[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
24 เมษายน 2567 11:52:15 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: มหาภารตะยุทธ :: มหาสงครามระหว่างธรรมะและอธรรม  (อ่าน 12962 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 4.0.1 Firefox 4.0.1


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 24 พฤษภาคม 2554 17:38:18 »





มหาภารตะยุทธ :: มหาสงครามระหว่างธรรมะและอธรรม

… “การอ่าน มหากาพย์มหาภารตะ ช่วยให้จิตใจของเรามีความเข้มแข็ง
วรรณกรรมชิ้นนี้ สอนให้เราตระหนักถึงความจริงที่ว่า เวรย่อมก่อให้เกิดเวร

ความโลภและการใช้ความรุนแรง มีแต่จะนำมนุษย์ไปสู่ความพินาศหายนะ
และการชนะที่แท้จริงนั้น อยู่ที่การชนะธรรมชาติฝ่ายต่ำในตัวของเราเอง” …



กาลเวลาเป็นผู้สร้าง กาลเวลาเป็นผู้ทำลาย
กาลเวลาเป็นเพลิงเผาไหม้ กาลเวลาเป็นเครื่องดับไฟนั้น

กาลเวลาเป็นเทพเจ้าแห่งการสร้างสรรค์ทั้งความดีและความชั่ว

กาลเวลาฟาดฟันเราให้หมองมัวและมอดม้วย

กาลเวลาช่วยสร้างสรรค์เราขึ้นมาใหม่

กาลเวลาไม่เคยหลับใหลในเมื่อทุกสิ่งทุกอย่างหลับหมด
กาลเวลาเท่านั้นที่ยืนยงคงยศในเมื่อทุกสิ่งทุกอย่างล้มล่ม

ปัจจุบัน อดีต และอนาคต อันอุดม ล้วนเป็นลูกของกาลเวลา

หากจะพรรณนาถึงมหากาพย์อันยิ่งใหญ่ของมนุษยชาติ ชาวไทยมักเคยคุ้นกับมหากาพย์รามายณะ หรือรามเกียรติ์ อันเป็นการต่อสู้ระหว่างพระเป็นเจ้าองค์นารายณ์อวตาร และอสูรนามทศกัณฑ์ เพราะถือเป็นหนึ่งในวรรณคดีชั้นสูงของไทย และเป็นหนึ่งเดียวที่ได้รับการนำมาเนื้อเรื่องสำหรับการแสดงโขน อย่างไรก็ตาม มหากาพย์อีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งมีความยิ่งใหญ่ไม่แพ้กัน นั่นคือ มหาภารตะยุทธ ถึงกับมีคำกล่าวว่า

“โอสถล้างตาช่วยให้นัยน์ตาสว่างขึ้นได้ฉันใด มหากาพย์มหาภารตะก็ช่วยให้โลกเกิดความสว่างไสวขึ้นได้ฉันนั้น จิตใจมนุษย์จักเบิกบานได้ด้วยมหากาพย์มหาภารตะ ดุจเดียวกับที่อัมพุชชาติเบิกบานได้ด้วยแสงพระจันทร์ มหากาพย์มหาภารตะเป็นประทีปที่ทำลายความมืดมนอนธกาล และอำนวยแต่ความสว่างสดใส มหากาพย์มหาภารตะเป็นพฤกษชาติอุดมด้วยดอกใบที่ไม่รู้จักอับเฉา หากมีผลอันหอมหวาน”

