[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 06:31:24 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า:  [1] 2   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ประวัติเทพกรีก เจาะลึกที่มาของตำนานเทพแห่งเขาโอลิมปัสอันเกรียงไกร  (อ่าน 18130 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 17.0.963.79 Chrome 17.0.963.79


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 21 มีนาคม 2555 23:23:44 »

ประวัติเทพกรีก
เจาะลึกที่มาของตำนานเทพแห่งเขาโอลิมปัสอันเกรียงไกร



ก่อนอื่นเลยน้าแม๊คต้องบอกเลยว่าน้าแม๊คสนใจเรื่องของตำนานเทพกรีกมานมนานแล้ว เคยอ่านผ่านตามาก็มาก
ศึกษาไปศึกษามาแล้วมันมาคิดว่าแหม มันไม่ต่างจากนิยายไทยบ้าน ๆ เราเลยแฮะ มีทั้งรักซ้อน ซ่อนเงื่อน เพื่อนทรยศ
ฆ่ากันชิงบัลลังก์ โอ๊ยสารพัด อีกอย่างช่วงนี้สังเกตุไหมครับถ้าใครติดตามข่าวด้านเอนเตอร์เทน หรือชอบเล่นเกม ดูหนัง
พักนี้เรื่องราวของเทพกรีกถือว่าเยอะมาก ถ้าหนังนี่เด่น ๆ เลยก็ Clash of the titans , Wraith of the titans
และที่หลายคนยังประทับใจกับฉากเท่ ๆ ของหนังก็ต้องเรื่องนี้ Immortal เป็นหนังที่ผมดูแล้วแหม มันไม่มีเนื้อหาอะไร
แต่มันส์ดีชิบเป๋ง 5555+ แต่ถ้าคอเกมก็ต้องนี่เลย God of war ที่ครองใจเกมเมอร์มาทั่วโลก

เกริ่นนำมาเยอะแล้ว มารับชม ประวัติ-ตำนานเทพกรีก กันเลยดีกว่าครับ





ผังด้านบนเป็นผังตระกูลของบรรดาทวยเทพครับ
ซึ่งพันกันอีรุงตุงนัง ฆ่ากันชิงบัลลังก์วุ่นวายไม่แพ้ละครจักร ๆ วงศ์ ๆ

และผมจะลงรายละเอียดของเทพที่สำคัญ ๆ ไว้ในลำดับต่อไป


ตำนานเทพกรีก : ตอนที่ 1 กำเนิดตำนานเทพนิยายกรีก



ปฐมเหตุแห่งอุบัติของโลกนั้นปรากฏตามบทกวีของฮีสิออดกล่าวว่า ในกาลครั้งอดีตก่อนทวยเทพอุบัตินับยุคไม่ถ้วนมาแล้ว
สรรพสิ่งทั้งหลายยังรวมอยู่ในกำพืดอันเดียว ซึ่งเป็นความว่างเปล่าอันปราศจากรูปเท่านั้น เรียกว่า เคออส (Chaos)
เป็นความเวิ้งว้างมหึมาหาขอบเขตมิได้ ต่อมาอีกนับกัปป์ไม่ถ้วนโลกพิภพจึงผุดขึ้นเป็นประดุจฐานอันกว้างใหญ่ไพศาล
เพื่อเป็นจอมมารดาของสิ่งทั้งมวล เรียกว่า จีอา (Gaea) หรือ จี (GE) บ้างก็เรียกไกอา ในภาษากรีก
เทลลัส (Tellus) ในภาษาโรมัน มีสวรรค์ดาษดาด้วยดาวพราวแพรวล้อมรอบ ซึ่งจะเป็นที่สถิตจีรังกาลของทวยเทพสืบไป

สวรรค์นึ้ตามภาษากรีกเรียกว่า อูรานอส (Ouranos) ส่วนโรมันเรียกว่า ยูเรนัส (Uranus) ถือกันว่าเป็นจอมบิดาคู่กัน
กับจีจอมมารดา จอมบิดาและมารดานี้ประกอบด้วยทิพยภาพก็จริง แต่ก็หาสมมติขึ้นเป็นองค์เทพไม่ คงปรากฏแต่ว่า
มีอิทธิฤทธิ์บันดาลให้เกิดแผ่นดินไหว ลมพายุและภูเขาไฟระเบิดได้

ชาวกรีกโบราณเชื่อว่า โลกที่สร้างขึ้นตามทำนองดังกล่าวนี้มีสัณฐานแบนกลม มีประเทศของตนอยู่กลาง โดยมีห้วงสมุทร
เมดิเตอร์เรเนียนแบ่งแผ่นดินออกเป็น 2 ส่วนเท่า ๆ กัน และทะเลนี้ต่อไปออก ทะเลดำ ซึ่งสมัยโน้นเรียกว่า
ทะเลยูซินี (Euxine) 2 ทะเลนี้เท่านั้นที่เป็นทะเลที่ชาวกรีกสมัยโบราณรู้จัก ภาคเหนือสุดของพื้นพิภพนั้น
เป็นที่เข้าใจกันว่าเป็นภูมิลำเนาของชนชาติที่ผาสุกชาติหนึ่ง เรียกว่า ชาติไฮเพอร์โบเรียน (Hyperborean)
อาศัยอยู่ในถิ่นลับแล ซึ่งจะไปทางบกหรือทางทะเลก็ไม่ถึงทั้งสิ้นอยู่พ้น เทือกเขาสูงขึ้นไปทางทิศเหนือของดินแดน
เฮลลัส (Hellas) ซึ่งเป็นชื่อของประเทศกรีซสมัยโน้น ว่ากันว่าดินแดน ของชนชาติไฮเพอร์โบเรียนเป็นดินแดนที่สงบสันติสุข
มีแต่ความสบายด้วยประการทั้งปวง ส่วนทางใต้ของพิภพใกล้ กับทางไหลของมหาสมุทร ก็มีชนชาติที่ผาสุกและ
มีคุณธรรมเช่นเดียวกับไฮเพอร์โบเรียนอาศัยอยู่อีกชาติหนึ่ง เรียกว่า อีธิโอเพียน (Ethiopion) เป็นที่โปรดปราน
ของเหล่าเทพยิ่งนัก ถึงแก่เหล่าเทพเคยไปร่วมพิธี พลีกรรมและงาน มหกรรมสมโภชของชนชาตินั้นเนืองๆ



ยังมีสถานที่อีกแห่งหนึ่ง อยู่ทางฟากตะวันตกของโลกริมมหาสมุทรเรียกว่า ทุ่งอีลิเชียน (The Elysian Fields)
เป็นที่ซึ่งพวกมนุษย์ที่เหล่าเทพโปรดจะได้ไปอยู่ เขาถือว่า ผู้ใดดำเนินวิถีชีวิต ด้วยคุณความดีจะได้รับกรุณา
โดยเหล่าเทพพาไปให้ได้เสพอมฤตภาพ คืออยู่ค้ำฟ้าเป็นสุขตลอดกาลในที่ นั้นส่วนดินแดนใกล้เคียงแถบตะวันออก
และตามริมฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนนั้น เป็นที่อยู่ของชนชาติ ต่าง ๆ ที่ชาวกรีกรู้จัก พ้นจากดินแดนเหล่านี้ไปในทะเลตะวันตก
ล้วนเป็นที่อยู่ของพวกยักษ์อมนุษย์ และแม่มด ทั้งสิ้นในประเทศกรีซมีภูเขาสูงอยู่หลายลูก ที่มียอดสูงสุดได้แก่
ขุนเขาโอลิมปัส อยู่ในแถบเทสซาลี ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศกรีซ มียอดสูงสุดเกือบ 2 ไมล์
หรือประมาณ 9,800 ฟุต ดูตระหง่านเยี่ยมเทียมฟ้า ชาวกรีกโบราณถือว่ายอดเขาโอลิมปัสนี้พุ่งขึ้นไปจรดสวรรค์ทีเดียว

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22 มีนาคม 2555 01:19:21 โดย Mckaforce » บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 17.0.963.79 Chrome 17.0.963.79


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 21 มีนาคม 2555 23:32:10 »

ตอนที่ 2 กำเนิดเทพกับการแย่งอำนาจ



จีกับอูรานอสเถลิงอำนาจอยู่ ณ เทือกเขาโอลิมปัส ต่อมาไม่นานก็ให้กำเนิดเทพบุตรและเทพธิดา 12 องค์
6 องค์เป็นเทพบุตร ทรงนามตามลำดับว่า โอเซียนัส, ซีอัส, ครีอัส, ไอเพอร์เรียน, ไอแอพิทัส และโครนัส
อีก 6 องค์เป็นเทพธิดา ทรงนามว่า อิเลีย, รีอา, ธีมิส, ธีทิส, เนโมซินี และฟีบี

เทพและเทวีทั้ง 12 องค์นี้รวมกันเป็นคณะ เรียกว่า ไทแทน (Titan) หรือเรียกอีกอย่างว่า ไจแกนทีส (Gigantes)
ซึ่งเป็นต้นศัพท์คำว่า “ไจแอนท์” แต่ละองค์มีกายใหญ่มหึมา


อูรานอสแสนจะเกรงกลัวในความมีกายใหญ่ยิ่งและทรงพลังของเทพบุตรและเทพธิดาคณะนี้ จึงจับทั้งหมด
โยนลงในเหวลึกใต้บาดาลมืดสนิท เรียกว่า ตรุทาร์ทะรัส (Tartarus) และจองจำไว้มั่นคงเพื่อป้องกัน
มิให้ เทพกุมารองค์ใดใช้พลังเป็นปฏิปักษ์กับไท้เธอได้

เมื่ออูรานอสจองจำเทพทั้ง 12 องค์ไว้ก็ตายใจว่าคงไม่มีองค์ใดหลุดหนีขึ้นมาได้ แต่เหตุจะให้คณะไทแทน
ไม่ต้องถูกจองจำอยู่นานอุบัติขึ้น เนื่องจากอูรานอสกับจีให้กำเนิดเทพบุตรอีก 3 องค์เป็นเทพบุตรยักษ์ตาเดียว
เรียกว่า ไซคลอปส์ (Cyclops) มีนามตามลำดับว่า บรอนทีส, สเทอโรพีส และอาจีส

อูรานอสจับเทพบุตรทั้ง 3 โยนลงขังไว้ในตรุทาร์ทะรัสอีก บรอนทีสนั้นคือฟ้าลั่น สเทอโรพีสคือฟ้าแลบ
ส่วนอาจีสคือแสงสว่างวาบ เมื่อลงไปถึงที่คุมขังจึงทำให้เกิดแสงสว่างไปทั่วทั้งบาดาล ช่วยให้คณะเทพไทแทน
เกิดความกล้าที่จะแสวงความเป็นไท และต่อมาก็มีเทพบุตรของอูรานอสถูกโยนลงไปสมทบอีก 3 นามว่า คอตทัส,
เบรียรูส และไกจีส แต่ละองค์มีมือตั้งร้อย

เจ้าแม่จีไม่พอใจที่อูรานอสปฏิบัติกับลูกๆ ดังนั้น แต่ห้ามเท่าใดอูรานอสก็ไม่ฟัง เจ้าแม่โกรธนักจึงลงไปใต้บาดาล
ยุยงลูกๆ ในคณะไทแทนให้ร่วมคิดกันแย่งอำนาจบิดาให้จงได้ ในบรรดาเทพไทแทนนี้มีโครนัสน้องสุดท้องคนเดียว
ที่กล้าจะทำตาม เจ้าแม่จึงปล่อยให้หลุดจากพันธนาการ มอบเคียวเป็นอาวุธ พร้อมทั้งอวยพรให้เธอมีชัย

โครนัสถืออาวุธคู่มือเข้าโจมจับบิดาโดยไม่ให้รู้ตัวแล้วขึ้นครองบัลลังก์หมายจะเป็นใหญ่ในจักรวาลชั่วนิรันดร
ฝ่ายอูรานอสบันดาลโทสะกล้า จึงสาปแช่งโครนัสให้ถูกลูกๆ ของตัวเองแย่งอำนาจในกาลภายหน้าเช่นกัน

โครนัสไม่แยแสในคำสาปของบิดา จัดแจงปล่อยเทพภราดรและภคินีให้เป็นไททั้งหมด ทุกองค์แสนจะปิติ
และรู้คุณโครนัสในการที่หลุดพ้นจากการจองจำได้เป็นไท จึงพร้อมใจกันยอมยกให้โครนัสเป็นใหญ่ปกครองตน
โครนัสเลือกเทพภคินีองค์หนึ่งคือ รีอา เป็นคู่ครอง และปันส่วนอื่นๆ ให้เทพภราดรภคินีปกครองโดยทั่วถึงกัน

บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 17.0.963.79 Chrome 17.0.963.79


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 21 มีนาคม 2555 23:38:35 »

ตอนที่ 3 โครนัสถูกโค่นเทพบัลลังก์



โครนัส (Cronus) หรือภาษาโรมันเรียกว่า แซ็ทเทิร์น ดำรงความเป็นใหญ่ในเหล่าเทพทั้งปวง
อยู่ ณ เทือกเขาโอลิมปัสเป็นสุขสงบมาจนกระทั่งถึงกาลวันหนึ่ง มีเทวบุตรองค์หนึ่งเกิดแก่ไท้เธอ
คำสาปของอูรานอสผุดขึ้นในความทรงจำทันที ไท้เธอจึงรีบไปหาเจ้าแม่รีอาและจับกุมารนั้นกลืนกินเสีย

ต่อมาถึงโอรสจะเกิดอีกสักกี่องค์ โครนัส ก็จับกินสิ้นทุกองค์ แม้เจ้าแม่รีอาจะวอนขอให้งดเว้น ไท้เธอก็ไม่ยอมฟัง
ในที่สุดเจ้าแม่รีอาจึงตั้งปณิธานว่าจะเอาชนะไท้เธอด้วยอุบายให้จงได้ ดังนั้นพอประสูตรโอรสองค์ใหม่คือ ซูส (Zeus)
หรือ จูปิเตอร์ (Jupiter) ตามภาษาโรมัน เจ้าแม่เธอก็ซ่อนไว้เสีย

โครนัสได้ข่าวเทพกุมารองค์ใหม่เกิด จึงรีบมาหมายจะจับกินเสีย เจ้าแม่รีอาแสร้งทำเป็นวอนขอพอเป็นพิธี
แต่ในที่สุดก็ทำเป็นโอนอ่อนผ่อนตาม เอาก้อนหินใหญ่ก้อนหนึ่งซึ่งห่อผ้าอ้อมเตรียมไว้แล้วส่งให้
พลางทำเป็นเศร้าโศกนักหนา โครนัสไม่ทันดูรับก้อนหินสำคัญว่าเป็นบุตร จึงกลืนกินแล้วก็กลับไป

เจ้าแม่รีอาจัดแจงฝากฝังเทพทารกให้อยู่ในความทะนุถนอมกล่อมเลี้ยงของนางอัปสรนีเรียด นางอัปสร
จึงพาซูสไปไว้ในถ้ำบนยอดเขาไอคา

ณ ที่นั้น นางแอมัลเธีย (Amalthea) บุตรสาวของ มิลิสซัส เจ้าครองเกาะครีต ได้รับธุระอนุบาลซูสด้วยนมแพะ
นางแอลมัลเธียนี้บางตำนานกล่าวว่าเป็นนางแพะ และว่าภายหลังซูสได้ประสิทธิ์ประสาทให้ เป็นดาวฤกษ์ในสวรรค์
เป็นการตอบแทนคุณความดีของนางที่มีแด่ไท้เธอ และประทานเขาข้างหนึ่งให้แก่นางอัปสรที่โอบอุ้ม
ทะนุถนอมไท้เธอมาแต่น้อย เป็นเขาสารพัดนึกซึ่งนางอัปสรจะนึกเอาอะไรก็ได้ดังประสงค์

รูปเขาบรรจุแพะของมองมูน จึงถือกันเป็นสัญลักษณ์ของความมั่งคั่ง เรียกว่า เขาแห่งความมากมูน
(the horn of plenty) มาจนตราบเท่าทุกวันนี้


