[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
18 เมษายน 2567 15:44:46 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: อาการผิดปรกติทางตาจากการใช้คอมพิวเตอร์ CVS  (อ่าน 13555 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 17 มิถุนายน 2553 04:34:36 »




อาการผิดปรกติทางตาจากการใช้คอมพิวเตอร์
(Computer Vision Syndrome)


         
อาการตาล้า กับ คอมพิวเตอร์

                 การใช้คอมพิวเตอร์สามารถก่อให้เกิดกลุ่มอาการความผิดปรกติที่สัมพันธ์กับการใช้สายตาไม่ถูกสุขลักษณะได้ อันเป็นผลจากการที่มีภาวะกล้ามเนื้อตาล้า หรือที่เรียกว่า “อาการตาล้า”หรือ eye strain ซึ่งมีอาการแสดงออกได้หลายรูปแบบตั้งแต่อาการเคืองตา ตาแห้งง่ายเวลาใช้สายตา มองสู้แสงลำบาก การปรับโฟกัสภาพช้าลงทำให้เวลามองวัตถุระยะใกล้แล้วมองไปที่วัตถุที่อยู่ไกลไม่ชัด หรือรู้สึกว่ามองวัตถุที่อยู่ไกลได้ชัดน้อย ลงคล้ายกับสายตาสั้นเพิ่มขึ้น ซึ่งถ้าไปเปลี่ยนแว่นสายตาเพิ่มเองโดยไม่ได้รับการตรวจจากจักษุแพทย์ก่อน จะทำให้มีปัญหาเรื้อรัง คือช่วงเปลี่ยนแว่นตาใหม่ๆจะมองเห็นได้ชัดเจนดี แต่เมื่อใช้ไปซักระยะจะรู้สึกตามัวอีก ทำให้ต้องเปลี่ยนแว่นสายตาบ่อย จนระยะหลังจะมีอาการปวดกระบอกตา ปวดศีรษะ อาจมีอาการคลื่นไส้จนถึงอาเจียนได้ บางรายอาจมีอาการปวดต้นคอ หลัง ไหล่ร่วมด้วยเนื่องจากมีลักษณะท่านั่งทำงานไม่เหมาะสม มีรายงานจากผลการศึกษาผลกระทบจากการทำงานด้วยคอมพิวเตอร์พบว่า ผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์ต่อเนื่องมากกว่า 3 ชั่วโมงต่อวัน จะมีอาการแสดงอย่างใดอย่างหนึ่งของอาการตาล้ามากถึง 90%

                 โดยธรรมชาติแล้ว ตาของคนเรามีไว้สำหรับมองวัตถุในระยะไกลเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งจะทำให้กล้ามเนื้อตาอยู่ในภาวะคลายตัว แต่เมื่อสภาพแวดล้อมในการทำงานของคนเราเปลี่ยนไป ทำให้เราต้องมาทำงานที่อาศัยการมองวัตถุในระยะใกล้มากขึ้น นานขึ้น ทำให้กล้ามเนื้อตาต้องเกร็งตัวต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน หรือบ่อยขึ้น มีการกระพริบตาน้อยลง แม้แต่เวลาพักผ่อนหรือว่างจากการทำงานเราก็ยังใช้สายตาจ้องมองในระยะใกล้เป็นส่วนใหญ่เช่น การดูโทรทัศน์ หรือภาพยนตร์ ทำให้เกิดอาการล้าของกล้ามเนื้อตาและอาการตาแห้งตามมา ซึ่งจะเกิด ขึ้นได้ง่าย และมีอาการได้มากกว่าในคนที่ใช้คอมพิวเตอร์ทำงาน มากกว่าคนที่ใช้การเขียนหรืออ่านตัวหนังสือ

                 ทั้งนี้อาจเป็นผลมาจากหลายปัจจัย กล่าวคือ ในภาวะทั่วไปตาคนเราจะกระพริบประมาณ 22 ครั้งต่อนาที ขณะอ่านหนังสือจะกระพริบ 10 ครั้งต่อนาที แต่จะเหลือเพียง 7 ครั้งต่อนาทีเมื่อใช้คอมพิวเตอร์ นอกจากนี้การที่ตัวอักษรในคอมพิวเตอร์ไม่ได้เรียบคมชัดเท่าตัวพิมพ์ มีความไม่นิ่งของคลื่นสัญญาณในจอ (refreshment) การมีแสงสะท้อนจากหน้าจอ รวมถึงระยะห่างของหน้าจอคอมพิวเตอร์ที่แตกต่างจากระยะการอ่านหนังสือ ทำให้การมีความผิดปรกติของสายตาเพียงเล็กน้อย หรือการนำแว่นสายตาสำหรับมองไกลหรือแว่นอ่านหนังสือมาใช้ดูคอมพิวเตอร์อาจก่อให้เกิดอาการตาล้าได้ง่ายขึ้น

