[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
16 เมษายน 2567 13:09:48 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: องค์รวมกับสุขภาวะบูรณาการ  (อ่าน 1336 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5064


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 13 มิถุนายน 2553 13:49:33 »

โดย ศ.นพ.ประสาน ต่างใจ
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 2 ตุลาคม 2547

เมื่อไม่กี่วันก่อน ผู้เขียนได้รับหนังสือเชิญให้ไปเข้าร่วม “มหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ ครั้งที่ ๑” งานชุมนุมการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย และการแพทย์ทางเลือกแห่งชาติ โดยอธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข จัดขึ้นที่ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี ระหว่างวันที่ ๑-๕ กันยายน หนังสือเชิญไม่ได้ระบุให้ผู้เขียนเป็นวิทยากรหรือมีหน้าที่อย่างหนึ่งอย่างใด เนื่องจากไม่ทราบเรื่องนี้มานานพอที่จะจัดเวลาให้เหมะสมได้ จึงไม่ได้ไปร่วมการชุมนุมตามคำเชิญ ซึ่งจนวันนี้ก็ยังไม่ได้ขอโทษท่านอธิบดีที่เป็นแพทย์รุ่นน้อง เป็นคนดีมีฝีมือและเรียกกันฉันญาติมานานร่วม ๓๐ ปี

กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกนี้จัดตั้งขึ้นมาเมื่อปี ๒๕๔๖ นี้เอง และวัตถุประสงค์อันหนึ่งคงจะต้องการแสดงว่าไทยไม่ล้าหลังฝรั่งโดยเฉพาะอเมริกา (สำหรับเรื่องอื่นๆ เช่นการแพทย์ทางเลือกหรือองค์รวมคืออะไร? ผู้ตั้งกรมนี้ขึ้นมาอาจคิดว่า ไม่เป็นไร เราคนไทยที่มักเรียนอะไรได้เร็ว อีกไม่นานก็คงจะสามารถเรียนได้ทั้งหมด) เพราะขณะนี้ ที่เมืองนอกนั้น ผู้ป่วยที่ไปหาแพทย์สมัยใหม่มีน้อยลงไปมาก (The Alternative Medicine Invades Medical Establishment, Clive Daniels, New Life, ๑๙๙๙) วันนี้อาจมีไม่ถึงหนึ่งในสามคน ในขณะที่สองในสามเขาหันไปหาแพทย์ทางเลือกแทน การสำรวจเมื่อสองปีก่อนพบว่า คนอเมริกันใช้เงินเพื่อสุขภาพและการรักษาโรคโดยวิธีอื่นๆ ของการแพทย์ทางเลือกไปถึงหนึ่งล้านล้านบาท (ไม่รวมอาหารเสริม) ส่วนที่บ้านเรานั้น ผู้เขียนบังเอิญได้มีส่วนเข้าไปเกี่ยวข้องในฐานะเป็นวิทยากรหลายครั้ง อย่างไรก็ตาม โดยรูปแบบของการจัดตั้งเป็นกรมเป็นองค์กรขึ้นมานั้น หากพิจารณาจากชื่อตามที่ยกมาข้างบน ไม่ว่าโดยปรัชญาหรือนิยามที่ยอมรับกัน อาจรู้สึกว่าเหมือนกับมีความขัดแย้งกับคำว่าองค์รวมและสร้างความไม่เข้าใจกับผู้ที่สนใจอย่างจริงจังในเรื่องของการแพทย์องค์รวม หรือการแพทย์ผสมผสาน หรือการแพทย์ทางเลือกเป็นอย่างมาก เพราะจริงๆ แล้ว เท่าที่เข้าใจกัน ปรัชญาและหลักการของธรรมชาติของชีวิต (ในที่นี้คือมนุษย์) คือการไหลเลื่อนเปลี่ยนแปลงแบบเชื่อมโยงกันของทุกๆ ส่วน ทุกๆ ระบบ และทุกๆ มิติที่ประกอบขึ้นเป็นมนุษย์ ในระดับแรกคือ กาย จิตใจ (ที่รวมอารมณ์ความรู้สึก) และจิตวิญญาณ และในระดับต่อมา ครอบครัว สังคมตลอดไปจนถึงสิ่งแวดล้อมทั้งหมดในไบโอสเฟียร์ ประหนึ่งทั้งหมดคือหนึ่งเดียวกันโดยไล่ความสำคัญ และความสัมพันธ์ระหว่างกันไปตามลำดับ ผู้เขียนเชื่อว่า มีแต่ความเป็นองค์รวมดังที่กล่าวมานี้เท่านั้นที่จะทำให้เราเข้าใจในคำว่า “สุขภาพ” และคำว่าการแพทย์องค์รวมหรือการแพทย์ทางเลือก (ชื่อที่ใช้กันบนความเคยชิน) ซึ่งรวมผู้บำบัดรักษา บุคคลากรที่เกี่ยวข้อง ผู้ป่วย และวิธีการอันหลากหลายได้อย่างชัดแจ้ง