หากเป็นดังนี้แล้ว เราหรือควรละเว้น การศึกษามหากาพย์เรื่องนี้

ข้าพเจ้าเริ่มอ่านหนังสือเรื่องมหาภารตะ ที่ได้รับการแปลและเรียบเรียงโดย ท่านกรุณา - เรืองอุไร กุศลาสัย ตั้งแต่อยู่มัธยม และจดจำเรื่องราวได้ดี จนทุกวันนี้ อย่างไรก็ตาม เห็นว่าเนื้อหาที่ท่านทั้งสองได้เรียบเรียงนั้น ค่อนข้างเป็นบทสรุป เพราะหนังสือเล่มไม่ใหญ่เท่าที่ควร ต่อมาได้ฟังเรื่องเล่าจากมหากาพย์มหาภารตะทางรายการคุยกันจันทร์ถึงศุกร์ ของคุณวีระ ธีรภัทร จึงได้ทราบว่า มหากาพย์เรื่องนี้ รายละเอียดมากมายนัก และในเรื่องใหญ่ ๆ นั้น ก็มีเรื่องเล็กย่อย และเป็นเกร็ดความรู้อันประมาณไม่ได้ เมื่อคุณวีระได้ตัดสินในทำหนังสือเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ ข้าพเจ้าจึงไม่ลังเลที่จะเป็นเจ้าของ อย่างไรก็ตาม หลาย ๆ เรื่องที่เป็นเกร็ดความรู้ ที่ท่านผู้เขียนเคยเล่าไว้ในรายการวิทยุ ก็ไม่ปรากฏอยู่ในหนังสือ การเปิดหู เปิดตา จึงเป็นสิ่งเดียวที่จะทำให้ได้ทราบความต่าง ๆ ในเรื่องนี้ได้ครบถ้วน

มหาภารตะ (อักษรเทวนาครี: महाभारत) บางครั้งเรียกสั้นๆ ว่า ภารตะ โดยประพันธ์เป็นโศลกภาษา สันสกฤต ตามตำนานกล่าวว่าผู้แต่งมหากาพย์เรื่องนี้คือ ฤๅษีกฤษณะ ไทวปายนะ วยาส ในขณะที่ท่านดำริที่จะประพันธ์เรื่องมหาภารตะนั้น ท่านต้องการหาผู้จดบันทึกให้มีความถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ และมีภาษางดงามเหมาะเจาะ ท้ายที่สุด ท่านฤๅษีวยาส ได้อัญเชิญพระคเณศ อันเป็นเทพแห่งความรู้ มาดำเนินการดังกล่าว ทั้งนี้ พระคเณศมีข้อแม้ว่า ฤๅษีวยาสจะต้องเล่าเรื่องต่อเนื่องจนจบ ห้ามมีการสะดุดหยุดพักเป็นอันขาด ในขณะเดียวกันฤๅษีวยาส ได้ขอให้พระคเณศรับคำว่า ในการจดบันทึกนั้น พระคเณศจะต้องเข้าใจทุกตัวอักษร และเมื่อฤๅษีวยาสต้องการพักผ่อน ก็จะพรรณนาหลักธรรมอันลึกซึ้ง เพื่อให้พระคเณศใช้เวลาขบคิดไปพลางก่อน จึงนับได้ว่า เรื่องราวมหากาพย์มหาภารตะนี้ ได้มีที่มาจากนักปราชญ์บันลือโลกทั้งสององค์อย่างแท้จริง

มหาภารตะ นับเป็นมหากาพย์ที่ยาวที่สุดในโลก มีเนื้อหาซับซ้อน เล่าเรื่องอันยืดยาวที่เกี่ยวข้องกับเทพปกรณัม และหลักปรัชญาของอินเดีย ทั้งนี้ยังมีเรื่องย่อยๆ แทรกอยู่มากมาย ซึ่งหลายเรื่องก็เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในเมืองไทย เช่น ภควัทคีตา ศกุนตลา สาวิตรี พระนล กฤษณาสอนน้อง อนิรุทธ์ เป็นต้น ทั้งนี้ ยังถือว่าเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ที่สำคัญของศาสนาฮินดูด้วย นอกจากนี้ มหาภารตะนี้ยังสอดแทรกความรู้เกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณี วิถีชีวิต ศาสนา การเมือง ศิลปะหลายแขนง ประวัติความเป็นมาของวงศ์ตระกูลต่างๆ ในเรื่อง และธรรมเนียมประเพณีการรบการสงครามของอินเดียยุคโบราณด้วย