                 อย่างไรก็ตามจอคอมพิวเตอร์ไม่ได้มีอันตรายในแง่ของการแผ่รังสี หรือแสงที่ทำให้เกิดโรคตามมา อาการผิดปรกติที่เกิดขึ้น เป็นผลมาจากการทำงานที่ไม่ถูกสุขลักษณะเท่านั้น

ข้อปฏิบัติสำหรับผู้ใช้คอมพิวเตอร์

                 ปัจจัยหลักที่มีผลต่อการเกิดอาการตาล้าจากการใช้คอมพิวเตอร์ (computer vision syndrome) ได้แก่

1.สถานที่ทำงาน

                 1.1 จอภาพ

                 - ควรใช้จอแบน LCD จะช่วยลดการสะท้อนแสง หลีกเลี่ยงการใช้จอแก้ว และหมั่นรักษาความสะอาดที่จอ อย่าให้มีฝุ่นเกาะ
                 - ยิ่งมี pixels มาก ยิ่งให้ความคมชัด (resolution) สูง
                 - เลือกที่มีค่า refresh rate สูง (ปรกติจะอยู่ประมาณ 60 Hz.) เพื่อลดการรับรู้ถึงการสั่นไหวของภาพ (flickering sensation) ให้น้อยที่สุด
                 - เลือก dot pitches เล็ก(น้อยกว่า 0.28 มม.) ช่วยให้ได้ภาพสีที่เรียบชัด
                 - เลือกใช้ตัวอักษรเข้มบนพื้นจอสีอ่อน ตัวอักษรดำบนพื้นขาวให้ความแตกต่างของสีดีที่สุด
                 - ปรับความสว่าง (brightness) และความแตกต่างของสี (contrast) ให้สามารถมองภาพได้คมชัดและสบายตาที่สุด โดยใช้หลักความสว่างเป็นสัดส่วน 10:3 คือ ตัวอักษรควรมีความสว่างเป็น 10 เท่าของพื้นจอ และแสงในห้องทำงานควรสว่างเป็น 3 เท่าของพื้นจอ
                 -ขนาดตัวอักษรควรใหญ่เป็น 3 เท่าของขนาดตัวหนังสือที่เล็กที่สุดที่สามารถอ่านได้ในภาวะปรกติทดสอบโดยถอยระยะห่างจากจอไป 3 เท่าของระยะทำงาน แล้วยังสามารถอ่านหนังสือบนจอได้




                 1.2 การจัดวางองค์ประกอบ

                 - ควรจัดวางจอภาพให้มีระยะห่างจากตาประมาณ 18-30 นิ้ว
                 - ขอบบนสุดของจอควรอยู่ระดับเดียวกับสายตา หรือต่ำกว่าสายตาเล็กน้อย โดยให้จุดศูนย์กลางของจออยู่ต่ำกว่าระดับสายตา 10-20 องศา และเอียงทำมุมขึ้นเล็กน้อย
                 - แท่นพิมพ์ควรวางอยู่ในระดับต่ำกว่าจอ โดยให้ข้อมือและแขนขนานไปกับพื้น และไม่อยู่ในลักษณะเอื้อมไปข้างหน้า
                 - โต๊ะควรสูงพอสำหรับมีที่ว่างให้เข่าไม่ติดโต๊ะ
                 - เก้าอี้ควรมีที่หนุนหลัง และปรับระดับสูงต่ำได้ ให้ฝ่าเท้าวางราบไปกับพื้น ต้นขาขนานไปกับพื้น อาจมีที่วางข้อศอกและแขนเพื่อลดอาการล้าที่หัวไหล่ แขน และข้อมือ
                 - เอกสารสิ่งพิมพ์ หรือหนังสือควรวางอยู่ในระดับและระยะเดียวกับจอภาพ และมีแสงส่องสว่างแยกเฉพาะ โดยมีความสว่างใกล้เคียงกับที่จอ

2. แสงไฟ (lighting)

