[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
17 เมษายน 2567 01:49:16 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: นาฏยศาสตร์  (อ่าน 12661 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
sometime
บุคคลทั่วไป
« เมื่อ: 01 กรกฎาคม 2553 17:11:15 »





Dola Re Dola - Devdas




..............................นาฏยศาสตร์...........................




ว่าด้วยหลักทฤษฎีของนาฏยศิลป์ โดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องคือดนตรีกรรมและนาฏกรรม เชื่อว่า แต่งขึ้น โดยพระภรตฤาษี เนื้อหาในคัมภีร์นาฏยศาสตร์ครอบคลุมเนื้อหาที่สามารถนำไปปรับใช้ได้กับศิลปะ การแสดงได้อย่างกว้างขวางและน่าเชื่อถือ ประกอบด้วย การออกแบบเวที นาฏลีลา การแต่งหน้า งานช่างเวที และสำคัญอย่างยิ่งสำหรับนักวิชาการดนตรี เพราะเป็นคัมภีร์เพียงเล่มเดียวที่กล่าวถึงองค์ประกอบทางดนตรีและเครื่อง ดนตรีในแต่ละช่วงเสียงไว้โดยละเอียด ดังนั้นคัมภีร์เล่มนี้จึงมีอิทธิพลโดยตรงต่อรูปแบบงานดนตรี นาฏยศิลป์และงานช่างในศิลปะอินเดีย และในปัจจุบันได้มีนักวิชาการทำการศึกษาคัมภีร์เล่มนี้อย่างลึกซึ้งและเกิด ข้อโต้แย้งที่จะเป็นประโยชน์ต่อการสร้างองค์ความรู้จากภูมิปัญญาตะวัน ออกอย่างเป็นหลักการ เช่น งานเขียนอภินาวภารตี ของเป็นต้น องค์กรทางศิลปะหลายแห่งในอินเดียจึงได้ทำการศึกษาและให้การสนับสนุนการศึกษา คัมภีร์เล่มนี้อย่างกว้างขวาง





............................ประวัติของคัมภีร์นาฏยศาสตร์..................................




นาฏยศาสตร์ถือได้ว่าเป็นคัมภีร์ทางด้านศิลปะการช่างละครที่เก่าแก่ที่สุดใน โลกเท่าที่รอดเหลือมา เนื้อหาภายในประกอบด้วยคำบรรยาย ๖,๐๐๐ โศลก เชื่อกันว่าพระฤาษีภรตมุนีแต่งขึ้นในราว ๒๐๐ ปีก่อนคริสต์ศักราชถึง ค.ศ.๒๐๐ แต่ก็ยังไม่ถืเป็นข้อสรุปที่ชัดเจนในเรื่องยุคสมัยของคัมภีร์นี้ คัมภีร์นี้เชื่อว่าได้รับอิทธิพลอย่างมากจากพระเวทแขนงหนึ่งที่เรียกว่า นาฏยเวท ที่ได้มีการแต่งไว้มากถึง ๓๖,๐๐๐ โศลก และเป็นที่น่าเสียดายว่าปัจจุบันไม่มีหลักฐานเกี่ยวกับนาฏยเวทนี้หลงเหลือมา มากเท่าใดนัก นักวิชาการหลายท่านเชื่อว่า นาฏยศาสตร์ น่าจะได้รับการแต่งขึ้นจากผู้เขียนหลายคนและเขียนขึ้นในหลายสมัยแตกต่างกัน ไม่ว่าจะประวัติศาสตร์การเกิดขึ้นของคัมภีร์เล่มนี้จะเป็นอย่างไร ความสำคัญลิทธิพลที่ส่งผลต่อผู้สร้างสรรค์ศิลปะทุกแขนงของอินเดีย ไม่ว่าจะเป็นงานแกะสลักบนหิน ไม้ และปูนขาว งานจิตรกรรมในผนังถ้ำและวิหาร ที่แสดงท่าทางการเคลื่อนไหวที่อาจส่งผลต่อแบบแผนการฟ้อนรำของนาฏย ศิลปิ์นเดีย ดังเช่น ศิลปวัตถุรูปหญิงฟ้อนรำทำจากทองสำริด ในซากปรักหักพังของโมเฮนโชดาโร มีอายุ ๔๐๐ ปี และภาพเขียนการฟ้อนรำในถ้ำนัชมาฮี ทางอินเดียตอนกลางที่มีอายุประมาณ  ๒๐๐ ปีมาแล้ว


Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01 กรกฎาคม 2553 18:54:38 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #1 เมื่อ: 01 กรกฎาคม 2553 17:14:25 »








....................การฝึกซ้อม.......................




