[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
20 เมษายน 2567 17:14:09 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: บทสัมภาษณ์ภิกษุณีนิรามิสา เรื่อง "การให้"  (อ่าน 2251 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5064


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 15 มิถุนายน 2553 21:05:04 »



ความเมตตา คือ
ความตั้งใจและความสามารถ
ที่อยากจะให้คนอื่นมีความสุข

ความกรุณา คือ
ความตั้งใจและความสามารถ
ที่อยากจะให้คนอื่นพ้นทุกข์


ทำไมต้อง "ให้"


ขออนุญาตตั้งคำถามกำปั้นทุบดินประเภท ทำไมต้อง "ให้" การให้ เกี่ยวข้องอะไรกับเรา ในเมื่อการ "รับ" ทำให้เราอิ่มแปล้เปรมปรีแสนสุข แต่กลับมีหลายต่อหลายคนบอกว่า การให้ คือการรับ? อีกทั้งยังเป็นการรับที่ทำให้ใจของคุณอิ่มและยิ้มหน้าบาน


หลังจากภัยพิบัติสึนามิ สิ่งที่เราเห็นคือ มนุษย์อาสาสมัครหลายคน มารวมตัวกัน โดย ไม่ได้นัดหมายเพื่อ "ให้" เงิน สิ่งของ แรงใจ แรงกาย และแรงสติปัญญา ให้กับคนที่ไม่เคย รู้จัก ให้ทั้งคนตายและคนเป็น คำถามประเภท "ทำไมต้องให้" จึงเกิดขึ้น "การให้" แท้จริง มีความหมายอะไรกับใจเรา เมื่อได้ลองคุยกับ หลวงพี่นิรามิสา ภิกษุณีจากหมู่บ้านพลัม ประเทศฝรั่งเศส อาจทำให้เราทั้งที่ให้และรับได้ใคร่ครวญอย่างลึกซึ้ง

การให้มีพื้นฐานจากความทุกข์และความสุข


เมื่อคนเราสัมผัสความทุกข์ ไม่ว่ามันจะเป็นความทุกข์ในตัวเอง หรือว่าเป็นความทุกข์ ของคนอื่น เราจะเกิดความรู้สึกสงสาร อยากที่จะช่วย ยกตัวอย่างตอนเกิดสึนามิ มันเป็น ความทุกข์ที่ชัดมาก รุนแรง และสัมผัสกับหัวใจของทุกคน เวลาที่ภาพออกไป ข่าวออกไป เขารู้สึกว่าเขาได้ลงไปอยู่ในชีวิตจิตใจ เนื้อหนังมังสาของคนที่กำลังจะตาย ของคนที่ถูก น้ำพัด ของคนที่ทุกข์ ความที่สัมผัสความทุกข์ได้ จิตใจของเราจะมีความรู้สึกว่า ร่วมใน ความทุกข์นั้น จากรู้สึกถึงความสงสารก็รู้สึกที่ความอยากช่วยเขา อยากให้เขาพ้นทุกข์ อันนี้ เรียกว่า ความกรุณา


ขณะเดียวกันถ้าเรามีโอกาสที่จะสัมผัสอะไรที่เป็นความสุข หมายถึงความสุขที่แท้จริง เช่น ความคิดดีๆ สัมผัสกับความสุข ความนิ่งภายใน ความคิดที่ดีๆ เราจะรู้สึกถึงสิ่งที่ดี และ ความรู้สึกที่อยากจะให้คนอื่นเป็นอย่างนั้น มันจะเกิดขึ้นโดยปริยาย เรียกว่า เมตตา ทั้งเมตตา และกรุณา เป็นหนึ่งในพรหมวิหาร 4 ซึ่งพรหมวิหาร 4 นี่เองที่ หลวงปู่ติช นัท ฮันห์ เรียกว่า "รักแท้" หรือ "True love"


บ้านเราจะเรียกว่าพรหมวิหาร 4 เฉยๆ แต่ที่หมู่บ้านพลัม หลวงปู่ติช นัท ฮันห์ ท่านเรียกว่า เป็น true love หมายถึง ความรักที่แท้จริง อาจจะเป็นเพราะบ้านเรากลัวคำว่า "รัก" กลัวจะ หาว่าเป็นรักทางกาย แต่รักในที่นี้หมายถึง รักที่แท้จริง ซึ่งมีองค์ประกอบของพรหมวิหาร 4 (เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา) ที่มนุษย์ทุกคนมี


