[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 18:31:11 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พระอาจารย์ลี ธัมมธโร  (อ่าน 3682 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5392


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 22 พฤษภาคม 2555 18:51:08 »

                                     พระอาจารย์ลี ธัมมธโร
ท่านพ่อลี ธมฺมธโร วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ
           ภาพจาก :audio.palungjit.com


๑. พระอาจารย์ลี  ธัมมธโร  ก่อนพบพระอาจารย์มั่น  ภูริทัตโต

เรื่องราวของ พระอาจารย์ลี  ธัมมธโร  เป็นเรื่องราวที่ค่อนข้างโลดโผน  สะท้อนบทเรียนเป็นอย่างมากของผู้อยู่ในสมณวิสัย

ท่านเป็นคนบ้านหนองสองห้อง  ตำบลยางโยงภาพ  อำเภอม่วงสามสิบ  จังหวัดอุบลราชธานี  อุปสมบทกรรมที่วัดบ้านหนองสองห้อง  เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๘ เป็นการอุปสมบทในมหานิกาย พร้อมกับเพื่อน ๆ ด้วยกัน ๖ องค์  


จากคำบอกเล่าของพระอาจารย์ลี  ธัมมธโร

“บวชแล้วก็ได้เรียนสวดมนต์และพระธรรมวินัย  แล้วตรวจดูภาวะของตนและพระภิกษุอื่น ๆ ในสมัยนั้นเห็นว่าไม่ไหวแน่ เพราะแทนที่จะปฏิบัติสมณกิจกลับมั่วสุมแต่การสนุกมากกว่า  เป็นต้นว่า นั่งเล่นหมากรุกกันบ้าง  เล่นมวยปล้ำกันบ้าน  เล่นดึงหัวไม้ขีดไฟกับผู้หญิง (เวลามีงานเฮือนดี) บ้าง  เล่นนกกันบ้าง  เล่นชนไก่กันบ้าง  บางทีถึงกับมีการฉันข้าวเย็น”
แม้กระทั่งตัว  พระอาจารย์ลี ธัมมธโร เองก็ฉันข้าวเย็นไปกับเขาด้วยถึง ๓ ครั้งด้วยกัน

ที่รู้สึกเบื่อที่สุด คือการรับนิมนต์ไปสวดมนต์คนตาย  เพราะรู้สึกรังเกียจมาก  ตั้งแต่เกิดมาจนอายุ ๒๐ ปี  ถ้าบ้านไหนเกิดมีคนตายจะไม่ยอมไปกินข้าวน้ำในบ้านนั้น  เมื่อบวชแล้วนิสัยนี้ก็ยังติดอยู่”

แต่แล้ววันหนึ่งก็มีผลสะเทือนอันทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในทางความคิด

เดือนพฤศจิกายนข้างแรมได้ไปเทศน์มหาชาติที่วัดบ้านโนนรังใหญ่  ตำบลยางโยงภาพ  อำเภอม่วงสามสิบ  จังหวัดอุบลราชธานี  พอดีไปพบพระกรรมฐานองค์หนึ่งกำลังเทศน์อยู่บนธรรมาสน์  รู้สึกแปลกประหลาดในจิตขึ้นโดยโวหารของธรรมะน่าเลื่อมใส  จึงได้ไต่ถามญาติโยมว่าท่านองค์นั้นเป็นใคร มาจากไหน   ได้รับตอบว่า “เป็นศิษย์พระอาจารย์มั่น ชื่อ อาจารย์บท”  

ท่านได้พักอยู่ในป่ายางใหญ่ใกล้บ้านราว ๒๐ เส้น  พองานหาชาติเสร็จก็ได้ติดตามไปดู  ได้เห็นปฏิปทาความประพฤติของท่านเป็นที่น่าพอใจ  จึงถามท่านว่า “ใครเป็นอาจารย์ของท่าน”    ท่านตอบว่า  “พระอาจารย์มั่น  พระอาจารย์เสาร์  เวลานี้พระอาจารย์มั่น  ได้ออกเดินทางจากจังหวัดสกลนครไปพักอยู่ที่วัดบูรพาราม  จังหวัดอุบลราชธานี”    พอได้ความเช่นนั้น ก็รีบเดินทางกลับบ้าน นึกแต่ในใจว่า “เราคงสมหวังแน่ ๆ “

