[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 06:36:47 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

สุขใจในธรรม
พุทธประวัติ - ประวัติพระสาวก
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน


.:::

อัตชีวประวัติและธรรมบรรยาย พระอุดมสังวรวิสุทธิเถร (พระอาจารย์วัน อุตฺตโม)

:::.
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: อัตชีวประวัติและธรรมบรรยาย พระอุดมสังวรวิสุทธิเถร (พระอาจารย์วัน อุตฺตโม)  (อ่าน 14203 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 08 พฤษภาคม 2555 19:00:29 »

อัตชีวประวัติ พระอุดมสังวรวิสุทธิเถร ( พระอาจารย์วัน อุตฺตโม )





คำที่ใช้ในอัตชีวประวัติข้างต้น คัดลอกจากหนังสือตั้งแต่สมัยปี ๒๕๒๔
การใช้คำบางคำยังเป็นคำที่ใช้เขียนในสมัยนั้น เช่น อาว์ เป็นต้น
ซึ่งกิมเล้งได้ยึดตามหนังสือทุกตัวอักษร
มิได้มีการดัดแปลงให้เข้ากับปัจจุบันสมัย
มิใช่คำที่เขียนผิดแต่อย่างใด



 ยิ้ม

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 14 มกราคม 2556 11:19:09 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
 
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 18.0.1025.168 Chrome 18.0.1025.168


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 11 พฤษภาคม 2555 01:24:36 »

ขอเพิ่มเติมข้อมูล

จากที่ได้ทราบกันแล้วว่าพระอาจารย์วัน ได้มรณภาพจากเหตุเครื่องบินตก
มาลองฟังข้อมูลอีกด้าน...

บุพกรรมในกาลก่อนที่ทำให้พระอริยเจ้าทั้ง 5 องค์ ต้องเครื่องบินตก



หลวงปู่หลุย จันทสาโร เมตตาเล่าให้ฟังถึงบุพกรรมในกาลก่อน
ที่ทำให้พระอริยเจ้าทั้ง 5 องค์ ต้องเครื่องบินตก


ในอดีตชาติที่นานเนมาแล้ว ท่านทั้ง 5 เกิดในสกุลชาวนาที่ยากจน ต้องขวนขวายหาเลี้ยงชีพไปวัน ๆ
ทั้งห้าคนเป็นเพื่อนที่คุ้นเคยกันมา เมื่อยังเด็กได้จูงควายออกไปเลี้ยงพร้อมกัน
ผูกควายกันแล้วก็พากันเล่นและออกหากบเขียดไปเป็นอาหารประสาจน

ทีนี้ 1 ใน 5 เกิดไปเห็นรังนกเข้า ก็ช่วยกันหาไม้เขี่ยรังนกให้ตกลงมาเพื่อหวังเอาไข่นกไปกิน
แต่เมื่อรังนกตกลงมากลับกลายเป็นลูกนก 3 ตัวแล้วตายสิ้น ไม่ใช่ไข่นกดังที่เข้าใจ

ด้วยวิบากกรรมอันนี้ส่งผลให้ท่านทั้ง 5 ต้องตกจากที่สูงมามรณภาพ

ในเครื่องบินลำนั้นมีคุณหญิงท่านหนึ่งกลับจากไปปฏิบัติธรรมกับท่านพระอาจารย์จวนมาด้วย
ท่านเลยมาสิ้นชีวิตพร้อมกัน

ในอดีต ขณะที่เด็กชายทั้ง 5 กำลังเขี่ยรังนกอยู่นั้น เด็กหญิงลูกชาวนา
ผู้เป็นน้องสาวของ 1 ใน 5 คนก็มายืนเชียร์อยู่ข้าง ๆ

“จะหล่นแล้ว...จะหล่นแล้ว”

โดยเธอไม่ได้ลงมือทำ

เด็กหญิงในภพนั้นคือคุณหญิงในภพนี้

ก็เพียงมีจิตคิดยินดีในการประกอบอกุศลกรรมของผู้อื่น วิบากนั้นยังส่งผลมาให้เกิดในภพชาติเดียวกัน
บันดาลให้ไปตกเครื่องบินพร้อมกัน

แล้วถ้าทำเองเล่า...

ถึงตรงนี้ หลวงปู่หลุยก็สั่งว่า อย่าไปยินดีในการทำชั่วของคนอื่น เพราะเราจะมีส่วนในบาปนั้นด้วย
แต่ให้ยินดีในการประกอบคุณงามความดีของตนและของคนอื่น เพราะจะได้แต่บุญโดยฝ่ายเดียว





หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร ผู้เล่าเรื่อง

บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 18.0.1025.168 Chrome 18.0.1025.168


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 11 พฤษภาคม 2555 01:29:43 »

พระมหาเถระถึงแก่มรณภาพด้วยเครื่องบินตกทั้ง 5 รูป

๑. หลวงปู่บุญมา ฐิตเปโม
วัดสิริสาลวัน บ้านโนนทัน ต.โนนทัน อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู






๒. หลวงพ่อวัน อุตฺตโม
วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม (วัดถ้ำพวง) ต.ปทุมวาปี อ.ส่องดาว จ.สกลนคร







๓. พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ
วัดเจติยาคิรีวิหาร (วัดภูทอก) ต.นาแสง อ.ศรีวิไล จ.หนองคาย







๔. พระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร
วัดป่าแก้วชุมพล ต.บ้านชุม อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร







๕. พระอาจารย์สุพัฒน์ สุขกาโม
วัดป่าประสิทธิ์สามัคคี ต.บ้านต้าย อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร




บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 18.0.1025.168 Chrome 18.0.1025.168


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 11 พฤษภาคม 2555 01:31:32 »

เหตุแห่งการมรณภาพ

เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๓ เดือนเมษายน พระอาจารย์สุพัฒน์ สุขกาโม ได้รับอาราธนาจากทางสำนักพระราชวัง
กรุงเทพฯ พร้อมด้วยพระคณาจารย์อื่นๆ อีกจำนวน ๔ รูป คือ หลวงปู่บุญมา ฐิตเปโม, หลวงพ่อวัน อุตฺตโม,
พระอาจารย์จวน กุลเชฏฺโฐ และพระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร พระคณาจารย์ทั้งหมดจึงได้ไปรวมกัน
ที่จังหวัดอุดรธานีเพื่อขึ้นเครื่องบิน เพราะลูกศิษย์ลูกหาต้องการถวายความสะดวก
และเพื่อความรวดเร็วในการเดินทาง โดยได้ขึ้นเครื่องบินที่จังหวัดอุดรธานี
เมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ.๒๕๒๓

ครั้นเมื่อเครื่องบินมาถึงท้องนาทุ่งรังสิต เขตหมู่ที่ ๔ ต.คลองสี่ อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี
เหลือระยะทางประมาณ ๒๐ กิโลเมตรเศษ เครื่องบินได้ตั้งลำและลดเพดานบินเพื่อเตรียมลงสู่สนาม
แต่เนื่องจากเครื่องบินได้ประสบพายุหมุนและประกอบกับฝนตกหนัก จึงเสียหลักตกลงที่ท้องนาทุ่งรังสิต
พระอาจารย์สุพัฒน์และคณะจึงได้ถึงแก่มรณภาพ พร้อมด้วยผู้โดยสารอีกเป็นจำนวนมาก
เมื่อเวลาประมาณ ๑๔.๐๐ นาฬิกา

บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 04 มิถุนายน 2555 17:56:28 »

  ปฏิปทา พระอาจารย์วัน   อุตตโม


๑. งานอุปัฏฐากพระอาจารย์มั่น  ภูริทัตโต จากคำบอกเล่าของพระอาจารย์วัน  อุตตโม

งานอุปัฏฐากครูบาอาจารย์เป็นงานยาก   กระนั้นก็มีพระเณรจำนวนไม่น้อยต้องการเข้ามาอยู่จุดอันยากลำบากนี้ด้วยความเต็มใจ   พระอาจารย์วัน  อุตตโม ก็เคยมีปณิธานนี้ ว่า "จะพยายามถวายตัวเป็นอุปัฏฐากท่านเพื่อเป็นบุญนิธิแก่ตน"   ดังนั้น การได้อยู่รับใช้ พระอาจารย์มั่น  ภูริทัตโต  ของพระอาจารย์วัน  อุตตโม  จึงเป็นไปด้วยความเคารพ  ด้วยความรัก  ขณะเดียวกันก็ได้ศึกษาอบรมอย่างใกล้ชิด  ซึ่งทรงความหมายเป็นอย่างสูงในการปฏิบัติ.....    

เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๘ ช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ ๒ สถานการณ์เริ่มไม่แน่นอน  เพราะคำประกาศจากพระอาจารย์หลุย  จันทสาโร  ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบการบริหารจัดการ ต้องการให้  "พวกที่มาใหม่ ออกไปพักในสถานที่อื่นจะเป็นการดีมาก"    เนื่องจากการรวมกันอยู่จำนวนมาก ไม่เป็นผลดีต่อการปฏิบัติปรารภความเพียร เพราะยิ่งมากยิ่งขาดความวิเวก  "จะมาอยู่กันมาก ๆ เพื่ออะไร เหมือนกับหมู่แร้งกาหากินกับซากควายเน่าเท่านั้นเอง"    และในจำนวน "พวกที่มาใหม่" นั้น มีชื่อของพระอาจารย์วัน  อุตตโม รวมอยู่กับหมู่พวกด้วย  ทั้ง ๆ ที่ใจจริงท่านไม่อยากจะจากไปเลย แต่ก็ยากที่จะฝืนหลักการนี้ของพระอาจารย์หลุย  จันทสาโรได้

ระยะกาลนั้น พระอาจารย์เนตร  กันตสีโล  เป็นพระผู้อุปัฏฐากสำคัญต่อ พระอาจารย์มั่น  ภูริทัตโต  เมื่อพระอาจารย์วัน  อุตตโม  มาทำข้อวัตรที่ทำการอุปัฏฐาก  พระอาจารย์มั่น  ภูริทัตโต  กำลังไปฐานอยู่   พระอาจารย์วัน  อุตตโม จึงเข้าไปปรึกษากับ พระอาจารย์เนตร  กันตสีโล  "ความตั้งใจของผมก็หวังว่าจะได้ศึกษาอบรมกับท่านพระอาจารย์ต่อไป  ไม่ปรารถนาจะไปทางอื่นเสียเลย  ควรที่ผมจะทำประการใดถึงจะดี"     พระอาจารย์เนตร  กันตสีโล  ให้ความเห็นว่า ควรกราบเรียนพระอาจารย์มั่น  ภูริทัตโต