พลังกรุณา

ในทางจิตวิญญาณเชิงพุทธเรากล่าวว่า เมล็ดพันธุ์ที่อยู่ในจิตใต้สำนึกเป็นเมล็ดพันธุ์ที่อยู่ในห้วงลึกของจิต มีมากมายหลากหลาย เมล็ดพันธุ์ และพร้อมที่จะงอกออกมา อาจเป็นเมล็ดพันธุ์แห่งความเมตตาความกรุณา เป็นเมล็ดแห่งความใจดี เมล็ดพันธุ์แห่งการ ให้อภัย หรือจะเป็นเมล็ดพันธุ์แห่งความโกรธก็ได้ ทุกคนมีหมด เพียงแต่ว่าเมล็ดนั้นใหญ่หรือเล็ก บางคนเมล็ดพันธุ์แห่งการให้ใหญ่ ก็จะเป็นคนใจดี ชอบให้ ชอบทำบุญ อยู่ที่ว่าทำบุญ ฉลาดหรือไม่ฉลาด

บางคนเห็นคนอื่นทุกข์ปุ๊บก็รู้สึกว่าอยากจะช่วยเขาให้พ้นทุกข์ อย่างนี้ก็มีเมล็ดพันธุ์แห่งความกรุณามาก ถ้าบางคนที่ไม่ได้ บ่มเพาะตรงนี้ หรืออาจจะไม่ได้มีการเติบโตเลี้ยงดูมา หรือตกทอดมาในเรื่องของเมล็ดพันธุ์เหล่านี้น้อย ก็อาจจะมีน้อยลง เมื่อเห็น คนอื่นทุกข์ก็ไม่รู้สึกอยากช่วย อาจเพราะมีเมล็ดพันธุ์ในแง่ลบที่แรงกว่าอยู่ข้างใน แต่หลวงพี่คิดว่าการที่จะช่วยกันรดน้ำเมล็ดพันธุ์ แห่งการให้หรือความเมตตาเป็นสิ่งที่สำคัญ มันจะช่วยให้คนมีจิตอาสามากขึ้น

สำหรับอาสาสมัครที่เกิดจากเหตุการณ์อย่างสึนามิ หลวงพี่คิดว่าเกิดขึ้นเพราะ ส่วนหนึ่งเมืองไทยเป็นเมืองใจบุญ เป็นเมืองที่ถูก บ่มเพาะเมล็ดพันธุ์แห่งการทำบุญมานาน อันเป็นเมล็ดพันธุ์ที่ตกทอดมาจากบรรพบุรุษแห่งแผ่นดินสยาม และ เมื่อต้องเผชิญกับ ภัยพิบัติใหญ่ๆ จึงได้มีการรดน้ำเมล็ดพันธ์แห่งความใจบุญ ความกรุณา คนจึงแห่กันไปช่วย เมื่อได้ดูโทรทัศน์ ได้ฟังข่าว ก็เกิดความ รู้สึกร่วม มีความทุกข์ร่วม พอมีความทุกข์ร่วม ก็เกิดความสงสารอยากจะช่วย นี่คือพลังแห่งความกรุณา ขับรถพากันลงไปช่วย แต่ในขณะที่ทำเราต้องรู้วิธีที่จะทำ รู้วิธีที่จะช่วย ถ้าไม่รู้วิธีก็จะไม่ได้ช่วยเขา ไม่ได้ช่วยเราด้วย


ความตั้งใจอย่างเดียวไม่พอ

หลวงปู่ติช นัท ฮันห์ ที่หมู่บ้านพลัมก็จะพูดเสมอว่า ตั้งใจไม่พอ ต้องมีความสามารถด้วย และความสามารถจะได้มาก็ด้วยการฝึกฝน

