[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 06:56:53 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ต้องท่องเที่ยวมาแล้ว, เพราะไม่รู้อริยสัจจ์  (อ่าน 6288 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 19 มิถุนายน 2553 14:22:46 »





 ต้องท่องเที่ยวมาแล้ว, เพราะไม่รู้อริยสัจจ์


ภิกษุ ท.! เพราะไม่รู้ถึง ไม่แทงตลอด ซึ่งอริยสัจจ์สี่อย่าง,
เราแหละพวกเธอทั้งหลายจึงท่องเที่ยวไปแล้วในวัฏฏสังสาร ตลอดกาลยืดยาวนานถึงเพียงนี้.

ภิกษุ ท.! เพราะไม่รู้ถึง เพราะไม่แทงตลอดซึ่งอริยสัจจ์สี่อย่างเหล่าไหนเล่า?
สี่อย่างคือ อริยสัจจ์คือทุกข์, อริยสัจจ์คือเหตุให้เกิดทุกข์, อริยสัจจ์คือ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์,
อริยสัจจ์คือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์.

ภิกษุ ท.! เพราะไม่รู้ถึง ไม่แทงตลอด ซึ่งอริยสัจจ์สี่ประการเหล่านี้แล,
เราและพวกเธอทั้งหลาย
จึงได้ท่องเที่ยวไปแล้ว ในสังสารวัฏตลอดกาลยืดยาวนานถึงเพียงนี้....ฯลฯ...


(ในบาลีแห่งอื่น
กล่าวอริยธรรมสี่ คือ อริยศีล อริยสมาธิ อริยปัญญา อริยวิมุตติ
แทนที่อริยสัจจ์สี่ข้างบนนี้. – มหา. ที. ๑๐/๑๔๒/๑๐๙).
บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๔๑/๑๖๙๘.



  ยิ้ม  http://www.rmutphysics.com/CHARUD/oldnews/171/buddha/6-01.html
 รัก  ufoatkaokala11.com

อนุโมทนาสาธุค่ะ

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 19 มิถุนายน 2553 14:36:09 »


พุทธดำรัส


ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ธรรมที่ควรมนสิการ คือ อริยสัจจ์ ๔

"อริยสาวกนั้นย่อมมนสิการโดยแยบคายว่า นี้ทุกข์
นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ปฏิปทาให้ถึงความดับทุกข์

เมื่ออริยสาวกนั้นมนสิการอยู่โดยแยบคายอย่างนี้ สังโยชน์ ๓ คือ
สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ย่อมเสื่อมสิ้นไป
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอาสวะเหล่านี้ เรากล่าวว่าจะพึงละได้เพราะการเห็น"
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 19 มิถุนายน 2553 15:04:34 »




ศีล

       ศีล หมายถึง ข้อกำหนดรู้สิ่งดีและชั่ว เพื่อให้กาย วาจา และใจ พ้นจากการกระทำ
ที่เป็นการเบียดเบียนตนเอง และผู้อื่น
ศีล 5 คือ ศีลที่พระพุทธองค์ทรงสอนให้ฆราวาสที่อยู่ในการครองเรือนประพฤติปฏิบัติและรักษา มี 5 ประการ
 
1. ควรรู้จักคุณค่าและรักษาสิ่งมีชีวิตทั้งปวง
  
2. ไม่พึงปรารถนาในทรัพย์สินที่มิใช่ของตน
 
3. ไม่หมกมุ่นในกามคุณ
 
4. เป็นผู้มีสัจจะและรักษาความจริง
 
5. รู้จักรักษาสติ และควบคุมอารมณ์ของตนเอง
 
     แนวทางการรักษาศีลที่สมบูรณ์จะต้องมีองค์ประกอบคือ การกระทำที่มั่นคงด้วย กาย วาจา ใจ
เกิดการพิจารณาถึงสิ่งที่จะเข้ามากระทบด้วย หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ คือ
 
หู ให้พิจารณาฟัง นำสิ่งที่ดีไปประพฤติปฏิบัติ
  
ตา ให้พิจารณามอง ด้วยความเป็นธรรม
 
จมูก ให้พิจารณาถึงกลิ่น ไม่ว่าจะเป็นกลิ่นใด อาจทำให้เกิดราคะหรือสิ่งยึดติดหรือความไม่พึงพอใจมาสู่จิต
 
