[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 03:58:41 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ๐๐๐ ตักบาตร ๐๐๐  (อ่าน 7384 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 24 มิถุนายน 2553 14:53:43 »




๐๐๐ ตักบาตร ๐๐๐
เขียนโดย ภัทรสิริ  

ฉันเป็นคนชอบตักบาตร นี่เป็นความรู้สึก เป็นความสุข เพียงแค่คิดก็เป็นความสุขใจ หวังความสุข มากกว่าหวังบุญ แม้ในชีวิตปัจจุบันฉันไม่ค่อยได้ตักบาตรแล้ว ทั้งการตักบาตรตามประเพณีและการตักบาตรในชีวิตประจำวัน แต่ก็ยังมักจะบอกใครๆ อยู่เสมอว่าให้ตักบาตรยามเช้า ...เอาบรรยากาศค่ะพี่... เช้าวันหนึ่งฉันเกิดความรู้สึกอยากจะมีการตักบาตรเป็นวัตรปฏิบัติของตัวเอง ในตอนเช้า อยากเริ่มวันใหม่อย่างมีเป้าหมาย มีความหมาย มีความสุขบ้าง เล็กๆ น้อยๆ  จึงนึกทบทวนประวัติการตักบาตรของตัวเองขึ้นมา


ฉันเป็นเด็กต่างจังหวัด หลังบ้านเป็นทุ่งนา หน้าบ้านติดลำคลอง จำได้ว่าตอนที่ตัวเองยังเล็กมากๆ ลำคลองนั้นยังมีเรือหางยาวแล่นส่งเสียงดังด้วย  เขียนเล่าอย่างนี้คนอ่านหลายๆ คนคงนึกอิจฉา ...แหม...โรแมนติก...มันเป็นภาพฝันของคนเมืองผู้ไม่เคยประสบ แต่มันเป็นฉากชีวิตปกติธรรมดาของคนแถวบ้านฉัน ...ใช่ บางครั้งเราก็ไม่เคยรู้ว่าเราอยู่ในสวรรค์จนกระทั่งสูญเสียมันไป เหมือนกับฉันในวันนี้

บ้านฉันเป็นบ้านไม้สองชั้นเก่าๆ มีระเบียง เช้าๆ แม่จะปลุกให้ลุกขึ้นมาใส่บาตร พระที่มาบิณฑบาตรหน้าบ้านเรามี 2 วัด วัดละ 2-3 รูป บางครั้งก็มีรูปเดียว สุดท้ายของขบวนพระก็คือเด็กวัดรุ่นๆ เดียวกับฉันหรือโตกว่านิดหน่อย คอยหิ้วปิ่นโตตามหลวงพ่อ บ้านฉันเป็นบ้านแรกๆ ที่พระรับบาตร ดังนั้นจะเป็นช่วงเวลาที่เช้ามากๆ ฟ้าเพิ่งสาง น้ำค้างยังเกาะยอดหญ้า

            

อาหารที่เราตักบาตรเป็นอาหารทำเอง ข้าวสวยหุงสุก กับ แกง ต้ม ผัด หรืออะไรก็ตามที่เราทำกินในบ้านในมื้อนั้นๆ ก็ตักใส่บาตรก่อน ขนมหวานที่จะตักบาตรไม่ได้มีทุกวัน จะมีเพียงโอกาสพิเศษเท่านั้น รวมถึงผลไม้ด้วย ต้องรอฤดูกาล อาหารตักบาตรไม่ได้มีเป็นสำรับครบถ้วนอย่างทุกวันนี้ ธูปเทียนไม่มี ไม่จำเป็น แต่ดอกไม้นั้นมีบ้าง ขึ้นกับว่า วันนั้นดอกไม้จะออกหรือไม่ ถ้ามี ก็ใช้ ถ้าไม่มีก็ไม่เป็นไร เรื่องดอกไม้ถวายพระนี่ เอาเข้าจริงฉันก็ไม่ค่อยได้ใช้ จำได้ว่าเคยใช้เฉพาะมะลิซ้อนหน้าบ้านที่เด็ดมายื่นให้หลวงพ่อท่านเฉยๆ หรือวางบนข้าวเท่านั้น  อาหารจะต้องตักใส่ปิ่นโตของพระ ไม่ได้ใส่ถุงพลาสติกกันอย่างทุกวันนี้  ด้วยความที่บ้านฉันเป็นบ้านแรกๆ ที่พระมาบิณฑบาตร เคยมีบางครั้งที่แม่เตรียมอาหารไม่ทัน เช่น ข้าวยังไม่ระอุดี  แกงไม่เดือด ก็ต้องนิมนต์หลวงพ่อ ให้ยืนรอสักครู่ ท่านก็เข้าใจ ยืนรอ

