[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 21:16:25 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เรื่องย่อในพระธรรมบท บทที่ 24 : ตัณหาวรรค  (อ่าน 13698 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 21.0.1180.60 Chrome 21.0.1180.60


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 05 สิงหาคม 2555 16:04:52 »




เรื่องย่อในพระธรรมบท บทที่ 24 : ตัณหาวรรค
01.เรื่องปลาชื่อกปิละ


พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน  ทรงปรารภปลาชื่อกปิละ  ตรัสพระธรรมเทศฯนี้ว่า  มนุชสฺส  เป็นต้น

ในสมัยพระกัสสปพุทธเจ้า   มีภิกษุรูปหนึ่งชื่อว่ากปิละ  เป็นผู้เชี่ยวชาญในพระไตรปิฎก   เพราะความเป็นพหุสูตทำให้พระกปิละมีลาภสักการะและบริวารมาก  และได้กลายเป็นคนหัวดื้อสำคัญตนว่ามีความฉลาดมากกว่าภิกษุอื่น  อะไรที่เหมาะที่ควร  พระกปิละก็บอกไม่เหมาะไม่ควร  ส่วนอะไรที่ไม่เหมาะไม่ควร  พระกปิละก็บอกว่าเหมาะว่าควร  เมื่อภิกษุทั้งหลายมีความเห็นแตกต่างตรงกันข้ามว่ากล่าวตักเตือน   พระกปิละก็จะโต้ตอบว่า เป็นคำวิจารณ์ของพวกไม่มีความรู้   ด้วยเหตุนี้พวกภิกษุผู้มีศีลจึงทอดทิ้งไม่ยอมคบหากับพระกปิละ ในขณะที่พระทุศีลทั้งหลายพากันไปแวดล้อมพระกปิละ  ในวันอุโบสถวันหนึ่ง  ขณะที่พระทั้งหลายกำลังสวดพระปาฏิโมกข์อยู่นั้น   พระกปิละกล่าวว่า  ไม่มีธรรม ไม่มีวินัย  จะมีประโยชน์อะไรกับการที่จะฟังหรือไม่ฟังพระปาฏิโมกข์   จากนั้นก็ได้ลุกขึ้นจากอาสนะไม่ฟังพระปาฏิโมกข์ 

เพราะผลของอกุศลกรรมครั้งนี้  ทำให้พระกปิละได้ไปเกิดในอเวจีมหานรกในระหว่างสมัยของพระกัสสปพุทธเจ้า  และพระโคตมพุทธเจ้า    ในกาลต่อมา พระกปิละได้มาเกิดเป็นปลาใหญ่ในแม่น้ำอจิรวดี  ตัวมีสีเหมือนทองคำ  แต่มีปากเหม็นมาก   วันหนึ่งปลาตัวนี้ถูกชาวประมงจับได้  และเพราะเป็นปลาตัวใหญ่มากและมีตัวเหลืองอร่ามเหมือนทอง  จึงได้ถูกนำขึ้นเรือไปขึ้นน้อมเกล้าถวายพระราชา  พระราชาได้ทรงนำปลาประหลาดตัวนี้ไปยังสำนักพระศาสดา   เมื่อปลาอ้าปากออกเท่านั้น   ทั่วทั้งวัดพระเชตวันก็เหม็นคละคลุ้ง  พระราชากราบทูลถามพระศาสดาถึงสาเหตุที่ปลาตัวนี้มีกลิ่นปากเหม็นมาก  พระศาสดาได้ตรัสกับพระราชาและมหาชนที่มาชุมนุมกันว่า  “มหาบพิตร  ปลานี้  ได้เป็นภิกษุชื่อกปิละ  เป็นพหูสูต  มีบริวารมาก  ในธรรมวินัยของพระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่ากัสสปะ  ถูกความทะยานอยากในลาภครอบงำแล้ว  ด่าบริภาษพวกภิกษุผู้ไม่ถือคำของตน  ยังพระศาสนา  ของพระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่ากัสสปะ  ให้เสื่อมลงแล้ว  เขาบังเกิดในอเวจีด้วยกรรมนั้นแล้ว  บัดนี้เกิดเป็นปลาด้วยเศษแห่งวิบาก  ก็เพราะเธอบอกพระพุทธวจนะ  กล่าวสรรเสริญคุณพระพุทธเจ้าสิ้นกาลนาน  จึงได้อัตตภาพมีสีเหมือนทองคำนี้  ด้วยผลแห่งกรรมนั้น  เธอได้เป็นผู้ด่าบริภาษภิกษุทั้งหลาย  กลิ่นเหม็นจึงฟุ้งออกจากปากของเธอ  ด้วยผลแห่งกรรมนั้น

พระศาสดาได้ตรัสถามปลากปิละว่าในชาติหน้าจะไปเกิด ณ ที่ไหน   ปลากปิละกราบทูลว่า  จะกลับไปเกิดในอเวจีมหานรกอีกครั้งหนึ่ง  เมื่อกราบทูลจบ มันก็ได้สะบัดหัวของตัวเองฟาดกับเรือจนเสียชีวิต  สร้างความสังเวชและสยดสยองให้แก่มหาชนที่มาชุมนุมกัน  ณ  ที่นั้น

พระศาสดาทรงตรวจดูวารจิตของมหาชน ที่มาชุมนุมกันอยู่นั้นแล้ว  ทรงทราบว่าธรรมที่เหมาะสมกับอัธยาศัยของพวกเขาคือความใน กปิลสูตร ในสุตตนิบาต  จึงตรัสว่า  “นักปราชญ์ทั้งหลาย  ได้กล่าวการประพฤติธรรม 1  การประพฤติพรหมจรรย์  1  นั่น  ว่าเป็นแก้วอันสูงสุด”  จากนั้น  พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท  สี่พระคาถานี้ว่า

มนุชสฺส   ปมตฺตจาริโน
ตณฺหา  วฑฺฒติ  มาลุวา  วิย
โส  ปริปฺลวติ  หุราหุรํ
ผลมิจฺฉํว  วนสฺมึ  วานโร ฯ


ยํ  เอสา  สหตี  ชมฺมี
ตณฺหา  โลเก  วิสตฺติกา
โสกา  ตสฺส  ปวฑฺฒนฺติ
อภิวุฏฺฐํว  วีรณํ  ฯ


โย  เจตํ  สหตี  ชมฺมี
ตณฺหํ  โลเก  ทุรจฺจยํ
โสกา  ตมฺหา  ปปตนฺติ
อุทพินฺทุว  โปกฺขรา  ฯ


ตํ  โว  วทามิ   ภทฺทํ  โว
ยาวนฺเตตฺถ  สมาคตา
ตณฺหาย  มูลํ  ขนถ
อุสีรตฺโถว  วีรณํ
มา  โว  นฬํ  โสโตว
มาโร  ภญฺชิ  ปุนปฺปุนํ.


ตัณหา  ดุจเถาย่านทราย
ย่อมเจริญแก่คนผู้มีปกติประพฤติประมาท
เขาย่อมเร่ร่อนไปสู่ภพน้อยใหญ่
 
ดังวานรตัวปรารถนาผลไม้โลดไปในป่า ฉะนั้น.

ตัณหานั่นเป็นธรรมชาติลามก
มักแผ่ซ่านไปในอารมณ์ต่างๆในโลก
ย่อมครอบงำบุคคลใดได้
ความโศกทั้งหลายย่อมเจริญแก่บุคคลนั้น
ดุจหญ้าคมบางอันฝนตกรดแล้วเจริญอยู่  ฉะนั้น.

แต่ผู้ใด  ย่อมย่ำยีตัณหานั่น
ซึ่งเป็นธรรมชาติลามก  ยากที่ใครในโลกจะล่วงไปได้
ความโศกทั้งหลาย  ย่อมตกไปจากผู้นั้น
 เหมือนหยาดน้ำฝนตกไปจากใบบัว  ฉะนั้น.


เพราะฉะนั้น  เราบอกกะท่านทั้งหลายว่า
ความเจริญจงมีแก่ท่านทั้งหลาย
บรรดาที่ประชุมกันแล้ว  ณ  ที่นี้
ท่านทั้งหลาย  จงขุดรากตัณหาเสียเถิด
ประหนึ่งผู้ต้องการแฝก  ขุดหญ้าคมบางเสีย ฉะนั้น

มารอย่าระรานท่านทั้งหลายบ่อยๆ  ดุจกระแสน้ำระรานไม้อ้อ  ฉะนั้น
.

เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง   บุตรของชาวประมงทั้ง 500 ถึงความสังเวช  ปรารถนาการทำที่สุดแห่งทุกข์  จึงบวชในสำนักพระศาสดา  และทำที่สุดแห่งทุกข์  ต่อกาลไม่นานเท่าไร หลังจากนั้นทุกท่าน เป็นผู้ปฏิบัติอเนญชาวิหารธรรมและสมาปัตติธรรมเช่นเดียวกับพระศาสดา.


Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 21.0.1180.60 Chrome 21.0.1180.60


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 06 สิงหาคม 2555 15:39:38 »



02.เรื่องนางลูกสุกร

พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน  ทรงปรารภนางลูกสุกรกินคูถตัวหนึ่ง  ตรัสพระธรรมเทศฯนี้ว่า  ยถาปิ  มูเล  เป็นต้น

วันหนึ่ง   พระศาสดาเสด็จเข้าไปยังกรุงราชคฤห์  เพื่อบิณฑบาต  ทอดพระเนตรเห็นนางลูกสุกรตัวหนึ่ง  จึงได้ทรงทำการแย้มพระโอษฐ์ให้ปรากฏ  เมื่อพระอานนทเถระทูลถามถึงสาเหตุแห่งการแย้มพระโอษฐ์นั้น  พระศาสดาตรัสว่า   เมื่อครั้งอดีต  “นางลูกสุกรนั่น  ได้เกิดเป็นแม่ไก่  อยู่ในที่ใกล้โรงฉันแห่งหนึ่ง  ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่ากกุสันธะ  นางไก่นั้น  ฟังเสียงประกาศธรรมของภิกษุผู้เป็นโยคาวจรรูปหนึ่ง  สาธยายวิปัสสนากัมมัฏฐานอยู่  จุติจากอัตตภาพนั้นแล้ว  ได้เกิดในราชตระกูล  เป็นราชธิดาพระนามว่า  อุพพรี  ในกาลต่อมา  พระนาง เสด็จเข้าไปยังสถานที่ถ่ายอุจจาระ  ทอดพระเนตรเห็นหมู่หนอนแล้ว  ยังปุฬวกสัญญาให้เกิดขึ้นในที่นั้น  ได้ปฐมฌานแล้ว  พระนางดำรงอยู่ในอัตตภาพนั้นจนสิ้นอายุ  จุติจากอัตตภาพนั้นแล้ว  เกิดในพรหมโลก  พระนางครั้นจุติจากอัตตภาพนั้นแล้ว  สับสนอยู่ด้วยอำนาจคติ  จึงเกิดแล้วในกำเนิดสุกรในบัดนี้  เราเห็นเหตุนี้  จึงได้ทำการแย้มให้ปรากฏ

ภิกษุทั้งหลายสดับเรื่องที่พระศาสดาทรงแสดงแล้วได้ความสังเวชเป็นอันมาก  พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศโทษของราคะตัณหา  ประทับยืนอยู่ระหว่างถนนนั่นเอง  ตรัสพระธรรมบท  ห้าพระคาถานี้ว่า

ยถาปิ  มูเล  อนุปทฺทเว  ทฬฺเห
ฉินฺโนปิ  รุกฺโข  ปุนเรว  รูหติ
เอวมฺปิ  ตณฺหานุสเย  อนูหเต
นิพฺพตฺตตี  ทุกฺขมิทํ  ปุนปฺปุนํ ฯ

ยสฺส  ฉตฺตึสติโสตา
มนาปสฺสวนา  ภุสา
มหา  วหนฺติ  ทุทฺทิฏฺฐึ
สงฺกปฺปา  ราคนิสฺสิตา ฯ


สวนฺติ  สพฺพธี  โสตา
ลตา  อุพฺพิชฺช  ติฏฐติ
ตญจ  ทิสฺวา  ลตํ  ชาตํ
มูลํ  ปญฺญาย  ฉินฺทถ ฯ


สริตานิ  สิเนหิตานิ  จ
โสมนสฺสานิ  ภวนฺติ  ชนฺตุโน
เต  สาตสิตา  สุเขสิโน
เต  เว  ชาติชรูปคา  นรา ฯ

ตสิณาย  ปุรกฺขตา  ปชา
ปริสปฺปนฺติ  สโสว  พาธิโต
สํโยชนสงฺคสตฺตา
ทุกฺขมุเปนฺติ  ปุนปฺปุนํ  จิราย ฯ


ตสิณาย  ปุรกฺขตา  ปชา
ปริสปฺปนฺติ  สโสว  พาธิโต
ตสฺมา  ตสิณํ  วิโนทเย  ภิกฺขุ
อากงฺขํ  วิราคมตฺตโน  ฯ


ต้นไม้  เมื่อรากไม่มีอันตราย  ยังมั่นคง
ถึงบุคคลตัดแล้ว   ย่อมงอกขึ้นได้อีกทีเดียว  แม้ฉันใด
ทุกข์นี้  เมื่อตัณหานุสัย  อันบุคคลยังขจัดไม่ได้แล้ว
ย่อมเกิดขึ้นร่ำไป  แม้ฉันนั้น.

กระแส(แห่งตัณหา)  36
อันไหลไปในอารมณ์เป็นที่พอใจ
เป็นธรรมชาติกล้า  ย่อมมีแก่บุคคลใด
ความดำริทั้งหลายอันใหญ่  อาศัยราคะนำบุคคลนั้น  ผู้มีทิฏฐิชั่วไป
.

กระแส(แหงตัณหาทั้งหลาย)
ย่อมไหลไปในอารมณ์ทั้งปวง 
ตัณหาดุจเถาวัลย์แตกขึ้นแล้วย่อมตั้งอยู่
ก็ท่านทั้งหลายเป็นตัณหานั้น   
เป็นดังเถาวัลย์เกิดแล้ว  จงตัดรากเสียด้วยปัญญา.

โสมนัสทั้งหลายที่ซ่านไป  และเปื้อนตัณหาดุจยางเหนียว 
ย่อมมีแก่สัตว์  สัตว์ทั้งหลายนั้น
อาศัยความสำราญ  จึงเป็นผู้แสวงหาความสุข
นระเหล่านั้นแล  ย่อมเป็นเข้าถึงชาติชรา
.

หมู่สัตว์อันตัณหาผู้ทำความดิ้นรนล้อมไว้แล้ว
ย่อมกระเสือกกระสน  เหมือนกระต่าย
อันนายพรานดักได้แล้ว  ฉะนั้น
หมู่สัตว์  อันตัณหาผู้ทำความดิ้นรนล้อมไว้แล้ว
ย่อมกระเสือกกระสน  เหมือนกระต่ายที่นายพรานดักได้แล้ว  ฉะนั้น
เพราะเหตุนั้น  ภิกษุหวังธรรมเป็นที่สำรอกกิเลสแก่ตน
พึงบรรเทาตัณหาผู้ทำความดิ้นรนเสีย
.

เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง  ชนเป็นอันมาก  บรรลุอริยผลทั้งหลาย  มีโสดปัตติผลเป็นต้น.