ความเห็นที่เป็นส่วนตัวจากการได้คิดได้เขียนเรื่องของมนุษย์กับสังคม และโลกกับสิ่งแวดล้อมธรรมชาติมานาน ผู้เขียนจะรู้สึกตะขิดตะขวงใจทุกครั้งกับอะไรก็ตามที่เน้นความเป็นสอง (dualism) และแยกส่วน (reductionism) ซึ่งผิดกระบวนการธรรมชาติอย่างเป็นตรงกันข้าม ดังนั้นชื่อของกรมนี้หรือกรมกองไหนกระทรวงใดที่ชี้บ่งโลกทัศน์ของผู้ตั้งไปในทางนั้น (ส่วนมากเป็นนักการเมืองและนักวิทยาศาสตร์สังคมที่กลายมาเป็นผู้นำหรือผู้ทรงอิทธิพลต่อกรมกองหนึ่งใดในขณะนั้นๆ) ผู้เขียนจึงเข้าใจดีต่อการที่เรายังจำเป็นต้องใช้คำเหล่านั้น การแพทย์ทางเลือกที่ต่างประเทศใช้กันในเบื้องแรกก็มีที่มาไปทางด้านนั้น และคิดว่าเรื่องนี้เรา ที่ไม่จำเพาะเจาะจงแต่ผู้ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น แต่รวมสาธารณชนคนทั่วไปด้วย ต้องมาพูดกันและแลกเปลี่ยนความเห็นกันโดยไม่จำเป็นต้องมีข้อสรุปหรือโต้แย้งกันจนหน้าตาแดงใส่กัน

ว่าจริงๆ แล้ว ทำไมต้องมีการแพทย์องค์รวมหรือการแพทย์ทางเลือก? การแพทย์ที่ใช้กันอยู่มันไม่ถูกไม่ดีตรงไหน หรือมีปัญหาอย่างไร? ตอบรวมๆ ทั้งสองคำถามได้ว่า หนึ่ง การแพทย์แผนปัจจุบันนั้นตั้งบนหลักการสำคัญของวิทยาศาสตร์เก่าเดิมสมัยนิวตัน กาลิเลโอ เมื่อปีมะโว้ และชีววิทยาของ ชาร์ลส์ ดาร์วิน เมื่อปีมะแว้ง ที่ทุกวันนี้ เราต่างรู้ดีว่าไม่สมบูรณ์ หรือกระทั่งผิด หรือไม่จริงเอามากๆ นั่นก็คือ วัตถุ (Materialism) เครื่องจักร (Machinism) และแยกส่วน (Reductionism) จึงเยือกเย็น แข็งกระด้าง ไร้ชีวิตชีวา และเครื่องจักรแห่งชีวิตที่ว่ามานั้นเป็นผลโดยตรงและโดยอ้อมของการคัดเลือกโดยธรรมชาติ (Natural Selection) สอง สุขภาวะและการเจ็บไข้ได้ป่วยนั้นเป็นสหปรากฏการณ์หรือสหมิติ (Multidimensional) และมิติขององค์ชีวิตนั้น ไม่ได้มีเพียงร่างกาย แต่ยังมีอารมณ์ความรู้สึก มีจิตใจ มีจิตวิญญาณ แถมยังมีสังคมและสิ่งแวดล้อม กระทั่งปุ๋ยหรือสารเคมี (คนเราจะมีสุขภาวะดีพร้อมได้อย่างไร? หากอากาศก็ป่วย ดินและน้ำก็ป่วยจากการปนเปื้อนสารเคมี) หรือแม้แต่ระบบการเมืองสังคมและเศรษฐกิจที่ป่วย ก็มีส่วนในการกำหนดสุขภาพและสภาวะโรค (คุณจับเอาผู้ก่อการร้ายไปตรวจ จับเอาตัวฮิตเล่อร์ หรือประธานาธิบดีหรือนายกรัฐมนตรีบางคนไปเจาะเลือด เอ็กซ์-เรย์ แล้วทำ MRI ผลออกมาดีหมดแจ๋วแหวว แต่สุขภาวะของประชาชนในที่นั้นๆ จะสมบูรณ์ได้อย่างไร?) เด็กวัยรุ่นที่วิ่งแทงคนบนรถเมล์ชี้บ่งโรคจิตแห่งสังคมได้อย่างชัดเจน หากพ่อก็ทุบตี แม่ก็ติดเหล้า ทะเลาะกันเป็นรายชั่วโมง แล้วจะให้เด็กวัยรุ่นเหล่านั้นมีสุขภาวะดีเลิศหรือสมประกอบได้อย่างไร? อย่าได้คิดว่าที่พูดมานั้นไม่เกี่ยวกับการแพทย์หรือสุขภาพของประชาชน