พระอาจารย์วัน  อุตตโม  เล่าว่า "แม้ข้าพเจ้าจะเกรงกลัวสะทกสะท้านในท่านสักปานใดก็ตาม   เมื่อถึงคราวที่จะต้องกล้า  ข้าพเจ้าก็ต้องกล้าเพราะความจำเป็น"   โอกาสเหมาะ จังหวะดีเมื่อ  พระอาจารย์มั่น  ภูริทัตโต กลับจากฐานมานั่งบนอาสนะ   พระอาจารย์วัน  อุตตโม จึงเข้าไปกราบ    แล้วกราบเรียนไปตามความจริงว่า "ตั้งใจจะอยู่ศึกษาอบรมกับพระอาจารย์ต่อไป  ไม่ปรารถนาจะไปทางอื่นเสียเลย"   ได้รับทราบดังนั้น  พระอาจารย์มั่น  ภูริทัตโต ก็นิ่งอยู่ครู่หนึ่งแล้วกล่าวว่า "ตามใจคุณ"

สถานการณ์ต่อจากนี้  พระอาจารย์วัน  อุตตโม  เล่าว่า

เมื่อข้าพเจ้าได้รับมธุรสอย่างนี้แล้วก็สร่างใจขึ้นทันที  มีความปลื้มใจอย่างสุดซึ้ง เท่ากับถอนดาบที่เสียดแทงอยู่ที่อกออกได้   วันหนึ่ง ข้าพเจ้าไปได้ไปจับเส้นให้กับพระอาจารย์พร้อมกับอาจารย์เนตร  กันตสีโล    ในกลางคืนนั้น ท่านจะทดลองน้ำใจของข้าพเจ้าก็ไม่ทราบ  การจับเส้นได้ล่วงเลยเวลาไปจนถึงไก่ขันกก  ราว ๓ ทุ่มกลางคืน ท่านจึงเข้าห้อง  แต่ใจของข้าพเจ้ายินดีต่อการทำนั้นอยู่ตลอดเวลาหาเกิดความรำคาญไม่    ในวันต่อไปก็เป็นธรรมดา แปลกแต่วันเดียวเท่านั้น

ปีนั้นที่อยู่จำพรรษาด้วยคือ ท่านพระอาจารย์หลุย ๑   ท่านอาจารย์มนู ๑   ท่านอาจารย์มหาบัว  ญาณสัมปันโน ๑  ครูบาอ่อนสา ๑  ครูบาเนตร  กันตสีโล ๑  กับข้าพเจ้าและสามเณรดวงผ้าขาวเถิง   เมื่อถึงเข้าพรรษาพอได้อธิษฐานพรรษาแล้วเท่านั้นก็เกิดความอุ่นใจขึ้นมาเป็นอันมาก  โดยคิดว่าถ้าเราไม่มีความผิดพลาดอย่างร้ายแรงท่านคงจะไม่ขับออกจากสำนักเป็นแน่แท้   แม้ครูบาอ่อนสาก็เช่นเดียวกับข้าพเจ้า    เรื่องการอยู่ปฏิบัติท่านพระอาจารย์นั้น ข้าพเจ้าได้อาศัยท่านอาจารย์มนูกับท่านอาจารย์มหาบัว และครูบาเนตรเป็นผู้แนะนำจึงไม่ค่อยผิดพลาด   และในกาลต่อมาต่างก็ได้อาศัยซึ่งกันและกันตลอดมา
 




สรุปความ จากคอลัมน์  "วิถีแห่งการปฏิบัติพระอาจารย์มั่น  ภูริทัตโต"  โดย เสถียร  จันทิมาธร    น.๓๐ นสพ.ข่าวสด ฉบับประจำวันจันทร์ที่  ๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๕


*  ความตอน พระอาจารย์มั่นฯ  กำลังไปฐานอยู่ (คัดลอกตามต้นฉบับ) -  ถ้าไปส้วมจะต้องใช้คำว่า "ถาน" หรือ "วัจกุฎี" จึงจะถูกต้อง....กิมเล้ง
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07 มิถุนายน 2555 11:08:58 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: 04 มิถุนายน 2555 18:36:11 »

  ปฏิปทา พระอาจารย์วัน   อุตตโม


๒. งานอุปัฏฐากพระอาจารย์มั่น  ภูริทัตโต จากคำบอกเล่าของพระอาจารย์วัน  อุตตโม

ในฐานะเป็นผู้อุปัฏฐากใกล้ชิดพระอาจารย์มั่น  ภูริทัตโต  ในบั้นปลายชีวิต  พระอาจารย์วัน  อุตตโม  ท่านมิได้ทำเพียงรูปเดียว  หากทำไปตามผู้ใหญ่  ทำร่วมกับหมู่พวก

ต่อไปนี้ เป็นคำบอกเล่าอันน่าสนใจ ของพระอาจารย์วัน  อุตตโม  โปรดอ่าน

"เมื่อเสร็จจากการฟังท่านแสดงธรรมแล้ว ก็คอยทำข้อวัตรอยู่จนกว่าท่านจะเข้าห้อง   บางคืนก็ ๕ ทุ่มกว่า  บางคืนก็บ่าย ๓ ทุ่ม  เมื่อท่านเข้าห้องแล้วก็กลับไปที่พักของตน  เดินจงกรม  ไหว้พระสวดมนต์  เดินจงกรมและนั่งสมาธิต่อไปจนสว่าง    บางคืนก็พักนอนราวชั่วโมงกว่า ๆ  และอย่างมากไม่เกิน ๔ ชั่วโมง  กลางวันไม่ค่อยได้พักนอนเท่าไร  พอสว่างได้อรุณแล้วต้องรีบเอาบาตรและบริขารของตนลงไปโรงฉัน

เมื่อจัดโรงฉันเสร็จเรียบร้อย  ข้าพเจ้าและหมู่คณะก็รีบไปในที่พักของท่าน  เป็นการไปกับหมู่คณะ  เป็นการไปเพื่อรอคอย  ระหว่างนั้นต่างก็ทำความเพียรเพื่อรอเวลา หาได้จับกลุ่มคุยกันไม่"

แล้ว พระอาจารย์วัน  อุตตโม  ก็เล่ามาถึงห้วงเวลาสำคัญ

พอได้ยินเสียงท่านสัญญาณด้วยกระแอมหรือไอ  และเสียงกระเทือนจากการไหวตัวของท่าน ต่างก็พากันทำกิจวัตรตามหน้าที่ของตน

ท่านผู้มีอายุพรรรษามากก็กวาดกราดบริเวณรอบกุฏิ  เอากระโถนและหม้อมูตรไปชำระ   เอาบริขารท่านไปโรงฉัน    บริขารที่สำคัญเช่นบาตร ต้องผู้ที่เป็นผู้อุปัฏฐากโดยเฉพาะกำกับ  ปล่อยให้ผู้อื่นไม่ได้  จะเปลี่ยนมือผู้กำกับต้องกราบเรียนท่านให้ทราบเสียก่อนจึงควร  เป็นย่าม  เป็นกระติกน้ำร้อน  ก็ต้องเป็นผู้ที่สำคัญจึงควรกำกับไปเอามา   กิจวัตรทั้งสิ้นทุกอย่างองค์ใดจะกำกับทำอะไรต้องทำประจำทุก ๆ ครั้ง มิใช่คิดได้คิดทำไปอย่างนั้น  ใช้ไม่ได้  ต้องทำประจำจริง ๆ และทำให้ทันต่อเวลา

เมื่อเอาบริขารท่านลงไปโรงฉันเสร็จแล้วก็รอเวลาบิณฑบาต  โอกาสมีก็ไปเดินจงกรมเสียก่อน หรือนั่งกำหนดจิตไปพลาง  พอได้เวลาไปบิณฑบาตท่านก็จะเดินไปที่โรงฉัน หรือที่แห่งใดแห่งหนึ่งแล้วแต่ความสะดวกของท่าน  ผู้ที่คอยผลัดผ้าเปลี่ยนผ้าและห่มผ้าติดลูกดุมถวายท่านก็มี

กิจเหล่านั้นต้องเป็นกิจของผู้ใกล้ชิดจะต้องทำเสมอ  ผู้ปฏิบัติใกล้ชิดนี้ต้องเป็นผู้เปรียว เร็ว ว่องไวจริง ๆ จึงได้   เช่น การครองผ้า  คลุมผ้า  เมื่อครองผ้าถวายท่านเสร็จแล้ว ครองผ้าของตนต้องให้เสร็จก่อนท่านอีก  แล้วเอาบาตรของตนและของท่านเดินล่วงหน้าไปก่อน  รอคอยท่านอยู่อุปจารบ้าน   เมื่อท่านไปถึงเอาบาตรถวายท่านแล้วก็เข้าแถวเดินไปตามลำดับพรรษาที่แก่และอ่อนตามวินัยนิยม

สำหรับโยมที่จะใส่บาตรนั้น ท่านแนะนำให้ยืนใส่บาตรทั้งชายและหญิง เพราะเป็นการสะดวกทั้ง ๒ ฝ่าย  เสร็จจากการบิณฑบาตรแล้ว  บางทีก็มีอุบาสก  อุบาสิกา คอยรับบาตรท่าน  ถ้าไม่มีก็เป็นหน้าที่พระเณร      พระหนุ่มทั้งหลายต้องรีบเดินออกล่วงหน้า กลับก่อนท่าน เพื่อจะได้รีบไปจัดทำอะไรต่ออะไรมากอย่าง   หาได้เพียงแต่จะนั่งคอยฉันอยู่เท่านั้นก็หาไม่  ทำอย่างนั้นท่านตำหนิว่า "พระไม่มีวัตรหรือเป็นวัตตเภท   เป็นพระที่ขาดไปไม่สมบูรณ์ในความเป็นพระของตน"  

เมื่อท่านมาถึง องค์ที่มี่หน้าที่คอยรับเอาผ้าท่านไปผึ่งแดดก็ทำหน้าที่ของตนต่อไป  ส่วนผู้ปฏิบัติใกล้ชิดก็จัดบาตรของท่านและจัดอาหารแยกไว้ถวายท่าน  โดยเฉพาะเรื่องการจัดอาหารถวายท่านนั้นเป็นเรื่องสำคัญมาก    ถ้าความฉลาดของผู้จัดไม่มี บางครั้งท่านไม่รับเสียเลยก็มี  หรือรับเอาฉันแต่น้อยก็มี   ต้องรู้จักอาหารที่สบายต่อสุขภาพของท่าน   เป็นที่สบายต่อธรรมของท่าน   ทั้งรู้จักจัดสรรตกแต่งให้เหมาะสมสะดวกต่อการฉัน   ตลอดถึงรู้จักการใช้ถ้อยคำที่จะเรียนอ้อนวอนและเรียนตอบท่านเวลานั้น"....