                 แสงที่จ้าเกินไปจะทำให้เกิดแสงสะท้อนที่จอภาพ ทำให้มองเห็นภาพที่จอลำบาก ดังนั้นการจัดวางตำแหน่งต้นกำเนิดแสง หรือความสว่างของห้อง ก็มีส่วนสำคัญต่อการทำงานด้วย
                 2.1 ปิดม่านหน้าต่างเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้มีแสงแดดหรือแสงสว่างจากภายนอกส่องเข้ามาในห้องโดยตรง
                 2.2 แหล่งกำเนิดแสงสว่างไม่ควรอยู่ทางด้านหน้าหรือด้านหลัง ควรมาจากด้านข้างของจอภาพ และไม่ควรใช้แสงสว่างส่องตรงจากเหนือศีรษะหรือส่องกระทบโดยตรงบริเวณที่ทำงาน การใช้ระบบไฟส่องสว่างแบบตกกระทบจะมีความเหมาะสมกับการทำงานมากกว่า แสงห้องทำงานที่สว่างเกินไปจะก่อให้เกิดแสงสะท้อนที่จอได้ง่าย ทำให้รู้สึก ไม่สบายตา วิธีทดสอบทำได้โดยปิดจอภาพ แล้วสังเกตว่ามีแสงสะท้อนหรือไม่ ปรกติไม่ควรมี ถ้ามีต้องพยายามหาวิธีลดแสงสะท้อนจากแหล่งกำเนิดแสงนั้นให้มากที่สุด
                 2.3 ไฟส่องสว่างสำหรับต้นแบบพิมพ์ หรือหนังสือควรใช้ไฟที่มีกำลังต่ำ หรือสามารถปรับความสว่างได้ ส่องโดยตรง และไม่ให้บริเวณที่ส่องไฟสว่างกว่าหน้าจอ เพื่อป้องกันการเกิดแสงสะท้อนที่จอ
                 2.4 อาจใช้แผ่นกันแสงสะท้อน (antireflection screen) ติดหน้าจอภาพ

3. พฤติกรรมการใช้สายตา (visual habit)

                 3.1 แว่นตา
                 - ในผู้ที่มีความผิดปรกติทางสายตาอยู่เดิม (สั้น,ยาว,เอียง) จำเป็นที่จะต้องมีแว่นสายตาสำหรับใส่ทำงานกับคอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยการมองเห็นให้ดีขึ้น ลดการเพ่ง ช่วยป้องกันการเกิดอาการตาล้าได้ ดังนั้นในการทำงานหรือใช้สายตากับคอมพิวเตอร์ จึงควรใช้แว่นสายตาที่วัดมาเฉพาะสำหรับการมองเห็นที่ดีที่สุดที่ระยะการทำงานกับจอภาพเท่านั้น
                 - ถ้าต้องการใช้แว่นตาที่มองได้ 2 ระยะเวลาทำงาน ควรใช้แว่นตาเลนส์ 2 ชั้น (bifocal)แบบแบ่งครึ่งเลนส์ flat top แบ่งครึ่งบน-ล่าง โดยเลนส์ครึ่งบนมีระยะโฟกัสภาพที่จอคอมพิวเตอร์ ครึ่งล่างใช้สำหรับอ่านหนังสือ หรือมองระยะใกล้
                 - ถ้าเป็นแว่นตาที่มองได้ 3 ระยะ (trifocals) หรือมองได้หลายระยะ (multifocals) เลนส์ช่วงกลางควรมีระยะกว้างมากกว่าปรกติและมีระยะโฟกัสสำหรับมองจอคอมพิวเตอร์

                 3.2 การพักสายตา
                 - ขณะทำงานควรมีการหยุดพักสายตาเป็นระยะๆ ไม่ควรใช้สายตาต่อเนื่องนานหลายชั่วโมง
                 - ทุก 15-30 นาที ควรพักสายตาโดยการหลับตา หรือมองออกไปไกลๆระยะตั้งแต่ 6 เมตรขึ้นไปนานประมาณ 2-3 นาที
                 - ทุก 1 ชั่วโมง ควรหยุดทำงาน ลุกขึ้นยืนหรือเดินเพื่อเปลี่ยนอิริยาบถนาน 3-5 นาที
                 - ทุก 3-4 ชั่วโมง ควรหยุดพักงานนาน 15-20 นาที ควรเดินไปรอบ ๆ ไม่ควรนั่งอยู่กับที่ระหว่างนี้ไม่ควรใช้สายตาจับจ้องมองอะไรอยู่เฉพาะที่ใดที่หนึ่ง อาจทำงานที่ไม่ต้องใช้สายตาได้ เช่น การพูดคุยหรือสั่งงานทางโทรศัพท์ แต่ถ้าเป็นไปได้ ดีที่สุดคือควรนอนราบและหลับตาไว้ระยะหนึ่ง

