[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 07:52:48 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สุนทรภู่ ๑ "ประวัติ และผลงานประเภทสุภาษิต"  (อ่าน 7253 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 18 พฤษภาคม 2555 19:28:27 »

 สุนทรภู่ และประชุมโวหารสุนทรภู่
     ภาพจาก : nmk.ac.th



๑.  ชีวิตและงานสุนทรภู่

๑.๑ ประวัติของสุนทรภู่

สุนทรภู่   กวีสำคัญสมัยต้นรัตนโกสินทร์  เกิดเมื่อวันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๓๒๙ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก  ณ บริเวณด้านเหนือของพระราชวังหลัง (บริเวณสถานีรถไฟบางกอกน้อยปัจจุบัน)  บิดาของท่านเป็นชาวบ้านกร่ำ  อำเภอแกลง  จังหวัดระยอง   มารดาเป็นชาวเมืองใดไม่ปรากฏ  แต่สันนิษฐานว่ามารดาเป็นข้าหลวงอยู่ในพระราชวังหลัง  บิดามารดาเลิกร้างกันตั้งแต่สุนทรภู่ อายุได้ ๒ ขวบ    บิดาออกไปบวชที่วัดป่า  ตำบลบ้านกร่ำ  อำเภอแกลง  อันเป็นภูมิลำเนาเดิม  ส่วนมารดากลับเข้าไปอยู่ในพระราชวังหลัง  และได้ถวายตัวเป็นนางนมของพระธิดาในกรม ฯ  สุนทรภู่ได้ตามมารดาเข้าไปอยู่ในวังด้วย

ในปฐมวัย สุนทรภู่ได้รับการศึกษาในพระราชวังหลังและที่วัดชีปะขาว  ปัจจุบันนี้เรียกว่าวัดสุดาราม  อำเภอบางกอกน้อย  ฝั่งธนบุรี   แต่เยาว์วัยสุนทรภู่มีนิสัยรักแต่งกลอนยิ่งกว่างานอื่น  เมื่อรุ่นหนุ่มสุนทรภู่ได้ไปเป็นครูสอนหนังสืออยู่ที่วัดศรีสุดารามในคลองบางกอกน้อย  ได้แต่งกลอนสุภาษิตและกลอนนิทานขึ้นไว้เมื่ออายุราว ๒๐ ปี  ในระยะนี้ได้ลอบรักกับหญิงสาวชาววังชื่อ “จัน”  เลยถูกกริ้วต้องเวรจำทั้งชายหญิง  เมื่อกรมพระราชวังหลังเสด็จทิวงคต เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๔๙  จึงพ้นโทษถูกปล่อยเป็นอิสระ   แล้วจึงเดินทางไปหาบิดาที่เมืองแกลง  ออกจากกรุงเทพฯ ในเดือน ๗  โดยเรือประทุน  มีศิษย์แจวหัวท้ายไป ๒ คน พร้อมกับชาวระยองเจ้าของท้องที่ซึ่งชำนาญเส้นทางร่วมนำชี้ทางไปด้วย  การเดินทางครั้งนี้ สุนทรภู่ได้พรรณาสภาพการเดินทางในสมัยโบราณ ที่ต้องทนอุตส่าห์ฝ่าฟันภัยอันตราย ความทุรกันดาร  จนกว่าจะถึงที่หมาย  ไว้ในนิราศเมืองแกลง   ต่อมาสุนทรภู่ก็ได้แต่งงานกับนางจันคู่ทุกข์คู่ยากนั้นเอง  แต่อยู่ด้วยกันไม่นานก็เกิดระหองระแหง  เพราะสุนทรภู่ชอบดื่มเหล้าและเป็นคนเจ้าชู้  นางจันจึงทิ้งไป  หลังจากนั้นสุนทรภู่ก็ได้ภรรยาอีกหลายคน แต่ก็อยู่ด้วยกันไม่ยืด

สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ  ทรงพระนิพนธ์ไว้ว่า นิราศเมืองแกลง เป็นนิราศเรื่องแรกของสุนทรภู่  แต่นักวิชาการรุ่นหลังค้นคว้าหาหลักฐานมาได้ว่า ผลงานวรรณกรรมเรื่องแรกของสุนทรภู่คือนิยายเรื่องโคบุตร  ที่แต่งขึ้นถวายพระองค์เจ้าปฐมวงศ์   ซึ่งเป็นโอรสของกรมพระราชวังหลัง      เกี่ยวกับพระองค์เจ้าปฐมวงศ์  ขณะทรงผนวชจำพรรษาอยู่ที่วัดอรุณราชวราราม (วัดแจ้ง)   สุนทรภู่ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กรับใช้ถวายงานอย่างใกล้ชิดตลอดเวลาที่ทรงผนวชอยู่    ในปลายปี พ.ศ. ๒๓๕๐  สุนทรภู่ได้ตามเสด็จพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ไปนมัสการพระพุทธบาทที่จังหวัดสระบุรี   และได้แต่งนิราศพระบาทขึ้นอีกเรื่อง  นับเป็นนิราศอันดับที่ ๒ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก   รองจากนิราศเมืองแกลง  

ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒)  เป็นยุคกวีนิพนธ์เฟื่องฟู   ด้วยความที่สุนทรภู่เป็นผู้มีฝีมือในการแต่งกลอน  จึงทรงโปรดฯ ให้เข้ารับราชการในกรมพระอาลักษณ์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๕๒    จนได้รับแต่งตั้งเป็นที่ขุนสุนทรโวหาร   เป็นกวีที่ปรึกษาและคอยรับใช้ใกล้ชิด  ระยะนี้สุนทรภู่ได้หญิงชาวบางกอกน้อยชื่อนิ่มเป็นภริยาอีกคนหนึ่ง  ต่อมาในราว พ.ศ. ๒๓๖๔  สุนทรภู่ต้องติดคุกเพราะเมาสุราอาละวาดและทำร้ายท่านผู้ใหญ่  แต่ติดอยู่ไม่นานก็พ้นโทษเพราะความสามารถในทางกลอนเป็นที่พอพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ชีวิตของสุนทรภู่ในรัชกาลนี้นับว่ารุ่งโรจน์  มีที่อยู่  มียศถาบรรดาศักดิ์  จนกระทั่งสิ้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ในปี พ.ศ. ๒๓๖๗  ชะตาชีวิตของยอดกวีศรีรัตนโกสินทร์ต้องถึงคราตกอับ สิ้นวาสนา อันเป็นเรื่องกรรมเก่า ที่สุนทรภู่ได้ทำไว้เองทั้งสิ้น

สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงพระนิพนธ์เล่าถึง เรื่องราวที่เกิดขึ้นว่า เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องอิเหนา ทรงแบ่งตอนบุษบาเล่นธาร เมื่อท้าวดาหาไปใช้บน   พระราชทานให้พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  เมื่อยังดำรงพระยศเป็นพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ทรงนิพนธ์    เมื่อทรงนิพนธ์เรียบร้อย ถึงวันจะอ่านถวาย  พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีรับสั่งวานสุนทรภู่ครูกวีที่ปรึกษาใหญ่ให้ช่วยอ่านตรวจสำนวนดูอีกที สุนทรภู่อ่านดูแล้วก็กราบทูลว่า ดีแล้วไม่มีอะไรจะต้องแก้ไข


          
ครั้นได้เวลาเสด็จออก พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระกรุณาโปรดให้อ่านบทกวี  พอถึงตอน

   
น้ำใสไหลเย็นแลเห็นตัว    
   ปลาแหวกกอบัวอยู่ไหวไหว

    
 สุนทรภู่  ได้กล่าวตำหนิบทกวีสองบรรทัดนี้ว่าขัดหูขัดตา  ขอแก้เสียใหม่เป็น
   
น้ำใสไหลเย็นเห็นตัวปลา
   ว่ายแหวกปทุมาอยู่ไหวไหว


พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  จึงทรงโปรดให้แก้ไขเสียใหม่ตามที่หลวงสุนทรโวหารเสนอ  เหตุการณ์ครั้งนั้น พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ทรงกริ้วมาก เมื่อเสด็จขึ้นแล้วมีรับสั่งว่าเมื่อขอให้ตรวจทำไมจึงไม่แก้ไข  แกล้งนิ่งเอาไว้ติหักหน้ากันในที่ประชุมหน้าพระที่นั่ง..

