[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
18 เมษายน 2567 15:58:55 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: รู้ไว้ใช่ว่า.....(บ๊ะจ่าง)  (อ่าน 2888 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
sometime
บุคคลทั่วไป
« เมื่อ: 01 กรกฎาคม 2553 14:04:52 »



เซียวบ๊ะจ่าง เติ้งลี่จวิน





เทศกาลไหว้จ่าง ภาษาจีนเรียกว่า เทศกาลตวนอู่ ตรงกับวันที่ 5 เดือน 5 ตามปฏิทินจีน(จันทรคติ) ของทุกปี

ปีนี้ตรงกับวันนี้ วันพุธที่ 16 มิถุนายน 2553 ผ่านไปแล้ว 14 วัน



端午节的传说:屈原的故事

ความเป็นมาของเทศกาลตวนอู่ เรื่องตำนานของชวีเอวี๋ยน

在春秋时期,中国分为许多个小国,秦国是其中最强大的国家,而楚国是比较弱小的国家,常常受到秦国的威胁。

ในสมัยชุนชิว ประเทศจีนถูกแบ่งเป็นแคว้นเล็ก ๆ จำนวนมากแคว้นฉินเป็นแคว้นที่เข้มแข็งที่สุดในขณะนั้น ส่วนแคว้นฉู่เป็นแคว้นที่อ่อนแอและเล็ก

ซึ่งมักถูกแคว้นฉินกดขี่ข่มเหง

屈原是楚国的大臣,他十分担心自己的国家,建议楚王联合齐国一起来抵抗秦国,遭受到贵族士大夫阶层的强烈反对。

ชวีเอวี๋ยน เป็นขุนนางระดับสูงของแคว้นฉู่ เขาห่วงใยประเทศชาติบ้านเมืองของตนมาก เสนอให้แคว้นฉู่ร่วมมือกับแคว้นฉีเพื่อต่อต้านแค้วนฉิน

(งงกับชื่อแคว้นมะ)แต่ถูกเหล่าราชนิกูลและชนชั้นสูงต่อต้านอย่างหนัก

屈原遭到陷害,被免去官职,流放到很远的地方。可是,屈原依然为自己的国家和人民而担忧,并因此写成了忧国忧民的不朽诗篇 离骚

ชวีเอวี๋ยนถูกปรักปรำให้ร้าย ถอดออกจากตำแหน่งขุนนาง และเนรเทศไปอยู่แดนไกล แต่ชวีเอวี๋ยนยังห่วงใยบ้านเกิดเมืองนอนและประชาชน

ของตน

公元前278年,秦国的军队果真占领了楚国的都城。屈原听到这个消息后悲痛欲绝,在农历五月初五那天跳进汨罗江自杀了。屈原用这种

方式表达他对祖国的热爱和对世俗的悲愤。

278 ปีก่อนคริสตกาล กองทัพของแคว้นฉินก็เข้ายึดครองเมืองหลวงของแคว้นฉู่จริงๆ หลังจากชวีเอวี๋ยวนทราบข่าวนี้ เศร้าโศกเสียใจปานชีวาวาย

และได้กระโดดลงแม่น้ำหมี่หลอเจียงเพื่อฆ่าตัวตาย ในวันที่ 5 เดือน 5 ตามปฏิทินจันทรคติปฏิทินจีน ชวีเอวี๋ยนใช้วิธีนี้ แสดงออกถึงความรู้สึกจงรัก

ภักดีแต่ประเทศชาติ และความคับแค้นใจที่มีต่อสังคมโลก

楚国人们听到屈原自杀的消息,纷纷赶到江边。渔夫们划着船在江上努力寻找,希望能把他打捞起来。

เมื่อชาวแค้วฉู่รู้ข่าวการฆ่าตัวตายของชวีเอวี๋ยน ต่างพากันมายังริมแม่น้ำ ชาวประมงก็ออกพายเรือหา เพื่อหวังว่าจะงมเขาขึ้นมาได้

有的人把给屈原准备的饭团子、鸡蛋扔进江里,希望江里的鱼、虾和螃蟹吃了这些食品,不去啃咬屈原的身体。

บางคนก็นำข้าวปั้น ไข่ต้มที่เตรียมไว้ให้ชวีเอวี๋ยน โยนลงแม่น้ำ เพื่อหวังว่าปลาปูกุ้งห้อยในน้ำ จะกินอาหารพวกนี้แล้วไม่ไปกัดกินร่างของชวีเอวี๋ยน

