมูลค่ามันไม่แน่นอน" ดร.อานนท์กล่าวและว่า อย่างไรก็ตาม แม้กฎหมายจะมีมาตั้งแต่ปี 2535 แต่ก็ยังไม่เคยใช้ เข้าใจว่าทางกรมอุทยานฯ เองก็เกรงปัญหาความขัดแย้งกับท้องถิ่นต่างๆ
 
"ผมเข้าใจว่าที่ผ่านมา อุทยานฯ หลายๆ ที่ก็ไม่ค่อยมีความมั่นใจ เลยไม่ได้ใช้กฎหมายฉบับนี้"
 
สำหรับในกรณีที่ชาวบ้านถูกกรมอุทยานฯ ฟ้องทางแพ่ง โดยแจกแจงให้เห็นถึงความเสียหายจากการตัดต้นยางที่เกิดขึ้น ดร.อานนท์กล่าวว่า การฟ้องร้องเรียกค่าปรับของกรมอุทยานฯ ต่อชาวบ้านพัทลุงแม้จะไม่มีคำว่าคาร์บอนเครดิต แต่ก็ระบุว่าการตัดต้นยางดังกล่าวทำให้อุณหภูมิบริเวณนั้นสูงขึ้น ส่วนโดยสูตรการคิดคำนวณค่าปรับก็มาจากงานวิจัยชิ้นหนึ่งซึ่งทำมานานแล้ว โดยที่ไม่ได้มีการทำวิจัยอย่างต่อเนื่อง
 
"ผมมองว่าเรื่องค่าปรับมีงานวิจัยมารองรับน้อย หลักการกฎหมายที่ให้คิดค่าปรับไม่ขัดแย้ง แต่การทำอย่างนี้ของกรมอุทยานฯ ผมมองว่าเร่งรัดเร่งรีบไปหน่อยมันล้ำหน้าไป มันต้องมีการศึกษาวิจัยให้มากขึ้นกว่านี้ ทำให้เกิดขบวนการมีส่วนร่วมเอาหลายๆ ฝ่ายเข้ามาเลย ให้นักวิชาการมาออกความเห็น ศึกษาวิจัยกันถ้าใช้เวลา 10-15 ปีก็ต้องยอม แต่ตรงนั้นมันจะทำให้สังคมได้มีการรับรู้ มีการวิพากษ์วิจารณ์ เป็นการปรับทัศนคติคนในสังคมดีกว่า ก่อนที่จะนำกระบวนการไปที่ศาลเลย" ดร.อานนท์กล่าว
 
ปัญหาการคิดค่าเสียหายทำให้อากาศร้อนขึ้น และฝนตกน้อยลงจากชาวบ้านของกรมอุทยานฯ ถึงกับทำให้สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้มีการจัดเสวนาระดมความคิดเห็นกันเมื่อวันที่ 14 ส.ค.2552 ที่ผ่านมา โดยนักวิชาการสาขาต่างๆ ทั้งด้านเศรษฐศาสตร์ ด้านวิทยาศาสตร์ ด้านวนศาสตร์ ได้มีข้อสังเกตและข้อวิจารณ์หลายประการ เกี่ยวกับวิธีการคิดคำนวณ โดยหยิบยกประเด็นเปรียบเทียบการปล่อยก๊าซเรือนกระจกระหว่างประเทศไทย กับชาติอุตสาหกรรมยักษ์ใหญ่อย่างสหรัฐอเมริกา พบว่าไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยรวมคิดเป็นสัดส่วน 0.8% ของทั้งโลก ในขณะที่สหรัฐอเมริกาปล่อยก๊าซมีสัดส่วน 21% ของทั้งโลก สหภาพยุโรป (27 ประเทศ) ปล่อยก๊าซ 15 % จีนปล่อยก๊าซ 20% (ข้อมูลปี 2005)
 
ข้อมูลดังกล่าวทำให้นักวิชาการตั้งคำถามว่า การที่ชาวบ้านตัดสวนยางเก่าไป 8 ไร่เศษนั้นจะส่งผลต่อปัญหาโลกร้อนมากน้อยเพียงใด และเมื่อผู้ศึกษาได้อธิบายว่าการศึกษาในเรื่องนี้เป็นเรื่องการเปลี่ยนแปลงในระดับภูมิอากาศท้องถิ่น (Micro Climate) ยิ่งทำให้เกิดคำถามมากขึ้นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในระดับท้องถิ่นที่เกิดขึ้น ซึ่งตรวจวัดได้จริงกับฐานความเสียหายที่นำไปโยงเกี่ยวกับประเด็นเรื่องโลกร้อน
 