ซึ่งถ้าฉันตื่นแล้ว มาเตร่รอใส่บาตรท่านก็จะคุยล้อเล่นกับฉัน  นี่คือบรรยากาศการตักบาตรที่ฉันคุ้นเคย มันเป็นวิถีชีวิต ไม่ต้องแต่งตัวด้วยชุดไทยสไบเฉียง ไม่เคยอุ้มขันตักบาตร อุปกรณ์ตักบาตรที่ฉันใช้คือหม้ออวยใส่ข้าวใบเล็กๆ ที่เหมาะกับเด็กๆ อย่างฉันข้าวสุกใหม่ร้อนมาก จนถ้าใส่ในขันอุ้มตักบาตรแขนจะพองได้ แม่จึงใช้อวยรูปร่างทรงกระบอกมีหูหิ้วเอาไว้ให้ฉันหิ้วใส่ทัพพีอันเล็กๆ ไว้ให้ฉันตักบาตร บางวันข้าวค่อนข้างแฉะติดกับทัพพีมาก ฉันเคยถึงขนาดเอาทัพพีโขกกับบาตรพระเพื่อให้ข้าวหลุดออกจากทัพพี โดยมีหลวงพ่อยืนยิ้มขำๆ ไม่ได้ว่าอะไร เมื่อตักบาตรเสร็จเราก็จะคุกเข่าลงหรือนั่งยองๆ พนมมือหลับตา ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่พระให้พร เป็นช่วงที่ทั้งแม่,ฉัน และท่านต่างอยู่ในความสงบ หลวงพ่อไม่เคยเอ่ยบาลียาวๆ อะไรให้ฉันได้ยิน แต่เป็นความนิ่งสงบครู่เดียว มีบางครั้งเท่านั้นที่ท่านจะให้พรกับฉันเป็นการส่วนตัวทำนองว่า เรียนเก่งๆ นะนังหนู  เป็นเด็กดีนะลูกเอ๊ย ซึ่งถ้าเป็นวันแบบนั้น ฉันก็ยิ้มหน้าบาน หุบไม่ลง

เวลาเช้าอันแสนสุขแบบนี้ดำรงอยู่กับฉันช่วงหนึ่งแล้วก็เปลี่ยนไป แม่มีภาระกิจอื่นๆ ที่ไม่สามารถอยู่หุงหาอาหารในยามเช้าได้อีก การตักบาตรของฉันจึงหยุดลง แต่ก็เห็นภาพแบบนี้ได้ทุกวัน ประกอบกับเป็นเด็กโรงเรียนวัด การตักบาตร ทำบุญก็เป็นเรื่องปกติ แม้ตัวเองจะไม่ได้ทำแต่การซึมซับด้วยการเห็นเป็นประจำก็กล่อมเกลาจิตใจ และเสพย์รับความสุขชนิดนี้ไว้มาก