ลิ้น ให้พิจารณาถึงสิ่งสัมผัสทางลิ้น ด้วยการไม่ติดรส
 
กาย ให้พิจารณาถึงวัตถุกาย ที่เป็นประโยชน์ต่อตนและส่วนรวม
 
ใจ ให้มีธรรมเป็น เมตตาธรรม อารมณ์ธรรม และมารยาทธรรม
 
 
    ประโยชน์ของการรักษาศีล ผู้ที่รักษาศีลย่อมได้รับผลที่เกิดขึ้นดังนี้     
 
1. เกิดความเมตตา กรุณา
 
2. เป็นที่สรรเสริญ ยกย่อง นับถือ และเป็นแบบอย่างต่อผู้อื่น
 
3. เป็นผู้ไม่เสียทรัพย์โดยเปล่าประโยชน์
 
4. นำมาซึ่งความสงบสุขต่อตนเอง ครอบครัว และผู้ใกล้ชิด
 
5. เป็นหนทางสู่ความสำเร็จในครอบครัวและสัมมาอาชีพ


ที่มา : ฆราวาสธรรมเบื้องต้น,มูลนิธิพุทธศาสนุสรณ์ พิมพ์ครั้งที่1
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 19 มิถุนายน 2553 16:38:33 »




ทวนความรู้สึก

             ปฏิบัติธรรมแล้วถ้ารู้สึกเบื่อครอบครัวเบื่อโลกเบื่อสงสาร อย่าไปเชื่อความรู้สึกของตัวเอง ถ้ามันเบื่อดูไปจนมันหายเบื่อ แต่ถ้าหากพอปฏิบัติธรรมได้ธรรมเห็นธรรมแล้วนี่ มันทำให้รู้สึกเคารพบูชาพ่อแม่ปู่ย่าตายาย เมตตาสงสารครอบครัว แล้วความรักระหว่างครอบครัวของเรานี่ ทีแรกเรารักด้วยกิเลสตัณหา แต่มาภายหลังจะเหลือแต่ความเมตตาปราณี แล้วเราจะทอดทิ้งซึ่งกันและกันไม่ได้ ยิ่งปฏิบัติไปเท่าไร ความเมตตาปราณีมันก็ยิ่งเพิ่มขึ้น เราจะอยู่ด้วยกันโดยไม่มีความหมายใดๆ ทั้งสิ้นเกี่ยวกับทางเรื่องของกิเลส เราจะมีอะไรต่อกัน หรือไม่มีอะไรต่อกัน เราจะอยู่กันได้อย่างสบายเพราะ ความรักและความเมตตาปราณีนี่เป็นความรักที่บริสุทธิ์สะอาด ถ้าความรู้สึกอันนี้เกิดขึ้นในบรรดาพ่อแม่พี่น้องทั้งหลายแล้ว สันนิษฐานได้ว่าเราปฏิบัติธรรมได้ผล

            แต่ถ้าปฏิบัติแล้วเบื่อโลกสงสารอยากโกนหัวไปบวช อย่าเพิ่งเชื่อมัน อันนั้นแหละตัวมารร้ายที่สุด บางทีเราหลงเชื่อมัน เราทิ้งครอบครัวไป ไปแล้วในเมื่อมันหายเบื่อแล้วมันก็ไปเจอข้างหน้า ไปมีข้างหน้าอีก สามีของพยาบาลคนหนึ่ง หลวงพ่อไปเทศน์ แกไปโอดครวญกับหลวงพ่ออยู่นั่น เขาบอกว่าสามีของเขาเคยไปปฏิบัติธรรมอยู่ที่วัดหลวงพ่อ หลวงพ่อรู้จักไหม เออ...ช่วงนี้หลวงพ่อก็ไม่ค่อยได้อยู่วัดนะ แต่ก็มีอยู่อุบาสกหลายๆท่านไปปฏิบัติอยู่นั่น แต่ก็ไม่ทราบว่าเป็นใคร แล้วเดี๋ยวนี้เขาไปยังไง ปรากฏว่าเขาไปมีครอบครัวใหม่อยู่ต่างจังหวัด มาขนเอาแต่เงินทองที่บ้านไปสร้างบ้านให้เมียใหม่อยู่ อันนี้เป็นตัวอย่าง ในเมื่อเราไปด้วยความเบื่อ ในเมื่อมันหายเบื่อแล้วมันไปเกิดชอบ นักวิปัสสนานี่ความเห็นมันดิ่ง เมื่อมันปักลงไปแล้วมันถอนยาก เพราะฉะนั้น ถ้ามันเกิดเบื่อ ดูความเบื่อให้มันจนหายเบื่อ