ที่ไม่ควรมองข้ามก็คือ  คุณสมบัติของผู้จัดอาหาร  ตามบทสรุปของพระอาจารย์วัน  อุตตโมคือ

เว้นจากอคติทั้งสี่ ๑    เป็นผู้ฉลาดมีปัญญา ๑  เป็นผู้ไม่โลภในอาหาร ๑  มักน้อยสันโดษ ๑  ไม่ฉันเลียนแบบท่าน ๑ ไม่เย่อหยิ่งลืมตน ๑  มีมารยาทอันสุภาพไม่หยาบโลน ๑
ทั้ง ๗ ข้อนี้ต้องสมบูรณ์จริง ๆ จึงจะรักษาหน้าที่ได้    


สรุปความ จากคอลัมน์ "วิถีแห่งการปฏิบัติพระอาจารย์มั่น  ภูริทัตโต"  โดย เสถียร  จันทิมาธร   นสพ.ข่าวสด ฉบับประจำวันอังคารที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๕
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07 มิถุนายน 2555 11:07:47 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #6 เมื่อ: 05 มิถุนายน 2555 15:11:56 »

  ปฏิปทา พระอาจารย์วัน   อุตตโม


๓. งานอุปัฏฐากพระอาจารย์มั่น  ภูริทัตโต จากคำบอกเล่าของพระอาจารย์วัน  อุตตโม


กิจวัตรอีกต่อไป นั้นคือ รีบนำเอาบริขารของตนไปเก็บไว้ที่กุฏิ  แล้วก็รีบนำเอาบริขารของครูบาอาจารย์ไปที่พักผ่อนของท่านโดยด่วน   องค์หนึ่งนำเอาน้ำไปไว้ฐานของท่าน   สำหรับน้ำนั้นต้องผสมให้เป็นน้ำอุ่นแล้วรอรับเอาภาชนะน้ำต่อเมื่อท่านถ่ายเว็จเสร็จ  แล้วเอาไปเก็บไว้ตามเดิม  และดูแลทำความสะอาดในฐานด้วย

อีกพวกหนึ่งนำเอาผ้าต่าง ๆ และอาสนะออกไปผึ่งแดดในที่จัดทำไว้ คือที่ร้านสำหรับตากของและสายระเดียงราวตากผ้า  ผึ่งแดดพอสมควรแล้วก็รีบเก็บเข้าที่ตามประเภทสิ่งของนั้น ๆ  สิ่งใดที่ควรเก็บก่อนและหลังก็ต้องเก็บตามประเภทของสิ่งของนั้น

ส่วนผู้ปฏิบัติใกล้ชิด ต้องขึ้นไปทำกิจวัตรอยู่บนกุฏิ จัดอะไรต่ออะไรเพื่อให้ทันต่อความต้องการของท่าน  การทำกิจวัตรอุปัฏฐากต้องเป็นผู้ว่องไว เปรียว เร็วที่สุดถึงจะทันท่าน งก ๆ เงิ่น ๆ เซ่อซ่าไม่ได้เป็นอันขาด  ทั้งการเก็บการไว้สิ่งของทั้งหมดต้องให้เป็นระเบียบเรียบร้อยเสมอ  และต้องให้สิ่งของทั้งสิ้นนั้นสะอาดทุกสิ่งไป

เมื่อกลับจากฐานไปนั่งบนอาสนะแล้ว เมื่อท่านต้องการฉันน้ำร้อนก็รินน้ำร้อนถวายท่าน เสร็จแล้วก็ถวายหมากที่ตำไว้แก่ท่าน  ระหว่างนี้ไม่เป็นเวลารับแขก  แขกทั้งหลายไม่ต้องไปหาในเวลานี้เป็นอันขาด (เว้นไว้แต่กรณีพิเศษ)  เพราะเป็นเวลาพักผ่อนสุขภาพของท่าน

อันดับต่อไปท่านก็พักผ่อน  ฝ่ายผู้อุปัฏฐากก็เข้าไปจับเส้นถวายจนเกือบเที่ยงหรือเที่ยง จึงได้ลงจากท่านไป  ท่านได้พักผ่อนต่อไป  บางวันก็ถึงบ่าย ๑ โมง บางวันก็ไม่ถึงนั้น  แล้วท่านก็จะลุกขึ้นมาล้างหน้า  ผู้อุปัฏฐากต้องคอยสังเกตเวลาท่านจะลุกขึ้นมาเสมอ  เมื่อสังเกตได้ว่าท่านกำลังจะลุกแล้วก็รีบขึ้นไปให้ทัน  เอาน้ำล้างหน้าถวายท่าน  เสร็จจากนั้นแล้วท่านก็เตรียมไหว้พระย่อและนั่งสมาธิต่อไป  บางวันท่านก็จะเข้าไปสู่ที่พักกลางวันในป่า  เดินจงกรมและนั่งสมาธิในสถานที่นั้น     บ่าย ๓ โมง จึงจะออกจากการประกอบกิจ  ฝ่ายสามเณรหรือตาผ้าขาวต้องจัดต้มน้ำร้อน  ต้มยาร้อนไว้ถวาย  สามเณรหรือตาผ้าขาวต้องสังเกตผู้อุปัฏฐาก  เมื่อเห็นผู้อุปัฏฐากเข้าไปหาก็รีบเอาน้ำร้อนเข้าไปถวาย   ถ้ามีอาคันตุกะมาถึงก็ขึ้นไปหาได้ในเวลานี้

บ่าย ๔ โมงเป็นเวลากวาดวัด  พระเณรทั้งหลายก็ลงกวาดวัดแม้ท่านก็กวาดเหมือนกัน  บางวันท่านจะลงไปดูรอบ ๆ วัด   เห็นความขาดตกบกพร่องอย่างไร จะต้องตักเตือนเสมอ  พระเณรที่อยู่ในวัดของท่านประมาทเลินเล่อต่อข้อวัตรไม่ได้เป็นอันขาด   เมื่อท่านรู้ความไม่ดีทั้งภายนอกและภายในแล้ว จะต้องขับให้ออกหนีไปทีเดียว  เมื่อกวาดวัดแล้วมีการตักน้ำโดยความพร้อมเพรียงกัน  แม้ผู้อุปัฏฐากก็ต้องทำเหมือนกัน  การตักน้ำเบาบางแล้วก็รีบทยอยจัดน้ำให้ท่านสรงต่อไป  ตามปกติท่านสรงน้ำร้อน....



จากคำบอกเล่าอย่างละเอียดของ พระอาจารย์วัน  อุตตโม  สะท้อนให้เห็นถึงกระบวนการอุปัฏฐากที่มีต่อครูบาอาจารย์  โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อ พระอาจารย์มั่น  ภูริทัตโต
๑. สะท้อนให้เห็นถึงวัตรปฏิบัติของพระอาจารย์มั่น  ภูริทัตโต  ในวัยชรา เมื่อบั้นปลายของชีวิต  ภาพอันเด่นชัดเป็นอย่างมากของพระอาจารย์มั่น  ภูริทัตโต คือความเคร่งครัด เจ้าระเบียบ  
๒. ไม่ว่าครูบาอาจารย์  พระเณร ผ้าขาว อันเป็นศิษยานุศิษย์ แสดงให้เห็นถึงความศรัทธา  ความเชื่อมั่น  ความรักเคารพต่อท่านพระอาจารย์มั่น  ภูริทัตโต     ทุกกระบวนการทำงานล้วนเป็นการปฏิบัติธรรม ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม     การดำรงอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เคร่งครัด  เป็นระเบียบ ในท่ามกลางการปฏิบัติ  ปรารภความเพียร    วินัยจึงเป็นรากฐานอันแข็งแกร่ง  เป็นความแข็งแกร่งซึ่งเริ่มจากศีลไปยังสมาธิ  เพื่อยังความสว่างไสวให้กับปัญญา.



สรุปความ :  คอลัมน์ "วิถีแห่งการปฏิบัติพระอาจารย์มั่น  ภูริทัตโต"  โดย เสถียร  จันทิมาธร   น. ๓๐ นสพ.ข่าวสด ฉบับประจำวันพุธ ๖  มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๕


*  ความตอน พระอาจารย์มั่นฯ  กำลังไปฐานอยู่ (คัดลอกตามต้นฉบับ) -  ถ้าไปส้วมจะต้องใช้คำว่า "ถาน" หรือ "วัจกุฎี" จึงจะถูกต้อง....กิมเล้ง

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07 มิถุนายน 2555 11:05:53 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #7 เมื่อ: 06 มิถุนายน 2555 15:35:16 »

  ปฏิปทา พระอาจารย์วัน   อุตตโม


๔. งานอุปัฏฐากพระอาจารย์มั่น  ภูริทัตโต จากคำบอกเล่าของพระอาจารย์วัน  อุตตโม

คณะศิษย์ทั้งหลายพากันจัดทำกิจวัตรบางประการ เช่น กวาดกุฏิและจัดน้ำเย็น  เอาน้ำร้อนใส่กระติกไว้สำหรับฉัน  สำหรับล้างหน้า  ปูอาสนะ  เตรียมกระโถน  ตะเกียง  เสร็จแล้วไปสรงน้ำและเดินจงกรม  เมื่อท่านหยุดเดินจงกรมขึ้นกุฏิ  ผู้อุปัฏฐากต้องรีบไปรับเอารองเท้าไปเช็ดเก็บไว้  แล้วเข้าไปทำกิจวัตรตามหน้าที่ของตน  หมู่คณะทั้งหลายก็ค่อยทยอยกันไปเพื่อฟังการอบรมธรรมะ  ถ้าอาคันตุกะหรือแขกชาวบ้านต่างถิ่นมีก็เข้าไปหาได้ในเวลานี้  แต่ถ้าแขกชาวบ้านมีท่านจะให้โอกาสเข้าไปหาแต่ยังไม่มืด  เพราะตั้งแต่ค่ำไปแล้วเป็นเวลาที่ท่านอบรมพระเณรโดยเฉพาะ  ตามปกติแล้วท่านไม่ให้มีกาคลุกคลีกัน   จะเป็นพระเณรต่อพระเณรก็ตาม  จะเป็นพระเณรต่อชาวบ้านก็ตาม  แม้แต่มีกิจธุระไปหากันก็ต้องพูดกันให้เสียงเบาและไม่ให้อยู่ด้วยกันนานอีกด้วย

ถ้าจะฉันสมอ  มะขามป้อมกันเป็นครั้งคราว  หรือเลี้ยงเครื่องดื่มกันเป็นครั้งคราว ต้องไปรวมกันที่ศาลาเป็นกิจจะลักษณะ  แต่ทั้งนี้ก็เป็นแต่เพียงครั้งคราวเท่านั้น หาได้ฉันอย่างนั้นทุกวันไม่ และจะไม่มีผู้ใดนำเครื่องฉันอย่างนั้นไปฉันตามสถานที่ต่าง ๆ เป็นเด็ดขาด  มีแต่ฉันรวมกันที่ศาลาเป็นครั้งคราวและที่กุฏิของท่านเท่านั้น  ส่วนกุฎีของท่านจัดเป็นพิเศษเพื่อรักษาสุขภาพ

การอบรมธรรมะ  ฤดูแล้งอบรมเกือบทุกวันเนื่องจากอาคันตุกะไปมาไม่ค่อยขาด  ถ้าในพรรษากาลมีเป็นบางวัน ๓ วันต่อครั้งหรือ ๗ วันต่อครั้ง แล้วแต่ท่านจะกำหนด หรือแล้วแต่คณะศิษย์จะขอความอนุมัติได้   เลิกการอบรมแล้วมีการถวายนวดเส้นจนกว่าจะเข้าห้อง  การนวดเส้นนั้นท่านไม่ค่อยให้ทำหลายคน เพียง ๑ หรือ ๒ คนเท่านั้น และจะนวดเส้นได้ตามศรัทธาของแต่ละบุคคลนั้นไม่ค่อย   จะทำการนวดได้ก็เพียงบางองค์  จำกัดผู้ทำไว้เหมือนกัน  โดยเฉพาะผู้อุปัฏฐากใกล้ชิดเป็นสำคัญ   บางคราวก็มีผู้ช่วยเปลี่ยนได้  บางคราวก็ไม่มี  เรื่องนี้จึงเป็นภาระที่หนักอยู่กับผู้อุปัฏฐาก  ถึงกระนั้นบางครั้งก็ยังถูกท่านห้ามไม่ให้ทำก็มี

