[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
23 เมษายน 2567 14:50:01 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เฝ้ามองชีวิตเริงระบำ : เล่าเรื่องนาโรปะที่วงจิตวิวัฒน์ (ปี๔๗)  (อ่าน 2068 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5065


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 13 มิถุนายน 2553 14:39:29 »


 
 
 
เมื่อผมเข้าเรียนที่นาโรปะเมื่อ ๘ ปีก่อน ตอนแรกก็ไม่ได้ตั้งใจ เพราะว่าคุณพ่ออยากให้เรียน MBA แต่ผมต่อรองว่า ขอเป็น MA เฉยๆได้ใหม คุณพ่อก็เลยถามว่าแล้วจะไปเรียนที่ไหน ผมก็บอกว่า มหาวิทยาลัยนาโรปะ คุณพ่อก็ถามว่า ติดอันดับอะไรบ้าง (หัวเราะ) เพราะว่าไม่มีใครรู้จัก แต่ผมปรึกษาหลายๆ คนแล้ว อ.สุลักษณ์ ก็แนะนำที่นี่ ความจริง ชูมากเกอร์ คอลเลจ (Schumacher College) ก็น่าสนใจ แต่เนื่องจากไม่มีหลักสูตรประจำ มีแต่ course สั้นๆ ก็เลยไปเรียนที่นาโรปะ ตอนแรกตั้งใจไปเรียนเรื่อง Engaged Buddhism แต่คิดไปคิดมา ก็มาดูหลักสูตรผู้นำสิ่งแวดล้อม ซึ่งผมคิดว่าน่าสนใจ เพราะเขาใช้คำว่า The Union of Science, Spirit and Action เป็น theme ของหลักสูตรการศึกษา คือเพื่อให้เข้าใจวิธีคิด กรอบความคิดทางวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ศาสตร์ทั้งหมดที่เป็นมา เข้าใจมิติของความศักดิ์สิทธิ์ แล้วต้องนำไปสู่การรับใช้ผู้อื่น และการเปลี่ยนแปลงตัวเอง ความศักดิ์สิทธิ์ถ้าหากไม่ได้ดำรงอยู่ในวิถีชีวิตแล้ว ก็เป็นเพียงแค่ความศักดิ์สิทธิ์ที่เราคิดเอาเอง
แนวคิอีกประการหนึ่งของหลักสูตรนี้ คือนิเวศวิทยาแนวลึก, System Theory, Chaos Theory และนำ principle ทางด้านมานุษยวิทยามาสอนด้วย เช่น Cultural Ecology ผมจึงเลือกเรียนสาขานี้เพราะเห็นว่าท้าทายดี
 
Course แรกก็เป็นอย่างที่เขียนไว้ในเอกสารประกอบ คือต้องออกไปอยู่ทะเลทราย ต้องพาตัวเองเข้าไป เป็นทั้งความรู้ เป็นทั้งตัวทดสอบความรู้ และเข้าไปหาความรู้ เพราะนาโรปะถือว่าความรู้เกิดขึ้นมาจากกระบวนการสัมพันธ์กับธรรมชาติ
 
นาโรปะเป็นมหาวิทยาลัยเล็กๆ ที่เกิดจากการรวมตัวของกลุ่มคนเล็กๆ คล้ายๆ กับกลุ่มจิตวิวัฒน์ แล้วคิดว่าจะมีกระบวนการเรียนรู้และการศึกษาอย่างไร ที่ทำให้ผู้เรียนสามารถค้นพบความสุขในการเรียน แล้วเปลี่ยนแปลงตัวเอง เท่าทันตัวเอง ผู้ก่อตั้งคือ เชอเกียม ตรุงปะ (Chögyam Trungpa, Rinpoche) กับลูกศิษย์ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นศิลปินบ้าง เป็นนักวิทยาศาสตร์บ้าง อลัน กินสเบิร์ก กวีเอกร่วมสมัยของอเมริกา ก็เป็นลูกศิษย์คนหนึ่ง ที่มาช่วยก่อตั้งมหาวิทยาลัยด้วย มีการสอนเปิดสอนในหลายคณะ เช่น จิตวิทยาการศึกษา ดนตรี ศิลปะบำบัด โดยส่วนใหญ่ผู้เรียนจะเป็นชาวอเมริกัน แต่ก็มีจากอังกฤษบ้าง หลายๆ คนที่มาเรียนก็เพื่อเยียวยาตัวเอง เข้าใจตัวเอง และไปรับใช้คนอื่น มีนักศึกษาประมาณ ๑ พันคน (นพ.ประเวศ: เดี๋ยวนี้ มี ๑,๕๐๐ คน)
 
ตอนแรกมหาวิทยาลัยก็ไม่มีเงิน เพราะรัฐไม่อุดหนุน ค่าเล่าเรียนจึงสูง เนื้อหาวิชาส่วนใหญ่ จะมี ๓ เรื่องหลักๆ คือ หนึ่ง เรื่องการเข้าใจตนเอง มีวิชาภาวนา ที่ใช้คำว่า contemplative ไม่ได้ใช้คำว่า meditation เพราะคนที่นับถือศาสนาอื่น ก็มาเรียนได้ มีการแสวงหารูปแบบที่จะพัฒนาการทำงานด้านใน การได้ยินเสียงของตัวเอง ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นเสียงของเรา อาจจะเป็นเสียงของคนอื่น หรือเป็นเสียงของพระเจ้าก็ได้
 
สอง เรื่องความเข้าใจเกี่ยวกับโลก มีการเรียนพัฒนาการของระบบชีวิต ซึ่งผมคิดว่าเป็นเรื่องค่อนข้างใหม่ อาจารย์ก็จะให้อ่านทฤษฎีวิวัฒนาการแล้ววิพากษ์ทฤษฎีเหล่านี้ เรียนจนถึงการเกิดขึ้นของทุนนิยม และทุนนิยมโลกาภิวัตน์ ใน scale ที่ใหญ่และซับซ้อนมากขึ้น เรียนทฤษฎีระบบ โดยใช้หนังสือของ โจแอนนา เมซี (Joanna Macy) ซึ่งถือว่าเป็น scholar ที่โยงกับพุทธศาสนาในเรื่องอิทัปปัจจยตา โยงเข้ากับ General System Theory เธอใช้ภาษาบาลีในการเขียนหนังสือมาก คนที่ไม่ใช่พุทธอย่างเพื่อนผม อ่านแล้วก็หงุดหงิด เพราะไม่รู้ภาษาบาลีสันสกฤต
 