นักวิชาการอื่นๆ ที่เคยให้ความเห็นในลักษณะไม่เห็นด้วยกับการคิดต้นทุนความเสียหายจากการทำให้เกิดภาวะโลกร้อนของกรมอุทยานฯ จากชาวบ้าน อาทิ ท่านผู้หญิงสุธาวัลย์ เสถียรไทย ประธานสถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า การนำแบบจำลองคิดค่าเสียหายไปใช้ อาจจะสร้างความไม่เป็นธรรมให้เกิดขึ้นในกลุ่มชาวนา ชาวไร่ ที่ไม่ได้สร้างมลภาวะมากมาย แม้แต่ประเทศพัฒนาแล้วที่ก่อก๊าซเรือนกระจกมากมาตั้งแต่อดีตกาล และมีพันธกรณีลดก๊าซเรือนกระจกก็ยังไม่ได้นำค่าความเสียหายดังกล่าวไปปรับใช้กับชาวบ้าน ขณะที่ในระดับโลกประเทศไทยซึ่งไม่มีพันธกรณีใดๆ แต่ไปคิดค่าปรับดังกล่าว อาจจะเป็นการส่งสัญญาณผิดในเวทีระดับโลกทำให้ประเทศไทยถูกดึงอยู่ในกลุ่มที่ต้องรับผิดชอบ ทั้งที่ก่อปัญหาก๊าซเรือนกระจกน้อยมาก
 
เจริญ คัมภีร์ภาพ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย กล่าวว่า กรณีกรมอุทยานฯ ดำเนินคดีกับชาวบ้านสั่งให้เสียเงินค่าปรับที่ทำให้โลกร้อนเป็นการประยุกต์ใช้กฎหมายที่ลุแก่อำนาจ ฝ่ายบริหารขาดดุลพินิจเรื่องที่ทำให้โลกร้อนจนเกินความจำเป็น และกฎหมายที่นำมาใช้นี้ไม่มีความยุติธรรม ถ้าคิดใช้สูตรนี้คนขับรถ คนขายน้ำมัน ก็ควรต้องรับผิดชอบค่าปรับโลกร้อน คนเหล่านี้ใช้รถยนต์แล้วปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากกว่าชาวบ้านที่ตัดต้นยางเก่าออก รวมถึงคนที่ละเว้นไม่ดูแลรักษาทรัพยากรของชาติ จนเป็นต้นทุนค่าเสียหายจากปัญหาโลกร้อน
 
"รัฐใช้กฎหมายเช่นนี้ถือเป็นการเลือกปฏิบัติไม่ถูกต้อง ผมไม่คิดว่าจะช่วยปกป้องหรือแก้ปัญหาได้ เป็นความมักง่ายใช้กฎหมายมั่วนิ่มมาก เวลานี้สังคมสับสนจะป้องกันโลกร้อนยังไงจะใช้กฎหมายยังไง เพราะลักษณะความผิดกับโทษที่ได้รับไม่ได้เหมาะสมกัน เป็นความตกต่ำของวงการวิชานิติศาสตร์ของประเทศไทย แสดงถึงความอ่อนเปลี้ยของผู้ใช้กฎหมาย ไม่มีกฎหมายชัดเจนว่า ผู้ใดก่อให้เกิดโลกร้อนทำให้เกิดความผิด ปรากฏการณ์นี้น่าเป็นห่วง "
 
ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายแสดงความเห็นว่า หากนำเรื่องการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโยงกับความผิดตามกฎหมาย ซึ่งเป็นเรื่องเทคนิคมากกว่าความรู้ทางกฎหมาย ในปัจจุบันไม่เพียงพอ วงการนิติศาสตร์ที่ศึกษาตลอดจนวิธีพิจารณาที่ใช้อยู่ทุกวันนี้ล้าสมัย สมมติการตัดป่าไม้เป็นสาเหตุของโลกร้อนต้องมีสูตรคิดคำนวน กรณีเช่นนี้ต้องมีศาลพิเศษหรือศาลสิ่งแวดล้อม มีผู้เชี่ยวชาญพิเศษในแต่ละด้านร่วมพิจารณา บางเรื่องไม่ควรใช้บริการของศาลแต่บ้านเราก็ผลักภาระให้ศาลชี้ความเหมาะสม ระบบศาลปัจจุบันควรใช้ในข้อพิพาททางสิ่งแวดล้อมบางประการเท่านั้น
 