อย่างไรก็ตาม ผู้อุปัฏฐากจะต้องเป็นผู้มีน้ำใจหนักแน่นต่อการอุปัฏฐาก  ต้องพยายามหาช่องทางทำให้ได้เสมอ เมื่อถูกท่านห้ามเข้าแล้วจะหยุดไปเสียเลยก็ใช้ไม่ได้  เพราะท่านต้องการฝึกหัดให้ผู้อยู่ด้วยนั้นให้เป็นคนดีมีสติปัญญาและมีความสามารถอาจหาญ  ข้อสำคัญก็คือท่านไม่ให้ประมาท  ท่านเคยให้คติไว้ว่า “ศิษย์สมภาร หลานเจ้าวัด”  ย่อมมักทะนงตน  ดื้อด้าน  

ความจริงก็เป็นอย่างนั้นส่วนมาก  ผู้ที่เป็นศิษย์พระเถระผู้ใหญ่นั้น ถ้าอยู่นาน ๆ ไปชักจะลืมตน ถือว่าตนได้อยู่กับครูบาอาจารย์ผู้ใหญ่แล้วก็เย่อหยิ่งทะนงตนจะไม่เกรงกลัวต่อใคร ๆ ทั้งนั้น    ถึงท่านผู้อื่นจะเป็นผู้ใหญ่ปูนอุปัชฌาย์อาจารย์ก็ตามย่อมมองเห็นต่ำต้อยลงไป  ความดีก็ไม่ดีเท่าตน  ความฉลาดก็ไม่เท่าตน  ไม่กลัวเกรงต่อใคร  ไม่อยากเคารพนับถือใคร  นอกจากผู้ที่ตนอาศัยอยู่ด้วยเท่านั้น



บทสรุปจากบันทึกของพระอาจารย์วัน  อุตตโม  มาจากการลงมือปฏิบัติโดยตน   เป็นบทสรุปอันมาจากคำบอกเล่าของครูบาอาจารย์  พระเถระผู้ใหญ่  เป็นบทสรุปอันตรวจสอบได้ในท่ามกลางการอุปัฏฐากรับใช้  หากมองจากมุมมองของผู้อุปัฏฐากเพียงด้านเดียว  คล้ายกับว่าครูบาอาจารย์ พระเถระผู้ใหญ่เป็นฝ่ายที่ได้รับจากผู้อุปัฏฐาก  ต้องการเป็นผู้ใกล้ชิดครูบาอาจารย์  พระเถระผู้ใหญ่กระนั้นหรือ    นั่นอาจเป็นความต้องการอย่าง ๑  แต่หากมองเข้าไปที่พระอาจารย์มั่น  ภูริทัตโต ดำรงอยู่ ก็จะประจักษ์ในความยึดมั่นต่อความเป็นระเบียบ  ความมีวินัยอย่างเคร่งครัดมั่นคง  สัมผัสได้จากชีวิตประจำวัน  ที่ดำเนินไปเหมือนกับเป็นปกติยิ่ง    ที่สำคัญเป็นอย่างมากคือ การเดินจงกรม  การปฏิบัติปรารภความเพียร   การอบรมธรรมะให้กับศิษยานุศิษย์  และชาวบ้านผู้มากด้วยความศรัทธา  ต้องการรับฟังธรรมเทศนาและได้ศึกษาข้อวัตรปฏิบัติของพระเณร  

สรุปความ จาก คอลัมน์  "วิถีแห่งการปฏิบัติพระอาจารย์มั่น  ภูริทัตโต"  โดย เสถียร  จันทิมาธร   น. ๓๐  นสพ.ข่าวสด ฉบับประจำวันพฤหัสบดีที่ ๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๕

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07 มิถุนายน 2555 11:03:38 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #8 เมื่อ: 07 มิถุนายน 2555 10:52:39 »

  ปฏิปทา พระอาจารย์วัน   อุตตโม


๕. งานอุปัฏฐากพระอาจารย์มั่น  ภูริทัตโต จากคำบอกเล่าของพระอาจารย์วัน  อุตตโม

ระยะแรกที่ข้าพเจ้ารับภาระ  สิ่งใดที่ไม่เข้าใจท่านก็ได้แนะนำโดยอนุโลมตามผู้ใหม่เป็นธรรมดา   เมื่อเข้าใจสันทัดต่อภาระนั้นแล้ว ท่านก็เริ่มฝึกข้าพเจ้ามิให้เป็นผู้ประมาท  และให้มีสติปัญญาต่อหน้าที่ของตน

สำหรับกิจวัตรประจำวันที่ปฏิบัติต่อท่าน   ท่านจะต้องพลิกแพลงเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ  เราจะถือว่าตนเคยทำมาแล้วอย่างนั้นก็ทำไปเรื่อย ๆ โดยไม่สังเกตไม่ได้ เมื่อสังเกตว่าท่านเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรก็ต้องจัดทำตามที่ท่านเปลี่ยนแปลงนั้นเสมอ  ต้องสังเกตดูให้ทั่วถึงทุกอย่างทั้งสิ้น เวลานั้นเราทำไว้อย่างไร  เวลาที่เราจะทำอีกต้องตรวจตราดูว่าเวลานี้ถูกท่านได้เปลี่ยนแปลงใหม่หรือไม่   แต่เราต้องยึดส่วนที่เป็นปกติไว้เสมอ คือส่วนปกติที่ถูกต้องนั้นต้องมีอีกประเด็นหนึ่งเหมือนกัน     ส่วนนั้นเป็นระเบียบของส่วนกลางที่ใช้เป็นหลักยืนตัวแห่งโลกชั่วนิรันดร์ เช่น ผ้าที่จะปูลาดต้องรู้จักว่าทางนี้เป็นทางเอาขึ้น  ทางนี้เป็นด้านทางเอาลง

อาสนะก็ดี  เสื่อสาดก็ดี  และหมอน เป็นต้น  ต้องให้รู้จักในระเบียบการปูลาดไว้วางทุกอย่าง และสิ่งของต่าง ๆ ก็ต้องให้เป็นระเบียบในการเก็บรักษาหรือใช้สอย  การวางสิ่งต่าง ๆ ที่ใช้สอยก็ต้องรู้จักที่วางอีกว่าวางอย่างไรจึงจะเป็นการเหมาะสม  ทั้งยังรู้จักปฏิบัติให้ถูกต้องตามกาลเทศะอีกด้วย

เท่าที่ท่านได้เปลี่ยนแปลงในสิ่งของที่ใช้สอยก็เพื่อให้เราเป็นผู้ฉลาด  ทั้งทดลองดูความตั้งใจของเรา  หรือจะเรียกว่าเลือกเอาคนก็ว่าได้  เพราะว่าถ้าปฏิบัติตามท่านไม่ทันในเรื่องเหล่านั้น ท่านก็ไม่ให้อยู่ด้วย  ถึงจะให้อยู่ด้วยแต่ไม่ยอมให้ทำในสิ่งที่สลักสำคัญ    เมื่อถูกห้ามในการอุปัฏฐากในสิ่งที่เคยทำมาเราก็ต้องเดือดร้อนเป็นธรรมดา

อีกประการหนึ่ง  ผู้ทำหน้าที่อุปัฏฐากต้องรักษาตัวมิให้มีการกระทบกระเทือนท่านด้วยกาย วาจาและใจของตน   ทางกายก็ต้องอ่อนโยน  สุภาพเรียบร้อยไม่แข็งกระด้าง  มีสัมมาคารวะ  เปรียวเร็ว  คล่องแคล่ว  ไม่อืดอาด  เซ่อซ่า  เฉื่อยชา  ไม่ทอดธุระเมื่อท่านทำอะไรทุกอย่าง  ท่านทำอะไรก็ต้องทำตามท่านได้  ทำจนเป็นที่ไว้วางใจ

เป็นผู้ประพฤติกายของตนให้เบา  ไม่เป็นคนกายหนัก  ทำอะไรต้องให้เรียบร้อยดี  ไม่ทำให้สิ่งของพลัดตกหกล้ม  แตกร้าวเสียหาย  เว้นไว้แต่จำเป็นจริง ๆ  เพราะของใช้ไม้สอยต่าง ๆ ท่านให้มัธยัสถ์ที่สุด  เราจะเดินไปมาที่กุฎีหรือศาลาก็ตามใช้เท้าให้เบาที่สุด  ไม่ให้มีการกระเทือนเป็นอันขาด  

แม้แต่ท่านนั่งสมาธิอยู่เราขึ้นไปบนกุฎีก็มิให้ท่านรู้สึกได้  จะปิด  เปิดประตูหน้าต่างก็ไม่ให้มีเสียงดังเกิดขึ้น  และยังจะต้องรักษาความสะอาดตัวเองให้เพียงพอ  กลิ่นตัว  กลิ่นปาก  กลิ่นผ้านุ่ง  ซึ่งเป็นกลิ่นที่ไม่ดีอย่าให้มีไปกระทบท่านเด็ดขาด  ถ้ามีกลิ่นที่ไม่ดีติดตัวเรานิดหน่อยท่านจะรู้ได้ทันที  เพราะจมูกท่านรู้กลิ่นได้เร็วที่สุด  

จึงสมกับคุณธรรมที่ว่า "สุจิ" เป็นผู้สะอาด  ท่านผู้ทรงธรรมที่เรียกว่านักปราชญ์นั้น จะต้องถึงพร้อมด้วยความสะอาดทั้งทางจิตและทางกาย  ไม่มีตนอันสกปรกเหมือนคนพาลทั้งหลาย.

