[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
26 เมษายน 2567 08:19:48 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ฟ้าผ่านี่มันมีฤทธิ์เดชขนาดไหนกันนะ ถึงผ่าคนตายได้  (อ่าน 2104 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Compatable
นักโพสท์ระดับ 11
*

คะแนนความดี: +3/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1210


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 18.0.1025.168 Chrome 18.0.1025.168


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 15 พฤษภาคม 2555 21:57:57 »

ฟ้าผ่านี่มันมีฤทธิ์เดชขนาดไหนกันนะ ถึงผ่าคนตายได้



เนื่องจากฟ้าผ่าเป็นกระแสไฟฟ้าแรงสูงระหว่าง ๑๐,๐๐๐-๓๐,๐๐๐ แอมแปร์ และมีความร้อนสูงถึงประมาณ ๓๐,๐๐๐ องศาเซลเซียส การเคลื่อนที่ของกระแสไฟฟ้ารวดเร็วมาก ฟ้าผ่าจะเกิดขึ้นภายในเสี้ยววินาทีเท่านั้น เมื่อกระทบกับวัตถุใด ๆ บนพื้นดิน อำนาจการทำลายจะส่งผลให้ทุกสิ่งทุกอย่างมอดไหม้ในพริบตา พร้อมกับมีเสียงสะเทือนเลื่อนลั่น แม้กระทั่งคนที่ยืนอยู่ใกล้ ๆ บริเวณที่เกิดฟ้าผ่าก็จะได้รับผลกระทบจากเสียงสั่นสะเทือนของกระแสไฟฟ้าที่วิ่งลงมากระทบกับพื้นดินหรือวัตถุใด ๆ ทำให้คนตกใจจนอาจจะเกิดอาการช็อกหมดสติและหัวใจหยุดเต้นได้
 
วัตถุที่มีความสูงมาก ๆ เช่น ต้นไม้ เสาไฟฟ้า ตึกระฟ้าและยอดเขา เป็นต้น อาจเป็นเป้าเด่นและเป็นสื่อล่อสายฟ้าได้ง่าย คนที่ทำงานกลางแจ้ง เช่น เกษตรกรและกรรมกร มีโอกาสถูกฟ้าผ่าได้มากกว่าคนที่ทำงานในเมืองหลวง เพราะคนในเมืองหลวงส่วนใหญ่จะอยู่ภายใต้หลังคาของอาคารบ้านเรือนซึ่งเป็นสื่อไฟฟ้าได้เร็วกว่ามนุษย์ อาคารจึงเป็นเสมือนเกราะป้องกันฟ้าผ่าได้เป็นอย่างดี โดยทั่วไปตึกสูง ๆ มักจะติดตั้งสายล่อฟ้าซึ่งช่วยให้กระแสไฟฟ้าจากก้อนเมฆวิ่งลงสู่พื้นดินได้โดยตรง
 
คนที่เสียชีวิตเนื่องจากฟ้าผ่าจะเป็นผู้ชายมากกว่าผู้หญิงเพราะผู้ชายส่วนมากมักทำงานกลางแจ้งและไม่กลัว ไม่หลบฝนเวลาเกิดฝนตกฟ้าคะนอง ในแต่ละปีจะมีพายุฟ้าคะนองอย่างรุนแรงเกิดขึ้นทั่วโลกประมาณ ๑,๕๐๐-๒,๐๐๐ ครั้ง แต่ละครั้งอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้หลายครั้ง ในประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตเนื่องจากฟ้าผ่าโดยเฉลี่ยห้าคนต่อปี
 
อำนาจของสายฟ้านั้นเมื่อกระทบพื้นดินหรือวัตถุใด ๆ จะเกิดแรงสั่นสะเทือนและสามารถทำให้วัตถุต่าง ๆ กระเด็นออกไปในอากาศได้หลายเมตร แรงสั่นสะเทือนดังกล่าวเกิดจากกระแสไฟฟ้าวิ่งผ่านอากาศลงสู่พื้นดินหรือวัตถุต่าง ๆ ด้วยความเร็วสูงดังที่กล่าวไว้ข้างต้นนั่นเอง และเนื่องจากฟ้าผ่ามีความร้อน อากาศบริเวณโดยรอบจะขยายตัวอย่างรวดเร็ว จนเป็นผลทำให้เกิดคลื่นสั่นสะเทือนมากเพียงพอที่จะทำให้วัตถุเคลื่อนที่จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้
 
ถ้าเกิดฟ้าผ่าลงบนวัตถุที่มีความชื้นหรือน้ำอยู่ภายในด้วยเช่น ต้นไม้ มนุษย์ ฯลฯ ไม่เพียงแต่ทำให้วัตถุนั้นไหม้เกรียมเท่านั้น แต่ยังทำให้ความชื้นหรือน้ำที่มีอยู่เกิดการเดือดขึ้นมาทันทีและเกิดระเบิดได้ เช่นที่ประเทศอังกฤษ เด็กหญิงผู้หนึ่งต้องเสียชีวิตเนื่องจากเธอเดินผ่านต้นโอ๊กที่กำลังถูกฟ้าผ่าเข้าพอดี เป็นเวลาเดียวกับที่ต้นโอ๊กเกิดระเบิดและชิ้นส่วนของต้นโอ๊กกระเด็นถูกศีรษะของเธอ ทำให้กะโหลกศีรษะร้าวและเสียชีวิตไปในที่สุด จึงเป็นไปได้ว่าผู้เคราะห์ร้ายอาจไม่ได้รับอันตรายจากฟ้าผ่าโดยตรง แต่บางครั้งได้รับอุบัติเหตุที่เกิดจากฟ้าผ่าโดยทางอ้อม
 
“ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม / สำนักพิมพ์สารคดี”

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
คำค้น: ฟ้าผ่า รุนแรง ตาย คนตาย 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.217 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 27 พฤศจิกายน 2566 01:05:00