[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
25 เมษายน 2567 20:09:10 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: โรคความดันโลหิตสูง  (อ่าน 10700 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
wondermay
บุคคลทั่วไป
« เมื่อ: 29 สิงหาคม 2555 22:56:41 »


ความดันโลหิตสูง
(Hypertension)

      
   ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการแต่อย่างใด และมักจะตรวจพบโดยบังเอิญ ขณะไปให้แพทย์ตรวจรักษาด้วยปัญหาอื่น

           ส่วนน้อยอาจมีอาการปวดมึนท้ายทอย ตึงที่ต้นคอ วิงเวียน มักจะ เป็นเวลาตื่นนอนใหม่ ๆ พอตอนสายจะทุเลาไปเอง
           บางรายอาจมีอาการปวดศีรษะตุบ ๆ แบบไมเกรนได้
          
           ในรายที่เป็นมานาน ๆ หรือความดันโลหิตสูงมาก ๆ อาจมีอาการ อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ใจสั่น นอนไม่หลับ มือเท้าชา ตามัว หรือมีเลือด กำเดาไหล
           เมื่อปล่อยทิ้งไว้นาน ๆ โดยไม่ได้รับการรักษา ก็อาจแสดงอาการของ ภาวะแทรกซ้อน เช่น เจ็บหน้าอก บวม หอบเหนื่อย แขนขาเป็นอัมพาต เป็นต้น



ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยความดันโลหิตสูง
 ตลก ตลก ตลก ตลก ตลก ตลก ตลก

จำกัดปริมาณเกลือ โดยงดการกินอาหารเค็ม อาหารที่ใส่ผงฟู หรือสารกันบูด
ถ้าอ้วน ลดน้ำหนักตัว โดยลดอาหารพวกไขมัน
ลดไขมันในเลือด ไปพร้อมกันด้วยเพิ่มสารเส้นใยในอาหาร กินข้าวกล้อง กินผักพื้นบ้านที่มีเส้นใยสูง เช่น มะระ มะเขือพวง สะเดา
กินผักพื้นบ้านช่วยขับปัสสาวะ บำรุงไต เช่น กระชาย ตะไคร้ ใบขลู่ ยอดกระเจี๊ยบแดง การต้ม ตะไคร้ดื่มแทนน้ำชาก็ช่วยได้
งดเหล้างดบุหรี่เพราะจะทำให้รักษาไม่ได้ผลและเกิดภาวะแทรกซ้อนทางหัวใจและหลอดเลือด
ออกกำลังกายเป็นประจำ เช่น เดินเร็ว ๆ
ทำจิตใจให้สงบมีสมาธิ หลีกเลี่ยงจากสิ่งที่ทำให้หงุดหงิด โมโห ตื่นเต้น หรือเครียด
น้ำใบบัวบก น้ำกระเจี๊ยบแดง เม็ดชุมเห็ดไทย คั่วแล้วชงน้ำดื่ม ช่วยลดความดันโลหิตสูงได้ดี



ลดเค็ม ลดความดันโลหิต
ป้องกันความดันโลหิตสูงต้องลดเค็ม
ช๊อค ช๊อค ช๊อค ช๊อค


คุณรู้หรือไม่ว่า : การบริโภคอาหารที่มีรสเค็มจัด หรืออาหารที่มีปริมาณเกลือและโซเดียมสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคหรือภาวะความดันโลหิตสูง ในการบริโภคอาหารแต่ละวันนอก
จากเราจะได้รับปริมาณเกลือและโซเดียมที่ถูกปรุงแต่งในกระบวนการผลิตและการแปรรูปอาหารแล้ว ในขั้นตอนการประกอบอาหารยังมีการเพิ่มปริมาณเกลือ น้ำปลา ซอสปรุงรสต่างๆ
เพิ่มในขณะรับประทานอาหารแต่ละมื้อ ทำให้ร่างกายได้รับปริมาณเกลือและโซเดียมเกินความต้องการ ซึ่งการบริโภคเกลือและโซเดียมเกินความต้องการเช่นนี้มีผลกระทบต่อภาวะความดันโลหิตสูง
การฝึกนิสัยการรับประทานอาหารทีมีรสชาติพอดีไม่เค็ม จะเป็นการลดปริมาณการบริโภคเกลือและโซเดียม ซึ่งสามารถลดปัจจัยเสี่ยงและควบคุมภาวะความดันโลหิตสูงได้ เมื่อสามารถควบคุม
ภาวะความดันโลหิตสูงได้ก่อจะส่งผลไปสู่การลดการเกิดปัญหาสุขภาพจากกลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือดเช่นกัน


