[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
25 เมษายน 2567 12:59:28 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ว่าด้วยอารมณ์ของปฏิสนธิ  (อ่าน 1863 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 12.0 Firefox 12.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 08 พฤษภาคม 2555 15:18:09 »



            

            พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 493
                               ว่าด้วยอารมณ์ของปฏิสนธิ
            ว่าโดยสังเขป  อารมณ์ของปฏิสนธิจิต  มี ๓ คือ

                             กรรม    กรรมนิมิต    คตินิมิต.

            บรรดา  อารมณ์ทั้ง ๓ เหล่านั้น    เจตนาที่เป็นกุศลและอกุศลที่ทำแล้ว
   ชื่อว่า  กรรม  กรรมย่อมประกอบวัตถุใด     ทำให้เป็นอารมณ์     วัตถุนั้นชื่อว่า
   กรรมนิมิต           ในกรรมและกรรมนิมิตนั้น       เมื่อกรรมที่สัตว์ทำไว้ในอดีต
   เเม้ในที่สุดแห่งแสนโกฏิกัป     กรรมนั้น  ย่อมมาปรากฏเป็นกรรมหรือกรรมนิมิต
   ในขณะนั้น.  ในข้อนั้น   มีเรื่องเทียบเคียงของ     กรรมนิมิต        ดังต่อไปนี้

                                     เรื่องนายโคปกสีวลี
               ได้ยินว่า  บุรุษชื่อ นายโคปกสีวลี ยังบุคคลให้สร้างพระเจดีย์ในวิหาร
   ชื่อว่า    ตาลปิฏฐิกะ      เมื่อเขานอนในเตียงจะมรณะ    พระเจดีย์ปรากฏแล้ว
   เขาถือเอาเจดีย์นั้นนั่นแหละเป็นนิมิต   ทำกาละแล้วไปบังเกิดในเทวโลก.

                              เรื่องการตายของผู้ลุ่มหลง
            ยังมีความตายอีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า สัมมุฬหกาลกิริยา (การทำกาละ
   ของผู้ลุ่มหลง
) จริงอยู่ เมื่อบุคคลมุ่งเดินไปข้างหน้า บุคคลเอาดาบอันคมกล้า
   ตัดศีรษะข้างหลังก็ดี  เมื่อบุคคลนอนหลับถูกบุคคลเอาดาบคมกล้า ตัดศีรษะก็ดี
   ถูกบุคคลกดให้จมน้ำตายก็ดี  ในกาลแม้เห็นปานนี้  กรรมหรือว่ากรรมนิมิต
   อย่างใดอย่างหนึ่ง   ก็ย่อมปรากฏ.

            ภาพ (วรรณะ) อย่างหนึ่ง ปรากฏในภูมิ (โอกาส) ของสัตว์ที่จะบังเกิดขึ้น
   ชื่อว่าคตินิมิต ในคตินิมิตนั้น เมื่อนรกจะปรากฏ ก็จะปรากฏในคตินิมิตนั้น
   เมื่อนรกจะปรากฏก็จะปรากฏเป็นภาพ เช่นกับโลหกุมภี (หม้อทองแดง)
   เมื่อมนุษยโลกจะปรากฏ ก็จะปรากฏเป็นภาพท้องมารดา ผ้ากัมพล และยาน.  
   เมื่อเทวโลกจะปรากฏ ก็จะปรากฏเป็นภาพต้นกัลปพฤกษ์ วิมาน และที่นอน เป็นต้น
   ปฏิสนธิมีอารมณ์ ๓ อย่างโดยสังเขปคือ กรรม กรรมนิมิต คตินิมิต ด้วยประการฉะนี้.

            http://agaligohome.fx.gs/index.php?topic=2057.0

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 08 พฤษภาคม 2555 15:19:47 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 12.0 Firefox 12.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 09 พฤษภาคม 2555 17:18:16 »



นวปุราณวรรคที่ ๕
กรรมสูตร
             [๒๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงกรรมทั้งใหม่และเก่า ความดับ
แห่งกรรม และปฏิปทาอันเป็นเครื่องให้ถึงความดับแห่งกรรม
ท่านทั้งหลายจงฟัง
จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมเก่าเป็นไฉน จักษุอันบัณฑิต
พึงเห็นว่าเป็นกรรมเก่า อันปัจจัยทั้งหลายปรุงแต่งแล้ว สำเร็จด้วยเจตนา
เป็น
ที่ตั้งแห่งเวทนา หู ... จมูก ... ลิ้น ... กาย ... ใจ อันบัณฑิตพึงเห็นว่าเป็นกรรมเก่า 
อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว  สำเร็จด้วยเจตนา เป็นที่ตั้งแห่งเวทนา ดูกรภิกษุทั้งหลาย
นี้เราเรียกว่า กรรมเก่า ฯ

             [๒๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมใหม่เป็นไฉน กรรมที่บุคคลทำด้วย
กาย วาจา ใจ ในบัดนี้ นี้เราเรียกว่า กรรมใหม่ ฯ
             [๒๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความดับแห่งกรรมเป็นไฉน นิโรธที่ถูกต้อง
วิมุตติ เพราะความดับแห่งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม
นี้เราเรียกว่า ความดับ
แห่งกรรม ฯ
             [๒๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทาอันเป็นเครื่องให้ถึงความดับแห่งกรรม
เป็นไฉน อริยมรรคมีองค์ ๘ ประการ คือ สัมมาทิฏฐิ ๑ สัมมาสังกัปปะ ๑
สัมมาวาจา ๑ สัมมากัมมันตะ ๑ สัมมาอาชีวะ ๑ สัมมาวายามะ ๑ สัมมาสติ ๑
สัมมาสมาธิ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ปฏิปทาอันเป็นเครื่องให้ถึงความ
ดับกรรม ฯ

             [๒๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กรรมเก่า  กรรมใหม่ ความดับแห่งกรรม
และปฏิปทาอันเป็นเครื่องให้ถึงความดับกรรม เราได้แสดงแล้วแก่ท่านทั้งหลาย
ด้วยประการดังนี้แล กิจใดแล อันเราผู้ศาสดา ผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ผู้
อนุเคราะห์แก่สาวกทั้งหลาย พึงทำ กิจนั้นเราทำแล้วเพราะอาศัยความอนุเคราะห์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้  นั่นเรือนว่างเปล่า เธอทั้งหลายจงพยายาม อย่า
ประมาท อย่าได้เป็นผู้มีความเดือดร้อนใจในภายหลัง
นี้เป็นอนุศาสนีของเราเพื่อ
เธอทั้งหลาย ฯ

จบสูตรที่ ๑
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐
สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค

บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.628 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 24 มีนาคม 2567 06:19:33