[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
26 เมษายน 2567 11:18:43 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: คนรักสุขภาพต้องอ่าน สารพัดโรคจากรองเท้าส้นสูง  (อ่าน 1979 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Compatable
นักโพสท์ระดับ 11
*

คะแนนความดี: +3/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1210


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 19.0.1084.56 Chrome 19.0.1084.56


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 19 มิถุนายน 2555 00:54:50 »

สารพัดโรคจาก รองเท้าส้นสูง




          ส้นสูง นับเป็นของคู่กันกับหญิงสาว แต่นอกจากรองเท้าส้นสูงจะทำให้หลังตรง สูงเพรียว และหุ่นดูสวยสง่าแล้ว รองเท้าส้นสูงยังอาจนำโรคร้ายมาสู่ตัวคุณ ซึ่งแน่นอนว่า คงไม่มีสาวหน้าไหนอยากเจ็บตัวอย่างแน่นอน ดังนั้น เราจะชวนคุณมาพลิกแผ่นดิน เพื่อตามล่าส้นสูงที่จะทำให้คุณดูดีได้แบบไม่ต้องร้องโอดครวญ

 สารพัดโรคที่มาพร้อมรองเท้าส้นสูง

          เรื่องความสูงของส้นรองเท้านั้น มีหลายคนเขียนไว้แตกต่างกัน บางท่านก็แบ่งเพศว่า ชายสูงไม่เกิน 3.5 เซนติเมตร หญิงสูงไม่เกิน 4.5 เซนติเมตร จนในที่สุดก็มีผู้ทำการศึกษาวิจัยโดยทำการทดลองให้หญิงสาวสวมรองเท้าส้นสูงในขนาดต่าง ๆ กัน แล้วให้เดินสายพาน ในความเร็วประมาณ 4 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยติดตั้งอุปกรณ์ถ่ายภาพความเร็วสูงและศึกษาการทำงานของกล้ามเนื้อและการขยับของข้อต่าง ๆ ซึ่งพบว่า ปัญหาจะเกิดขึ้นเมื่อรองเท้าส้นสูงเกินกว่า 5 เซนติเมตร หรือ 2 นิ้ว แต่ทั้งนี้ก็เป็นเพียงการทดลองในผู้หญิงที่ใส่ส้นสูงประจำครึ่งหนึ่งและใส่ส้นเตี้ยประจำครึ่งหนึ่ง ซึ่งการสวมรองเท้าส้นสูงจนเป็นนิสัยนั้นจะนำพาโรคเหล่านี้มาสู่คุณ

1. กล้ามเนื้อน่องเอ็นร้อยหวาย

          ในขณะที่สวมใส่รองเท้าส้นสูงคุณสาว ๆ ต้องยืนอยู่ในท่าเขย่ง ซึ่งถ้าร่างกายต้องอยู่ในท่านี้เป็นเวลานาน ๆ จะทำให้กล้ามเนื้อน่องเอ็นร้อยหวายตึงและหดสั้น สังเกตได้จากอาการปวดน่องบ่อย ๆ จากการเดินหรือการเป็นตะคริว

2. โครงสร้างของเท้า

          เมื่อกล้ามเนื้อเอ็นร้อยหวายหดสั้นอยู่บ่อย ๆ จะส่งผลเสียต่อโครงสร้างของเท้า เมื่อยืนด้วยเท้าเปล่าจะเห็นว่าเท้าแบนทำให้เกิดอาการปวดที่บริเวณอุ้งเท้าและส้นเท้าจนกลายเป็นปัญหาฝ่าเท้าตามมา

3. กระดูกสันหลัง

          การใส่รองเท้าส้นสูงทำให้ปลายเท้าส่วนหน้าต้องทำหน้าที่รับน้ำหนักของร่างกายไว้เกือบทั้งหมด เพื่อให้สามารถยึดตัวให้ตั้งตรงและทรงตัวได้ ในขณะเดียวกันสรีระของร่างกายก็จะปรับให้อวัยวะส่วนหลัง บริเวณช่วงเอวแอ่นไปด้านหลังส่งผลให้เกิดอาการตึงของกล้ามเนื้อจนถึงขั้นปวดหลังในที่สุด