ถ้าหากมีความตั้งใจ แต่ไม่มีความสามารถที่จะให้ เราก็จะไปไม่ถูกทาง คือ ให้ไปแล้ว เรา burn out เราแย่ เราท้อแท้ เราทำไปๆ แล้วทำไมยิ่ง negative มองแง่ลบ อคติมากขึ้น ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่า เราอยากให้เพราะเราเห็นสิ่งที่มันขาด เห็นคนนั้นขาดอะไรไป หรือ คนนี้ทุกข์อะไร แต่ถ้าเราไม่รู้วิธีที่จะเข้าใจความขาด ไม่เข้าใจความทุกข์ของเขา เราอาจจะ เสียศูนย์ของตัวเอง ความไม่เข้าใจคือไม่เข้าใจว่าทำไมเขาถึงเกิดความทุกข์ สุดท้ายอาจจะ กลายเป็นว่า เรานั่นแหละที่ถือเอาความทุกข์ของเขาไปด้วย

ก่อนที่เราจะให้คนอื่นได้ เราต้องมีความสามารถที่จะให้ตัวเองก่อน คือตัวเองสามารถ ที่จะสัมผัสอะไรที่เป็นความสุขได้อย่างง่ายๆ เช่น เราเดินออกไปข้างนอกตอนเช้า เราเห็น ดอกไม้ เรายิ้มให้ดอกไม้ได้ เราเห็นเด็กเดินผ่าน เรามีความรู้สึกดีๆ เกิดขึ้นได้ สิ่งเหล่านี้ เป็นสิ่งที่เป็นรูปธรรมที่เราสามารถที่จะทำได้ มันคือการรดน้ำเมล็ดพันธุ์แห่งความสุขที่ทำให้ เรารู้สึกว่าเราได้รับและเราก็อยากให้ เพราะเรามีอยู่ ฉะนั้นถ้าเราอยากจะให้ แต่ว่าเราไม่มี อะไรในตัวเอง เราเหือดแห้ง การให้ของเรามันก็จะเป็นสิ่งที่เหือดแห้ง มันไม่ใช่การให้ที่ แท้จริง

เราต้องมีวิธีที่จะบ่มเพาะตัวเราให้มีอะไรที่จะให้ แต่ก็ไม่ใช่หมายถึงว่าตัวเราต้องมีพร้อม ทุกสิ่งทุกอย่างแล้วถึงไปให้ได้ แต่หมายถึงว่าในทุกวัน วิถีชีวิตของเราต้องมีวิธีที่จะดำรงอยู่ เพื่อบ่มเพาะความสามารถของตัวเรา และเราทำมันอยู่เสมอ การมีอะไรในตัวเองนี้หมายถึง ในแง่ของจิตวิญญาณ ไม่ใช่ในแง่ทางธุรกิจที่จะต้องมีเงินทอง การมีในแง่ของจิตวิญญาณ คือในแต่ละวันเราต้องรู้วิธีที่จะให้กับตัวเอง ให้รอยยิ้มกับตัวเอง

ถ้าเราสังเกตดู คนที่ไม่รู้วิธีที่จะอยู่อย่างเป็นสุข เขาก็ให้คนอื่นยาก เพราะว่าตัวเขาเอง ยังตกอยู่ในความทุกข์ การอยู่ให้เป็นสุขคือมีวิธีอย่างไรที่จะคิดให้เป็นแง่บวก คิดอย่างไร ให้สร้างสรรค์ คิดอะไรที่เป็นประโยชน์ ถ้าเกิดว่าเราตื่นขึ้นมาปุ๊บ เห็นอันนั้นก็ไม่ชอบ ทำไม เป็นอย่างนั้น ทำไมเป็นอย่างนี้ ฟังข่าวทำไมอย่างงี้อีกแล้ว ในใจเต็มไปด้วยความรู้สึกเป็น แง่ลบ พลังของเราก็จะลดหายลงไปเรื่อยๆ เพราะฉะนั้นคนทำงานถึงแม้ทำงานดี ทำงาน ที่เรียกได้ว่าเป็นงานกุศล แต่บางทีเรากลับท้อแท้ ความรู้สึกดีๆ เริ่มหายไป ความสดใส การมองโลกสร้างสรรค์หดหาย เพราะว่าเราไม่รู้วิธีที่จะดูแลตัวเอง วิธีที่จะรักษาความคิด แง่บวก ความคิดสร้างสรรค์

สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องของการปฏิบัติทางธรรม การปฏิบัติทางจิตวิญญาณ คือ การใช้ชีวิต ซึ่งหลายๆ อย่างขึ้นอยู่ที่ตัวเราเอง กำลังบริโภคอะไร จะอ่านหนังสืออะไร จะฟังเพลงอะไร จะสนทนาเรื่องอะไร เพื่อให้เกิดสิ่งที่รู้สึกว่าเราได้รดน้ำเมล็ดพันธุ์ดีๆ ในตัวเรา คุยกัน เรื่องนี้แล้ว เราเข้าใจกันมากขึ้น เรารักกันมากขึ้น ฟังเพลงนี้แล้วเรารู้สึกเรามีพลัง มีกำลังใจ หรือว่าอ่านหนังสือเล่มนี้แล้วเรารู้สึก ทำให้เราเห็นอะไรชัดขึ้น แล้วก็เข้าใจตัวเองมากขึ้น มันอยู่ในวิถีชีวิตประจำวัน เราดำเนินชีวิตยังไง เราบริโภคอะไร ไม่ว่าจะเป็นทางตา ทางหู ทางใจ ทางกาย เป็นเรื่องพื้นฐาน แต่ต้องทำให้อุดมคตินั้นอยู่ในวิถีชีวิตของเรา เพราะนี่คือ สิ่งที่จะหล่อเลี้ยงทำให้จิตอาสาของเราอยู่ไปได้นานๆ แล้วก็สร้างสรรค์ ไปได้เรื่อยๆ เพราะ เรารู้วิธีที่จะให้และรักษาพลังของตัวเองได้




ก่อนที่เราจะให้คนอื่นได้
เราต้องมีความสามารถ
ที่จะให้ตัวเองก่อน
คือตัวเองสามารถที่จะสัมผัส
อะไรที่เป็นความสุข
ได้อย่างง่ายๆ เช่น
เดินออกไปข้างนอกตอนเช้า
เห็นดอกไม้ เรายิ้มให้ดอกไม้ได้
เราเห็นเด็กเดินผ่าน
เรามีความรู้สึกดีๆ เกิดขึ้นได้
สิ่งเหล่านี้ เป็นสิ่งที่เป็นรูปธรรม
ที่เราสามารถที่จะทำได้
มันคือการรดน้ำ
เมล็ดพันธุ์แห่งความสุข
ที่ทำให้เรารู้สึกว่าเราได้รับ
และเราก็อยากให้
เพราะเรามีอยู่
...


พลังเมตตา

พอเรารู้วิธีที่จะให้กับตัวเองทุกวันเป็นพื้นฐานแล้ว จะง่ายที่เราจะให้กับคนอื่น ยิ่งเรามีความสุข มีความสุขที่แท้จริง ความรู้สึกที่ อยากให้จะมาเอง พลังที่อยากจะให้เป็นพลังเมตตา เมื่อเราได้เราก็อยากจะให้ และพลังนี้มันก็จะเชื่อมโยงกับความกรุณา และเมื่อ เราสัมผัสความทุกข์ของผู้อื่น ด้วยความที่เรารู้ว่าความสุขเป็นอย่างไร เราก็อยากจะช่วยเขาหลุดออกมา แต่ตัวเราเองต้องรู้วิธีที่จะ ช่วยตัวเราหลุดออกมาด้วย หรืออย่างง่ายๆ เลย เมื่อเราหงุดหงิดปุ๊บ เรารู้วิธีว่าจะทำยังไงให้เราหายหงุดหงิด ไม่ใช่ว่าพอหงุดหงิดปุ๊บ ก็หงุดหงิดต่อๆ ไปตลอดทั้งวัน แล้วมันย่อมทำให้คนอื่นรู้สึกหงุดหงิดรำคาญไปด้วย