อนึ่ง เพื่อป้องกันเสียงร้องของเทพกุมารซูส มิให้ดังขึ้นไปถึงโครนัส พวก คิวรีทิส สาวกของเจ้าแม่รีอา
ซึ่งรับหน้าที่เป็นอาจารย์ของซูส ยังคิดแบบกระบวนเต้นรำแบบหนึ่งประกอบด้วยเสียงประติรพเซ็งแซ่
และเสียงประสานอาวุธสนั่นอึกทึกกลบเสียงของซูสไว้ด้วย ฝ่ายโครนัสสำคัญว่าคำสาปของบิดาไม่เป็นผล
แล้วก็สิ้นวิตก มิได้แยแสกับเสียงเอ็ดอึงของคิวรีทิส กว่าจะรู้ว่าเป็นเสียงลวงไท้เธอมิให้รู้ ว่าซูสยังดำรงชนม์อยู่
ก็สายไปเสียแล้ว



ซูสและบิดาประจัญกันอย่างดุร้าย ไม่นานโครนัสก็เป็นฝ่ายปราชัย ซูสจึงเข้ายึดอำนาจไพบูลย์ไว้และหารือเจ้าแม่รีอา
ตกลงกันเอาน้ำสำรอกที่นางมีทิส (Metis) ธิดาของโอเชียนัสประกอบขึ้น บังคับให้โครนัสดื่ม
สำรอกกุมารที่กลืนเข้าไปออกมาหมดทุกองค์คือ โปซิดอน, ฮาเดส, เฮสเทีย, ดีมิเตอร์ และฮีรา
(Poseidon, Hades, Hestia, Demeter, Hera) ตามลำดับ
ส่วนก้อนหินที่โครนัสถูกหลอกให้กลืนก็สำรอกออกมาด้วย หินก้อนนี้ภายหลังได้เอาไปเก็บรักษาไว้
เป็นที่เคารพบูชาแทนองค์ซูส ณ วิหารเดลฟี (Delphi)

เมื่อยึดอำนาจสูงสุดสำเร็จ ซูสก็เลือกฮีราเทวีภคินีองค์หนึ่งเป็นคู่ครอง และแบ่งสันปันส่วนอาณาเขตให้เทพภราดร
ปกครองทั่วทุกองค์ ส่วนเทพและเทพีที่เฉลียวฉลาดที่สุดในเหล่าเทพไทแทน คือ เนโมซินี, โอเชียนัส
และไฮเพอร์เรียน ต่างองค์ต่างก็ยอมอยู่ในอำนาจของซูสโดยดุษณี แต่เทพไทแทนองค์อื่นๆ ที่ไม่ยอมอ่อนน้อมด้วย
จึงเป็นเหตุให้เกิดศึกใหญ่ขึ้นขับเขี้ยวพันตูกันอย่างเอาเป็นเอาตาย

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 21 มีนาคม 2555 23:44:19 โดย Mckaforce » บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 17.0.963.79 Chrome 17.0.963.79


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 21 มีนาคม 2555 23:58:41 »

ตอนที่ 4 ศึกยักษ์

ซูสอยู่บนยอดเขาโอลิมปัส เห็นฝ่ายปัจจามิตรมีจำนวนมากกว่า แต่ละองค์ล้วนทรงพลังน่าเกรงขาม
จอมทัพที่เป็นขุนพลใหญ่ของเหล่าเทพไทแทนในขณะนั้นคือ แอตลาส (Atlas) จึงเป็นเหตุให้ไท้เธอ
หันไปผูกสัมพันธไมตรีกับพวกไซคลอปส์ ยักษ์ตาเดียว ซึ่งยังถูกขังอยู่ในตรุทาร์ทะรัสใต้บาดาล
ให้ยักษ์เหล่านี้ประกอบอสนีบาตสำหรับไท้เธอใช้เป็นอาวุธแลกกับความเป็นไทในการที่จะได้ปลดปล่อย
จากตรุที่คุมขัง อาวุธใหม่นี้มีอานุภาพร้ายกาจก่อความตระหนกและสยดสยองให้เกิดแก่เหล่าเทพไทแทน
และข้าศึกอย่างใหญ่หลวง ถึงจะรวมกันสู้รบอย่างหักหาญสักเพียงใดก็ไม่อาจเอาชนะซูสได้ รบกันอยู่ 10 ปี
ในที่สุดพวกไทแทนจึงยอมศิโรราบ รับรองความเป็นใหญ่ของซูส


ภาพเทพแอตลาส

เทพไทแทนที่ยอมแพ้บางองค์ก็ถูกทุ่มทิ้งลงจำขังไว้ในตรุทาร์ทะรัสอีกวาระหนึ่ง และตัวแอตลาสเอง
เมื่อพ่ายแพ้ให้แก่ซูสก็ถูกลงโทษให้แบกสวรรค์อยู่ตลอดเวลา ส่วนโครนัสหนีเตลิดไปตั้งหลักแหล่งในต่างแดน
แคว้นเฮสเพอเรียคืออิตาลีเดี๋ยวนี้ และครองความเป็นใหญ่ในประเทศนั้นเป็นสุขสงบสืบมาอีกช้านาน

ชาวกรีกโบราณเชื่อกันเป็นมั่นเหมาะว่า บริเวณที่เทพทั้ง 2 ฝ่ายกระทำมหายุทธการครั้งนั้น อยู่ในแคว้นเทสซาลี
ตรงที่มีภูมิประเทศขรุขระลุ่มๆ ดอนๆ มาก ซึ่งเขาว่าเป็นไปด้วยฤทธิ์อำนาจของพวกเทวดาทุ่มก้อนหิน
ประหัตประหารกันบ้าง ก่อภูเขาขึ้นจะให้ถึงที่ประทับของซูสเพื่อชิงอสนีบาตบ้าง เป็นต้น

เมื่อซูสได้เถลิงอำนาจสูงสุดเป็นเทพบดี ณ ยอดเขาโอลิมปัส และเพิกถอนอำนาจของเทพไทแทนหมดแล้ว
ก็นึกกระหยิ่มว่าจะได้ครองไอศวรรย์แห่งทวยเทพอันช่วงชิงไว้ได้โดยมิชอบด้วยความสงบราบคาบ
สิ้นเสี้ยนหนาม ที่ไหนได้ เจ้าแม่จีปฐพีเทวียังคุมแค้นหมายจะลงทัณฑ์ซูสที่ล่วงสิทธิโดยชอบธรรม
ของเทพไทแทน โอรสของเจ้าแม่ให้สาสมกับความแค้นจึง เนรมิตอสูรขึ้นตนหนึ่ง เรียกว่า ไทฟอน
(Typhon) เป็นยักษ์ดุร้ายมีกายประกอบด้วยหัวมังกรนับร้อย มีเปลวไฟพวยพุ่งออกจากดวงตา
จมูก และปาก แผดเสียงก้องกัมปนาทอยู่เนืองนิตย์ ยังความสยดสยองให้บังเกิดแก่ทวยเทพ
ถึงแก่หนีเตลิดจากเขาโอลิมปัสไปหลบซ่อนในอียิปต์ตามกัน มิหนำซ้ำอารามที่กลัวจัด
เกรงอสูรมหาวินาศจะตามไป เทพเหล่านั้นยังจำแลงองค์เป็นสัตว์นานาชนิด ด้วยเพื่อมิให้อสูรจำได้
ซูสจำแลง เป็นแกะ ส่วนฮีราจำแลงเป็นโค


ภาพของไทฟอน

ถึงอย่างไรก็ดี ในไม่ช้าราชาแห่งทวยเทพก็เกิดความละอายในการหลบหนีอย่างขลาดกลัวของไท้เธอ
ซูสจึงกลับคืนสู่เขาโอลิมปัสด้วยความมั่นหมายจะฆ่ายักษ์ไทฟอนด้วยอสนีบาตให้จงได้ การสู้รบ
ดำเนินไปเป็นเวลานาน ในที่สุดซูสก็ประหารศัตรูลงได้ แต่ไม่นานก็มียักษ์อีกตนหนึ่งก็ได้อุบัติขึ้นโดยการเนรมิต
ของเจ้าแม่จี ชื่อว่า เอนเซลาดัส (Enceladus) เข้าต่อรบกับซูสเพื่อแก้แค้นแทนไทฟอน ซูสจับเอนเซลาดัสได้
จึงล่ามโซ่ไว้อย่างแน่นหนาขึงพืดตรึงไว้ใต้ภูเขาเอตนา แต่กว่าจะสงบเงียบ เอนเซลาดีสก็คำรนคำราม
แผดเสียงกึกก้อง กระเหี้ยนกระหือรือ และครวญครางพิลึกพิลั่นอยู่ช้านาน บางทีก็พ่นไฟขึ้น
หวังจะทำอันตรายเทพบดีผู้พิชิตตนอีกด้วย ต่อมากาลผ่านไปเอนเซลาดัสจึงหยุดสำแดงฤทธิ์อาละวาด
เพียงแต่ขยับตัวทำให้เกิดแผ่นดินไหวเป็นครั้งคราวเท่านั้น


นิยายอิทธิฤทธิ์ตอนนี้เป็นตอนที่คนโบราณผูกขึ้นอธิบายปรากฏการณ์เกี่ยวกับภูเขาไฟระเบิด และแผ่นดินไหวนั่นเอง

บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 17.0.963.79 Chrome 17.0.963.79


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 22 มีนาคม 2555 00:27:09 »

ตอนที่ 5 มหาเทพซูส หรือ ซีอุส (Zeus)



หลังจากปราบยักษ์เสร็จปราศจากเสี้ยนหนามใดๆแล้ว ซูสก็ขึ้นครองบัลลังก์รั้งอำนาจเต็มตลอด 3 ภพ
คือ สวรรค์ พิภพ และบาดาล แต่ไท้เธอตระหนักดีว่า การที่จะปกครองทั้ง 3 ภพและทะเลให้ทั่วถึงมิใช่เรื่องง่าย
หาใช่ภาระเล็กน้อยไม่ เพื่อป้องกันการแก่งแย่งและกระด้างกระเดื่อง ไท้เธอจึงจัดสรรอำนาจยอมยกให้เทพภราดร
มีเอกสิทธิในการปกครองอาณาเขตดังนี้

• เนปจูน หรือ โปเซดอน ได้ครองทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และแม่น้ำทั้งปวง
• พลูโต หรือ ฮาเดส เป็นเจ้าแห่งตรุทาร์ทะรัส และแดนบาดาลทั้งหมดที่รัศมีของแสงอาทิตย์ไม่เคยส่องไปถึง
• จูปิเตอร์ หรือ ซูส ปกครองทั้งสวรรค์และพิภพ แต่ก็มีอำนาจสอดส่องดูแลทั่วไปในเขตแดนทั้งสองได้บ้าง

เมื่อทุกสิ่งทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว ความสงบราบคาบบังเกิดขึ้นตลอดสวรรค์และพิภพเทพทั้งหลายก็ประนอมกันดี
ธรรมชาติทั้งมวลก็ประกอบพร้อมแล้ว แม้แต่สถานที่ซึ่งชีวิตฝ่ายกุศลและอกุศลจะพึงดลเมื่อล่วงลับแล้ว
ก็จัดไว้พร้อมสรรพ

หากกล่าวถึงบทบาทของไท้เทพซูสแล้วต้องยอมรับว่า ไท้เธอมีบทบาทขัดแย้งในองค์เองมากที่สุด
ในบรรดาเทวานุเทวะ ด้วยกันเนื่องจากทรงเป็นมหาเทพผู้ทรงอำนาจสูงสุด และมีผู้เคารพนับถือโดยทั่วไป
เป็นที่ยำเกรงของสามโลก ทรงไว้ซึ่งฤทธิ์อำนาจล้นฟ้าล้นแผ่นดิน แต่กลับทรงมีอุปนิสัยเหมือนบุรุษหนุ่มธรรมดา
นั่นคือความเกรงใจที่มอบให้แก่มหาเทวี ฮีร่า ชายาของ ไท้เธออย่างมาก หากพูดกันตามประสา ก็คือ “กลัวเมีย”
และสาเหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะ ความเจ้าชู้ที่มีอยู่ในตัวมหาเทพซูสนั่นเอง

ความขัดแย้งอีกประการหนึ่งที่มีอยู่ในตัวมหาเทพองค์นี้คือ แม้ว่าไท้เธอจะมีอำนาจสูงสุดทั่วสามภพ
แต่ก็ไม่อาจใช้อำนาจของตนไปแตะต้องเทพองค์หนึ่งได้ ทั้งๆที่เทพองค์นั้นก็เป็นเพียงเทวะชั้นรอง
และไม่สามารถมาประชันขันแข่งกับซูสเทพบดีได้ เทพองค์นั้นมีนามว่า ชะตาเทพ (Fate) แสดงว่า
ไม่มีผู้ใดเลย แม้แต่เหล่าทวยเทพจะหาญสู้ หลีกเลี่ยง หรือก้าวก่ายกับชะตาชีวิตได้


ด้วยเหคุนี้การที่มหาเทพซูสมีอะไรแย้งๆ กันในองค์เอง อาจเป็นเพราะชาวกรีกโบราณที่สร้างทวยเทพขึ้นนับถือ
มีความเป็นนักปรัชญาอยู่เต็มตัว เขาจึงสร้างทวยเทพของเขาให้ละม้ายแม้นกับมนุษย์ปุถุชน
มีทั้งข้อดีและจุดบกพร่อง คุณงามความดีอันสำคัญของมหาเทพซูสเป็นอีกอย่างหนึ่งที่บ่งบอกว่า
ผู้ที่เคารพนับถือไท้เธอเป็นนักปราชญ์มากกว่านักสงครามก็คือ ซูสทรงรักสัจจะและความเป็นธรรมอย่างที่สุด
ทรงเกลียดชังคนโกงและคนโกหกอย่างที่สุด การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเพื่อถวายแด่พระองค์
นักกีฬาจึงต้องแข่งกันอย่างตรงไปตรงมาที่สุด

รูปสลักของซูสเทพบดีมีลักษณะเป็นบุรุษสูงวัย ล่ำสันแข็งแรง พักตร์มีสง่าราศี กอปรด้วยเครายาว
และเกศาหยิกสลวย ไท้เธอมี อสนีบาต (Thunder bolt) เป็นอาวุธประจำกาย ทรงเกราะทองประกายวาววับ
ซึ่งเกราะทองนี้ไม่มีมนุษย์สามัญจะทน มองได้ แม้แต่ทวยเทพด้วยกันเอง หากไปเพ่งมองแสงเจิดจ้า
เข้าก็ย่ำแย่เช่นกัน ทรงมีพญานกอินทรีเป็นนกเลี้ยง ต้นโอ๊คเป็นพฤกษาประจำองค์ มีมหาวิหาร
และศูนย์กลางศรัทธาในตัวพระองค์อยู่ที่เมืองโอลิมเปีย

ดังที่กล่าวมาแล้วแต่ต้นว่า ซูสเป็นมหาเทพที่เจ้าชู้ที่สุดองค์หนึ่งในวงศ์โอลิมเปี้ยน เรื่องราวความรัก
ของไท้เธอมีมากหลาย เรื่องเป็นตำนานเล่าสืบทอดกันมากมาย

ซูสเทพบดีออกจะถนัดถนี่ในการล่อลวงสตรีสาวสวยยิ่งกว่า เหล่าเทพองค์ใดๆ เท่าที่เคยมีมา ทรงปลอม
เป็นวัวสีขาวสง่างาม ไปหลอกโฉมงามนาง ยูโรปาไปเชยชมที่เกาะครีต นอกจากนี้ ยังทรงแปลงเป็นหงส์
ไปก้อร่อก้อติกสาวงามนาม ลีดา (Leda) จนอนงค์นางตั้งครรภ์และคลอดออกมาเป็นไข่ ครั้นไข่แตกออก
แทนที่จะเป็นตัวประหลาดครึ่งคนครึ่งหงส์โผล่ออกมาอย่างตำนานทั่วไป กลับกลายเป็นฝาแฝดชายคู่หนึ่ง
ได้แก่ คัสเตอร์ (Castor) กับ โพลิดียูซิส (Polydeuses) หรือ พอลลักซ์ (Pallux) ในภาษาโรมัน
สิ่งที่ทำให้ทารกคู่นี้เป็นพยานความสัมพันธ์ระหว่างเทพกับมนุษย์คือ คนหนึ่งมีกายเป็นอมตะดั่งเทพ
แต่อีกคนหนึ่งตายได้อย่างมนุษย์สามัญธรรมดา