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 21.0.1180.60 Chrome 21.0.1180.60


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 06 สิงหาคม 2555 16:15:26 »



03.เรื่องวิพภันตกภิกษุ

พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน  ทรงปรารภวิพภันตกภิกษุ  ตรัสพระธรรมเทศฯนี้ว่า  โย  นิพฺพนฏฺโฐ เป็นต้น

ภิกษุสัทธิวิหาริกของพระมหากัสสปเถระรูปหนึ่ง   บำเพ็ญสมณธรรมจนได้ฌาน 4  วันหนึ่ง  เข้าไปบิณฑบาตที่บ้านของลุงของตน  พบหญิงงามเกิดนึกรักขึ้นมา  จึงสึกออกไปแต่งงานกับหญิงนั้น   เมื่อออกไปอยู่กินกับหญิงนั้นแล้ว  มีนิสัยเกียจคร้านไม่ยอมทำการงาน  จึงถูกขับไล่ออกจากบ้าน  ไปคบหาสมาคมกับพวกนักเลง  ถูกเจ้าหน้าบ้านเมืองจับกุมตัวจะนำไปสู่หลักประหาร   พระมหากัสสปเถระ  ขณะออกบิณฑบาต  ก็ไปประสบเหตุพอดีกับที่เขาถูกจับมือไพร่หลังจะนำตัวไปประหารชีวิต  จึงได้ขอให้เจ้าหน้าที่ผ่อนเครื่องจองจำ  พระมหากัสสปเถระ แนะนำว่า “เธอจงระลึกถึงกัมมัฏฐานที่เธอเคยสั่งสมแล้วในกาลก่อนเถิด”  เขาเกิดได้สติและกระทำตามคำแนะนำ  สามารถทำให้จตุตถฌานบังเกิดได้อีกครั้งหนึ่ง  พอถึงตอนนี้แม้ว่าจะเขาถูกพวกเจ้าหน้าที่และพวกชาวบ้านที่มามุงดูข่มขู่คุกคามด้วยอาวุธใดๆ  เขาก็ไม่แสดงอาการหวาดหวั่นพรึง   เจ้าหน้าที่เกิดความแปลกใจจึงได้ทูลรายงานให้พระราชาทรงทราบ  และพระราชาได้รับสั่งให้ปล่อยตัวเขา  และทรงนำเรื่องนี้เข้ากราบทูลพระศาสดา  พระศาสดาได้เปล่งโอภาสประหนึ่งไปประทับอยู่เบื้องหน้าของเขา  แล้วตรัสพระธรรมบท  พระคาถานี้ว่า

โย  นิพฺพนฏฺโฐ  วนาธิมุตฺโต
วนมุตฺโต  วนเมว  ธาวติ
ตํ  ปุคฺลเมว  ปสฺสถ
มุตฺโต  พนฺธนเมว  ธาวติ ฯ


บุคคลใด  มีอาลัยดุจหมู่ไม้อันตั้งอยู่ในป่าออกแล้ว
น้อมไปในป่า(คือตปธรรม)  พ้นจากป่าแล้ว
ยังแล่นไปสู่ป่าตามเดิม
ท่านทั้งหลาย  จงดูบุคคลนั้นนั่นแล

เขาพ้นแล้ว(จากเครื่องผูก)  ยังแล่นไปสู่เครื่องผูกตามเดิม
.

เขานั่งฟังธรรมเทศนานี้  อยู่บนปลายหลาว  ในระหว่างพวกราชบุรุษ  เริ่มตั้งความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแล้ว  ยกจิตขึ้นสู่ไตรลักษณ์  พิจารณาซึ่งสังขารทั้งหลาย  บรรลุโสดาปัตติผล   เสวยสุขเกิดแต่สมาบัติ  เหาะขึ้นสู่เวหาสมาสู่สำนักพระศาสดาโดยทางอากาศ  ถวายบังคมพระศาสดาแล้วบวช  ได้บรรลุพระอรหัตตผล  ณ ท่ามกลางบริษัทพร้อมด้วยพระราชานั่นเอง.

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 21.0.1180.60 Chrome 21.0.1180.60


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 06 สิงหาคม 2555 16:16:40 »



04.เรื่องเรือนจำ

พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน  ทรงปรารภเรือนจำ  ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  น  ตํ  ทฬฺหํ เป็นต้น

วันหนึ่ง  ภิกษุ  30  รูปจากชนบท  เข้าไปบิณฑบาตในกรุงสาวัตถี   ขณะที่ภิกษุเหล่านี้เดินบิณฑบาตอยู่นั้น  ได้ผ่านไปทางเรือนจำแห่งหนึ่ง  ก็ได้แลเห็นพวกโจรถูกจองจำด้วยเครื่องจองจำคือ  ขื่อ  คา  เชือกและตรวน เป็นต้น  เมื่อเข้าไปเฝ้าพระศาสดาในตอนเย็น  ได้กราบทูลถามว่า  “ พระเจ้าข้า  วันนี้ พวกข้าพระองค์  กำลังเที่ยวไปบิณฑบาต  เห็นโจรเป็นอันมาก  ในเรือนจำ  ถูกจองจำด้วยเครื่องจองจำคือขื่อเป็นต้น  เสวยทุกข์มาก  พวกเขา  ย่อมไม่อาจเพื่อจะตัดเครื่องจองจำเหล่านั้นหนีไปได้  ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  ขึ้นชื่อว่าเครื่องจองจำชนิดอื่น  ที่มั่นคงกว่าเครื่องจองจำเหล่านั้น  มีอยู่หรือหนอ ?”

พระศาสดาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย  เครื่องจองจำเหล่านั้น  จะชื่อว่าเครื่องจองจำอะไร   ส่วนเครื่องจองจำคือกิเลส  กล่าวคือ  ตัณหา  ในสวิญญาณกทรัพย์  และอวิญญาณกทรัพย์ทั้งหลาย  มีทรัพย์คือ  ข้าวเปลือก  บุตร  และภรรยาเป็นต้น  เป็นเครื่องจองจำที่มั่นคงกว่า  เครื่องจองจำคือขื่อเป็นต้นเหล่านั้น  ร้อยเท่า  พันเท่า  แสนเท่า  แต่โบราณกาลบัณฑิตทั้งหลาย  ตัดเครื่องจองจำแม้ชนิดใหญ่  ที่ตัดได้ยากเหล่านี้  เข้าไปบวชอยู่ในป่าหิมพานต์ได้” และได้ทรงนำอดีตนิทานเรื่องพระโพธิสัตว์ตัดความอาลัยรักในภรรยาและบุตรมาเล่า ว่า  เมื่อท่านออกไปบวชยังอภิญญาให้เกิด เล่นฌานอยู่ในป่าหิมพานต์นั้น  ท่านได้เปล่งอุทานว่า “เครื่องผูกคือบุตรและภรรยา  เครื่องผูกคือกิเลส  อันบุคคลตัดได้โดยยาก  ชื่อแม้เห็นปานนี้  เราได้ตัดแล้ว
จากนั้น  พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท  สองพระคาถานี้ว่า

น  ตํ  ทฬฺหํ  พนฺธนมาหุ  ธีรา
ยทายสํ   ทารุชปพฺพชญฺจ
สารตฺตรตฺตา   มณิกุณฑเลสุ
ปุตฺเตสุ  ทาเรสุ  จ  ยา  อเปกฺขา ฯ

เอตํ  ทฬฺหํ  พนฺธนมาหุ  ธีรา
โอหารินํ  สิถิลทุปฺปมุญฺชํ
เอตํปิ  เฉตฺวาน  ปริพฺพชนฺติ
อนเปกฺขิโน  กามสุขํ  ปหาย  ฯ


เครื่องจองจำใด  เกิดแต่เหล็ก  เกิดแต่ไม้
และเกิดแต่หญ้าปล้อง 
ผู้มีปัญญาทั้งหลาย  หากล่าวเครื่องจองจำนั้น
ว่าเป็นของมั่นคงไม่
.

ความกำหนัดใด  ของชนทั้งหลายผู้กำหนัดยินดียิ่งนัก
ในแก้วมณีและหุ้มหูทั้งหลาย  และความเยื่อใยในบุตร  ในภรรยาทั้งหลายใด   
นักปราชญ์ทั้งหลาย  กล่าวความกำหนัดและความเยื่อใยนั่นว่า
เป็นเครื่องจองจำอันมั่นคง  มีปกติเหนี่ยวลง  อันหย่อนแต่เปลื้องได้โดยยาก
นักปราชญ์ทั้งหลาย  ตัดเครื่องผูกแม้นั้นแล้ว
เป็นผู้ไม่มีใยดี  ละกามสุขแล้วบวช
.

เมื่อการแสดงพระธรรมเทศนาจบลง  ชนเป็นอันมาก  บรรลุอริยผลทั้งหลาย   มีโสดาปัตติผลเป็นต้น.