อยู่มาไม่กี่วัน จึงได้ลาโยมผู้ชาย  ลาพระอุปัชฌาย์  ท่านทั้ง ๒ ก็พูดจาขัดขวางทุกด้านทุกมุม  แต่ได้ตัดสินใจเด็ดขาดว่า “เราต้องไปจากบ้านนี้โดยเด็ดขาด  จะให้สึกก็ต้องไป  จะให้อยู่เป็นพระก็ต้องไป  พระอุปัชฌาย์และโยมผู้ชายไม่มีสิทธิ์ใด ๆ  ทั้งหมด  ถ้าขืนก้าวก่ายสิทธิ์ในตัวเรานาทีใดต้องลุกหนีไปนาทีนั้น”ได้พูดกับโยมผู้ชายอย่างนี้  ในที่สุดโยมผู้ชายและอุปัชฌาย์ก็ยอม

ทั้งหมดนี้ เป็นรายละเอียดอันมาจากหนังสือชีวประวัติ  พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์ (พระอาจารย์ลี  ธัมมธโร)  ตีพิมพ์เผยแพร่โดยวัดอโศการาม เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๙   นี่ย่อมพ้องกับบันทึกของ พระอาจารย์วิริยังค์ ที่เขียนจากคำ พระอาจารย์กงมา  จิรปุญโญ   เป็นคำบอกเล่าหลังจาก พระอาจารย์กงมา  จิรปุญโญ  พบและปฏิบัติธรรมอยู่กับ พระอาจารย์สิงห์  ขันตยาคโม  ที่บ้านหนองขอน  อำเภออำนาจเจริญ  

“ทราบข่าวว่าท่านอาจารย์มั่นกำลังเดินทางไปจังหวัดอุบลราชธานี  เราจึงได้พยายามธุดงค์ติดตามท่านไป  ในระหว่างทาง  เราได้พบพระลี (อาจารย์ลี  ธัมมธโร)  ที่บ้านหนองสองห้อง  อำเภอม่วงสามสิบ  ท่านก็เป็นพระมหานิกายเหมือนกัน   เราได้อธิบายธรรมปฏิบัติที่ได้ศึกษามาจากท่านพระอาจารย์มั่นแล้วก็พาปฏิบัติจนเกิดความอัศจรรย์  พระลีมีความสนใจเป็นอย่างยิ่ง  จึงได้ธุดงค์ร่วมกันกับเราเพื่อจะได้พบท่านอาจารย์มั่น  เรากับพระลีได้ไปพบท่านอาจารย์มั่นที่วัดบูรพาราม   นั่นเป็นสถานการณ์เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๐

เป็นการพ้องกันอย่างมิได้นัดมายระหว่างพระอาจารย์ลี  ธัมมธโร  กับพระอาจารย์กงมา  จิรปุญโญ  เป้าหมายเดียวกัน คือ วัดบูรพาราม  จังหวัดอุบลราชธานี  ซึ่งแน่ชัดอย่างยิ่งว่า พระอาจารย์มั่น  ภูริทัตโตและคณะ พำนักอยู่  

ความเด็ดเดี่ยวมุ่งมั่นของพระอาจารย์ลี  ธัมมธโร ที่มุ่งมั่นจะไปหาพระอาจารย์มั่น  ภูริทัตโต  เป็นความศรัทธาอย่างแรงกล้า กระทั่งโยมบิดาก็ไม่สามารถยับยั้งลงได้ด้วยถ้อยปลอบประโลม