            หลวงพ่อบวชมาตั้งแต่อายุ ๑๔ ปี ความตั้งใจว่าจะบวชตลอดชีวิต แหม... ถึงเวลามันอยากสึกมา นอนร้องไห้ เอ้า... อะไรที่มันอยากเราจะไม่กินมัน แม้แต่ของตกลงในบาตร ถ้ามองดูแล้วมันชอบ น้ำลายไหล หยิบออก อะไรที่มันไม่ชอบที่สุด เอาอันนั้นแหละมาฉัน เราไม่กินเพื่ออร่อย เรากินเพื่อคุณค่าทางอาหาร อะไรที่มันจะเป็นคุณค่าทางอาหาร เราจะเอาสิ่งนั้น แม้ว่าเราจะไม่ชอบก็ตาม ทีนี้คนที่เรารักเราชอบเราจะไม่เข้าใกล้ เราจะเข้าใกล้คนที่เกลียดขี้หน้าเราที่สุด ถ้าใครด่า ครูบาอาจารย์องค์ไหนด่ามากๆ เราเข้าหาองค์นั้น องค์ไหนยกย่องสรรเสริญเราไม่เข้าใกล้ ครูบาอาจารย์บางองค์ว่า... พระองค์นี้มันจองหอง เราอุตส่าห์เมตตาสงสารมัน มันไม่เข้าใกล้เรา มันเข้าไปหาแต่คนที่ด่ามันเก่งๆ

            คนด่านั่นแหละ...หลวงปู่มั่น เวลาลูกศิษย์ไปขออาศัยทีแรกนี่ ท่านจะดุ...ดุ ทำถูกก็ดุ ทำผิดก็ดุ ภายใน ๑ ปีนี่ต้องทุบกันเสียจนแหลกละเอียด แต่พอ๑ ปีผ่านไป ถ้าผู้ที่โดนนี่ไม่หลบหน้าหนี มีอะไรถ่ายทอดให้หมด นี่ครูบาอาจารย์ที่ดุเก่งๆ นี่ เวลาท่านดีกับเราแล้ว ก็เรียนถามท่านว่า ขอโอกาสเถอะ เมื่อกระผมมาอยู่กับท่านอาจารย์ ทีแรกทำไมท่านถึงได้ดุนักหนา ท่านว่าไง เขาจะตีเหล็กให้มันเป็นมีดเป็นพร้า เขาจะต้องเผาไฟให้มันร้อน แล้วก็ลงตะเนินหนักๆ เอาฆ้อนเล็กๆ มาทุบ มันจะเป็นมีดเป็นพร้าได้ยังไง ต้องเผาให้ร้อน เอาตะเนินหนักๆ ขนาด ๘ ปอนด์นั่นห้ำมันลงไป มันก็เหยียดออกมาเป็นมีดเป็นพร้าที่สวยงามได้ ท่านว่าอย่างนี้ เมื่อก่อนนี้ยังข้องใจอยู่ว่าทำไมท่านถึงดุ พอท่านชี้แจงให้ฟังแล้ว อ้อเราโล่งอก เพราะฉะนั้นเราได้ดีเพราะอาจารย์ดุ อาจารย์ที่สรรเสริญอะไรนี่ นั่นแหละท่านเอายาพิษเคลือบน้ำตาลให้เรากิน

ฉะนั้นจึงได้ถือคติว่า ญาติโยมคนใดพอมาถึงแล้วก็มายกย่องสรรเสริญเยินยอเคารพเลื่อมใสอย่างนั้นอย่างนี้
เท่าที่สังเกตมา หลวงพ่อนี่กลัวที่สุด

ถ้าคนไหนมาแล้วก็มามองๆ... พระองค์นี้ใช้ไม่ได้ อยากจะสะพายบาตรวิ่งตามหลัง



http://www.watyarn.net.nz/dhammasection.htm
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: 19 มิถุนายน 2553 16:57:51 »




สิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงสอน : เส้นทางของการดับทุกข์

เป็นเรื่องของการดับทุกข์โดยแท้ ซึ่งถือว่าเป็นแก่นของพุทธศาสนา ซึ่งผู้ใดปฏิบัติตามจะสามารถเข้าถึงสภาพของความไม่มีทุกข์ได้ ซึ่งเส้นทางของการพ้นทุกข์มีดังนี้

อริยสัจจ์สี่

ทุกข์ – สภาพการไม่พอใจ อยากเป็น อยากได้ ไม่อยากเป็น ไม่อยากได้ ความกังวล เจ็บ ตาย

สมุทัย - สาเหตุของการเกิดทุกข์

 - อนิจจัง คือ ตามธรรมชาติแล้ว ความรู้สึกของคนไม่คงเดิม เปลี่ยนไปตามเวลาเพราะใจคนมีสิ่งปรุงแต่งเพราะมีอุปาทาน ความพอใจจึงเปลี่ยนไปไม่สิ้นสุด เมื่อเหตุปัจจัยเปลี่ยนไป ดังเช่นกาแฟแก้วแรกจะรู้สึกว่าอร่อยกว่าแก้วที่สอง สาม

- ทุกขัง คือ เมื่อคนปรุงแต่งธรรมชาติจนน่ารักหน้าชัง ทำให้อยากเห็น อยากเป็น อย่างนี้อย่างนั้น ความรู้สึกก็เปลี่ยนไปเรื่อยๆ ไม่สมอยากก็ไม่พอใจ ก็เกิดทุกข์ ตัวอย่างเช่น ก้อนหินธรรมชาติรูปร่างคดงอ เมื่อนำสีไปป้ายแล้วเกิดรู้สึกว่าเป็นหินมังกรมีราคาแพง อยากให้มีคนชมคนซื้อถ้าผิดหวังย่อมเป็นทุกข์