สาม เรื่องการพัฒนา leadership ความเป็นผู้นำ หมายถึง การทำงานเป็นกลุ่ม การแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง การพัฒนาการฟัง การประสานความขัดแย้ง คือทักษะทุกอย่างที่เกี่ยวกับการสร้างองค์การ หลักสูตรที่ผมเรียน แบ่งเป็น ๓ area แต่ภาควิชาอื่นๆ เช่น ดนตรี ศิลปะ หรือ psychology ซึ่งนาโรปะมีหลากหลายมาก ทั้งการใช้กาย จิต มีสาขาใหม่คือ ecopsychology คือการใช้ธรรมชาติเป็นตัวบำบัด ที่ทำให้เราเยียวยา และปรับจิตใจให้สูงขึ้น จุดที่ผมคิดว่าเป็นข้อเด่นของนาโรปะ คือการรักษาขนาดให้เล็ก เพราะมีผลต่อการสร้างบรรยากาศความเสมอภาคในการเรียน ที่เข้าใจกันว่าฝรั่งมีความเท่าทียมกันในชั้นเรียน ก็ถูกในระดับหนึ่ง คือลูกศิษย์สามารถแย้งอาจารย์ได้ แต่ผมก็คิดว่า power relationship หรือประเด็นเรื่องอำนาจ ยังเป็นปัญหาอยู่ในบรรยากาศของการเรียน ที่นาโรปะพยายามทำคือ ลูกศิษย์กับอาจารย์สามารถเรียนไปด้วยกันได้ อาจารย์ก็สามารถไม่รู้ได้ ยอมรับตรงๆ ว่าไม่รู้แล้วค้นหาร่วมกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ก่อตั้งเน้นมาโดยตลอด หลักเรื่องการดำรงอยู่กับความไม่รู้ การไว้วางใจชีวิต การอยู่กับความเปราะบาง vulnerable เป็นจุดที่ผมรู้สึกว่า ในฐานะที่เติบโตมาทางพุทธเถรวาท ไม่ค่อยได้สัมผัส โดยเฉพาะเรื่องการเปราะบาง ในหนังสือซึ่งมีแปลเป็นภาษาไทย เรื่อง Shambhala เชอเกียม บอกว่า หัวใจของนักรบ ต้องเป็นหัวใจที่เปราะบางและแตกได้ตลอดเวลา ไม่ต้องเป็นหัวใจที่มั่นคง เชื่อมั่น แล้วก็รู้ ซึ่งผมคิดว่าเป็น principle หรือหลักการบางอย่างของนาโรปะ ที่มีผลทำให้ให้เปิดกว้างต่อความคิดสร้างสรรค์ และ innovation ความรู้ถูกสร้างขึ้นมาร่วมกันระหว่างครูกับศิษย์ คืออาจารย์จะมีความรู้และมีประสบการณ์มาก แต่เวลาร่วมอยู่ในกระบวนการสอน ในการเรียนรู้ร่วมกัน ก็มักจะมีอะไรที่ใหม่และสดเกิดขึ้นเสมอๆ
 
พื้นฐานของความไว้วางใจ จะใช้คำว่า basic goodness คือความดีความงาม ศักดิ์ศรี ความสง่างามของชีวิต ความสง่างามของความเป็นมนุษย์ มีอยู่แล้ว ไม่สามารถทำลายได้ ซึ่งตรงกับวิธีคิดของชนเผ่าดั้งเดิมของอเมริกา ที่เรียกว่าอินเดียนแดง ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่นาโรปะพยายามนำมาสอดประสานระหว่างความคิดทางพุทธ อินเดียนแดง และวิทยาศาสตร์ อาจารย์คนหนึ่งบอกว่า ไม่ว่าจะนอนดึกขนาดไหน ก็จะตื่นขึ้นมาแต่เช้า เพราะช่วยให้ตนเองมีพลังและช่วยให้สามารถเดินอยู่บนขอบได้ตลอดเวลา และบอกว่าชีวิตของการเรียนรู้ ต้องเดินอยู่บนขอบ ต้องพบความเสี่ยง พบกับอะไรที่มาปะทะมาชนได้ตลอดเวลา
ในแง่ของกระบวนการเรียนรู้ที่ผมอยากจะพูดถึง คือการนำพิธีกรรมมาใช้กระบวนการศึกษา หน้าที่ของพิธีกรรรมจะมีหลายประการ เชื่อมโยงกับที่ใช้กันในสังคมดั้งเดิม ชุมชนดั้งเดิมอยู่แล้ว เชื่อมโยงกับจิตที่แตกออก กับธรรมชาติ ทุกๆ class จะมีธรรมเนียมว่า ผู้เรียนจะนั่งเป็นวงกลมอย่างนี้ พอจบ class ก็จะมีพิธีกรรมเล็กๆ
 
สำหรับการภาวนา หมายถึงการนั่งตามลมหายใจ จะมีครูสอนภาวนาเป็นผู้ให้คำปรึกษา เมื่อนักเรียนที่ไม่คุ้นเคยหรือว่ามีปัญหาเกี่ยวกับภาวนา ก็สามารถ sign up และขอพบอาจารย์ได้ นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยจะมีห้องภาวนา ขนาด ๓๐ เบาะ เปิดตั้งแต่เช้า นักศึกษา staff ของมหาวิทยาลัย หรืออาจารย์ สามารถเข้าไปใช้ได้ตลอดเวลา
 