๒. บันทึกของ พระอาจารย์ลี  ธัมมธโร  เมื่อได้พบพระอาจารย์มั่น  ภูริทัตโต

เดือนอ้าย  ข้างแรม  เวลาเพลแล้ว  ประมาณ ๑๓.๐๐ น.  ได้ออกเดินทางด้วยบริขารโดยลำพังองค์เดียว  โยมผู้ชายได้ติดตามออกไปส่งถึงกลางทุ่งนา   เมื่อได้ล่ำลากันแล้ว  ต่างคนก็ต่างไป      วันนั้น เดินทางผ่านอำเภอม่วงสามสิบพุ่งไปสู่จังหวัดอุบลราชธานี  ได้ทราบข่าวว่า พระอาจารย์มั่น  ภูริทัตโต  พักอยู่ที่บ้านกุดลาด  ตำบลกุดลาด  อำเภอเมือง  อยู่ห่างจากจังหวัดอุบลราชธานีประมาณ ๑๐ กิโลเมตรเศษ  พอดี พระบริคุตฯ  ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งนายอำเภอม่วงสามสิบ  ถูกปลดออกจากราชการขี่รถผ่านมา  พบเรากำลังเดินทางอยู่คนเดียว  ท่านผู้นี้ได้นิมนต์ขึ้นรถขนย้ายครอบครัวของท่านไปส่งถึงสนามบินจังหวัดอุบลราชธานี ทางไปบ้านกุดลาด   บัดนี้ก็ยังระลึกถึงบุญคุณของท่านผู้นี้อยู่ ทั้ง ๆ ที่ไม่รู้จักกันเลย

ประมาณ ๕ โมงเย็นเดินทางมาถึงสำนักวัดป่าบ้านกุดลาด  แต่ได้ทราบว่า พระอาจารย์มั่น  ภูริทัตโต  กลับมาพักอยู่ที่วัดบูรพา

รุ่งเช้า  เมื่อฉันอาหารแล้วได้เดินเท้ากลับมายังจังหวัดอุบลราชธานี  ได้ไปนมัสการกราบเรียนความประสงค์ของตนต่อพระอาจารย์มั่น  ภูริทัตโต   ท่านก็ได้ช่วยแนะนำสงเคราะห์เป็นที่พอใจ  สอนคำภาวนาให้ว่า “พุทโธ  พุทโธ”  เพียงคำเดียวเท่านั้น

พอดีท่านกำลังอาพาธ  ท่านได้แนะนำให้ไปพักอยู่บ้านท่าวังหิน  ซึ่งเป็นสถานที่เงียบสงัด  วิเวกดี ที่นั่นมีพระอาจารย์สิงห์  ขันตยาคโม  พระอาจารย์ปิ่น  ปัญญาพโล  มีพระภิกษุสามเณรราว ๔๐ กว่าองค์พักอยู่  ได้เข้าไปฟังพระธรรมเทศนาของท่านทุกคืน  รู้สึกว่ามีผลเกิดขึ้นในใจ ๒ อย่างคือ   เมื่อนึกถึงเรื่องเก่า ๆ ของตนที่เป็นมาก็ร้อนใจ  เมื่อนึกถึงใหม่ ๆ ที่กำลังประสบอยู่ก็เย็นใจ  ทั้ง  ๒ อารมณ์นี้ติดตนอยู่เสมอ

พอดีได้พบเพื่อนที่หวังดี  ๒ องค์  ได้ร่วมอยู่ร่วมฉันร่วมศึกษาสนทนากันตลอดมา  เพื่อน ๒ องค์นั้น คือ พระอาจารย์กงมา  จิรปุญโญ  และ พระอาจารย์สาม  อภิญโย  ได้พากเพียรพยายามภาวนาอยู่เสมอทั้งกลางวัน กลางคืน    เมื่อได้พักอยู่พอสมควรแล้ว ก็ได้ชวน พระอาจารย์กงมา  จิรปุญโญ  ออกเดินทางไปเรื่อย ๆ   ไปพักตามศาลเจ้าผีปู่ตาของหมู่บ้านตำบลต่าง ๆ  แล้วได้เดินทางกลับไปถึงบ้านเดิมเพื่อบอกข่าวกุศลให้โยมผู้ชายทราบว่าพบ พระอาจารย์มั่น  ภูริทัตโต เป็นที่พอใจในชีวิตแล้ว  อาตมาจักไม่กลับมาบ้านนี้ต่อไป

