[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 00:30:16 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ปรีชาญาณของผู้ไม่รู้หนังสือ โดยท่านเขมานันทะ  (อ่าน 4341 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 21.0.1180.79 Chrome 21.0.1180.79


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 17 สิงหาคม 2555 20:36:31 »



ปรีชาญาณของผู้ไม่รู้หนังสือ (หลวงพ่อเทียนทีข้าพเจ้ารู้จัก)
ผู้เขียน:ท่านเขมานันทะ

มันไม่ใช่เรื่องปัจจุบัน ถ้ากำหนดจดจ่ออยู่กับปัจจุบัน ก็ติดอยู่เท่านั้นเอง ต้องไปให้พ้นจากปัจจุบัน
เมื่อคุณได้ยินประโยคที่กล่าวถึงนี้ คุณคิดอย่างไร รู้สึกอย่างไร …ไปให้พ้นจากปัจจุบัน…?
คุณจะรู้สึกและคิดอย่างไรที่ได้ยินประโยคนี้จากครูอาจารย์ที่สอนให้คุณเจริญสติเพื่อให้รู้จักอยู่กับ “ปัจจุบันขณะ” ?


โดยส่วนตัวแล้ว เมื่ออ่านเจอประโยคนี้ในหนังสือ ในขณะที่ตนเองกำลังติดตันอยู่กับสภาพปัญหาปัจจุบันที่เหมือนหาทางออกไม่ได้ กลับรู้สึกเหมือนมีพระมาโปรด เป็นสติให้กับคำถามให้กับความคับข้องใจกับหลายทางเลือกของชีวิตขณะนี้ และสำนวนที่ว่า “เหมือนมีพระมาโปรด” ในเชิงเปรียบเทียบนั้น ในความเป็นจริงคือเรื่องเล่าถึง “พระจริง”จากนักเขียนอมตะนาม เขมานันนทะ หรือนามที่แท้จริงอาจารย์โกวิท เอนกชัยในหนังสือชื่อ “ปรีชาญาณของผู้ไม่รู้หนังสือ” และอาจารย์ผู้ไม่รู้หนังสือของท่านเขมานันทะที่ขยายความผ่านชื่อหนังสือเล่มนี้คือ หลวงพ่อเทียนที่ข้าพเจ้ารู้จัก

ในฐานะศิษย์ ท่านเขมานันทะเล่าถึงหลวงพ่อเทียนผ่านคุณลักษณะของการเป็น”ครู” ที่สอนธรรมะแบบไร้รูปแบบ ทั้งที่คนจำนวนมากนับถือท่านในฐานะปรมาจารย์แห่งการเจริญสติในรูปแบบการเคลื่อนไหวเพื่อสร้างความรู้สึกตัว เป็นพระหลวงพ่อที่อาจารย์โกวิทหรือท่านเขมานันทะบอกว่า “เป็นการยากมากที่จะพูดถึงเรื่องนี้อย่างดีที่สุด …หลายครั้งที่ผมไม่รู้จักหลวงพ่อเลย แต่หลายครั้งที่รู้สึกเหมือนกับว่าท่านเข้ามานั่งแทรกอยู่ในหัวใจผม”

“หลวงพ่อเป็นคนธรรมดา และในความธรรมดานี้เอง ผมถือว่าเป็นสิ่งที่ดีที่สุดอันเป็นของขวัญสำหรับเพื่อนมนุษย์ ท่านมิใช่อัจฉริยะที่พวกเราไม่อาจเข้าถึงได้ หลวงพ่อพูดเสมอว่า หลวงพ่อไม่รู้อะไรเลย ไม่มีอะไรเลย ตายเมื่อไรก็ได้ แต่หลังจากฟังท่านแล้ว ผมก็ไม่เชื่อว่าท่านไม่รู้อะไร เมื่อถามอีกว่า หลวงพ่อไม่รู้อะไรจริง ๆ หรือ ท่านก็บอกว่ารู้ ท่านจะกลับไปกลับมาอยู่อย่างนี้ ผมมานั่งคิดว่า ท่านไม่ใช่คนตลบตะแลงหรือตีฝีปากจัดจ้าน ท่านเป็นมนุษย์ที่ซื่อ ท่านบอกข่าวสารอย่างซื่อตรง ไม่เคยกลับกลอก แต่ว่าตัวที่กลับกลอกจริง ๆ นั้นคือตัวความคิด..