เนื้อหาของเรื่องเป็นการพรรณนาถึงสงครามขับเคี่ยวกันระหว่างพี่น้องสองตระกูล คือตระกูลเการพ กับตระกูลปาณฑพ ซึ่งทั้งสองตระกูลต่างสืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษคนเดียวกัน คือท้าวภรตแห่งกรุงหัสตินาปุระ เหตุการณ์ได้บานปลายจนกลายเป็นมหาสงครามที่ทุ่งกุรุเกษตร (ซึ่งอยู่ใกล้ๆกรุงเดลฮีในปัจจุบัน) การรบครั้งนี้ ต้องเสียรี้พลไปจำนวนมากสุดจะคณนานับได้ เป็น การต่อสู้ระหว่างฝ่ายธรรมะและฝ่ายอธรรม ความดีและความชั่ว ตลอดจน ถึงความยิ่งใหญ่ของราชวงศ์กุรุ (แห่งแคว้นกุรุรัฐ) ความดีงามของนางคานธารี ความปราดเปรื่องด้วยปัญญาของท้าววิทูร ความอดทนหนักแน่นของนางกุนตี ความเป็นเทพเจ้า (ทิพยภาวะ) ของพระกฤษณะ ความซื่อสัตย์ของพี่น้องปาณฑพทั้ง ๕ และกรรมชั่ว (บาปกรรม) ของพี่น้องเการพทั้ง ๑๐๑ คน ของท้าวฤตราษฎร์

แม้ว่าท้ายที่สุดพี่น้องปาณฑพได้ชัยชำนะเหนือสงครามทุ่งกุรุเกษตร แต่ความสูญเสียของพี่น้องทั้งสองฝ่ายสุดพรรณนาได้จริง ๆ แม้ไม่นับเหล่าเสนาระดับพลทหาร แม้แม่ทัพนายกองอันลือชื่อหลายต่อหลายคน ต้องสังเวยชีวิตแก่มหาสงครามนี้ ... อย่างไรก็ตาม ที่ใดมีสงคราม ที่นั่นย่อมมีวีรบุรุษ และไม่อาจปฏิเสธได้ว่า มหาสงครามสร้างให้อรชุนและพระกฤษณะ เป็นเทพเจ้าไปโดยปริยาย

บทส่งท้าย

การศึกษามหากาพย์มหาภารตะ พึงกระทำด้วยจิตอันมีศรัทธา ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นแล้ว แม้ศึกษาจริง ๆ เพียงหน้าหนังสือหน้าเดียว ก็จะช่วยชำระล้างจิตใจของผู้ศึกษาให้ใสสะอาดได้ มหากาพย์มหาภารตะมีความเลอเลิศอยู่ในท่ามกลางงานวรรณกรรม ดุจเดียวกับเนยใสมีความเลอเลิศอยู่ในท่ามกลางนมเปรี้ยว พราหมณ์มีความเลอเลิศอยู่ในท่ามกลางฝูงชน น้ำอมฤตมีความเลอเลิศอยู่ในท่ามกลางเภสัชทั้งหลาย ผู้ใดที่เข้าถึงมหากาพย์มหาภารตะ ผู้นั้นย่อมปลอดภัย ทั้งนี้ก็เพราะว่าการบำเพ็ญคุณธรรมก็ดี การศึกษาก็ดี การแสวงหาความจริง และการแสวงหาทรัพย์สินก็ดี เหล่านี้ล้วนเป็นกุศลกรรม การนำสิ่งเหล่านี้ไปใช้ในทางที่ผิดต่างหากที่ก่อให้เกิดภยันตราย

เพราะฉะนั้น สัตบุรุษพึงละทิ้งความเฉื่อยชา แล้วเร่งบำเพ็ญคุณงามความดี ความดีเท่านั้นที่เป็นมิตรของมนุษย์ ก็ใครเล่าจะสามารถครอบครองทรัพย์สิน และลูกเมียไว้ได้ตลอดไป ใครเล่าจะสามารถนำสิ่งเหล่านี้ติดตัวไปได้ในชีวิตข้างหน้า

แนะนำหนังสือ



nelumbo
๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๑
http://mblog.manager.co.th/nelumbo/th-18540/

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 25 พฤษภาคม 2554 04:49:05 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: แก้ลิ้งค์ภาพค่ะ » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 4.0.1 Firefox 4.0.1


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 25 พฤษภาคม 2554 04:43:35 »





คลิ๊กเพื่ออ่าน...

