[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
02 พฤษภาคม 2567 00:53:31 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า:  1 2 [3] 4   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ขอประนามการกระทำที่ดูนอกรีตของสถานที่ที่เรียกตัวเองว่าวัด วัดป่าศิวิไลซ์ พิจิตร  (อ่าน 62129 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
wondermay
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #40 เมื่อ: 16 มีนาคม 2555 08:30:32 »




ระวัง!

นับจากนี้ คุณmckaforce ก็จะกลายเป็นเป้านิ่งของกลุ่มคนที่ไม่เห็นด้วย
และก็จะเป็นเป้าของสังคม ที่ถูกจับตามอง
ว่าจะมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินมากน้อยแค่ไหน
 เคี้ยว เคี้ยว ด่า ด่า ด่า สลึมสลือ โอ๊ะ หุบปากซะ หุบปากซะ ลังเล ลังเล ลังเล รู้สึกแย่

และหากเกิดเหตุอันไม่คาดคิด
สังคมจะเห็นพร้อมกันว่าเหตุต่างๆอันไม่น่าเกิดขึ้น
เป็นฝีมือของกลุ่มคนจากวัด(ไม่ว่าจะจริงหรือแอบอ้าง)
โดยมีมูลเหตุจากความขัดแย้ง หรือเป็นเหตุจูงใจให้กระทำการดังกล่าว




http://i54.photobucket.com/albums/g101/apgts/siamflag/23oct2007/ch9-pic01web.jpg
ขอประนามการกระทำที่ดูนอกรีตของสถานที่ที่เรียกตัวเองว่าวัด วัดป่าศิวิไลซ์ พิจิตร



แล้วสุดท้ายต่อให้หนาแค่ไหนตำรวจก็ยังแพ้สื่อ และกระแสสังคม



บันทึกการเข้า
wondermay
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #41 เมื่อ: 16 มีนาคม 2555 08:33:50 »


เจ๊พร้อมจะดัน เริ่ด!


บันทึกการเข้า
【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪
ลั้ลลา
ผู้ดูแลบ้านสุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +8/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 2097


【ツ】ต้นไม้แห่งแสง

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Firefox 10.0.2 Firefox 10.0.2


หน้ากู
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #42 เมื่อ: 16 มีนาคม 2555 13:11:05 »

อ๋อ wondermay จะสื่อว่า
ถ้าน้าแม๊คเป็นอะไรไป ก็คงไม่พ้นฝีมือวัดกับลูกศิษย์หละสินะ

 สบายใจ เยี่ยม สบายใจ
บันทึกการเข้า

เราช่วยกันนำต้นรักที่เพาะได้
   ส่งไปตาม บ้านที่ต้องการ
       อยากจะได้...
   หรืออยากจะเติม
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 17.0.963.79 Chrome 17.0.963.79


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #43 เมื่อ: 16 มีนาคม 2555 18:49:50 »

วันนี้ผมทิ้งงาน

น้องเพื่อนก็เตรียมจะทำรถให้ แต่ก็ยังไม่ได้ทำมารอที่บ้านตอนห้าโมงครึ่ง

แล้วนี่...




มันหมายความว่าไง ?

บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
Band-Home-PC
นักโพสท์ระดับ 6
*

คะแนนความดี: +1/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Bahrain Bahrain

กระทู้: 79

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 17.0.963.79 Chrome 17.0.963.79


ดูรายละเอียด
« ตอบ #44 เมื่อ: 16 มีนาคม 2555 22:09:56 »

เอ๊ะที่ว่าหลบหน้า..เมื่อวานเราหลบไปทำงานกันเน้อะ เหงื่อซก แบกของกันมันส์เลย..หลบมากเลย
บันทึกการเข้า
ปริศนา
นักโพสท์ระดับ 1
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 4


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 17.0.963.79 Chrome 17.0.963.79


ดูรายละเอียด
« ตอบ #45 เมื่อ: 16 มีนาคม 2555 22:14:12 »

อ่อ  หัวหด
เอ๊ย!!!   เขาติดธุระอะดิ แม็คก้าไม่น่าถามเลยยยยยย
บันทึกการเข้า
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 17.0.963.79 Chrome 17.0.963.79


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #46 เมื่อ: 16 มีนาคม 2555 22:21:03 »


อ่อ  หัวหด
เอ๊ย!!!   เขาติดธุระอะดิ แม็คก้าไม่น่าถามเลยยยยยย


อย่าไปว่าเขาเลยแอ้มเอ้ย...

จุดมุ่งหมายพวกเราคือให้สังคมได้ตัดสินเอาจากสิ่งที่เห็น ใครว่าดีก็ดีไป ใครว่าไม่ดีก็ไม่ดี

ใช้ปัญญาพิจารณาเอา เดี๋ยวพอกระแสติดลมบนเมื่อไหร่ก็ได้มีผู้รู้แห่กันออกมาแสดงความเห็นกันเองหละ

ดูเอาง่าย ๆ ศิษย์แต่ละคนที่ออกมาเถียงกับเราเค้ามีลักษณะการพูดยังไง

ใช้คำพูดแบบไหน ใช้ถ้อยคำยังไง ดูมีวุฒิภาวะไหม ?

แล้วเราจะเถียงกับคนแบบนี้ให้ได้อะไร ? เหมือนเอาพิมเสนไปแลกเกลือ

คนบอกปฏิบัติธรรม แต่ยังระงับอารมณ์ตัวเองกันไม่ได้ ยังก่นด่าสาปแช่ง คิดว่ามันปฏิบัติถูกถางหรือ ?

บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪
ลั้ลลา
ผู้ดูแลบ้านสุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +8/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 2097


【ツ】ต้นไม้แห่งแสง

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Firefox 10.0.2 Firefox 10.0.2


หน้ากู
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #47 เมื่อ: 16 มีนาคม 2555 22:23:25 »

^
^
^

น้าแม๊คตอบหยั่งหล่อ
พระเอกมาเองเลยงานนี้

 หัวเราะลั่น เยี่ยม เย้ เยี่ยม หัวเราะลั่น

บันทึกการเข้า

เราช่วยกันนำต้นรักที่เพาะได้
   ส่งไปตาม บ้านที่ต้องการ
       อยากจะได้...
   หรืออยากจะเติม
wondermay
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #48 เมื่อ: 17 มีนาคม 2555 10:29:47 »

คุณMckaforceก็ลองไปอ่าน ลำดับญาณ ทั้ง ๑๖ ญาณ จากพระไตรปิฎก อาการที่คุณสงสัย มีอยู่จริง เมื่ออ่านแล้ว นั่นเป็นเพียงตัวหนังสือ ที่เอาไว้ใช้สอบก็ได้  แต่ลองปฎิบัติดูหรือยัง  ถ้ายังก็ลองดูก่อน เหมือนเห็นอาหาร หน้าตาน่าอร่อย หรือว่าไม่น่ากิน จะตัดสินได้อย่างไรว่า รสชาติเป็นอย่างไร  ถ้าคุณไม่ลองชิมดู  ถ้าการศึกษา ปริญญาเอก เป็นปริญญาที่สูงสุด ลองถาม  ดร.ทั้งหลายดู ว่าท่านรู้ทุกอย่างในโลกแล้วหรือยัง หรือคุณลองเอื้อมมือจับคลื่นโทรศัพท์ จับกระแสไฟฟ้า ที่มองไม่เห็น แต่สามารถทำงานได้ คุณจับต้องได้หรือไม่ สิ่งใดที่ไม่รู้ ควรศึกษา อย่าทำตัวน่าขำน่าสงสารเลย โลกเราไม่ได้มีแค่กบในกะลา ดีดกะลาออกแล้วโลกให้กว้าง คุณก็จะสบายใจขึ้น เพราะการศึกษาไม่มีวันจบสิ้น [/size][/size][/size][/size][/size][/size][/size][/size][/size][/size][/size][/size][/size]
คนนี้เป็นอีกคนหนึ่งที่แสดงตนเป็นผู้รู้ แต่บอกว่ารู็แต่ไม่อธิบายให้รู้
เจ๊ปวดตับ.......เหนื่อยกับปากและความคิดของทุกๆคน ว่างก็ไม่เรียนหนังสือหนังหาเถอะลูก
ไม่อยากเรียนก็ไปทำมาหากินให้มันเกิดประโยชน์

ถ้าวันนี้ได้นิพพานแต่ชีวิตไม่ได้ทำสิ่งดีๆให้สมกับเกิดมา
ไม่ได้ตอบแทนบุญคุณพ่อแม่ ก็เชิญนิพพานไปคนเดียวเลยลูกกกก