คือได้นึกเป็นคติในใจอยู่ว่า  “เราเกิดมาเป็นคนต้องพยายามไต่ขึ้นอยู่บนหัวคน  เราบวชเป็นพระต้องพยายามให้อยู่บนหัวพระที่เราเคยพบผ่านมา”   ตอนนี้รู้สึกว่าเกิดสมหวังในความคิด    


ความสมหวังในความคิดเมื่อแรกได้พบ  พระอาจารย์มั่น  ภูริทัตโต  เป็นความสมหวังที่จะต้องผ่านด่านอีกหลายด่านสำหรับ พระอาจารย์ลี  ธัมมธโร   นั่นก็คือด่านในเรื่องของนิกายอันแตกต่างกัน  เนื่องเพราะอุปสมบทมาในพระมหานิกาย  มีอุปสรรคมากหลายเพราะเป็นการเดินทางเข้าร่วมในหมู่เพื่อนซึ่งส่วนใหญ่เป็นธรรมยุต  ไม่ว่าพระอาจารย์มั่น  ภูริทัตโต  ไม่ว่า พระอาจารย์สิงห์  ขันตยาคโม

การญัตติเปลี่ยนนิกายจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก  
 





๓. เข้าสู่วงศ์ธรรมยุต

ปี ๒๔๗๐  พระอาจารย์ลี  ธัมมธโร  ดำริภายในใจของตนว่า “เราต้องสวดญัตติใหม่ ล้างบาปเก่าเสียที”  แล้วจึงหารือพระอาจารย์มั่น  ภูริทัตโต    เมื่อพระอาจารย์มั่นเห็นดีเห็นชอบจึงได้ทำการญัตติจากมหานิกายเข้าสู่วงศ์ธรรมยุต เมื่อวันที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๐

“เมื่อเป็นที่เรียบร้อยแล้ว  ก็ได้ติดตามท่านไปเที่ยวในตำบลต่าง ๆ  ได้รู้สึกมีความเลื่อมใสท่านเป็นอย่างยิ่ง  เพราะได้รับความอัศจรรย์จากท่านหลายอย่าง เช่น บางเรื่องคิดอยู่ในใจของเรา  ไม่เคยแสดงให้ท่านทราบเลย ท่านกลับทักทายถูกต้อง  ก็ยิ่งเพิ่มความเคารพเลื่อมใสยิ่งขึ้นทุกที”   (คำว่า “ท่าน” ในที่นี้ของ พระอาจารย์ลี  ธัมมธโร  หมายถึง พระอาจารย์มั่น  ภูริทัตโต)  

อุปสมบทเข้าสู่วงศ์ธรรมยุตได้เพียง ๑ วัน  ก็ได้ถือธุดงค์อย่างเคร่งครัด คือ ฉันมื้อเดียว  พักอยู่วัดบูรพาคืนเดียวก็ได้ออกไปอยู่ป่าวัดท่าวังหิน  