นอกจากฝาแฝดชายคู่นี้แล้ว ลีดายังมีแฝดหญิงอีกคู่หนึ่ง ซึ่งกระเดื่องเลื่องชื่อที่สุดในตำนานกรีกโบราณ
หนึ่งนั้นนามว่า เฮเลน เดอะบิวติฟุล ต้นเหตุของมหาสงครามกรุงทรอย อีกหนึ่งคือ ไคลเตมเนสตร้า
(Clytemnestra) ซึ่งต่อมาได้เป็นมเหสีของ อกาเมมนอนแห่งไมซีนี่ ความสัมพันธ์สวาทของนางลีดา
กับพญาหงส์ปลอมที่มหาเทพซูสทรงจำแลงมานั้น เป็นไปอย่างซ่อนเร้น เพราะลีดาเป็นมเหสีของท้าวทินดาริอุส
(Tindarius) แห่งสปาร์ต้า เมื่อลีดาให้กำเนิดเฮเลนและไคลเตมเนสตร้า ทินดาริอุสก็นึก ว่าเป็นธิดาของพระองค์

ยังมีเรื่องพิศวาสระหว่างซูสกับนวลอนงค์อื่นๆอีกมาก อาทิสัมพันธ์รักกับนางไอโอ ที่เป็นยายของ วีรบุรุษเฮอร์คิวลิส
รักกับ ไดโอนีและมีธิดา นามว่า อโฟรไดท์ พิสมัยกับ ไมอา และมีโอรสนามว่า เฮอร์มิส ฯลฯ

 ช๊อค ช๊อค ช๊อค
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 17.0.963.79 Chrome 17.0.963.79


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: 22 มีนาคม 2555 00:45:51 »

ตอนที่ 6 เทพโปเซดอน หรือ โพไซดอน (Poseidon)



เทพโปเซดอนได้รับการยกย่องว่าเป็นเทพเจ้าสมุทรหรือท้องทะเล โดยคำว่า “สมุทร” หรือ “ทะเล”
ในภาษากรีกโบราณนั้นหมายเอาทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเป็นสำคัญ เนื่องจากชาวกรีกในสมัยโน้น
มีถิ่นฐานบ้านเมืองอยู่ใกล้ทะเลเมดิเตอร์เรเนี่ยนเป็นส่วนมาก เทพแห่งทะเลจึงมีความสำคัญกับชาวกรีก
เป็นธรรมดา

ในกาลก่อนครั้งที่เหล่าเทพไทแทนยังมีอำนาจอยู่นั้น ห้วงมหรรณพทั้งหลายต่างอยู่ในความปกครอง
ของโอเชียนัส (Oceanus) ครั้นเมื่อเหล่าเทพไทแทนพ่ายแพ้แก่ ซูส แลัวซูสก็ได้แบ่งการปกครอง
ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนโดยเด็ดขาด ส่วนโอเชียนัสถูกลด อำนาจให้ได้ครองเพียงห้วงน้ำใหญ่ที่ไหลวนรอบโลก
ซึ่งถื่อว่าไม่มีความสำคัญอะไรเลยสำหรับชาวกรีกสมัยนั้น นอกจากนี้ ทะเลยูซินีซึ่งปัจจุบันเรียกว่า ทะเลดำ
ก็อยู่ในความปกครองของโปเซดอนเช่นกัน

อำนาจของเทพโปเซดอนส่วนใหญ่คือสามารถควบคุมพายุและความสงบในท้องทะเลได้โดยเด็ดขาด
ยามเมื่อทรงรถทองคำเหนือน่านน้ำ คลื่นลมทะเลสงบเงียบเรียบลื่นไปตามล้อรถของเธอโดยตลอด
(ในบางตำนานกล่าวว่า เวลาที่เสด็จขึ้นจากประสาทใต้ทะเล ทะเลจะแหวกออกเป็นช่อง มีเสียงดังสนั่น
ลั่นโครมครืนนำมาก่อนแล้วราชรถทรงทองคำเทียมด้วยม้าฝีเท้าเยี่ยมตัวใหญ่มหึมาก็ค่อยๆโผล่ขึ้น
จากช่องน้ำแยกอย่างสง่างาม)

เธอมีอาวุธที่ถือว่าเป็นสัญลักษณ์ ประจำตัวเลยก็คือ “ตรีศูล” เมื่อใดที่ต้องการ “เขย่า” โลก
ก็เพียงแต่กวัดแกว่งตรีศูลเท่านั้น ทะเลก็ปั่นป่วนเป็นบ้า เป็นเหตุให้โลกสั่นสะเทือนด้วยเหตุนี้
เธอจึงได้รับสมญานามว่า “ผู้เขย่าโลก” (Earthshaker) ด้วย นั่นเอง

ถ้าจะกล่าวถึงอำนาจของโปเซดอนซึ่งปกครองดูแลน่านน้ำทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็น ทะเลลึก ทะเลสาบ แม่น้ำ
ลำธารละหานห้วย หรือแม้แต่เทพและนางอัปสรประจำน่านน้ำทั้งปวง ยังมีปราสาทงดงามตระการตา
อยู่ใต้ท้องทะเลเอเยี่ยน นอกจากที่ประทับสวรรค์ชั้นโอลิมปัสแล้ว ดังจะเห็นว่านอกจากซูสเทพบดีแล้ว
ไม่มีเทพองค์ใดที่มีอำนาจเกรียงไกรไปกว่าท้าวเธอเลยที่เห็นก็มีเพียงฮาเดส เทพครองนรก
จ้าวแดนบาดาล ซึ่งทำให้ท้าวเธอถึงกับเคยคิดครองความเป็นใหญ่แต่เพียงผู้เดียว โดยร่วมมือกับเทวีฮีร่า
และเทวีเอเธน่าพยายามโค่นเทพปริณายกซูสแต่ไม่สำเร็จ จึงถูกซูสลงทัณฑ์เนรเทศโปเซดอน
ให้มาทำงานตรากตรำลำบากบนโลกมนุษย์ในเมืองทรอย โดยต้องสร้างกำแพงกรุงทรอย
ให้ท้าวเลือมมิดอน (Laomedon) กษัตริย์ในขณะนั้น
ท้าวเลือมมิดอนได้สัญญาว่าจะให้ค่าตอบแทนอย่างงดงามหลังจากที่ได้สร้างกำแพงเสร็จ ถึงแม้ว่า
งานดังกล่าวเป็นงานที่ยาก แต่หากด้วยในระหว่างนั้นเทพอพอลโล (Apollo) ซึ่งถูกเนรเทศ
ลงมาจากสวรรค์เช่นกันแต่โดยสาเหตุต่างกัน อาสาช่วยโปเซดอนสร้างกำแพงอีกแรงด้วย โดยดีดพิณ
ให้หินเคลื่อนไปตามอำนาจของกระแสเสียงอันไพเราะ ทำให้ทุ่นแรงไปมาก งานจึงสำเร็จลง
โดยเรียบร้อยและรวดเร็ว
แต่ทว่าท้าวเลือมมิดอนเป็นกษัตริย์ละโมบและคิดโกง กลับบิดพลิ้วสัญญา ทำให้โปเซดอนคิดพยาบาท
จึงเนรมิตสัตว์ร้ายดังอสุรกายขึ้นจากทะเล เที่ยวไล่กินผู้คนชาวเมืองไปเป็นจำนวนมาก ชาวเมืองจึงตัดสินใจ
นำสาวพรหมจารีรูปงามพลีให้สัตว์ร้าย โดยผูกไว้กับโขดหินริมทะเล ตามคำแนะนำของเจ้าพิธีผู้เข้าทรงในเมือง
ปรากฏว่าสัตว์ร้ายดังกล่าวเมื่อกินหญิงสาวแล้วลงทะเลหายไปแต่มันหายไปเพียงปีเดียว ทำให้ชาวเมือง
ต้องทำการพลีหญิงสาวทุกๆ ปี ปีแล้วปีเล่าสัตว์ร้ายเฝ้าแต่เวียนมาตามกำหนดคำรบปี และทุกๆ ปีที่มันขึ้นมา
ก็จำต้องอุทิศสาวพรหมจารีพลีให้เสมอ จนในที่สุดชาวเมืองก็เห็นชอบพร้อมกันเลือกลูกสาวท้าวเลือมมิดอน เอง
ชื่อว่า ฮีไซโอนี (Hesione) เพื่อพลีให้กับสัตว์ร้าย
ฝ่ายท้าวเลือมมิดอนเองแม้จะไม่อยาก แต่ก็ขัดขวางชาวเมืองไม่ได้ จึงพยายามทุกวิถีทางที่จะช่วย
ลูกสาวของตน สุดท้ายจึงได้แต่ป่าวประกาศหาชายห้าวหาญที่สามารถฆ่าสัตว์ร้ายได้ โดยสัญญาว่า
จะประทานรางวัลให้อย่างงดงาม
ในขณะนั้นเอง เฮอร์คิวลิส (Hercules) ผ่านมาได้ยินข่าว จึงอาสาฆ่าสัตว์ร้ายและช่วยนางฮีไซโอนีได้พอดี
เมื่องานสำเร็จท้าวเลือมมิดอนยังไม่ทิ้งนิสัยเดิม กลับเพิกเฉยต่อสัญญาที่ไห้ไว้กับเฮอร์คิวลิส
เป็นเหตุให้เฮอร์คิวลิสผูกใจเจ็บ แต่เนื่องด้วยเฮอร์คิวลิสยังมีธุระอื่นที่ต้องทำ ครั้นเสร็จธุระดังกล่าวเฮอร์คิวลิส
ก็ได้รวบรวม สมัครพรรคพวกจำนวนหนึ่งยกเข้าล้อมกรุงทรอยและตีหักเข้าในเมืองได้ จากนั้น
ก็ได้จับท้าวเธอฆ่าเสีย ส่วนนางฮีไซโอนีนั้นได้ยกให้ เทลมอน (Telamon) สหายที่ร่วมกันตีเมืองทรอย
คำมั่นสัญญาที่ท้าวเลือมมิดอนประทานแก่เฮอร์คิวลิสนั้นคือ ถ้าเฮอร์คิวลิสฆ่าสัตว์ร้ายสำเร็จ
จะประทานม้างามๆ ฝีเท้าดีให้จำนวนหนึ่งตามที่เฮอร์คิวลิสประสงค์ ซึ่งเมื่อเฮอร์คิวลิสทวงรางวัล
พระเชษฐาของนางฮีไซโอนีชื่อ โพดาร์ซีส (Podarces) ได้ทูลแนะนำให้ท้าวเธอให้ปฏิบัติตามสัญญา
ดังนั้นเมื่อเฮอร์คิวลิสตีเมืองทรอยแตก จึงไม่ได้ประหารโพดาร์ซึส เพียงแค่จับไว้เพื่อเรียกค่าไถ่
ซึ่งต่อมาชาวกรุงทรอยก็ได้ไถ่ถอนเอากลับคืนไปสถาปนาเป็นกษัตริย์ ทรงนามว่า เพรียม (Priam) ต่อไป
ส่วนสัญญาที่ท้าวเลือมมิดอนละเมิดกับเทพโปเซดอน คือคำบนว่าจะถวายลูกโคกระบือท้องแรกทั้งหมด
เป็นเครื่องเซ่นสังเวย ณ แท่นบูชา ซึ่งการที่ท้าวเลือมมิดอนไม่แก้บนตามสัญญา ทำให้เกิดเรื่องวุ่นวายดังกล่าว
ยังเป็นเหตุทำให้ศึกครั้งสำคัญกรุงทรอยกับกรีก โปเซดอนดำรงในฐานะอริกับกรุงทรอยนั่นเอง
เทพโปเซดอนมีมเหสีนามว่า อัมฟิตริตี (Amphitrite) เป็นธิดาของเทพแห่งธารเนเรอุส ในตอนแรก
ที่เทพโปเซดอนขอวิวาห์กับนางนั้น อัมฟิตริตีไม่ยินดีด้วย นางหนีไปหลบซ่อนอยู่ที่อื่น ท้าวเธอจึงใช้
ให้ปลาโลมาไปค้นหาจนกระทั่งพบและนำมาถวายพระองค์ อัมฟิตริตีจึงได้เป็นจอมเทวีแห่งมหาสมุทร
เคียงคู่สวามี มีโอรสด้วยกันคือ ไทรตัน

โปเซดอนออกจะโชคดีกว่าซูสเทพบดีตรงที่มีมเหสีสงบเสงี่ยมมากกว่า เทวีอัมฟิตริตีปล่อยให้สวามีเจ้าชู้
กับสาวเจ้าอื่นได้โดยไม่หึงหวง ยกเว้นรายเดียวเท่านั้นคือรายของนาง ซิลลา (Seylla) ซึ่งเคยเป็น
นางไม้สวยงามมาก
ท้าวเธอหลงหัวปักหัวปำจนอัมฟิตริตีเทวีทนไม่ได้ จึงแอบลอบนำยาพิษไปโรยในสระน้ำที่นางซิลลา
ลงอาบประจำ ทำให้นางกลายร่างจากสาวงามเป็นนางอสูรร้ายที่น่าสะพรึงกลัวไปทันที นับว่าเป็นครั้งแรก
และครั้งเดียวที่อัมฟิตริตีเทวี กระทำรุนแรงกับชายาของสวามี
ในรูปร่างของม้าอีกเช่นกันที่เทพจ้าวสมุทรแอบไปพิสมัยกับนางอัปสรบริวารของเทวีเอเธน่า นางนั้นคือ
เมดูซ่า (Medusa) ในตำนานตอนนี้กล่าวไว้ว่า นางเป็นนางอัปสรที่สวยงามยิ่ง แต่เพราะไปหลงใหล
ใฝ่ฝันเทพโปเซดอนเข้า เทวีเอเธน่าจึงพิโรธโกรธเกรียว สาปให้นางมีผมเป็นงูไปทันที และทำให้นาง
น่าขวัญหนีดีฝ่อจนผู้ใดเห็นเข้าจะกลายร่างเป็นหินแข็งชาไปหมด แต่เพราะการได้ร่วมอภิรมย์
กับโปเซดอนในรูปร่างของม้า เมื่อวีรบุรุษเปอร์ซีอุสตัดศีรษะนางขาดออกนั้น เลือดที่กระเซ็นออกมา
กลายจึงเป็นม้าวิเศษ 2 ตัว ตัวหนึ่งคือ คริสซาออร์ (Chrysaor) และอีกตัวคือ ปีกาซัส (Pegasus)

บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 17.0.963.79 Chrome 17.0.963.79


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #6 เมื่อ: 22 มีนาคม 2555 01:30:27 »

ตอนที่ 7 เทพฮาเดส หรือ เฮดีส (Hades)



ในตำนานกรีกโบราณเทพที่เทพผู้เป็นใหญ่ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าโปเซดอน อีกองค์หนึ่งก็คือ ฮาเดส
หรือชาวโรมันเรียกว่า พลูโต แดนบาดาลหรือยมโลกและคนตายต่างก็อยู่ในความปกครองของเทพองค์นี้ทั้งหมด

คำว่า “พลูโต” นี้มีความหมายว่า เทพแห่งทรัพย์ เพราะถือกันว่านอกจากยมโลกแล้ว ท้าวเธอฮาเดส
ยังครองมวลธาตุล้ำค่าใต้พื้นพิภพอีกด้วย บางทีจึงมีชื่อว่า ดีส (Dis) แปลตรงตัวว่า ทรัพย์
บางแห่งกล่าวว่า ฮาเดสครองยมโลกและคนตายเท่านั้น ส่วนเทพผู้ครองความตายนั้นมี อีกองค์หนึ่ง
เรียกว่า แธนาทอส (Thanatos) ในภาษากรีก หรือ ออร์คัส (Orcus) ในภาษาลาตินเป็นคู่กันกับ
ฮิปนอส (Hpnos) เทพประจำความหลับ

แม้ว่าเทพฮาเดสอยู่ในเหล่าเทพแห่งเขาโอลิมปัส แต่เธอก็ไม่ค่อยจะได้ออกจากยมโลกขึ้นไป
ยังเขาโอลิมปัสเท่าไหร่นัก เธอเองก็ไม่ใช่แขกที่ใครๆ ยินดีต้อนรับ เพราะแม้แต่เทพเจ้าด้วยกันเองยังกลัว
เนื่องจากเธอปราศจากความเวทนาสงสาร แต่กอปรด้วยความยุติธรรม เธอมีหมวกวิเศษใบหนึ่ง
ที่สามารถทำให้ผู้สวมหายตัวได้