                 3.3 การนวดผ่อนคลายกล้ามเนื้อตา
                 - ควรทำในระหว่างพักหรือเมื่อเสร็จสิ้นงานในแต่ละวัน เพื่อช่วยคลายกล้ามเนื้อตาจากอาการล้าได้
                 - นวดด้วยฝ่ามือ ให้วางข้อศอกลงบนโต๊ะ หงายฝ่ามือขึ้น โน้มตัวทิ้งน้ำหนักไปทางด้านหน้า แล้ววางศีรษะลงบนฝ่ามือ ให้เบ้าตาวางอยู่บริเวณด้านล่างของฝ่ามือนิ้วมือวางอยู่บนหน้าผาก ระวังอย่าให้มีแรงกดลงที่ลูกตา หลับตาสูดหายใจเข้าลึกๆช้าๆทางจมูก กลั้นหายใจไว้ประมาณ 4 วินาที แล้วผ่อนหายใจออกช้าๆ สูดหายใจเข้า-ออกแบบนี้สลับกันต่อเนื่องประมาณ 5-10 รอบ
ใช้การประคบด้วยน้ำอุ่นและน้ำเย็น ใช้ผ้าหรือ hot/cold pack gel แช่น้ำร้อนพอประมาณระวังอย่าให้ร้อนมากเกินไป เนื่องจากผิวหนังที่เปลือกตาเป็นส่วนที่บอบบางที่สุด ง่ายต่อการเกิดผิวหนังพุพองด้วยความร้อน วางผ้าประคบเบ้าตาไว้ประมาณ 30 วินาที แล้วสลับวางด้วยผ้าแช่น้ำเย็น (น้ำเย็นใช้น้ำที่แช่น้ำแข็ง) ให้สลับประคบด้วยความร้อน-เย็นแบบนี้ต่อเนื่องประมาณ 2 นาที แล้วจึงใช้ผ้าแห้งเช็ดนวดที่เบ้าตาเบา ๆ

                 3.4 การบริหารกล้ามเนื้อตา
                 การบริหารกล้ามเนื้อตาประจำ จะช่วยป้องกันการเกิดอาการตาล้าจากการใช้สายตาที่ต้องจับจ้องอะไรต่อเนื่องเป็นเวลานานๆเช่น การใช้คอมพิวเตอร์ ดูจอมอนิเตอร์, โทรทัศน์,ภาพยนตร์ อ่านเขียนหนังสือ หรือขับรถได้

                 - near-far focus exercise
                 > จ้องมองที่นิ้วหัวแม่มือตัวเองระยะห่างประมาณครึ่งฟุต พยายามมองให้เห็นภาพชัดตลอดเวลา พร้อมกับสูดลมหายใจเข้าออกช้าๆ จากนั้นมองออกไปยังวัตถุที่อยู่ไกลระยะห่างประมาณ 3-4 เมตร จ้องมองให้ภาพชัดตลอดเวลาพร้อมกับสูดลมหายใจเข้าออกช้า ๆ ทำสลับไปมาต่อเนื่องอย่างนี้ประมาณ 15 รอบ

                 - convergence exercise
                 > นั่งตัวตรง มองไปยังจุดไกลสุดตรงหน้า
                 > ถือปากกาให้อยู่ระดับสายตา ยื่นออกไปสุดแขน จ้องมองที่ปลายปากกา
                 > ค่อย ๆ เคลื่อนปากกาเข้าหาตาช้าๆ มองปลายปากกาให้เห็นภาพชัดเป็นภาพเดียวตลอดเวลา เลื่อนปากกาเข้ามาใกล้ตาให้มากที่สุดเท่าที่ยังสามารถมองภาพได้ชัดเป็นภาพเดียว จนรู้สึกว่า ต้องเพ่งตามากหรือรู้สึกตึงตา หยุดมองปากกาที่ระยะนี้ประมาณครึ่งนาที แล้วค่อย ๆ เลื่อนปากกาออก คอยมองปลายปากกาให้ชัดตลอดเวลา จนถึงระยะสุดแขน หยุดมองปลายปากกาที่ระยะนี้อีกครึ่งนาที แล้วจึงเริ่มต้นเคลื่อนปากกาเข้าหาตาใหม่ ทำซ้ำแบบเดิม
                 > ทำสลับเข้าออกถือเป็น 1 รอบ ให้ทำต่อเนื่องอย่างน้อย 10 รอบต่อครั้ง ควรทำในช่วงเช้าและหลีกเลี่ยงการบริหารในช่วงที่ยังมีอาการตาล้าอยู่ หรื่อเหนื่อยจากการทำงาน ควรทำหลังจากได้พักหรือรู้สึกสดชื่นแล้ว ในช่วงแรกของการบริหารอาจรู้สึกมีอาการปวดตา ปวดศีรษะเพิ่มขึ้นบ้าง จึงยังไม่ควรทำเยอะ แต่เมื่อทำต่อเนื่องไป อาการจะค่อยๆดีขึ้นใน 2-3 สัปดาห์ ควรเพิ่มทำการ บริหารเป็น 2 ครั้งในสัปดาห์ที่สองและ 3 ครั้งในสัปดาห์ที่สาม อาจทำต่อเนื่องกันไปทีเดียว หรือแบ่งบริหารในช่วงเวลาที่สะดวกในแต่ละวันก็ได้ แต่ควรทำทุกวัน

                 ควรทำการบริหารกล้ามเนื้อตาอย่างต่อเนื่อง 2-3 เดือน หลังจากนั้นอาจทำบ้างเป็นครั้งคราวเพื่อไม่ให้เกิดอาการตาล้าขึ้นมาได้ง่ายอีก