ถ้ากลับเข้ามาอ่านก็มาอธิบายให้เจ๊ฟังโดยละเอียด

สวัสดีครับ

*** เรื่องญาณ16 นี้เป็นเรื่องยาก อยู่ 2 อย่างครับ  อย่างที่ 1 การศึกษาให้รู้ให้เข้าใจ อย่างที่ 2  ก็คือ การปฏิบัติจนเข้าถึง หรือ  การรู้ญาณ  การเข้าถึงญาณ  แต่ทางทฤษฎีการเรียนรู้เรื่องญาณ 16  คิดว่าคงไม่ยากนัก  แต่การเข้าถึงนี่ซิครับ แม้แต่ญาณที่ 1 ชื่อว่านามรูปปริจเฉทญาณ นับว่ายากที่สุดสำหรับนักปฏิบัติใหม่ ๆ ครับ มันต้องอาศัยปัญญาบารมีมามากด้วย  เป็นไตรเหตุ  เป็นญาณสัมปยุตตด้วย เอาอย่างกลาง ๆ เพื่อบุคคลที่เป็นทวิเหตุและมีศัทธากันบ้างดีไหมครับ  มาว่ากันปริยัติ กึ่งการปฏิบัติ  หรือปนกันไปทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ  หรือทฤษฎีแนวปฏิบัต โดยไม่ขัดกัน เป็นปัจจัยกัน อย่างเช่นสติปัฏฐาน 4  วิสุทธิ 7 เป็นต้น สัมพันธ์สอดคล้องกัน  เพราะกระผมคิว่าปัจจุบันสื่อทางธรรมหาได้ง่าย แต่จะให้ธรรมสอดคล้องเป็นปัจจัยกันให้เกิด วิปัสสนาญาณ นั้น ต้องผ่านการทำงานที่ถูกต้องตามแนวสติปัฏฐาน  โดยเฉพาะต้องมีเสนาสนะที่เป็นสปายะเป็นต้น หรือในปัจจุบันสำนักปฏิบัติธรรม ที่เป็นสำนักวิปัสสนาจริงๆ นะครับ ก็ค่อนข้างหายาก

***  ... ถ้ามีโอกาส ผมจะค้นหาชื่อสำนักวิปัสสนา มาให้สมาชิกและท่านผู้สนใจได้ศึกษาเลือกเข้าปฏิบัติกันในจังหวัดของท่านเองด้วย  ทั้งที่ในอดีตที่ผ่านมา และในปัจจุบัน  ที่ยังจะตั้งอยู่ในจังหวัดต่าง ๆ  ในประเทศไทยเรา  แต่บางสำนักเปลียน
แปลงไปแล้วกลายเป็นสอนสมาธิไปครับ แต่นั่นก็ตามกาลเวลาครับ  ถ้าท่านได้เข้าใจเรื่องวิปัสสนาแล้วท่านเลือกปฏิบัติที่ไหนก็ได้ ให้พบธัมมสปายะนั้นยากครับ  ...

***  วันนี้ขอสวัสดีก่อน นะครับ... พิศร   ครับ   :idea:

๑. นามรูปปริจเฉทญาณ

ปริยัติธรรม
(ขอใช้ พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ของพระเทพเวที (ปัจจุบัน พระธรรมปิฎก) ประยุทธ์ ปยุตโต เป็นหลัก เนื่องจากท่านผู้นี้เป็นบัณฑิตเอกทางปริยัติธรรมในยุคปัจจุบัน ซึ่งวงการศึกษายกย่องว่าเป็นเอกในยุครัตนโกสินทร์) ระบุว่านามรูปปริจเฉทญาณคือญาณกำหนดจำแนกรู้นามและรูป คือรู้ว่าสิ่งทั้งหลายมีแต่รูปธรรมและนามธรรม และกำหนดแยกได้ว่า อะไรเป็นรูปธรรม และอะไรเป็นนามธรรม

ความรู้จากการปฏิบัติ
ผู้แรกปฏิบัติจะต้องมีเครื่องระลึกของสติ ซึ่งจะเป็นรูปหรือนามก็ได้ เช่น กำหนดพองยุบ (รูป) กำหนดลมหายใจ (รูป) กำหนดอิริยาบถยืน-เดิน-นั่ง-นอน (รูป) กำหนดสุข-ทุกข์ (นาม) กำหนดกุศล-อกุศล (นาม) เป็นต้น ผู้ปฏิบัติจะต้องจำแนกให้ได้ว่า รูปก็ดี นามก็ดีที่กำลังระลึกรู้ในปัจจุบันนั้น เป็นเพียงอารมณ์ที่ถูกจิตรู้ ตัวจิตผู้รู้อยู่ต่างหาก หากยังแยกจิตกับอารมณ์ปรมัตถ์ หรือผู้รู้กับสิ่งที่ถูกรู้ไม่ได้ ยังไม่จัดเป็นวิปัสสนาญาณ แต่เป็นเพียงการทำสมถะเท่านั้น
ผลอันเกิดจากการทำสมถะคือนิมิต เช่น เห็นตัวเองนั่งอยู่ข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้าง มันเป็นนิมิตทั้งสิ้น ซึ่งสามารถรู้เห็นได้เพราะกำลังสมถะ ไม่ใช่เพราะอำนาจของญาณเครื่องรู้อันวิเศษที่เราซักล้างด้วยอินทรีย์สังวรศีล หรือด้วยน้ำใจอันบริสุทธิ์สะอาดของเราแต่อย่างใด เพียงจิตสงบเล็กน้อยก็เห็นได้แล้ว แต่บางคนแม้จะสงบเท่าใดก็ไม่เห็น ซึ่งไม่ใช่สาระสำคัญแต่อย่างใด


๒. ปัจจยปริคคหญาณ

ปริยัติธรรม
ญาณกำหนดรู้ปัจจัยของรูปนาม คือรู้ว่ารูปนามทั้งหลายเกิดจากเหตุปัจจัยและเป็นปัจจัยแก่กัน อาศัยกัน โดยรู้ตามแนว ปฏิจจสมุปบาทก็ดี ตามแนวกฎแห่งกรรมก็ดี ตามแนววัฏฏะ ๓ ก็ดี

ความรู้จากการปฏิบัติ
คือความหยั่งรู้ของจิตที่เห็นว่า เหตุปัจจัยของรูปนามคือวิญญาณ (ความรับรู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ) สมดังที่พระพุทธเจ้าทรงสอนอย่างแจ้งชัดว่า "วิญญาณ ปัจจยา นามรูปัง" คือวิญญาณเป็นปัจจัยของนามรูป
กล่าวคือเมื่อเราเจริญสติสัมปชัญญะ โดยมีสติระลึกรู้ปัจจุบันอารมณ์ที่เป็นรูปหรือนามก็ตาม เราจะค่อยๆ เรียนรู้ว่า แท้จริงแล้วรูปนามปรากฏขึ้นได้เป็นคราวๆ ก็เพราะจิตส่งออกไปรู้มันเข้า โดยวิญญาณหยั่งเข้าที่รูป รูปก็ปรากฏ วิญญาณหยั่งเข้าที่นาม นามก็ปรากฏ หากวิญญาณไม่หยั่งลง สิ่งนั้นก็ไม่ปรากฏมาสู่ภูมิความรับรู้ของจิต เช่น ในขณะที่อ่านหนังสืออยู่นั้น เราเห็นตัวหนังสือ สลับกับการรู้ความหมายของมัน เพราะเรามีวิญญาณทางตาและวิญญาณทางใจ แต่ในขณะนั้นเราไม่ได้ยินเสียงเพลงจากวิทยุ เพราะเราไม่มีวิญญาณทางหู เสียงจึงไม่ปรากฏทั้งๆ ที่มีเสียงอยู่ เราจะรู้ความจริงว่า รูปนามเป็นของแยกต่างหากจากจิตชัดเจนยิ่งขึ้น เพราะเห็นชัดว่า รูปนามปรากฏได้เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย
นอกจากนี้ยังจะเห็นอีกว่า รูปเป็นปัจจัยของนามก็ได้ นามเป็นปัจจัยของรูปก็ได้ รูปนามต่างก็อาศัยกันเกิดขึ้นเป็นคราวๆ ได้


๓. สัมมสนญาณ

ปริยัติธรรม
ญาณกำหนดรู้ด้วยพิจารณาเห็นนามและรูปโดยไตรลักษณ์ คือยกรูปธรรมและนามธรรมทั้งหลายขึ้นพิจารณาโดยเห็นตามลักษณะที่เป็นของไม่เที่ยงเป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน

ความรู้จากการปฏิบัติ
สัมมสนญาณ เป็นสภาวะต่อเนื่องจากปัจจยปริคคหญาณ คือเมื่อเราเห็นว่านามรูปมีวิญญาณ (ความรับรู้) เป็นปัจจัยให้มันปรากฏและนามรูปต่างก็เป็นปัจจัยแก่กันและกัน เมื่อเจริญสติสัมปชัญญะมากขึ้น จิตจะเห็นความจริงชัดเจนยิ่งขึ้นด้วยสัมมสนญาณว่า ทั้งรูปและนามล้วนแต่ปรากฏเป็นคราวๆ ถ้าจิตไม่ไปรู้มันเข้า มันก็ไม่ปรากฏ และสิ่งที่ปรากฏนั้นมันตกอยู่ใต้กฎของไตรลักษณ์ คือมันไม่เที่ยง (อนิจจัง) และเป็นของที่ทนอยู่ได้ชั่วขณะแล้วก็ดับหรือเปลี่ยนสภาพไป (ทุกขัง) ทั้งนี้เป็นไปตามเหตุปัจจัยของมัน และสิ่งที่ปรากฏให้จิตรู้นั้น เป็นของภายนอกที่ถูกรู้ ไม่ใช่ตัวเราหรือของเรา(อนัตตา) ความรู้เหล่านี้เป็นเรื่องของปัญญาล้วนๆ ไม่มีอาการของสมถะเข้ามาปะปนเลย