แต่หากเราหงุดหงิดแล้วรู้วิธีที่จะกลับมาอยู่กับตัวเอง ดูแลตัวเองได้ ก็เป็นเรื่องที่ดี ที่หมู่บ้านพลัมเราจะสอนอย่างชัดเจนว่า ให้เรากลับมาอยู่กับลมหายใจ หายใจเข้าก็ผ่อนคลาย หายใจออกก็ผ่อนคลาย ซึ่งมันเป็นเรื่องที่พื้นฐานมาก ลมหายใจอยู่กับ เราเสมอ แต่บางทีเราก็มักจะลืม เมื่อเรากลับมาดูแลตัวเอง ออกไปชมดอกไม้ หรือออกไปยืนตรงหน้าต่างชมวิวข้างนอก รับอากาศ บริสุทธิ์ อยู่กับลมหายใจ ความหงุดหงิดก็จะคลาย เมื่อเรารู้แล้วว่าเราทุกข์ เราหงุดหงิด เราเป็นอย่างไร เมื่อเวลาที่เราเห็นคนอื่น หงุดหงิด เราจะเข้าใจเขา เราก็จะหาวิธีให้เขาได้ ชวนเขาออกไปเดินเล่นหรือนั่งดื่มกาแฟด้วยกัน เพราะว่าเราเคยผ่านสิ่งเหล่านี้ด้วย ตัวเราเอง แต่ว่าถ้าเราไม่ได้เห็นด้วยตัวเองก่อน เราจะไม่เข้าใจ บางทีกลายเป็นว่าเรายิ่งไปวิพากษ์วิจารณ์เขาว่า ทำไมเขาเป็นอย่างนี้ แย่จังเลย




เราเป็นผู้ให้-ผู้รับ กับ "การให้"
ทั้งหมดเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
ไม่ได้แยกออกจากกัน
เพราะทุกขณะที่เราทำ
เรามีความสุข
เรามีโอกาสได้ให้
เราเกิดความสุขใจ
นั่นคือเขาก็ให้เราด้วย
ให้ความรู้สึกดีๆ กับเรา


พลังแห่งมุทิตาจิต


เมื่อเราเห็นผู้อื่นมีความสุข หรืออยู่ในสถานการณ์ที่ผู้อื่นเป็นสุข แล้วเราสามารถพลอย ชื่นชมยินดีไปกับความสุขนั้นด้วย อันนี้คือพลังแห่งมุทิตาจิต ซึ่งจะยิ่งนำความสุขมาให้เรา มากขึ้น พร้อมกับเป็นการฝึกให้เราไม่มีนิสัย เป็นตัวตนที่คิดเปรียบเทียบ คือ เป็นปมเด่น ว่าฉันแน่กว่า หรือ เป็นปมด้อยว่าฉันแย่กว่า หรือ เป็นปมเสมอว่าฉันก็พอๆ กับเขาไม่แพ้เขา นิสัยความคิดอันเป็นปมทั้งสามนี้นำความทุกข์มาให้ทั้งสิ้น และทำให้เราเกิดความอิจฉาริษยา แก่งแย่งกัน งานอาสาของเราก็จะมีอุปสรรค ที่จะเข้าถึงการทำงานแบบร่วมไม้ร่วมมือกัน ด้วยความรักฉันพี่น้องที่แท้จริง

รักอันไม่แบ่งแยก พลังแห่งอุเบกขา
ไม่มี "ฉันเป็นผู้ให้ เธอเป็นผู้รับ"


อีกอย่างหนึ่งที่สำคัญคือ เราต้องลบความรู้สึกที่ต้องมีผู้ให้กับผู้รับ ถ้าเราไม่ลบตรงนี้ออก ยังมีความรู้สึกว่า "ฉันเป็นผู้ให้ เธอเป็นผู้รับ" มันจะไปสู่หนทางที่ทำให้เรามีอีโก้มากขึ้น มีอัตตามากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อเราทำไปนานๆ เราจะเสียความอ่อนน้อมถ่อมตน จะกลายเป็นคิดว่าตัวเองเป็นผู้มาช่วยปลดความทุกข์ ช่วยชีวิตคน เราเป็นผู้ให้ แล้วก็มีคน ที่เป็นผู้รับ

การจะหลุดออกไปจากตรงนี้ เป็นการปลดความคิดที่คิดว่ามีผู้ให้และมีผู้รับ ซึ่งเรียกว่าความคิด 2 ขั้ว ถ้าปลดความคิดนี้ได้ เราจะเห็นว่าในความรู้สึกที่ว่า เราเป็นผู้ให้-ผู้รับ กับ "การให้" ทั้งหมดเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ไม่ได้แยกออกจากกัน เพราะทุกขณะ ที่เราทำ เรามีความสุข เรามีความสุขที่จะเห็นคนได้ทานข้าว เรามีโอกาสได้ให้ เราเกิดความสุขใจ ความรู้สึกที่เขากำลังทานข้าวอยู่ นั่นคือเขาก็ให้เราด้วย ให้ความรู้สึกดีๆ กับเรา