    มหาภารตะ :: มหาภารตยุทธ :: มหากาพย์มหาภารตะ

*... เรื่องย่อ มหาภารตะ



รวบรวมข้อมูลนำมาแบ่งปันโดย baby@home

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 4.0.1 Firefox 4.0.1


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 25 พฤษภาคม 2554 05:16:23 »





คลิ๊กเพื่ออ่าน...

ภควัทคีตา บทเพลงแห่งองค์ภควัน ***

คำสอนเรื่องพระเจ้าในภควัทคีตา (ท่าน สัตยา ไสบาบา)

ภควัทคีตา..บทเพลงแห่งองค์พระผู้เป็นเจ้า และ คัมภีร์มหาภารตะ

ศรีมัทภควัทคีตา (श्रीमद्भगवद्गीता - Shrimad Bhagavad Gita)




ภควัทคีตา ~บทเพลงแห่งองค์ภควัน~ (e-book)
http://www.sookjai.com/index.php?topic=903.0

ปรัชญาภควัทคีตา (๑)
ปรัชญาภควัทคีตา (๒)
โอม! ตัต! สัต! ภควัทคีตา!

 ยิ้ม  http://agaligohome.fx.gs/index.php?topic=3317.0





รวบรวมข้อมูลนำมาแบ่งปันโดย... baby@home

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 12.0 Firefox 12.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 16 พฤษภาคม 2555 17:44:53 »





ภควัทคีตา.. บทเพลงแห่งพระเจ้า (จากหนังสือภารตวิทยา)

ภควัทคีตา เป็นชื่อคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาฮินดู โดยเฉพาะสำหรับนิกายไวษณพหรือผู้ที่ยกย่องพระวิษณุ (พระนารายณ์) เป็นพระเจ้าสูงสุด ชื่อคัมภีร์ ภควัทคีตา (ภควตฺ + คีตา) แปลว่า "บทเพลง (หรือลำนำ) แห่งพระผู้เป็นเจ้า"

      คัมภีร์นี้มิได้มีลักษณะเป็นเอกเทศ คือมิได้แต่งขึ้นมาอย่างโดดเดี่ยวเป็นเล่มเฉพาะ เหมือนดังคัมภีร์พระเวทแต่ละเล่ม แท้ที่จริงเป็นเพียงบทสนทนาโต้ตอบระหว่างบุคคล 2 คน ซึ่งเป็นข้อความที่แทรกเข้ามาในบรรพที่ 6 (ภีษมบรรพ) แห่งมหากาพย์มหาภารตะ

       ในบทสนทนาโต้ตอบดังกล่าวนี้ ฝ่ายที่ถามปัญหาคือพระอรชุน เจ้าชายฝ่ายปาณฑพแห่งจันทรวงศ์ซึ่งเป็นผู้นำกองทัพใหญ่มาทำสงครามแย่งชิงเมืองหัสตินาปุระจากฝ่ายเการพแห่งจันทรวงศ์เช่นเดียวกัน ซึ่งมีเจ้าชายทุรโยธน์และกองทัพพันธมิตรมากมายเป็นศัตรูคู่สงครามด้วย
ฝ่ายที่ตอบปัญหาทั้งหมดและเป็นผู้อธิบายตลอดทั้งเรื่องก็คือ พระกฤษณะ ซึ่งเป็นพระญาติฝ่ายราชสกุลจันทรวงศ์ สาขายาทพ