ในครึ่งแรกของหนังสือจะเป็นการเล่าถึงวิธีการสอนของหลวงพ่อเทียนที่ “ไร้รูปแบบ” แต่เหมือนนักบอลที่ชู้ตลูกเข้าประตูได้ในทุกสถานการณ์ ท่านเขมานันทะเล่าว่า “ในรูปร่างหน้าตาเฉย ๆ ซื่อ ๆ ของท่านนั้น มีความกระฉับกระเฉงฉับพลันทางปัญญาซ่อนแฝงอยู่ ท่านฟังทุกถ้อยคำที่เราพูด แต่ก็ทำเหมือนไม่ฟัง ไม่รู้ไม่เห็น และเข้ามาถูกจังหวะจะโคนเสมอ

เรื่องของหลวงพ่อเทียนถูกบอกเล่าผ่านภาษาที่เรียบ นิ่ง สัมผัสได้ถึงความเป็นกลางปราศจากการแต่งแต้มตกแต่งเรื่องราว แต่ช่างให้ความรู้สึกสดใหม่ต่อวิธีการสอนที่ฉับพลันทันการณ์ต่อบุคคลในแต่ละช่วงขณะ เพื่อให้ศิษย์เข้าถึงความรู้สึกตัว ในภาวะที่รู้แบบรู้แล้วผ่านเลย “รู้ แต่อย่าให้มันรู้อะไรเข้า


ในตอนหนึ่งของหนังสือ ท่านเขมานันทะเล่าว่า “เมื่อสิบปีที่แล้วรู้สึกรังเกียจที่จะไปนั่งยกมือ รู้สึกเขิน คิดว่าไม่มีอะไร เพราะเป็นรูปแบบ และพวกเราไม่ถือรูปแบบใด ๆ ทั้งสิ้น อันนี้นับว่าเป็นการเข้าใจผิด สิ่งนี้ไม่ใช่รูปแบบ แต่เป็นการกระทำซื่อ ๆ ตรง ๆ ให้สภาวะซึ่งเป็นแล้วมีแล้วได้แสดงตัวออกมา พอมีการยกมือเคลื่อนเท่านั้น ท่านจะกำหนดรู้หรือไม่ย่อมไม่สำคัญอะไร แต่เมื่อมีการเคลื่อนเช่นนี้ จะเกิดการงานร่วมกันระหว่างรูปกับนามบนฐานของการเคลื่อนไหว อันทำให้ชีวิตเข้าสู่ทางของมันอย่างง่ายดาย อีกทั้งรู้เห็นเข้าใจรูปทำ (การงานของรูป) และนามทำ (การงานของนาม) ได้เอง

“นับแต่จักรวาลอันกว้างใหญ่ไพศาล ล้วนขึ้นอยู่กับหลักของการเคลื่อนไหว รวมไปถึงโครงสร้างของอะตอม การเคลื่อนไหวและการดิ้นรน ลักษณะเช่นนี้คือไตรลักษณ์ ได้แก่อนิจจตา ทุกขตา อนัตตา อันเป็นกฎของธรรมชาติ ในเมื่อผู้ใดได้เข้าไปรู้ไปเห็นสัจจะนี้ ปรีชาญาณอันนี้แหละจะเข้าไปแก้ทุกข์ มันจะแก้ของมันเอง การที่จะเห็นหรือเข้าถึงสภาวะดับทุกข์นั้น เข้าถึงไม่ได้โดยความคิด สมองของมนุษย์ทำงานอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่จำกัด และดังนั้นความพยายามใด ๆ ที่จะเข้าใจธรรมะโดยการมุ่งขบคิดประเด็นให้แตกหัก จึงย่อมพบแต่ความล้มเหลว เพราะธรรมะแท้นั้นเข้าถึงด้วยความคิดไม่ได้