ทุกรายละเอียดที่ พระอาจารย์วัน  อุตตโม  ได้บันทึกไว้  ทำให้ได้รู้จัก พระอาจารย์มั่น  ภูริทัตโต ว่าชีวิตทั้งชีวิตของท่าน  เป็นชีวิตที่อุทิศเพื่อการศาสนา เพื่อการปฏิบัติ  ไม่มีอื่น   แม้จะมีความเคร่งครัดกระทั่งกลายเป็นความเข้มงวด กวดขัน ต่อธรรมวินัยอย่างเข้มงวด  

การทางศาสนาในที่นี้  เพื่อให้ทุกอย่างดำเนินไปตามระบบระเบียบอันตนได้กำหนดวางเอาไว้  คำถามอยู่ที่ว่า เป็นไปตามเนติอันยึดองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือไม่   ยิ่งกว่านั้น... หากคำนึงในความเป็นจริงที่ต้องการสอน  ต้องการคัดพระเณรซึ่งอยู่ใกล้ชิด  ให้เป็นไปอย่างเคร่งครัด  ไม่มีหย่อนยาน  ตามวิถีแห่งการปฏิบัติ  การปรารภความเพียร  ดังพระอาจารย์วัน  อุตตโม ได้ถ่ายทอดให้เป็นที่ประจักษ์

ทั้งหมดอันพระอาจารย์วัน  อุตตโม เล่ามา เป็นเพียงเรื่องทางกาย   ยังมีเรื่องทางวาจา  ยังมีเรื่องทางใจ   จึงมีความจำเป็นเป็นอย่างสูงต้องนำเอารายละเอียดทั้งหมดมาถ่ายทอด....โปรดติดตาม




สรุปความจาก คอลัมน์ "วิถีแห่งการปฏิบัติพระอาจารย์มั่น  ภูริทัตโต"  โดย เสถียร  จันทิมาธร    น. ๓๐ นสพ.ข่าวสด ฉบับประจำวันศุกร์ที่  ๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๕
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07 มิถุนายน 2555 11:00:55 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #9 เมื่อ: 12 มิถุนายน 2555 11:50:36 »


   ปฏิปทา พระอาจารย์วัน   อุตตโม




๖. งานอุปัฏฐากพระอาจารย์มั่น  ภูริทัตโต จากคำบอกเล่าของพระอาจารย์วัน  อุตตโม

ทางวาจาต้องระวังคำพูดของตนให้มาก  พูดให้รู้จักคำต่ำ คำสูง คำหยาบและคำสุภาพ  ตลอดถึงคำสบประมาทอย่างอื่น ๆ ด้วย  เมื่อท่านพูดไปอย่างไร เราจะพลอยพูดไปกับท่านไปทุกอย่างก็ไม่ได้  เพราะบางครั้งท่านอาจจะทดลองดูกิเลสของเราก็เป็นได้  เพื่อเป็นพยานประกอบกับความรู้ภายในของท่าน  เรื่องคำพูดแต่ละคำท่านย่อมรู้ดีทุกประการ

ขณะอยู่ใกล้ท่านไม่ควรพูดคำหยาบ  เสียงพูดที่กล้าแข็ง  คำแกระโชกกระชาก  พูดตลกเฮฮา  หรือพูดเหลวไหลไร้สาระ  และไม่ควรตักเตือนบอกสอนผู้อื่นต่อหน้าท่าน  ไม่พูดเป็นเชิงเถระ  รับแขกในที่ต่อหน้าท่าน คำพูดประเจิดประเจ้อไม่ควรพูดทั้งสิ้น  เราจะพูดอะไรแต่ละครั้งต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วนเสียก่อนจึงพูด  บางครั้งท่านอาจจะนำเราพูดไปในเชิงต่าง ๆ ก็มี  หรือท่านจะพูดให้เป็นเรื่องที่เราจะคัดค้านก็มี  ถ้าเราไม่คิดให้รอบคอบหรือพูดตามท่านไป  หรือคัดค้านท่านแบบกระต่ายยืนขาเดียว  มักจะถูกท่านเอากลับหลังเหมือนกัน   เรื่องเช่นนี้เราจะถือว่าท่านแส่หาเรื่องแก่สานุศิษย์ก็หาไม่  แต่ย่อมเป็นกลวิธีฝึกสอนสานุศิษย์  ให้สติปัญญาที่รอบรู้ต่อเหตุการณ์นั่นเอง  

ตามหลักธรรมก็มีอยู่แล้วว่า มันตาภาณี ที่แปลว่า ผู้ฉลาดพูด

ท่านเคยสอนอยู่เสมอว่า “เหลือแต่พูด  บ่อจักบ่อนเบาหนัก  เดินบ่อไปตามทาง  สิถืกดงเสือฮ้าย” ดังนี้  ตามคติที่ท่านพร่ำสอนนั้น มีความหมายว่า ต้องพูดให้มีความฉลาดในชั้นเชิงแห่งการพูด  ให้รู้จักคำพูดที่หนักเบา ควรพูดหรือไม่ควรพูด  เมื่อจะพูดก็ให้รู้จักใช้ถ้อยคำจะพูดตลอดถึงลีลาแห่งการพูด

การปฏิบัติดำเนินไปตามอริยมรรคปฏิปทา  จึงจะไม่เสื่อมเสีย  ถ้าปฏิบัติไม่ดำเนินตามอริยมรรคปฏิปทา   ก็จะมีแต่ความเสื่อมเสียเป็นเบื้องหน้า  เพราะกิเลสภัยเหมือนกับเสือร้ายที่อาศัยอยู่ในป่าชัฏ  ซึ่งคอยสังหารชีวิตสัตว์ผู้หลงทางเข้าไปหาตนแล้วจับกินเป็นอาหารอยู่เนืองนิตย์

เรื่องการพูดนี้ ท่านอาจารย์เทสก์  เทสรังสี   เลยเล่าเตือนข้าพเจ้าว่า   สมัยหนึ่งท่านพักอยู่ด้วย พระอาจารย์มั่น  ภูริทัตโต  ณ ราวป่าแห่งหนึ่งที่จังหวัดเชียงใหม่  ซึ่งบนค่าคบแห่งต้นไม้ต้นหนึ่งอยู่ข้างหน้ากุฏิของ พระอาจารย์มั่น  ภูริทัตโต  มีปลวกขึ้นไปทำรังอยู่   เวลาพระอาจารย์มั่น  ภูริทัตโต  ออกจากห้องแล้วเดินลงไปที่ต้นไม้ต้นนั้น  แหงนหน้ามองอย่างพินิจพิเคราะห์  แล้วหันมาทางพระเณรที่กำลังทำกิจวัตรกันอยู่  พระอาจารย์มั่น  ภูริทัตโต  พูดขึ้นว่า “ดูซิ  ดูซิ  ผึ้งอะไรช่างมาทำรังอยู่ที่ต้นไม้นี้”  

วันต่อไปท่านก็เดินไปแหงนมองแล้วก็พูดอย่างนั้นอีก  บางวันยังพูดว่า รังผึ้งได้ใหญ่ยาวไปกว่าเดิมก็มี  แต่ว่าสานุศิษย์ทั้งหลายเพียงแต่ไปมองดูแล้วก็ไม่มีองค์ใดพูดอย่างไร  เมื่อท่านพูดอยู่ก็ไม่มีผู้ใดกล่าวคัดค้าน แล้วท่านก็หยุดพูด  “เรื่องเช่นนี้  ก็เป็นเรื่องที่ท่านทดลองหาผู้มีนิสัยจองหองฉลาดเก่งอย่างนั้นเอง”  เป็นบทสรุปจาก ท่านอาจารย์เทศก์  เทสรังสี


การศึกษาพระอาจารย์มั่น  ภูริทัตโต   จากคำบอกเล่าทุกรายละเอียดของ  พระอาจารย์วัน  อุตตโม  ปรากฏให้เห็นภาพการปฏิบัติตนของพระอาจารย์มั่น  ภูริทัตโต    ที่แทบทุกลมหายใจเข้าออก  สะท้อนเงาแห่งความเป็นครู   ครูซึ่งแน่วแน่ในการปฏิบัติ  ปรารภความเพียรอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยโรยรา  ครูซึ่งแน่วแน่ในการพร่ำสอนศิษย์ด้วยความรัก ความปรารถนาดีอยู่เป็นนิจ  และตลอดเวลา





สรุปความจาก คอลัมน์ "วิถีแห่งการปฏิบัติพระอาจารย์มั่น  ภูริทัตโต"  โดย เสถียร  จันทิมาธร    น. ๓๐ นสพ.ข่าวสด ฉบับประจำวันจันทร์ที่ ๑๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๕
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18 มิถุนายน 2555 19:13:17 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #10 เมื่อ: 13 มิถุนายน 2555 10:57:36 »

.

  ปฏิปทา พระอาจารย์วัน   อุตตโม


๗. งานอุปัฏฐากพระอาจารย์มั่น  ภูริทัตโต จากคำบอกเล่าของพระอาจารย์วัน  อุตตโม

ทางจิตใจ นั้น เป็นเรื่องที่สำคัญมาก  ฉะนั้น การอยู่ด้วยท่านเราต้องระมัดระวังสำรวมใจของตนให้มาก  เราจะปล่อยใจให้ฟุ้งซ่านเหลวไหลไปตามอารมณ์ต่าง ๆ นั้นไม่ได้  ข้อสำคัญที่สุดก็คือ  ทิฏฐิมานะ   ซึ่งมักจะไปกระทบกับวาระจิตของท่านอย่างขนาดหนักทีเดียว  พวกเจ้าทิฏฐิมานะนี้  พอแต่ย่างเข้าสู่เขตสำนักของท่านเท่านั้น  ท่านรู้ได้ทีเดียว  ท่านเคยปรารภให้ฟังเหมือนกัน  เมื่อสังเกตตามเหตุการณ์ดูแล้วก็เป็นจริงอย่างที่ท่านปรารภให้ฟังทุกประการ  ทั้งจะทำให้ผู้ที่ถือทิฏฐิมานะนั้นเปล่าจากประโยชน์ของตนอีกด้วย

เมื่อเราหวังต่อการศึกษาอบรมธรรมปฏิบัติจากครูบาอาจารย์แล้วจะมัวแต่ถือทิฏฐิมานะของตนอยู่ ย่อมจะยอมรับเอาธรรมจากโอวาทของท่านไปปฏิบัติตามไม่ได้เป็นอันขาด  เราผู้หวังต่อการศึกษาอยู่จะต้องยอมสละทิฏฐิมานะของตนเสีย   ตลอดทั้งความรู้ที่ได้จากการท่องบ่นจดจำมาที่เป็นฝ่ายปริยัติธรรม  จะเรียนได้น้อย มากเท่าไรก็พึงเก็บไว้เสียก่อน ไม่ควรนำเอาออกมาแสดง หรือนำมาวิพากษ์วิจารณ์กับธรรมโอวาทของท่านเป็นอันขาด  อาจจะเข้าทำนองที่ว่า “รู้ก่อนเกิด”

เมื่อเราถือว่าตนรู้แล้ว  เข้าใจแล้ว  ก็จะหมดหนทางการทำความรู้ในสัจธรรมให้เกิดในตนต่อไป  เมื่อใดความรู้ที่เป็นอมตธรรมยังไม่ปรากฏขึ้นแก่ตน  เมื่อนั้นเราจะถือว่าตนรู้ตนเข้าใจไม่ได้  เพราะความรู้ที่เกิดจากทรงจำนั้นยังไม่เป็นสาระ  เพียงแต่เป็นสัญญาเท่านั้น  ธรรมดาสัญญาทั้งหลายย่อมตกอยู่ในไตรลักษณ์ทั้งสิ้น  หาได้ล่วงเลยไปจาก อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่  ฉะนั้น จึงไม่ควรถือเอาสัญญาที่ทรงจำมาเป็นความรู้ของตน  