- อนัตตา คือ ธรรมชาติไม่มีตัวตน  แม้คนก็เป็นธรรมชาติหรือธาตุกลุ่มหนึ่ง ทุกสิ่งมันเป็นไปตามธรรมชาติแท้ๆ แต่คนไปรู้สึกว่าเป็นอย่างอื่น มีรสมีชาติ น่ารักน่าชังและมีตัวเองสัมผัสของสิ่งนั้น ถ้าพิจารณาให้ลึกๆแล้ว(โดยพิจารณาว่าคนคือขันธ์ห้า) จะเห็นว่าไม่มีเจ้าของหรือตัวตนสัมผัสรู้สึกต่างๆ มีแต่อาการของธรรมชาติและกลไกเซลล์ประสาททำงาน

นิโรธ - สภาพที่ไม่มีทุกข์ เป็นสภาพจิตใจและร่างกายรู้สึกได้ซึ่งการหมดทุกข์อย่างสิ้นเชิง ไม่มีทางเกิดทุกข์ได้อีก ความทุกข์ตามไม่ถึง ไม่มีอุปาทานว่ามีตัวตน และ การยึดติดเมื่อสัมผัสสิ่งน่ารักน่าชังต่างๆ 

มรรค - วิธีปฏิบัติ ให้ถึงสภาพของการดับทุกข์

   ๑ ความเห็นชอบ คือ ปัญญาเห็นชอบในอริยสัจ ๔ การเข้าใจเรื่องที่ถูกต้อง เรื่องผลมาจากกรรม ธรรมชาติ  ความรู้สึกผิดชอบชั่วดี อะไรถูก อะไรไม่ถูก อะไรใช่ อะไรไม่ใช่ อะไรเหมาะสม อะไรไม่เหมาะสม อะไรสมควร อะไรไม่สมควร อคติ ไม่อคติ ฯลฯ

   ๒ ความดำริชอบหรือตั้งใจชอบ คือ เมื่อมีความเห็นชอบแล้ว มรรคข้อ ๒ จะเกิดมีขึ้นตามมาเอง คือ ตั้งใจจะใช้หรือดำเนินชีวิตตามแนวทางมรรค ๘ องค์ เพราะเข้าใจดีว่าเกิดผลดี ต่อคุณภาพชีวิตทั้งตนและสังคม มีความดำริชอบ ในอันออกจากกาม๑  ในอันไม่พยาบาท๑ ในอันไม่เบียดเบียน๑

   ๓ วาจาชอบ คือ เว้นจากวจีทุจริต ๔  พูดเท็จ๑ พูดส่อเสียด๑ พูดคำหยาบ๑ พูดเพ้อเจ๋อ๑

   ๔ การกระทำชอบ คือ การเว้นจากกายทุจริต การฆ่าสัตว์๑ ลักทรัพย์๑ ประพฤติผิดในกาม๑

   ๕ หาเลี้ยงชีพชอบ คือ เว้นจาการเลี้ยงชีวิตในทางที่ผิด คือ ผิดศีลธรรม จริยธรรม

   ๖ ความเพียรชอบ คือ ทางสายกลาง และ เพียรระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้น๑ เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว๑ เพียรให้กุศลเกิดขึ้น๑ เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้ว๑

   ๗ ตั้งสติชอบ คือ รับรู้ตามความเป็นจริงโดยไม่มีความหลงปรุงแต่งหรือเกิดตัวตน ตั้งสติพิจารณา กาย เวทนา จิต ธรรม  คนที่ตั้งสติดีตลอดเวลาจะมีสมาธิระดับแก้ปัญหาทำงานการที่ยากๆได้ดี
 
   ๘ สมาธิชอบ คือ การควบคุมจิตให้ได้โดยไม่ให้จิตเป็นตัวควบคุมตัวพาออกนอกลู่นอกทาง สามารถอยู่เหนือกระแสโลกได้ ซึ่งจะเข้าฌาน ๔  ปฐม ทุติ ตติย จตุตถฌาน และถึงการบรรลุนิพพาน
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #5 เมื่อ: 19 มิถุนายน 2553 17:42:08 »


http://img221.imageshack.us/img221/6527/0314960002wz7.jpg
ต้องท่องเที่ยวมาแล้ว, เพราะไม่รู้อริยสัจจ์