กลับมาเรื่องพิธีกรรมอีกนิด ก็คือ พิธีกรรมที่เป็นกระบวนการเรียนรู้อย่างหนึ่ง ไม่จำเป็นต้องเป็นพิธีกรรมเก่าดั้งเดิม จะมีการค้นพิธีกรรมใหม่ๆ ออกมาเรื่อยๆ พวกผมจะถูกฝึก ถูกสั่งการบ้านให้คิดพิธีกรรม แล้วนำมาเสนอให้เพื่อนๆ ทำด้วยกัน ทำตัวเป็นชนเผ่า บางคนก็ใช้การเคลื่อนไหวร่างกาย บางคนก็ใช้การร้อง ฉะนั้น ก็จะหลากหลาย เพื่อนผมหลายคน ใช้พิธีกรรมการร้อง มีสีสันมาก อย่างการร้องโอมมมมม เป็นต้น กรณีนี้ จะเห็นได้ว่า กระบวนการเรียนรู้จะเกิดขึ้นจากนักศึกษาด้วย หรือการออกไปอยู่ในทะเลทราย อดอาหาร ๓วัน ก่อนออกเดินทาง ครูก็จะแนะนำว่า ให้ฝึกสร้างพิธีกรรมที่จะอยู่กับตัวเอง เพราะเวลาอยู่กับตัวเอง จิตจะฟุ้งง่าย ต้องอาศัยพิธีกรรมช่วย ไม่ว่าจะเป็นการสวดมนต์ นั่งสมาธิ เดินจงกรม หรือว่าคุยกับมดที่ผ่านไปมา ถามไปเลยว่า ชีวิตผมสับสนมาก ขอคำตอบหน่อย แล้วก็ให้ฟังจริงๆ แต่มดก็เมิน ไม่อยากคุยด้วย (หัวเราะ) คือการออกทะเลทราย (อยู่ในรัฐยูทาห์ ใกล้ๆ กับอริโซนา สวยงามมาก) ในสมัยก่อนเขาใช้คำว่า “Vision Quest” มหาวิทยาลัยเชื่อว่าถ้าปล่อยให้อยู่คนเดียว ในที่ไกลๆ เคว้งคว้าง เวิ้งว้าง จะมีผลต่อวิธีคิด (นพ.ประเวศ: มีเขียนว่า ออกไปแก้ผ้ากลางทะเลทราย) อาจารย์บอกว่าอาจจะเจออะไรดีๆ ผมก็ลองทุกอย่าง แต่ไม่เจออะไรสักที คืออาจารย์จะให้ตั้งคำถามกับตัวเองว่า การออกไปอยู่กับตัวเองครั้งนี้ ต้องการจะรู้เรื่องอะไร เราสามารถขอให้พลังของธรรมชาตินำความกระจ่างชัดเข้ามาในใจเราได้ ในด้านหนึ่ง นี่เป็นกระบวนการที่ช่วยให้เราทำหมายเหตุชีวิต คล้ายการบวชในบ้านเรา ที่ถือว่าเป็นการเปลี่ยนสถานะจากเด็กกลายเป็นหนุ่ม การออกไปอยู่กับตนเองในธรรมชาติ ผมคิดว่าคงมาจากแรงบันดาลใจของหลายๆ คนที่ไปเรียนรู้มาจากอินเดียนแดง ประกอบกับเอาความรู้ความเข้าใจทางด้าน psychology สาย คาร์ล จุง (Carl Gustav Jung) ที่เป็นเรื่องของจิต เป็นเรื่องการตีความระบบสัญลักษณ์ เพราะว่าเมื่อเราออกจากทะเลทราย ก็จะมานั่งล้อมวง แล้วเล่าให้อาจารย์ฟัง อาจารย์ก็จะถามว่าเกิดอะไรขึ้นกับเราในช่วง ๓ วัน มีนัยสำคัญอย่างไรต่อชีวิตเรา เราตั้งโจทย์ของตัวเองอย่างไร ก็จะมีการตีความเชิงสัญลักษณ์ ในแง่หนึ่งก็ช่วยให้นักเรียนเข้าในตัวเอง เช่น ถ้าบางคนเห็นนกหรืองู อาจารย์ก็จะถามว่า ปรกติคุณมองนกหรืองูอย่างไร โดยไม่ต้องคิด สัญลักษณ์พวกนี้มีความหมายอย่างไร เขาใช้คำว่า synchronisity ความประจวบเหมาะของเหตุการณ์และความหมาย ไม่ใช่อุบัติเหตุ นี่เป็นกระบวนการหนึ่งที่ทุกคนต้องผ่านในการศึกษาระดับปริญญาโท ซึ่งจะโยงเข้ากับความเข้าใจเรื่องนิเวศวิทยาแนวลึก เพราะหากไม่ได้เข้าไปอยู่ตรงนั้น เพียงแต่อ่านหนังสือเกี่ยวกับนิเวศวิทยาลัยแนวลึก ก็จะไม่สามารถเข้าใจเรื่องเหล่านี้ได้
 