เมื่อโตขึ้นมาอีกหน่อยได้มาอยู่บ้านป้าซึ่งเป็นผู้ใฝ่ในศาสนา ทุกๆ เช้าป้าจะออกมาตักบาตรที่ซุ้มม้าหินหน้าบ้านโคนมะม่วงต้นใหญ่และมีกลิ่นสายหยุดจางๆ สายหยุดเป็นไม้ดอกหอมที่ส่งกลิ่นกรุ่นอวลหอมหวานที่ติดอกติดใจฉันมาจนทุกวันนี้ อาหารที่ตักบาตรยังคงเป็นข้าวสุกและกับข้าวที่เราทำเองแต่จัดเตรียมใส่ถุงเอาไว้เพื่อความสะดวกไม่เลอะเทอะ พระที่นี่บิณฑบาตรสายกว่าที่บ้านฉัน คือท่านจะบิณฑบาตรมาถึงหน้าบ้านนี้ราว 7 โมงกว่าๆ ในทุกๆ วัน ฉันกับน้องแต่งชุดนักเรียนแล้วเรียบร้อย ก็มาเล่นกันแถวๆ นี้ พอป้าตักบาตรเสร็จพวกเราก็แยกย้ายไปโรงเรียน

ความเข้าใจต่อการตักบาตรของฉันเป็นแบบนี้ ฉันไม่คุ้นเคยกับการตักบาตรที่เป็นระเบียบประเพณีจนกระทั่งมาอยู่กรุงเทพ เพื่อนๆ เคยถามฉันว่า แล้วไม่ได้ตักบาตร-ทำบุญวันเกิดหรือ ? ฉันเกิดในวันไหว้บรรพบุรุษของชาวจีน ดังนั้น ในวันเกิดฉันของทุกๆ ปี แม่จะวุ่นวายกับการเตรียมของไหว้บรรพบุรุษจนไม่มีเวลาจะปลุกให้ฉันลุกขึ้นมาใส่บาตรทำบุญ  ฉันมาหัด "ทำบุญวันเกิด" ก็เมื่อเรียนจบแล้ว มีวิถีชีวิตเป็นของตนแล้ว...ซึ่งก็ไม่ใช่การทำตามประเพณีเสียทีเดียว

ในวันนี้ เมื่อนึกถึงการตักบาตร ฉันจะมีภาพของความสุขยามเช้า ข้าวสวยร้อนๆ และกลิ่นดอกไม้อยู่เสมอ กลิ่นหอมของดอกไม้และความสุขในวัยเยาว์ทำให้ฉันต้องดิ้นรนหาต้นสายหยุดมาปลูกหน้าบ้าน และก็ต้องบอกว่าตามหาอยู่นานเพราะไม่เคยรู้ว่าดอกไม้หน้าบ้านที่ตัวเองอยากได้กลิ่นนั้นมันดอกอะไร ปลูกผิดมาหลายต้น แม้กระทั่งเมื่อปลูกถูกต้นก็ต้องรอถึง 3 ปี กว่าจะได้ชื่นอกชื่นใจกับกลิ่นของมัน ...วันนี้หน้าบ้านฉันมีดอกสายหยุดแล้ว ฉันจึงคิดจะเริ่มภารกิจ ตักบาตรยามเช้า เสียที

เช้านั้นฉันนึกครึ้มอกครึ้มใจจะหาวันไหนดีหนอให้เป็นวันดีเดย์ ฉันปั่นจักรยาน ดูตลาด  ดูลาดเลา กะการณ์...แล้วฉันก็เห็นพระ....ท่านบิณฑบาตรเสร็จแล้ว เตรียมกลับวัด ท่านเดินโขยกเขยกเล็กน้อยเพราะไม่ได้สวมรองเท้า คงจะเจ็บ ถนนคอนกรีตมันไม่ใช่ทางดิน นุ่มๆ เย็นๆ เหมือนบ้านฉัน ......สักครู่ฉันก็เห็นมอเตอร์ไซค์รับจ้างขับมา คนขับสะพายย่ามสีเหลือใบโต มีข้าวของอยู่เต็ม มีถุงหิ้วพลาสติกโตๆ อีก 2 ถุงบรรจุอาหารนานาชนิด เขาขับผ่านฉันไป แล้วก็จอดแวะรับพระรูปนั้น ท่านขึ้นมอเตอร์ไซค์....กลับวัด...

นึกครึ้มอกครึ้มใจ ...นี่ถ้าฉันเอาข้าวของหย่อนลงไปในย่ามที่โชเฟอร์สะพาย จะถือว่าเป็นการตักบาตรได้ไหมหนอ....