ทุกวันนี้ ที่เมืองนอกมีนักเรียนแพทย์ที่ต้องการเป็นแพทย์เฉพาะทางน้อยลงไปมาก (Noetic Model Of Medicine, Marilyn Schiltz, IONs ๑๙๙๘) ก็เพราะไม่ต้องการเป็นหุ่นยนต์ที่ทำหน้าที่รักษาหุ่นยนต์ (คำพูดของ เคน วิลเบอร์ ที่ขยายจากคำว่า biophysical) ดังที่เมื่อไม่นานมานี้ อาจารย์แพทย์มักย้ำแล้วย้ำอีกกับนักเรียนหรือแพทย์ฝึกหัดว่า “จงอย่ามีความใกล้ชิดจนรู้สึกผูกพันหรือสงสารผู้ป่วยมากนัก เพราะจะทำให้การรักษาโรคหรือการตัดสินใจและประสิทธิภาพของแพทย์ต้องหย่อนยานลง” นั่นจริงๆ เป็นความหวังดีอย่างแท้จริงและสอดคล้องกับวิทยาศาสตร์เก่า (วัตถุและแยกส่วน) แห่งการแพทย์แผนปัจจุบัน แต่ภายในทศวรรษเศษๆ มานี้อาจารย์แพทย์ทุกคนที่อเมริการู้ดีว่า ที่เคยพูดเช่นนั้น มันผิดไปอย่างไร? เมื่อผลของการวิจัยที่เป็นวิทยาศาสตร์สายหลักสายตรงจำนวนมากเหลือเกินต่างล้วนชี้บางอย่างชัดแจ้งว่า อารมณ์กับความรู้สึกและความเมตตาของผู้รักษาและเจ้าหน้าที่ รวมทั้งจิตใจและความรู้สึกของคนไข้ต่อแพทย์และการรักษา ให้ผลดีอย่างที่สุดกับผู้ป่วยและแพทย์ ที่เทียบกันกับหลักการรักษาแบบเดิมไม่ได้เลย ไม่ว่าโอกาสของการหายจากโรคได้ดีกว่าและเร็วกว่าแล้ว ยังทำให้เสียค่าใช้จ่ายน้อยลงไปมาก (Integral Medicine: A Noetic Reader, Marilyn Schiltz and Tina Hyman, , to be published in ๒๐๐๕) นั่นอาจสรุปแบบกำปั้นทุบดินได้ว่า การรักษาแบบที่หมอไม่ได้ใส่ใจหรือไม่มีความเมตตากับคนไข้นั้น นอกจากทำให้การรักษาต้องใช้เวลามากกว่าแล้ว แพทย์เองอาจกลายจากการเป็นผู้รักษาไปเป็นผู้ที่ทำร้ายผู้ป่วยของตนเองก็ได้

ผู้เขียนคิดว่า การแพทย์ต้องมีเรื่องของจิตใจและจิตวิญญาณของผู้รักษาเป็นปฐม หรืออย่างน้อยก็ต้องมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าวิธีการซึ่งเป็นเรื่องของเทคนิค กับประสบการณ์และศิลปะ การแพทย์ทางเลือกจึงเป็นรูปแบบและแนวทางที่เราต้องนำมาผสมผสานกับการแพทย์ “สมัยใหม่” โดยที่ไม่มีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดต้องทำหน้างอ กระนั้นก็ดี แพทย์ทางเลือกเอง ที่คิดว่าตนเข้าใจในธรรมชาติของความเป็นองค์รวมของจักรวาลได้หมดแล้ว ก็คงต้องสำรวจตัวเองบ่อยๆ ว่า ตนมีความเข้าใจในเรื่องของสุขภาวะในรูปแบบขององค์รวมอย่างไร




วันเสาร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2547 at ที่ 12:49 น. by knoom    
ป้ายกำกับ: บทความมติชน, ประสาน ต่างใจ | 0 ความคิดเห็น

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น: บูรณาการ  
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.337 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 19 กุมภาพันธ์ 2567 17:51:01