พวกเราเคยเชิญนักวิทยาศาสตร์คนหนึ่ง ของสถาบันวิจัยทางอากาศที่อยู่ในโบลเดอร์ (Boulder) ซึ่งเป็นสถาบันที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในอเมริกา และกำลังวิจัยเรื่องโลกร้อน argument ของเขาคือ โลกร้อนอยู่แล้ว แต่คนไปคิดว่าตัวเองเป็นสาเหตุหลัก แม้เขาจะไม่ปฏิเสธว่ามนุษย์มีส่วนทำให้โลกร้อนยิ่งขึ้นก็ตาม โดยเขาเข้าไปอยู่ในป่า ภาวนา แล้วก็ทำงานในห้องแลป นักศึกษานาโรปะ จึงชวนมาร่วมเวที เพราะนาโรปะจะมีการจัดเวที brownbag lunch คือการถือขนมมานั่งกินมื้อกลางวันในวงสนทนาได้ เป็นกันเองมาก และพิธีกรรมหนึ่งก็คือการทำงานกับอารมณ์ ผมคิดว่า เป็นบรรยากาศทั่วไป ทุกชั้น ทุกสถานที่ ในนาโรปะ คือการให้คุณค่ากับการเข้าใจตนเอง เข้าใจอารมณ์ตัวเอง เพราะคนที่มาเรียนนาโรปะส่วนใหญ่จะใช้ความคิดมาก แต่เข้าใจเรื่องอารมณ์และการทำงานแบบกลุ่มน้อย เป็นเรื่องปกติที่นักศึกษาจะพูดเรื่องที่ตัวเองกลัว หรือเสียใจ แล้วร้องไห้ขึ้นมา การร้องไห้หรือการแสดงอารมณ์ความเศร้า เป็นเรื่องที่ยอมรับได้ในบรรยากาศของการศึกษา และสำคัญมาก เพราะอยากจะเอื้อเฟื้อให้คนได้สัมผัสแล้วไม่ปฏิเสธอารมณ์ของตัวเอง แต่ก็ไม่ปล่อยให้รุนแรงมากขึ้น
กลับมาที่หลักของการดำรงอยู่ในปัจจุบันขณะ เมื่อตอนที่ผมไปเรียน ผมไม่เคยอ่าน Mission ของนาโรปะหรืออ่านแบบไม่ได้สนใจมากนัก แต่พอเรียนจบแล้วกลับมาทำงาน เมื่ออ่านพันธกิจ ๖ ประการของนาโรปะ จะตรงกับกระบวนการเรียนรู้ที่สัมผัสมาเลย ซึ่งทำให้เปลี่ยนตัวเองมาก เพราะเมื่อก่อน ผมเป็นคนที่เหนียม ไม่แน่ใจ มีภาพลักษณ์ของตัวเองเยอะ ว่าควรเป็นอย่างไร แต่ไม่ได้คิดว่าตัวเองคือใคร ซึ่งก็ถูกยัดเยียดมาในกระบวนการศึกษา ในกระบวนการเติบโต ในความเป็นผู้ชาย ทีนี้กระบวนการทั้งหลายในแต่ละวิชา ก็ช่วยทีละนิดทีละหน่อย ทำให้รับรู้ในสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้น แล้วก็นำมาประยุกต์ได้
 
ประการที่ ๑ คือ ความรู้เท่าทันปัจจุบันขณะ ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญของการเรียนรู้ การสร้างความรู้ เป็นการฝึกฝนและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตัวเอง ซึ่งตรงกับหลักการทางพุทธซึ่งพวกเราคุ้นเคยกันอยู่แล้ว แต่กระบวนการศึกษาในตะวันตก หลักการนี้ถือว่าเป็นข้อแรก ที่สำคัญที่สุด เพราะหากเราสามารถรู้เท่าทันปัจจุบันขณะได้มากขึ้น จะทำให้เรารับรู้ประสบการณ์ตรงที่เกิดขึ้น ทำให้กระบวนการเรียนรู้ละเอียดถี่ถ้วนมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเท่าทันความคิด ความรู้สึก การเกิดขึ้นของความคิดต่างๆ อารมณ์ต่างๆ และการอยู่ในปัจจุบันขณะ ก็จะมีคุณลักษณะต่างๆ ที่สามารถสำแดงออกมา ไม่ว่าจะเป็นความคิดอ่านแม่นยำ ความเข้าใจเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้น
 
หลักการที่ ๒ คือ การสร้างสรรค์ชุมชนแห่งการเรียนรู้ เพราะการเรียนรู้ไม่ใช่เรื่องการแสวงหาของปัจเจกเท่านั้น และประสิทธิภาพก็ไม่ได้เกิดขึ้นในห้องเรียนที่แยกสัดส่วนจากสิ่งแวดล้อม แต่ว่าจะต้องเกิดจากปฏิสัมพันธ์ dynamic จากการปะทะสังสรรค์ที่เรามีต่อผู้คนและสิ่งต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ฉะนั้น บรรยากาศของกัลยาณมิตรหรือการเรียนรู้ จะทำให้เกิดการทดลองการมีชีวิต ท้าทาย ทดสอบสติปัญญา ความรู้ และการรับรู้ของนักศึกษา เป้าหมายการเรียนรู้ในแต่ละวิชา ระบุว่าจริงๆ แล้ว คนที่มาเรียน เมื่อจบออกไป จะหาสมดุลในชีวิตอย่างไร การทำวิชาชีพจะเป็นอย่างไร เพื่อนผมหลายคนบ่นว่า มาลงภาวนาตั้ง ๙ หน่วยกิต จบออกไปจะทำอะไรกิน (หัวเราะ) ใครจะรู้ ใครจะเข้าใจบ้าง ว่าการภาวนามีผลต่อประสิทธิภาพในการทำงาน
หลักการที่ ๓ คือ บ่มเพาะการเปิดกว้าง ซึ่งแยกย่อยออกไปอีก คือเขาถือว่า graduate จะต้องมีคุณลักษณะอย่างไร ทั้งหมด ๕ ประการด้วยกัน
 
๓.๑ นักศึกษาต้องมีความเปิดใจและเคารพในประสบการณ์ตรงของตัวเอง ไม่เฉพาะความคิด ประสบการณ์คือทุกๆ อย่าง ไม่ว่าจะเป็นความคิด อารมณ์ ความรู้สึก บัณฑิตที่พึงปรารถนาของนาโรปะ จะต้องมองเห็นประสบการณ์ตรงเหล่านี้อย่างตรงไปตรงมา เพราะถ้าพลาดการรับรู้ประสบการณ์ตรงเหล่านี้ การเรียนรู้ก็จะไม่เกิดขึ้น การบ่มเพาะความสนใจใคร่รู้ในโลก ในสิ่งที่อยู่รอบข้าง สามารถดำรงอยู่และยอมรับในสิ่งที่เราเป็นได้อย่างไม่แปลกแยก ซึ่งผมว่าเป็นเรื่องที่ยากที่สุดเรื่องหนึ่งของโจทย์การศึกษาในนาโรปะ ไม่แปลกแยกกับความคิด ไม่แปลกแยกกับความเป็นตัวเอง
 