ถ้าอย่างนั้น ความรู้ที่ได้ทรงจำมาก็จะไม่เป็นสารประโยชน์แก่ตนเท่านั้นเอง  ถ้าเราคิดอย่างนั้นก็ถูก  แต่อย่าลืมธรรมะ ที่ว่าให้ถึงพร้อมด้วยการรักษา  เหมือนกับทรัพย์ที่เราหามาได้จะต้องมีการเก็บรักษาเสียก่อน จึงค่อยใช้จ่ายตามทีหลัง  ถ้าไม่มีการเก็บรักษาไว้ก่อนจะถือว่าเป็นคนมีทรัพย์ได้อย่างไร  เมื่อคนมั่งมีถือว่าตนมั่งมีอยู่แล้ว  มัวแต่เอาทรัพย์ของตนออกอวดอ้างไม่แสวงหารายได้ ต่อไปก็จะเป็นคนที่มั่งมีต่อไปไม่ได้

ฉันใดก็ดี  เราผู้ได้ทรงจำพระวินัยได้น้อยมากตามความสามารถของตนนั้นก็เหมือนกัน  ความทรงจำของตนนั้นเมื่อรู้จักเก็บรักษาไว้ด้วยดี  ก็จะเป็นพื้นความรู้ความฉลาดของเราอย่างสำคัญ  พอเราได้รับการประกอบความเพียรลงไปแล้ว  เมื่อความรู้ความเห็นได้ปรากฏแจ้งประจักษ์ขึ้นแก่ตนเมื่อใด  เมื่อนั้นความรู้ที่เราได้ทรงจำมาก่อนนั้นก็จะวิ่งเข้ามาเป็นพยานอย่างน่าพิศวงทีเดียว  โดยที่เราไม่ต้องได้คิดค้นหา  แต่หากจะวิ่งเข้ามารับรองเอง  ความรู้นั้นจะเป็นของตนต่อไป


บทสรุปจาก “คำบอกเล่า”  ของพระอาจารย์วัน  อุตตโม   สัมผัสได้ในความรอบด้านของพัฒนาการแห่งสัญญา  ความทรงจำมั่นหมาย  ความตระหนักรู้  ของพระอาจารย์วัน  อุตตโม ในเรื่องราวอันเกี่ยวกับพระเถระผู้ใหญ่  ไม่ว่าจะเป็นพระอาจารย์มั่น  ภูริทัตโต  หรือ พระอาจารย์เทศก์  เทสรังสี  ท่ามกลางการปฏิบัติปรารภความเพียร  สะท้อนออกอย่างเด่นชัดว่า มิได้เป็นไปด้านเดียว  แต่เป็นไปอย่างประสานระหว่าง “ปฏิยัติ”  กับ “ปฏิบัติ”



สรุปความจาก คอลัมน์ "วิถีแห่งการปฏิบัติพระอาจารย์มั่น  ภูริทัตโต"  โดย เสถียร  จันทิมาธร    น. ๓๐ นสพ.ข่าวสด ฉบับประจำวันอังคารที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๕
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 13 มิถุนายน 2555 14:34:45 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #11 เมื่อ: 13 มิถุนายน 2555 14:41:52 »

.

  ปฏิปทา พระอาจารย์วัน   อุตตโม


๘. งานอุปัฏฐากพระอาจารย์มั่น  ภูริทัตโต จากคำบอกเล่าของพระอาจารย์วัน  อุตตโม

เมื่อเราอยู่ร่วมสำนักท่าน  เราจะต้องระวังจิตของตนตลอดเวลา  เพราะท่านไม่ต้องการผู้มีจิตโลเลจับจดให้อยู่ร่วมสำนักท่าน  ซึ่งจะทำให้ถ่วงความเจริญของหมู่คณะ  และจะก่อความยุ่งยากแก่หมู่คณะ  ทั้งจะทำให้หนักต่อการบริหารหมู่คณะของท่าน

อนึ่ง การรักษาจิตนั้น เมื่อเวลาเราเข้าไปหาท่านเราก็สำรวมจิต  ให้เพ่งพินิจอยู่ที่กัมมัฏฐานของตนเสมอ  จะทำกิจวัตรอยู่ก็ตาม  จะพูดจาปราศรัยอยู่กับท่านอยู่ก็ตาม  หรือจะฟังโอวาทของท่านอยู่ก็ตาม  และเวลานวดเฟ้นท่านอยู่ก็ตาม  เราจะต้องถึงพร้อมด้วยการสำรวมจิตอยู่ทุกกรณี  ถ้าเราไม่ตั้งใจสำรวมอยู่อย่างนั้น บางครั้งจิตชั่วของเราจะไปกระทบเรื่องภายในของท่าน  เพราะท่านเคยปรารภให้ฟังเสมอว่า “ถ้าพระเณรที่ชั่วมาร่วมอยู่ด้วย  เทวดารังเกียจ  มาถึงแล้วก็รีบหนีไป  หรือถ้าพวกเทพเหล่าใดที่รู้ก่อนแล้วก็จะไม่มาหาท่านเป็นเด็ดขาด”  

เพราะเหตุนั้น การรักษาจิตของเราก็เพื่อให้เป็นสิริมงคลและให้เป็นสารประโยชน์ทั้งตนและคนอื่นด้วย  ทั้งเรายังจะต้องรักษาจิตของตนอย่าให้คิดขัดใจในท่านหรือคิดประมาทท่าน  การคิดอย่างนี้ย่อมเป็นความผิดร้ายแรงเหมือนกัน  เป็นความคิดที่สร้างหม้อนรกให้ตนเอง  คนประเภทนี้จะไม่เจริญจนตลอดชีวิตของตน

เมื่อเวลาเราฟังโอวาทของท่าน เราจะต้องกำหนดจิตให้อยู่ในความสงบ ทำจิตให้คอยฟังอยู่ในความสงบนั้น ไม่ส่งจิตออกไปฟังอย่างธรรมดา  จึงจะได้ความรู้และได้อุบายจากการฟัง  ถ้าเราไม่ทำจิตให้สงบอย่างนั้น การฟังไม่ค่อยจะได้ผลอันพึงปรารถนาแก่ตน  เพราะการฟังนั้นย่อมมีอยู่ ๓ ประการ คือ ประการที่ ๑ ฟังเป็นปริยัติ  ประการที่ ๒ ฟังเป็นปฏิบัติ  ประการที่ ๓ ฟังเป็นปฏิเวธ

การฟังเป็นปริยัตินั้น เป็นการฟังตามธรรมดา มีจิตจดจ่อต่อการฟังอยู่ที่โสตประสาท  ผลที่ได้รับคือการทรงจำในข้ออรรถข้อธรรม และรู้เรื่องในโวหารปฏิภาณของผู้แสดง  มีการติการชมไปในตัว  มีโทมนัสขัดเคืองบางขณะ  มีความโสมนัสยินดีบางขณะ  

การฟังเป็นปฏิบัตินั้น ผู้ฟังจะต้องยึดเอาความสงบใจไว้เป็นพื้นใจในการฟัง  ตั้งใจฟังอยู่ในรัศมีของความสงบอย่างแน่วแน่  ผลที่ได้รับคือสติของผู้ฟังจะแนบเนียนเข้าโดยลำดับ  ปัญญาจะว่องไวต่อการค้นคิด และมีกำลังกล้าต่อการพิจารณา  จิตจะมีความสว่างกระจ่างแจ้งขึ้นกว่าเดิม  บางขณะจะเกิดอุบายธรรมขึ้นเป็นข้อสะกิดใจ  บางขณะจะปรากฏนิมิตบอกเหตุการณ์  เกิดความเลื่อมใสในธรรมวินัย

การฟังเป็นปฏิเวธนั้น  ในขั้นแรก ๆ ก็มีลักษณะเหมือนกับการฟังเป็นปฏิบัติ  แต่ชวนจิตให้มีกำลังกล้าสามารถดิ่งลงไปทำหน้าที่ในการละกิเลสได้

จิตได้กำลังกล้าด้วยอำนาจแห่งการฟังจึงสามารถได้บรรลุมรรคผล  เหมือนกับกล้วยที่กำลังจะแก่สุกอยู่แล้วในไม่นาน  พอถูกคนเอาไปบ่มทำให้กล้วยนั้นสุกเร็วขึ้นกว่าเดิม  เหมือนกับดอกบัวที่พ้นน้ำแล้วพอถูกแสงอาทิตย์ก็บาน  ผู้ที่ได้บรรลุมรรคผลในขณะฟังก็เหมือนกัน  ธรรมเทศนาที่ได้ฟังย่อมเป็นกำลังช่วยให้กำลังเดิมมีกำลังกล้าจนสามารถฟาดฟันทำลายอวิชชาให้สิ้นไป เรียกว่าการฟังกับการเรียนรู้เป็นไปพร้อม ๆ กัน


จากคำบอกเล่าของ พระอาจารย์วัน  อุตตโม  สรุปได้ว่า   การฟังเป็นปริยัติ  เป็นพื้นฐานการฟังอันเป็นเรื่องปกติธรรมดา ที่ยังมีกิเลส   การฟังที่เป็นปฏิบัตินั้น ต้องอาศัยสมาธิความแน่วแน่แห่งจิต เพื่อพัฒนาก้าวหน้าไปสู่การฟังเป็นปฏิเวธ  เพื่อพัฒนาให้จิตมีกำลังกล้าสามารถดิ่งลงไปทำหน้าที่ละกิเลสได้.. พระเณรที่อยู่กับพระอาจารย์มั่น  ภูริทัตโต  จึงต้องเพิ่มความระมัดระวัง  เหมือนกับรู้โดยอัตโนมัติว่า พระอาจารย์มั่น  ภูริทัตโต  ตามติดอยู่ไม่ห่าง...


สรุปความจาก  คอลัมน์  "วิถีแห่งการปฏิบัติพระอาจารย์มั่น  ภูริทัตโต"  โดย เสถียร  จันทิมาธร   น. ๓๐ นสพ.ข่าวสด ฉบับประจำวันพุธที่ ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๕
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 13 มิถุนายน 2555 14:53:02 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #12 เมื่อ: 15 มิถุนายน 2555 14:24:03 »

.