        ในขณะที่ตอบปัญหาอันล้ำลึกดังกล่าวนั้น พระกฤษณะกำลังทำหน้าที่เป็นสารถีขับรถศึกให้พระอรชุน บทสนทนาโต้ตอบนี้ถ่ายทอดออกมาโดยสัญชัย ผู้เป็นเสวกามาตย์ของพระเจ้าธฤตราษฏร์ พระราชาพระเนตรบอดแห่งเมืองหัสตินาปุระ โดยมหาฤษีวยาสหรือพระฤษีกฤษณไทวปายนเป็นผู้ให้ตาทิพย์แก่สญชัย เพื่อแลเห็นเหตุการณ์รบพุ่งในมหาสงครามครั้งนั้นอย่างแจ่มแจ้งทั้งๆ ที่นั่งอยู่ในพระราชวัง และคอยกราบทูลพระเจ้าธฤตราษฎร์ให้ทราบการเคลื่อนไหวทุกขณะในสมรภูมิ

        เพราะฉะนั้นข้อความสนทนาระหว่างบุคคลทั้ง 2 ในสนามรบก่อนจะเริ่มมหาสงครามจึงเป็นถ้อยคำที่สัญชัยเรียบเรียงทูลถวายพระเจ้าธฤตราษฎร์ และมาให้ชื่อกันในภายหลังว่า ภควัทคีตา ทั้ง ๆ ที่ชื่อเดิมในมหาภารตะเรียกข้อความตอนนี้ว่า ภควัทคีโตปนิษัท (ภควตฺ + คีตา + อุปนิษทฺ)

         ด้วยเหตุที่มีข้อความหลายตอนคัดลอกมาจาก คัมภีร์อุปนิษัท ฉบับต่างๆ อันเป็นหมู่คัมภีร์รุ่นสุดท้ายในสมัยพระเวท ซึ่งเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เวทานตะ (ที่สุดแห่งพระเวท) ตลอดจนความคิดเรื่องอาตมัน ปรมาตมัน พรหมมัน อันเป็นแก่นหรือสาระสำคัญที่สุดในคำสอนของอุปนิษัททุกเล่ม ก็มีกล่าวถึงหลายต่อหลายครั้งในภควัทคีตา จะแตกต่างกันเล็กน้อยก็ตรงที่ว่าข้อความในคัมภีร์อุปนิษัทนั้นแต่งเป็นภาษาร้อยแก้ว แต่ในคัมภีร์ภควัทคีตาแต่งเป็นบทร้อยกรอง ฉะนั้น ถ้าจะกล่าวโดยแท้จริงแล้ว คำสอนในคัมภีร์ภควัทคีตา เกือบครึ่งเล่มเป็นคำสอนในคัมภีร์อุปนิษัท และอีกกว่าครึ่งเล่มเป็นคำสอนแบบของพวกภาควตะ ซึ่งบูชาพระกฤษณะเป็นเทพสูงสุดในนิกายของตน และคำสอนแบบดังกล่าวนี้มีมานานแล้วในหมู่พวกภาควตะอันเป็นชนอารยันอินเดียเผ่าหนึ่ง ต่อมาพวกนิกายไวษณพ หรือพวกที่นับถือพระวิษณุเป็นพระเจ้าสูงสุดได้ผนวกเอาพระกฤษณะเข้าไปเป็นพระวิษณุอวตาร หรือนารายณ์อวตารปางที่ 8

         คำสอนของพวกภาควตะซึ่งเน้นในเรื่องความนับถือพระกฤษณะเป็นเทพสูงสุดก็ถูกกลืนเข้าไปผสมผสานกับแนวความคิดของพวกไวษณพที่มีส่วนในการแต่งมหากาพย์มหาภารตะอยู่มากมายหลายตอนจึงปรากฏออกมาในรูปภควัทคีตาดังที่ปรากฏเป็นที่รู้จักกันทุกวันนี้ และการที่จะเรียกหนังสือศักดิ์สิทธิ์เล่มนี้ว่า ภควัทคีโตปนิษัท หรือ ภควัทคีตา หรือ คีตา เฉย ๆ ก็ย่อมเป็นที่เข้าใจกันว่าหมายถึงคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของคนอินเดียนิกายไวษณพ ในรูปแบบของบทสนทนาที่มีข้อความเกือบทั้งหมด เป็นคำอธิบายเรื่องวิถีทางไปสู่พระผู้เป็นเจ้าอันสูงสุด