๔. อุทยัพพยญาณ

ปริยัติธรรม
ญาณอันตามเห็นความเกิดและความดับ คือพิจารณาความเกิดขึ้นและดับไปแห่งขันธ์ จนเห็นชัดว่า สิ่งทั้งหลายเกิดขึ้นครั้นแล้วก็ต้องดับไป ล้วนเกิดขึ้นแล้วดับไปทั้งหมด ในตำราอื่นๆ กล่าวถึงอุทยัพพยญาณว่ามี ๒ ระดับคือ
(๑)       ตรุณอุทยัพพยญาณ เป็นญาณอย่างอ่อน และหากดำเนินผิดพลาดจะเกิดวิปัสสนูปกิเลส และ
(๒)       พลวอุทยัพพยญาณ เป็นญาณเห็นความเกิดดับที่มีความเข้มแข็ง พ้นจากวิปัสสนูปกิเลส

ความรู้จากการปฏิบัติ
ในทางปฏิบัติจะสอดคล้องกับปริยัติธรรม คือญาณนี้จำแนกเป็น ๒ ช่วงตอน ได้แก่
ตรุณอุทยัพพยญาณ ญาณช่วงนี้เป็นอุทยัพพยญาณขั้นเริ่มต้น ได้แก่ การมีสัมปชัญญะคือความรู้ตัว และมีสติระลึกรู้อารมณ์ปรมัตถ์คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสทางกายและธรรมารมณ์(ความคิดนึกปรุงแต่งต่างๆ) เช่น รู้รูปนั่ง รูปเดิน รูปยุบ รูปพอง และรู้ความรู้สึกนึกคิดต่างๆ ตามสัญญาอารมณ์ เช่น ความสุขความทุกข์ กุศลอกุศล เป็นต้น ผู้ปฏิบัติจะเห็นว่าอารมณ์ที่ถูกรู้ทั้งปวงนั้นเกิดดับสืบต่อกันไปเรื่อยๆ ในขั้นนี้หากสัมปชัญญะคือความรู้ตัวอ่อนลง จิตจะไหลตามสติไปเกาะอยู่กับอารมณ์ที่จิตรู้ เช่น กำลังเดินจงกรม จิตก็ไปอยู่ที่เท้า กำลังเคลื่อนไหวมือ จิตก็ไปอยู่ที่มือ กำลังระลึกรู้จิต จิตก็ไปเพ่งอยู่กับความนิ่งว่าง ฯลฯ สภาพนี้คือจิตพลิกจากการทำวิปัสสนาซึ่งต้องประกอบด้วยความรู้ตัวไม่หลงตามอารมณ์ ไปเป็นสมถะคือการที่จิตหลงตามสติไปเกาะอยู่กับอารมณ์อันเดียว ในขั้นนี้หากสิ่งใดปรากฏขึ้น เช่น เกิดแสงสว่าง เกิดปัญญาแตกฉาน เกิดญาณพิเศษต่างๆ เกิดการตั้งสติแข็งกล้าจนอึดอัด ฯลฯ ผู้ปฏิบัติจะเกิดสำคัญมั่นหมายว่า สิ่งที่เกิดนั้นเป็นของดีของวิเศษ เกิดมานะอัตตารุนแรงนั่นคือวิปัสสนูปกิเลส
พลวอุทยัพพยญาณ เป็นอุทยัพพยญาณที่มีกำลังเข้มแข็ง คือแทนที่ผู้ปฏิบัติจะหลงดูแต่อารมณ์หยาบๆ เช่น รูปนั่ง รูปเดิน หรือความคิดนึกปรุงแต่งต่างๆ ผู้ปฏิบัติที่มีกำลังของสัมปชัญญะและสติปัญญามากขึ้น สามารถดูเข้าไปถึงปฏิกิริยาของจิตที่เกิดขึ้นเมื่อจิตไปรู้อารมณ์ต่างๆ เช่น ในขณะที่เดินจงกรมเกิดความรู้สึกตัวเบา แทนที่สติจะรู้แค่ว่าเดินและตัวเบา สติกลับเห็นลึกซึ้งต่อไปว่า ในขณะนั้นจิตมีความเบิกบาน เพลิดเพลินยินดีมีราคะที่ตัวเบาสบาย และมีตัณหาอยากให้ตัวเบาอยู่อย่างนั้นนานๆ หรือรู้อารมณ์อยู่ จิตเกิดอึดอัด สติก็รู้ว่าจิตไม่ชอบใจหรือมีโทสะต่อความอึดอัด และจิตมีตัณหาคืออยากให้หายจากความอึดอัด หรือในขณะนั้นความจำ (สัญญา) เกี่ยวกับลูกเกิดขึ้น แล้วจิตคิดกลุ้มใจไปต่างๆ นานาๆ สติปัญญาก็กล้าแข็งพอที่จะเห็นว่า จิตส่งออกไปเกาะเกี่ยวพัวพันเรื่องลูก จิตเป็นทุกข์ไม่สบาย เห็นโทสะที่เกิดขึ้น และเห็นความอยากจะให้ความทุกข์ดับไป หรือขณะนั้นนั่งดูจิตเห็นว่างๆ ประเดี๋ยวความคิดผุดขึ้นไม่ว่างเสียแล้ว เดี๋ยวคิดดี เดี๋ยวคิดร้าย เดี๋ยวสุข เดี๋ยวทุกข์ และเห็นปฏิกิริยาของจิตต่ออารมณ์ที่จิตไปรู้เข้า เป็นราคะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง เป็นบุญบ้าง เป็นกลางๆบ้าง สลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไปไม่ขาดสาย นี่เป็นอุทยัพพยญาณที่ละเอียดลึกซึ้งยิ่งขึ้น อีกชั้นหนึ่ง คือเปลี่ยนจากการเห็นสิ่งที่มากระทบ เป็นการเห็นปฏิกิริยาของจิตต่อสิ่งที่มากระทบนั้น และเป็นขั้นที่วิปัสสนูปกิเลสแผ้วพานไม่ได้ เพราะจิตฉลาดรู้เท่าทันกลมายาของกิเลส เนื่องจากอ่านจิตใจของตนเองได้ชัดเจนยิ่งขึ้น


๕. ภังคญาณ

ปริยัติธรรม
ญาณอันตามเห็นความสลาย คือเมื่อเห็นความเกิดดับแล้ว คำนึงเด่นชัดในส่วนความดับอันเป็นจุดจบสิ้น ก็เห็นว่าสังขารทั้งปวงล้วนจะต้องสลายไปทั้งหมด

ความรู้จากการปฏิบัติ
เมื่อเห็นอารมณ์เกิดดับบ่อยเข้า และเห็นปฏิกิริยาของจิตต่ออารมณ์บ่อยเข้า ผู้ปฏิบัติที่มีสติสัมปชัญญะเข้มแข็งจะพบว่า เมื่อจิตเกิดปฏิกิริยาใดๆ ต่ออารมณ์เพียงแวบเดียว พอรู้ทัน ปฏิกิริยานั้นก็จะดับไปทันที เช่น กำลังรู้ตัวอยู่ ได้ยินเสียงลูกร้องไห้เสียงดัง จิตมีปฏิกิริยาต่อเสียงคือเกิดความโกรธผ่านแวบเข้ามา สติรู้ทันความโกรธที่กำลังปรากฏ จิตไม่เผลอไปตามความโกรธ ความโกรธจะดับวับไปต่อหน้าต่อตาทันที แม้อารมณ์อื่นเกิดแล้วพอรู้ก็ดับเช่นกัน จิต จะกลับเข้าสู่สภาวะดั้งเดิมคือเป็นกลางและรู้ตัว จะขาดความรู้ตัวไม่ได้เลย
สภาวะที่เห็นปฏิกิริยาของจิตต่ออารมณ์ขาดหายไปต่อหน้าต่อตานั้นคือภังคญาณ ขอย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า อารมณ์ภายนอกที่มากระทบนั้น มันเกิดดับไปตามเหตุปัจจัยภายนอก เช่น ลูกร้องไห้ เราก็ได้ยินเสียงร้องไห้ จะห้ามไม่ให้ได้ยินไม่ได้ สิ่งที่เราแก้ไขได้ก็คือ เมื่อเราได้ยินเสียงนั้นแล้ว หากจิตไม่เป็นกลาง เช่น เกิดโกรธหรือเกิดห่วงใย สติจะรู้ทันอย่างว่องไว แล้วปฏิกิริยาของจิต เช่น ความโกรธหรือความห่วงใยจะดับไป จิตกลับเข้าสู่ความเป็นกลางดังเดิม