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 21.0.1180.60 Chrome 21.0.1180.60


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: 06 สิงหาคม 2555 16:17:50 »



http://i74.photobucket.com/albums/i242/MANSON_13/mom%201/32_771.jpg
เรื่องย่อในพระธรรมบท บทที่ 24 : ตัณหาวรรค

05.เรื่องพระนางเขมา

พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน  ทรงปรารภพระอัครมเหสีของพระเจ้าพิมพิสาร  พระนามว่าเขมา  ตรัสพระธรรมเทศฯนี้ว่า  เย  ราครตา  เป็นต้น

พระนางเขมาเป็นพระมเหสีเอกของพระเจ้าพิมพิสาร   พระนางมีพระสิริโฉมงดงามมาก  เพราะได้เคยตั้งความปรารถนาไว้แทบบาทมูลของพระปทุมุตรพุทธเจ้า   พระนางไม่ทรงต้องการจะไปเฝ้าพระศาสดาเพราะทรงเกรงว่าพระศาสดาจะทรงตำหนิโทษความงามของพระนาง   จึงได้ทรงหลีกเลี่ยงอยู่ตลอดมา  แต่พระเจ้าพิมพิสารมีพระประสงค์จะให้พระนางเสด็จไปเฝ้าพระศาสดาที่พระเวฬุวันให้ได้  จึงรับสั่งให้นักประพันธ์เพลงแต่งเพลงพรรณนาความงามและความรื่นรมย์ของพระเวฬูวัน จนพระนางเขมาได้สดับแล้ว  มีความหลงใหลอยากจะเสด็จไปชม

เมื่อพระนางเขมาเสด็จเข้าไปในวัดพระเวฬุวันนั้น   พระศาสดาทรงแสดงธรรมให้แก่มหาชนได้ฟังกันอยู่   พระองค์จึงทรงเนรมิตร่างนางงามผู้หนึ่ง  ยืนถือพัดก้านตาลถวายงานพัดอยู่ที่ข้างพระองค์  และรูปหญิงนี้เห็นได้เฉพาะพระนางเขมาเท่านั้น  เมื่อพระนางเข้ามาสู่ที่ประชุมฟังธรรมนั้น  ทอดพระเหตุเห็นหญิงงามนั้นแล้วก็นำมาเปรียบเทียบกับความงามของพระนาง  ได้เห็นประจักษ์ว่านางงามที่ถวายงานพัดพระศาสดาอยู่นั้นมีความงามเลิศล้ำกว่าพระนางมาก  ขณะที่พระนางจ้องพระเนตรมองดูนางงามอยู่นั้น  พระศาสดาได้บันดาลให้ร่างของนางงามนั้นเปลี่ยนแปลงไปตามลำดับคือ เป็นหญิง กลางคน เป็นหญิงชรา  เจ็บป่วย  สิ้นชีวิต  มีหนอนชอนไชออกมาจากซากศพ และเหลืออยู่แต่เพียงกองกระดูก  เมื่อเห็นเป็นเช่นนี้  พระนางเขมาก็ทรงประจักษ์ถึงความไม่เที่ยงและความปราศจากแก่นสารของความงาม

พระศาสดา   ทรงตรวจดูวารจิตของพระนางเขมาแล้ว  จึงตรัสว่า  “เขมา  เธอคิดว่า  สาระมีอยู่ในรูปนี้หรือ ?  เธอจงดูความที่รูปนั้นหาสาระมิได้  ในบัดนี้
จากนั้น  พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท  พระคาถานี้ว่า

เย   ราครตฺตานุปตนฺติ  โสตํ
สยํ  กตํ  มกฺกฎโกว   ชาลํ
เอตมฺปิ  เฉตฺวาน  วชนฺติ  ธีรา
อนเปกฺขิโน  สพฺพทุกฺขํ  ปหาย ฯ


สัตว์ผู้กำหนัดแล้วด้วยราคะ
ย่อมตกไปสู่กระแสตัณหา
เหมือนแมลงมุม  ตกไปยังใยที่ตัวทำไว้เอง  ฉะนั้น
ธีรชนทั้งหลาย   ตัดกระแสตัณหาแม้นั้นแล้ว

เป็นผู้หมดห่วงใย  ละเว้นทุกข์ทั้งปวง
.

เมื่อจบพระธรรมเทศนา  พระนางเขมา  บรรลุพระอรหัตตผล  เพระธรรมเทศนามีประโยชน์แม้แก่มหาชน.
พระศาสดาตรัสถามพระราชาว่า  ควรจะให้พระนางเขมาบวช หรือว่าจะให้ปรินิพพาน   พระราชาตรัสว่า  ควรจะให้พระนางบวช  เมื่อพระนางบรรพชาแล้ว  ก็ได้เป็นพระอัครสาวิกา.


บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 21.0.1180.60 Chrome 21.0.1180.60


ดูรายละเอียด
« ตอบ #5 เมื่อ: 06 สิงหาคม 2555 17:50:17 »



06.  เรื่องบุตรเศรษฐีชื่ออุคคเสน

พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน  ทรงปรารภอุคคเสน  ตรัสพระธรรมเทศฯนี้ว่า  มุญฺจ  ปุเร  เป็นต้น

ในกาลครั้งหนึ่ง  คณะแสดงละครเร่ประกอบด้วยนักเต้นรำและนักกายกรรมจำนวน 500 คน ได้ไปเปิดการแสดงอยู่ที่พระลานหลวงในกรุงราชคฤห์ของพระเจ้าพิมพิสารเป็นเวลา 7 วัน  ในคณะแสดงละครมีหญิงนักเต้นเยาว์วัยคนหนึ่งเป็นลูกชาวของนักแสดงกายกรรม  ได้ขึ้นไปร้องรำทำเพลงอยู่บนปลายไม่ไผ่ยาวๆ  นายอุคคเสนซึ่งเป็นบุตรชายของเศรษฐี    เกิดหลงรักหญิงนักเต้นคนนี้มาก   อยากจะแต่งงานกับนางให้ได้   แม้บิดามารดาจะห้ามอย่างไรก็ไม่ฟัง    เมื่อแต่งงานกันแล้ว  นายอุคคเสนก็ได้ติดตามคณะละครเร่ไปแสดงตามสถานที่ต่างๆ  อุคคเสนเต้นรำเป็นแต่เล่นกายกรรมไม่เป็น  จึงไม่เป็นที่ต้องการของคณะละครมากนัก  เมื่อคณะละครเร่ได้ร่อนเร่ไปเปิดการแสดงตามที่ต่างๆ  อุคคเสนจึงมีหน้าที่เป็นเพียงกุลีขนหีบเสื้อผ้าบ้างเป็นคนขับเกวียนบ้างเท่านั้นเอง

เมื่อกาลเวลาผ่านไป   อุคคเสนก็มีบุตรชายคนหนึ่งเกิดกับหญิงนักเต้นสาวคนนี้  หญิงนักเต้นได้พูดหยอกล้อบุตรว่า  “ไอ้ลูกของคนเฝ้าเกวียน  ไอ้ลูกของคนหาบของ  ไอ้ลูกของคนไม่รู้อะไร”  อุคคเสนได้ยินคำพูดของภรรยาเช่นนั้น  ก็เกิดความเจ็บใจ  จึงไปหาพ่อตาซึ่งเป็นนักแสดงกายกรรม ขอให้ช่วยฝึกหัดการแสดงกายกรรมให้  หลังจากได้รับการฝึกฝนได้ไดไม่ถึงปีดี  อุคคเสนก็มีความชำนาญในการแสดงกายกรรมเป็นอย่างมาก

จากนั้น  อุคคเสนก็ได้กลับไปที่กรุงราชคฤห์   และได้มีการโฆษณาว่าอีก  7 วันนายอุคคเสนจะมาแสดงกายกรรม  พอถึงวันที่ 7  เมื่อมีประชาชนมาชุมนุมเพื่อชมการแสดงเป็นจำนวนมาก    โดยนายอุคคเสนก็ได้ไปยืนแสดงกายกรรมบนปลายไม้ไผ่สูงถึง 60 ศอก