ที่มา : http://www.semsikkha.org/review/content/view/705/76/
ขอบพระคุณที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22 กรกฎาคม 2554 16:09:36 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: เปลี่ยนภาพที่หายไปค่ะ » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 24 มิถุนายน 2553 14:58:29 »


ชาวลาวในหลวงพระบาง นั่งรอตักบาตร

# 05 การตักบาตร เป็นสังฆทาน

การตักบาตร เป็นสังฆทานอย่างหนึ่ง เป็นการถวายของให้พระโดยไม่เจาะจง จึงควรจะตั้งใจไว้ตั้งแต่ทีแรกเลยว่า จะไม่เลือกพระภิกษุสงฆ์สามเณรรูปหนึ่งรูปใด เมื่อพระภิกษุสามเณรรูปใดผ่านมา ก็ตั้งใจตักบาตรแก่พระภิกษุสามเณรรูปนั้น และรูปอื่นๆ ไปตามลำดับ โดยควรปฏิบัติดังนี้

1. จัดเตรียมอาหารที่สะอาด ถูกสุขลักษณะ ใส่ภาชนะเรียบร้อย มากหรือน้อยตามความต้องการ

2. นำอาหารที่เตรียมไว้ ไปคอยตักบาตรตรงทางที่พระภิกษุเดินผ่าน โดยก่อนจะตักบาตร ควรจะตั้งจิตถวายด้วยความศรัทธาและเคารพ กล่าวคือ นำ ขันข้าว และถาดอาหาร มาจบที่ศีรษะแล้วอธิษฐาน

3. ขณะที่ตักบาตร ควรอยู่ในอาการสำรวมและเคารพ ควรจะถอดรองเท้า(เพราะพระสงฆ์สามเณรจะถอดรองเท้าขณะออกบิณฑบาต) ควรจะสวมเสื้อผ้าสะอาด ไม่โป๊ เมื่อตักบาตรเสร็จแล้ว ควรแสดงความเคารพด้วยการยกมือไหว้ หากต้องใช้มือหยิบข้าวเหนียวใส่ในบาตร ควรจะล้างมือและเช็ดมือให้แห้ง

4. หลังจากตักบาตร แล้วพระจะให้พร ผู้ที่ตักบาตรจะประนมมือรับพร (โดยปกติ จะนิยมคุกเข่าหรือนั่งยองๆ ประนมมือ) ขณะที่ให้พร ผู้ตักบาตรอาจจะกรวดน้ำเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ล่วงลับ (การกรวดน้ำนั้น อาจจะกระทำในขณะที่พระให้พรหรือหลังจากการตักบาตรเสร็จสิ้นก็ได้)

คำอุทิศส่วนกุศลในการตักบาตร จะใช้ภาษาบาลีหรือภาษาไทยก็ได้ ดังนี้

"สุทินนัง วะตะเม ทานัง อาสะวักขะยาวะหัง โหตุ" …แปลว่า “ทานของเราให้แล้วด้วยดี ขอจิตข้าพเจ้าจงสิ้นจาก อาสวกิเลสเทอญ"

หรือ “ อิทัง เม ญาตินัง โหตุ” ….แปลว่า “ขออุทิศส่วนแห่งบุญกุศล จงสัมฤทธิ์ผลแก่ญาติของข้าพเจ้าด้วยเทอญ”

อนึ่ง การตักบาตรจะสมบูรณ์พร้อม เมื่อประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการ คือ

1. เตรียมใจให้พร้อมก่อนจะตักบาตร ข้อนี้ถือว่าสำคัญมาก เพราะบุญที่แท้จริง จะอยู่ที่ใจของผู้ตักบาตร

พระท่านแนะนำว่า ให้รักษาเจตนาบริสุทธิ์ทั้ง 3 ขณะ คือ

• ก่อนถวาย ตั้งใจเสียสละอย่างแท้จริง
• ขณะถวาย มีจิตใจเลื่อมใส และถวายด้วยความเคารพ
• หลังจากถวาย ต้องยินดีในทานของตนเอง มีจิตใจเบิกบาน ไม่รู้สึกว่าเสียดายสิ่งของ หรือไม่รู้สึกผิด ว่าน่าจะทำให้ดีกว่านี้

