[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
30 เมษายน 2567 14:09:47 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: วิธีคิดเจ๋งๆ แบบคนอินเดีย  (อ่าน 1930 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
That's way
นักโพสท์ระดับ 9
****

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

United States United States

กระทู้: 601


สัตว์เลี้ยงลูกด้วยเงิน

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 18.0.1025.162 Chrome 18.0.1025.162


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 26 เมษายน 2555 09:49:01 »

วิธีคิดเจ๋งๆ แบบคนอินเดีย




ดช.ปัญญา เป็นเด็กที่เกิดในเมืองแต่ย้ายไปอยู่ในชนบท วันหนึ่งไปซื้อแพะจากชาวนาในราคา 1,000 บาท ซึ่งชาวนายินดีที่จะส่งมอบแพะในวันรุ่งขึ้น

พอวันรุ่งขึ้น ชาวนาก็ไปหา ดช.ปัญญาแล้วบอกว่า "ข่าวร้ายหนูเพราะแพะเพิ่งตายไปเมื่อคืนที่แล้วเอง"

ดช.ปัญญา ก็บอกว่า "ไม่เป็นไร ถ้าเช่นนั้นคืนเงินให้ผมก็แล้วกัน"

"โอ เสียใจด้วยจริง ๆ แต่ฉันใช้เงินนั่นหมดไปแล้ว" ชาวนาพูดด้วยสีหน้าเศร้า ๆ

"ไม่เป็นไร ถ้างั้นเอาแพะตัวนั้นมาให้ฉัน"

"หนูจะเอาแพะตายไปทำอะไร" ชาวนาถามด้วยความฉงน

"ฉันจะเอาไปจับฉลากขาย"

"จะไปจับฉลากแพะที่ตายได้อย่างไร ใครจะไปซื้อ"

"ได้ซิ คอยดูละกัน"

จากนั้นชาวนาก็มอบแพะที่ตายให้ ดช.ปัญญา ไป

หนึ่งเดือนผ่านไป......ชาวนาพบกับดช.ปัญญาจึงถามว่าตกลงเอาแพะที่ตายไปทำอะไร

"ฉันก็ทำฉลาก 500 ใบ ขายใบละ 10 บาท แล้วบอกว่าใครดวงดีจับฉลากได้ก็ได้แพะไปเลย 1 ตัว"

"ฉันได้เงินมา 5,000 บาท ได้กำไรหลังจากหักที่จ่ายให้ลุงชาวนาไปแล้ว 3,990 บาท"

"แล้วไม่มีคนโวยวายหรือ (เพราะแพะตายแล้ว)" ชาวนาถามด้วยความสงสัย

"ก็มี มีคนเดียวคือคนที่จับฉลากได้ และฉันก็แค่คืนเงินค่าฉลากจำนวน 10 บาทให้คน ๆ นั้นไป"

ในเรื่องบอกว่า ดช.ปัญญาต่อมาเติบโตและเป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในชีวิตอย่างมาก......

เรื่องราวแบบนี้เป็นสิ่งที่คนอินเดียสอนกัน........ที่สำคัญก็คือการแก้ไขปัญหาและแก้ไขสถานการณ์ที่เผชิญหน้าหรือคิดคำตอบโจทย์ที่ยาก ๆ ซึ่งคนอินเดียจะเก่งในเรื่องแบบนี้มาก

คนอื่นอาจไม่ได้สังเกต แต่ผมเห็นว่าส่วนหนึ่งได้มีการถ่ายทอดความรู้แบบนี้ผ่านทางการ์ตูนพื้นบ้าน ซึ่งขายในราคาถูกมาก ทำให้เด็กไม่ว่าจะอยู่ในรัฐที่ห่างไกลหรือยากจนก็สามารถเรียนรู้วิธีคิดผ่านสื่อเหล่านี้ได้

เปรียบกับของไทยก็น่าจะได้แก่ศรีธนญชัยที่มีปัญญาและไหวพริบ ฉลาดหลักแหลม....

แต่ก็เป็นที่น่าเสียดายว่า ความเป็นศรีธนญชัยหายสาบสูญไปจากสังคมไทยนานแล้วและบางครั้งถูกมองว่าเป็นความฉลาดในด้านไม่ดีด้วยซ้ำไป

สมอง ถ้าไม่ได้ใช้ ไม่นานก็ฝ่อ

คนอินเดียจึงเป็นนักคิดนักแก้ปัญหาที่เก่งมาตั้งแต่โบราณกาลและยังสามารถสืบเนื่องมาจนทุกวันนี้ ด้วยองค์ประกอบทางด้านการศึกษาและภาษา



เป็นความคิดที่ฉลาด

แต่ไม่เหมาะกับสังคมบ้านเราเท่าไร เพราะจะกลายเป็นต้มตุ๋นไปโดนปริยาย

ให้ดูเป็นแนวคิด ศึกษาไหวพริบ แต่ไม่ควรเอาอย่างนะจ๊ะ

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

อยากสูงต้องเขย่ง
  อยากเก่งต้องขยัน
ยังทุกข์
นักโพสท์ระดับ 7
**

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 121


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 10.0.648.6 Chrome 10.0.648.6


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 27 พฤษภาคม 2555 04:37:27 »

ขอบคุณครับ  ได้ปัญญาเป้นกระบุง
บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.229 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 04 กันยายน 2566 11:34:13