เรื่องขันธ์ห้าหรือชีวิต

ขันธ์ห้าเป็นเรื่องความเข้าใจในตัวคนที่ประกอบด้วย ส่วนกาย และ ใจ รวมห้าส่วน เป็นเรื่องๆหนึ่งที่อยู่ในส่วนของมรรค ข้อที่หนึ่ง ที่ต้องเข้าใจกันเพื่อเป็นพื้นฐาน เช่นเดียวกับ อนิจจัง (ความเปลี่ยนไปตามธรรมชาติ) ที่พระพุทธเจ้าสอน เมื่อเข้าใจซึ้งแล้วจะเข้าใจสาเหตุการเกิดทุกข์ เมื่อเข้าใจเหตุจึงทำให้ดับได้แบบเด็ดขาดเพราะไปดับที่เหตุ

- ส่วนที่หนึ่ง คือ รูปกาย คือ เนื้อกายรวมตา หู จมูก ลิ้น ผิวกาย และสิ่งภายนอกทั้งหมด  (รูป)

- ส่วนที่สอง คือ  ส่วนรับสัมผัส คือ ประสาทที่สัมผัสรับรู้รับเห็น รูป รส กลิ่น เสียง ผิวสัมผัส และ ภาพนึกคิดในใจ การรับรู้ต่างๆ ทั้งอารมณ์ ทุกข์ สุข เฉยๆ เจ็บไม่เจ็บ  (เวทนา)   

- ส่วนที่สาม คือ ส่วนที่จำ เป็นประสาทเก็บความทรงจำ เช่น นี่คือสิ่งใด  สัญญา

- ส่วนที่สี่ คือ ประสาทส่วนที่ทำหน้าที่คิดและพิจารณา ตามธรรมชาติแล้วส่วนนี้ไม่มีตัวตน แค่ทว่าเป็นการปั่นให้รู้สึกว่าเป็นตัวตน มีตัวตน เป็นของตน (อุปาทาน) เช่น ความทุกข์สุข มีรสชาติ การรู้สึกที่มีอุปทานเข้ามาแทรก เป็นต้นต่อของการเกิดความยึดติดต่างๆและเป็นผลให้เกิดทุกข์ ขจัดอุปทานได้ก็บรรลุนิพพาน  (สังขาร)

- ส่วนที่ห้า คือ  ประสาทที่รับรู้และสั่งการ เชื่อมต่อกับขันธ์อีกสี่ส่วน เช่น วิญญาณรับรู้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ในรูป รส  กลิ่น เสียง สัมผัสทางกายและความนึกคิด แล้วตัดสินใจสังการผ่านทางร่างกาย  (วิญญาน)

        จากการพยายามอย่างเต็มที่ใต้ต้นโพธิ์ก่อนตรัสรู้ พระพุทธเจ้าจึงค้นพบว่า ขันธ์ห้าไม่มีตัวตน ความทุกข์ต่างๆของคนเกิดจากสิ่งที่ต่อเนื่องสัมพันธ์กันของเหตุและผล  เริ่มจากมี อวิชชา คือความไม่รู้เรื่องเหตุและผลที่แท้จริงและตัวอุปาทานเป็นเหตุ จึงเกิดมีเหตุอุปาทานฝังตัวอยู่ในใจคนว่า มีตัวเราที่กำลังสัมผัสรู้สึก มีรสชาติน่ารักน่าชังต่อสิ่งต่างๆ แล้วเกิดเป็นความยึดติดประกอบด้วย ความยึดติดในกามสุข ทิฐิความเห็นของตน ความงมงายเชื่อเถือต่างๆ และความเป็นตัวตนที่กำลังรับทุกสุขตอนสัมผัสสิ่งต่างๆจึงเกิดเป็นกิเลสความอยาก
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #6 เมื่อ: 19 มิถุนายน 2553 21:01:18 »




โพชฌงค์เจ็ดข้อสูตรที่ใช้แก้ปัญหาหรือปรับปรุงทุกๆสิ่งได้

ส่วนนี้เป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าสอนเพื่อช่วยแก้ปัญหาส่วนแรกๆที่เป็นด้านทฤษฎีซึ่งทำไปอาจมีปัญหาบ้าง และเป็นเรื่องที่ช่วยพัฒนากิจต่างๆได้ทั้งหมด เมื่อถึงจุดต้องตัดสินใจหรือมีปัญหาที่ต้องเผชิญต้องแก้ไข

๑ ตั้งสติ

๒ วิจัย คือ เรื่องเป็นอย่างไร สาเหตุคืออะไร ทางแก้มีกี่อย่าง ที่ไหน อย่างไร เมื่อไร แล้วก็ใคร

๓ ใช้ความเพียร คือ เพียรอย่างถูกที่ถูกทาง

๔ ความยินดี คือ ความยินดีในสิ่งที่ทำ ถ้าไม่รู้สึกต้องกลับมาคิดใหม่ว่าเดินทางผิด เพราะความยินดีและชื่นใจนี้เป็นตัวหล่อเลี้ยงความเพียรพยายามให้มีแรงทำต่อไป