๓.๒ ทักษะการสื่อสาร การสร้างความสัมพันธ์ที่สร้างสรรค์ คือต้องเรียนรู้ที่จะชื่นชมคุณค่าในประสบการณ์ตรงของคนอื่น มีการฝึก dialogue ของ เดวิด โบห์ม ซึ่งจะคล้ายๆ กับของเควกเกอร์ ต้องรับฟังและเคารพ เมื่อได้ยินเสียงข้างในของตนเอง ก็ต้องเคารพในประสบการณ์ข้างในของคนอื่นด้วย เพราะทักษะในการสื่อสารจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อเราสามารถชื่นชมประสบการณ์ข้างในของคนอื่นได้ ไม่ว่าจะเป็นทักษะในการเขียน พูด ฟัง หรือทักษะในศิลปะแขนงต่างๆ เช่น ศิลปะแบบเคลื่อนไหว ทัศนศิลป์ ฯลฯ
 
๓.๓ มีการวิเคราะห์ที่แหลมคม ลุ่มลึก เป็นเรื่องพุทธิปัญญา เข้าใจหลักการต่างๆ เชื่อมโยงได้อย่างมีวิพากษ์ วิจารณ์ มีวิจารณญาณและมีปัญญา มีความสามารถในการเปิดพื้นที่เรียนรู้ ความตั้งใจที่จะแสวงหาความสดใหม่
 
๓.๔ การชื่นชมในความมั่งคั่งในภูมิปัญญาของโลก ว่ามีความหลากหลายเหมือนความหลากหลายทางชีวภาพ ไม่ว่าจะเป็นของชนเผ่า ในศาสนาต่างๆ
 
ในนาโรปะจะมี World Wisdom Chair คือมีผู้อาวุโสคนหนึ่งไปอยู่ประจำ เป็นเทอมๆ เหมือนปราชญ์ประจำสถาบัน ตอนที่ผมอยู่ จะมีแรบไบ (rabbi) ซึ่งทุกเดือนหรือทุก ๒ อาทิตย์ ก็จะมีการนำเสนอเรื่องที่ตนเองสนใจและมีความรู้ โดยเปิดให้คนเข้าฟังได้โดยไม่ต้องเสียเงิน เมื่อครบเทอม ก็จะเลือกกรรมการคนอื่นต่อไป
๓.๕ การกระทำที่มีประสิทธิภาพ บัณทิตจะต้องกระทำเป็น ไม่ใช่คิดเป็นอย่างเดียว สามารถนำความรู้ไปกระทำให้ทะลุปรุโปร่ง
 
(หลักการที่ ๔ มรดกแห่งการศึกษาแนวพุทธ หลักการที่ ๕ วิถีแห่งภูมิปัญญาโลก และหลักการที่ ๖ การไม่ฝักใฝ่ในลัทธิความเชื่อหรือศาสนาใดๆ และความเปิดกว้าง, “บทเรียนจากมหาวิทยาลัยนาโรปะ”
โดย ณัฐฬส วังวิญญู)
 
มี paper อีกชิ้นหนึ่งเรื่อง “เบญจคุณ” ที่ผมแปลจาก “Five Wisdoms” ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงระหว่างคุณลักษณะทั้ง ๕ จะคล้ายๆ กับนพลักษณ์ แต่ว่าอาจจะมาทางสายธิเบต เช่น แต่ละคุณลักษณะจะเผยตัวอย่างไรในแต่ละคน มีวิธีการอย่างไร เช่น สีแดงของผมมีมากเกินไป สีน้ำเงินของผมมีน้อย ผมต้องการสีน้ำเงินมาก ก็จะมีกระบวนการ เป็นห้อง ๕ ห้องที่ออกแบบไม่เหมือนกัน แต่ละห้องจะระบายสีแต่ละสี แล้วรูปลักษณะของห้องเป็นกระบวนการที่ช่วยให้เราดึงลักษณะบางอย่างออกมา ไม่ว่าจะเป็นความใจเย็น ความสงบ หรือว่าความจัดจ้าน บางคนมีความจัดจ้านน้อยไปหน่อย ก็จะมีห้องฝึกการแสดงออก บางคนใช้ความคิดมาก อยู่กับกายน้อย บางคนอยู่กับกายมากไป ก็ไม่ค่อยดี คือช่วยให้คนเรียนได้ค้นหาสมดุลของตัวเอง คือจะมี course ที่เปิดให้คนข้างนอกมาร่วมเรียนด้วยได้ ไม่จำกัดความรู้และอายุ ส่วนใหญ่อาจารย์ที่ไปสอน ก็เพราะอยากจะ cross discipline ก้าวไปสู่พรมแดนความรู้ของคนอื่นบ้าง ว่าคนอื่นคิดอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องนี้ ในแง่ของการเรียนที่หลากหลาย ก็จะแบ่งพื้นที่ไว้ให้นักศึกษาได้ออกแบบการเรียน ว่าอยากจะอ่านหนังสือเล่มไหน การเลือกสถานที่เรียน อาจจะนัดหมายที่ร้านกาแฟ หรือที่ห้องสมุดก็ได้
 
ผมไม่มีโอกาสได้เรียนกับเชอเกียม ตรุงปะ เพราะท่านเสียชีวิตไปก่อนแล้ว ตอนที่เชอเกียมยังมีชีวิตอยู่ ก็จะมีเรื่องมากมายให้ได้ชื่นชมและหมั่นไส้ เขาเป็นคนแปลกๆ ที่ไม่ธรรมดา แต่ก็มีวิธีการสื่อสารกับชาวตะวันตกได้ดีมาก เชอเกียมชอบสอนเรื่องความคิดฉับพลัน ความคิดแรก มหาวิทยาลัยนาโรปะจะให้ฝึกเรื่องการจับความคิดแรก บ่อยๆ เพราะส่วนใหญ่เราจะถูกความคิดที่ ๒ - ๓ ทับถมความคิดแรกซึ่งดีที่สุด ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นการฝึกพู่กัน ยิงธนู จัดดอกไม้ หรือพิธีชงชา พิธีกรรมและกระบวนการเหล่านี้มีขึ้นเพื่อฝึกการปล่อยพื้นที่ว่างให้กับความคิดแรก เชอเกียม บอกว่าทำโต๊ะให้ว่าง แล้วอาหารอันโอชะจะถูกส่งมาจากสรวงสวรรค์ การทำโต๊ะให้ว่างก็คือการอดอาหาร (หัวเราะ) แล้วอาหารอันโอชะจะถูกนำมาจากสรวงสวรรค์
อ.เอกวิทย์: สังเกตดูว่าการเรียนที่นี่ ค่อนข้างจะหลากหลาย
 