ในวันนั้นพระศาสดาทรงตรวจดูสัตว์โลก  ในเวลาใกล้รุ่ง  ทรงเห็นอุคคเสนเข้าไปในข่ายคือพระญาณของพระองค์  และเขาจักได้บรรลุพระอรหัตตผล   และการบรรลุธรรมจักมีแก่สัตว์จำนวน  8 หมื่น 4 พัน  เพราะฟังธรรมจากพระองค์  ในวันรุ่งขึ้น  พระองค์พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์   ก็ได้เสด็จไปยังกรุงราชคฤห์  เพื่อบิณฑบาต  ซึ่งก็เป็นช่วงพอดีกับที่อุคคเสนกำลังแสดงกายกรรมบนปลายลำไม้ไผ่   พอเห็นพระศาสดาเสด็จมา  ผู้ชมการแสดงก็ละสายตาจากการแสดงของนายอุคคเสนมาที่พระศาสดา  นายอุคคเสนเห็นเช่นนั้นก็เกิดความเสียใจ นั่งเฉยอยู่บนปลายไม่ไผ่  พระศาสดาได้รับสั่งให้พระโมคคัลลานเถระไปเจรจาให้นายอุคคเสนะดำเนินการแสดงต่อไป  เมื่อสิ้นสุดรายการการแสดงแล้ว    ได้ตรัสกับเขาว่า “อุคคเสน  ธรรมดาบัณฑิต  ต้องละความอาลัยรักใคร่ในขันธ์ทั้งหลาย  ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต  และปัจจุบันเสียแล้ว  พ้นจากทุกข์ทั้งหลายมีชาติเป็นต้นจึงควร
จากนั้น  พระศษสดาจึงได้ตรัสพระธรรมบท  พระคาถานี้ว่า

มุญฺจ  ปุเร  มุญฺจ  ปจฺฉโต
มชฺเฌ  มุญฺจ  ภวสฺส  ปารคู
สพฺพตฺถ  วิมุตฺตมานโส
น  ปุน  ชาติชรํ  อุเปหิสิ ฯ


ท่านจงเปลื้อง(อาลัย) ในก่อนเสีย
จงเปลื้อง(อาลัย) ข้างหลังเสีย
จงเปลื้อง(อาลัย)ในท่ามกลางเสีย
จึงเป็นผู้ถึงฝั่งแห่งภพ
มีใจหลุดพ้นในธรรมทั้งปวง

จะไม่เข้าถึงชาติและชราอีก
.

เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง  การบรรลุธรรมพิเศษ  ได้มีแล้ว  แก่ชนเป็นอันมาก.

ฝ่ายอุคคเสน  กำลังยืนอยู่ปลายไม่ไผ่  บรรลุพระอรหัตตผล  พร้อมปฏิสัมภิทา  ได้ลงจากลำไผ่มาสู่ที่ใกล้พระศาสดา  ถวายบังคมด้วยเบญจางคประดิษฐ์  ทูลขอพรรพชา  พระศาสดาทรงเหยียดพระหัตถ์เบื้องขวา  ตรัสกับนายอุคคเสนนั้นว่า  “ท่านจงเป็นภิกษุมาเถิด” (ไม่มีคำต่อไปว่า  จงประพฤติพรหมจรรย์  เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบเถิด  เพราะท่านเป็นพระอรหันต์มาก่อนบวชแล้ว)

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 21.0.1180.60 Chrome 21.0.1180.60


ดูรายละเอียด
« ตอบ #6 เมื่อ: 06 สิงหาคม 2555 23:32:59 »



07.เรื่องจูฬธนุคคหบัณฑิต

พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน  ทรงปรารภภิกษุหนุ่มรูปหนึ่ง  ตรัสพระธรรมเทศฯนี้ว่า  วิตกฺกมถิตสฺส  เป็นต้น

ในกาลครั้งหนึ่ง   ภิกษุหนุ่มรูปหนึ่ง  นำภัตตาหารไปฉันอยู่ในโรงฉัน  หลังจากฉันภัตตาหารเสร็จเรียบร้อยแล้ว  อยากจะดื่มน้ำ  จึงไปที่บ้านหลังหนึ่ง เพื่อขอน้ำดื่ม  และมีหญิงสาวคนหนึ่งตักน้ำมาถวายให้ดื่ม  นางเห็นภิกษุนั้นแล้วเกิดความพึงพอใจ  ต้องการจะได้ภิกษุมาเป็นสามี จึงกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ  เมื่อมีความต้องการน้ำดื่ม  ท่านก็พึงมาในเรือนนี้แหละแม้อีก”  ตั้งแต่นั้นมา ภิกษุนั้นเมื่อต้องการน้ำดื่มก็ได้ไปที่บ้านหลังนั้นเป็นประจำ   ต่อมา นางได้นิมนต์ภิกษุนั้นไปฉันภัตตาหารที่บ้าน  และได้ถือโอกาสบอกกับท่านว่า  ที่บ้านของนางมีทุกสิ่งทุกอย่าง  จะขาดก็แต่เพียงคนที่จะมาช่วยดูแลจัดการเท่านั้น   ภิกษุพอได้ยินเช่นนั้นก็เกิดความรักในหญิงสาว  และต้องการจะสึกออกไปครองรักกับนางมาก   จนถึงกับกินไม่ได้นอนไม่หลับ   ร่างกายผ่ายผอม  ภิกษุอื่นๆจึงได้นำเรื่องนี้ขึ้นกราบบังคมทูลพระศาสดา    พระศาสดาได้ตรัสเรียกภิกษุนั้นมาเฝ้า  และตรัสเล่าว่า  ผู้หญิงคนนี้เคยทำเรื่องไม่ดีแบบเดียวกันนี้กับภิกษุนี้มาแล้วในอดีตชาติ 

โดยในครั้งนั้น  ภิกษุนี้เป็นจูฬธนุคคหบัณฑิต  ไปศึกษาอยู่ในสำนักของอาจารย์ทิศาปาโมกข์  ในกรุงตักกสิลา  หลังสำเร็จการศึกษาแล้ว  ได้ลูกสาวของอาจารย์เป็นภรรยา  ขณะพากันเดินทางจะกลับบ้านของฝ่ายชาย  พบโจรป่ากลางทาง  เกิดการต่อสู้ระหว่างจูฬธนุคคหบัณฑิต กับหัวหน้าโจร  ขณะที่จูฬธนุคคหบัณฑิตจับหัวหน้าโจรฟาดล้มลงที่พื้นดิน จึงร้องบอกให้ภรรยาส่งดาบให้  แต่ภรรยาเกิดรักในหัวหน้าโจรอย่างฉับพลัน  แทนที่จะยื่นดาบนั้นให้สามีกลับยื่นให้แก่หัวหน้าโจร   ให้หัวหน้าโจรฆ่าสามี   จากนั้นได้ตรัสประชุมชาดกว่า  จูฬธนุคคหบัณฑิค  คือ  ภิกษุรูปนี้  ส่วนหญิงที่เป็นภรรยา  ก็คือ หญิงสาวแรกรุ่นคนนี้นี่เอง

แล้วทรงโอวาทภิกษุนั้นว่า “ หญิงนั้น  ปลงบัณฑิตผู้เลิศ  ในชมพูทวีปทั้งสิ้น  จากชีวิต  เพราะความสิเนหาในชายคนหนึ่ง  ซึ่งตนเป็นครู่เดียวนั้นอย่างนี้  ภิกษุ  เธอจงตัดตัณหาของเธอ  อันปรารภหญิงนั้นเกิดขึ้นเสีย
จากนั้น  พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท  สองพระคาถานี้ว่า

วิตกฺกมถิตสฺส  ชนฺตุโน
ติพฺพราคสฺส  สุภานุปสฺสิโน
ภิยฺดย  ตณฺหา  ปวฑฺฒติ
เอส  โข  ทฬฺหํ  กโรติ  พนฺธนํ ฯ


วิตกฺกูปสเม  จ  โย  รโต
อสุภํ  ภาวยตี  สทา  สโต
เอโส  โข  พฺยนฺติกาหติ
เอสจฺฉินฺทติ  มารพนฺธนํ ฯ


ตัณหา  ย่อมเจริญยิ่งแก่ชนผู้ถูกวิตกย่ำยี
มีราคะจัด  เห็นอารมณ์ว่างาม
บุคคลนั่นแล  ย่อมทำเครื่องผูกให้มั่น.
 
ส่วนภิกษุใด  ยินดีในธรรมเป็นที่เข้าไประงับวิตก
เจริญอสุภฌานอยู่มีสติทุกเมื่อ
ภิกษุนั่นแล  จักทำตัณหาให้สูญสิ้นได้

ภิกษุนั่น  จะตัดเครื่องผูกแห่งมารได้
.

เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง   ภิกษุนั้นบรรลุโสดาปัตติผล   พระธรรมเทศนามีประโยชน์  แม้แก่บุคคลผู้มาประชุมกัน.

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 21.0.1180.60 Chrome 21.0.1180.60


ดูรายละเอียด
« ตอบ #7 เมื่อ: 06 สิงหาคม 2555 23:35:31 »



08.เรื่องมาร

พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน  ทรงปรารภมาร  ตรัสพระธรรมเทศฯนี้ว่า  นิฏฺฐํ  คโต  เป็นต้น

ในกาลครั้งหนึ่ง  มีภิกษุจำนวนมากเดินทางมาที่วัดพระเชตวัน   จึงไล่ให้พระราหุลเถระให้ลุกขึ้น  ท่านไม่เห็นที่จะไปนอนในที่อื่น  จึงได้ไปนอนที่หน้ามุขพระคันธกุฏีของพระศาสดา  ในตอนนั้นท่านพระราหุลเถระสำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว   มารชื่อวสวัสดี  ต้องการจะสร้างความกังวลพระทัยให้กับพระศาสดาโดยกลั่นแกล้งพระราหุลเถระผู้โอรส  จึงได้แปลงร่างเป็นช้างใหญ่เอางวงรัดที่ศีรษะของพระเถระ  แล้วส่งเสียงร้องเพื่อให้ตกใจกลัว  พระศาสดาบรรทมในพระคันธกุฎี  ทรงทราบว่าช้างนั้นเป็นมาร  จึงตรัสว่า “ มาร  คนเช่นท่านแม้ตั้งแสน  ก็ไม่สามารถเพื่อจะให้ความกลัวเกิดแก่บุตรของเราได้  เพราะว่า   บุตรของเรามีปกติไม่สะดุ้ง  มีตัณหาไปปราศแล้ว  มีความเพียรใหญ่  มีปัญญามาก
จากนั้น  พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท  สองพระคาถานี้ว่า

นิฏฺฐํ  คโต  อสนฺตตาสี
วีตตณฺโห  อนงฺคโณ
อจฺฉินฺทิ  ภวสลฺสานิ
อนฺติโมยํ  สมุสฺสโย ฯ

วีตตณฺโห  อนาทาโน
นิรุตฺติปทโกวิโท
อกฺขรานํ  สนฺนิปาตํ
ชญฺญา  ปุพฺพาปรานิ จ

ส  เว  อนฺติมสารีโร มหาปญฺโญ 
(มหาปุริโสติ)  วุจฺจติฯ


ผู้ใด  ถึงความสำเร็จ  มีปกติไม่สะดุ้ง
มีตัณหาไปปราศจากแล้ว
ไม่มีกิเลสเครื่องยั่วยวนใจ
ได้ตัดลูกศรอันให้ไปสู่ภพทั้งหลายเสียแล้ว


กายนี้ของผู้นั้น  ชื่อว่ามีในที่สุด  ผู้ใดมีตัณหาไปปราศแล้ว
ไม่มีความถือมั่น   ฉลาดในบทแห่งนิรุตติ
รู้ที่ประชุมแห่งอักษรทั้งหลาย
และรู้เบื้องต้นและเบื้องปลายแห่งอักษรทั้งหลาย

ผู้นั้นแล  มีสรีระมีในที่สุด  เราย่อมเรียกว่าผู้มีปัญญามาก(เป็นมหาบุรุษ)


เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง  ชนเป็นอันมาก  บรรลุอริยผลทั้งหลาย  มีโสดาปัตติผลเป็นต้น.
ฝ่ายมารผู้มีบาป  คิดว่า “พระสมณโคดม  ย่อมทรงรู้ว่าเป็นเรา”  แล้วอันตรธานไปจากที่นั้น.

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 21.0.1180.60 Chrome 21.0.1180.60


ดูรายละเอียด
« ตอบ #8 เมื่อ: 06 สิงหาคม 2555 23:37:01 »



09.เรื่องอุปกาชีวก

พระศาสดา  ทรงปรารภอาชีวกชื่ออุปกะ  ในระหว่างทาง  ตรัสพระธรรมเทศฯนี้ว่า  สพฺพาภิภู  เป็นต้น
ที่มาของการตรัสพระธรรมบท  พระคาถานี้มีว่า

ในสมัยหนึ่ง  พระศาสดา  ทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณแล้ว  ทรงยังกาลให้ล่วงไปที่ควงไม้โพธิ์  7  สัปดาห์  ทรงถือบาตรและจีวรของพระองค์  เสด็จดำเนินไปสิ้นหนทางประมาณ 18 โยชน์มุ่งกรุงพาราณสี   เพื่อจะทรงแสดงพระธรรมจักกัปปวัตตนสูตร  แก่พระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5  คือ โกณฑัญญะ  วัปปะ  ภัททิยะ  มหานามะ  และอัสสชิ   ได้ทอดพระเนตรเห็นอาชีวกชื่ออุปกะในระหว่างทาง  ฝ่ายอุปากาชีวก  เห็นพระศาสดาแล้ว  ทูลถามว่า  “ผู้มีอายุ  อินทรีย์ของท่านผ่องใสยิ่งนัก  ผิวพรรณก็บริสุทธิ์ผุดผ่อง  ผู้มีอายุ  ท่านบวชเฉพาะใคร ?  ใครเป็นศาสดาของท่าน ?  หรือท่านชอบใจธรรมของใคร ?

ลำดับนั้น  พระศาสดา  ตรัสว่า  “เราไม่มีอุปัชฌาย์หรืออาจารย์”  จากนั้น พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท  พระคาถานี้ว่า

สพฺพาภิภู   สพฺพวิทูหมสฺมิ
สพฺเพสุ  ธมฺเมสุ  อนูปลิตฺโต
สพฺพญฺชโห  ตณฺหกฺขเย  วิมุตฺโต
สยํ  อภิญฺยาย  กมุทฺทิเสยฺยํ ฯ


เราเป็นผู้ครอบงำธรรมได้ทั้งหมด
รู้ธรรมทุอย่าง  ไม่ติดอยู่ในธรรมทั้งปวง
ละธรรมได้ทุกอย่าง

พ้นแล้ว  ในเพราะธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา
รู้เองแล้ว  จะพึงอ้างใครเล่า ?(ว่าเป็นอุปัชฌาย์อาจารย์)
.

เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง  อุปกาชีวก  ไม่ยินดี  ไม่คัดค้านพระดำรัสของพระตถาคต  ได้แต่สั่นศีรษะ  แลบลิ้น  เดินทางที่ทางแคบๆ  ไปสู่ที่พักของนายพรานแห่งหนึ่ง.

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 21.0.1180.60 Chrome 21.0.1180.60


ดูรายละเอียด
« ตอบ #9 เมื่อ: 06 สิงหาคม 2555 23:38:05 »



10. เรื่องท้าวสักกเทวราช

พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน  ทรงปรารภท้าวสักกเทวราช ตรัสพระธรรมเทศฯนี้ว่า  สพฺพทานํ เป็นต้น

ในกาลครั้งหนึ่ง  เทพดาในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์  ประชุมกันแล้วตั้งปัญหาถามกัน  4  ข้อ คือ
1. บรรดาทานทั้งหลาย  ทานชนิดไหนหนอแล ? บัณฑิตกล่าว่าเยี่ยม
2. บรรดารสทั้งหลาย  รสชนิดไหน? บัณฑิตกล่าวว่ายอด 
3. บรรดาความยินดีทั้งหลาย  ความยินดีชนิดไหน?  บัณฑิตกล่าวว่าเลิศ   
4.  ความสิ้นไปแห่งตัณหา  บัณฑิตกล่าวว่า  ประเสริฐที่สุด  เพราะเหตุใด ?