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
Compatable
นักโพสท์ระดับ 11
*

คะแนนความดี: +3/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1210


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 19.0.1084.56 Chrome 19.0.1084.56


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 19 มิถุนายน 2555 00:56:18 »




 การปฐมพยาบาล

          ในกรณีที่เกิดการบาดเจ็บของข้อเท้าจากการใส่ส้นสูง ให้ใช้ความเย็นซึ่งอาจจะเป็นถุงน้ำแข็ง ประคบไว้ประมาณ 20-30 นาที ขณะเดียวกันให้ยกขาสูง และลดการใช้งาน สามารถประคบได้ บ่อย ๆ 4-5 ครั้งต่อวัน หรือทุก 2 ชั่วโมง ในวันแรกที่ได้รับบาดเจ็บ ควรประคบต่ออีก 2-3 วัน แล้วค่อยเปลี่ยนเป็นความร้อน แต่ถ้าอาการไม่ดีขึ้น หรือกลับแย่ลง ให้ไปปรึกษาแพทย์ครับ ข้อสำคัญ คือ ห้ามนวด หรือห้ามดัดบิดข้อเท้า

          จากการสำรวจด้วยแบบสอบถาม ในต่างประเทศ พบว่ามีสุภาพสตรีที่มีปัญหาเรื่องปวดเท้า ประมาณ 80% และในจำนวนนี้ มีสาเหตุเกี่ยวเนื่องกับรองเท้าส้นสูงถึง 75% จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่า ทำไมจึงมีผู้มาพบแพทย์ด้วยปัญหาปวดเท้า แต่ในบางรายก็อาจจะเป็นเนื่องจากรูปร่างของเท้าที่ผิดปกติ

          สำหรับเรื่องรองเท้าส้นสูงที่เกิน 2 นิ้ว อาจส่งผลให้เกิดปัญหา ตั้งแต่เล็บเท้าขบ หูดหรือตาปลาที่ฝ่าเท้า เส้นประสาทเท้าอักเสบ เอ็นข้อเท้าอักเสบ กล้ามเนื้อน่อง และเอ็นร้อยหวายหดรั้ง การบาดเจ็บจากเท้าพลิก นอกจากนี้ ยังมีอาการเจ็บเข่าเนื่องจากการเกร็งของเข่าเพื่อการทรงตัว และที่สำคัญ คือ ยังส่งผลถึงกระดูกสันหลังด้วยครับ การทานอาหารให้ครบหมู่ มีสารอาหารและแคลเซียมเพียงพอ และหมั่นออกกำลังกาย จะทำให้กระดูกแข็งแรง ทั้งนี้ต้องควบคุมน้ำหนักตัวด้วย

          อย่างไรก็ตาม วัยไหน ๆ ก็ไม่เหมาะที่จะใส่รองเท้าส้นสูง โดยเฉพาะเด็ก และสตรีมีครรภ์ ใส่ส้นสูงให้ปลอดภัยใส่ไม่เกิน 2 นิ้ว เลือกชนิดที่มีสายรัดบนหลังเท้า และพื้นรองเท้ากว้างรับกับแผ่นเท้าทั้งหมด วัสดุที่รองเท้าต้องนุ่ม ช่วงเวลาที่ใส่ให้สั้นที่สุด และต้องออกกำลังกายยืดเส้นเอ็นร้อยหวาย และกล้ามเนื้อน่อง



CD: E-Magazine
บันทึกการเข้า
คำค้น: โรค โรคร้าย สุขภาพ รองเท้า รองเท้าส้นสูง 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.27 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 13 สิงหาคม 2566 01:47:12