 
คุณณัฐฬส: มีหลายแบบครับ อาจารย์สอน วิธีการสอน และวิธีการให้คะแนนจะมีหลายแบบ บางวิชาอาจารย์ก็จะถามว่า ทำไมเราให้คะแนนตัวเองเท่านี้ และไปถามเพื่อนๆว่า พัฒนาการของเราเป็นอย่างไร
อย่างวิชา Group Dynamic เป็นวิชาที่ค่อนข้างยากเพราะมีความขัดแย้งกันสูง หลายๆ คนที่มาเรียนก็คาดหวังที่จะออกไปเป็นนักสิ่งแวดล้อม ไปทำงาน policy อะไรอย่างนี้ แต่หลายคนก็ไม่ได้สนใจจะดูตัวเอง สนใจแต่จะได้ MAไปสมัครเข้า UN หรือรัฐบาล ฉะนั้น พอมาเจอกระบวนการอย่างนี้ ก็จะรับไม่ได้ ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ชายที่รับไม่ได้ ว่าร้องไห้กันทำไม แต่ผมยอมรับว่า ครูที่สอนเรื่องเหล่านี้ จะต้องมีประสบการณ์สูงมาก เพราะการจัดการความขัดแย้งในห้องเรียนขนาด ๔๐ คน แล้วเริ่มด่าทอกัน คนที่จะมีปัญญาจัดการได้ ต้องแสดงให้เห็นเลยว่ามีวิธีการอย่างไร
 
ในปัจจุบัน มีทฤษฎีหรือหนังสือมากมายเกี่ยวกับเรื่อง group dynamic เรื่อง Field Theory ทฤษฎีสนามพลังของกลุ่ม เปรียบเทียบได้กับศิลปะการป้องกันตัว ไอกิโด้ ซึ่งก็เป็นศาสตร์ที่น่าสนใจอีกด้านหนึ่งและควรจะปรับมาใช้กับบ้านเราได้บ้าง
 
 
อ.เอกวิทย์: มีนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยข้างเคียงมาเรียนบ้างหรือเปล่า
 
 
คุณณัฐฬส: ก็มีบ้างครับ อย่างเช่น มาจากมหาวิทยาลัยโคโรลาโด ส่วนใหญ่จะเป็นคนที่สนใจมาทางนี้มากกว่า แต่บางคนก็ไม่เคยรู้จักเลย คนที่เป็นฝ่ายซ้ายมากๆ ก็จะมองว่านาโรปะเป็นมหาวิทยาลัยของพวกคร่ำครวญกับชีวิตตัวเอง (หัวเราะ) ไม่ทำอะไร ไม่มี action ไม่มีจุดยืนทางการเมือง ซึ่งก็มีส่วนที่เป็นจริง คือคณะที่เรียนไปทางกวีนิพนธ์ อักษรศาสตร์ ศิลปะ หรือดนตรี ก็จะไม่มี action ในเชิงการเมืองมาก ไม่เหมือนนักศึกษาสิ่งแวดล้อม อย่างเช่นเพื่อนผม เคยเอาโซ่ล็อกคอตัวเองไว้กับร้านกาแฟสตาร์บัคที่มาเปิดใหม่ เพราะจะมาทำลายร้านกาแฟเล็กๆ ในเมืองโบลเดอร์ ซึ่งมีร้านกาแฟเล็กๆ น่ารักๆ มากมาย เพื่อนผมไม่ยอม ก็โดนจับไป
 
 
อ.เอกวิทย์: นาโรปะเป็นมหาวิทยาลัยทางเลือกที่น่าทึ่ง แต่ไม่ทราบว่า เท่าที่คุณณัฐฬสสังเกต คนที่เข้าเรียนมากน้อยเพียงใดที่สามารถเปลี่ยนแปลงตัวเองได้
 
 
คุณณัฐฬส: ผมไม่แน่ใจว่าจะตอบได้หรือเปล่า ถ้าดูจากคนที่ผมรู้จัก ผมเชื่อว่าถ้าคนที่มาเรียนแล้วสามารถเปลี่ยนตัวเองได้มีอยู่จริงไม่มากก็น้อย เพราะแต่ละปี ก็มีนักศึกษาเป็นพันคน และนักศึกษาจะถูกฝึกให้เปลี่ยนวิธีคิด จากการเรียนเพื่อไปสมัครงานที่ไหน ให้เป็นเรียนเพื่อจะสร้างงานของตัวเองเหมือนกับการสร้างพิธีกรรม บางคนอาจจะเป็นอาสาสมัคร กลับไปอยู่บ้าน ไปเป็นกรรมการในท้องถิ่นตัวเอง บางคนก็ไปเป็นครู และที่เป็นกันมาก คือ counsellor เดี๋ยวนี้ ก็จะมีเครือข่าย มี e-mail ส่งมาบอกว่า มีศิษย์เก่านาโรปะอยู่ที่นั่นที่นี่
 
อ.เอกวิทย์: ไม่ทราบว่านาโรปะมีการรับรองวิทยฐานะ ที่จะมีผลต่อการเรียนจบแล้วไปทำงานไหม
 