ภายในยมโลกนั้น ชาวกรีกในสมัยโบราณเชื่อว่า ดวงวิญญาณของคนทุกคุณเมื่อสิ้นชีวิตแล้วจะถูกพา
ไปรับคำพิพากษาของคณะเทพสุภาในยมโลก ซึ่งอยู่ในชั้นบาดาลใต้พื้นพิภพ เป็นอาณาจักร
อยู่ในความปกครองของเทพฮาเดส


การพาดวงวิญญาณคนตายลงไปยังบาดาลเป็นหน้าที่ของเฮอร์มิส เทพพนักงานสื่อสารของซูส ซึ่งตำแหน่ง
ของยมโลกนี้ บ้างก็ว่าอยู่ใต้สถานที่เร้นลับของโลก บ้างก็ว่าทางลงอยู่ที่ขอบพิภพโดยข้ามมหาสมุทรไป
ส่วนกวีในขั้นหลังๆ จึงบอกว่าทางลงมีหลายทางนั้นเอง ซึ่งทางลงนั้นนำไปถึงแม่น้ำแห่งความวิปโยค
ชื่อว่า แอกเคอรอน (Acheron) แม่น้ำนี้ไหลไปสู่แม่น้ำอีกสายหนึ่งเรียกว่าแม่น้ำแห่งความกำสรวล
ชื่อ โคไซทัส (Cocytus)
ตรงที่แม่น้ำทั้งสองสายนี้บรรจบกัน มีคนเรือจ้างแก่ๆ คนหนึ่งชื่อว่า เครอน (Charon) คอยรับวิญญาณข้ามฟาก
ไปสู่ยังประตูแข็งแกร่งดังเหล็กเพชร ซึ่งเป็นทางเข้าตรุลึกลงไปเรียกว่า ทาร์ทะรัส (Tartarus) ส่วนเขตชั้นนอก
ที่ผ่านมาแล้วเรียกว่า เออรีบัส (Erebus)
เครอนจะรับลงเรือแต่เฉพาะดวงวิญญาณที่มีเงินเบิกทางติดปากไปและได้ผ่านพิธีฝังเรียบร้อยแล้วเท่านั้น
อันนี้เห็นจะเป็นเหตุของชาวกรีกสำหรับประเพณีเอาเงินใส่ปากคนตายฝัง ซึ่งทุกวันนี้ก็ยังทำตามๆ กันอยู่หลายชาติ
ที่หน้าประตูทางเข้าตรุทาร์ทะรัส มีสุนัขเฝ้าตัวหนึ่งเรียกว่า เซอร์บิรัส, เซอร์เบอรัส (Cerberus) มีหัวสามหัว
หางเป็นหางมังกร มันจะยอมให้วิญญาณของคนทุกคนเข้าประตู แต่จะไม่ยอมให้กลับออกมาเป็นอันขาด
เมื่อไปถึงประตูนี้ วิญญาณแต่ละดวงจะถูกพาไปรับคำพิพากษาของสามเทพสุภา คือ แรดดะแมนธัส,
ไมนอส และ อือคัส
วิญญาณที่ชั่วร้ายจะถูกพิพากษาให้ต้องทนทุกข์ทรมานอยู่ในตรุทาร์ทะรัสไปชั่วกัลป์ ส่วนวิญญาณที่ดี
จะได้รับคำพิพากษาให้พาไปอยู่ยังทุ่งอีลิเซียน แดนสุขาวดีของกรีกที่เคยกล่าวถึงมาแล้ว
นอกจากแม่น้ำแอกเคอรอนกับโคไซทัสที่เอ่ยถึง ยังมีแม่น้ำอื่นอีกสามสายคั่นบาดาลไว้ต่างหากจากพิภพเบื้องบน
สายหนึ่งมีชื่อว่า เฟลจีธอน (Phlegethon) เป็นแม่น้ำไฟ สายที่สองชื่อ สติกส์ ( Styx ) เป็นแม่น้ำสาบาน
ของเทพทั้งปวง สายที่สามชื่อ ลีธี (Lethe) แม่น้ำแห่งความลืม หรือแม่น้ำล้างความทรงจำสำหรับให้ดวงวิญญาณ
ในตรุทาร์ทะรัสดื่มเพื่อล้างความจำในชาติก่อนให้หมด
อนึ่ง นอกจากคณะเทพสุภาแห่งยมโลก ยังมีคณะเทวีทัณฑกรอีกคณะหนึ่งประจำอยู่ในยมโลกเช่นกัน
เรียกว่า อิรินนีอิส (Erinyes) ทำหน้าที่ลงทัณฑ์แก่ดวงวิญญาณของผู้ประพฤติผิดทำนองคลองธรรมในมนุษย์โลก
ในชั้นเดิมเทวีทัณฑกรคณะนี้มีหลายองค์แต่ในที่สุดมีเหลือที่กล่าวนามเพียงสาม คือ ไทสิโฟนี (Tisiphone)
มีจีรา (Megaera) และ อเล็กโต (Alecto) แต่ละองค์มีรูปลักษณะดุร้ายน่ากลัว มีงูพันเศียรยั้วเยี้ย
ใครๆ ที่ทำบาปกรรมไว้ในโลกมนุษย์ จะหนีทัณฑกรรมที่เทวีทั้งสามพึงลงเอาไม่พ้นไปได้เลย คำอังกฤษ
เรียกเทวีทั้งสามนี้โดยรวมๆ กันไปว่า The Furies

เนื่องด้วยอุปนิสัยของเทพฮาเดส จ้าวแดนบาดาลออกจะเย็นชาแข็งกร้าว ปราศจากความเวทนาสงสารให้แก่ผู้ใด
แต่เต็มไปด้วยความยุติธรรมทุกขณะ เช่นนี้จึงเป็นเหตุให้ยากจะหาสตรีมาเป็นชายาครองบัลลังก์ปรโลกคู่กันได้
ดังนั้นเมื่อท้าวเธอเสด็จขึ้นมาบนพื้นพิภพในวันหนึ่ง และประสบพบพานโฉมงามนาม เพอร์เซโฟนี (Persephone)
ธิดาองค์เดียวของเจ้าแม่โพสพเทวี ดีมีเตอร์ เข้าให้ ฮาเดสลืมเลือนไปหมดสิ้นว่า อนงค์นางนี้ที่แท้จริง
คือหลานในไส้ของตน เพราะว่า ดีมิเตอร์เทวี เป็นน้องนางของพระองค์นั่นเอง จ้าวแห่งแดนบาดาลจึงไม่รอช้า
ฉุดคร่าเอาตัวเพอร์เซโฟนีลงไปสู่ดินแดนใต้พิภพ เพื่อครองคู่เป็นราชินีปรโลกด้วยความมิเต็มใจของนาง
ครั้นเมื่อซูสเทพบดีทรงตัดสินความให้เทพฮาเดสส่งเพอร์เซโฟนีคืนแก่พระมารดา ฮาเดสก็ใช้เล่ห์เพทุบาย
ลวงให้นางต้องมาหาท้าวเธอปึละ 3 เดือนทุกปีไป ดังนั้นในปึหนึ่งๆ ฮาเสจึงเป็นเทพพ่อม่ายอยู่ถึง 9 เดือน
มีเวลาได้ร่วมเขนยกับมิ่งมเหสีเพียงปีละ 3 เดือน เท่านั้น
แต่ทั้งที่ต้องประทับอยู่อย่างเดียวดายนานถึงปึละ 9 เดือน เทพฮาเดสก็พิสูจน์องค์เองว่าเป็นสวามีที่ซื่อสัตย์
พอสมควร ตลอดเรื่องราวประวัติของท้าวเธอ ปรากฏว่าฮาเดสมีเรื่องนอกใจชายาเพียง 2 ครั้งเท่านั้น
ครั้งหนึ่งได้แก่ ทรงหลงเสน่ห์ความน่ารักของนางอัปสรนามว่า มินธี (Minthe) แต่ทว่าความรักนี้มิยั่งยืน
ด้วยเหตุที่พระแม่ยายดีมิเตอร์เทวีทรงร้ายเหลือ ทั้งๆ ที่ไม่ชอบหน้าฮาเดสเท่าใดนัก แต่เมื่อท้าวเธอ
ทำท่าจะนอกใจธิดาของตนเข้าให้ เจ้าแม่ก็พิโรธโกรธเกรี้ยวจนกระทั่งไล่กระทืบมินธีนางอัปสรผู้น่าสงสาร
ตายคาบาทของเจ้าแม่ จ้าวแดนบาดาลเวทนาสงสารนางอัปสรน้อยนั้น จึงเปลึ่ยนร่างของนางให้กลายเป็น
พืชชนิดหนึ่งมีกลิ่นหอม และได้กลายเป็นพืชประจำพระองค์ตลอดมา
ส่วนการนอกใจครั้งที่สองนั้นได้แก่ ทรงรักชอบพอกับนาง เลอซี (Leuce) ธิดาของอุทกเทพโอซียานุส
แต่นางเลอซีมีบุญน้อย เพราะป่วยตายเสียก่อนที่จะตายด้วยมือของเจ้าแม่ดีมิเตอร์หรือเพอร์เซโฟนีเทวี
หลังจากที่นางตายไปแล้วก็กลายร่างเป็นต้นพ็อปลาร์ขาว ซึ่งกลายเป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์ในการทำพิธีการลึกลับ
ณ เมืองอีเลอซีส แต่ไม้ใหญ่อันเป็นพฤกษชาติประจำองค์ของเทพฮาเดสนั้นกลับเป็นต้นสนเศร้า (Cypress)
ส่วนดอกไม้ที่กำเนิดจากมินธีแล้ว ยังได้แก่ดอกขาวบริสุทธิ์ของนาร์ซิสซัส

ผู้คนในสมัยโบราณจะถวายสักการะแด่เทพฮาเดสด้วยแกะดำ ทำให้กลายเป็นพิธีกรรม
ที่เร้นลับสืบมาที่จะบูชายัญแด่เทพแห่งมรณะหรือเทพแห่งความชั่วร้ายอื่นๆด้วยแพะหรือแกะสีดำเช่นเดียวกัน


 ไฟลุก
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22 มีนาคม 2555 01:32:14 โดย Mckaforce » บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
wondermay
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #7 เมื่อ: 10 มิถุนายน 2555 02:34:27 »





ใครเป็นคนบอกกับมนุษย์ว่ามีเทพ

 หือ ? หือ ? หือ ? หือ ? หือ ? หือ ?
บันทึกการเข้า
wondermay
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #8 เมื่อ: 10 มิถุนายน 2555 02:39:33 »

ตอนที่ 2 กำเนิดเทพกับการแย่งอำนาจ




จีกับอูรานอสเถลิงอำนาจอยู่ ณ เทือกเขาโอลิมปัส
ต่อมาไม่นานก็ให้กำเนิด คาราวานเทพบุตรและเทพธิดาจำนวนมาก และประหลาดทั้งหมด


ฮ่าๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 10 มิถุนายน 2555 02:55:40 โดย Mckaforce » บันทึกการเข้า
wondermay
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #9 เมื่อ: 10 มิถุนายน 2555 02:45:48 »

ตอนที่ 3 โครนัสถูกโค่นเทพบัลลังก์



Horn

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 10 มิถุนายน 2555 02:56:16 โดย Mckaforce » บันทึกการเข้า
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 19.0.1084.52 Chrome 19.0.1084.52


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #10 เมื่อ: 10 มิถุนายน 2555 02:52:46 »

ตอนที่ 8 เทพเอเรส (Ares)



เทพผู้เป็นเจ้าแห่งการสงครามคือ มาร์ส (Mars) หรือ เอเรส (Ares) ซึ่งเป็นชู้รักของเทวีอโฟรไดท์
เธอเป็นบุตรองค์หนึ่งของเทพปริณายก ซูสกับเจ้าแม่เฮร่า และเป็นที่เกลียดชังของเทพและมนุษย์ทั้งปวง
เว้นแต่ชาวโรมัน ผู้มีนิสัยชอบการสงคราม
ชาวโรมันเทิดทูนสดุดีเทพองค์นี้ยิ่งนัก ถึงกับอุปโลกน์
ให้เป็นเทพบิดาของ โรมิวลัส (Romulus) ผู้สร้างกรุงโรม และพรรณนาสรรเสริญเกียรติคุณของเธอ
นานัปการ ตรงกันข้ามกับชาวกรีก ซึ่งนอกจากจะไม่นิยมเลื่อมใสเทพองค์นี้แล้ว ยังถือว่าเธอเป็นเทพ
ที่มีสันดานป่าเถื่อนดุร้าย ปราศจากความเมตตากรุณาเสียอีก

ในมหากาพย์อิเลียด ซึ่งเป็นบทกวีเกี่ยวกับการสงครามแท้ๆ เธอเป็นที่เกลียดชังตลอดเรื่อง
นักกวีโฮเมอร์ประณามเธอว่า “ยินดีในการประหัตประหาร มีมลทินด้วยเลือด เป็นอุบาทว์สำหรับมนุษย์ทั้งปวง”
เมื่อสรุปตามสายตาของกรีกดังกล่าวโดยสำนวนปัจจุบัน เราจะเห็นว่า เอเรสคือเทพอันธพาลของกรีก
เอเรสเป็นโอรสขององค์เทพซูสกับเฮร่าเทวี และทรงเป็นโอรสที่เทพบิดาซูสตรัสใส่หน้าเลยว่า
“เจ้าเป็นที่น่าชังที่ สุดในบรรดาลูกของข้า ทั้งโหดร้าย ดื้อด้านเหมือนแม่เจ้าไม่ผิด!”
ซึ่งวาทะประโยคนี้นับว่าวิจารณ์อุปนิสัยใจคอของ เอเรสได้ตรงเป็นที่สุด นอกจากโหดร้ายและดื้อดึง
เอเรสยังบุ่มบ่าม โกรธง่าย และนิยมความรุนแรงมาก นับว่าเป็นอุปนิสัยที่แตกต่างกับเจ้าแม่อาเธน่ามาก
ซึ่งเป็นเทวีแห่งสงครามเหมือนกัน

อาเธน่านั้นสุขุม เฉลียวฉลาดและกล้าหาญ จึงได้รับการยกย่องทั่วทุกหนแห่ง เป็นเหตุให้เอเรส
เกิดจิตริษยาเอามาก เป็นดั่งว่า “ฟ้าให้เอเรสเกิดแล้วไฉนให้อาเธน่ามาเกิดอีกเล่า” เวลาพบกันทีไร
จึงมักมีเรื่องทะเลาะวิวาทกันเป็นประจำ

มีครั้งสำคัญอยู่ครั้งหนึ่ง เมื่อไปพบกันกลางทางและมีเรื่องทะเลาะกันอย่างเคย เทพเอเรสเกิดบันดาลโทสะ
จึงขว้างจักรอันเรืองฤทธิ์แรงกล้าพอกับอสนีบาตขององค์ซูสเทพบิดาเข้าใส่อาเธน่า เจ้าแม่เอี้ยวหลบ
แล้วทรงยกเอาหินที่วางอยู่แถวๆ นั้นขึ้นทุ่มตอบกลับไป หินก้อนนั้นมิใช่หินธรรมดา แต่เป็นหินที่ตั้งไว้
เพื่อแสดงเขตแดนของนคร หินนั้นกระทบถูกเอเรสเข้าให้ถึงกับทรุดลงกองกับพื้น ก่อนที่เทวีอาเธน่า
จะกลับไปเจ้าแม่ยังกล่าวเยาะให้เจ็บใจเล่นด้วยว่า “เจ้างั่ง! เพียงแค่นี้เจ้าก็เดาได้แล้วใช่ไหมว่าเรี่ยวแรง
ของเรามากขนาดไหน อย่าแหยมมารบกวน เราอีกต่อไปเลย!”