ข้อแนะนำในการลดการบริโภคเกลือและโซเดียม :-
๑ เลือกซื้อผัก ผลไม้และเนื้อสัตว์ที่สดใหม่แทนการเลือกซื้ออาหารกระป๋อง ผักดองและอาหารสำเร็จรูป
๒ หากต้องเลือกซื้ออาหารกระป๋องหรืออาหารสำเร็จรูปควรอ่านฉลากอาหารทุกครั้ง และเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีปริมาณโซเดียมต่ำหรือน้อย
(สำหรับประชาชนทั่วไปควรบริโภคเกลือไม่เกินวันละ 1 ช้อนชา หรือน้อยกว่า 6 กรัมต่อวัน)
๓ ล้างผักและเนื้อสัตว์ที่ใช้ประกอบอาหารให้สะอาด เพื่อชะล้างเกลือออก
๔ ลดการใช้เกลือและเครื่องปรุงรส หันมาใช้เครื่องเทศและสมุนไพรที่มีปริมาณโซเดียมต่ำ เช่น หัวหอม กระเทียม ขิง พริกไทย มะนาว ผงกระหรี่ แทน
๕ ไม่วางภาชนะหรือขวดใส่เกลือรวมทั้งเครื่องปรุงรสต่างๆ เช่น ซอส  ซีอิ๊วขาวและน้ำปลาไว้บนโต๊ะอาหารทุกมื้อ
๖. ชิมอาหารก่อนรับประทาน ฝึกการรับประทานอาหารที่มีรสชาติพอเหมาะ ไม่เค็มจัดหรือหวานจัด
๗ ปรุงอาหารรับประทานอาหารเองแทนการรับประทานอาหารนอกบ้าน    หรือการซื้ออาหารสำเร็จรูป


อาหารที่มีเกลือโซเดียมสูง ได้แก่
๑ อาหารที่ใช้เกลือปรุงรส ได้แก่  ซอสรสเค็ม (เช่น น้ำปลา ซี้อิ๊ว ซอสหอยนางรม เต้าเจี้ยว), ซอสหลายรส  (เช่น ซอสมะเขือเทศ ซอสพริก ซี้อิ๊วหวาน)
๒ อาหารที่ใช้เกลือถนอมอาหาร ได้แก่ อาหารตากแห้ง เช่น กะปิ เต้าหู้ยี้ แหนม, อาหารปรุงต่างๆ เช่น ไส้กรอก หมูยอ กุนเชียง  ผลไม้ดอง ผักดอง รวมถึงอาหารสำเร็จรูปชนิดผง เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม
อาหารที่มีเกลือโซเดียมปานกลาง ได้แก่ เป็นอาหารที่ใส่สารปรุงแต่งรส  ได้แก่  ผงชูรส  สารกันบูด  ผงฟู  
อาหารที่มีโซเดียมอยู่ตามธรรมชาติ ได้แก่ เนื้อสัตว์ต่างๆ โดยเฉพาะอาหารทะเล เช่น  กุ้ง ปู หอย ปลาทะเล  
การเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคโดยลดการบริโภคเกลือและโซเดียม หรือลดเค็มนั่นเอง ก็จะเพิ่มตัวช่วยให้ห่างไกลจากโรคความดันโลหิตสูง
ดังเช่นคำที่ว่า "ลดเค็ม ลดความดัน ป้องกันอัมพฤกษ์ อัมพาต"


นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่: 340
เดือน/ปี: สิงหาคม 2007

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 29 สิงหาคม 2555 23:18:09 โดย wondermay » บันทึกการเข้า
 
wondermay
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #1 เมื่อ: 29 สิงหาคม 2555 23:12:59 »

ความดันเลือด
มีโอกาสก็ไปลองวัดดู เผื่อเจอความผิดปกติจะได้แก้ไขได้ทันท่วงที





ความดันช่วงบน

ปกติ มีค่าต่ำกว่า 130
ปกติแต่ค่อนข้างสูง มีค่าระหว่าง 130-139
ความดันสูงเล็กน้อย มีค่าระหว่าง 140-159
ความดันสูงปานกลาง มีค่าระหว่าง 160-179
ความดันสูงรุนแรง มีค่าระหว่าง 180-209
ความดันสูงรุนแรงมาก มีค่าตั้งแต่ 210


ความดันช่วงล่าง

ปกติ มีค่าต่ำกว่า 85 มม.ปรอท
ปกติแต่ค่อนข้างสูง มีค่าระหว่าง 85-89 มม.ปรอท
ความดันสูงเล็กน้อย มีค่าระหว่าง 90-99 มม.ปรอท
ความดันสูงปานกลาง มีค่าระหว่าง 100-109 มม.ปรอท
ความดันสูงรุนแรง มีค่าระหว่าง 110-119 มม.ปรอท
ความดันสูงรุนแรงมาก มีค่าตั้งแต่ 120 มม.ปรอทขึ้นไป


กลอกตาหน่วยเป็น มม.ปรอท (ทอรร์)
บันทึกการเข้า
wondermay
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #2 เมื่อ: 29 สิงหาคม 2555 23:15:35 »