อาจารย์เจริญ กล่าวต่อว่า การกังวลเรื่องภาวะโลกร้อนเป็นสิ่งที่สำคัญ ทุกฝ่ายต้องช่วยกันในการลดต้นเหตุที่ทำให้โลกร้อน แต่ปัญหาโลกร้อนที่เกิดขึ้นในเวลานี้เป็นผลจากการพัฒนา ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ นักการเมือง นายทุน ไม่ใช่ชาวบ้านผู้หาเช้ากินค่ำ แต่กลับผลักภาระรับผิดชอบให้ชาวบ้าน เห็นได้ถึงความไม่เป็นธรรมในการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ครอบงำสังคมไทยมาตลอด ถ้านโยบายของรัฐไม่เปิดเพื่อการมีส่วนร่วมของสังคม องค์ความรู้ไม่ถูกถักทอสู่ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ก็คงได้เจอข้าราชการไอเดียกระฉูด คิดด้วยตรรกะง่ายๆ ตื้นๆ นำมาสู่การใช้อำนาจที่ส่งผลเสียต่อสังคม ตามมาด้วยความขัดแย้งที่ไม่มีวันสิ้นสุด
 
ส่วน บัณฑูรย์ เศรษฐศิโรตม์ นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม และหนึ่งในคณะทำงานด้านการประชุมโลกร้อนที่จะมีขึ้นในประเทศไทยในช่วงปลายเดือนกันยายนนี้ ก็มีความเห็นว่า
 
"ปัญหาความขัดแย้งระหว่างรัฐกับชาวบ้านเรื่องป่าไม้-ที่ดินในประเทศไทยโดยตัวมันเองก็ยุ่งมากอยู่แล้ว มีทั้งปัญหาชาวบ้านบุกรุกป่า และกฎหมายบุกรุกคน อย่าเอาปัญหาเรื่องโลกร้อนซึ่งซับซ้อนยุ่งยากไปทำให้เกิดความสับสนมากขึ้นอีกดีกว่า"


http://www.thaipost.net/sunday/200909/11009





Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
คำค้น: โลกร้อน จุดอับ  
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
แกนโลกพลิก กลับขั้ว " Pole Shift " ในปี 2012 และการช่วยเหลือจาก UFO
รวมข่าวภัยพิบัติ ทั้งในอดีต และปัจจุบัน
หมีงงในพงหญ้า 1 4860 กระทู้ล่าสุด 18 ธันวาคม 2552 15:28:26
โดย AMM
"ในหลวง" ทรงขอบใจยื่นจดสิทธิบัตร"ยีนความหอมข้าวไทย"
สุขใจ ห้องสมุด
ไอย 0 2697 กระทู้ล่าสุด 30 ธันวาคม 2552 12:07:44
โดย ไอย
คำเตือน !! "เซ็กส์เสื่อม" ของแถม จาก "ออฟฟิศซินโดรม" (มนุษย์บ้างานระวังให้ดี)
สุขใจ อนามัย
หมีงงในพงหญ้า 1 3736 กระทู้ล่าสุด 13 เมษายน 2553 07:47:53
โดย PETER
หนังสั้น "ราตรีสวัสดิ์" เรียกน้ำตาอีกแล้ว (Shortfile - "GoodNight")
หนังกลางแปลง (ดูหนัง รีวิวหนัง)
Sweet Jasmine 0 2731 กระทู้ล่าสุด 29 เมษายน 2553 14:49:08
โดย Sweet Jasmine
จาก"แอตแลนติส" สู่ "อียิปต์" : พระอาจารย์รัตน์ รตนญาโณ
ไขตำนาน - ประวัติศาสตร์ - การค้นพบ อารยธรรม
หมีงงในพงหญ้า 2 9245 กระทู้ล่าสุด 10 มิถุนายน 2553 18:53:51
โดย หมีงงในพงหญ้า
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.476 วินาที กับ 34 คำสั่ง

Google visited last this page 02 ตุลาคม 2566 12:03:38