4. การใช้น้ำตาเทียม

                 ควรใช้น้ำตาเทียมแบบที่ไม่มีสารกันเสียหยอดตาในช่วงที่ใช้สายตาต่อเนื่องทุก 1-2 ชั่วโมง เพื่อป้องกันเยื่อบุตาแห้งและยังช่วยทำให้รู้สึกสบายตาขึ้น อาจลดหรือเพิ่มความถี่ในการหยอดได้ตามอาการ และเนื่องจากน้ำตาเทียมแบบนี้ไม่มีสารกันเสียที่อาจระคายเคืองเยื่อบุตาได้ จึงสามารถนำมาใช้ต่อเนื่องได้โดยไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียง และผู้ป่วยสามารถซื้อมาใช้เองได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์



http://i230.photobucket.com/albums/ee192/septimus_album/IMG_3773.jpg
อาการผิดปรกติทางตาจากการใช้คอมพิวเตอร์ CVS

ที่มา http://dr.yutthana.com/cvs.html


http://www.mongkoltemple.com/page02/variety072.html

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 มิถุนายน 2553 04:47:46 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: จัดหน้าค่ะ » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 17 มิถุนายน 2553 05:03:54 »


           

พอดีที่บริษัทผมมีการตรวจร่างกาย ได้ยินโรคที่ผมคาดไม่ถึงและเมื่อเช็คแล้วผมเป็น(เศร้าเลย)


เพราะผมทำงานกับหน้าคอมตลอด โดยเฉพาะการออกแบบ Art work และ Retouch

ผมว่าคนที่เล่นเวปนี้คุณคนนึงแหล่ะที่ต้องรีทัชภาพเหรอตกแต่งภาพ ระวังกันไว้หน่อยก็ดีนะครับ

ด้วยความเป็นห่วงทุกคนคร้าบบบบบบ....

 
ตอนนี้ในประเทศไทยมีคนเป็นโรค "วุ้นในลูกตาเสื่อม" ถึง 14 ล้านคน

> แล้วครับจากข้อมูลทางหนังสือพิมพ์

> (นี่เฉพาะแค่ที่มีข้อมูลบันทึกไว้นะครับ

> คนที่ไม่รู้ตัวเองว่าตัวเองก้อเป็นจะมากขนาดไหน?)

> ผมคิดว่า ในขณะที่คุณอ่านข้อความของผมนี้จากทางเนต

> บางคนก้อเป็นแต่ไม่รู้ตัวครับ


 โอ๊ะ   กลอกตา   น้ำตาเล็ด

> อาการก้อคือ==> คุณจะเห็นเป็นคราบดำๆ เหมือนหยากไย่ ลอยไปลอยมา

> เหมือนคราบที่ติดกระจกน่ะครับ

> จะเห็นชัดก้อต่อเมื่อ คุณมองไปยังภาพแบล็คกราวนด์ที่มีสีสว่าง เช่น

> ท้องฟ้าขาวๆ ฝาห้องขาวๆ ฝาห้องน้ำขาวๆ

> จะเห็นเป็นคราบดำๆ ลอยไปลอยมา

> *

> ถ้าอาการมากกว่านั้นก้อคือ ประสาทตาฉีกขาด คุณจะมองเห็นแสงแฟลช ในที่มืด

> ไม่ว่าหลับตาหรือลืมตา (น่ากลัวมากๆ)

> และถึงขั้นนี้จะต้องผ่าตัด (ซึ่งไม่มีอะไรรับประกันว่าจะดีเหมือนเดิม

> จะตาบอดหรือไม่?)

> **********************************************************

> สาเหตุของโรคนี้คือ ==> "การใช้สายตามากเกินไป" (เล่นคอม)

> แต่ก่อนโรคนี้จะเกิดกับผู้สูงอายุ หรือ คนที่มีอาชีพใช้สายตามากๆ เช่น

> ช่างเจียรไนเพชรพลอย ที่ต้องใช้สายตาเพ่งมากๆ

> แต่เดี๋ยวนี้คนเป็นโรควุ้นในลูกตาเสื่อมกันมากเพราะ เล่นเนต หรือ เล่นคอม

> (คุณฟังไม่ผิดหรอกครับ เดี๋ยวนี้คนเป็นโรคนี้กันมากเพราะเล่นคอมนี่แหละ )

> **********************************************************

> ถามว่าทำไม คนเล่นเนต เล่นคอม ถึงเป็นกันมาก?