        ส่วนบทที่เป็นคำถามของพระอรชุนในเรื่องความลึกลับและวิถีทางแห่งพระผู้เป็นเจ้านั้น ก็เป็นเพียงส่วนประกอบที่เล็กน้อยเหลือเกิน คล้าย ๆ กับเป็นบทเชื่อมต่อระหว่างคำอธิบายอันยืดยาว แต่ละตอนของพระเจ้าในร่างมนุษย์คือพระกฤษณะเท่านั้นเอง

คัมภีร์ภควัทคีตา แบ่งออกเป็นตอน ๆ เรียกว่า อัธยายะ รวมทั้งสิ้น 18 อัธยายะด้วยกัน
        ภควัทคีตา มี 18 อัธยายะ

          1.อรชุนวิษาทโยคะ (ความท้อถอยของอรชุน)
          2.สางขยโยคะ (หลักทฤษฎี)
          3.กรรมโยคะ (หลักปฏิบัติ)
          4.ชญาณกรรมสันยาสโยคะ (หลักจำแนกญาณ)
          5.กรรมสันยาสโยคะ (หลักว่าด้วยการสละกรรมและการประกอบกรรม)
          6.ธยานโยคะ (หลักการเข้าฌาน)

          7. ชญาณโยคะ (หลักญาณ)
          8. อักษรพรหมโยคะ (หลักว่าด้วยพรหมไม่เสื่อมเสีย)
          9. ราชวิทยาราชคุยหโยคะ (หลักว่าด้วยเจ้าแห่งวิทยาและเจ้าแห่งความลึกลับ)
         10.วิภูติโยคะ (หลักทิพยศักดิ์)
         11.วิศวรูปทรรศนโยคะ (หลักว่าด้วยการเห็นธรรมกาย)
         12.ภักติโยคะ (หลักความภักดี)

          13.เกษตรชญวิภาคโยคะ (หลักจำแนกร่างกายและผู้รู้ร่างกาย)
          14.คุณตรัยวิภาคโยคะ (หลักจำแนกคุณ 3)
          15.ปุรุโษตตมโยคะ (หลักว่าด้วยบุรุษประเสริฐ)
          16.ไทวาสุรสัมปทวิภาคโยคะ (หลักว่าด้วยการจำแนกเทวสมบัติและอสูรสมบัติ)
          17.ศรัทธาตรัยวิภาคโยคะ (หลักจำแนกศรัทธา 3)
          18.โมกษสันยาสโยคะ (หลักว่าด้วยการสละที่เป็นปฏิปทาแห่งโมกษะ)

คัมภีร์ภควัทคีตาว่าด้วยหลักธรรม 2 ประการ
              คือ หลักอภิปรัชญา ว่าด้วยเรื่องอาตมันว่ามีสภาพเป็นสัตว์ที่เที่ยงแท้ถาวร ไม่มีใครฆ่าหรือทำลายได้ และหลักจริยศาสตร์ ว่าด้วยธรรมะหรือหน้าที่ของกษัตริย์ คือหน้าที่รบเพื่อทำลายล้างอธรรม และผดุงศีลธรรมโดยไม่หวังผลตอบแทน
     
            มหากาพย์มหาภารตะ เป็นเอกภาพในท่ามกลางความแตกต่าง และเจตจำนงของวรรณกรรมชิ้นที่ได้สร้างภาพประทับใจให้เกิดแก่ผู้อ่านและผู้ฟังว่า อินเดียเป็นผืนแผ่นดินทีขึ้นอยู่กับศูนย์กลางการปกครองแหล่งเดียวกัน มีขนบธรรมเนียมอันองอาจแกล้วกล้าของตนเอง เป็นเครื่องช่วงหล่อหลอมและสมัครสมานความสามัคคี” 
                     