从此以后,每年到了五月初五,大家都会带着祭品到江边来纪念屈原。但是,人们发现直接把饭团扔到水里,饭团会散开,就想到先用树

叶把饭包住,外面再用彩色的丝线绑住它。

นับแต่นั้นเป็นต้นมา เมื่อถึงวันที่ 5 เดือน 5 ของทุกปี ทุกคนจะนำเครื่องเซ่น มาเซ่นไหว้รำลึกถึงชวีเอวี๋ยนที่ริมแม่น้ำ แต่ผู้คนก็พบว่า การโยนข้าวปั้น

ลงน้ำตรง ๆ ข้าวปั้นจะแตกออก จึงนึกถึงการใช้ใบไม้มาห่อแล้วเอาด้ายสีต่าง ๆ มัดมันไว้

慢慢地,这种用树叶包扎起来的饭团,就变成了今天的粽子。渔夫划船打捞屈原的行动,演变成了现在的一项赛龙舟的体育活动了。

นานวันเข้า - ข้าวปั้นที่ห่อโดยใบไม้จึงกลายเป็น จ่าง ในทุกวันนี้กิจกรรมที่ชาวประมง พายเรืองมหาชวีเอวี๋ยนก็กลายเป็นกิจกรรมการกีฬา แข่งเรือ

มังกร ในทุกวันนี้ จึงได้ประพันธ์บทกวี อมตะชื่อ หลีเซา ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความห่วงใยบ้านเมืองและราษฎร




Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01 กรกฎาคม 2553 14:41:25 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #1 เมื่อ: 01 กรกฎาคม 2553 14:17:34 »