> ไม่ว่าคุณจะเล่นเนต,เล่นเกมส์,อ่านไดอารี่,อ่านบทความ,อ่านหนังสือ

> หรืออะไรก้อตาม ที่อยู่บนจอคอมพิวเตอร์

> "ล้วนทำให้สายตาคุณเสียได้ทั้งสิ้น"

>

> เพราะว่า ถ้าคุณอ่านหนังสือที่เป็นแผ่นกระดาษธรรมดาๆ "ระยะห่างระหว่าง ลูกตา

> กับ ตัวหนังสือ จะคงที่ แน่นอน"

> เพราะขอบของตัวหนังสือจะคมชัด ทำให้สมองกะระยะโฟกัสได้ถูกต้องแน่นอน

> กล้ามเนื้อและประสาทตา จึงทำงานค่อนข้างคงที่

>

> แต่ ! ตัวหนังสือบนจอคอมพิวเตอร์นั้น มีลักษณ์เป็นจุดๆ ประกอบกัน

> เหมือนแขวนลอยบนจอ ขอบของตัวหนังสือไม่ชัด

> สมองจะสับสนในการปรับระยะโฟกัส (เพราะจอแก้ว จะมีความหนาของแก้ว

> แต่เรามองผ่านมั นไป )

> (และจอ LCD เราก้อต้องมองผ่านเข้าไปเหมือนกัน

> ตัวหนังสือมันไม่ได้ติดอยู่ด้านบนเหมือนอยู่บนแผ่นกระดาษ)

> การปรับระยะโฟกัสจึงไม่แน่นอน

> *********************************************************

>

> บวกกับ ลักษณะการอ่านหน้าหนังสือในคอมนั้น จะต้องใช้เม้าส์จิ้ม

> ลากแถบด้านข้างจอ เพื่อเลื่อนบรรทัดหนังสือขึ้นลง

> เพื่อจะอ่านบรรทัดด้านล่างได้ หรือไม่ก้อ ใช้ลูกหมุนที่อยู่บนเม้าส์

> หมุนเพื่อเลื่อนบรรทัดหนังสือ

>

> แต่ การเลื่อนบรรทัดนี้

> มันไม่เหมือนกับการอ่านหนังสือจากแผ่นกระดาษที่แขนกับคอ

> จะปรับการมองขึ้นลงโดยอัตโนมัติ มีระยะที่แน่นอน สัมพันธ์กัน

> แต่ว่าการเลื่อนบรรทัดด้วยแถบด้านข้าง หรือลูกกลิ้งบนเม้าส์นั้น

> มันจะมีลักษณะการเลื่อนแบบกระตุกๆ (คุณสังเกตดู)

> มันจึงทำให้ปวดตามากๆ เพราะลูกตา จะต้องลากลูกตา เลื่อนตามบรรทัดที่กระตุกๆ

> นั้นไปตลอด บวกกับ การพิมพ์ตัวหนังสือนั้น บางที คุณต้องก้มเพื่อมองนิ้ว

> ว่ากดตำแหน่งบนแป้มพิมพ์ถูกตัวอักษรหรือไม่ ทำให้เดี๋ยวก้ม เดี๋ยวเงย

> ลูกตาปรับโฟกัสบ่อยเกิน ทำให้ลูกตาทำงานหนัก กว่าจะพิมพ์งานเสร็จ

> คุณจะปวดตามากๆๆ อย่างเด็กนักศึกษา เร่งพิมพ์รายงานส่งอาจารย์

> ติดต่อกันข้ามคืน สองสามวัน ตาจะปวดมากๆ รวมทั้งเวลาการเปิดโปรแกรมword

> ในการพิมพ์ตัวหนังสือมักจะมีสีพื้นที่เป็นสีสว่าง (ที่นิยมก้อคือ

> ตัวหนังสือดำ พื้นสีขาว )

> สีพื้นที่สว่างขาวจ้า นี่เอง ทำให้ตาคุณจะเกิดอาการแพ้แสง

> ถ้ามีการพิมพ์ติดต่อกันนานๆ เพราะจ้องจอสีขาวนานเกินไป หรือไม่ก้อ

> ในคนที่ชอบเล่นเกมส์    เหงื่อตก  ตลก
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 17 มิถุนายน 2553 05:21:25 »


           

ขออนุญาตร่วมแสดงความคิดเห็นเล็กน้อยนะครับ

แ่ต่ก่อนผมก็ไม่เคยได้ยินชื่อโรคนี้มาก่อน ถึงแม้จะเรียนมาทางสายสุขภาพก็ตาม จนกระทั่งโรคนี้เกิดขึ้นกับแม่เมื่อสองปีก่อน ผมจึงได้มีโอกาสได้ศึกษาทำความรู้จักกับมันมากขึ้น เพราะช่วงที่รู้ว่าแม่เป็นโรคนี้ ผมเป็นกังวลสารพัด จะเป็นอันตรายมากมั้ย จะหายขาดได้มั้ย จะรบกวนการมองเห็นไปตลอดชีวิตหรือไม่ ฯลฯ แต่พอได้คุยกับคุณหมอที่รักษา ประกอบกับค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมจากห้องสมุดที่คณะฯ ประกอบ ก็ทำให้เข้าใจเจ้าโรคนี้มากขึ้น