เป็นที่น่าสังเกตอย่างหนึ่งเกี่ยวกับเอเรสองค์นี้ คือในฐานะที่เป็นเทพแห่งสงคราม ตามปกติหากรบที่ไหน
ต้องมีชัยที่นั่น แต่ผิดถนัดสำหรับเทพองค์นี้ หากว่าเอเรสรบที่ไหนปราชัยที่นั่นมากกว่า จนน่าประหลาดใจ

นอกจากจะพ่ายแพ้แก่เทวีอาเธน่าแล้ว ยังแพ้มนุษย์อีกด้วย อาทิเช่น วีรบุรุษเฮอร์คิวลิส เคยสังหารโอรส
ของเอเรสมาแล้ว ครั้นผู้เป็นพ่อเข้าช่วยลูก ก็ถูกต่อยตีจนต้องหลบหนีขึ้นไปบนโอลิมปัสแทบไม่ทัน
เมื่อนำเรื่องทูลฟ้องซูสเทพบดี ไท้เธอก็ตัดสินไกล่เกลี่ยให้เลิกรากันไป เนื่องจากแท้ที่จริง เฮอร์คิวลิส
ก็เป็นโอรสของไท้เธอเช่นเดียวกัน เพียงแต่มีมารดาเป็นมนุษย์สามัญ


เทพเอเรสมักเสด็จไปไหนๆ โดยรถศึกเทียมม้าฝีเท้าจัดมากมาย แสงเกราะและแสงศาตราวุธของเธอ
ส่องแสงเจิดจ้าบาดตาผู้พบเห็น มีบริวารที่ติดสอยห้อยตามอยู่ 2 คนคือ เดมอส (Deimos)
ซึ่งแปลว่าความกลัว กับ โฟบอส (Phobos) แปลว่าความน่าสยองขวัญ บริวารนี้บางตำนานกล่าวว่า
เป็นโอรสของเทพเอเรส ในทาง ดาราศาสตร์เมื่อตั้งชื่อดาวอังคารว่า มาร์ส ตามชื่อเทพแห่งสงครามแล้ว
ก็เลยตั้งชื่อดวงจันทร์บริวารทั้งสองของดาวอังคารว่า เดมอสกับโฟบอส ตามตำนานไปด้วยเลย


ในด้านความรักของเอเรสนั้นเร่รักไปเรื่อยเช่นเดียวกับเทพบุตรอื่นๆ ในโอลิมปัส ไม่ได้ยกย่องใครเป็นชายา
แต่มีเรื่องรักสำคัญของเอเรสอยู่ครั้งหนึ่งที่เกิดขึ้น ได้แก่การลักลอบเป็นชู้กับเทวีแห่งความงามและความรัก
นาม อโฟรไดท์

เมื่อเอเรสเป็นที่เกลียดชังของเทพและมนุษย์ (ชาวกรีก) เช่นนั้นพฤติการณ์ของเธอตอนเป็นชู้กับเทวีอโฟรไดท์
จึงเป็นที่ครหารุนแรง และมวลเทพก็คอยจ้องจับผิดก็เพราะความมืดของราตรีกาลเป็นใจ ตราบใดที่เธอหลบไปได้
ก่อนดวงอาทิตย์ของอพอลโลไขแสง หากยังจับไม่ได้คาหนังคาเขา ตราบนั้นพฤติการณ์ของเธอก็ยังคงเป็นความลับ
เธอเกรงกลัวอยู่ก็แต่แสงสว่าง ซึ่งเปรียบประดุจนักสืบของเทพอพอลโลเท่านั้น ถ้านักสืบนั้นแฉพฤติการณ์ของเธอ
ให้ประจักษ์แก่เทพอพอลโลแล้ว เทพอพอลโลก็คงจะนำความไปบอกแก่เทพฮีฟีสทัส ถึงกรณี
ที่เธอลักลอบกับเทวีอโฟรไดท์ เธอจึงวางยามไว้คนหนึ่งให้คอยปลุกเมื่อใกล้รุ่ง ผู้ทำหน้าที่นี้คือ
หนุ่มน้อยชื่อว่า อเล็กไทรออน (Alectryon)

ในคราวที่ความจะแตก อเล็กไทรออนหลับยามเพลินไปจนรุ่งเช้า เป็นเหตุให้อพอลโลเห็นเอเรสกับอโฟรไดท์
นิทราหลับอยู่ด้วยกัน อพอลโลจึงนำความไปบอกแก่เทพฮีฟีสทัส ฮีฟีสทัสสานร่างแหเหล็กเตรียมไว้ก่อนแล้ว
พอได้ความดังนั้นก็หอบร่างแหไปทอดครอบเอเรสกับอโฟรไดท์ไว้ให้เทพทั้งปวงมาดูและหัวเราะเยาะอย่างครื้นเครง
แล้วจึงปล่อยไป ฝ่ายเอเรสได้รับความอัปยศอดสูท่ามกลางธารกำนัลยิ่งนัก จึงสาปอเล็กไทรออนให้กลายเป็นไก่
ทำหน้าที่คอยขันยามในเวลาใกล้รุ่งทุกคืน เป็นการลงโทษในการที่หลับยาม ด้วยเหตุนี้ไก่ผู้ทุกตัวที่เกิดขึ้นในโลก
จึงสืบสกุลมาจากไก่อเล็กไทรออนตัวแรกนั้นทั้งสิ้น
และผลของการอภิรมย์ของคู่นี้ ทำให้เทวีอโฟร์ไดท์
ประสูติธิดาออกมาองค์หนึ่งนามว่า อาร์โมเนีย ซึ่งต่อมาได้เป็นราชินีแห่งนครธีบส์



** เป็นยังไงบ้างครับ สาเหตุที่ว่าทำไมไก่ตัวผู้เท่านั้นถึงจะขัน และจะต้องขันทุกเช้า
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11 มิถุนายน 2555 03:05:05 โดย Mckaforce » บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 19.0.1084.52 Chrome 19.0.1084.52


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #11 เมื่อ: 11 มิถุนายน 2555 03:15:04 »

ตอนที่ 9 เทพอพอลโล (Apollo)


ภาพเทพอพอลโล ที่คนมักชมว่าน้าแม๊คหล่อเหมือนเทพบุตรกรีก คงเป็นแบบนี้เองสินะ
ที่มาภาพจากอินเทอร์เน็ต


อพอลโล (Apollo) เทพคู่แฝดผู้น้องของเทวีอาร์เธมิส คือเทพครองดวงอาทิตย์ ซึ่งภายหลังชาวกรีก
และโรมันถือว่าเป็นดวงอาทิตย์ทีเดียว เหมือนอย่างที่ถืออาร์เตมิสเป็นดวงจันทร์ฉันนั้น


ในชั้นดั้งเดิมสุริยเทพของกรีกคือ ฮีลิออส (Helios) ซึ่งเป็นบุตรของ โอเพอร์เรียน (Hyperion)
ในคณะเทพไทแทน แต่เมื่อคณะเทพไทแทนสิ้นอำนาจ ชาวกรีกจึงนับถือเทพอพอลโลแทนสืบต่อมา
เมื่อ นางแลโตนา มารดาของอพอลโล ถูกกระทำด้วยความหึงของเจ้าแม่เฮร่า เพราะเหตุเป็นที่
ปฏิพัทธ์เสน่หาของซูส ต้องอุ้มครรภ์หนีงูไพธอน (Python) ของเจ้าแม่ ซอกซอนไปไม่มีที่
จะให้ประสูติบุตรในครรภ์ได้ จนถึงเกาะดีลอส (Delos) เทพโปเซดอนมีความสงสารบันดาลให้เกาะน้อย
ผุดขึ้นในทะเล นางจึงให้ประสูติอพอลโลกับอาร์เธมิส บนเกาะนั้น


http://hoocher.com/Eugene_Delacroix/Apollo_Slays_Python_detail_1850_51.jpg
ประวัติเทพกรีก เจาะลึกที่มาของตำนานเทพแห่งเขาโอลิมปัสอันเกรียงไกร

ภาพอพอลโล่สังหารงูยักษ์ไพธอนได้ตั้งแต่แรกเกิด

ในทันทีที่ประสูติจากครรภ์มารดา อพอลโลก็จับงูไพธอนฆ่าเสีย ด้วยเหตุนี้ บางทีอพอลโล
ก็เป็นที่เรียก ขานว่า ไพธูส (Pytheus) แปลว่า “ผู้ประหารไพธอน” นอกจากนี้อพอลโลยังมีชื่ออื่นๆ
อีกหลายชื่อ มีชื่อตาม สถานที่เกิดว่า ดีเลียน (Felian) ฟีบัส (Phoebus) แปลว่า “โอภาส” หรือ
“ส่องแสง” เป็นอาทิ ชื่อหลังนี้มัก ใช้บวกกับชื่อประจำว่า ฟีบัส อพอลโล เนืองๆ

เมื่อให้ประสูติบุตรแล้ว นางแลโตนาก็ยังไม่พ้นการรังควานของเจ้าแม่เฮร่า ต้องดั้นด้นเซซังต่อไป
จนถึงแคว้น เคเรีย (Caria) ซึ่งอยู่ในเอเซียไมเนอร์ปัจจุบันนี้ นางจำเป็นต้องหยุดพัก ณ ริมหนองน้ำแห่งหนึ่ง
ด้วยโรยกำลัง และขอดื่มน้ำจากพวกชาวบ้านที่ออกมาถอนหญ้าคาอยู่ในบริเวณนั้น
พวกชาวบ้านแทนที่จะสมเพชสงสาร กลับไล่ตะเพิดและด่าทอนางด้วยคำหยาบช้า ทำให้ซูสเทพบดีกริ้วจัดนัก
ถึงแก่สาปชาวบ้านเหล่านั้นให้กลายเป็นกบไปทั้งหมด ตำนานเรื่องนี้เห็นจะแสดงว่าใน ละแวกนั้นมีกบชุม
และกบปัจจุบันอาจสืบเชื้อสายจากชาวบ้านที่ถูกสาปเหล่านั้นก็เป็นได้


อพอลโลเป็นเทพที่ชาวกรีกถือว่ามีรูปงามยิ่ง และเป็นนักดนตรีผู้ขับกล่อมเทพทั้งปวงบนเขาโอลิมปัส
ด้วยพิณถือของเธอ นอกจากนี้เธอยังมีคันธนูซึ่งยิงได้ไกล จึงได้สมญานามว่า เทพขมังธนู
ใช่แต่เท่านั้นเมื่อไร เธอยังเป็นเทพผู้ถ่ายวิชาโรคศิลป์ ให้แก่มนุษย์เป็นปฐม เป็นเทพแห่งแสงสว่าง
ผู้ขจัดความมืดและเป็นเทพแห่งสัจธรรม ผู้ไม่เคยเอ่ยวาจาเท็จอีกด้วย

วิหารของเทพอพอลโลนั้น มีอยู่ดาษดื่นทั่วไปในประเทศแต่ที่สำคัญที่สุดได้แก่วิหาร ณ เมืองเดลฟี
ใกล้ทิวเขาพาร์นาซัส รูปอนุสาวรีย์ โคลอสซัส (Colosus) ที่เขาสร้างอุทิศแด่เธอ ณ เกาะ โรดส์
(Rhodes) นั้นเป็นสิ่งหนึ่งในสิ่งอัศจรรย์ทั้ง 7 ของโลกสมัยโบราณทีเดียว

เทพอพอลโลได้สำแดงวีรกรรมสังหารผลาญชีวิตคนพาลมากมาย นอกจากเคยฆ่างูยักษ์ไพธอน
จนมีชื่อเสียงมหาศาลแล้ว ยังสามารถสังหารยักษ์ อโลอาดี (Aloadae) และ อีฟิอัลทิส (Ephialtes)
ซึ่งเป็นเชื้อสายของวงศ์ไทแทนคิดล้มซูสเทพบดีเพื่อฟื้นวงศ์ไทแทนคืนมา เป็นต้น
แต่มีครั้งหนึ่งที่อพอลโลยังไม่อาจเอาชนะมนุษย์คนหนึ่งได้ จนร้อนถึงไท้เทพซูสต้องออกมาประนีประนอม
บุรุษเดินดินคนนั้นนามว่า เฮอร์คิวลิส หรือ เฮลาคลิสนั่นเอง
เหตุเกิดเพราะเฮอร์คิวลิสไปขอคำพยากรณ์
ที่วิหารเดลฟีแล้วได้รับคำทำนายไม่ถูกใจ จึงล้มโต๊ะพิธีในวิหารแล้วฉวยเอากระถางธูปไป
เทพอพอลโลรีบรุดตามไปท้าเล่นมวยปล้ำเพื่อชิงเอากระถางคืน ปล้ำกันอยู่นานไม่อาจรู้แพ้ชนะ
ชะรอยซูสเห็นท่าว่าขืนปล่อยไว้นานอพอลโลอาจจะเสียเปรียบพ่ายแพ้แก่มนุษย์เข้าได้
และอาจเสียหน้าวงศ์เทพแน่ จึงเสด็จลงไปห้ามปรามให้เลิกราต่อกัน ขอให้เฮอร์คิวลิสคืนกระถางธูป
แก่อพอลโลแล้วให้เลิกราเรื่องบาดหมางต่อกัน เรื่องราวก็เลยจบลงด้วยดี

เทพอพอลโลมีอุปนิสัยไม่ยอมแพ้ใครอยู่ไม่น้อย เห็นได้จากที่ไปแข่งเป่าขลุ่ยกับมาไซยาส์
ซึ่งเป็นเทพชั้นรอง แล้วตั้งกรรมการตัดสินว่าผู้ใดเป่าเก่งกว่ากัน พระเจ้าไมดาส
(Midas องค์ที่จับอะไรก็กลายเป็นทอง) เกิดตัดสินเข้าข้างมาไซยาส์ เพียงเท่านี้ อพอลโลก็ไม่ฟังอะไรอีก
จึงสาปให้ไมดาสมีหูเป็นลาไปทันที

ตามเรื่องต่างๆ ที่เธอมีบทบาทอยู่ อพอลโลดูจะเป็นเทพใจสูงกว่าองค์อื่นๆแต่ถึงกระนั้นก็มีอยู่ 2-3 เรื่อง
ที่แสดงให้เห็นความโหดเหี้ยมดุร้ายของเธอดังเราจะเห็น จากเรื่องต่อไปนี้ (ติดตามตอนต่อไปโพสท์ล่างจ้ะ)

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11 มิถุนายน 2555 03:35:57 โดย Mckaforce » บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 19.0.1084.52 Chrome 19.0.1084.52


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #12 เมื่อ: 11 มิถุนายน 2555 03:27:06 »

ตอนที่ 10 การลงโทษนางไนโอบี

ต่อจากโพสท์บน เราได้กล่าวถึงความโหดเหี้ยมทารุณของอพอลโลค้างไว้ ซึ่งเราก็แยกออกมาอีกตอนหนึ่ง
เพราะตอนนี้เป็นที่มาเชิงเปรียบเทียบ อุปมา อุปมัย กับเรื่องของฤดูกาล และอำนาจของแสงอาทิตย์
ว่าแล้วเราก็มาต่อกันเลยดีกว่า


ภาพบุตร ธิดาของนางไนโอบีโดนไล่ฆ่า ภาพจากอินเทอร์เน็ต

เรื่องของเรื่องก็คือ...