           มหากาพย์มหาภารตะนี้ได้เน้นสอนให้เรารู้จักความสำคัญของหลักศีลธรรมและจริยธรรมในการปกครองบ้านเมือง ตลอดจนในการดำเนินชีวิตโดยทั่วๆ ไป ซึ่งเราเรียกว่า ธรรมะ หากปราศจากพื้นฐานแห่งธรรมนี้แล้วไซ้ร์ ชีวิตก็จะไม่มีความสุขอย่างแท้จริง และสังคมก็จะไม่มีอะไรเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวกันไว้ได้ เป้าหมายที่คนในสมัยนั้นต้องการบรรลุถึงก็คือ สวัสดิภาพของสังคม ซึ่งมิใช่เป็นแต่เพียงสวัสดิภาพของชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะเท่านั้น หากแต่เป็นสวัสดิภาพของสังคมทั้งผอง ทั้งนี้ก็เป็นไปตามอุดมการณ์ที่ว่า    “ในโลกนี้สรรพสัตว์ย่อมต้องพึ่งพาอาศัยกัน

           แต่ถึงกระนั้นธรรมะเองก็สัมพันธ์และขึ้นอยู่กับกาลเวลาและสภาวการณ์ที่เป็นอยู่ ยกเว้นแต่หลักอันเป็นมูลฐานบางประการ เช่น หลักแห่งการยึดมั่นอยู่กับสัจธรรม หลักแห่งการไม่เบียดเบียนผู้อื่น หรือที่เรียกกันว่าหลักอหิงสา ฯลฯ อันเป็นหลักที่ธำรงอยู่โดยไม่มีวันเปลี่ยนแปลง ส่วนหลักอื่นนอกเหนือจากนี้ที่เรียกกันว่า ธรรมะ อันหมายถึง สิ่งที่รวมกันเข้าเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบนั้น ย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย

           หลักอหิงสา ได้รับการเน้นหนักในมหากาพย์มหาภารตะนี้ เช่นเดียวกับที่ได้รับการเน้นหนักในที่อื่น ทั้งนี้เป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก เพราะว่า หลักการนี้ดูไม่ขัดอะไรกับอุดมการณ์ของการต่อสู้เพื่อเป้าหมายอันชอบธรรมเลย มหากาพย์มหาภารตะ ทั้งเล่มมีจุดใหญ่ใจกลางอยู่ที่การรบอันยิ่งใหญ่ คือ มหาภารตะยุทธ์

            โดยทั่วไปแล้วมโนคติอันเกี่ยวกับอหิงสา หรือหลักไม่เบียดเบียนกันนั้น ดูเหมือนจะมีความสัมพันธ์อย่างมากกับเจตนา อันหมายถึง ไม่มีจิตใจเคียดแค้น การมีสติสัมปชัญญะควบคุมตนเองได้ และการอดกลั้นต่อความโกรธ และความชิงชัง แทนที่จะหมายถึงเพียงการเลิกละหรือยับยั้งจากการกระทำอันรุนแรงใดๆ ในเมื่อการกระทำเช่นนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นและหลีกเลี่ยงไม่ได้”

            ศรีเนห์รู รัฐบุรุษ ผู้เป็นที่รักยิ่งของชาวอินเดียเกือบ 500 ล้านคน ได้เขียนพรรณนาคุณค่าของ มหากาพย์มหาภารตะ ต่อไปว่า
 “ มหากาพย์มหาภารตะ เป็นคลังพัสดุที่เราสามารถค้นหาสิ่งดีมีค่านานาประการได้อย่างครบถ้วน เป็นงานวรรณกรรมที่เต็มไปด้วยชีวิตชีวา หลากรสหลายชนิด และอุดมสมบูรณ์อย่างล้นเหลือ ซึ่งผิดแผกแตกต่างอย่างมากมาย กับอีกลักษณะหนึ่งในแนวความคิด ในยุคต่อมาของอินเดีย อันเป็นแนวความคิดที่ เน้นถึงความสำคัญของการบำเพ็ญพรตและการละเว้นจากโลกีย์วิสัย