ครั้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๖๗  กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ เสด็จเถลิงถวัลย์ครองราชสมบัติ  ทรงพระนาม พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรเจษฏาธิบดินทร์   พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) ขุนสุนทรโวหาร (สุนทรภู่)   จึงถูกถอดออกจากตำแหน่ง ขุนสุนทรโวหาร   เนื่องจาก กรรมเก่า ที่ท่านสุนทรภู่ได้ทำผิดอย่างร้ายแรง  ครั้งได้แก้บทพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ ๓  ขณะยังดำรงพระยศเป็นพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์  ต่อหน้าพระที่นั่ง   พระองค์ทรงอับอายข้าราชบริพาร   สุนทรภู่จึงคราตกอับ  สิ้นวาสนา  แล้วออกบวชที่วัดราชบูรณะ (วัดเลียบ)  ในปี พ.ศ. ๒๓๖๙


ขณะออกบวชที่วัดราชบูรณะ (วัดเลียบ)  ได้เดินทางไปจำพรรษาตามวัดต่าง ๆ  โดยได้รับการอุปการะจากพระองค์เจ้าลักขณานุคุณจนพระองค์ประชวรสิ้นพระชนม์   สุนทรภู่จึงลาสิกขาบท  รวมอายุพรรษาที่บวชได้ประมาณ ๑๐ พรรษา  สุนทรภู่ออกมาตกระกำลำบากอยู่พักหนึ่ง  และถวายตัวอยู่กับเจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ณ พระราชวังเดิม  รวมทั้งได้รับอุปการะจากกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพอีกด้วย

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ครองราชย์  ทรงสถาปนาเจ้าฟ้า กรมขุนอิศเรศรังสรรค์  เป็นพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว  ประทับอยู่วังหน้า (พระบวรราชวัง)  สุนทรภู่จึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นที่พระสุนทรโวหาร  ตำแหน่งเจ้ากรมพระอาลักษณ์  ฝ่ายบวรราชวัง  ใน พ.ศ. ๒๓๙๘  และรับราชการต่อมาได้ ๔ ปี ก็ถึงแก่มรณกรรมใน พ.ศ. ๒๓๙๘  รวมอายุได้ ๗๐ ปี


๑.๒ งานของสุนทรภู่
หนังสือบทกลอนของสุนทรภู่มีอยู่มาก เท่าที่ปรากฏเรื่องที่ยังมีฉบับอยู่ในปัจจุบันนี้ คือ

๑. ประเภทนิราศ
     นิราศเมืองแกลง
     นิราศพระบาท
     นิราศภูเขาทอง
     นิราศเมืองสุพรรณ (แต่งเป็นโคลง)
     นิราศวัดเจ้าฟ้า
     นิราศอิเหนา
     นิราศพระประธม
     นิราศเมืองเพชร
๒.ประเภทนิทาน
     เรื่องโคบุตร
     เรื่องพระอภัยมณี
     เรื่องพระไชยสุริยา
     เรื่องลักษณวงศ์
     เรื่องสิงหไกรภพ
๓. ประเภทสุภาษิต
     สวัสดิรักษา
     เพลงยาวถวายโอวาท
     สุภาษิตสอนหญิง
๔. ประเภทบทละคร
     เรื่องอภัยณุราช
๕. ประเภทบทเสภา
     เรื่องขุนช้างขุนแผน
     เรื่องพระราชพงศาวดาร
๖. ประเภทบทเห่กล่อม
     เห่จับระบำ
     เห่เรื่องกากี
     เห่เรื่องพระอภัยมณี
     เห่เรื่องโคบุตร

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 29 มิถุนายน 2555 14:46:18 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 19.0.1084.46 Chrome 19.0.1084.46


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 18 พฤษภาคม 2555 22:30:48 »





อายจัง  ค่ะ ขอบคุณนะคะ...



บันทึกการเข้า
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 28 พฤษภาคม 2555 16:03:18 »

 
หงุดหงิด๑.๒ งานของสุนทรภู่

หนังสือบทกลอนของสุนทรภู่มีอยู่มาก เท่าที่ปรากฏเรื่องที่ยังมีฉบับอยู่ในปัจจุบันนี้ คือ

ประเภทสุภาษิต

สุภาษิตสอนสตรี

          ๑.
ผู้ใดเกิดเป็นสตรีอันมีศักดิ์                        
บำรุงรักกายไว้ให้เป็นผล                
สงวนงามตามระบอบให้ชอบกล                         
จึงจะพ้นภัยพาลการนินทา              
เป็นสาวแส้แร่รวยสวยสะอาด                              
ก็หมายมาดเหมือนมณีอันมีค่า          
แม้นแตกร้าวรานร่อยถอยราคา                            
จะพลอยพาหอมหายจากกายนาง      