เทพอพอลโลกับเทวีอาร์เธมิสเป็นที่สวาสดิ์ภาคภูมิใจของมารดายิ่งนัก นางถึงแก่โอ้อวดคุยฟุ้งเฟื่องไปไกล
ว่าจะหาบุตรใครเสมอบุตรของนางเห็นจะไม่มีอีกแล้ว ไม่ว่าจะเปรียบกันในเชิงสิริรูป สติปัญญา พลังอำนาจ
ก็ต้องแพ้บุตรของนางหลุดลุ่ย ความนี้เลื่องลือไปถึงนางไนโอบี (Niobe) ซึ่งเป็นธิดาของท้าวแทนทะลัส
(Tantalus) และมเหสีเจ้ากรุงธีบส์ (Thebes) นางไนโอบีกลับหัวเราะเยาะและค่อนว่า
นางแลโตยามีลูกจะอวดกับเขาแต่เพียง 2 เท่านี้หรือ ส่วนนางเองสิมีถึง 14 เป็นชาย 7 คน
ล้วนแต่มีรูปกำยำงามสง่า และเป็นหญิงล้วนแต่ทรงโฉมวิลาสวิไลถึง 7 คน
นางไนโอบีลั่นวาจาก้าวร้าวสบประมาทนางแลโตนาอีกเป็นอันมาก ซ้ำยังกำเริบเสิบสานถึงแก่ห้ามชาวเมือง
กระทำบูชาเทพอพอลโลและเทวีอาร์เธมิส แถมบังอาจสั่งให้ทำลายรูปเคารพเทพและเทวีคู่นี้
จากแท่นที่บูชาในอาณาจักรของนางอีกด้วย นางแลโตนาโกรธแค้นหนักหนาในการที่ถูกหยามหยาบถึงเพียงนี้
จึงเรียกบุตรและธิดาเคียงข้างและสั่งให้ออกตามฆ่าบุตรและธิดาของนางไนโอบีเสียให้สิ้น


 โอ๊ะ

เทพบุตรเทพธิดาคู่แฝดอยู่ในอารมณ์ขึ้งเครียดเต็มที่ จึงขมีขมันออกไปตามคำสั่งทันที อพอลโลพบมานพทั้ง 7
ออกล่าสัตว์ จึงประหารเสียด้วยลูกธนูตายหมดทั้ง 7 คน เมื่อข่าวการตายของบุตรรู้ไปถึงนางไนโอบี
นางก็โศกเศร้าโทมนัสนัก ฝ่ายเจ้ากรุงธีบส์สวามีก็ทำลายตัวเองสิ้นไปด้วยอีกคนหนึ่ง ยังเหลือธิดาทั้ง 7
ยังไม่ทันที่มารดาจะวายโศก ก็ถูกเทวีอาร์เธมิสจองประหารอีก มิไยสาวผู้ถึงฆาตทั้ง 7 จะพยายามหนี
ให้พ้นลูกธนูของเจ้าแม่แห่งนายพรานอย่างไรๆ ก็ไม่สำเร็จ แม้นางไนโอบีจะพยายามปกป้องลูก
และอ้อนวอนขอความอารักขาคุ้มครองจากทวยเทพบนเขาโอลิมปัสสักเท่าใดก็ไม่เป็นผล
ธิดาของนางต้องศรล้มกลิ้งตายกันระเนระนาด ที่สุดจนนางที่ซุกอยู่ระหว่างอุระของมารดา เทวีอาร์เธมิส
ผู้อาฆาตก็ไม่ละเว้น ลูกธนูของเจ้าแม่แล่นเข้าเป้าเสียบนางนั้น ให้วายชีวิตไปแทบอุระของมารดาจนได้

นางไนโอบีสูญสิ้นทั้งสามีและบุตรธิดาที่มาดหมายเหลือแต่นางเดียวดายถึงไม่ตายก็เหมือนตาย
ความเศร้ารันทดหนุนเนื่องประดังขึ้นมาแน่นอุระ นางก็แข็งชาไปทั้งร่างกาย มิอาจจะขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวได้
อนิจจา! ร่างของนางกลายเป็นหินตื้อตันไปหมด คงอยู่แต่หยาดน้ำตารินไม่สิ้นสุด แต่วันนั้นมาจนวันนี้
น้ำตานางจะหยุดไหลก็หาไม่ ส่วนรูปหินของนางไนโอบีก็ยังปรากฏอยู่บนเขาไซปิลัส (Sipylus)
จนตราบเท่าทุกวันนี้


นักเทพปกรณัมวิทยาเขาว่ากันว่า เรื่องนี้ก็คือ ตำนานเปรียบเทียบถึงอำนาจของแสงอาทิตย์
เมื่อสิ้นฤดูหนาวซึ่งนางไนโอบีนั้นหมายถึงฤดูหนาว บุตรทั้ง 7 คือระยะกาลแห่งความหนาว
และลูกธนูของอพอลโลก็คือแสงอาทิตย์


บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 19.0.1084.52 Chrome 19.0.1084.52


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #13 เมื่อ: 11 มิถุนายน 2555 03:45:53 »

ตอนที่ 11 อพอลโลถูกเนรเทศ



เมื่อยังเยาว์อพอลโลเที่ยวไปตามแว่นแคว้นต่างๆ ทางทิศเหนือของประเทศกรีซ มีดินแดนของชนชาติ
ไฮเพอร์โบเรียนและแคว้นเธสสะลีเป็นต้น เธอเที่ยวผูกสมัครรักใคร่หญิงทั่วไปตามวิสัยหนุ่มรุ่น
ในแคว้นเธสสะลีมี สาวเจ้าคนหนึ่งงามนัก ชื่อว่าโครอนนิส (Coronis) เป็นธิดาเจ้าแห่งแคว้นนั้น
อพอลโลผูกสมัครรักใคร่ได้เสียกับนางจนเกิดบุตรด้วยกันคนหนึ่ง แต่นางกลับปรากฏว่าเป็นหญิงหลายใจ
ในระหว่างที่นางมีครรภ์ อพอลโลให้นกดุเหว่าขนขาวปลอดตัวหนึ่งเฝ้านางไว้ เมื่อนางคบชู้
นกก็ไปบอกข่าวแก่เทพผู้เป็นนาย อพอลโลบันดาลโทสะ พลอยสาปนกซึ่งบอกข่าวอัปมงคล
ให้กลับมีขนสีดำไป ดังนั้นนกดุเหว่าจึงมีขนสีดำตั้งแต่นั้นมา
ส่วนนางโครอนนิสถูกฆ่า ว่ากันว่า
ด้วยน้ำมือของเทพอพอลโลเองบ้าง ด้วยคมศรของเจ้าแม่อาร์เธมิสบ้าง แต่บุตรในครรภ์
ซึ่งจวนจะครบกำหนดคลอดนั้นรอดตายด้วยอพอลโล (บ้างก็ว่าเฮอร์มีส) เอาออกจากครรภ์
ตอนเผาศพนางโครอนนิสแล้วมอบให้แก่ ไครอน (Chiron) ผู้มีชาติเป็นอมนุษย์ เซนทอร์ (Centaur)
เป็นผู้เลี้ยงดู ประสิทธิ์ประสาทวิชาให้

ไครอนนี้เป็นอาจารย์ผู้ปราดเปรื่อง เชี่ยวชาญในวิชาการต่างๆ มีวิชาดนตรี เภสัชกรรมวิทยา
และวิชาธนูศิลป์ เป็นต้น เป็นที่นับถือของชาวกรีกโบราณว่า เป็นผู้สอนมนุษย์ให้รู้จักใช้พืชสมุนไพรทำยา
และเป็นอาจารย์ของวีรบุรุษคนสำคัญๆ ในเทพปกรณัมมากมาย เช่น อคิลีส, เฮอร์คิวลีส, เยสัน, พีลูส,
อีเนียส และคนอื่นๆ อีก

ในตอนปลายอายุถูกเฮอร์คิวลีสยิงด้วยธนูอาบยาพิษ โดยความสำคัญผิดของเฮอร์คิวลีสในระหว่างที่ตามล้าง
เซนทอร์พวกหนึ่ง แม้เฮอร์คิวลิสจะช่วยแก้ไขให้รอดตาย และไครอนแม้จะเป็นหมออยู่กับตัว
แต่ก็ไม่สามารถถอนพิษยาได้ พิษยาบันดาลให้ไครอนเจ็บปวดรวดร้าวนักหนา ซูสเทพบดีจึงโปรด
ให้กลายเป็นดาวอยู่ในกลุ่มดาวชื่อ แซชจิเตริอัส (Sagitarius)


บุตรของเทพอพอลโล ที่อาจารย์ไครอนรับฝากไว้นั้นได้ขนานชื่อว่า เอสคิวเลปิอัส (Aesculapius)
เป็นเด็กฉลาดเฉลียวมีความเข้าใจแตกฉานและเป็น ที่รักของอาจารย์อย่างยิ่งวิชาที่เขาใส่ใจศึกษาที่สุด
ได้แก่ โรคศิลป์ เพราะฉะนั้นเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ขี้น เขาจึงกลายเป็นหมอบำบัดโรคผู้มีความสามารถยิ่ง

ความสามารถของเอสคิวเลปิอัสในการบำบัดโรคนั้นยิ่งกว่าของอาจารย์มาก ด้วยที่สามารถบำบัดโรค
และความป่วยไข้ได้ทุกชีวิต ซึ่งไครอนเองทำไม่ได้ ในไม่ช้าชื่อเสียงของเอสคิวเลปิอัสก็เลื่องลือไปไกล
ไม่ว่าใครจะเจ็บไข้ได้ป่วยหนักหนาสาหัสหรือเล็กน้อย ถ้าได้รับการบำบัดจากเขาแล้วก็ทุเลาลงอย่างรวดเร็ว
จนกล่าวได้ว่าหายวันหายคืนเลยทีเดียว ผู้คนพากันไปขอรับการบำบัดโรค ณ สำนักของเขา
ทั้งจากใกล้และไกลทุกทิศทาง นับว่าการบำเพ็ญประโยชน์ของ เอสคิวเลปิอัสแผ่ไพศาลยิ่งทั้งโดยเนื้อนาบุญ
และโดยระยะทาง

ความสามารถของเอสคิวเลปิอัสเป็นที่เลื่องลือไปจนว่ากันว่า ครั้งหนึ่งเขาสามารถแก้คนตายให้ฟื้นได้
อันเป็นเหตุให้เทพปริณายกซูสกับเทพฮาเดส เจ้าแห่งแดนคนตายเดือดร้อน ทั้งริษยาและหวั่นเกรง
ในอำนาจบารมีของเอสคิวเลปิอัส หากปล่อยไว้นานไปเบื้องหน้าจะทำให้มนุษย์กำเริบอีก
เห็นว่าจะละไว้มิได้ ซูสจึงประหารเอสคิวเลปิอัสด้วยอสนีบาต

เทพอพอลโลบันดาลโทสะกล้าในการตายของบุตร แต่ไม่รู้จะโกรธเอากับเทพบิดาอย่างไร จึงหันไปไล่ เบี้ย
เอากับช่างประกอบอสนีบาตถวายซูส คือ เทพฮีฟีสทัส กับยักษ์ไซคลอปส์ เธอน้าวคันธนูเงินมุ่งจะยิงธนู
สังหารยักษ์ไซคลอปส์เสียให้สมแค้น แต่ซูสไม่ยอมให้อพอลโลทำเช่นนั้นได้ และเพื่อจะลงโทษบุตร
ในความอุกอาจดังนี้ ไท้เธอจึงเนรเทศอพอลโลให้ลงมาอยู่ในมนุษย์โลก และให้เป็นข้าของมนุษย์
เป็นเวลา 1 ปีเสียก่อน จึงจะพ้นโทษ



จะว่าไปเทพโอลิมปัสนี่ก็ใจร้อน ขี้กลัว และหวาดระแวงเหมือนกันนะ
จากเหตุการณ์ที่บุตรของอพอลโลชุบชีวิตคนได้เท่านั้นแหละ ทวยเทพระดับท็อปถึงกับดิ้นพราดเลยทีเดียว


 หัวเราะลั่น หัวเราะลั่น หัวเราะลั่น หัวเราะลั่น หัวเราะลั่น


บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
wondermay
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #14 เมื่อ: 11 มิถุนายน 2555 12:52:25 »

wanna going to greece"""""""""""""""""""""" ตลก
บันทึกการเข้า
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 19.0.1084.52 Chrome 19.0.1084.52


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #15 เมื่อ: 11 มิถุนายน 2555 20:10:10 »

ตอนที่ 12 เรื่องของเฟอิทอน



นอกจากเอสคิวเลปิอัสแล้ว อพอลโลยังมีบุตรอีกคนหนึ่ง แต่เกิดกับนางอัปสรไคลมินี (Clymene)
ชื่อ เฟอิทอน (Phaeton) วันหนึ่งเฟอิทอนถูกเพื่อนเรียนหนังสือด้วยกันหัวเราะเยาะในการที่อ้างตน
เป็นบุตรสุริยเทพ เฟอิทอนทั้งเคืองทั้งอับอายกลับมารบเร้าให้มารดาพาไปหาบิดา เพื่อให้ได้หลักฐานพิสูจน์ว่าตน
เป็นบุตรเทพอพอลโลจริง นางไคลมินีจึงบอกทางให้บุตรเดินทางไปทางทิศตะวันออกจนกว่าจะถึงวังที่ประทับ
ของอพอลโล ณ ที่นั้นจะได้พบกับบิดาสมประสงค์

เฟอิทอนรีบดั้นเดินทางโดยไม่หยุดพัก จนล่วงเข้าเขตวังของบิดา แม้ภูมิทำเลบริเวณวังจะงดงามตระการเพียงใด
และตำหนักที่ประทับของอพอลโลก็เรืองวิจิตรน่าพรึงเพริดสักปานใด เฟอิทอนก็หาแยแสใส่ใจไม่
ฝ่ายอพอลโล เห็นกุมารเข้าไปใกล้ก็จำได้ว่าเป็นบุตร และเมื่อเฟอิทอนขึ้นถึงบัลลังก์ที่เธอประทับอยู่
เธอก็ปฏิสันถารกับเฟอิทอนอย่างบิดากับบุตร สั่งถามถึงธุระในการที่มาเฝ้า เฟอิทอนจึงทูลแถลงถึงเรื่องราว
และความที่พึงประสงค์ พอจบเทพอพอลโลก็ออกอุทานวาจาว่า อนุญาตให้เฟอิทอนได้ข้อพิสูจน์
ตามแต่จะพึงประสงค์ พร้อมทั้งสาบานยืนยันมั่นคง โดยอ้างแม่น้ำสติกส์เป็นทิพยพยานอีกด้วย

เป็นเกร็ดเล็ก ๆ น้อย ๆ ของอพอลโล เอามาให้อ่านเสริมเข้าไปเฉย ๆ ครับ

 ยิ้ม
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 19.0.1084.52 Chrome 19.0.1084.52


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #16 เมื่อ: 11 มิถุนายน 2555 20:28:20 »

ตอนที่ 13 ตำนานพฤกษชาติเกี่ยวกับเทพอพอลโล

ในบรรดาเรื่องที่เกี่ยวกับเทพอพอลโลโดยตรงมีตำนานพฤกษชาติที่น่ารู้รวมอยู่ ด้วย 2-3 เรื่อง

เรื่องหนึ่งได้แก่ ตำนาน ต้นชัยพฤกษ์ ซึ่งชาวกรีกถือว่าเป็นต้นไม้คู่บารมีของสุริยเทพทีเดียว
เรื่องหนึ่งคือตำนานของต้นไม้น้ำ ที่เราเรียกว่า ผักตบ กับตำนานต้นสนป่า และอีกเรื่องหนึ่ง
เป็นตำนานต้นทานตะวัน



ตำนานต้นชัยพฤกษ์นั้น อยู่ในเรื่องเกี่ยวกับนาง แดฟนี (Daphne) ซึ่งเป็นนางอัปสรรูปงาม ธิดาของ
พีนูส (Peneus) เทพประจำแม่น้ำ


ตามเรื่องเล่าว่า อพอลโลได้พบนางในกลางป่า ให้บังเกิดความพิสมัย จึงเยื้องกราย เข้าหาหมายจะแทะโลม
แต่ไม่ทันถึงนางก็วิ่งหนีไปเสียแล้ว ฝ่ายอพอลโลอารามที่ลืมไม่ว่าอะไรอื่นทั้งสิ้นจึงวิ่งตาม วิ่งพลางร้องเรียก
ให้นางแดฟนีหยุดแม้ชั่วขณะหนึ่งเท่านั้นก็ตามที เธอสัญญาว่าจะไม่ทำอันตรายเลย นางอัปสร
ไม่ยอมฟังคำสัญญาหรือวิงวอน ตั้งหน้าแต่รุดหนีอย่างเดียว ฝ่ายอพอลโลก็วิ่งกวด ตามไปโดยไม่ลดละ
จนนางแดฟนีเริ่มอ่อนกำลังและตระหนักว่าฝ่ายไล่กำลังรุกกระชั้นเข้าไปทุกที นางจึงวิ่งหนีกระหืดกระหอบ
อกสั่นลงยังริมฝั่งแม่น้ำของบิดา ขอให้แปลงร่างนางเสีย หรือบันดาลให้นางจมลงไปในปฐพี
ยังมิทันที่นางจะถึงริมฝั่งน้ำดี นางก็รู้สึกเหมือนหนึ่งตัวเองถูกตรึงติดกับพื้น เท้าหยั่งลงในดินเป็นราก
ผมและมือก็งอกออกเป็นใบ ส่วนเครื่องคลุมกายกลายเป็นเปลือกไม้ ปกคลุมร่างอันสั่นเทาของนางไป
บิดาของนางตอบสนองการที่นางร้องให้ช่วยแล้ว โดยเปลี่ยนนางเป็นต้นชัยพฤกษ์อยู่ ณ ที่นั้น