เพราะหากใจไม่บริสุทธิ์ทั้ง 3 ขณะ จะทำให้จิตใจของผู้ให้ เศร้าหมอง วิตกกังวล และไม่เบิกบาน

ฉะนั้น ถ้าหากจิตใจของผู้ให้ ยังไม่พร้อมที่จะตักบาตร ก็ไม่ควรจะฝืนใจตักบาตร ในช่วงเวลานั้น เพราะยังมีโอกาสและยังมีวิธีทำบุญ วิธีสละกิเลส และวิธีทำจิตใจให้ผ่องใส ในโอกาสอื่น และโดยวิธีอื่นอีกมาก

2. ผู้รับ คือ พระภิกษุสามเณร เป็นผู้สำรวมระวัง มีข้อวัตรปฏิบัติที่ดีงามตามพระธรรมวินัย ใฝ่ศึกษาเล่าเรียน นำมาบอกกล่าวแนะนำสั่งสอนประชาชน และเป็นผู้ประพฤติปฏิบัติเพื่อบรรเทาราคะ โทสะ โมหะจนสามารถ ละขาดได้

3. สิ่งของที่จะถวาย จะต้องได้มาด้วยวิธีสุจริต ไม่เบียดเบียนต่อคนใกล้ชิดและทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน และสิ่งของนั้นจะต้องเหมาะสมต่อพระภิกษุสามเณร
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 24 มิถุนายน 2553 15:17:24 »






มีคำบาลีที่พระพุทธองค์แสดงไว้...

อนฺนโท พลโท โหติ....ผู้ให้ข้าว ชื่อว่าให้กำลัง
วตฺถโท โหติ วณฺณโท....ผู้ให้ผ้า ชื่อว่าให้ผิวพรรณ

ทีปโท โหติ จกฺขุโท ....ผู้ให้ประทีปโคมไฟ ชื่อว่าให้ดวงตา
ยานโท สุขโท โหติ....ผู้ให้ยาน ชื่อว่าให้ความสุข

สพฺพทโท โหติ โย ททาติอุปสฺสยํ....ผู้ให้ที่อยู่อาศัย ชื่อว่าให้ทุกสิ่งทุกอย่าง





# 08 เกร็ดเกี่ยวกับภาษาไทย

บาตร หรือ บาต?

บาตร น. ภาชนะชนิดหนึ่งสำหรับพระภิกษุสามเณรใช้รับอาหารบิณฑบาต
บาต ก. ตก, ตกไป มักใช้ประกอบหลังคำอื่น เช่น อสุนีบาต, อุกกาบาต

บิณฑ- น. ก้อนข้าว. บิณฑบาต น. อาหาร(ใช้แก่พระภิกษุสามเณร) เช่น รับบิณฑบาต ก. กิริยาที่พระภิกษุสามเณรรับของที่เขานำมาใส่บาตร, โดยปริยายหมายถึงกิริยาที่พระภิกษุสามเณรขอหรือขอร้อง เช่น เรื่องนี้ขอบิณฑบาตให้เลิกแล้วต่อกัน

             

ตักบาตร หรือ ใส่บาตร?

คำว่า ตักบาตร สามารถที่จะเรียกว่า ใส่บาตร ก็ได้ ….คำว่าตักบาตรนั้น มาจากกิริยาอาการที่ใช้ทัพพีตักข้าวสวยใส่บาตรพระ ....แต่เนื่องจากปัจจุบันสภาพสังคมเปลี่ยนไป ผู้คนใช้ชีวิตอย่างเร่งรีบ ผู้คนจึงนิยมนำของแห้งชนิดถุงหรือกระปุก กล่องนม หรือขวดน้ำ ไปใส่ในบาตรแทนการตักข้าวสวย คำว่าใส่บาตรจึงถือเป็นวิวัฒนาการทางภาษา เพื่อให้สอดคล้องกับยุคปัจจุบัน.