 
คุณณัฐฬส: ผมคิดว่า ก.พ. คงไม่รู้จัก ของไทยคงไม่มีการรับรอง แต่ว่าถ้าเทียบดูเนื้อหาวิชา ก็ไม่ห่างจากหลักสูตรที่อื่นมาก เพียงแต่มีวิธีการสอนและเนื้อหาบางอย่างที่แปลกออกไป อย่างผมเรียนตั้ง ๖๐ หน่วยกิต ในขณะที่หลักสูตรทั่วไปต้องการแค่ ๓๐ หน่วยกิต ถือว่าเป็นการเสริมเนื้อหาเข้าไป อย่างวิชาดนตรี หรือวิชา visual art ก็เป็นหลักสูตรที่น่าสนใจ หรือผมไปเรียนสีน้ำ เขาก็ไม่ได้สอนเทคนิคอะไรมาก แต่บอกว่า ศิลปะไม่ใช่การวาดภาพเหมือน แต่คือการสอนใจตัวเอง เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับสิ่งที่เรามอง ที่เราชื่นชม และอย่าลากพู่กันจนกระทั่งไม่มีเราเสียก่อน คือจะฝึกในการมอง ฝึกจิต แล้วจึงค่อยทำ ผมคิดว่า ความเข้าใจเรื่องการภาวนาก็มีผลต่อการออกแบบหลักสูตร ออกแบบวิชา
 
 
นพ.ประเวศ: ผมไปเยี่ยมนาโรปะเมื่อ ๒ สัปดาห์ก่อน ที่ประทับใจคือ เวลาเดินเข้าไป คนทั้งหมดจะมีหน้าตายิ้มแย้ม มีความสุข ตั้งแต่ผู้บริหาร ครู พนักงาน นักศึกษา ที่น่าสนใจ คือผมได้คุยกับอธิการบดี รองอธิการบดี และหัวหน้าแผนก religious ทำให้ทราบ คนที่เป็นครูจะมาเข้าเรียนเพิ่มเติม เพื่อให้เห็นจิตใจตนเอง และเข้าใจจิตใจผู้อื่น แล้วครูก็จะกลับไปสอนศิษย์ เป็นกระบวนการที่ดีมาก เป็นจุดที่ยิ่งใหญ่ เพราะของเราจะเรียนแต่เทคนิค ไม่เข้าใจตนเอง และความเป็นมนุษย์
อ.สุมน: สิ่งที่ยังไม่ค่อยเข้าใจนัก คือเรื่องความเปราะบางของจิตใจ เพราะเวลาพัฒนาจิต เราจะบอกว่าเพื่อให้จิตแข็งแกร่ง เข้มแข็ง แต่คุณมาพูดถึงความเปราะบาง หมายความว่าอย่างไร อ่อนไหวหรือโรแมนติก ถ้าภาษาอังกฤษจะเข้าใจ แต่พอมาเป็นหัวใจเปราะบาง พร้อมที่จะแตกสลาย จะไม่เข้าใจ
 
คุณณัฐฬส: ความเข้าใจของผม เขาจะใช้ image ของพระโพธิสัตว์ ลักษณะเด่นก็คือความสามารถในการฟัง โดยเฉพาะเรื่องราวความยุ่งยากได้อย่างลึกซึ้ง ซึ่งหัวใจที่จะเข้าไปรับฟังได้ ต้องไม่แข็งกระด้าง ที่เขาใช้คำว่า vulnerable หมายถึง broken ได้ รับรู้ได้ ไหวตัว และตื่นตัว อีกคำหนึ่งที่ใช้คือ surrender หรือศิโรราบ ผมคิดว่า เรื่องนี้ถกเถียงได้ว่าภาวะความเป็นผู้นำที่ต้องการ ความเข้มแข็งที่ว่าเป็นอะไรได้บ้าง อ่อนโยนได้อย่างไร ทุกข์ไปกับสิ่งที่เรารับรู้ได้หรือไม่ พระโพธิสัตว์รับรู้ความทุกข์และเป็นหนึ่งเดียวกับความทุกข์ หมายความว่าอย่างไร เพราะเชื่อว่า เมื่อเป็นหนึ่งเดียวกับความทุกข์ ไม่ปฏิเสธความทุกข์ action จะเกิดขึ้นจากความเมตตา แต่ใจจะต้อง broken heart, compassion ต้องเกิดมาจากใจที่ broken heart แต่นำมาตีความในเถรวาท ผมไม่รู้ว่าจะใช้ภาษาอะไร คนอื่นอาจจะช่วยเสริม
 
อ.เอกวิทย์: ความเข้าใจของผม คำว่า ความเปราะบาง vulnerable ในภาษาของการเล่นไพ่บริดจ์ หมายความถึงจุดที่จะต้องตัดสินใจ ว่าจะทิ้งไพ่หรือไม่ แต่คนที่จะทิ้งไพ่ได้ถูกต้อง ต้องเป็นคนที่เฉลียวฉลาด แหลมคม มีความอ่อนไหวสูงพอที่จะเข้าใจคนอื่น เข้าใจสถานการณ์ เข้าใจชีวิต นำไปสู่การเรียนรู้ และตัดสินใจที่ถูกต้อง
 
 
นพ.ประเวศ: ความหมายอีกประการหนึ่ง ก็คือการเปิดให้กับความเสี่ยงที่อะไรจะเกิดขึ้น เช่น การทำงานเพื่อส่วนรวม จะต้องถูกกระทบ
คุณวิศิษฐ์: เพื่อให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น และเชื่อมโยงกับกระบวนการเรียนรู้ ผมคิดว่า ความเปราะบาง คือการนำตัวเองเข้าไปสู่ความเสี่ยง ในการเรียนรู้ จะมี ๒ โหมดหลักๆ ในชีวิต คือ โหมดปกป้องตัวเอง กับ โหมดเรียนรู้ พื้นฐานที่สุดของโหมดปกป้อง คือความกลัว การนำตัวเองไปสู่จุด vulnerability หรือจุดเปราะบาง เมื่อนำพาตัวเองไปที่ๆ เรากลัว หรือเสี่ยงภัยบ่อยๆ พบกับการท้าทายที่ยิ่งใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ในที่สุด ตัวเองก็จะไม่กลัว
 