๖. ภยญาณ

ปริยัติธรรม
ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว คือเมื่อพิจารณาเห็นความแตกสลายอันมีทั่วไปแก่ทุกสิ่งนั้นแล้ว สังขารทั้งปวงไม่ว่าจะเป็นไปในภพใดคติใด ก็ปรากฏเป็นของน่ากลัว เพราะล้วนแต่จะต้องสลายไปไม่ปลอดภัยทั้งสิ้น

ความรู้จากการปฏิบัติ
ผู้ปฏิบัติจะพบว่า ไม่ว่าอารมณ์ชนิดใดเกิดขึ้น จะเป็นอารมณ์ภายนอก เช่น รูปและเสียง หรืออารมณ์ภายใน เช่น ความสุขและความทุกข์ ความดีและความชั่ว ความฟุ้งซ่านและความสงบ อันเป็นปฏิกิริยาของจิตต่อสิ่งที่มากระทบก็ตาม ก็ล้วนแต่จะต้องดับไปทั้งสิ้น แม้กระทั่งอารมณ์ที่ละเอียดประณีต เช่น ฌานสมาบัติ แม้กระทั่งความว่างของจิต ก็ยังเป็นของไม่เที่ยง อันแสดงว่าภพชาติทั้งปวงเป็นของไม่เที่ยง พึ่งพาอาศัยถาวรไม่ได้ (ภพก็คือสภาพที่จิตเกาะเกี่ยวอารมณ์อันใดอันหนึ่ง ถ้าเกาะอารมณ์ละเอียดก็เป็นภพละเอียด เช่น เทวดาและพรหม ถ้าเกาะภพหยาบก็เป็นสัตว์ในอบายภูมิ มีความทุกข์ความเร่าร้อนมาก) ผู้ปฏิบัติไม่ได้เกิดความกลัวตายเพราะความรักตัวกลัวตาย แต่กลัวเกิดเพราะเห็นว่าไม่ว่าเกิดเป็นอะไรก็ต้องทนทุกข์เวียนว่ายไม่รู้จบสิ้น


๗. อาทีนวญาณ

ปริยัติธรรม
ญาณอันคำนึงเห็นโทษ คือเมื่อพิจารณาเห็นสังขารทั้งปวงซึ่งล้วนต้องแตกสลายไป เป็นของน่ากลัวไม่ปลอดภัยทั้งสิ้นแล้ว ย่อมคำนึงเห็นสังขารทั้งปวงนั้นว่าเป็นโทษ เป็นสิ่งที่มีความบกพร่องจะต้องระคนอยู่ด้วยทุกข์

ความรู้จากการปฏิบัติ
เป็นปัญญาของจิตที่เห็นว่าภพทั้งปวงเป็นที่พึ่งอาศัยไม่ได้ ภพทั้งปวงล้วนแล้วแต่มีความทุกข์ระคนอยู่เสมอ ไม่ว่าภพหยาบหรือละเอียด สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือทุกข์ สิ่งที่ดับไปก็คือทุกข์ นอกจากทุกข์แล้วไม่มีอะไรเกิด ไม่มีอะไรดับ มันเป็นปัญญาเห็นความจริงของภพทั้งปวง หรืออารมณ์ทั้งปวงนั่นเอง


๘. นิพพิทาญาณ

ปริยัติธรรม
ญาณอันคำนึงเห็นด้วยความหน่ายคือเมื่อพิจารณาเห็นสังขาร(ความปรุงแต่งต่างๆ) ว่าเป็นโทษแล้ว ย่อมเกิดความหน่ายไม่เพลิดเพลินติดใจ

ความรู้จากการปฏิบัติ
นิพพิทาญาณไม่ใช่อารมณ์เบื่อแบบโลกๆ แต่มันเป็นสภาพที่จิตหมดความเพลิดเพลินมัวเมาในภพหรืออารมณ์ต่างๆ เพราะเห็นจริงแล้วว่าภพทั้งปวงเจือระคนด้วยทุกข์โทษ ในขณะที่คนทั่วไปเพลิดเพลินมัวเมาในภพ คือจิตมีเยื่อใยยึดเกาะรุนแรงในอารมณ์ทั้งปวงที่จรมา

๙. มุญจิตุกัมยตาญาณ

ปริยัติธรรม
ญาณอันคำนึงด้วยความใคร่จะพ้นไปเสีย คือเมื่อหน่ายสังขารทั้งหลาย แล้วย่อมปรารถนาที่จะพ้นไปจากสังขารเหล่านั้น

ความรู้จากการปฏิบัติ
ญาณนี้เป็นปัญญาที่เมื่อหมดความเพลิดเพลินในอารมณ์ต่างๆแล้ว จิตจะมีปฏิกิริยาอยากจะข้ามพ้นภพชาติทั้งปวง คืออยากพ้นจากอารมณ์อย่างสิ้นเชิง จิตจะมีความเพียรพยายามค้นคว้าพิจารณา เพื่อพ้นเด็ดขาดจากอารมณ์ แต่ก็สามารถพ้นได้ชั่วคราว พออารมณ์หนึ่งแก้ไขได้ ก็มีอารมณ์ใหม่มาให้พิจารณาแก้ไขอีก เป็นช่วงที่จิตหมุนตัวติ้วๆ เพื่อหาทางออกจากภพ


๑๐. ปฏิสังขาญาณ

ปริยัติธรรม
ญาณอันคำนึงพิจารณาหาทาง คือเมื่อต้องการพ้นไปเสีย จึงกลับมายกเอาสังขารทั้งหลายทั้งปวงขึ้นมาพิจารณากำหนดด้วยไตรลักษณ์ เพื่อมองหาอุบายที่จะปลดเปลื้องออกไป

ความรู้จากการปฏิบัติ
เมื่อจิตค้นคว้าพิจารณาที่จะออกจากภพหรือพ้นจากอารมณ์ปรุงแต่งด้วยอุบายต่างๆ มากมาย แต่ไม่สามารถพ้นไปได้ จิตจะค่อยๆ สังเกตเห็นว่า เราไม่สามารถดับอารมณ์ทั้งปวงได้ ตราบใดที่มันมีเหตุ มันก็ต้องเกิด เมื่อหมดเหตุมันก็ดับ อารมณ์ทั้งปวงหมุนเวียนเกิดดับไปตามเหตุปัจจัย ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของเรา นั่นคือการเริ่มเห็นว่า อารมณ์ต่างๆ ไม่เที่ยง เป็นของทนอยู่ไม่ได้ ไม่ใช่ตัวเราของเรา ไม่อยู่ในบังคับบัญชา ซึ่งก็คือเห็นไตรลักษณ์นั่นเอง


๑๑. สังขารุเบกขาญาณ

ปริยัติธรรม
ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร คือเมื่อพิจารณาสังขารต่อไป ย่อมเกิดความรู้เห็นสภาวะของสังขารตามความเป็นจริง ว่ามีความเป็นอยู่เป็นไปของมันอย่างนั้นเป็นธรรมดา จึงวางใจเป็นกลางได้ ไม่ยินดียินร้ายในสังขารทั้งหลาย แต่นั้นมองเห็นนิพพานเป็นสันติบท ญาณจึงแล่นมุ่งไปยังนิพพาน เลิกละความเกาะเกี่ยวกับสังขารเสียได้

ความรู้จากการปฏิบัติ
เมื่อจิตพิจารณาเห็นว่าอารมณ์เป็นไตรลักษณ์ จิตจะรู้ความเกิดดับของอารมณ์ด้วยความเป็นกลางไม่ยินดียินร้าย สติ สมาธิ ปัญญา ก็จะเข้มแข็งขึ้นตามลำดับ แต่ในขั้นนี้คงเห็นว่าอารมณ์เป็นไตรลักษณ์เท่านั้น แต่ตัวจิตเองยังรู้สึกเป็นตัวตนของตน ไม่เห็นเป็นไตรลักษณ์ไปด้วย
ญาณนี้เป็นญาณที่สำคัญมาก หากจิตของผู้ปฏิบัติมีสัมปชัญญะคือรู้ตัว มีสัมมาสมาธิคือเป็นกลางและตั้งมั่น ไม่เผลอเลื่อนไหลไปตามอารมณ์ มีสติระลึกรู้ปัจจุบันอารมณ์ที่กำลังปรากฏตามที่มันเป็นจริง จิตจะเห็นอารมณ์ทั้งปวงผ่านมาแล้วผ่านไป เหมือนนั่งอยู่บนฝั่งน้ำเห็นสิ่งของลอยตามน้ำมา เป็นของดีของสวย เช่น ดอกไม้บ้าง ของสกปรก เช่น สุนัขเน่าบ้าง แต่จิตก็เป็นกลางระหว่างทั้ง ๒ สิ่งนั้น ไม่ยินดีกับดอกไม้ ไม่ยินร้ายกับสุนัขเน่า จิตรู้ว่าดอกไม้ลอยมาแล้วก็ต้องลอยไป สุนัขเน่าลอยมาแล้วก็ต้องลอยไป ไม่มีความอยากเจือปนว่า อยากให้ดอกไม้ลอยมาอีก หรือไม่อยากให้ดอกไม้ลอยตามน้ำไป แม้ความไม่อยากให้สุนัขลอยมาอีก หรือลอยมาแล้วอยากให้รีบลอยพ้นๆ ไป ก็ไม่มีเช่นกัน
นี่คือสภาวะของการเจริญมหาสติปัฏฐานที่แท้จริง มันเกิดขึ้นโดยไม่ต้องข่มบังคับจิตให้เป็นกลาง ญาณนี้เป็นทางแยก ผู้ที่ปรารถนาพุทธภูมิจะก้าวล่วงเข้าสู่ความเป็นพระโพธิสัตว์ ส่วนผู้ที่ปรารถนาสาวกภูมิ จิตจะดำเนินพัฒนาต่อไป