ส่วนประกอบที่สำคัญของโครงสร้างตา

1. ขอบตาหรือหนังตา (Eyelids )

2. ขนตา (Eyelashes)

3. เยื่อบุตาขาว (Conjunctiva)

4. กระจกตา (Cornea)

5. ม่านตา (Iris)

6. รูม่านตา (Pupil)

7. เลนส์ตา (Crystalline Lens)

8. เอ็นยึดเลนส์ตา (Suspensory Ligarments)

9. กล้ามเนื้อปรับเลนส์ตา (Ciliary body)

10. น้ำช่องลูกตาหน้า (Aqueous Humor)

11. วุ้นช่องลูกตาหลัง (Vitreous Humor)

12. ตาขาว ( Sclera)

13. โครอยด์ (Choroid)

14. จอรับภาพ ( Retina)

15. ออพติค ดิสค์ (Optic Disc)

16. ออพติค คัพ ( Optic Cup)

17. เส้นประสาท (Optic Nerve)

18. เส้นเลือดดำ-แดง (Vein,Artery)

19. ต่อมผลิตน้ำตา ( Lacrimal Gland)

20. ท่อระบายน้ำตา ( Puncta)



วุ้นในตาหรือ vitreous เป็นสารกึ่งแข็งกึ่งเหลวมีลักษณะใสและยืดหยุ่นได้คล้ายเจล ทำหน้าที่เป็นตัวกลางช่วยให้แสงเดินทางผ่านไปตกกระทบที่เรติน่าหรือจอประสาทตา (ทำหน้าที่คล้ายฟิล์มหรือเซ็นเซอร์ของกล้อง) และทำให้ลูกตาคงรูปร่างอยู่ได้ เมื่อคนเรามีอายุเริ่มเข้าสู่วัยชรา จะมีโอกาสที่วุ้นในตาจะหดตัวและลอยอยู่ในลูกตาได้มากถึงร้อยละ ๕๐ ทำให้เห็นเป็นจุดสีดำลอยไปลอยมา ซึ่งจะสร้างความรำคาญเป็นอย่างมากในระยะเริ่มแรก แต่พอนานวันไป สมองคนเราก็จะค่อยๆ เรียนรู้ที่จะไม่สนใจมัน จนในที่สุดก็จะเกิดความเคยชินจนแทบจะไม่สังเกตเห็นจุดดำที่ว่านี้เลยก็ได้ (ซึ่งอาจต้องใช้เวลาหลายเดือนหรือเป็นปี) นอกจากนี้ จักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญบางท่าน จะแนะนำให้ผู้ที่เป็นโรคนี้ (eye floaters) ถ่ายภาพด้วยกล้องดิจิตอลมากขึ้น ด้วยเหตุผลที่ว่า เวลาที่เราเดินทางไปตามที่ต่างๆ เราจะมองเห็นสิ่งต่างๆ มีจุดดำปะปนลอยไปลอยมาตลอด แต่ภาพที่เราถ่ายได้จะเป็น floater-free memories คือเป็นภาพที่ปราศจากจุดดำรบกวน ซึ่งตรงนี้ถ้าเราถ่ายภาพ (หรือถ่ายวิดีโอก็ได้) บ่อยๆ จะเป็นการช่วยให้สมองเรียนรู้ที่จะปรับตัวให้ ignore จุดดำได้เร็วขึ้น


อย่างไรก็ตาม การหดตัวของวุ้นในตาในบางคน อาจเกิดขึ้นที่บริเวณที่อยู่ติดกับเรติน่าซึ่งอาจไปดึงเนื้อเยื่อเรติน่าให้หลุดลอกออกมาด้วย (retinal detachment) ทำให้มีเลือดออกในจอประสาทตา จะเห็นจุดดำใหญ่ขึ้นหรือมีลักษณะที่เป็นม่าน ซึ่งถือเป็นกรณีที่รุนแรงต้องพบจักษุแพทย์เพื่อทำการผ่าตัดรักษาโดยด่วน หากปล่อยทิ้งไว้อาจทำให้ตาบอดได้ ซึ่งการผ่าตัดที่ว่าในปัจจุบันก็ถือว่าได้ผลดีและรวดเร็ว ผู้ป่วยอาจไม่ต้องนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลก็ได้


สำหรับความสัมพันธ์ของโรคนี้กับการใช้งานคอมพิวเตอร์นั้น ไม่พบว่ามีความสัมพันธ์ในลักษณะของสาเหตุและผลลัพธ์ี่ที่ชัดเจน แต่เชื่อว่าการจ้องจอมอนิเตอร์ที่มีความสว่างมากเกินไป หรือต้องปรับโฟกัสสายตาตลอดเวลา จะทำให้ "ตาล้า" และเมื่อตาล้าจะทำให้สังเกตเห็นจุดดำได้ง่ายขึ้น และการที่มอนิเตอร์มีความสว่าง จะทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า after image คือเมื่อเราละสายตาไปมองที่บริเวณอื่น เราจะเห็นจุดดำได้ัชัดเจนขึ้นด้วย (คล้ายๆ กับการที่เราเล่นจ้องอะไรซักอย่างนานๆ แล้วละสายตาไปมองที่ผนังก็จะเห็นภาพๆ นั้นอยู่ระยะหนึ่ง)