การแสดงออกด้วยท่าทางเพื่อสื่อความหมายและอารมณ์ การวิจารณ์ละคร ผู้ชมละคร เป็นต้น บางครั้งที่การเขียนอ้างถึงความคิดเห็นและนักวิจารณ์ท่านอื่นด้วย ในคัมภีร์นี้ผู้เขียนคือภรตมุนีได้อ้างว่า สิ่งที่เสนอเกี่ยวกับศิลปะการละครนั้นได้เรียบเรียงเสียใหม่เพื่อให้กระชับ และได้ใจความที่สั้นและเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านร่วมสมัย ทั้งนี้น่าจะเข้าใจได้ว่าการเขียนตำรานาฏยศาสตร์เล่มนี้ได้เรียบเรียงจาก เอกสารตำนานมากมายหลายฉบับที่มีเผนแพร่อยู่แล้ว โดยตั้งใจทำให้เป็นมาตรฐานฉบับที่น่าเชื่อถือที่สุด
ความน่าเชื่อถือของ คัมภีร์นาฏยศาสตร์ ไม่อาจมีใครปฏิเสธได้ เพราะในปัจจุบันคัมภีร์นี้ได้รับการยกย่องว่าเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ เป็นพระเวทชุดที่ ๕ ตามความเชื่อของชาวฮินดูที่ว่า พระพรหมเทพเจ้าแห่งการสร้างสรรค์ทรงถ่ายทอดความรู้ที่มีอยู่ในพระเวททั้ง ๔ เล่มแก่ภรตมุนี ผสมผสานปรุงแต่งจนกลายมาเป็น นาฏยเวท ซึ่งภายหลังเรียกว่า นาฏยศาสตร์ ความรู้ที่บันทึกไว้ในพระเวททั้ง ๔ เล่ม ได้แก่
๑. ฤคเวท  ความรู้ทางปัญญา ภาษา และถ้อยคำ
๒. สามเวท ความรู้ทางด้านลำนำ ทำนองเพลง และดนตรี
๓. ยชุรเวท ความรู้ทางด้านกิริยาท่าทางการแสดง
๔. อถรรพเวท ความรู้ทางด้านการแสดงออกทางอารมณ์ ประกอบด้วยรสและภาวะ
ตามตำนานของชาวฮินดูเล่าว่า หลังจากที่พระภรตได้รับความรู้เรื่องนาฏยศาสตร์จากพระพรหมแล้ว ก็สร้างกลุ่มนางระบำที่เรียกว่า นางอัปสร กลุ่มผู้ขับร้อง และกลุ่มนักดนตรี เพื่อจัดการแสดงถวายพระอิศวร (ศิวะ) หลังจาทอดพระเนตรการแสดงแล้ว ทรงโปรดให้ศิษย์เอกชื่อ ตัณทุ สอนท่ารำเข้มแข็งแบบชาย เรียกลีลานี้ว่า ตัณฑวา  ให้แก่ภรตมุนี และสอนลีลาท่ารำแบบอ่อนหวานนุ่นนวลที่เรียกว่า ลัสยา แก่พระนางปราวตีพระมเหสีแห่งพระอิศวร แล้วพระภรตจึงถ่ายทอดศิลปะการร่ายรำทั้งสองลีลาให้แก่ศิษย์ผู้อื่นจนแพร่ หลายต่อไป ท่ารำที่พริศวรและพระนางปราวตีประทานให้เหล่านี้มีทั้งสิ้น ๑๐๘ ท่า ชาวินดูเชื่อว่าเป็นท่ารำที่ศักดิ์สิทธิ์ควรแก่การเคารพบูชา ดังมีหลักฐานปรากฏเป็นภาพจำหลัก ณ เทวสาถนจิทัมพรัม  ทางตอนใต้ของประเทศอินเดีย