อ่านรายละเอียดที่น่าสนใจเกี่ยวกับตักบาตรเพิ่มเติมที่นี่ค่ะ :
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=yyswim&month=12-06-2007&group=12&gblog=8

ขอบพระคุณที่มาทั้งหมดมากมาย
อนุโมทนาสาธุค่ะ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24 สิงหาคม 2554 07:28:14 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: jpg » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 24 มิถุนายน 2553 15:26:44 »


เสน่ห์กรุงเทพ … วัดราชบพิธ .. ตักบาตรดอกไม้ในเทศกาลเข้าพรรษา

เมื่อพูดถึง ประเพณีตักบาตรดอกไม้ ในเทศกาลเข้าพรรษา
เชื่อว่าหลายๆคนคงคิดถึงอำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ..
แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่าในกรุงเทพใกล้ๆแค่นี้เอง ก็สามารถไปตักบาตรดอกไม้ได้ค่ะ
ที่วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหารยังไงคะ











บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: 24 มิถุนายน 2553 15:45:12 »



ก่อนอื่นขอเล่าเรื่องที่มาของประเพณีการตักบาตรดอกไม้ให้ฟังก่อนนะคะ … มีเรื่องเล่าสืบมาจากพุทธตำนานว่า พระเจ้าพิมพิสาร กษัตริย์ผู้ครองราชย์คฤห์ โปรดดอกมะลิมากกว่าดอกไม้ชนิดอื่นๆ ทุกๆวันพระองค์จะได้รับดอกมะลิจากนายมาลาการวันละ 8 กำมือ

จนวันหนึ่งขณะที่นายมาลาการกำลังเก็บดอกมะลิเพื่อนำไปถวายพระเจ้าพิมพิสารตามปรกติ เขามองเห็นพระพุทธเจ้าและพระภิกษุสงฆ์จำนวนหนึ่งออกบิณฑบาต .. นายมาลาการจึงนำดอกมะลิที่เก็บได้ทั้ง 8 กำมือนั้น ถวายเป็นพุทธบูชา โดยไม่กลัวว่าจะต้องอาญา เพราะไม่มีดอกไม้ไปถวายพระราชาเช่นเคย

แต่ก่อนที่นายมาลาการจะถวายมะลิสด เขาได้ตั้งจิตอธิษฐานว่า … สิ่งต่างๆที่พระราชาพระราชทานให้เขานั้น เป็นเพียงเพื่อเลี้ยงชีพตามสมควรในภพนี้ แต่การที่เขานำดอกไม้ถวายเป็นพุทธบูชาแก่องค์พระศาสดานั้น ให้ประโยชน์สูงสุดทั้งในภพนี้และภพหน้า .. แล้วหากเขาต้องถูกสั่งประหารชีวิต หรือต้องโทษเพราะไม่มีดอกไม้ไปถวายพระราชา เขาก็ยอม …

เมื่ออธิษฐานแล้ว จึงตักบาตรด้วยดอกมะลิดังตั้งใจ

เมื่อภรรยาของนายมาลาการรู้เรื่อง ก็กลัวว่าสามีจะต้องถูกลงโทษเพราะไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ แล้วตัวเองจะลำบากด้วย เลยทิ้งสามี และหนีออกจากบ้าน

แต่ …. เรื่องราวกลับไม่เป็นอย่างที่ใครๆคิด … เพราะเมื่อพระเจ้าพิมพิสารทรงทราบเรื่อง กลับพอพระราชหฤทัยมากในสิ่งที่นายมาลาการทำไป จึงพระราชทานบำเหน็จรางวัล ความดีความชอบให้นายมาลาการ เป็นสิ่งของต่างๆอย่างละ 8 คือ

          ช้าง 8 เชือก                        ม้า 8 ตัว
          ข้าทาสบริวาร 8 คน                เครื่องประดับชุดใหญ่ 8 ชุด

          กหาปณะ 8 พัน                    นารี 8 นาง
          บ้านสวย 8 หลัง                   

ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของนายมาลาการดีขึ้น และมีแต่ความสุขด้วยอานิสงส์จากการนำดอกมะลิถวายบูชาพระพุทธเจ้าแทนการตักบาตร