          ๒.
อันที่จริงหญิงกับชายย่อมหมายรัก                      
มิใช่จักตัดทางที่สร้างสม                  
แม้นจักรักรักไว้ในอารมณ์                                
อย่ารักชมนอกหน้าเป็นราคี                
ดังพฤกษาต้องวายุพัดโบก                                
เขยื้อนโยกก็แต่กิ่งไม่ทิ้งที่                
จงยับยั้งชั่งใจเสียให้ดี                                    
เหมือนจามรีรู้จักรักษากาย                


          ๓.
อันตัวนางเปรียบอย่างปทุเมศ                  
พึ่งประเวศผุดพ้นชลสาย                
หอมผกาเกสรขจรขจาย                                  
มิได้วายภุมรินถวิลปอง                  
ครั้นได้ชมสมจิตพิศวาส                                  
ก็นิราศแรมจรัลผันผยอง                
ไม่อยู่เฝ้าเคล้ารสเที่ยวจดลอง                            
ดูทำนองใจชายก็คล้ายกัน              


          ๔.
แม้นชายใดใจประสงค์มาหลงรัก                
ให้รู้จักเชิงชายที่หมายมั่น                
อันความรักของชายนี้หลายชั้น                            
เขาว่ารักรักนั้นประการใด                  
จงพินิศพิศดูให้รู้แน่                                        
อย่าทำแต่ใจเร็วจะเหลวไหล              
เปรียบเหมือนคิดปริศนาอย่าไว้ใจ                        
มันมักไพล่แพลงขุมเป็นหลุมพราง      

          ๕.
จะหาคู่สู่สมนิยมหวัง                            
จงระวังชั่วช้าอัชฌาสัย                    
ที่ชายดีนั้นก็มีอยู่ถมไป                                    
ใช่วิสัยเขาจะชั่วไปทั่วเมือง                
แต่ใจคนมักจะรนไปหาผิด                                
ครั้นได้คิดจิตตรอมออกผอมเหลือง      
ต้องเดือดดิ้นกินน้ำตาอยู่นองเนือง                      
สุดจะเปลื้องราคินให้สิ้นคาว              

          ๖.
อันคำคมลมบุรุษนั้นสุดกล้า                    
เขาย่อมว่ารสลิ้นนี้กินหวาน                  
จงระวังตั้งมั่นในสันดาน                                    
อย่าลนลานหลงระเริงด้วยเชิงชาย        
เขารักจริงให้สู่ขอกับพ่อแม่                                
อย่าวิ่งแร่หลงงามไปตามง่าย              
เขาไม่เลี้ยงไล่ขับจะอับอาย                              
ต้องเป็นม่ายอยู่กับบ้านประจานตน        

          ๗.
ท่านเลี้ยงมาว่าจะให้เป็นหอห้อง              
หมายจะกองทุนสินกินขนม          
ครั้นลูกตัวชั่วถ่อยน้อยอารมณ์                          
จึงตรอมตรมโกรธบุตรนี้สุดใจ        
แม้ลูกดีก็จะมีศรีสง่า                                      
ญาติวงศ์พงศาก็ผ่องใส              
ถึงเพื่อนบ้านฐานถิ่นที่ใกล้ไกล                          
ก็มีใจสรรเสริญเจริญพร              

          ๘.
จงรักนวลสงวนงามห้ามใจไว้                  
อย่าหลงใหลจงจำคำที่ร่ำสอน        
คิดถึงหน้าบิดาและมารดร                              
อย่ารีบร้อนเร็วนักมักไม่ดี              
เมื่อสุกงอมหอมหวนจึงควรหล่น                        
อยู่กับต้นอย่าให้พรากไปจากที่        
อย่าชิงสุกก่อนห่ามไม่งามดี                              
เมื่อบุญมีคงจะมาอย่าปรารมภ์        

          ๙.
อย่าคิดเลยคู่เชยคงหาได้                        
อุตส่าห์ทำลำไพ่เก็บประสม            
อย่าเกียจคร้านการสตรีจงนิยม                            
จะอุดมสินทรัพย์ไม่อับจน              
ถ้าแม้นทำสิ่งใดให้ตลอด                                  
อย่าทิ้งทอดเที่ยวไปไม่เป็นผล        
เขม้นขะมักรักงานการของตน                            
อย่าซุกซนคบเพื่อนไพล่เชือนแช      