๕ ปรับปรุง คือ ต้องมีการวัดผลแล้วปรับปรุงให้ก้าวหน้าเป็นขั้นตอน
 
๖ สมาธิ คือ ตอนวิจัยและหาทางปรับปรุงย่อมต้องใช้สมาธิ จึงต้องฝึกการมีสมาธิแบบดี เพราะผู้มีสมาธิยิ่งดียิ่งหาคำตอบหรือวิธีแก้ปัญหาได้ดียิ่ง
 
๗ วางเฉย คือ เมื่อพิจารณาครบตามข้อหนึ่งถึงหกแล้ว ว่าดีแล้ว ต้องปล่อยให้ทุกอย่างมันดำเนินไปตามเกณฑ์ของมัน ผิดพลาดประการใดก็นำมาแก้ไขปรับปรุงตามสมควร


(* โพชฌงค์แปลว่าธรรมเป็นเครื่องตรัสรู้ หมายความว่าคนที่เข้าถึงการบรรลุมรรคผล หรือว่าเข้าถึงความดีได้ต้องมีโพชฌงค์ 7 ประการ โพชฌงค์นี่มีอยู่ด้วยกัน 7 ประการ

   1. สติ ความระลึกได้
   2. ธรรมวิจยะ การวินิจฉัยธรรม
   3. วิริยะ ความเพียร
   4. ปีติ ความอิ่มใจ
   5. ปัสสัทธิ ความสงบ
   6. สมาธิ จิตตั้งมั่น
   7. อุเบกขา ความวางเฉย

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม  http://www.kammatan.com/board/index.php?topic=392.0)
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #7 เมื่อ: 19 มิถุนายน 2553 22:03:08 »




อิทธิบาท ๔

ฉันทะ – พอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น  “เต็มใจทำ”
วิริยะ - เพียรประกอบสิ่งนั้น     “แข็งใจทำ”
จิตตะ - เอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้น “ตั้งใจทำ”
วิมังสา - หมั่นตรึงตรองพิจารณาเหตุผลในสิ่งนั้น “เข้าใจทำ”



ศีลสิบข้อ (สิ่งกำกับมนุษย์ให้เป็นอยู่ปกติร่มเย็น)

๐๑ ไม่ฆ่าหรือเบียดเบียนผู้อื่น
๐๒ ไม่ลักทรัพย์ของผู้อื่น
๐๓ ไม่ผิดเรื่องกามคุณ
๐๔ ไม่กล่าววาจาเท็จ
๐๕ ไม่ดื่มกินของมึนเมา
๐๖ ไม่ยึดติดรสชาติในเรื่องกิน
๐๗ ไม่ยึดติดของตกแต่ง ของหอม  หรือ ของสวยงาม
๐๘ ไม่ยึดติดในเสียงที่เคลิบเคลิ้ม
๐๙ ไม่ยึดติดกับการนอน
๑๐ ไม่ยึดติดกับทรัพย์สิน




ผู้มีสัมมาทิฐิหรือความเห็นชอบ ไม่สงสัยธรรมะนี้ มีศีลดีท่านเรียกว่าเป็นอริยบุคคล

การอยู่อย่างเป็นสุขเฉกเช่นมนุษย์ปุถุชน คนธรรมดาไม่ก่อเกิดความทุกข์ซึ่งกันและกัน ทำอย่างไร

เอาใจเขามาใส่ใจเรา รู้จักว่าอะไรควรอะไรไม่ควร แค่นี้ก็เพียงพอแล้ว.


หมายเหตุ
ข้อความบางส่วนคัดลอกจากหนังสือ
“สิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงสอน รวบรวมแบบอ่านง่ายๆและสั้นๆ แนววิศวกร”
ISBN 974-92370-0-5 โดย ส.ป. วิสุทธิ์ เจตสันติ์


ที่มา  http://members.thai.net/iconfess/buddha/webboard.asp
บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #8 เมื่อ: 19 มิถุนายน 2553 22:44:46 »



ยิ้ม ยิ้ม ยิ้ม


(:LOVE:)สาธุ.........สาธุ..............สาธุ รัก


สลึมสลือ สลึมสลือ สลึมสลือ





« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19 มิถุนายน 2553 22:50:33 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #9 เมื่อ: 23 มิถุนายน 2553 16:24:30 »




วิมุตติปฏิปทา : การปฏิบัติธรรมในขั้นละเอียด

"การรู้ขันธ์" กับ "การรู้อริยสัจจ์" เป็นปัญญาคนละขั้นกัน คือ การรู้ขันธ์เป็นวิปัสสนาปัญญา อันเป็นวิถีการที่จะให้จิตปล่อยวางขันธ์ที่จิตเคยยึดถืออยู่ เมื่อปล่อยวางขันธ์แล้ว จิตก็จะรวมเข้ามาที่จิต เพื่อเริ่มกระบวนการที่เรียกว่า จิตเห็นจิต ก็จะได้เห็นอริยสัจจ์ อันจัดเป็นโลกุตรปัญญา