… จากนั้น จึงมีประเพณีตักบาตรดอกไม้ต่อๆมา …

ในเมืองไทย … ชาวอำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี เป็นผู้นำประเพณีตักบาตรดอกไม้มาเผยแพร่ และทำเป็นประจำทุกปี โดยกำหนดเอาวันเข้าพรรษา หรือวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี เป็นวันประเพณีตักบาตรดอกไม้

เมื่อก่อนชาวบ้านจะนิยมเอาดอกไม้ที่ที่ออกดอกในช่วงเข้าพรรษาเท่านั้นมาใส่บาตร เรียกกันว่าดอกเข้าพรรษาหรือดอกหงส์เหิน … ลักษณะคล้ายดอกกระวาน หรือดอกขมิ้นชัน สูงประมาณ 1 คืบเศษๆ ดอกมีสีเหลือง สีขาว บางต้นก็มีสีม่วง จะขึ้นตามไหล่เขาในเขตอำเภอพระพุทธบาท คนส่วนใหญ่จะนิยมตักบาตรด้วยดอกเข้าพรรษาสีขาว เพราะหมายถึงความบริสุทธิ์แห่งพระพุทธศาสนา และสีเหลือง เพราะหมายถึงสีแห่งพระสงฆ์ สาวกแห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้าในหนึ่งดอกมีสีเหลืองกับสีขาวอยู่ในดอกเดียวกันจะเป็นการยิ่งดี โดยเฉพาะสีเหลืองแต้มสีขาวจะดียิ่งขึ้น

แต่ต่อมาประเพณีนี้เป็นที่แพร่หลาย ดอกไม้ที่ขึ้นเองตามธรรมชาติมีไม่เพียงพอกับความต้องการ ก็เลยมีการใช้ดอกไม้ต่างๆชนิดอื่นๆตามใจของผู้ทำบุญ

สำหรับในกรุงเทพ … เท่าที่ทราบก็มีวัดที่จัดประเพณีตักบาตรดอกไม้อยู่หลายวัด คือวัดราชบพิธ วัดบวรนิเวศน์วิหาร วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม และวัดพระรามเก้า กาญจนาภิเษก

สิ่งที่ควรเตรียมไปตักบาตรดอกไม้ … แน่นอนค่ะต้องมีดอกไม้ ธูป เทียน .. ดอกไม้จะจัดเป็นช่อๆพองาม หรือหากเป็นดอกไม้ดอกโตหน่อยก้านแข็งๆ ก็เตรียมเป็นดอกๆไป แต่จะเป็นแบบพวงมาลัยก็ได้ค่ะ พวงเล็กๆสวยงามดี

หากคนในบ้านช่วยกันเตรียม ช่วยกันจัด ช่วยกันร้อยดอกไม้มาทำบุญด้วยกัน ก็ยิ่งดีมากขึ้นค่ะ … เป็นการทำกิจกรรมของคนในครอบครัว เหมือนเมื่อสมัยเราเด็กๆที่เวลามีการทำบุญกันที่ไหน .. จะมีการนั่งล้อมวงกันจัดดอกไม้ พูดคุย ถามไถ่เรื่องราวต่างๆในชุมชน .. ได้ทั้งบุญกุศลและอัพเดทความเป็นไปในสังคมค่ะ

ทราบมาว่า ที่วัดราชบพิธ มีการจัดเตรียมดอกไม้ไว้ส่วนหนึ่ง สำหรับผู้ที่ไม่ได้เตรียมดอกไม้มาเอง ทำบุญกับทางวัด แล้วรับดอกไม้ไปตักบาตรก็ได้ค่ะ รายได้จะได้มอบให้ทางวัดไปทั้งหมด

รอบๆพระอุโบสถ จะมีเก้าอี้ที่ทางวัดนำมาวางเรียงไว้รอบๆ สามารถเลือกมุมที่ชอบได้ค่ะ … ใครไปก่อนก็เลือกได้ก่อนนะคะ บางมุมก็เป็นที่หลบความร้อนจากแสงแดดได้ด้วย หากยังไม่แดดร่ม ลมยังไม่ตก