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01 กรกฎาคม 2553 18:22:57 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #2 เมื่อ: 01 กรกฎาคม 2553 17:18:12 »







Zeenat Aman จากภาพยนต์เรื่อง เทพธิดาในฝัน Sathyam Shivam Sundaram  ปี 1978



การที่เกิดพระเวทที่ ๕ นี้ขึ้นก็เพราะในสังคมชาวอารยันมีการแบ่งวรรณะเป็น พราหมณ์ กษัตริย์ แพทย์ และสูทร มีเพียง ๒ วรรณะเท่านั้นที่จะสามารถศึกษาพระเวทได้ คือ พราหมณ์และกษัตริย์ วรรณะแพศย์และสูทรจึงถูกห้ามให้เข้าถึงพระเวทแม้แต่เพียงการฟังเพราะถือว่าเป็นวรรณะต่ำ เมื่อพระอินทร์ต้องการให้คนวรรณะต่ำนี้ได้เข้าถึงพระเวทบ้าง จึงเกิดมีนาฏยเวทขึ้น
เนื้อหาหลักของคัมภีร์นาฏยศาสตร์ กล่าวถึงการฟ้อนรำที่ใช้ลีลาท่าที ๓ ลักษณะ ได้แก่................................
๑. นฤตตะ การฟ้อนรำล้วนๆ การเคลื่อนต่าง ๆ ไม่มีความหมายเฉพาะ หรือมีอารมณ์ เป็นการแสดงกลวิธีที่ละเอียดซับซ้อนของจังหวะท่าทางต่าง ๆ เพื่อสร้างสรรค์ความงามบริสุทธิ์ของท่ารำ
๒. นฤตยะ เป็นการฟ้อนรำที่ประกอบด้วยการเคลื่อนไหวของร่างกาย มือ แขน ขา ตลอดจนการแสดงสีหน้ากอบ่รด้วยรสหรืออารมณ์ เป็นการแสดงที่กระทำเป็นเพียงประโยคหนึ่ง หรือตอนใดตอนหนึ่ง  หรือเป็นการแสดงละครทั้งเรื่องก็ได้ เพื่อถ่ายทอดความหมายและอารมณ์ความรู้สึก
๓. นาฏยะ เป็นการผสมผสานการฟ้อนรำและการแสดงเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวของวรรณกรรมนาฏยศาสตร์  แสดงให้เห้นว่าการฟ้อนรำ เกิดจากการผสมผสานอย่างต่อเนื่องของท่าทาง ของร่างกาย ๓ ส่วนหลัก คือ..........................................
กิ่งของร่างกาย แขน ขา มือ เท้า นิ้ว ศีรษะ ตัวเรือนร่าง และ ใบหน้า
ส่วนทั้ง ๓ ของร่างกายนี้ ต้องแสดงให้สัมพันธ์กันอย่างมีเอกภาพด้วยอัตราความเร็ว  ความละเอียดอ่อน ความสมดุลย์ การควบคุมร่างกายความหลากหลาย  การใช้สายตา  การแสดงสีหน้า  ความคิด  สรรพสำเนีงยและเสียงเพลงในกระแสธรรมชาติแห่งความกลมกลืน




แหล่งอ้างอิงข้อมูลจาก.............บ้านนาฏศิลปไทย DOTCOM ข้อมูลจากหนังสือ นาฏย์ศาสตร์ กรมศิลปากร


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01 กรกฎาคม 2553 19:04:20 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
คำค้น: นาฏยศาสตร์ ร่ายรำ ราเหง้า บรรพชน วัฒนธรรม ชนชาติ เผ่าพันธุ์  อินเดีย  บางครั้ง 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.453 วินาที กับ 30 คำสั่ง

Google visited last this page 14 มีนาคม 2567 09:35:27