   ปฏิปทา พระอาจารย์วัน   อุตตโม


๙. งานอุปัฏฐากพระอาจารย์มั่น  ภูริทัตโต จากคำบอกเล่าของพระอาจารย์วัน  อุตตโม

การออกไปบำเพ็ญเพียรของข้าพเจ้าครั้งนี้ ประมาณเดือนกว่าแล้วก็กลับเข้าไปอยู่กับท่านตามเดิม  ทันกับงานวิสาขบูชา  ท่านก็ได้ถามถึงการภาวนาของข้าพเจ้า  ข้าพเจ้ารู้ได้เป็นไปอย่างไรก็กราบเรียนถวายให้ท่าน    ท่านปรารภว่า “การเจริญอาณาปานสติก็เป็นทางที่ดีเหมือนกัน  เพราะการเจริญพระกัมมัฏฐานแต่ละอย่าง เมื่อจิตจะรวมลงเป็นสมาธิย่อมน้อมเข้าสู่คลองอานาปานสติเสียก่อน  จึงรวมลงไปเป็นสมาธิ  พระอาจารย์ทั้งหลายได้กล่าวไว้ว่า กัมมัฏฐาน ๔๐ ห้องเป็นน้องอานาปาฯ”   แล้วท่านก็แสดงถึงอานาปานสติญาณที่ท่านเคยเป็นมาแล้วโดยละเอียด

เรื่องการใช้กัมมัฏฐานอะไรเป็นบริกรรมนั้น ข้าพเจ้าหาได้กราบเรียนให้ท่านทราบไม่  แต่ท่านรู้เรื่องภายในใจของข้าพเจ้าทั้งหมดจริง  ข้าพเจ้าก็ได้กราบเรียนถวายตามความเป็นจริงของตนต่อท่าน เว้นแต่คำบริกรรมเท่านั้น เพราะฉะนั้น เมื่อท่านปรารภถึงอานาปานสติกัมมัฏฐานดังนั้น ก็ตรงตามที่ข้าพเจ้าได้ใช้เป็นบทบริกรรมจริง ๆ  ขณะนั้นจิตของข้าพเจ้าผู้ยังอ่อน ก็ได้แต่ความปลื้มปีติและเลื่อมใสอัศจรรย์ในพระคุณของท่านอย่างบอกไม่ถูก  ข้าพเจ้าหาความผิดมิได้จึงไม่มีความประหม่าตกใจ  ข้าพเจ้าหาแผลมิได้จึงไม่รู้สึกเจ็บในเมื่อถูกแทง  เมื่อเป็นดังกล่าวมาจะไม่ให้ข้าพเจ้าเชื่อว่าท่านรู้วาระจิตของผู้อื่นอย่างไรได้

แม้ครั้งอื่น ๆ อีกก็มีมากตามที่ข้าพเจ้าอยู่ด้วยท่านมา  เช่นครั้งหนึ่งเมื่อพวกข้าพเจ้าอยู่ปรนนิบัติท่านเพียง ๒ – ๓ องค์  ท่านปรารภว่า  “เรารู้เรื่องของพวกท่านทั้งหลายทุกองค์เหมือนกัน  แต่เราไม่อยากพูดเท่านั้น”  ครั้งหนึ่งท่านปรารภว่า “สมัยก่อน วิธีสอนผู้อื่นนั้นเคยได้ทักความผิดของผู้อื่นตามวาระจิตชั่วที่เกิดขึ้นของผู้นั้น  แต่เป็นผลเสียมากกว่าผลได้  เหตุนั้น เราจึงเลิกวิธีนั้นเสีย ทุกวันนี้จะใช้อยู่ก็เป็นบางกรณีเท่านั้น”   

ตามธรรมดาพวกข้าพเจ้าเมื่อสมัยอยู่ภายใต้ร่มโพธิ์ท่านพระอาจารย์  ต่างสำรวมระวังจิตและข่มจิตของตนไม่ให้แส่ส่ายโลเลตามตามอารมณ์ของโลก  เพราะเหตุนั้นจึงทำให้ได้กำหนดจิตอยู่กับกัมมัฏฐานที่ตนเจริญแล้วทั้งยืน เดิน นั่ง นอน ตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน เว้นไว้แต่เวลานอนหลับเท่านั้น  หาได้สรวลเสเฮฮาสนุกสนานเพลิดเพลินไปตามความชอบของกิเลสไม่ 

เมื่อพิจารณาถึงสภาพของผู้ที่ได้ศึกษาอบรมธรรมปฏิบัติของครูบาอาจารย์แล้ว มี ๓ ประการ คือ มีความดีสืบต่อยิ่ง ๆ ขึ้นไปประเภทหนึ่ง  พอทรงความดีของตนไว้ได้ประเภทหนึ่ง  เป็นผู้เสื่อมถอยจากความดีที่ตนได้ปฏิบัติมาก่อนแล้วประเภทหนึ่ง เพราะจิตนี้เมื่ออบรมได้ไม่เพียงพอต่อความมั่นคงแล้ว ย่อมมีการกลับกลอกในภายหลังเป็นธรรมดา  ถ้าอวดดีมีความประมาทเมื่อใดย่อมเสื่อมเสียเมื่อนั้น

บทสรุปจาก พระอาจารย์วัน  อุตตโม  คือการดำรงอยู่อย่างมีสติ  จิตนี้เมื่ออบรมได้ไม่เพียงพอต่อความมั่นคงแล้ว  ย่อมมีการกลับกลอก  แปรเปลี่ยน กลับไปกลับมา  หากขาดสติ  ขาดความระมัดระวัง อวดดีมีความประมาทเมื่อใด ย่อมเสื่อมถอยจากความดีเมื่อนั้น
... ยิ้ม



สรุปความจาก   คอลัมน์  "วิถีแห่งการปฏิบัติพระอาจารย์มั่น  ภูริทัตโต"   โดย เสถียร  จันทิมาธร    น. ๓๐ นสพ.ข่าวสด ฉบับประจำวันพฤหัสบดีที่ ๑๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๕
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #13 เมื่อ: 18 มิถุนายน 2555 19:11:23 »

.

   ปฏิปทา พระอาจารย์วัน   อุตตโม


๑๐. งานอุปัฏฐากพระอาจารย์มั่น  ภูริทัตโต จากคำบอกเล่าของพระอาจารย์วัน  อุตตโม

เป็นที่รับรู้กันในหมู่ศิษยานุศิษย์ที่ใกล้ชิด  เกี่ยวแก่โรคประจำตัวของ พระอาจารย์มั่น  ภูริทัตโต  ปรากฎตามบันทึกของพระอาจารย์วัน  อุตตโม ว่า “ท่านเป็นโรคริดสีดวงลำไส้และเป็นโรคลม  โรคของท่านมีการกำเริบอยู่บ่อย ๆ แต่นาน ๆ จึงจะมีอาการหนักอยู่ทีหนึ่ง...มาครั้งนี้ท่านก็มีอาการถ่ายท้องแล้วก็มีกำลังทรุดลงไป  ฉันจังหันไม่ค่อยได้   เมื่อถึงคราวเกิดอาพาธนั้น ตามปกติแล้วท่านห้ามไม่ให้ยุ่งกับหมอกับยา  มีแต่เร่งการกำหนดพิจารณาธรรมของท่านอย่างเดียวเท่านั้น....ผู้ที่เข้าไปเยี่ยมทั้งหลายจะต้องเข้าไปด้วยความสงบจริง ๆ จะเรียนถามท่านก็ต้องรู้จักประมาณแห่งการพูดและการเข้าหา  ขณะที่อยู่ใกล้ท่านจะพูดคุยให้มากไม่ได้เป็นเด็ดขาด  ต้องกำหนดจิตของตนให้สงบอยู่เสมอ จึงจะอยู่ในที่พยาบาลไปได้นาน”   

ต่อมา พระอาจารย์มั่น  ภูริทัตโต ก็ย้ายไปพักที่บ้านนาใน เพื่อเปลี่ยนสถานที่และอากาศ แต่อยู่ไม่ได้นานก็ย้ายกลับมาสถานที่เดิม  ต่อมาอาการอาพาธก็หาย  เป็นการหายไปด้วยอำนาจการเพ่งพินิจในธรรม   

พระอาจารย์มั่น  ภูริทัตโต ได้เล่ารายละเอียดจากประสบการณ์เดิม  และพระอาจารย์วัน  อุตตโม ได้บันทึกโดยละเอียดไว้ดังนี้

เมื่อคืนนี้อาพาธได้ระงับลงแล้ว  และปรากฏธรรมนิมิตขึ้นมาว่า ฌายี ตะปติ อาทิจโจ  สมัยก่อนก็เหมือนกัน  เมื่อเราเพ่งอยู่ในธรรมไม่ท้อถอย  เมื่ออาพาธระงับลงไปแล้วก็ปรากฏข้อธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งผุดขึ้นมาให้รู้เช่นเดียวกัน  เพราะฉะนั้น เมื่อเกิดอาพาธขึ้นมาเราจึงไม่ค่อยกังวลกับยาเท่าไรนัก  ถ้าเราหวังแต่จะพึ่งยาพึ่งหมออย่างเดียวก็ไม่ถูก  เป็นการผิดต่อสรณะ  สำหรับผู้ปฏิบัติธรรมทั้งหลายต้องเป็นผู้หนักแน่นอยู่ในธรรม  ไม่หวั่นไหวไปตามโลกธรรม  จึงจะสมกับคำปฏิญาณตนแล้วว่า ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ  ข้าพเจ้าถึงพระธรรมว่าเป็นสรณะ  เราเคยเห็นอำนาจแห่งความเพียรมาแล้วสมัยไปป่าอยู่คนเดียวก็ถ้ำสาลิกา  จังหวัดนครนายก  ครั้งนั้นได้เกิดธาตุพิการถึงกับไฟธาตุไม่ย่อยอาหาร  ฉันอะไรเข้าไปแล้วไฟธาตุก็ไม่ย่อย  เมื่อถ่ายออกมาก็สด ๆ อยู่เช่นเดิม

เบื้องต้นก็คิดหวั่นไหวไปต่าง ๆ นานา แต่ในที่สุดก็ตกลงใจยอมเสียสละชีวิตได้  จึงเข้าที่นั่งสมาธิแล้วอธิษฐานจิตยอมสละชีวิตตายต่อความเพียร  ได้เสวยทุกขเวทนากล้าแสนสาหัสถึงกับไม่รู้สึกตัวเสียเลย  ผลสุดท้ายเมื่อรู้สึกตัวขึ้นมาแล้วต้องได้มาสืบสวนตัวเองอีกทีหนึ่งว่า ทำไมเราจึงเป็นอย่างนี้

ครั้นคิดทบทวนไปมาจึงรู้ได้ว่าเมื่อก่อนเราไม่สบายจึงได้มาเข้านั่งสมาธิ  แต่บัดนี้อาการนั้นได้หายไปอย่างปลิดทิ้งเสียแล้ว  มองดูสรีระร่างกายเปียกชุ่มไปด้วยเหงื่อตลอดทั้งตัว  ผ้านุ่งห่มก็เปียกไปหมด  กำลังของจิตก็สามารถอาจหาญขึ้นกว่าเดิมหลายเท่า  เราเคยเห็นอำนาจแห่งคุณธรรมส่วนนี้ตั้งแต่ครั้งนั้น เพราะเหตุนั้น ในกาลต่อมาเมื่อเกิดอาพาธอย่างใดขึ้นเราจึงไม่หวังแต่จะพึ่งยาอย่างเดียวเท่านั้น  โดยส่วนมากเราใช้การเพ่งพินิจ  อาพาธก็สงบระงับไปเอง 

ในโพชฌงคสูตร  พระพุทธองค์ได้แสดงไว้ในลักษณะนี้เหมือนกัน  ได้ยินว่า สมัยหนึ่งพระพุทธองค์ทรงอาพาธ  พระจุนเถรเข้าไปเผ้าแล้วแสดงสัมโมทนียกถา  พระองค์รู้ความประสงค์แล้วเจริญสัมโพชฌงค์ทั้ง ๗ ประการให้ยิ่งขึ้น  พระอาพาธนั้นก็ระงับไป ดังนี้เป็นอาทิ

ฉะนั้น ธรรมทั้งหลายที่เราได้ยิน ได้ฟังมาแล้ว ถึงจะมีความเชื่อมั่นก็ตาม หาได้เป็นความเชื่อมั่นที่สมบูรณ์ไม่ ต้องปฏิบัติให้มีความรู้เห็นเป็นไปด้วยตนเองเสียก่อน  จึงจะเป็นความเชื่อที่สมบูรณ์ได้

คำบอกเล่าของ พระอาจารย์มั่น  ภูริทัตโต  ผ่าน พระอาจารย์วัน  อุตตโม  คล้ายเป็นการซ้อมเพื่อเตือนให้รู้ถึงโรคาพยาธิที่บ่อนเบียนมาอย่างยาวนาน  และถึงกาละอันจำต้องจากไป  จากไปพร้อมกับชีวิตของพระอาจารย์มั่น  ภูริทัตโต  ในปี พ.ศ. ๒๔๙๒.