ปรากฏว่าไม่มีเทพดาตนใดตอบคำถามเหล่านี้ได้  ท้าวสักกเทวราช จึงได้ทรงพาเทพดาทั้งหลายไปทูลถามปัญญาทั้ง 4 ข้อเหล่านี้แด่พระศาสดา  ณ วัดพระเชตวัน  พระศาสดาตรัสว่า  “ดีละ  มหาบพิตร  อาตมภาพบำเพ็ญบารมี 30 ทัศ  บริจาคมหาบริจาค  แทงตลอดพระสัมพัญญุตญาณแล้ว  เพื่อตัดความสงสัยของชนผู้เช่นพระองค์นี่แหละ  ขอพระองค์จงทรงสดับปัญญาที่พระองค์ถามแล้วเถิด  บรรดาทานทุกชนิด  ธรรมทานยอดเยี่ยม  บรรดารสทุกชนิด  รสแห่งธรรมเป็นยอด  บรรดาความยินดีทุกชนิด  ความยินดีในธรรมประเสริฐ   ส่วนความสิ้นไปแห่งตัณหาประเสริฐที่สุดแท้  เพราะความเป็นเหตุให้สัตว์บรรลุพระอรหัต
จากนั้น  พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท  พระคาถานี้ว่า

สพฺพทานํ  ธมฺมทานํ  ชินาติ
สพฺพรสํ  ธมฺมรโส  ชินาติ
สพฺพรตึ  ธมฺมรติ  ชินาติ
ตณฺหกฺขโย  สพฺพทุกฺขํ  ชินาติ  ฯ


ธรรมทาน  ย่อมชนะทานทั้งปวง
รสแห่งธรรม  ย่อมชนะรสทั้งปวง
ความยินดีในธรรม  ย่อมชนะความยินดีทั้งปวง

ความสิ้นไปแห่งตัณหา  ย่อมชนะทุกข์ทั้งปวง
.

เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง  การตรัสรู้ธรรม  ได้มีแก่สัตว์  8 หมื่น  4  พัน.

ท้าวสักกเทวราช  ทรงสดับธรรมกถาพระศาสดา  ถวายบังคมพระศาสดาแล้ว  ทูลว่า “พระเจ้าข้า  เพราะเหตุใด  พระองค์จึงไม่รับสั่งให้ๆส่วนบุญแก่พวกข้าพระองค์  ในธรรมทานอันชื่อว่าเยี่ยมอย่างนี้ ? จำเดิมแต่นี้ไป  ขอพระองค์ได้โปรดตรัสบอกแก่ภิกษุทั้งหลายให้ๆส่วนบุญแก่พวกข้าพระองค์เถิด  พระเจ้าข้า”  พระศาสดาทรงรับคำของท้าวเธอแล้ว  รับสั่งให้ภิกษุสงฆ์ประชุมกันแล้ว  ตรัสว่า  “ภิกษุทั้งหลาย  ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป  พวกเธอทำการฟังธรรมใหญ่ก็ดี  การฟังธรรมตามปกติก็ดี  กล่าวอุปนิสินนกถาก็ดี  โดยที่สุดแม้การอนุโมทนา  แล้วพึงให้ส่วนบุญแก่สัตว์ทั้งปวง

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 21.0.1180.60 Chrome 21.0.1180.60


ดูรายละเอียด
« ตอบ #10 เมื่อ: 06 สิงหาคม 2555 23:39:40 »



11.เรื่องเศรษฐีผู้ไม่มีบุตร

พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน  ทรงปรารภเศรษฐีผู้ชื่อว่าอปุตตกะ    ตรัสพระธรรมเทศฯนี้ว่า  หนนฺติ  โภคา  ทุมฺเมธํ  เป็นต้น

ในกาลครั้งหนึ่ง   พระเจ้าปเสนทิโกศล  ได้เสด็จไปเฝ้าศาสดา  และได้กราบทูลว่า   ที่พระองค์เสด็จมาช้านั้น  ก็เพราะเมื่อเช้านี้  คฤหบดีผู้เป็นเศรษฐี  ในกรุงสาวัตถี  เป็นผู้ไม่มีบุตร    ได้เสียชีวิต  หาทายาทมิได้  ท้าวเธอจึงได้รับสั่งให้ขนทรัพย์สมบัติไปเก็บไว้ในราชสำนัก  จากนั้นท้าวเธอได้กราบทูลถึงประวัติของเศรษฐีผู้นี้ว่า  แม้ว่าจะเป็นเศรษฐี  แต่เป็นคนตระหนี่   เมื่อตอนที่ยังมีชีวิตอยู่นั้น  ไม่เคยทำบุญให้ทาน  ไม่ยอมจับจ่ายใช้สอยทรัพย์แม้เพื่อตนเอง  อาหารที่รับประทานในแต่ละวันก็มีแต่ข้าวปลายเกรียน  และน้ำผักดอง   เสื้อผ้าที่สวมใส่ก็เป็นเสื้อผ้าราคาถูกๆ  รถที่ใช้โดยสารก็เป็นรถเก่าๆ  เมื่อทรงสดับประวัติของเศรษฐีแล้ว  พระศาสดาได้ตรัสกับพระราชาและประชาชนที่มาชุมนุมเพื่อฟังธรรม  ถึงอดีตชาติของเศรษฐีผู้นี้  ซึ่งแม้ในครั้งนั้นก็เกิดเป็นเศรษฐีเหมือนกัน  ว่า

วันหนึ่ง   พระปัจเจกพุทธเจ้า   ได้มายืนบิณฑบาตอยู่ที่หน้าบ้านของเศรษฐี    เศรษฐีได้บอกภรรยาให้นำสิ่งใดสิ่งหนึ่งมาถวายพระปัจเจกพุทธเจ้านั้น  ฝ่ายภรรยาคิดว่านานๆครั้งที่สามีจะอนุญาตให้นางให้สิ่งใดหนึ่งหนึ่งแก่ใครๆ   นางจึงได้นำอาหารอย่างดีไปใส่ลงในบาตรของพระปัจเจกพุทธเจ้า   เมื่อเศรษฐีเดินกลับมาพบพระปัจเจกพุทธเจ้าอีกครั้งหนึ่ง ก็ได้มองไปที่บาตรของท่าน   เมื่อเห็นแต่อาหารดีๆอยู่ในบาตร  ก็คิดว่า  “ พวกทาสหรือพวกกรรมกรกินอาหารนี้ยังดีกว่า  เพราะว่า พวกเขา ครั้นกินอาหารนี้แล้ว  จะทำการงานให้เรา  ส่วนสมณะนี้  ครั้นไปกินแล้ว  ก็จะนอนหลับ  อาหารบิณฑบาตของเราสูญเปล่า”  นอกจากนั้นแล้ว เศรษฐีผู้นี้มีน้องชายซึ่งเป็นเศรษฐีเหมือนกัน  ต้องการจะแย่งชิงสมบัติของน้องชายมาเป็นของตนทั้งหมด  จึงได้วางแผนฆ่าบุตรชายของน้องชายซึ่งเป็นหลานแท้ๆของตนจนเสียชีวิต  และเมื่อน้องชายเสียชีวิตแล้ว  ก็ได้ยึดทรัพย์ทั้งหมดของน้องชายมาเป็นของตน

เพราะกุศลกรรมจากการที่ได้ถวายอาหารบิณฑบาตแด่พระปัจเจกพุทธเจ้า  ทำให้เขาได้เป็นเศรษฐีในชาติปัจจุบัน  แต่เพราะอกุศลกรรมคือนึกเสียใจที่ภรรยาได้ให้อาหารดีๆแด่พระปัจเจกพุทธเจ้า  ทำให้เขาไม่ต้องการจ่ายทรัพย์ใดๆเพื่อตัวเขาเอง  และเพราะผลของอกุศลกรรมที่ฆ่าหลานชายเพื่อฮุบสมบัติ  ทำให้เขาไปตกนรกอยู่ เป็นเวลานานแสนนาน  และเพราะผลกรรมที่เหลือ  ทำให้เขาถูกยึดทรัพย์สมบัติไปเป็นของหลวง พฤติกรรมของเศรษฐีเข้าทำนองที่ว่า  บุญเก่าหมดไป และบุญใหม่ไม่สั่งสม  และเมื่อสิ้นชีวิตก็ได้ไปเสวยทุกข์ในมหาโรรุวนรก

พระเจ้าปเสนทิโกศล   ทรงสดับพระดำรัสของพระศาสดาแล้ว  จึงกราบทูลว่า  “พระเจ้าข้า  น่าอัศจรรย์  นี้เป็นกรรมอันหนัก  เศรษฐีนั้น  เมื่อโภคะมีอยู่มากมาย  แต่ไม่ใช้สอยด้วยตนเองเลย  เมื่อพระพุทธเจ้าเช่นกับพระองค์  ประทับอยู่ในวิหารใกล้ๆ  ก็มิได้ทำบุญกรรม