หากไม่ผ่านวิปัสสนาปัญญา จู่ๆ จะพยายามย้อนรู้เข้ามาที่จิต สิ่งที่จะเกิดขึ้นก็คือ "การเพ่งจิต" จึงจำเป็นที่ผู้ปฏิบัติจะต้องเฝ้ารู้ความเกิดดับของอารมณ์ปรมัตถ์ของจริง จนสามารถวางความยึดมั่นในอารมณ์ได้ แล้วจิตก็จะสงบรวมเข้ามาที่จิต เพื่อเรียนรู้ "อริยสัจจ์แห่งจิต"

แต่บางคน แม้จะมีกำลังพอที่จะรู้ถึงจิตได้แล้ว ก็ยังรัก ยังหวงที่จะกลับไปรู้ความเกิดดับของอารมณ์ อันเป็นเหตุให้ จิตเกิดปฏิกิริยาหมุนวนเป็นวัฏฏะต่อไปไม่สิ้นสุดเช่น แทนที่จะระลึกรู้อยู่ที่จิต กลับหันไปรู้ลมหายใจอีก จิตก็ต้องทำงานหมุนวนออกไปอีก แทนที่จะหยุด-รู้-อยู่ที่จิต ซึ่งเหนือความคิดนึกปรุงแต่ง เป็นการถ่วงตนเองให้เนิ่นช้าในการประจักษ์ถึงอริยสัจจ์แห่งจิต

การปฏิบัติทุกขั้นตอน คือการส่งทอดสติปัญญาเข้ามาเรียนรู้จิตเท่านั้นเอง เพราะจิตนั่นแหละคือประธานแห่งธรรมทั้งปวง เช่น ทำสมถะ ก็เพื่อระงับความฟุ้งซ่านของจิตไว้ชั่วขณะ เพื่อให้จิตมีคุณภาพที่จะเจริญวิปัสสนา คือการเรียนรู้ความจริงของสิ่งที่จิตไปติดยึดอยู่ เมื่อรู้จริงแล้ว จิตก็วาง รวมเข้ามาที่จิต ก็จะได้เรียนรู้อริยสัจจ์แห่งจิตคือเห็นว่า ความทุกข์เกิดขึ้นก็เพราะจิตออกไปอยากไปยึดอารมณ์เท่านั้นเอง

เมื่อจิตฉลาดขึ้น จิตก็หน่ายที่จะเที่ยวแสวงหาทุกข์มาใส่ตัวเอง จิตก็หยุดความปรุงแต่งลงอย่างสิ้นเชิง เมื่อปราศจากความปรุงแต่ง จิตก็พ้นจากการห่อหุ้มของสิ่งปรุงแต่ง เข้าถึงธรรมชาติแห่งความเป็นตัวของตัวเองล้วนๆ หลุดพ้นจากอุปาทานขันธ์ และรู้ถึงนิพพานอันเป็นสันติธรรม ที่แท้จริงเหนือกาลเวลา

สภาวะตรงที่จิตเข้ามารู้นิพพานนั้น จิตจะรวมเข้าภวังค์นิดหนึ่งโดยไม่มีความจงใจ และเมื่อจิตทำงานขึ้นมารับรู้อารมณ์ใหม่นั้น จิตจะประกอบด้วยฌานอันใดอันหนึ่งโดยอัตโนมัติ และปัญญาที่ประณีตถึงที่สุด จะตัดความปรุงแต่งขาดลง จิตก็เข้าถึงความเป็นอิสระครั้งแรกต่อเนื่องกันอย่างอัตโนมัติ
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #10 เมื่อ: 23 มิถุนายน 2553 17:10:38 »



ตรงจุดนี้มีจิต ไม่ใช่ไม่มีจิต จัดเป็นมรรคจิต ผลจิต เมื่อเป็นจิตก็ต้องรู้อารมณ์ ถ้าไม่รู้อารมณ์ก็ย่อมไม่ใช่จิต อารมณ์ที่จิตรู้ ก็คือนิพพานอันเป็นสันติธรรมที่แท้จริง แต่บางแห่งสอนกันว่า ขณะที่เกิดมรรคผลนั้น จิตดับแบบพรหมลูกฟัก คือวูบแล้วหมดความรู้สึกไปเลย อันนี้เป็นความเข้าใจผิดอย่างร้ายแรง ที่ไปเอาสภาวะจิตดับขณะถึงนิพพานขันธ์มาเปรียบกับมรรคจิต ผลจิต เพราะถ้าขณะที่เกิดมรรคผลไม่มีจิต ตำราอภิธรรมท่านคงไม่บัญญัติมรรคจิตผลจิตไว้ถึง 40 ดวงเป็นแน่