๑๒. อนุโลมญาณ

ปริยัติธรรม
ญาณอันเป็นไปโดยอนุโลมแก่การหยั่งรู้อริยสัจจ์ คือการวางใจเป็นกลางต่อสังขารทั้งหลาย ไม่พะวง และญาณแล่นตรงไปสู่นิพพานแล้ว ญาณอันคล้อยต่อการรู้อริยสัจจ์ ย่อมเกิดขึ้นในลำดับถัดไปเป็นขั้นสุดท้ายของวิปัสสนาญาณ

ความรู้จากการปฏิบัติ
อนุโลมญาณนั้นเป็นสภาวะสืบต่อจากสังขารุเบกขาญาณ คือเมื่อจิตเป็นกลางรู้สังขารหรืออารมณ์ที่เกิดดับต่อเนื่องเฉพาะหน้าตามความเป็นจริงแล้ว จิตจะมาถึงอนุโลมญาณ โดย จิตจะรวมลงสู่ภวังค์ เมื่อจิตไหวตัวขึ้นรู้อารมณ์ทางใจแล้ว จะเกิดอนุโลมญาณสืบเนื่องกันเป็นช่วงสั้นๆ คือหมดความดิ้นรนที่จะบรรลุมรรคผลนิพพานเพื่อให้พ้นจากอารมณ์ทั้งปวง สิ่งใดจะเกิดมันก็เกิด สิ่งใดจะดับมันก็ดับ ความอยากพ้นจากความเกิดดับไม่มีเลย มีแต่การอนุโลมยอมรับสภาพว่า สิ่งทั้งหลายเมื่อมีเหตุมันก็เกิด เมื่อหมดเหตุมันก็ดับ เป็นสภาพที่จิตคล้อยตามต่ออริยสัจจ์นั่นเอง จิตตรงนี้ขจัดโมหะได้ แต่ยังไม่เห็นพระนิพพาน


๑๓. โคตรภูญาณ

ปริยัติธรรม
ญาณครอบโคตรคือความหยั่งรู้ที่เป็นหัวต่อแห่งการข้ามพ้นจากภาวะปุถุชนเข้าสู้ภาวะอริยบุคคคล

ความรู้จากการปฏิบัติ
ถึงขั้นนี้คำสอนทางปริยัติธรรมเข้าไม่ถึงเสียแล้ว จึงไม่สามารถจำแนกอธิบายลักษณาการของโคตรภูญาณได้
โคตรภูญาณเป็นญาณหยั่งรู้ว่า ขณะนั้นกระแสจิตที่ส่งออกนอกไประลึกรู้อารมณ์จะปล่อยวางอารมณ์แล้วถอยย้อนคืนเข้าหาตัวจิตผู้รู้ มันไม่ได้เกาะเกี่ยวกับอารมณ์จึงไม่อาจจัดเป็นโลกียญาณ และไม่ได้เข้าถึงธาตุรู้อันบริสุทธิ์แท้จริง จึงไม่ใช่โลกุตรญาณ แต่เป็นรอยต่อตรงกลางนั่นเอง ขณะนั้นสติสัมปชัญญะจะแจ่มใสตลอด เพียงแต่จิตจะดำเนินวิปัสสนาอยู่ในฌานเท่านั้น


๑๔. มัคคญาณ

ปริยัติธรรม
ญาณหยั่งรู้ในอริยมัคค์ คือความหยั่งรู้ที่ให้สำเร็จภาวะอริยบุคคลแต่ละขั้น

ความรู้จากการปฏิบัติ
เมื่อสติซึ่งเคยระลึกรู้อารมณ์ย้อนตามโคตรภูญาณเข้ามาระลึกรู้จิตผู้รู้ ซึ่งตัวจิตผู้รู้เองก็มีสัมปชัญญะอยู่ก่อนแล้ว ทั้งสติ ทั้งสัมปชัญญะ ทั้งกุศลธรรมฝ่ายการตรัสรู้ทั้งปวงที่รวมเรียกว่าโพธิปักขิยธรรม ประชุมรวมลงที่จิตผู้รู้ดวงเดียว ในขณะนั้นมโนวิญญาณที่ห่อหุ้มธาตุรู้ถูกกำลังของมรรคหรือมัคคสมังคีแหวกออก ธาตุรู้ซึ่งถูกห่อหุ้มมานับกัปป์กัลป์ไม่ถ้วนก็ปรากฏตัวขึ้นมา สภาพที่มัคคสมังคีแหวกมโนวิญญาณอันนั้นเกิดในขณะจิตเดียว บางคนตามรู้ได้ บางคนตามรู้ไม่ทันเพราะปัญญาอบรมมาได้ไม่เท่ากัน


๑๕. ผลญาณ

ปริยัติธรรม
ญาณในอริยผล คือความหยั่งรู้ที่เป็นผลสำเร็จของพระอริยบุคคลขั้นนั้นๆ

ความรู้จากการปฏิบัติ
เมื่อมโนวิญญาณถูกแหวกออกแล้ว ธรรมชาติอันบริสุทธิ์แท้จริงก็ปรากฏขึ้น มันไม่มีรูปร่างตัวตนใดๆทั้งสิ้น ปรากฏเป็นแสงสว่าง ว่างบริสุทธิ์ เป็นตัวของตัวเอง จิตในขณะนั้นมีอาการเบิกบานร่าเริงโดยปราศจากอารมณ์ปรุงแต่ง


๑๖. ปัจจเวกขณญาณ

ปริยัติธรรม
ญาณหยั่งรู้ด้วยการพิจารณาทบทวน คือสำรวจรู้มรรคผลและกิเลสที่ละแล้ว กิเลสที่เหลืออยู่ และนิพพาน

ความรู้จากการปฏิบัติ
ในขณะที่บังเกิดมรรคผลนั้น ปราศจากความคิดมีแต่ความรู้ เมื่อมัคคญาณยังไม่ถึงขั้นอรหัตมัคค์ ย่อมมีกำลังไม่มากพอที่จะส่งผลให้จิตหลุดพ้นได้ถาวร แต่จะปรากฏเพียงเล็กน้อย ๒-๓ ขณะก็จะถูกมโนวิญญาณกลับเข้ามาห่อหุ้มปกคลุมอีก เมื่อสัญญาเกิดขึ้นแล้ว ผู้ปฏิบัติจะคิดนึกได้และรู้ชัดว่า อ้อ สิ่งใดเกิดขึ้น สิ่งนั้นต้องดับไป พระพุทธเจ้ามีจริง ทรงสอนธรรมเป็นของจริง ปฏิบัติแล้วหลุดพ้นได้จริง ผู้ปฏิบัติสามารถหลุดพ้นเป็นอริยสาวกตามพระองค์ได้จริง จะรู้ชัดว่าความเป็นตัวตนไม่มีอยู่จริง โดยเฉพาะจะเห็นชัดว่าจิตไม่ใช่ตัวเรา ความเป็นตัวเราหรือสักกายทิฏฐิเกิดจากสังขารหรือความคิดเข้ามาปรุงแต่งหลอกลวงจิตเท่านั้น จะหมดความลังเลสงสัยในพระศาสนาสิ้นเชิง ไม่มีทางปฏิบัตินอกลู่นอกทางใดๆ ได้อีก กล่าวโดยย่อ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และ สีลัพพตปรามาส เป็นอันหมดไปเด็ดขาด กิเลสในจิตใจเหลือมากน้อยเพียงใดก็รู้ชัดในใจตนเอง

บทสรุปเกี่ยวกับโสฬสญาณ
โสฬสญาณเป็นพัฒนาการทางปัญญาของจิตที่เจริญสติและ สัมปชัญญะอย่างถูกต้อง มีความต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ โดยเริ่มตั้งแต่

- การรู้จักจำแนกรูปและนาม อันเป็นสิ่งที่ถูกรู้หรือเป็นอารมณ์เครื่องระลึกของสติออกจากจิตผู้รู้ (ญาณ ๑)

- รู้ว่ารูปหรือนามปรากฏเป็นคราวๆ เมื่อจิตไปรู้มันเข้า (ญาณ ๒)

- รู้ว่ารูปนามทั้งปวงนั้นปรากฏเป็นคราวๆ เมื่อถูกรู้ และรูปนามทั้งปวงนั้นล้วนหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัย ตกอยู่ใต้กฎของไตรลักษณ์ (ญาณ ๓)

- รู้ว่ารูปนาม และปฏิกิริยาของจิตต่อรูปนามที่จิตไปรู้เข้า ล้วนแต่เกิดดับต่อเนื่องกันไป (ญาณ ๔)