ทั้งหมดนี้เป็นข้อมูลที่ผมทำความเข้าใจด้วยตนเอง หากผิดพลาดประการใดต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยนะครับ ถนอมดวงตาของเราไว้ใช้เพ่งใน viewfinder เวลาถ่ายรูป (โดยเฉพาะชาวโอลี่ :-)) ดีกว่าต้องมาเสียสายตากับการจ้องจอคอมพิวเตอร์โดยไม่บันยะบันยังนะครับ




 ยิ้ม  http://www.2how.com/board/topic.php?id=24898
 รัก  ufoatkaokala11.com

ขอบพระคุณที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ
บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #3 เมื่อ: 17 มิถุนายน 2553 07:18:40 »




(:LOVE:)อรุณสวัสดิ์ พี่ แป๋ม พี่ แป๋ม เอาบทความนี้มาจาก


http://www.2how.com ใช่มั๊ย ?


ในฐานะคนเคยถ่ายภาพมาก่อนและเคยนำภาพไปประกวดกันทีบร์อดเขาอยู่เหมือนกันแต่ไม่ได้เข้าไปนานหลายปีแล้ว


ไปประกวดที่ http://www.taklong.com สังคมแต่ละสังคมไม่เหมือนกัน สังคมของคนถ่ายภาพมักจะหวงแหนผลงานของ


ตัวเองแต่(บางครั้ง)ไม่ค่อยหวงผลงานของตัวเองหรอกจะเล่าให้ฟังเมื่อก่อนนี้ที่ http://www.2how.com มีคนก๊อปภาพไป


โพสที่บร์อด (picpost) http://www.mthai.com เจ้าของภาพจะเอาเรื่องให้ได้(บางครั้ง)ได้ติดตามข่าวอยู่วงนอก


คงไม่มีการยอมความกันเพราะภาพมันจะมีโค๊ดจากกล้องว่าใครเป็นเจ้าของผลงาน


ต้องขอโทษทีคุยเรื่องไม่เป็นเรื่องเพียงแต่บังเอิญเห็น http://www.2how.com แล้วนึกขึ้นได้จึงเล่า


ให้ พี่แป๋ม ฟังว่า


(บางครั้ง)เคยประกวดภาพเหมือนกันแต่ตอนนี้เลิกหมดแล้วหันมาทางธรรมอย่างเดียวนั่นเป็นเรื่องเมื่อหลายปีผ่านมาแล้ว รัก




Great Compassion Mantra


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 มิถุนายน 2553 07:33:56 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: 19 มิถุนายน 2553 06:08:00 »




การแบ่งปันผลงานที่เป็นฝีมือ แรงงาน แรงใจ
อุตสาหวิริยะ ความยากลำบาก ที่เป็นที่ต้องตา ต้องใจผู้อื่นที่เค้านำไปใช้
เป็นทานที่มีที่มา บริสุทธิ์ อานิสงส์สูง
ผู้นำไปใช้จะแสดงการอนุโมทนา(หรือแสดงในใจ)หรือไม่ อานิสงส์ย่อมเกิดแล้ว
ที่เห็นด้วยตาด้วยใจชาตินี้ด้วยตนเอง ก็คือ
การยอมรับ เป็นหนึ่งเสียงบริสุทธิในชิ้นงานนั้นๆด้วยใจผู้นำไปใช้

การหวง เป็นเหตุแห่งทุกข์ แสดงความยึดมั่นถือมั่นใน อัตตา ไม่เป็นสัมมาทิฏฐิ
ยึดเองทุกข์เอง

ผู้นำไปใช้ ไม่แสดงที่มา ไม่จ่ายค่าตอบแทนตามข้อแม้ของเจ้าของผลงาน
ไม่แม้อนุโมทนาบุญในใจ
ทำเสมือนนี้เป็นผลงานของตน กรรมก็เป็นของผู้นั้น เช่นที่เค้าถูก เอาความ

ต้องขอบคุณน้อง"บางครั้ง"ที่เล่า เพราะทำให้มีโอกาสเจริญสติทบทวนพิจารณา
ยินดีที่ได้สนทนาธรรมน่ะค่ะ...
บันทึกการเข้า
คำค้น: ข้อมูลสาเหตุ  การดูแล การป้องกัน 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.7 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 07 กุมภาพันธ์ 2567 01:37:59