จิตที่หลุดพ้นยังไม่ใช่นิพพาน นิพพานเป็นสิ่งที่จิตที่หลุดพ้นไปรู้เข้าเท่านั้น เมื่อรู้แล้ว ก็ไม่อาจจับจองเป็นเจ้าของนิพพานได้ และเมื่อถึงวันดับขันธ์ จิตก็สลายไป เหมือนไฟที่ดับไป ส่วนนิพพาน ก็คงเป็นธรรมที่ทรงธรรมอยู่ตามธรรมชาติธรรมดาของมหาสุญญตานั่นเอง ไม่มีเกิดดับ และไม่มีใครเป็นเจ้าของครอบครองได้

ผู้ปฏิบัติที่จิตแหวกตนเองออกจากสิ่งห่อหุ้มแล้ว ไม่นานสิ่งห่อหุ้มก็เข้ามาปกปิดจิตไว้อีก การปฏิบัติในขั้นถัดจากนี้ ก็คือการเรียนรู้อริยสัจจ์แห่งจิตต่อไปนั่นเอง

วิธีรู้จิตในขั้นนี้ จะต้องรู้ให้เป็นรู้แท้ๆ คือไม่เจือด้วยความปรุงแต่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความจงใจที่จะรู้ สภาพรู้นั้น จะไม่มีน้ำหนักแม้แต่น้อย ถ้าเติมความจงใจลงไปในรู้ จะเกิดน้ำหนักในการเพ่งจิตขึ้นนิดหนึ่ง การดูจิตในขั้นนี้ คล้ายกับเรามีกระดาษที่บางกริบ 2 แผ่นซ้อนกัน ปัญญาอัตโนมัติจะต้องตัดแผ่นหน้าให้ขาด คือรู้และตัดความปรุงแต่งขาด โดยที่ไม่เกิดรอยในแผ่นหลัง คือไม่ให้กระเทือนถึงจิต ถ้าจงใจขึ้นสักนิดหนึ่งแรงกดจะเกิดขึ้นทันที แต่ทั้งนี้ ก็ไม่ใช่จงใจดูให้เบา หรือจงใจประคองให้เบาด้วย เพราะนั่นคือการเสแสร้งปฏิบัติ การรู้ ที่เป็นรู้อย่างแท้จริงนั้น ทำให้โดยอาศัยทักษะอย่างเดียวเท่านั้น

วิปัสสนาที่แท้จริงนั้น มีแต่รู้ ไม่ต้องจงใจเติมสิ่งใดลงไปในรู้ ไม่ว่าจะเป็นศีล สมาธิ หรือปัญญา ไม่ต้องเอาสมมุติบัญญัติ หรือความคิดนึกปรุงแต่งใดๆ มาช่วยทำวิปัสสนา ไม่ต้องคิด ไม่ต้องพิจารณาโดยสิ้นเชิง เพราะความจงใจเคลื่อนไหวใดๆ จะทำให้จิตก่อภพก่อชาติก่อวัฏฏะหมุนวนขึ้นมาอีก

เมื่อจิตจะแหวกสิ่งห่อหุ้มออกเป็นครั้งที่ 4 นั้น ไม่มีสิ่งใด แม้กระทั่งอวิชชาที่จะต้องพยายามละ มีแต่รู้ (ครูบาอาจารย์ท่านบอกว่า เมื่อรู้พอแล้ว จิตพลิกนิดเดียวก็พ้นแล้ว) จิตกับสิ่งห่อหุ้ม หรืออุปาทานขันธ์ ก็เป็นอันหมดความผูกพันต่อกัน ต่างคนต่างทำหน้าที่ไปตามธรรมชาติธรรมดา เป็นจิตที่เป็นอิสระ ทำทุกอย่างเป็นกิริยาล้วนๆ เพราะไม่มีความกระเทือนเข้าถึงกันระหว่างจิตกับอารมณ์ และไม่ต้องเอาความดีคือสติปัญญาใดๆ มาบำรุงรักษาจิตอีกต่อไป

จิตจะมีเพียงความรู้สึกที่เป็นกลางอย่างหนึ่ง กับความสุขโสมนัสอีกอย่างหนึ่ง จนถึงวันที่จะดับการสืบต่อของจิต เหมือนไฟที่ดับลงเพราะหมดเชื้อเท่านั้น


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23 มิถุนายน 2553 17:39:35 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: ลิ้งค์ค่ะ » บันทึกการเข้า
คำค้น: วัฏฏสังสาร อริยธรรมสี่ มนสิการ ละ สังโยชน์3 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.474 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 17 ชั่วโมงที่แล้ว