ขณะที่รอเวลาที่พระสงฆ์ยังไม่เดินลงมารับบิณฑบาต ก็อาจจะถือโอกาสเดินชมดอกไม้ของเพื่อนๆ และผู้คนที่นำมาตักบาตร เอาไว้เป็นไอเดียสำหรับเตรียมการปีต่อไปก็ได้ค่ะ

ในช่วงเย็นๆ .. เมื่อแดดร่ม ราว 5 โมงเย็น พระสงฆ์ที่จำพรรษาที่วัดราชบพิตรก็จะเดินแถวลงจากโบสถ์ออกรับบิณฑบาตดอกไม้ โดยมีหนุ่มๆเดินตามพระเณรแต่ละองค์ เพื่อช่วยถ่ายดอกไม้จากถุงย่ามของท่านใส่ในถัง

พระท่านจะเดินวนขวาไปตามทางรอบพระอุโบสถ … เมื่อใส่บาตรเสร็จก็ไปรอรับน้ำมนต์ที่หน้าพระอุโบสถ ก่อนจะแยกย้ายกันกลับบ้าน

ดอกไม้ที่พระแต่ละรูปได้รับบิณฑบาต ท่านจะนำไปบูชาพระพุทธรูป และที่เก็บอัฐิของอดีตเจ้าอาวาสทั้งสี่องค์ แล้วค่อยกระจายไปตามกุฏิต่างๆจนหมด

พุทธศาสนิกชนเชื่อกันว่า การตักบาตรดอกไม้นอกจากจะทำให้เกิดความร่มเย็นในจิตใจ และความเป็นสิริมงคลของชีวิตแล้ว ยังเป็นกิจกรรมที่ให้ความเพลิดเพลิน และช่วยอนุรักษ์ความเป็นไทยได้อีกวิธีหนึ่ง

หากมีโอกาสจึงอยากจะเชิญชวนให้ทุกท่านที่ยังอยู่ในกรุงเทพในช่วงเวลาเข้าพรรษา ไปร่วมกันตักบาตรดอกไม้ที่วัดด้วยค่ะ เชื่อเหลือเกินว่าทุกท่านจะประทับใจกับบรรยากาศและภาพที่ได้เห็น … อิ่มใจ อิ่มบุญกลับไปพร้อมรอยยิ้ม .. พร้อมกับสัญญากับตัวเองว่าปีหน้าจะไม่พลาดแน่นอน

สำหรับผู้เขียน ปีนี้ต้องกลับบ้านที่จังหวัดอุบลราชธานี … ทำให้ไม่มีโอกาสจะไปทำบุญตักบาตรดอกไม้ … แต่ก็หวังว่าจะได้เห็นภาพ พร้อมบทความจากเพื่อนๆที่ไปค่ะ … แล้วจะนำภาพบรรยากาศงานแห่เทียนเข้าพรรษาที่อุบลราชธานีมาฝาก และอาจจะมีซีรีย์ยาวๆ (อีกแล้ว) มาให้อ่านกันค่ะ .. ติดตามนะคะ




NOTE : ทราบว่าการตักบาตรดอกไม้ที่วัดราชบพิธ ปกติจะมีพิธีในตอนเย็นก่อนวันเข้าพรรษา 1 วัน หากจะเดินทางไปร่วมทำบุญตักบาตรดอกไม้ที่วัด ก็ลองตรวจสอบวัน เวลาที่แน่นอนจากทางวัดด้วยนะคะ


ขอบคุณ … เนื้อความและภาพประกอบบางส่วนจากนิตยสารพลอยแกมเพชร
Credit by : http://www.oknation.net/blog/supawan/page21
 ยิ้ม  ufoatkaokala11.com/
อนุโมทนาค่ะ
บันทึกการเข้า
คำค้น: ใส่บาตร วิถีชนบท รำลึก ประเพณี อานิสงส์ ต่างจังหวัด ตักบาตรดอกไม้ คำถวาย 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.571 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 19 มีนาคม 2567 19:10:28