           ๑๐.
ระวังดูเยือนเหย้าและข้าวของ                  
จะบกพร่องอะไรที่ไหนนั่น            
เห็นไม่มีแล้วอย่าอ้างว่าช่างมัน                            
จงผ่อนผันเก็บเล็มให้เต็มลง          
มีสลึงพึงประจบให้ครบบาท                              
อย่าให้ขาดสิ่งของต้องประสงค์      
จงมักน้อยกินน้อยค่อยบรรจง                              
อย่าจ่ายลงให้มากจะยากนาน        

           ๑๑.
ไม่ควรซื้อก็อย่าไปพิไรซื้อ                      
ให้เป็นมื้อเป็นคราวทั้งคาวหวาน      
เมื่อพ่อแก่แม่เฒ่าชรากาล                                
จงเลี้ยงท่านอย่าให้อดระทดใจ        
ด้วยชนกชนนีนั้นมีคุณ                                    
ได้การุณย์เลี้ยงรักษามาจนใหญ่      
อุ้มอุทรป้อนข้าวเป็นเท่าไร                                
หมายจะได้พึ่งพาธิดาดวง            

           ๑๒.
ถ้าเราดีมีจิตคิดอุปถัมภ์                          
กุศลล้ำเลิศเท่าภูเขาหลวง            
จะปรากฏยศยิ่งสิ่งทั้งปวง                                
กว่าจะล่วงลุถึงซึ่งพิมาน              
เทพไทในห้องสิบหกชั้น                                     
จะชวนกันสรรเสริญเจริญสาร          
ว่าสตรีนั้นเป็นยอดยุพาพาล                              
ได้เลี้ยงท่านชนกชนนี                  
          ๑๓.            
จะสอนใจไว้ทุกสิ่งเป็นหญิงสาว                
ให้พ้นคาวข่าวชั่วเข้ามั่วสุม            
ให้ผันผ่อนเหมือนหนึ่งนอนในห่วงรุม                    
จงสุขุมคิดแบ่งให้เบาบาง            
อย่าทำนอกลักษณะจะเกิดโทษ                          
ตัดประโยชน์พี่น้องเขาหมองหมาง  
ถึงจะรักรักให้ยืดอย่าจืดจาง                              
จะไว้วางกิริยาให้น่าดู                  

           ๑๔.
จะพูดจาปราศรัยกับใครนั้น                      
อย่าตะคั้นตะคอกให้เคืองหู            
ไม่ควรพูดอื้ออึงขึ้นมึงกู                                    
คนจะหลู่ล่วงลามไม่ขามใจ            
แม้นจะเรียนวิชาทางค้าขาย                              
อย่าปากร้ายพูดจาอัชฌาสัย            
จะซื้อง่ายขายดีมีกำไร                                    
ด้วยเขาไม่เคืองจิตระอิดระอา          

          ๑๕.
เป็นมนุษย์สุดนิยมเพียงลมปาก                
จะได้ยากโหยหิวเพราะชิวหา          
แม้นพูดดีมีคนเขาเมตตา                                
จะพูดจาจงพิเคราะห์ให้เหมาะความ  
ถึงชายใดเขาพอใจมาพูดเกี้ยว                          
อย่าโกรธเกรี้ยวโกรธาว่าหยาบหยาม
เมื่อไม่ชอบก็อย่าตอบเนื้อความตาม                    
มันจะลามเล่นเลยเหมือนเคยเป็น    


          ๑๖.
เมื่อจะจรนอนเดินดำเนินนั่ง                    
จงระวังในจิตขนิษฐา                  
อย่าเหม่อเมินเดินให้ดีมีอาฌา                     
แม้นพลั้งพลาดบาทาจะอายคน      
เห็นผู้ใหญ่ฤาใครเขานั่งแน่น                            
อย่าไกวแขนปัดเช่นไม่เห็นหน      
ค่อยวอนว่าข้าขอจรดล                                  
นั่นแลคนจึงจะมีปรานีนาง          


          ๑๗.
เมื่อยามยิ้มยิ้มไว้แต่ในพักตร์                
อย่ายิ้มนักเสียสง่าพาสลาย              
อย่าเท้าแขนเท้าคางให้ห่างกาย                      
อย่ากรีดกรายกรอมเพลาะเที่ยวเราะเริง
จะแต่งตัวก็อย่ามัวแต่การแต่ง                          
อย่าทาแป้งจับกระเหม่าเข้าจนเหลิง  
ใช่บ้านนอกคอกนามาแต่เยิง                          
ทำเซอะเซิงเขาจะโห่วิ่งโร่ไป          