           มหากาพย์มหาภารตะ มิใช่เป็นงานวรรณกรรมที่บรรจงแต่คำสอนในเรื่องอันเกี่ยวกับศีลธรรมเท่านั้น แม้ว่าจะมีเรื่องประเภทนี้อยู่ไม่น้อยก็ตาม สาระสำคัญของหนังสือเล่มนี้ ได้สรุปเป็นใจความดังนี้ว่า
 “จงอย่าทำสิ่งที่ท่านไม่อยากให้ผู้อื่นกระทำต่อท่าน” เป็นที่น่าสังเกตว่า มหากาพย์โบราณชิ้นนี้ ได้เน้นหนักถึงเรื่อง สวัสดิภาพของสังคม ทั้งนี้ก็เพราะว่าจิตใจของชาวอินเดียนั้น มักจะมีผู้เข้าใจกันว่า

          มีความโน้มเอียงไปในทางหาความสมบูรณ์หรือสัมฤทธิ์ผลส่วนบุคคล แทนที่จะคำนึงถึงสวัสดิภาพของส่วนรวม มหากาพย์มหาภารตะสอนว่า
 “สิ่งใดที่ไม่ก่อผลดีให้แก่สวัสดิภาพของสังคม หรือสิ่งใดที่สร้างความละอายใจให้แก่ท่าน สิ่งนั้นขอท่านจงอย่ากระทำเป็นอันขาด”

      นอกจากนี้มหากาพย์มหาภารตะยังได้สอนไว้อีกว่า
“ การแสวงหาสัจธรรม การควบคุมตนเอง การปฏิบัติสมาธิภาวนา การบำเพ็ญทาน การไม่เบียดเบียนกัน การยึดมั่นในคุณธรรม เหล่านี้ต่างหากคือ หนทางไปสู่ความสำเร็จ หาใช่ชาติกำเนิดวรรณะหรือสกุลไม่
คุณธรรมเป็นสิ่งประเสริฐกว่าความไม่ตายและการมีชีวิต”
ความสุขที่แท้จริงนั้น จะแยกออกเสียจากความทุกข์หาได้ไม่” ส่วนผู้ที่มุ่งแต่จะแสวงหาทรัพย์สมบัติเพียงอย่างเดียวในชีวิตนั้น
        มหากาพย์มหาภารตะ ก็มีคำเหน็บแนมฝากเตือนใจไว้ว่า  “ตัวไหมย่อมตายด้วยไหมของมันเอง
และท้ายที่สุด มหากาพย์มหาภารตะ มีคติพจน์ที่สะท้อนให้เห็นถึง จิตใจของชนชาติที่รักความก้าวหน้า และเต็มไปด้วยชีวิตชีวา คติพจน์นั่นก็คือ "ความไม่พอใจเป็นสิ่งที่กระตุ้นเตือนให้มนุษย์เราก้าวไปข้างหน้า”
ท่านศรีเนห์รูได้กล่าวไว้ในหนังสือ The Discovery of India ของท่าน

ขอขอบคุณแหล่งความรู้ดีดีจากหนังสือภารตวิทยา
                             ของ ท่านอาจารย์ กรุณา-เรืองอุไร- กุศลาสัย



ฮะเร กฤษณะ ฮะเร กฤษณะ
กฤษณะ กฤษณะ ฮะเร ฮะเร
ฮะเร รามะ ฮะเร รามะ
รามะ รามะ ฮะเร ฮะเร




http://www.indiaindream.com/%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%B0/%E0%B8%A0%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%B5%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2.html

บันทึกการเข้า
คำค้น: มหากาพย์ baby@home 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.676 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 18 เมษายน 2567 12:58:22