เทศกาลไหว้บะจ่าง เป็นเทศกาลที่สืบทอดกันมาแต่โบราณของประเทศจีน ตามปฏิทินทางจันทรคติ ทุกวันที่ 5 เดือน 5 ผู้คนก็จะจัดการแข่งเรือขึ้นตามที่ต่างๆ และรับประทานบะจ่าง พกพาถุงเครื่องหอม และไปเดินเล่นตามทุ่งหญ้าต่างๆ เพื่อเก็บสมุนไพรในฤดูใบไม้ผลิ กิจกรรมเหล่านี้ต่างก็ได้กลายเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมานับพันปี นับจากอดีตจนถึงปัจจุบัน และจะสืบทอดต่อ ๆ กันไป
เทศกาลไหว้บะจ่าง เป็นเทศกาลที่สืบทอดกันมาแต่โบราณของประเทศจีน ตามปฏิทินทางจันทรคติ ทุกวันที่ 5 เดือน 5 ผู้คนก็จะจัดการแข่งเรือขึ้นตามที่ต่าง ๆ และรับประทานบะจ่าง พกพาถุงเครื่องหอม และไปเดินเล่นตามทุ่งหญ้าต่าง ๆ เพื่อเก็บสมุนไพรในฤดูใบไม้ผลิ กิจกรรมเหล่านี้ต่างก็ได้กลายเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมานับพันปี นับจากอดีตจนถึงปัจจุบัน และจะสืบทอดต่อ ๆ กันไป
หากจะพูดถึงที่มาของเทศ กาลไหว้บะจ่างแล้ว ผู้คนต่างก็นึกถึงกวีผู้รักชาตินามว่าชวีหยวน มีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่าในสมัยจั้นกว๋อ
(ก่อนค.ศ. 403-211) ฉู่เซียงอ๋อง หลงโปรดปรานเหล่าขุนนางกังฉิน เนื่องจากชวีหยวนยึดถือคุณธรรม กล้าพูดกล้าทำจึงได้ถูกปลดตำแหน่ง และไล่ออกจากเมืองหลวง รัฐฉินจึงได้ถือโอกาสเข้าโจมตีรัฐฉู่ แผ่นดินอันกว้างใหญ่ของรัฐฉู่ต้องสูญเสียไปในชั่วพริบตาเดียวเท่านั้น เมื่อได้เห็นประเทศชาติล่มสลาย ประชาชนต้องทนทุกข์ไร้ที่อยู่อาศัย ชวีหยวนนั้นมีใจรักชาติแต่ไม่อาจทำสิ่งใดได้ ด้วยความโกรธแค้น จึงได้กระโดดแม่น้ำมี่หลัวเจียง ฆ่าตัวตาย ชาวบ้านแถบนั้นทราบข่าวว่า ชวีหยวนกระโดดน้ำฆ่าตัวตาย ต่างก็เร่งรุดมาช่วยเหลือ พวกเขาล่องไปตามแม่น้ำ จนกระทั่งถึงทะเลสาบต้งถิงก็ยังไม่พบศพของชวีหยวน เรือที่แล่นสวนไปมาบนทะเลสาบนั้นดูพลุกพล่านเป็นอย่างยิ่ง วันนี้ก็คือวันที่ 5 เดือน 5 ทางจันทรคตินั่นเอง นับจากนั้นมา เมื่อถึงวันครบรอบ ผู้คนก็จะจัดการแข่งเรือกันในแม่น้ำ เพื่อเป็นการระลึกถึงชวีหยวน นอกจากนี้ผู้คนยังได้โยนบะจ่างลงไปในแม่น้ำ เพื่อที่จะให้บรรดาสัตว์น้ำทั้งหลายได้กินจนอิ่ม ไม่ให้ทำลายศพของชวีหยวน
นัก วิชาการบางท่านยังมีความเห็นประการอื่นเกี่ยวกับที่มาของเทศกาลไหว้บะจ่าง ในหนังสือรวมบทความของท่านเหวินยีตัว กล่าวว่า การที่มีการแข่งเรือ และรับประทานบะจ่างในเทศกาลไหว้บะจ่างนั้น ต่างก็มีความสัมพันธ์กับมังกร เทศกาลไหว้บะจ่างที่จริงแล้วคือเทศกาลมังกร เป็นเทศกาลพิเศษเพื่อที่จะระลึกถึงมังกร
ยังมีนักวิชาการบางคนเห็นว่า เทศกาลไหว้บะจ่างนี้มีที่มาจากตำนานวันที่ไม่เป็นมงคล จากบันทึกในตำรา โบราณกล่าวว่า ชาวบ้านต่างก็มีคำกล่าวว่า ไม่ควรกล่าวถึงเดือน 5 และไม่เลี้ยงเด็กที่เกิดเดือน 5 อีกด้วย ตำนานกล่าวว่าในสมัยจั้นกว๋อ เมิ่งฉางจวิน แห่งรัฐฉีเกิดในวันที่ 5 เดือน 5 บิดาไม่ให้เลี้ยงไว้ และนำไปทิ้งเสีย เนื่องจากเหตุผลที่ว่าเขาเกิดในวันที่ไม่เป็นมงคล ในขณะที่เมิ่งฉางจวินเสียชีวิต ชวีหยวนยังคงมีชีวิตอยู่ ดังนั้นจึงได้ให้วันที่ 5 เดือน 5 เป็นวันที่ระลึกถึงสิ่งอันไม่เป็นมงคล เห็นได้ชัดว่าไม่มีความเกี่ยวข้องกับชวีหยวนแม้แต่น้อย นอกจากนี้ อ้ายเฮา และชางผู่ ต่างก็เป็นหญ้าสมุนไพร การที่นำหญ้าทั้ง 2 ชนิดนี้แขวนไว้ที่ประตูเพื่อขับไล่สิ่งชั่วร้าย เป็นคำกล่าวที่สมเหตุสมผลมากกว่า ความเชื่อที่ว่าเพื่อใช้เรียกวิญญาณชวีหยวนให้มาปรากฏกายมากนักแน่นอนว่า ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม เมื่อกล่าวถึงเทศกาลไหว้บะจ่าง เรื่องราวที่ผู้คนจะนึกถึงเป็นสิ่งแรก ก็ยังคงเป็นเรื่องของชวีหยวนอยู่นั่นเอง




ขอขอบคุณที่มา.....................http://bulletin.obec.go.th/mbdetail.php?id=0882



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01 กรกฎาคม 2553 14:43:44 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
คำค้น: บ๊ะจ่าง เทศกาล ประเพณี บรรพชน วัฒนธรรม ชนชาติ เผ่าพันธุ์  จีน บางครั้ง 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.402 วินาที กับ 30 คำสั่ง

Google visited last this page 30 มีนาคม 2567 13:13:41