สรุปความจาก   คอลัมน์  "วิถีแห่งการปฏิบัติพระอาจารย์มั่น  ภูริทัตโต"   โดย เสถียร  จันทิมาธร    น. ๓๐ นสพ.ข่าวสด ฉบับประจำวันศุกร์ที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๕

.
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #14 เมื่อ: 14 มกราคม 2556 11:31:38 »

.
   ธรรมบรรยายของท่านอาจารย์วัน  อุตฺตโม


ธรรมบรรยายของท่านอาจารย์วัน  อุตฺตโม
ในรายการพร้อมใจสร้างชาติ ทางวิทยุกระจายเสียง


เรื่องที่ ๑

ท่านสาธุชนทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันทุกท่าน  โปรดได้ทำความสงบจิต คิดค้นด้วยความบริสุทธิ์ใจให้ถี่ถ้วนถึงเรื่องความเป็นอยู่ของตนและของคนอื่นที่ต่างคนต่างปรารถนาความสุขและความเจริญในจุดเดียวกันทั้งสิ้น  ส่วนความทุกข์และความเสื่อม หาท่านผู้หนึ่งผู้ใดต้องการปรารถนาไม่ เมื่อความต้องการปรารถนาความสุขและความเจริญมีแล้วที่ดวงจิตของเราเช่นนี้ แม้คนอื่นย่อมต้องการปรารถนาเช่นเดียวกับตัวของเรานั้นเอง  ทั้งนี้ทั้งนั้นจึงเกิดเป็นปัญหาของโลกที่แก้ไม่ตกอยู่ตลอดกาล  ใครเกิดขึ้นมาเป็นมนุษย์แล้วต้องเจอปัญหานี้ทุกยุคทุกสมัยจะต่างก็แต่หนักหรือเบาเท่านั้น  เนื้อหาที่สำคัญแห่งปัญหานี้นั้นคือ ๑. อยากได้ความสุขแต่ตนคนเดียว  ๒.อยากร่ำรวยแต่ตนคนเดียว  ๓. อยากมีตำแหน่งสูงศักดิ์แต่ตนคนเดียว  ๔.อยากมีอำนาจแต่ตนคนเดียว ๕. อยากดีเด่นแต่ตนคนเดียว  ๖. อยากมียศถาบรรดาศักดิ์ที่สูงเด่นแต่ตนคนเดียว  ๗.อยากมีความรู้ความฉลาดเหนือกว่าผู้อื่นทั้งหลายแต่ตนคนเดียว

ลักษณะทั้ง ๗ ประการนี้ จัดว่าเป็นปัญหาโลกแตก  คือทำให้มนุษย์แตกแยกกัน แตกแยกเป็นพรรคเป็นพวก เป็นก๊กเป็นเหล่า เป็นหมู่และเป็นคณะ  สาเหตุมาจากความเห็นแก่ตัว  ตามลักษณะทั้ง ๗ ประการดังกล่าวแล้ว ท่านผู้ฟังทั้งหลาย พอจะมองเห็นแล้วหรือยังว่า เมื่อความเห็นแก่ตัวเกิดขึ้นแล้ว ขั้นต่อไปอะไรบ้างจะเกิดขึ้นมาเป็นลูกโซ่ต่อ ๆ ไปอีก  แน่นอนทีเดียว ความครุ่นคิดใฝ่ฝันในสิ่งที่ต้องการปรารถนา จะเผารนจิตใจให้เร่าร้อนเกิดขึ้น ความทะเยอทะยานอยากเกิดขึ้น ความเมาความมืดเกิดขึ้น  ความเลอะเลือนแห่งจิตใจเกิดขึ้น และจิตใจจะเน่าเฟอะ แล้วสิ่งกลิ่นเหม็นออกมาทางกายและทางวาจา ซึ่งทำให้คนอื่นเขาทั้งเกลียดทั้งกลัวทั่วสารทิศ เป็นคนเน่าใน เป็นคนสกปรก เป็นคนเศร้าหมอง หาความสะอาดมิได้ ท่านผู้ฟังทั้งหลาย พอจะไตร่ตรองมองเห็นได้แล้วว่า ความเห็นแก่ตัวนั้นเป็นอัตตาธิปไตย เป็นกิเลศาธิปไตย หรือเป็นโลภาธิปไตย โทสาธิปไตย  และโมหาธิปไตย ถือตนเป็นใหญ่ ถือกิเลสเป็นใหญ่ ถือความโลภเป็นใหญ่ ถือความโกรธเป็นใหญ่ และถือความหลงเป็นใหญ่  สร้างอิทธิพลด้วยความอยากของตน คนอื่นจะเสียหายเดือดร้อนหรือพินาศฉิบหายประการใดไม่เอ็นดูสงสารทั้งสิ้น  ไม่ยอมรับผิดชอบต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน โลภได้โลภเอา โกงได้โกงเอาฉ้อฉลได้ฉ้อฉลเอา ขูดรีดได้ขูดรีดเอา กดขี่ข่มเหงได้กดขี่ข่มเหงเอา เอารัดเอาเปรียบคนอื่นได้ด้วยกลวิธีใด ๆ เอาทั้งนั้น เขาเรียกว่าคนหน้าเลือด เมื่อเกิดความไม่ชอบใจใครขึ้นมาแล้วไม่เลือกว่าผิดถูก ดีชั่ว หรือบาปบุญคุณโทษคิดแต่จะคิดแต่จะกำจัดประทุษร้ายล้างผลาญสังหารให้พินาศย่อยยับดับสูญไป เอาตนของตนไว้ ให้คนอื่นพินาศฉิบหายหมดไป หรือเอาพรรคเอาพวกเพื่อนฝูงของตนไว้ ส่วนคนอื่นพวกอื่นต้องกำจัดให้สิ้นซากไป เขาเรียกว่าคนอิทธิพล คนหน้าเลือดก็ดี คนอิทธิพลก็ดี เรียกว่าคนเห็นแก่ตัว  ถ้าบุคคลประเภทนี้เกิดมีมากในหมู่มนุษย์แล้ว ความสุข ความเจริญของมวลหมู่มนุษย์ในชาติย่อมพังพินาศลงไป เรียกว่าโลกแตก 

ท่านผู้ฟังทั้งหลาย โปรดใช้ดุลพินิจในปัญหาของโลกด้วยวิจารณญาณที่บริสุทธิ์เถิดว่า เราอยู่ร่วมกันในผืนแผ่นดินนี้ เราจะปรารถนาอยู่ร่วมกันด้วยความแห้งแล้งทางด้านน้ำจิตน้ำใจอย่างนั้นหรือ หรือเราจะอยู่ร่วมกันด้วยน้ำจิตน้ำใจที่ชุ่มชื่นเบิกบานต่อกันและกัน ผืนแผ่นดินและทรัพย์สมบัติในโลกนี้ไม่เป็นของของเราคนเดียว และเราก็ไม่ได้มาสร้างไว้แต่คนเดียว เราจะอยู่คนเดียว เอาคนเดียว บริโภคคนเดียว  สมควรแล้วหรือยังที่เรามีความคิดและความเห็นเช่นนั้น  จึงขอฝากเป็นการบ้านไว้ให้ผู้ฟังทั้งหลายนำไปครุ่นคิดต่อไป  แต่อย่าลืมพระธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงตรัสสอนพระรัฐบาลไว้ตอนหนึ่งว่า “อตฺตโน  โลโก”  โลกไม่มีสิ่งเป็นของของตน  “อนภิสฺสโร”  ไม่มีผู้เป็นยิ่งใหญ่ดังนี้  คำว่าโลกในที่นี้ ได้แก่มวลมนุษย์ทั้งหลาย มวลหมู่สัตว์ทั้งหลาย มนุษย์เป็นประเภทสัตว์เมือง เป็นสัตว์ประหลาดกว่าสัตว์จำพวกอื่น คือการสร้างกรรม สามารถทำความชั่วและความดีได้ถึงที่สุดได้  ถ้าเราไม่ถึงพร้อมด้วยปัญญาจะเป็นคนมีความคิด มีความเห็นไร้เหตุและผล  ความหลงเข้าไปครอบงำจิตใจ ทำให้เห็นผิดเป็นถูก เห็นชั่วเป็นดี เห็นเสื่อมเป็นเจริญ เห็นนรกเป็นสวรรค์  ดูแต่แมลงตัวเล็ก ๆ   มันมองเห็นความสว่างของดวงไฟแล้วบินเข้าไปหาดวงไฟตายกันเป็นกอง ๆ เพราะความหลงของมันนั่นเอง ฉันใดคนผู้ไร้เหตุผลตกอยู่ภายใต้อำนาจแห่งความหลงก็ฉันนั้น บุคคลผู้เห็นแก่ตัวมีแต่จะกอบโกยยื้อแย่งเอาของคนอื่นในทางทุจริตผิดศีลธรรม สิ่งที่ได้มามาก ๆ นั้นเมื่อตายแล้วเอาไปด้วยไม่ได้แม้แต่ชิ้นเดียว  ความชั่วที่สร้างไว้นั้นจะทำให้เหม็นโฉ่แก่ลูกหลานและวงศาคณาญาติของตนชั่วกาลนาน กรรมใดที่สร้างขึ้นด้วยความสุจริต แม้ตายไปแล้ว ย่อมเป็นเกียรติคุณแก่ลูกหลานและวงศาคณาญาติของตน

การบรรยายธรรมะในวันนี้ขอยุติตามกำหนดของเวลาเพียงเท่านี้ ขอความสุขความเจริญ จงมีแก่ท่านผู้ฟังทั้งหลายเทอญ



คัดลอกจาก  หนังสือที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพ พระอุดมสังวรวิสุทธิเถร (พระอาจารย์วัน  อุตฺตโม)  หน้า ๙๓-๙๖  ซึ่งถอดจากเทปบันทึกเสียงมาจัดทำเป็นหนังสือ โดยคณะกรรมการจัดทำหนังสือเพื่อแจกเป็นที่ระลึกฯ  ที่วัดสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น: อัตชีวประวัติ ประวัติ บันทึก พระอุดมสังวรวิสุทธิเถร พระอาจารย์วัน อุตฺตโม 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.533 วินาที กับ 34 คำสั่ง

Google visited last this page 28 กุมภาพันธ์ 2567 07:30:43