- ต่อมาพอจิตมีปฏิกิริยาใดๆ ต่อสิ่งที่จิตไปรู้เข้า ถ้าสติสัมปชัญญะบริบูรณ์ ปฏิกิริยานั้นจะดับไปทันที (ญาณ ๕)

- ผู้ปฏิบัติจะเห็นว่า ภพชาติทั้งปวง อันหมายถึงการที่จิตเข้าไปอิงอาศัยอารมณ์ต่างๆ นั้น เป็นของไม่ปลอดภัย เนื่องจากอารมณ์ทั้งปวงล้วนแต่เกิดดับ (ญาณ ๖)

- ในระหว่างที่อิงอาศัยอารมณ์นั้น จิตไม่ได้มีความสุขจริง เพราะภพชาติทั้งปวงล้วนแต่มีทุกข์มีโทษในตัวของมันเอง (ญาณ ๗)

- จิตคลายความเพลิดเพลินพึงพอใจในภพชาติต่างๆ (ญาณ ๘)

- จิตพยายามดิ้นรนแสวงหาทางออกจากภพหรือการตกอยู่ใต้อำนาจของอารมณ์ต่างๆ (ญาณ ๙)

- จิตพบว่าหนีจากอารมณ์หรือภพไม่ได้ เพราะมันไม่อยู่ในอำนาจบังคับของเรา จึงจำเป็นต้องอยู่กับมัน (ญาณ ๑๐)

- จิตเป็นกลางต่ออารมณ์ เพราะเห็นแล้วว่ามันเป็นของเกิดดับ และหนีมันไม่ได้ ยิ่งพยายามไปปฏิเสธมัน ยิ่งเป็นทุกข์มากขึ้น จิตจึงไม่ปฏิเสธอารมณ์ เป็นกลางต่ออารมณ์ (ญาณ ๑๑)

- จิตปล่อยวางอะไรจะเกิดมันก็เกิด ไม่ได้ปรารถนาแม้กระทั่งมรรคผลนิพพาน (ญาณ ๑๒)

- เมื่อจิตหมดความอยาก (ไม่มีตัณหา - พระพุทธเจ้าจึงทรงสอนให้ละตัณหาอันเป็นตัวสมุทัย แล้วนิโรธจะปรากฏเอง) จิตก็ปล่อยวางอารมณ์ทั้งปวง ถอยเข้าหาจิตผู้รู้อย่างอัตโนมัติ (ญาณ ๑๓)

- สติ สมาธิ ปัญญา และธรรมฝ่ายการตรัสรู้ทั้งปวง รวมลงที่จิตดวงเดียวเป็นมรรคสมังคี กำลังของมรรคแหวกมโนวิญญาณซึ่งห่อหุ้มปิดบังธรรมชาติอันบริสุทธิ์ออก (ญาณ ๑๔)

- ธรรมชาติอันบริสุทธิ์ปรากฏตัวขึ้น เป็นความว่าง สว่าง บริสุทธิ์ จิตหมดความปรุงแต่ง หมดการแสวงหา หมดกิริยาของจิต แต่ไม่ใช่หมดความรู้สึกอันเป็นการขาดสติสิ้นเชิง (ญาณ ๑๕)

- ต่อมาสัญญาเกิดขึ้น จิตจะรู้ว่า เมื่อครู่นั้นเกิดอะไรขึ้น รู้จักพระรัตนตรัยที่แท้จริง รู้แล้วว่าทางปฏิบัติที่ถูกต้องเป็นอย่างไร รู้ว่าสิ่งทั้งปวงเกิดขึ้นแล้วต้องดับไปทั้งสิ้น เป็นไปตามเหตุปัจจัย เมื่อยังอยู่กับโลกก็ต้องอยู่อย่างสร้างเหตุดี เพื่อเอาผลของกรรมดีเป็นที่อาศัยอันสบาย (ญาณ ๑๖)

ตลอดสายของโสฬสญาณ ไม่มีเรื่องของนิมิตแปลกปลอมใดๆ เลย แต่ผู้ใดเจริญสติและสัมปชัญญะไม่ถูกต้อง หลงทำสมถะอยู่แล้วคิดว่าเป็นวิปัสสนา จะหลงไปเอานิมิตมาอธิบายเป็นวิปัสสนาญาณ และเห็นญาณต่างๆ ขาดจากกันเป็นท่อนๆ ไม่เห็นความสืบต่อเป็นสายโซ่ของญาณทั้ง ๑๖ ขั้นตอน

ที่เขียนเรื่องนี้ขึ้นมาไม่ใช่มุ่งโจมตีผู้อื่น แต่เพราะสงสารหมู่เพื่อนผู้ปฏิบัติจะเกิดสำคัญผิดหลงทาง จึงเขียนเพื่อจะสะกิดใจให้คิดสักนิดว่า จะฝึกหัดปฏิบัติธรรมอย่าหลงเชื่ออาจารย์อย่างเดียว ให้รู้จักศึกษาไตร่ตรองให้รอบด้านและรอบคอบ สิ่งที่ผู้เขียนเขียนขึ้นนี้อาจจะไม่จริงหรืออาจจะจริงก็ได้ ไม่ได้ต้องการให้เชื่อ เพียงแต่อย่าหลงงมงายขาดเหตุผลเชื่ออาจารย์ไปข้างเดียว ถ้าผิดขึ้นมาจะเสียประโยชน์ของตนเอง ผู้เขียนไม่ได้เสียประโยชน์หรือได้ประโยชน์ใดๆ ด้วย
http://www.cdthamma.com/forums/index.php?topic=186.0



เจ๊ไม่ได้คิดจะปฏิบัติ ไม่ได้ศึกษา ไม่ได้ต้องการพิพพาน ญาณ เจ๊ะเฉยๆ
เพียงแต่เจ๊ เห็นว่ามันเป็นเรื่องเสียเวลา ทั้งคนตั้งกระทู้ คนตอบกระทู้ รวมถึงเจ๊ด้วย
ต่างคนต่างไปประกอบการงานของตัวเองให้ดี ทำดี ละก็เก็บไว้กะตัวไม่ต้องมาบอก
พ่อแม่กลับไปดูแล ไม่ใช่ยังไถตังอยู่แต่ปากบอกตัวเองได้ญาณ ต่อให้ได้จริงเจ๊ก็ไม่นับถือ
กลับไปคิดดู ว่าญาณที่ได้มานี้ ทำให้ชีวิตตัวเองดีขึ้นอย่างไรบ้าง

ถ้าบอกมาทางธรรมว่าดีแต่ทางโลก สภาพย่ำแย่ ฐานะเหมือนเดิม ก็จบ
เจ๊แนะนำให้บวชซะ แต่ถ้าไม่บวชก็กลับไปทบทวนหน้าที่ของคฤหัสถ์ ให้มันทำให้ครบก่อนเถอะจ่ะ








บันทึกการเข้า
wondermay
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #49 เมื่อ: 17 มีนาคม 2555 10:40:57 »