ฝ่ายอพอลโลตามมาทันไม่เห็นนาง เห็นแต่ต้นไม้ ครั้งแรกเธอไม่รู้สึกเลยว่า สาวเจ้าลับจากเธอไปแล้ว
โดยไม่มีวันจะได้พบอีก แต่เมื่อความจริงเป็นที่ปรากฏดังนั้น เธอจึงมีเทพบรรหารว่า นับแต่บัดนี้
ต้นชัยพฤกษ์ จงเป็นต้นไม้ที่โปรดปรานของเธอ อันคนหลายคนพึงเด็ดช่อใบร้อยพวงมาลา
เป็นรางวัลแก่กวีและนักดนตรีสืบไป


เรื่องอพอลโลกับนางแดฟนีนี้ นอกจากจะแสดงตำนานของต้นชัยพฤกษ์แล้ว ยังเป็นนิทาน อุปมา
ถึงปรากฏการณ์ของธรรมชาติ ที่เกิดเป็นประจำวันเกี่ยวกับดวงอาทิตย์ (อพอลโล) และน้ำค้าง (แดฟนี)
อีกด้วย กล่าวคือยามดวงอาทิตย์ทอแสงลงมาเยี่ยมโลกเมื่อรุ่งอรุณ น้ำค้างที่ยังเหลืออยู่ตามใบไม้ใบหญ้า
และตามพื้นดินก็หายไปดุจดังนางแดฟนีหนีลับจากอพอลโล ตามท้องเรื่องที่เล่ามาแล้วฉะนั้น






ต่อไปนี้จะเล่าตำนานผักตบและต้นสนป่า ตามท้องเรื่องที่เล่าสืบๆ มา ในเทพปกรณัมของกรีกว่า อพอลโล
มีมนุษย์เป็นเพื่อนที่สนิทเสน่หาอย่างยิ่งคนหนึ่งชื่อว่า ไฮยาซินทัส (Hyacinthus) และมานพนี้ก็เป็นเพื่อนกับ
เซฟไฟรัส (Zephyrus) เทพประจำลมตะวันตกด้วย

เซฟไฟรัสมีความริษยาสุริยเทพ และเคืองแค้นไฮยาซินทัส ในการที่สนิทสุริยเทพยิ่งกว่าตน
วันหนึ่งอพอลโลกับไฮยาซินทัสเล่นทอยห่วงเหล็กกัน เซฟไฟรัสผ่านมาพบเข้า จึงคิดแกล้งให้อพอลโล
โทมนัสโดยทำให้ไฮยาซินทัสตายเสีย เซฟไฟรัสก็แกล้งเป่าเหล็กของอพอลโลโดยแรงให้ถูกคู่เล่นล้มลง
ฝ่ายอพอลโลเห็นเหตุ นั้นจึงกระทำปฐมพยาบาลห้ามเลือดซึ่งไหลออกจากแผลไฮยาซินทัส
แต่เลือดก็หาหยุดไหลไม่ ไฮยาซินทัสทนพิษบาดแผลไม่ได้ จึงสิ้นใจลงในขณะนั้นเอง อพอลโลโทมนัส
ในการตายของปิยมิตรยิ่งนัก และเพื่อให้เป็นเครื่องระลึกถึงปิยมิตรผู้ตายเธอจึงบันดาลให้เลือดของไฮยาซินทัส
ที่ตกกองอยู่นั้นเป็นกอดอกไม้ เรียกว่า ไฮยาซิน (ผักตบ) ตามชื่อเจ้าของเลือดตั้งแต่นั้นมา

ภายหลังมรณะกรรมของไฮยาซินทัส อพอลโลหันไปคบมนุษย์เป็นเพื่อนอีกคนหนึ่งเพื่อให้หายโศก
มานพนี้เป็นพรานหนุ่มที่เฉลียวฉลาด มีชื่อว่า ไซพาริสสัส (Cyparissus) แต่รายนี้ก็อีก
เป็นมิตรภาพที่มีอันต้องสิ้นสุดลงด้วยความเศร้าโศก เป็นข้อยืนยันว่าอพอลโลมีความอาภัพในมิตรภาพ
กล่าวคือ ไซพาริสสัส บังเอิญฆ่าลูกกวางที่อพอลโลเลี้ยงไว้ ให้เสียใจนัก ไม่เป็นอันกินอันนอน
จนซูบผอมลงไปทุกที และในที่สุดก็ตายด้วยความตรอมใจ อพอลโลจึงประสาทให้ร่างอันปราศจากชีวิต
ของ ไซพาริสสัสกลายเป็นต้นสนป่า และบรรหารว่าสืบแต่นั้นให้ต้นสนป่าจงเป็นต้นไม้สำหรับความร่มรื่น
ให้เกิดแก่หลุมศพของคนผู้เป็นที่รักของญาติมิตรต่อไป


หน้าที่สำคัญที่อพอลโลปฏิบัติอยู่เป็นประจำวันนั้นได้แก่ การขับรถพระอาทิตย์ ขึ้นจากฟากมหาสมุทร
เมื่อรุ่งอรุณโคจรไปตามสุริยวิถี ผ่านฟากฟ้าโดยไม่หยุดพักเลย จนถึงเรือทองที่จะจอดคอยเธอในทิศตะวันตก
เมื่อสิ้นวันแล้วอพอลโลจึงลงเรือกลับคืนตำหนักสู่วังที่ประทับในทิศตะวันออก รอวันใหม่วนเวียนอยู่ดังนี้
ทุกวันเป็นเนืองนิตย์





ยังมีนางอัปสรประจำน่านน้ำ ธิดาของโอเชียนัสกับนางเทวีทีธิส ชื่อว่า ไคลที (Clytie) นางหลงใหลใฝ่ฝัน
ในเทพอพอลโลอยู่ คอยเฝ้าดูการโคจรประจำวันของสุริยเทพทุกวัน แต่อพอลโลจะไยดีกับนางก็หาไม่
ถึงกระนั้นนางก็เฝ้าดูเธอทุกวัน นับตั้งแต่วาระเมื่อเธอทรงรถออกจากวังยามเช้าไปจนกระทั่งเธอโคจร
ถึงทะเลฟากตะวันตก โดยผินหน้าตามไปมิให้อพอลโลคลาดจากสายตา หวังว่าสักวันหนึ่งอพอลโล
คงจะบังเกิดความปฏิพัทธ์เสน่หานางบ้าง นางไคลทีสู้ทนเฝ้าคอยอยู่ดังนั้นเป็นเวลานานไม่ยอมละสายตา
จากอพอลโลไปมองดูอื่น ในที่สุดเทพทั้งปวงมีความสงสาร จึงเปลี่ยนนางเป็นต้นทานตะวันชูดอก
ผินตามดวงอาทิตย์ตั้งแต่เช้าจนเย็นเป็นประจำมาจนตราบเท่าทุกวันนี้



บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 19.0.1084.52 Chrome 19.0.1084.52


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #17 เมื่อ: 11 มิถุนายน 2555 20:39:37 »

ตอนที่ 14 บริวารของอพอลโล



อพอลโลมีบริวารที่ควรกล่าวถึงอยู่เหล่าหนึ่ง ได้แก่ คณะศิลปวิทยาเทวี
ซึ่งภาษาอังกฤษ เรียกว่า The Muses เป็นเทวีประจำศิลปวิทยาการต่าง ๆ
เกิดแต่ซูสเทพบดีกับนางนีโมซินี (Mnemosyne เทวีครองความจำ )
มี 9 องค์
มีชื่อและวิชาการเกี่ยวข้องดังนี้

ไคลโอ (Clio) ประจำประวัติศาสตร์
ยูเรเนีย (Urania) ดาราศาสตร์
เมลโพมีนี (Melpomene) เรื่องโศก (tragedy)
ธะไลอะ (Thalia) เรื่องสรวล (comedy)
เทิร์ปซิโครี (Terpsichore) การฟ้อนรำ
คัลลิโอพี (Colliope) บทกวีเรื่อง
เออระโต (Erato) บทกวีรัก
ยูเทอร์พี (Euterpe) บทกวีร้อง
โพลิฮิมเนีย (Polyhymnis) บทกวีร่ายอาศิรพจน์

แต่บริวารที่ใกล้ชิดเธอที่สุด คือ อีออส (Eos) หรือ ออโรรา (Aurora) เป็นเทวีครองแสงเงินแสงทอง
หรืออุษาเทวี ทำหน้าที่เปิดทวารมุกดา ยามอรุณรุ่งให้รถอพอลโลออก โคจร และพร้อมกันนั้น
ก็ไขแสงเงินแสงทอง เป็นสัญญาณเบิกทางโคจรของอพอลโลขึ้นด้วย


บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 22.0.1229.79 Chrome 22.0.1229.79


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #18 เมื่อ: 01 ตุลาคม 2555 21:41:57 »

ตอนที่ 15 เทพีอาร์เธมิส (Arthemis)



ในคณะเทพโอลิมเปียนมีเทวีพรหมจารีอยู่ 3 องค์ ทรงนามตามลำดับว่า เฮสเทีย (Hestia)
อาเธน่า (Athene) อาร์เธมิส (Artemis) องค์แรกเป็นเทวีภคินีของเทพปริณายกซูส
ส่วน 2 องค์หลังเป็นธิดา แต่ละองค์มีประวัติและความสำคัญดังจะกล่าวต่อไปนี้


เทวีพรหมจารีในกลุ่มนี้ ได้แก่เทวีครองการล่าสัตว์ ทรงนามว่า ไดอานา (Diana) หรือ อาร์เธมิส
เทวีองค์นี้เป็นเจ้าแม่ที่เคารพบูชาของพวกพรานโดยเฉพาะ และเป็นเจ้าของสัตว์ป่าทั้งปวง
แต่สัตว์ที่เจ้าแม่โปรดปรานมากเป็นพิเศษได้แก่กวาง โดยที่แสงเดือนเพ็ญเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่การเดินป่า
และล่าสัตว์ในเวลากลางคืน คนทั้งปวงจึงนับถือเจ้าแม่ในฐานะเทวีครองแสงเดือนด้วย และในที่สุด
ก็อุปโลกน์เจ้าแม่เป็นดวงเดือนในชื่อว่า ฟีบี (Phoebe) บ้าง เซลีนี (Selene) ซึ่ง เป็นชื่อเรียกเทวีประจำดวงเดือน
หรือจันทรเทวีมาแต่เดิมทั้ง 2 ชื่อ ต่อมาในระยะหลัง ๆ เขายังเอา เหกกะตี (Hecate) เทวีครองความมืด
ในข้างแรมและไสยศาสตร์มารวมกับเจ้าแม่ หมายเป็นเทวีองค์เดียวกันอีกด้วย

เจ้าแม่อาร์เธมิสเป็นเทพธิดาคู่แฝดผู้พี่ของ อพอลโล สุริยเทพของกรีก เกิดแต่ซูสเทพบดีกับนางแลโตน
หรือ ลีโต (Latona , Leto) (แต่บางตำนานกล่าวว่าเป็นธิดาของเทพไดโอนิซัสกับไอซิส แต่ผู้คนมักรู้จัก
เทวีอาร์เธมิส ในฐานะธิดาของซูสมากกว่า รวมทั้งท่านโฮเมอร์นักกวีชาวกรีกล่าวไว้เช่นนี้ด้วย)

เมื่อตอนเกิดคลอดยากนักหนาถึงแก่นางแลโตนาเกือบเอาชีวิตไม่รอด เจ้าแม่รู้สึกในความเจ็บปวดทนทุกข์เวทนา
อย่างใหญ่หลวงของมารดา เลยพลอยรังเกียจการวิวาห์ถึงกับขอประทานอนุญาตจากเทพบิดาในอันที่จะขอไม่มีคู่ครอง
แม้เหล่าเทพบนเขาโอลิมปัสแสดงความปรารถนาใคร่จะได้วิวาห์ด้วยเจ้าแม่ก็ไม่ไยดี คงยืนกรานที่จะดำรงชีวิตโสด
และวิงวอนต่อเทพบิดา ด้วยเหตุผลนี้ซูสจำต้องประทานอนุญาตให้

เจ้าแม่ขอประทานนางอัปสรโอเชียนิค 60 กับอัปสรอื่นอีก 20 ซึ่งล้วนแต่ไม่ยินดีในการวิวาห์เป็นบริวาร
ติดสอยห้อยตามได้แล้ว ก็พาบริวารเที่ยวเสด็จประพาสไปตามราวป่า เพลิดเพลินเป็นนิตย์นิรันดร
ทุกเวลาเย็นอาทิตย์อัสดง พอตะวันตกลับโลกไปแล้ว เจ้าแม่อาร์เธมิสก็ทรงจันทรยานเทียมม้าขาวปลอดดั่งสีนม
พเนจร ไปในห้วงเวหา ผ่านดวงดาราเดียรดาษ ซึ่งต่างก็ทอแสงจ้าระยิบระยับรับเจ้าแม่ไปตลอดทาง
ในระหว่างที่ท่องเที่ยวไปเจ้าแม่มักจะโอนองค์ลงระเมียรพิภพโลก อันอยู่ในความหลับท่ามกลางแสงสลัว
เลือนลางดังภาพฝัน พลางสูดสุคนธรสแห่งบุปผชาติอันจรุงฟุ้งขึ้น ไปแต่ไกลเนืองๆ

ในคืนหนึ่ง ขณะที่เจ้าแม่จรอยู่เหนือแว่นแคว้นแดนคอเรีย พลันเจ้าแม่ก็แลสบภาพหนุ่มน้อยคนหนึ่ง
นอนหงายหน้าอาบแสงเดือนอันอ่อนละมุนอยู่ริมเขา เจ้าหนุ่มนี้คือคนเลี้ยงแกะรูปงามชื่อ เอนดิเมียน
(Endymion) กำลังอยู่ในอาการม่อยหลับ ความงามของเจ้าหนุ่มเมื่อต้องแสงจันทร์เป็นที่พิสมัย
แก่เจ้าแม่อาร์เธมิสนัก เจ้าแม่อดรัญจวนไว้มิได้ จึงยอรถให้หยุดฉับพลัน ลงจารถลอยเลื่อนลงมาจุมพิต
ริมฝีปากเผยอน้อย ๆ ของเจ้าหนุ่มเบา ๆ แล้วลอยเลื่อนกลับไป

ในขณะนั้นเองเอนดิเมียนฟื้นตื่น แต่จิตยังอยู่ในภวังค์ ค่อยลืมเปลือกตาขึ้นอย่างปรือๆ เห็นภาพ
คลับคล้ายคลับคลาพึงพิศวง บัดดลก็สะดุ้งตื่น ลุกขึ้นขยี้ตาเหลียวมองรอบข้าง ครั้นเห็นดวงจันทร์
กำลังลอยเลื่อนลิ่วๆ อยู่ในฟากฟ้า ก็นึกแน่ว่า เหตุที่ประสบกับตนเป็นแค่ความฝันเท่านั้น แต่ความฝัน
ก็แสนจะดื่มด่ำใจเสียยิ่งกระไร หวังจะได้ฝันเห็นดังนั้นอีกครั้งหนึ่ง

เอนดิเมียนฝังใจในความฝันนั้นหนักหนา เที่ยวซอกซอนค้นหาเทพธิดาในฝันไปตามที่ต่างๆ แม้กระทั่ง
ในทะเลลึก ฝ่ายอมรเทพทั้งปวงรู้ความเสน่หา ที่เจ้าแม่ประสาทแก่เมษบาลผู้เป็นแต่มรรตัยบุคคลก็พากัน
พิศวงสนเท่ห์ยิ่งนัก เพื่อตัดทางที่จะทำให้เรื่องอื้อฉาว ซูสจึงบังคับเอนดิเมียนให้เลือกเอาว่าจะยอมตาย
ด้วยวิธีหนึ่งตามแต่จะพึงประสงค์ หรือจะยอมนอนหลับโดยไม่มีเวลาตื่นในถ้ำแห่งหนึ่งบนยอดเขาแลตมัส
(Latmus) เอนดิเมียนเลือกเอาประการหลัง และ ณ ที่นั้นคนโบราณเขาเชื่อว่าเอนดิเมียนคงนอนหลับตลอดกาล
โดยเจ้าแม่อาร์เธมิสผู้ซื่อสัตย์ แวะเวียนไปเยือนเจ้าหนุ่มทุกคืน และเฝ้าดูแลฝูงแกะที่เจ้าหนุ่มทอดทิ้งไป
เพื่อค้นหาเจ้าแม่ด้วย


มีต่อ...
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 22.0.1229.79 Chrome 22.0.1229.79


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #19 เมื่อ: 01 ตุลาคม 2555 21:56:33 »