เมื่อพระอาจารย์มั่น  ภูริทัตโต  กับ พระปัญญาพิศาล กลับมหานครกรุงเทพฯ  พระอาจารย์ลี  ธัมมธโร  ก็ได้รับมอบหมายให้ไปอยู่กับ พระอาจารย์สิงห์  ขันตยาคโม  พระมหาปิ่น  ปัญญาพโล  และพระอาจารย์เทศก์  เทสรังสี   และได้ติดตามพระอาจารย์สิงห์  ขันตยาคโมไปหลายแห่ง  เพราะว่าระยะกาลนั้น พระอาจารย์สิงห์  ขันตยาคโม  ได้รับมอบหมายจากอาณาจักรให้ไปเทศนาอบรมศีลธรรมแก่ประชาชน   เป็นการอบรมอย่างที่เรียกว่า สู้กับความเชื่อเรื่องผี เรื่องไสยศาสตร์    เป็นพรรษาที่ พระอาจารย์ลี  ธัมมธโร  อยู่ห่างจาก พระอาจารย์มั่น  ภูริทัตโต  แต่ก็เป็นระยะกาลที่ได้อยู่กับตนเองอย่างใกล้ชิด  ได้ปฏิบัติปรารภความเพียรอย่างเข้มแข็ง  

พระอาจารย์ลี  ธัมมธโร ได้บันทึกเอาไว้อย่างน่าศึกษา....โปรดอ่าน

“ในพรรษานั้น ได้พากเพียรทำสมาธิอย่างเข้มแข็ง  บางคราวก็นึกเสียใจอยู่บ้าง  เพราะพระอาจารย์ผู้ใหญ่หนีไปหมด  จิตบางขณะก็นึกอยากจะลาเพศ  แต่หากมักมีเหตุบังเอิญให้สำนึกรู้สึกตัวอยู่เสมอ   วันหนึ่ง เวลากลางวันประมาณ ๑๗.๐๐ น.  ขณะกำลังเดินจงกรม  จิตกำลังแกว่งไปในทางโลก  พอดีมีหญิงคนหนึ่งเดินผ่านมาข้าง ๆ วัด  เธอได้ร้องรำเป็นเพลงขึ้น โดยภาษาว่า “กูได้เล็งเห็นแล้ว  หัวใจนกขี้ถี่ (นกถืดทือ)  หากมันทัก ร้องถืดทือ  ใจเลี้ยวใส่ปู”  (นกชนิดนี้ชอบกินปู)

ก็ได้จำเพลงบทนี้มาบริกรรมเป็นนิจว่า เขาว่าใส่เรา คือเราเป็นพระ  กำลังก่อสร้างความดีอยู่  แต่ใจมันแส่ไปในอารมณ์ของโลก  ก็นึกละอายตนเองเรื่อย ๆ มาว่าเราจะทำใจของเราให้อยู่กับภาวะของเรา  จึงจะไม่สมกับที่ผู้หญิงคนนั้นพูดเช่นนั้น”

เรื่องเหล่านี้ได้กลายมาเป็นธรรม   ในห้วงที่พระอาจารย์ลี  ธัมมธโร  ห่างไกลจากพระอาจารย์ใหญ่ (พระอาจารย์มั่น  ภูริทัตโต)  และพระปัญญาพิศาล (หนู)  ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์  เส้นทางของพระอาจารย์ลี  ธัมมธโร   จึงคดเคี้ยววกวน  กระทั่งแม้เดินทางไปยังวัดสระปทุม  อันพระปัญญาพิศาล (หนู)  เป็นเจ้าอาวาสอยู่  ก็ยังได้ประสบกับการต่อสู้ทางความคิดอย่างต่อเนื่องเอาเป็นเอาตายว่าจะสึกหาลาพรตหรือไม่

ระยะกาลนั้น  พระอาจารย์มั่น  ภูริทัตโต  เดินทางขึ้นเชียงใหม่   ตามคำอาราธนาของพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจันโท  จันทร์)  กระนั้นก็ยังห่วงอาทร พระอาจารย์ลี  ธัมมธโร





ข้อมูล : คอลัมน์   “ดังได้สดับมา”  : วิเวกา  นาคร,  มติชนสุดสัปดาห์  
-ตอนที่ ๑ : ฉบับที่ ๑๖๕๗ (๑๘ – ๒๔ พ.ค. ๕๕)
-ตอนที่ ๒ : ฉบับที่ ๑๖๕๘  (๒๕ – ๓๑ พ.ค. ๕๕)