             ในการที่คุณพูดมาทั้งหมดโดยยึดหลักทางพระพุทธศาสนานั้นมันถูกต้องอยู่ครับ แต่อย่ายึดความคิดของคุณเป็นใหญ่ หรือคิดว่าความคิดของคุณจะถูกต้องที่สุดซิครับ คุณไม่ใช่เจ้าของศาสนาซะหน่อย หรือว่าคุณมีศาสนาพุทธ นิกายใหม่ที่เป็นของตนเอง ผมในฐานะที่เป็นพุทธศาสนิกชนคนหนึ่งจะได้ไปฝึกในแนวทางของคุณดูบ้างคุณศาสดา Mckaforce
              ในการที่คุณเอาสื่อมาตีแผ่แบบนี้เป็นเรื่องที่ดีครับ(ขอให้ได้อานิสงผลบุญนั้นไป) แต่ที่มาพูดในด้านลบนี้ถือว่าผิดทั้งทางโลกและทางธรรม มันไม่ดี สิ่งที่ดีๆที่ชอบมีอีกเยอะ สิ่งที่ไม่ดีไม่ชอบก็มีอีกเยอะ แต่เก็บเอาไว้ในใจจะดีกว่าไหม ในกรณีนี้คุณพูดราวกับว่าคุณสามารถตัดสินได้ว่า สิ่งใดถูก สิ่งใดผิด สิ่งใดดี สิ่งใดชั่ว เหมือนว่าคุณได้รู้แจ้งเห็นจริงแล้วในสัจธรรม แต่ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง รบกวนช่วยมาบรรพชาอุปสมบทให้ผมได้ไหม อยากปฏิบัติในแนวทางหรือวิธีของคุณ และขอมอบกายถวายตัวและใจเพื่อเป็นศิษยานุศิษย์ของเกจิ Mckaforce ด้วยคนครับ
              ตามที่คุณได้ตีแผ่และว่าความมาบวกกับที่ผมได้ศึกษาและปฏิบัติมา ไม่ว่าที่ไหนนะครับ ทุกที่ล้วนมีแนวทางการปฏิบัติที่แตกต่างกันออกไป แต่จุดมุ่งหมายปลายทางหรือผลสำเร็จมันก็เหมือนกันทุกที่แหล่ะครับ พระพุทธเจ้าทรงได้สอนหรือบัญญัติไว้ไหมว่า การที่จะทำให้รู้แจ้งเห็นจริงมีวิธีหรือแนวทางในการปฏิบัติอย่างไร ไม่มีหรอกครับ ท่านได้สอนไว้เพียงว่า การที่จะบรรลุธรรมขั้นใดขั้นนึ่งนั้น ต้องทำให้จิตใจเราเกิดสิ่งนั้นสิ่งนี้ก่อน แต่ไม่ได้บอกวิธีปฏิบัติเอาไว้ซะหน่อย ขอยกตัวอย่างให้เห็นภาพนะครับ เมื่อเราหิวเราก็กินเพื่อให้อิ่ม แต่ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลว่า จะกินอะไรให้อิ่นและใช้อะไรกิน สมัยก่อนก็ใช้มือ สมัยนี้ก็ช้อนซ้อม ถ้าคนจีนก็ตะเกียบ คล้ายกับว่า อยากทำจิตใจให้สงบก็ต้องนั่งสมาธิ และวิธีการทำสมาธิก็มีตั้งหลายวิธี ถ้ายึดติดกับความคิดของคุณ ก็หมายความว่า เกิดคุณใช้ช้อนซ้อมกินข้าว คนในสมัยก่อนกับคนจีนก็ปฏิบัติผิดวิธีผิดหลัก เพราะเค้าดันไปใช้มือกับตะเกียบกิน ยังนั้นน่ะหรอ......
               แล้วสุดไม่ว่าจะใช้อะไรกิน หรือกินอะไร ผลลัพธ์มันก็คือต้องการให้ท้องอิ่มเหมือนกันนั่นแหล่ะครับท่านศาสดา ศาสนาใหม่ ราวกับว่า สำนักสงฆ์แต่ละสำนักก็มีวิธีฝึกต่างวิธีกันแต่เป้าหมายก็คือให้เข้าถึงสมาธิวิปัสนากัมมัฏฐาน บางสำนักก็ให้ภาวนา พุทโธบ้าง สัมมาอรหังบ้าง
                อีกอย่าง ในสมัยก่อน ครูบาอาจารย์หรือเกจิอาจารย์ทั้งหลายเคยได้มีบันทึกไว้ไหมว่าท่านสามารถบรรลุคุณธรรมขั้นหนึ่งขั้นใดได้อย่างไร ไม่มีหรอกครับ มีแต่เรื่องเล่าประวัติความเป็นมา เต็มที่ก็วิถีการปฏิบัติ แต่ท่านทั้งหลายนั้นก็ยังไม่ได้บอกไว้เหมือนกันว่าปฏิบัติแบบนี้แล้วผลลัพธ์จะเป็นอย่างไร นี่แหล่ะเป็นสิ่งที่ทำให้ครูบาอาจารย์รุ่นหลังๆ นำมาค้นหาค้นคว้าแล้ว(ย้ำ)นำมาปฏิบัติให้รู้แจ้งเห็นจริงก่อนที่นำมาสอนให้ศิษยานุศิษย์ลองปฏิบัติกันดู ใครจะทำตามก็ทำ ใครจะไม่ทำตามก็ไม่ต้องทำ ท่านเค้าไม่ได้บังคับ ชิมิ????
                  พอละ ขี้เกียจสาธยาย เมื่อยนิ้ว เอาเป็นว่า คิดให้ดีแล้วลงมือทำให้ดีที่สุด ดีไม่ดียังไงเรารู้คนเดียว แล้วเก็บไว้ในใจซะ อย่าได้ไปสอนหรือกล่าวอ้างว่ามันดีหรือไม่ดี ถูกหรือผิดอย่างไร

ปล. ผู้ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด[/size][/size]

นี่อีกคน ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด
แต่เนื้อความแสดงให้เห็นถึงความคิดความอ่าน กลับมาอ่านคำพูดตัวเองน๊ะจ๊ะ

ไม่ต้องไปกระทบกระทั่งใครหรอก ศาสดาไหนๆก็ช่าง เจ๊ไม่แคร์ so what?

เจ๊เชื่อในเหตุผล บนความจริง สิ่งที่จับต้องได้
ศาสดาตายไปแล้ว เหลือแต่คำสอนที่ผ่านกาลเวลามานาน ถูกเติมแต่งมากน้อยเราไม่รู้
แต่สิ่งที่เหนือกว่านั้นคือตนเอง ต้องการอะไร จะมองอะไร มองแบบไหน ตนเองตัดสินใจ
เจ๊พูดอีกที คิดอะไรเห็นดีอะไร เงียบเสีย ถ้าตนมองว่าดีแล้วก็ทำดีต่อไป
สิ่งดีๆก็จะชักนำสิ่งดีๆเข้ามา นอกเสียจากมันยังไม่มีอะไรดีขึ้น ก็กลับมาคิดนะจ๊ะว่าหลงผิดรึเปล่า

ทุกคนในนี้ มีทางของตัวเอง ในเมื่อรู้แล้วว่าตนมีเหตุผลที่เชื่อมั่น
และรู้แล้วว่าไม่สามารถจูงใจอีกฝ่าย ปล่อยเสีย อุเบกขา คงต้องใช้เสียที





บันทึกการเข้า
Band-Home-PC
นักโพสท์ระดับ 6
*

คะแนนความดี: +1/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Bahrain Bahrain

กระทู้: 79

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 17.0.963.79 Chrome 17.0.963.79


ดูรายละเอียด
« ตอบ #50 เมื่อ: 17 มีนาคม 2555 16:18:48 »

อาเมนภันเต  หัวเราะลั่น
บันทึกการเข้า
Chick[ii]z
I AM POM
นักโพสท์ระดับ 1
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 4


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 17.0.963.79 Chrome 17.0.963.79


ดูรายละเอียด
« ตอบ #51 เมื่อ: 20 มีนาคม 2555 00:44:56 »

เสื่อมๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ  ไฟลุก

Logic ง่ายๆ คิดกันไม่เป็นรึยังไง  ด่า
บันทึกการเข้า
ยังทุกข์
นักโพสท์ระดับ 7
**

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 121


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 8.0.1 Firefox 8.0.1


ดูรายละเอียด
« ตอบ #52 เมื่อ: 20 มีนาคม 2555 05:20:37 »

อุเบกขา
บัวมีสี่เหล่า
เราไม่รู้หรอกเราเป็นเหล่าใด
อุเบกขา  มีเมตตาเป็นพุทธครับ  รักทุกคน
บันทึกการเข้า
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5470


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #53 เมื่อ: 20 มีนาคม 2555 16:48:11 »



เอถ ปสฺสถิมํ โลกํ
จิตฺตํ ราชรถูปมํ
ยตฺถ พาลา วิสีทนฺติ
นตฺถิ สงฺโค วิชานตํ ฯ ๑๗๑ ฯ


สูเจ้าทั้งหลาย จงมาเถิดมาดูโลกนี้
อันวิจิตรพิสดาร เหมือนกับราชรถทรง
ณ ที่นี่แหละ เหล่าคนโง่พากันหมกมุ่นอยู่
แต่ผู้รู้หาติดข้องอยู่ไม่


Come you all and behold this world
Like an ornamented royal chariot,
Wherein the fools are deeply sunk.
But for those who know there is no bond.



บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪
ลั้ลลา
ผู้ดูแลบ้านสุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +8/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 2097


【ツ】ต้นไม้แห่งแสง

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Firefox 10.0 Firefox 10.0


หน้ากู
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #54 เมื่อ: 22 มีนาคม 2555 02:23:39 »

ไม่ได้วิเศษวิโสอะไรแม้แต่นิดเดียว ไม่ต่างจากพวกจูงจิต ไม่ต่างจากพวกเล่นกลทำน้ำใส่ทิงเจอร์ให้ใส วิธีที่มันเร่งให้ภาวนาเร็วๆ ส่วนนึงก็ให้หายใจเร็วๆ แล้วที่เหลือก็เป็นกลไกตามธรรมชาติ

อาการหายใจเร็วกว่าปกติ (hyperventilation หรือ overbreathing) หมายถึงสภาวะที่มีการหายใจเร็วหรือลึกเกินความจำเป็น ก่อให้เกิดอาการหน้ามืดหรืออาการอื่นๆ มักมีสาเหตุมาจากความกังวล อาการหายใจเร็วกว่าปกติอาจเป็นการตอบสนองต่อภาวะเลือดเป็นกรดเมตะบอลิก (metabolic acidosis) ซึ่งเป็นสภาวะที่ส่งผลต่อค่า pH ในเลือดต่ำลง

ผลข้างเคียงนี้มิได้เกิดขึ้นจากการขาดออกซิเจนหรืออากาศของผู้ป่วยตามที่มักเข้าใจกัน หากแต่ว่าอาการหายใจเร็วกว่าปกตินี่เองทำให้ระดับความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ในกระแสเลือดต่ำลงกว่าระดับปกติ อันเป็นผลให้ค่า pH ในกระแสเลือดสูงขึ้น (ทำให้เลือดมีสภาวะเป็นเบสมากขึ้น) ทำให้เส้นเลือดที่หล่อเลี้ยงสมองหดตัว ขัดขวางการส่งถ่ายออกซิเจนและโมเลกุลอื่นที่จำเป็นต่อการทำงานของระบบประสาท