เทพีอาร์เธมิส (ต่อ)

อาร์เธมิสเป็นเทวีที่มีอุปนิสัยโหดเหี้ยมและดุร้าย น่าแปลกที่ชาวกรีกกลับให้ความเคารพนับถือเจ้าแม่
เป็นอันมาก ตำนานหลายฉบับกล่าวไว้ตรงกันว่านางมักลงโทษผู้ที่ทำให้ขุ่นเคืองอย่างรุนแรง
มีผู้เคราะห์ร้ายหลายรายถูกเจ้าแม่ลงโทษอย่างน่าสยดสยอง ดังเรื่องราว 2-3 เรื่องต่อไปนี้


วันหนึ่งเมื่อเทวีอาร์เธมิสทรงจันทรยานดำเนินไปตลอดราตรีกาลแล้ว จึงถือศรคู่หัตถ์ลงจากรถ
ออกล่าสัตว์ป่า มีนางอัปสรบริวารติดสอยห้อยตามดุจเคย เวลาบ่ายหนึ่งในฤดูร้อนภายหลัง
ที่เที่ยวตามสัตว์ ด้วยความตื่นเต้นเป็นเวลานานผิดกว่าเคยเจ้าแม่กับบริษัทบริวารก็พากันมาถึง
หนองน้ำนิ่งแห่งหนึ่งแห่งลำเนาเขา น้ำใสเย็นแพรวพรายชวนให้ลงสรงสนาน เจ้าแม่และบริวารทั้งปวง
จึงพากันเปลื้องเครื่องทรงชุดล่าสัตว์ลงโสรจสรงในละหานนั้นเป็นที่สำเริงสำราญยิ่งนัก

แต่วันนั้นเจ้าแม่และบริวารใช่จะเป็นพรานคณะเดียวที่ออกล่าสัตว์ก็หาไม่ ยังมีนายพรานชื่อ แอคเตียน
(Actaeon) ออกเที่ยวล่าสัตว์หาเนื้อแต่รุ่งอรุณอีกคนหนึ่งด้วย พอเวลาบ่ายตะวันชาย แอคเตียน
เหน็ดเหนื่อยโรยกำลังและกระหายน้ำ จึงมุ่งหน้ามายังละหานแห่งเดียวกันนั้นเหมือนกัน


ในขณะที่เข้าไปใกล้ละหานนั้น แอคเตียนแว่วเสียงสำรวลสรวลดังมาจากละหานแต่ไกล
จึงย่องเมียงเข้าไปอย่างระมัดระวัง เมื่อถึงระยะพอมองเห็น เขาก็ค่อยบรรจงแหวกกิ่งไม้ใบหนาแง้มมองดู
เห็นเทวีอาร์เธมิสกับบริษัทบริวารสรงสนานอยู่ เป็นภาพที่ไม่เคยมีมนุษย์คนใดมีโอกาสได้พบเห็น
ซักครั้งหนึ่งเลย

ในขณะนั้นเองเจ้าแม่ซึ่งสันทัดจัดเจนกับความเป็นไปในราวป่าได้สดับเสียงใบไม้ไหว เหลียวขวับมา
เพื่อจะดูให้แน่ใจว่า เสียงนั้นเกิดจากเหตุใด ก็ประสบสายตาจ้องมองอย่างตะลึงพรึงเพริด
ของนายพรานหนุ่มผู้พิศวง เจ้าแม่โกรธนักที่เจ้าหนุ่มบังอาจละลาบละล้วง จึงกอบน้ำด้วยอุ้งหัตถ์
ซัดสาดตรงไปยังใบหน้าของเจ้าหนุ่มทันที

พอหยดน้ำกระทบหน้าเจ้าหนุ่ม เขาก็รู้สึกตัวว่าร่างของเขากลายเปลี่ยนเป็นกวางไปเสียแล้ว
พร้อมกับมีเขางอก ขึ้นแผ่กิ่งก้านสาขางามสะพรั่งให้รู้สึกเสียใจนัก ในขณะที่เขายืนนิ่งงัน
ในรูปกวางอยู่ ณ ที่นั้นเอง ก็แว่วเสียงสุนัขล่าเนื้อของเขาเอง เห่าอยู่ในที่ไกลเที่ยวตามหานาย

แอคเตียนสะดุ้งตกใจสยิวสยองไปทั่วทุกขุมขน จึงขยับออกจะวิ่งหนีเข้าป่า แต่อนิจจา ! ช้าไปเสียแล้ว
ฝูงสุนัขเห็นเขาเข้าแล้ว มันพากันวิ่งกรูเกรียวตามกระชั้นเข้าไปเป็นพรวน กวางแอคเตียนเจ้ากรรม
พยายามโกยหนีสุดกำลัง แต่ไม่พ้น พอล้มฮวบลงกับพื้นเพราะอิดโรย สุนัขทั้งฝูงก็กระโจนเข้ารุมงับ
คอหอยถึงแก่ความตายอยู่กับที่ตรงนั้นนั่นเอง



อีกรายหนึ่งทำผิดเพียงเล็กน้อย ก็ถูกเทวีอาร์เธมิสลงทัณฑ์อย่างไม่เป็นธรรม เรื่องมีอยู่ว่า
มานพหนุ่มผู้หนึ่งชื่อว่า อัดมีทัส (Admetus) ซึ่งมัวปลื้มใจที่ได้แต่งงานกับสาวงามจึงหลงลืม
ที่จะถวายเครื่องสักการะบูชาแด่องค์เทวีเท่านั้นเจ้าแม่ก็โกรธกริ้วบันดาลให้ห้องหอของอัดมีทัส
มีแต่งูพิษเต็มไปหมด




นอกจากนี้ยังมีเรื่องราวอีกเรื่องที่คล้ายๆ กันนั่นคือ กษัตริย์แห่งเมืองคาลีดอนนามว่า เอนีอัส (Oeneus)
เกิดลืมถวายพืชผลที่เก็บเกี่ยวจากไร่นาของพระองค์เป็นครั้งแรกแด่เทวีอาร์เธมิสตามธรรมเนียม
เจ้าแม่ก็บันดาลให้โคป่าเข้าบุกดินแดนของกษัตริย์เอนีอัส มิหนำซ้ำเมื่อครอบครัวของเอนีอัส
ออกไปปราบวัวก็ถูกวัวบ้าสังหารตายเสียทั้งครอบครัวเป็นที่น่าเวทนายิ่ง แต่ชะรอยบาปคงจะตามสนอง
เทวีอาร์เธมิสเข้าให้บ้างเหมือนกัน ทำให้เจ้าแม่ได้รับความเจ็บปวดร้าวทุกข์ทรมานเนื่องจาก
สูญเสียคนอันเป็นที่รักไปด้วยน้ำมือตนเอง

ในกาลครั้งหนึ่งยังมีนายพรานร่างกำยำทรงพลังยิ่งคนหนึ่งชื่อว่า โอไรออน (Orion) กำเนิดอันแท้จริง
ของเขาไม่มีประวัติแน่ชัด หากแต่ถือกันว่า เขาเป็นบุตรของเทพเจ้าแห่งทะเลโปเซดอน (เนปจูน)
และสามารถลุยทะเลลึก บางคนก็ว่าเดินไปบนพื้นน้ำทะเลได้

ในเวลากลางวันโอไรออนออกเที่ยวตระเวนไปตามราวป่าตลอดวัน มีสุนัขที่แสนซื่อชื่อว่า ซิริอัส (Sirius)
ตามต้อยไปด้วย วันหนึ่งเขาได้พบกับนางอัปสรทั้ง 7 เรียกว่า พลียาดีส (Pleiades)
ที่กลางป่าให้บังเกิดความเสน่หา จึงตามนางเหล่านั้นไปอย่างเร่งร้อน แต่นางอัปสรก็เร่งหนี
จนกระทั่งอ่อนกำลังจวนเจียนจะไม่พ้น นางเหล่านั้นจึงขอร้องให้เจ้าแม่อาร์เธมิสช่วย
เจ้าแม่ก็โปรดช่วยดังที่เคยโปรดแก่บริวารของเจ้าแม่เสมอ เพราะฉะนั้นเมื่อโอไรออนกระหืดกระหอบ
ตามไปทันก็พลันได้ เห็นนกพิราบสีขาวดังหิมะ 7 ตัว บินขึ้นสู่ฟากฟ้าพอดี

ในฟากฟ้า นกพิราบทั้ง 7 เปลี่ยนไปอีกด้วยอำนาจบันดาลของเจ้าแม่อาร์เธมิส กลายเป็นกลุ่มดาว
ซึ่งเรียกว่า พลียาดีส เปล่งประกายระยิบระยับเรืองโรจน์ แต่เมื่อกรุงทรอยเสียแก่ข้าศึกนั้น
ดาวกลุ่มนี้สลัวลงด้วยความเศร้าและดวงหนึ่งซึ่งมีอารมณ์แรงกว่าเพื่อนถึงแก่มือมัวลับจากสายตาไป
เพื่อซ่อนตัวให้พ้นตาคน


ฝ่ายโอไรออนแม้มิสมหวังก็มิได้เสียใจนานนัก ต่อมาเขาก็ผูกสมัครรักนางมิโรปี (Merope)
ธิดาท้าวอีโนเปียน (Oenopion) เจ้าครองเกาะไคออส (Chios) โดยความมุ่งมั่นที่จะวิวาห์ด้วยกับนาง
โอไรออนอุตส่าห์ล่าสัตว์ป่าเสียจนเตียนไปทั้งเกาะ เอาสัตว์ที่ล่าได้เป็นกำนัลแด่สาวเจ้าและบิดา
แต่เมื่อโอไรออนออกปากขอนางมิโรปีต่อบิดาของนางทีใด บิดานางก็ผัดเจ้าล่อไปทุกที
ก็แหละโอไรออนนั้นมีนิสัยวู่วาม ไม่อดทนในการที่จะต้องคอยเรื่อยไปไม่มีกำหนดเวลาเช่นนี้
เขาจึงตัดสินใจที่จะรวบรัดด้วยวิธีฉุดคร่านางมิโรปีด้วยกำลังหักหาญ แทนการวิวาห์โดยเปิดเผย
ซึ่งจะกำหนดกันเมื่อใดก็ไม่รู้ แต่ท้าวอีโนเปียนรู้ทันจึงจัดการตัดไฟแต่ต้นลมเสียก่อน
โดยมอมเหล้าโอไรออนจนเมา ทำให้ตาบอด แล้วเอาไปทิ้งริมทะเล

โอไรออนเสียทั้งรักทั้งดวงตา ฟื้นตื่นขึ้นไม่รู้จะไป ณ แห่งหนใด แต่อาศัยความรู้ของนายพราน
ฟังเสียงของค้อนของยักษ์ไซคลอปส์ในเกาะเลมนอส (lemnos) ดั้นด้นไปจนถึงถ้ำตีเหล็กของยักษ์
ฝ่ายยักษ์ตนหนึ่งมีความสงสารจึงอาสาพาโอไรออนดุ่มเดินไปทางทิศตะวันออก
ช่วยให้ได้พบกับสุริยเทพอพอลโลและอาศัยแสงสว่างรักษาดวงตาให้กลับคืนเป็นปกติ

เมื่อกลับเป็นปกติดังเดิมแล้ว โอไรออนก็กลับล่าสัตว์อีก ตั้งแต่เช้าจนเย็นทุกวันโดยตอนนี้เองเทวีอาร์เธมิส
ได้พบเขาในป่าและได้คบหาชอบพอกันมาก อพอลโลเห็นท่าไม่ชอบกลในมิตรภาพ ทั้งนี้เกรงว่าภคนีเทวี
จะกลับสัตย์ปฏิญาณที่ตั้งไว้เดิมว่าจะครองความเป็นพรหมจารีตลอดไปนั้นเสีย จึงคิดอุบายให้มิตรภาพนั้น
ยุติลงอย่างเด็ดขาด

วันหนึ่งอพอลโลเห็นโอไรออนเดินลุยทะเลโผล่หัวอยู่เหนือพื้นน้ำ จึงเรียกอาร์เธมิสเข้าไปและชวนคุย
เรื่องฝีมือธนูศิลป์จนอาร์เธมิสตายใจ แล้วทำให้อาร์เธมิสลองฝีมือ โดยให้ลองยิงอะไรที่ลอยอยู่
เหนือพื้นน้ำทะเลดูว่าจะถูกหรือไม่ ฝ่ายเทวีขมังธนูก็ยิงธนูออกไปฉับพลัน หาเฉลียวใจไม่ว่าอะไรดำๆ นั้น
คือหัวของโอไรออน ลูกธนูถูกเป้าหมายอย่างแม่นยำ ครั้นคลื่นซัดสาดโอไรออนเข้าฝั่ง เจ้าแม่อาร์เธมิส
จึงรู้ว่าได้ทำอะไรลงไป ให้รู้สึกเศร้าเสียดายนักถึงแก่หยาดอัสสุชลเป็นอันมาก แล้วเจ้าแม่จึงแปลง
โอไรออนกลายเป็นกลุ่มดาวพร้อมด้วยสายรัดเอว ดาบ และกระบองคู่มือของเขา อยู่ในท้องฟ้า
ต่อจากกลุ่มดาวพลียาดีส และแปลงสุนัขของเขาให้กลายเป็นดาวซิริอัส อยู่ท้ายกลุ่มดาวโอไรออนด้วย
ตั้งแต่บัดนั้นมา


เรื่องราวนายพรานโอไรออนนี้นั้น มีบางตำนานกล่าวถึงการตายของนายพรานหนุ่มคนนี้แตกต่างกันออกไป
กล่าวคือขณะที่ไปล่าสัตว์ด้วยกัน โอไรออนเกิดไปสัมผัสถูกกายของเทวีอาร์เธมิสเข้า
ความที่ไม่ยอมให้ชายใดเข้าใกล้ เจ้าแม่จึงเผลอตัวลงโทษลงโทษบุรุษคนแรกที่บังอาจสัมผัสกายเจ้าแม่ทันที
โทษที่อาร์เธมิสบันดาลให้เป็นไปนั้นมาในรูปของแมงป่องพิษที่โผล่ขึ้นจากใต้ดินมากัดข้อเท้า
ของโอไรออน อันเป็นเหตุให้นายพรานอาภัพผู้นี้ล้มลงสิ้นใจตายต่อมา

เนื่องด้วยเทวีอาร์เธมิสรังเกียจการวิวาห์ถือครองพรหมจารี นอกจากนางจะไม่รัก ไม่วิวาห์แล้ว เจ้าแม่เอง
ยังบังคับให้บริวารของตนไร้รักและไร้คู่ตามไปด้วย หากผู้ใดฝ่าฝืนถูกพิษรักเข้าให้
ก็จะถูกเจ้าแม่อาร์เธมิสลงโทษอย่างทารุณ ดั่งเช่นนางคัลลิสโต นางสวยงามจนซูสเทพบดีแอบหลงรัก
จึงใช้เล่ห์เพทุบายจำแลงองค์เป็นอาร์เธมิส เข้าไปคลอเคลียใกล้ๆ พอเทวีอาร์เธมิสรู้เข้าก็โกรธเป็นฟืนเป็นไฟ
แต่ไม่ยักโกรธเทพพระบิดาผู้ก่อเหตุกลับหันไปเล่นงานคัลลิสโตผู้น่าสงสาร ด้วยการใช้ธนูยิงนาง
จนมอดม้วยสิ้นใจไป


รูปสลักของเทวีอาร์เธมิสของชาวกรีกเป็นหญิงสาวอรชรแต่แข็งแกร่ง แต่งกายไม่เหมือนเทวีองค์อื่นๆ
โดยนุ่ง กระโปรงสั้นเหนือเข่า ทั้งนี้เพื่อสะดวกในการล่าสัตว์นั่นเอง
อาวุธที่โปรดปรานคือธนู
มีหมีเป็นสัญลักษณ์อุปนิสัยดีๆ ในองค์เทวีเท่าที่ค้นพบคือ ความรักในดนตรี และเล่นดนตรีต่างๆ
ได้ไพเราะ เจ้าแม่ชอบการร้องเพลงและเต้นรำเหมือนน้องชายคือเทพอพอลโล

บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
คำค้น: ประวัติ เทพ เทพกรีก โอลิมปัส เขาโอลิมปัส immortal god of war zeus titan ซุส ไททัน 
หน้า:  [1] 2   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.663 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 16 มีนาคม 2567 03:59:08