          ๑๘.        
อย่าอวดดีมีทรัพย์เที่ยวจับแจก              
ทำเกี่ยวแฝกมุงป่าพาฉิบหาย        
ใครจะช่วยตัวเราก็เปล่าดาย                            
อย่ามักง่ายเงินทองของสำคัญ      
เห็นผู้ดีมีทรัพย์ประดับแต่ง                              
อย่าทำแข่งวาสนากระยาหงัน        
ของตัวน้อยก็จะถอยไปทุกวัน                     
เหมือนตัดปันต้นทุนสูญกำไร        
            
          ๑๙.
มันเสียแล้วถึงจะฝืนไม่คืนศักดิ์              
จะลงรักทองปิดไม่มิดหาย              
อันความชั่วติดตัวกว่าจะตาย                          
เปรียบเหมือนกายกามีราคีคาว          
ถึงบินออกนอกตำบลให้พ้นเขต                        
คงบอกเหตุรู้ว่าใช่กาขาว                
ห้ามมันยากปากมนุษย์นี้สุดยาว                        
ไม่แกล้งกล่าวค่อนว่าแก่นารี            

          ๒๐.
เป็นสตรีมิใช่ชายเสียดายศักดิ์              
จะปลูกรักเรรวนหาควรไม่              
อันความดีมีอยู่ดูจำไว้                                
อย่าพอใจรักชั่วให้มัวมอม              
จะมีคู่ก็ให้รู้ปรนนิบัติ                                  
จงซื่อสัตย์สุจริตจิตถนอม              
อย่าคิดร้ายย้ายแยกทำแปลกปลอม                  
มโนน้อมเสน่หาต่อสามี                

          ๒๑.
จงแย้มสรวลชวนปลอบให้ชอบชื่น          
เห็นเริงรื่นหัทยาจึงปราศรัย              
ค่อยถนอมกล่อมเกลี้ยงเลี้ยงฤทัย                    
แม้นสิ่งไรเขาไม่ชื่นอย่าขืนทำ            
จะพูดจาสารพัดประหยัดปาก                        
อย่าพูดมากเติมต่อซึ่งข้อขำ              
ความสิ่งไรในจิตจงปิดงำ                              
อย่าควรนำแนะออกไปนอกเรือน        
 
          ๒๒.  
อย่าฟังเปล่าเอาแต่กลอนสุนทรเพราะ      
จงพิเคราะห์คำเลิศประเสริฐศรี            
ไว้เป็นแบบสอนตนพ้นราคี                            
กันบัดสีคำค่อนคนนินทา                  
ให้สุขีศรีเมืองเลื่องลือฟุ้ง                              
หอมจรุงกลิ่นกลั้วทั่วทิศา                
เป็นที่ชื่นเช่นอย่างนางสีดา                            
ในใต้หล้าหมายประคองตัวน้องเอย      

          ๒๓.  
ยังมีพวกหนึ่งนั้นขยันยิ่ง                    
เป็นผู้หญิงสองใจไม่กำหนด            
เที่ยวยักย้ายส่ายชมภิรมย์รส                        
ใครมาจดโผจับรับตะกาง                
จะรักไหนก็ไม่รักสมัครมั่น                            
เล่นประชันเชิงลองทั้งสองข้าง          
ชู้ต่อชู้รู้เรื่องเคืองระคาง                              
ก็ขัดขวางหึงสาจะฆ่าฟัน                
       
           ๒๔.    
จงแย้มสรวลชวนปลอบให้ชอบชื่น        
เห็นเริงรื่นหัทยาจึงปราศรัย              
ค่อยถนอมกล่อมเกลี้ยงเลี้ยงฤทัย                  
แม้นสิ่งไรเขาไม่ชื่นอย่าขืนทำ            
 
           ๒๕.      
จงนุ่งเจียมห่มเจียมเสงี่ยมหงิม            
อย่ากระหยิ่มยศถาอัชฌาสัย              
อย่านุ่งลายกรายกรุยทำฉุยไป                      
ตัวมิใช่ชาววังไม่บังควร                    