อาการหายใจเร็วกว่าปกติอาจทำให้เกิดอาการชาหรือรู้สึกยิบๆ ที่มือ ขาหรือริมฝีปาก อาการหน้ามืด วิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ แน่นหน้าอก พูดจาติดขัด ตื่นกลัว มึนงง ควบคุมตัวเองไม่ได้ หรือหมดสติ

โง่หรือฉลาดที่เข้าข้างวัด แน่ใจได้แค่ไหนว่าไม่ได้โดนหลอก
บันทึกการเข้า

เราช่วยกันนำต้นรักที่เพาะได้
   ส่งไปตาม บ้านที่ต้องการ
       อยากจะได้...
   หรืออยากจะเติม
【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪
ลั้ลลา
ผู้ดูแลบ้านสุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +8/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 2097


【ツ】ต้นไม้แห่งแสง

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Firefox 10.0 Firefox 10.0


หน้ากู
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #55 เมื่อ: 22 มีนาคม 2555 02:35:15 »

hyperventilation- association fillerette


อาการหายใจเร็วกว่าปกติ (hyperventilation หรือ overbreathing)
ทางวิทยาศาสตร์ก็อธิบายได้ ไอ้ที่ดีดดิ้น คนน่ะพอขาดสติมันโดนบอกให้ดิ้นมันก็ดิ้น
ไหนจะอยู่ท่ามกลางพวกดีดดิ้น ไหนจะอยู่กลางสภาพแวดล้อมที่กดดัน
อย่าลืมนะว่าอาการของคนหายใจเร็วติดต่อกันมันจะตื่นกลัว มึนงง ขาดสติ
ทำคนปกติให้ขาดสติขอให้ชีวิตเจริญๆกันเถอะ
แน่ใจหรอว่าทำแล้วได้บุญ แน่ใจหรอว่าที่ทำกันมันไม่เป็นบาป

บันทึกการเข้า

เราช่วยกันนำต้นรักที่เพาะได้
   ส่งไปตาม บ้านที่ต้องการ
       อยากจะได้...
   หรืออยากจะเติม
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5470


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #56 เมื่อ: 25 มีนาคม 2555 15:00:11 »



คนเราทุกคนหลงกลกิเลส
ดูแต่กิเลสราคะ ส่ังให้ทำก็ทำตาม
กิเลสโทสะสั่งให้ทำก็ทำเลย
กิเลสโมหะสั่งให้ทำก็ทำเลย

 
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5470


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #57 เมื่อ: 25 มีนาคม 2555 15:26:41 »



พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ   กับหลวงปู่สิม  พุทธาจาโร


คนเราทุกคนหลงกลกิเลส
ดูแต่กิเลสราคะสั่งให้ทำก็ทำ
กิเลสโทสะสั่งให้ทำก็ทำเลย
กิเลสโมหะสั่งให้ทำก็ทำเลย
ก็เป็นอันว่าทำตามไปทุกสิ่งทุกอย่าง

ถ้าผู้ใดทำตามอำนาจกิเลสอยู่เรื่่อยไปอย่างนี้ละก็
บุคคลนั้นไม่มีหนทางใดที่จะละกิเลสออกจากจิตได้
เพราะจิตผู้นั้นไม่ยกขึ้นสู่กรรมฐาน
แค่อสุภะกรรมฐานที่ถ่ายออกมาทุกวันก็ไม่กำหนด
กำหนดไม่เห็น  ปล่อยให้กรรมฐานเสียไปทุกวัน ๆ

ให้พากันตั้งจิตให้สูงขึ้น
อย่าปล่อยให้จิตต่ำ  ดึงขึ้นมาให้ได้ทุกลมหายใจ
ว่านี่เราใกล้้ความตายเข้ามาทุกทีแล้ว
อย่าประมาท.....


.....ธรรมเมตตา  โดย  หลวงปู่สิม  พุทฺธาจาโร....ผู้ปฏิบัติตามแบบอย่างของพระพุทธเจ้า



.





บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
kaewjanaron
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 6
*

คะแนนความดี: +1/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 54


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Firefox 10.0.1 Firefox 10.0.1


ดูรายละเอียด
« ตอบ #58 เมื่อ: 25 มีนาคม 2555 23:44:22 »

สิ่งที่ดีก็ควรชืนชม
สิ่งไม่ดีก็ควรตำนิครับ

ครูบารอาจารย์แต่ละท่านอาจสอนสั่งแตกต่างกันไป
แต่หัวใจเราคือพุทธะเช่นกัน

เป็นกำลังใจให้นะครับแม็ค
ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครองครับ
บันทึกการเข้า

~ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครอง~
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 18.0.1025.142 Chrome 18.0.1025.142


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #59 เมื่อ: 05 เมษายน 2555 22:53:56 »

ก่อนที่พระอาจารย์ใหญ่มั่น ท่านจะทิ้งขันธ์ ท่านได้ให้
โอวาท ซึ่งถือว่าเป็นโอวาทครั้งสุดท้ายก็คงจะได้


ท่านบอกว่า



ผู้ถือว่าไม่มีบาป ไม่มีบุญ ก็มีมากมายเข้าแล้ว

แผ่นดินนับวันจะแคบ

มนุษย์แม้ถึงจะตาย ก็นับวันจะมากขึ้น

นโยบายในทางโลกีย์ใดๆ ก็นับวันจะแข่งขันกันขึ้น

พวกเราจะปฏิบัติลำบากในอนาคต

เพราะเนื่องด้วยที่อยู่ไม่เหมาะสม

เป็นไร่ เป็นนา จะไม่วิเวกวังเวง

ศาสนาทางมิฉาทิฏฐิ

ก็นับวันจะแสดงปาฏิหาริย์

คนที่โง่เขลาก็จะถูกจูงไปอย่างโคกระบือ

ผู้ที่ฉลาดก็เหลือน้อย


ฉะนั้น พวกเราทั้งหลาย

จงรีบเร่งปฏิบัติธรรม ให้สมควรแก่ธรรม

เหมือนไฟกำลังไหม้เรือน จงรีบดับเร็วพลันเถิด

ให้จิตเบื่อหน่ายคลายเมาวัฏฏสงสาร

ทั้งโลกภายใน คือ หนังหุ้มอยู่โดยรอบ

ทั้งภายนอกที่รวมลงเป็นสังขารโลก

ให้ยกดาบเล่มคมเข้าสู้

คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

พิจารณาติดต่ออยู่ ไม่มีกลางวันกลางคืน

ความเบื่อหน่ายคลายเมาไม่ต้องประสงค์

ก็จะต้องได้รับแบบเย็น ๆ และแยบคาย

ด้วยสัมมาวิมุตติและสัมมาญาณะอันถ่องแท้

ไม่ต้องสงสัยดอก

พระธรรมเหล่านี้ ไม่ลวงไปไหน

มีอยู่ ทรงอยู่ ในปัจจุบันจิต ในปัจจุบันธรรม

ที่เธอทั้งหลายตั้งไว้อยู่ที่หน้าสติ หน้าปัญญา

อยู่ด้วยกัน กลมกลืนในขณะเดียวนั้นแหล่ะ




นี่คือโอวาทครั้งสุดท้าย ของ ท่านพระอาจารย์ใหญ่มั่น

ก่อนที่ท่านจะดับขันธ์
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
คำค้น: ประนาม การกระทำ ศาสนา เสื่อม ศาสนาเสื่อม วัดป่าศิวิไลย์ วัดป่าศรีวิไลย์ บางมูลนาก พิจิตร วัดป่าศิวิไลซ์ 
หน้า:  1 2 [3] 4   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
หลวงปู่ภู ธัมมโชติ พระเกจิวัดท่าฬ่อ-พิจิตร
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 1317 กระทู้ล่าสุด 16 พฤษภาคม 2560 19:26:49
โดย ใบบุญ
หลวงพ่อหวั่น กุสลจิตโต วัดคลองคูณ อ.ตะพานหิน จ.พิจิตร
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 1020 กระทู้ล่าสุด 23 กุมภาพันธ์ 2561 16:10:42
โดย ใบบุญ
หลวงปู่จรัญ สุเขสิโน วัดน้ำเคือง อ.ทับคล้อ จ.พิจิตร
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 610 กระทู้ล่าสุด 19 สิงหาคม 2562 18:04:45
โดย ใบบุญ
หลวงพ่อพิธ วัดฆะมัง วัดฆะมัง ต.ฆะมัง อ.เมือง จ.พิจิตร
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 1089 กระทู้ล่าสุด 30 สิงหาคม 2562 16:42:44
โดย ใบบุญ
พระราชพุฒิเมธี (สมชาย จันทสาโร) วัดมงคลทับคล้อ อ.ทับคล้อ จ.พิจิตร
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 627 กระทู้ล่าสุด 15 กันยายน 2562 17:09:43
โดย ใบบุญ
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.833 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 19 เมษายน 2567 04:19:26