อีกด้านหนึ่ง เมื่อเรานำพาตัวเองไปสู่สิ่งที่เรากลัว หรือ uncomfortable zone ที่เราไม่สะดวกสบาย การเรียนรู้จะเกิดขึ้น เพราะคนส่วนใหญ่อยู่ในความสะดวกสบายเดิมๆ ความคิดเดิมๆ ความรู้สึกเดิมๆ และไม่เปลี่ยน
 
ทีนี้ ในแง่หัวใจแตกสลาย คือมีการศึกษาและสังเกตองค์ทะไลลามะ เมื่อมีการสนทนากับนักวิทยาศาสตร์ เรื่องความเมตตากรุณา เมื่อท่านฟังความทุกข์ของคนอื่น ท่านจะ suffer ทันทีภายใน ๒-๓ วินาที ร่วมทุกข์ร่วมสุขไปกับเรื่องราวที่ท่านได้ยิน หลังจากนั้น ท่านก็ฟื้นคืนสดชื่นขึ้นมาทันที คือมันเป็นพลังของการรับรู้ความทุกข์ของคนอื่นถึงก้นบึ้งที่หัวใจของเราแตกสลายได้
 
นพ.โกมาตร: ผมเข้าใจว่า การตีความสามารถแตกต่างกันได้ ผมนึกถึงการสัมมนาที่หาดใหญ่ คุณสุรภี (ชูตระกูล) ซึ่งแลคุณสุภาพรจนถึงนาทีสุดท้าย เล่าว่า ในจังหวะที่ต้องดูแลผู้ป่วยมะเร็งที่ใกล้ตาย จะมีอยู่ช่วงหนึ่ง ที่ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บปวดอย่างยิ่งทั่วร่างกาย ชนิดแทบทนไม่ได้ แม้แต่จะขยับแขนขา ก็ต้องค่อยๆ ยกเป็นมิลลิเมตร ทีนี้คนดูแลก็เป็นมนุษย์ บางครั้งก็ไม่สามารถอยู่ในสถานการณ์อย่างนั้นได้ตลอดเวลา ส่วนผู้ป่วยเองก็หงุดหงิด เพราะว่าครั้งหนึ่งเคยควบคุม เคยจัดการกับชีวิตตัวเองได้ ปัจจุบัน แม้แต่เวลาคันก็ต้องเรียกคนอื่นมาเกาให้ พออยู่ในสถานการณ์อย่างนั้น คุณสุภาพร ซึ่งปฏิบัติมาตลอด ก็จะหงุดหงิด จิตใจขุ่นมัว คนดูแลก็อยู่ในความบีบคั้น และเหนื่อยกับการดูแลข้ามวันข้ามคืน ก็จะเกิดการปะทะกัน ผมคิดว่าจุดนี้คือความเปราะบาง และถ้าเราไม่เปิดตัวเองกับความเปราะบางนั้น เราก็จะไปไม่พ้น และเรียนรู้จะไม่เกิดขึ้น เพราะไม่เห็นความเปราะบางของตัวเอง นักรบแท้จริง จะต้องมีสุขภาวะที่เข้าไปในเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับความเปราะบางนี้ เพื่อจะได้เติบโต และเรียนรู้ ดีกว่าการหวังว่าไม่ต้องพบ ไม่ต้องคิด แต่หงุดหงิดต่อไป หรือหาทางปกป้องตัวเองด้วยวิธีการเดิม ก็ไม่มีทางจะได้เรียนรู้
 
อ.เอกวิทย์: ดูเสมือนหนึ่งว่า นักรบชั้นยอด ศิลปิน กับพระสงฆ์ จะมีจิตอยู่ในระดับเดียวกัน
 
นพ.โกมาตร: คือพอแปล vulnerability เป็นความเปราะบาง จะมีลักษณะของความสุ่มเสียง ความหมิ่นเหม่ เกิดสิ่งที่ใจเรายากจะรับได้ มีความไม่แน่นอน
 
อ.จุมพล: เวลาฟังคุณณัฐฬสพูดถึง vulnerability เรื่องของความเปราะบาง ความรู้สึกแรกก็คิดในเชิงคำหมายว่า ถ้าเราใช้คำภาษาไทย ว่า “เปราะบาง” เราจะติดกับประสบการณ์เดิม เช่น แก้ว ที่เราเรียกว่าเปราะบาง แตกสลายได้ง่าย แล้วกลับมารวมกันลำบาก แต่พอฟังไประยะหนึ่ง ก็มีความรู้สึกว่า คำนี้มีความหมายกว้างมากกว่านั้นมาก
 
ผมรู้สึกว่า vulnerability เป็นศักยภาพ เป็นความสามารถของคน ที่พร้อมจะเปลี่ยน ซึ่งจะต้องยอมรับอะไรเข้ามา จึงจะเปลี่ยนได้ ถ้าใช้คำว่า บอบบาง แทน เปราะบาง อาจจะมีความหมายที่ผิด แต่ว่าจริงๆ ก็คือ ยอมให้อะไรซึมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของเราได้ ไม่ไปสกัดกั้น หรือปกป้องเหมือนที่พูด พอซึมเข้ามา ก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของเราไปทันที แล้วหลังจากนั้นก็จะเกิดไปเป็นสิ่งใหม่


อ่านต่อที่

http://www.buddhayan.com/board.php?subject_id=102
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 13 มิถุนายน 2553 14:42:53 โดย มดเอ๊ก » บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
เฝ้ามองชีวิตเริงระบำ : เจ็ดขวบปี สุนทรียสนทนา ( คอลัมน์ จิตวิวัฒน์ )
ไดอะล็อก คือ ดอกอะไร - พลังไดอะล็อก (Dialogue)
มดเอ๊ก 0 2188 กระทู้ล่าสุด 04 พฤศจิกายน 2553 05:25:29
โดย มดเอ๊ก
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 1.176 วินาที กับ 34 คำสั่ง

Google visited last this page 13 เมษายน 2567 18:19:45