พระศาสดาตรัสว่า   “จริงอย่างนั้น  มหาบพิตร  ชื่อว่าผู้มีปัญญาทราม  ได้โภคะทั้งหลายแล้ว  ย่อมไม่แสวงหานิพพาน  อนึ่ง  ตัณหาซึ่งเกิดขึ้นเพราะอาศัยโภคะทั้งหลาย  ย่อมฆ่าคนเหล่านั้นสิ้นกาลนาน
จากนั้น  พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท  พระคาถานี้ว่า

หนนฺติ  โภคํ  ทุมฺเมธํ
โน  จ  ปารคเวสิโน
โภคตญฺหาย  ทุมฺเมโธ
หนฺติ  อญฺเญว  อตฺตนํ ฯ


โภคะทั้งหลาย  ย่อมฆ่าคนทรามปัญญา
แต่ไม่ฆ่าคนผู้แสวงหาฝั่งโดยปกติ  คนทรามปัญญา
ย่อมฆ่าตนเหมือนฆ่าคนอื่น
เพราะความทะยานอยากในโภคะ
.

เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง  ชนเป็นอันมาก  บรรลุอริยผลทั้งหลาย  มีโสดาปัตติผลเป็นต้น.

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 21.0.1180.60 Chrome 21.0.1180.60


ดูรายละเอียด
« ตอบ #11 เมื่อ: 06 สิงหาคม 2555 23:40:18 »




12.เรื่องอังกุรเทพบุตร

พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่บนแท่นบัณฑุกัมพลศิลา  ทรงปรารภอังกุรเทพบุตร  ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  ติณโทสานิ  เขตฺตานิ  เป็นต้น

ในกาลครั้งหนึ่ง   พระศาสดาเสด็จขึ้นไปบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์   เพื่อแสดงพระอภิธรรมโปรดสันดุสิตเทวดา ซึ่งเป็นอดีตพุทธมารดา  ในระหว่างนั้น  มีเทวดาองค์หนึ่งนามว่าอินทกเทพบุตร อยู่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์  ซึ่งเมื่อครั้งอยู่ในโลกมนุษย์  เทพองค์นี้ได้ถวายอาหารบิณฑบาตแด่พระอนุรุทธเถระเพียงทัพพีเดียว  ซึ่งเป็นอาหารที่คนนำมาจะให้ตนรับประทาน   เมื่อสิ้นชีวิตแล้ว  เขาได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์  มีเทวสมบัติที่ยิ่งใหญ่  ในขณะเดียวกันนั้น   มีเทพอีกองค์หนึ่งนามว่า อังกุรเทพบุตร  อยู่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์อีกเหมือนกัน  ซึ่งเมื่อครั้งเป็นมนุษย์ได้ถวายทานเป็นจำนวนมากและในหลายโอกาส กว่าอินทกเทพบุตร  แต่ปรากฏว่า  เทวสมบัติของอังกุรเทพบุตรมีความยิ่งใหญ่น้อยกว่าของอินทกเทพบุตร  ดังนั้น เมื่อพระศาสดาเสด็จสู่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์   อังกุรเทพบุตรจึงได้ทูลถามข้อแตกต่างระหว่างทานของตนกับของอินทกเทพบุตร  พระศาสดาตรัสว่า  “อังกุระ  ชื่อว่าการเลือกให้ทาน  ย่อมควร  ทานของอินทกะนั้น  เป็นของมีผลมาก  ดังพืชที่หว่านดีแล้วในนาดี  อย่างนี้  แต่ท่านไม่ได้ทำอย่างนั้น  เพราะฉะนั้น  ทานของท่านจึงไม่มีผลมาก

พระศาสดาตรัสด้วยว่า “บุคคลควรเลือกให้ทาน  ในเขตที่ตนให้แล้วจะมีผลมาก  เพราะการเลือกให้  พระสุคตทรงสรรเสริญแล้ว  ทานที่ให้ในท่านผู้เป็นทักขิไณยบุคคลในชีวโลกนี้  เป็นของมีผลมาก  เหมือนพืชที่หว่านในนาดี ฉะนั้น
จากนั้น  พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท   สี่พระคาถานี้ว่า

ติณโทสานิ  เขตฺตานิ 
ราคโทสา  อยํ  ปชา
ตสฺมา  หิ  วีตราเคสุ
ทินฺนํ  โหติ  มหปฺผลํ  ฯ


ติณโทสานิ  เขตฺตานิ 
โทสโทสา  อยํ  ปชา
ตสฺมา  หิ  วีตโทเสสุ
ทินฺนํ  โหติ  มหปฺผลํ  ฯ


ติณโทสานิ  เขตฺตานิ 
โมหโทสา  อยํ  ปชา
ตสฺมา  หิ  วีตโมเหสุ
ทินฺนํ  โหติ  มหปฺผลํ  ฯ


ติณโทสานิ  เขตฺตานิ 
อิจฉาโทสา  อยํ  ปชา
ตสฺมา  หิ  วีคติจฺเฉสุ
ทินฺนํ  โหติ  มหปฺผลํ  ฯ


นาทั้งหลายมีหญ้าเป็นโทษ
หมู่สัตว์นี้ก็มีราคะเป็นโทษ
ฉะนั้นแล  ทานที่ให้ในท่านผู้ปราศจากราคะ

จึงเป็นของมีผลมาก.

นาทั้งหลายมีหญ้าเป็นโทษ
หมู่สัตว์นี้ก็มีโทสะเป็นโทษ
ฉะนั้นแล  ทานที่ให้ในท่านผู้ปราศจากโทสะ

จึงเป็นของมีผลมาก.

นาทั้งหลาย  มีหญ้าเป็นโทษ
หมู่สัตว์นี้มีโมหะเป็นโทษ
ฉะนั้นแล  ทานที่ให้ในท่านผู้ปราศจากโมหะ

จึงเป็นของมีผลมาก.

นาทั้งหลายมีหญ้าเป็นโทษ
หมู่สัตว์นี้ก็มีความอยากเป็นโทษ
ฉะนั้นแล  ทานที่ให้ในท่านผู้ปราศจากความอยาก

จึงเป็นของมีผลมาก
.

เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง  อังกุรเทพบุตร  และอินทกเทพบุตร  บรรลุโสดาปัตติผล  พระธรรมเทศนา  มีประโยชน์  แม้แก่เหล่าเทพบุตรผู้มาประชุมกัน.


บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
เรื่องย่อในพระธรรมบท บทที่ 13 : โลกวรรค
ประวิติพระอรหันต์ พระสาวก ในสมัยพุทธกาล
เงาฝัน 10 8655 กระทู้ล่าสุด 09 มิถุนายน 2555 18:42:22
โดย เงาฝัน
เรื่องย่อในพระธรรมบท บทที่ 14 : พุทธวรรค
ประวิติพระอรหันต์ พระสาวก ในสมัยพุทธกาล
เงาฝัน 8 6722 กระทู้ล่าสุด 10 มิถุนายน 2555 13:21:45
โดย เงาฝัน
เรื่องย่อในพระธรรมบท บทที่ 15 : สุขวรรค
ประวิติพระอรหันต์ พระสาวก ในสมัยพุทธกาล
เงาฝัน 8 7128 กระทู้ล่าสุด 13 มิถุนายน 2555 23:43:21
โดย หมีงงในพงหญ้า
เรื่องย่อในพระธรรมบท บทที่ 16 : ปิยวรรค
ประวิติพระอรหันต์ พระสาวก ในสมัยพุทธกาล
เงาฝัน 7 7113 กระทู้ล่าสุด 08 กรกฎาคม 2555 18:31:25
โดย เงาฝัน
เรื่องย่อในพระธรรมบท บทที่ 17 : โกธวรรค
ประวิติพระอรหันต์ พระสาวก ในสมัยพุทธกาล
เงาฝัน 7 6646 กระทู้ล่าสุด 14 กรกฎาคม 2555 19:22:48
โดย เงาฝัน
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.55 วินาที กับ 34 คำสั่ง

Google visited last this page 15 มีนาคม 2567 09:09:01