วิธีการให้ควรเป็นไปอย่างตระหนักรู้ เป็นอย่างมีสติ รู้ว่าเรา ให้เพื่อให้ ให้เพราะว่ามันมีการขาดอยู่ตรงนั้น แล้วเราก็ให้เพื่อที่จะให้ ให้เขาได้รับ แต่เราไม่ได้ให้เพื่อที่จะหวังอะไรลึกๆ ข้างใน ไม่ได้หวังให้ตัวเองรู้สึกดี การได้ทำอะไรดีๆ บางครั้งมันก็เป็นธรรมดา มนุษย์ต้องรู้สึกอย่างนั้นได้ คืออยากรู้สึกว่าเราเป็นคนดี อยากให้คนอื่นมองเราดี มองเราเป็นคนใจบุญ เราเป็นคนมีอุดมคติ แต่ถ้าเรา ไม่ระวังก็จะกลายเป็นสิ่งที่หล่อเลี้ยงอัตตา หรืออีโก้ข้างในตัวเรา เพราะจริงๆ การทำความดีแล้วมันก็อยู่ตรงนั้นเท่านั้นเอง

รักแท้ในพุทธศาสนา


คือ เรื่องของพรหมวิหารสี่ หมู่บ้านพลัมหมายถึงความรักอันไม่แบ่งแยกและเต็มไปด้วยความเข้าใจ เมื่อเรารู้จักที่จะให้จริงๆ รู้จักว่าจะให้อย่างไร เราก็ให้ความรักในตัวเราด้วย เพราะฉะนั้นทุกเวลาที่ทำงาน ต้องทำให้เห็นว่าผู้ให้กับผู้รับเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ไม่ได้แยกออกจากกัน มันไม่มีอะไรที่เราดีกว่าเขา เราโชคดีกว่าเขา จริงๆ มันไม่ใช่ มันเกิดขึ้นเพราะว่าเหตุปัจจัยที่เราอยู่ตรงนี้ เรามีเหตุผลพอที่เราจะช่วยเขาได้ เรามีพลังหรือทรัพย์สิน อะไรก็แล้วแต่ที่มันเกิดขึ้น เหตุปัจจัยที่อีกฝ่ายหนึ่งเกิดพายุ มันมีเหตุผล มีเงื่อนไขที่เรามาเจอกัน เราถึงได้มาพบกัน แล้วเราก็มี การกระทำที่ดี ช่วยให้เขาดีขึ้น เรามีความเบิกบาน เราก็ต้องขอบคุณที่มันเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้น ๐

บทสัมภาษณ์ภิกษุณีมิรามิสา เรื่อง "การให้"
13/11/2549 กรุงเทพฯ

http://www.thaiplumvillage.org/story_from_press_02.html

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
ธรรมะ เรื่อง "ตัวโกรธ" ของหลวงปู่บุดดา
พุทธประวัติ - ประวัติพระสาวก
ไอย 0 2034 กระทู้ล่าสุด 24 ธันวาคม 2552 21:19:58
โดย ไอย
เรื่อง "เสียความรู้สึก"
ไขปัญหาโลก ธรรม และความรัก
ไอย 5 4217 กระทู้ล่าสุด 30 มีนาคม 2554 14:57:38
โดย wondermay
คำเตือน !! "เซ็กส์เสื่อม" ของแถม จาก "ออฟฟิศซินโดรม" (มนุษย์บ้างานระวังให้ดี)
สุขใจ อนามัย
หมีงงในพงหญ้า 1 3754 กระทู้ล่าสุด 13 เมษายน 2553 07:47:53
โดย PETER
หนังสั้น "ราตรีสวัสดิ์" เรียกน้ำตาอีกแล้ว (Shortfile - "GoodNight")
หนังกลางแปลง (ดูหนัง รีวิวหนัง)
Sweet Jasmine 0 2739 กระทู้ล่าสุด 29 เมษายน 2553 14:49:08
โดย Sweet Jasmine
เรื่อง "พลังจิตค้ำจุนโลก" จำนวน 8 ตอน โดย อ.ปริญญา ตันสกุล
กระบวนการ NEW AGE
มดเอ๊ก 0 2848 กระทู้ล่าสุด 14 มีนาคม 2555 07:50:40
โดย มดเอ๊ก
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.705 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 26 กุมภาพันธ์ 2567 08:34:13