-ตอนที่ ๓ : ฉบับที่ ๑๖๕๙ (๑ - ๗ มิ.ย. ๕๕)
       

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01 มิถุนายน 2555 15:53:14 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5392


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 22 พฤษภาคม 2555 19:51:25 »

ประวัติโดยย่อ
พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์ (ท่านพ่อลี  ธมฺมธโร)
        วัดอโศการาม  อำเภอเมือง  จังหวัดสมุทรปราการ


พระอาจารย์ลี  ธุมฺมธโร (พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์)  นามเดิม ชาลี  ท่านเกิดเมื่อวันพฤหัสบดี แรม ๒ ค่ำ  เดือนยี่ ปีมะเมีย ตรงกับวันที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๙  ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) ณ บ้านหนองสองห้อง ตำบลยางโยภาพ อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี  โยมบิดาชื่อ ปาว  นารีวงศ์  โยมมารดาชื่อพ่วย  นารีวงศ์   มีพี่น้องร่วมบิดามารดา รวม ๙ คน เป็นชาย ๕ คน หญิง ๔ คน  โยมบิดามารดามีอาชีพทำนา

เมื่อท่านอายุได้ ๑๑ ปี  โยมมารดาได้ถึงแก่กรรม  พออายุ ๑๒ ปี ท่านได้เข้าเรียนหนังสือ แต่ผลการเรียนไม่ดี  เรียนไม่จบชั้นประถม ๔  มีความรู้แค่พออ่านออกเขียนได้เท่านั้น เมื่ออายุได้ ๑๗ ปี จึงได้ลาออกจากโรงเรียนมาช่วยโยมบิดาทำนา   ในระหว่างนี้เกิดมีการขัดใจกับโยมบิดาบ่อยๆ   ด้วยโยมบิดาต้องการให้ท่านทำการค้าขายของที่ไม่ถูกอัธยาศัย  เช่น ให้ไปหาซื้อหมูมาขาย ซื้อวัวมาขาย เป็นต้น  ครั้นเมื่อท่านอยากจะไปทำบุญทำทานก็คอยขัด  บางทีต้องการไปทำบุญก็หายอมให้ไปไม่ กลับบอกให้ไปทำไร่ทำนาเสีย  บางวันน้อยใจนั่งร้องไห้อยู่คนเดียวกลางทุ่งนา นึกแต่ในใจว่าเราจักไม่อยู่ในหมู่บ้านนี้ แต่ก็ต้องอดทนอยู่ไปก่อน  ต่อมาโยมบิดาได้ภรรยาใหม่คนหนึ่งชื่อ แม่ทิพย์ ตอนนี้ค่อยรู้สึกสบายใจขึ้น

ครั้นปี พ.ศ. ๒๔๖๘  ขณะอายุครบ ๒๐ ปี  โยมมารดาเลี้ยงได้ถึงแก่กรรม  ขณะนั้นท่านได้ไปอยู่กับญาติที่อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม  พอปลายเดือนกุมภาพันธ์ก็ได้กลับขึ้นไปบ้าน โยมบิดาก็แนะนำให้บวช    ท่านจึงได้ทำการบวชพร้อมเพื่อน รวม ๙ คน  เมื่อวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ตรงกับวันพุธที่ ๖ พฤษภาคม  พ.ศ. ๒๔๖๙    ในระหว่างพรรษาที่ ๒   ได้ตั้งจิตอธิษฐานว่า “เวลานี้ข้าพเจ้ายังมุ่งดี  หวังดีต่อพระศาสนาอยู่  ในกาลต่อไปนี้ขอจงได้พบครูบาอาจารย์ที่ประพฤติดีปฏิบัติชอบภายใน ๓ เดือน”    

ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน ได้ไปเทศน์มหาชาติที่วัดบ้านโนนรังใหญ่ ได้พบพระรูปหนึ่งกำลังเทศน์บนธรรมาสน์ รู้สึกแปลกประหลาดในจิตขึ้นโดยโวหารของธรรมะน่าเลื่อมใส  จึงได้ไต่ถามญาติโยมว่าท่านองค์นั้นเป็นใคร มาจากไหน   ได้รับตอบว่า “เป็นศิษย์พระอาจารย์มั่น ชื่อ อาจารย์บท” พอเสร็จงานมหาชาติจึงได้ตามไปดูเห็นปฏิปทาของท่านเป็นที่น่าพอใจจึงถามถึงอาจารย์ของท่าน   ท่านตอบว่า “พระอาจารย์มั่น  พระอาจารย์เสาร์  เวลานี้พระอาจารย์มั่นอยู่ที่วัดบูรพา  จังหวัดอุบลราชธานี”  จากนั้นท่านจึงกราบลาพระอุปัชฌาย์เพื่อเดินรุกขมูลไปพบพระอาจารย์มั่น  ท่านสอนให้ภาวนา “พุทโธ”  เนื่องจากท่านกำลังอาพาธ  ท่านจึงได้แนะนำให้ไปศึกษากับพระอาจารย์สิงห์  ขนฺตยาคโม  และพระอาจารย์มหาปิ่น  ปญฺญาพโล  ที่วัดบ้านท่าวังหิน ณ ที่นี้ท่านได้พบเพื่อนสหธรรมิก ๒ รูป คือพระอาจารย์กงมา  และพระอาจารย์สาม  ต่อมาท่านติดตามพระอาจารย์มั่นไปในที่ต่างๆ เป็นเวลา ๔ เดือน ภายหลังพระอาจารย์มั่นได้ให้ท่านญัตติใหม่เป็นธรรมยุต

ท่านจึงญัตติเป็นพระธรรมยุติกนิกาย  เมื่อวันที่ ๒๗  พฤษภาคม  พ.ศ. ๒๔๗๐  ณ วัดบูรพา  จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีพระปัญญาพิศาลเถร (หนู)  เป็นพระอุปัชฌาย์  ท่านได้ถือธุดงค์อย่างเคร่งครัด  ปีแรกที่ได้สวดญัตติแล้ว ได้อยู่จำพรรษาที่จังหวัดอุบลราชธานี ๖ พรรษา มาจำพรรษาวัดสระปทุมพระนคร ๓ พรรษา ไปจำพรรษาอยู่ที่เชียงใหม่ ๒ พรรษา จำพรรษาที่จังหวัดนครราชสีมา ๒ พรรษา จังหวัดปราจีนบุรี ๑ พรรษา มาสร้างสำนักที่จันทรบุรี จำพรรษาอยู่ ๑๔ พรรษา ต่อจากประเทศอินเดียผ่านประเทศพม่า ไปจำพรรษาที่วัดควนมีด จังหวัดสงขลา ๑ พรรษา จากนั้นได้จำพรรษาที่วัดบรมนิวาส ๓ พรรษา  ต่อเมื่อสมเด็จพระมหาวีรวงส์ (อ้วน) มรณภาพแล้วได้ออกไปจำพรรษาอยู่วัดอโศการาม ๔  พรรษา  

ในพรรษา ๔  นี้ตรงกับปี พ.ศ. ๒๕๐๒  ท่านเริ่มอาพาธ เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลพระปิ่นเกล้า  เมื่ออาการทุเลาลงแล้วได้กลับวัดอโศการาม และในวันที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๔  ท่านได้ถึงแก่มรณภาพในกุฏิของท่านโดยสงบและไม่มีใครรู้เห็น  สิริรวมอายุได้ ๕๕ ปี ๓ เดือน ๖ วัน


.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22 พฤษภาคม 2555 19:57:49 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5392


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 22 พฤษภาคม 2555 20:18:23 »

พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์ (ท่านพ่อลี ธมฺมธโร)
ภาพจาก : board.palungjit.com

เกี่ยวกับเรื่องการมรณภาพของท่านนั้น  ท่านได้บอกกกล่าวกับพระสงฆ์และศิษย์ผู้ใกล้ชิดให้ได้รับรู้ล่วงหน้าแล้วว่าท่านจะสิ้นอายุขัยเมื่ออายุได้ ๕๕ ปี  และเมื่อท่านมีอายุได้ ๕๕ ปี ท่านก็ละสังขารตามที่ได้เคยบอกกล่าวไว้    

หลังจากท่านมรณภาพ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ สมเด็จพระสังฆราช “จวน อุฏฐายี”  มีพระบัญชาให้เก็บศพท่านไว้ยังไม่ถวายเพลิง  เอาอย่างพระมหากัสสปะเถระ   ที่ในวันหนึ่งในอนาคตกาลจะมีพระศรีอริยเมตไตรย  มาเผาศพพระมหากัสสปะอย่างสมศักดิ์ศรี

นัยของท่านพ่อลีก็ขอให้เอาเยี่ยงอย่างนี้ เป็นอุทาหรณ์ว่า  “ผู้มีบุญกรรมที่เกี่ยวข้องกับท่านในวันข้างหน้า จะได้มาถวายเพลิงสรีระร่างของท่านอย่างสมศักดิ์ศรี” เช่นกัน

และท่านมีบัญชาอีกว่า การบำเพ็ญกุศลและสวดมนต์อุทิศถวายท่านพ่อลีทุกคืน  บรรดาบรรพชิตและคฤหัสถ์ ซึ่งเป็นคณะศิษย์ของท่านพ่อลีได้ปฏิบัติตามมาโดยตลอด    

ปัจจุบันนี้ สังขารของท่านพ่อลียังคงเก็บรักษาไว้ที่วัดอโศการาม   หากสาธุชนท่านใดต้องการไปสักการะเคารพ  ก็ขอเชิญที่วัดอโศการามได้ทุกวัน


.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22 พฤษภาคม 2555 20:27:54 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5392


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 01 มิถุนายน 2555 15:51:47 »



นำเสนอตอนที่ ๓ :  เข้าสู่วงศ์ธรรมยุต
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น: พระอาจารย์ลี ธัมมธโร  
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
หลวงปู่ทิม ธัมมธโร วัดช้างให้ จังหวัดปัตตานี ผู้สร้างตำนานพระเครื่องหลวงปู่ทวด
พุทธประวัติ - ประวัติพระสาวก
Kimleng 0 5402 กระทู้ล่าสุด 24 มีนาคม 2557 18:18:58
โดย Kimleng
หลวงพ่อลี ธัมมธโร วัดอโศการาม ต.ท้ายบ้าน อ.เมือง จ.สมุทรปราการ
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 1320 กระทู้ล่าสุด 17 พฤศจิกายน 2559 15:43:11
โดย ใบบุญ
หลวงพ่อเส็ง ธัมมธโร วัดหนองเรือโกลน ต.หนองกลางดง อ.ทัพทัน จ.อุทัยธานี
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 1158 กระทู้ล่าสุด 13 สิงหาคม 2561 13:03:08
โดย ใบบุญ
พ่อท่านพรหม ธัมมธโร วัดพลานุภาพ (วัดทุ่งพลา) อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 669 กระทู้ล่าสุด 11 ตุลาคม 2562 16:34:15
โดย ใบบุญ
ชีวประวัติ พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร วัดอโศการาม สมุทรปราการ
พุทธประวัติ - ประวัติพระสาวก
Kimleng 11 2446 กระทู้ล่าสุด 19 มิถุนายน 2564 18:06:22
โดย Kimleng
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.505 วินาที กับ 34 คำสั่ง

Google visited last this page 25 กุมภาพันธ์ 2567 06:18:31