แม้จะเห็นด้วยว่า ธรรมะแท้นั้นเข้าถึงด้วยความคิดไม่ได้ แต่หนังสือเล่มนี้ก็อธิบายหลายอย่างเกี่ยวกับความคิดที่คนช่างคิดไม่สามารถคิดได้ เพราะ “สิ่งที่เรียกว่าความรู้กับอาการรู้นั้นต่างกัน” ท่านเขมานันทะอธิบายความตรงนี้ว่า “สองสิ่งนี้ไม่เหมือนกัน ความรู้อยู่ที่ความจำ ถ้าคุณจำได้แม่น จำได้มาก ก็คิดได้เก่ง คิดได้ไกล ถ้าจำได้น้อยก็คิดได้น้อย คิดไม่เก่ง ถ้าจำไม่ได้เลยก็คิดไม่ได้ คิดไม่ออก ดังนั้นกระบวนการของความรู้จึงเป็นการสะสมหน่วยของความจำ ในเมื่อเราโยงความจำเหล่านี้เข้าด้วยกัน สำเร็จรูปออกมาเป็นความคิดเป็นทฤษฎีได้ คนที่จำอะไรได้เยอะก็เข้าใจอะไรได้กว้าง คิดเก่ง หาบทสรุปได้ดี นั่นคือความรู้ ผู้ใดที่ความจำเสื่อมหรือมีข้อมูลไม่พอ ประสิทธิภาพของความรู้ก็หย่อน ส่วนสิ่งที่เรียกว่า “อาการรู้” นั้น เป็นความสว่างไสว พร้อมที่จะรู้ ซึ่งเป็นตัวความรู้ในตัว เป็นอาการรู้ตัว เนื่องในสัญชาตญาณและการโพลงตัวของจิต(ชุติมนฺโต)

อ่านแล้วก็ได้คิดว่า นั่นสินะ ไอ้ที่ตัวเองวุ่นวายอยู่ทุกวันนี้ก็เพราะความจำเยอะความคิดแยะ แต่เป็นความคิดความจำที่อยู่ข้างนอกตัว นี่ทำให้เกิดนั่น นั่นเป็นผลพวงของโน่น โน่นเป็นผลกระทบของโน้น โอย..โยงใยยุ่งยาก..คิดเป็นเหตุเป็นผลไปหมดเหมือนกับรู้ไปหมด แต่ท่านเขมานันทะเขียนถึงเรื่องนี้ไว้ว่า “ส่วนใหญ่เราไม่เป็นตัวของตัวเอง เราเป็นของความคิด ถูกความคิดบงการ เรามักพัวพันอยู่กับความคิดเช่นนั้น

ท่านเขมานันทะเล่าว่าสิ่งที่เรียนรู้จากหลวงพ่อเทียนไม่ใช่คำสอนที่เป็นคำอธิบาย แต่เป็น “กลวิธีหรือความกระฉับกระเฉงของหลวงพ่อเอง” ระยะเวลาที่ท่านเขมานันทะ “ไปมาหาสู่” กับหลวงพ่อเทียนนั้นประมาณสิบแปดหรือสิบห้าปีเป็นอย่างน้อย แต่ “หกปีแรกนั้น ผมเองไม่สามารถปลงใจเชื่อวิธีการของท่านได้ บางวันท่านบอกผมให้เดินดูใจ ผมก็เดินดูใจทั้งวัน พอรุ่งเช้าท่านมาบอกว่า “ใจไม่มี” ก็เลยสับสน ไม่รู้ท่านจะเอาอย่างไรกันแน่ ผมจึงไปบอกท่านว่า “หลวงพ่อครับ ผมฟุ้งซ่านมาก ผมเป็นคนติดคิด” หลวงพ่อบอก “ดี ให้มันฟุ้งอย่างนี้”และบอกผมว่าอย่าไปนั่งสงบเข้า เพราะเรียนมาในทางสงบเจริญสมถะคือการข่มนิวรณ์ ๕ ได้แล้ว ก็ยกจิตขึ้นสู่วิปัสสนา นี่คือหลักที่เรียกว่ากรรมฐาน หลักเดิมที่เราเรียนกันมา พอผมนั่งนิ่งสงบ หลวงพ่อก็แอบมาข้างหลัง เอานิ้วจี้แขนผม แล้วถามว่า นั่งทำไม ผมไม่เข้าใจท่านเลยว่าทำไมต้องมารบกวนเวลาของผมด้วย ผมเชื่อว่าเมื่อจิตใจสงบมาก ๆ แล้ว ก็จะไปถึงที่สุดของความสงบ แต่เรื่องของเรื่องกลับกลายเป็นติดในสิ่งที่รู้…”