           ๒๖.      
รู้วิชาก็ให้รู้เป็นครูเขา                      
จึงจะเบาแรงตนเร่งขวนขวาย              
มีข้าไทใช้สอยค่อยสบาย                          
ตัวเป็นนายโง่เง่าบ่าวไม่เกรง              

           ๒๗.        
หนึ่งเนตรอย่าสังเกตให้เกินนัก          
จงรู้จักอาการประมาณหมาย              
แม้นประสบพบเหล่าเจ้าผู้ชาย                    
อย่าชม้ายทำชม้อยตะบอยแล            
อันนัยน์ตาพาตัวให้มัวหมอง                      
เหมือนทำนองแนะออกบอกกระแส      
จริงมิจริงเขาก็เอาไปเล่าแซ่                      
คนรังแกมันก็ว่านัยน์ตาคม                

          ๒๘.    
เป็นมนุษย์สุดนิยมที่ลมปาก              
จะได้ยากโหยหิวเพราะชิวหา            
แม้พูดดูมีคนเขาเมตตา                            
จะพูดจาจงพิเคราะห์ให้เหมาะความ    
อันโทโสโมโหไม่อดได้                            
ความในใจก็จะพลั้งออกกลางสนาม    
ที่ชาวบ้านท่านไม่รู้จะรู้ความ                      
อย่าทำตามใจนักมักจะเคย              
 


           ๒๙.      
อย่าคบพวกหญิงพาลสันดานชั่ว        
ที่แต่งตัวไว้จริตผิดกระสวน              
สุริย์ฉายบ่ายคล้อยเที่ยวลอยนวล                
เป็นเชิงชวนพวกเจ้าชู้เขารู้กล            

           ๓๐.
อันตัวต่ำแล้วอย่าทำให้กายสูง          
ดูเยี่ยงยูงยังมีแววที่วงหาง              
ค่อยเสงี่ยมเจียมใจจะไว้วาง                      
ให้ต้องอย่างกิริยาเป็นนารี              
จะน่งห่มดูพอสมศักดิ์สงวน                        
ไม่สมควรรักพักตร์ตามศักดิ์ศรี          
จะผัดหน้าทาแป้งแต่งอินทรีย์                    
ดูฉวีผิวเนื้ออย่าเหลือเกิน                
จะเก็บไรไว้ผมให้สมพักตร์                        
บำรุงศักดิ์ตามศรีมิให้เขิน                
เป็นสุภาพราบเรียบแลเจริญ                      
คงมีผู้สรรเสริญอนงค์ตรง                
ใครเห็นต้องนิยมชมไม่ขาด                        
ว่าฉลาดแต่งร่างเหมืองอย่างหงส์        
ถึงรูปงามทรามสงวนนวลอนงค์                  
ไม่รู้จักแต่งทรงก็เสียงาม                

 
ยิ้ม
     
    
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 29 มิถุนายน 2555 20:37:05 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 19.0.1084.52 Chrome 19.0.1084.52


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 29 พฤษภาคม 2555 22:25:10 »





ยิ้ม ยิ้ม ยิ้ม



บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
สุนทรภู่ ๔ "นิทานคำกลอน - สิงหไตรภพ"
สุขใจ ใต้เงาไม้
Kimleng 0 6640 กระทู้ล่าสุด 29 มิถุนายน 2555 14:34:33
โดย Kimleng
สุนทรภู่ ๗ "นิทานคำกลอน เรื่องลักษณวงศ์"
สุขใจ ใต้เงาไม้
Kimleng 0 9097 กระทู้ล่าสุด 29 มิถุนายน 2555 19:36:40
โดย Kimleng
สุนทรภู่ ๑๐ : นิราศวัดเจ้าฟ้า
สุขใจ ใต้เงาไม้
Kimleng 2 6960 กระทู้ล่าสุด 22 กรกฎาคม 2555 12:17:46
โดย Kimleng
สุนทรภู่ ๑๑ : นิราศเมืองสุพรรณ
สุขใจ ใต้เงาไม้
Kimleng 0 2488 กระทู้ล่าสุด 04 สิงหาคม 2555 17:17:05
โดย Kimleng
สุนทรภู่ ๑๒ : นิราศอิเหนา
สุขใจ ใต้เงาไม้
Kimleng 1 3547 กระทู้ล่าสุด 24 กันยายน 2555 14:39:51
โดย Kimleng
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.488 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 24 กุมภาพันธ์ 2567 17:52:31