ผู้เขียนเล่าไว้ว่า “อาจารย์ผมท่านไม่รู้ด้วยซ้ำว่าโลกกลม และยังเข้าใจผิดว่าโลกแบนด้วย ผมเคยอธิบายให้ท่านฟังว่าโลกกลม ท่านแสดงอาการแปลกใจมาก ท่านไม่รู้หนังสือหนังหา แต่ว่าอาการตื่นตัวนี้มากพอที่จะสอนคนที่มีความรู้มาก ๆ และหลงทางได้ ความรู้ที่มากเกินอาจกลายเป็นกองขยะได้ ยิ่งมีมากก็ยิ่งส่งกลิ่นเหม็นเน่า แต่ว่าขยะมูลฝอยเหล่านั้นเป็นปุ๋ยได้ถ้าเรารู้จักใช้ การรู้ตัวเหมือนเครื่องกำจัดสิ่งเน่าเสีย แต่ถ้ารู้แบบความรู้ คิดเก่ง ก็ไม่ค่อยจะรู้ตัว แล้วทำอะไรน่าเกลียดน่าชัง ทั้งเป็นทุกข์ร้อนใจง่าย” วิธีการสอนของหลวงพ่อเทียนที่มีต่อผู้เขียนหรือท่านเขมานันทะจึงมักพุ่งตรงไปที่ความรู้ตัวแบบ “รู้สึกตัวเฉย ๆ ล้วน ๆ ถ้วน ๆ จากจุดนี้มันจะคลี่คลายปัญหาทั้งหมด

คุณปรีชา ก้อนทองซึ่งเขียนคำนิยมในหนังสือเล่มนี้เห็นว่า ท่านเขมานันทะเขียนหนังสือเล่มนี้เป็นปฏิบัติบูชาคุณแด่ครู “เราได้พบหลวงพ่อเทียน รู้จักหลวงพ่อ รับรู้ได้ถึง “ปรีชาญาณของผู้ไม่รู้หนังสือ” อย่างกระจ่างชัดเจน กิจของท่าน “เขมานันทะ” ในการนำเราไปพบพระดีได้จบลงอย่างสมบูรณ์

เกริ่นไว้แค่นี้ก่อนก็แล้วกันนะคะ สำหรับผู้สนใจอยากเรียนรู้จัก “ปรีชาญาณของผู้ไม่รู้หนังสือ” คงต้องหาอ่านเอง หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่อยากเขียนถึงมากที่สุดแต่เขียนถึงได้ยากที่สุด เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างการอ่านและเมื่ออ่านหนังสือเล่มนี้จบลง ไม่สามารถสื่อความออกมาด้วยตัวหนังสือ เพราะหลายอย่างเป็น “ภาษา” ที่รับรู้ได้โดยตรงที่ใจ

หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่งดงาม เป็นเรื่องเล่าจากศิษย์ถึงอาจารย์ที่ผู้เขียนหรือท่านเขมานันทะกล่าวไว้ในตอนต้นเรื่องว่า “ระมัดระวังสังวร ไม่ให้น้อย ไม่ให้มากเกิน” เรื่องเล่าและช่องว่างบางอย่างในความบอกเล่าจึงมีหลายช่วงตอนที่ผู้อ่านต้องสัมผัสด้วยใจ ไม่ใช่ความคิด โดยส่วนตัวแล้วเมื่อเขียนถึงหนังสือเล่มนี้ ความคิดหลายอย่างหยุดลง และเมื่อความคิดที่กินเนื้อที่เกือบทั้งหมดในสมองและความรู้สึกที่ยึดครองจิตใจอันเนื่องมาจากความคิดจางลง ตัวเองก็รู้สึกเหมือนชีวิตมีพื้นที่เพิ่มขึ้น แม้จะไม่ถึงขั้น “ว่าง” แต่ก็รู้สึกโปร่ง โล่ง และสบาย

หมายเหตุ
ชื่อหนังสือ: ปรีชาญาณของผู้ไม่รู้หนังสือ (หลวงพ่อเทียนที่ข้าพเจ้ารู้จัก)
ผู้เขียน: เขมานันทะ
สำนักพิมพ์อมรินทร์ พิมพ์ครั้งที่สอง สิงหาคม ๒๕๕๐
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=kangsadal&month=05-04-2010&group=3&gblog=14

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
เนื่องในสติปัฏฐาน จาก ปรีชาญาณของผู้ไม่รู้หนังสือ (เขมานันทะ)
ห้องวิปัสสนา - มหาสติปัฏฐาน 4
มดเอ๊ก 0 1208 กระทู้ล่าสุด 23 สิงหาคม 2559 00:59:57
โดย มดเอ๊ก
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.569 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page วานนี้