บันทึกการเข้า
wondermay
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #3 เมื่อ: 29 สิงหาคม 2555 23:16:29 »


อันนี้เข้าใจง้ายง่ายยย รูปอาหารชัดมากกกก
 ขำ ขำ ขำ ขำ ขำ
บันทึกการเข้า
wondermay
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #4 เมื่อ: 29 สิงหาคม 2555 23:24:14 »

กินกระเทียมสดช่วยได้
 โกรธ โกรธ โกรธ โกรธ โกรธ

กินสดๆ 5-7 หัวต่อวันจ๊ะ!!!! แซ่บ


            ในกระเทียมสดมีสารสำคัญที่ชื่อ Alicin เป็นสารที่ละลายได้ดีในน้ำมัน และ S-Allyl Cysteine (SAC) ซึ่งละลายน้ำได้ดี จากผลการวิจัยจำนวนมากเป็นที่ยอมรับ
ทางการแพทย์สมัยใหม่ว่าสารทั้งสองนี้ช่วยลดไขมัน LDL Cholesterol และ Total Cholesterol ในเลือดได้ประมาณ 8-15% และลดไตรกลีเซอรไรด์ได้ประมาณ 26%
โดยมีผลต่อการทำงานของ เอ็นไซม์ HMG CoEnzymeA Reductase คล้ายกับยากลุ่มลดไขมันในปัจจุบัน แต่มีความปลอดภัยสูงสามารถรับประทานเป็นประจำเหมือนอาหารทั่วไปได้
โดยไม่มีผลข้างเคียงใดๆ ภายหลังได้ผลสรุปที่มั่นใจได้จากการวิจัยมานานถึง 3 เดือน

            นอกจากนั้นจากผลวิจัยยังพบว่ากระเทียมสกัดยังช่วยลดการจับแข็งตัวของลิ่มเลือดกับก่อนไขมันในหลอดเลือดได้เป้นอย่างดี จากการยับยั้งเอนไซม์ Thromboxane
ทำให้เลือดหมุนเวียนได้ง่ายขึ้น

            ประโยชน์ที่สำคัญอีกประการ คือการช่วยลดความดันโลหิตซึ่งทำให้หัวใจทำงานเบาขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยสามารถลดความดันโลหิตได้ถึง 20-30 มิลลิเมตรปรอท
ภายหลังเริ่มการวิจัยเพียงหนึ่งสัปดาห์          
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 29 สิงหาคม 2555 23:28:38 โดย wondermay » บันทึกการเข้า
wondermay
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #5 เมื่อ: 29 สิงหาคม 2555 23:33:00 »

สำหรับรายที่หัวใส ชิลๆ ชิลๆ

คิดจะกินกระเทียมทางลัด .......คงต้องเบรคไว้ก่อนเลย
ไม่ว่าจะเป็นกระเทียมเจียว หรือกระเทียมดอง เพราะนอกจากจะทำให้อาการหนักขึ้นแล้วยังอาจนำโรคอื่นมาเพิ่มให้ด้วย

คนที่ไม่ชอบทานกระเทียมหรือทานไม่ไหว ก็สามารถหาอาหารเสริมที่มีสารสกัดจากกระเทียมได้ตามท้องตลาดค่ะ





« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 29 สิงหาคม 2555 23:39:10 โดย wondermay » บันทึกการเข้า
wondermay
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #6 เมื่อ: 29 สิงหาคม 2555 23:42:29 »

ชาสมุนไพร ชงดื่ม ช่วยลดความดัน

กระเจี๊ยบแดง
สมุนไพรที่คนไทยคุ้นเคยกันดี น้ำกระเจี๊ยบจะมีสีสวย รสเปรี้ยวหวานหอม กินแล้วสดชื่นพบมากในเขตร้อน กลีบเลี้ยงของดอกกระเจี๊ยบเป็นสมุนไพรที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย
แต่ส่วนที่ใช้ลดอาการความดันโลหิตสูงก็คือส่วนของกลีบเลี้ยง วิธีการเพียงนำกลีบเลี้ยงที่แห้งต้มน้ำหรือชงน้ำร้อนกินเป็นชากระเจี๊ยบ นอกจากจะช่วยลดอาการความดันโลหิตสูงแล้ว
ยังช่วยลดคอเลสเตอรอล แก้นิ่ว และลดไข้ได้อีกด้วย

หญ้าหนวดแมว
ตามตำรายาไทยนอกจากใช้แก้โรคปวดตามสันหลังและเอวใช้ขับนิ่วแล้ว หญ้าหนวดแมวยังสามารถช่วยอาการลดความดันโลหิตสูงได้  เพียงนำใบไปตากจนแห้ง
หลังจากนั้นนำมาชงกับน้ำ ดื่มเป็นประจำจนกว่าอาการความดันจะกลับสู่ภาวะปกติ แต่สิ่งที่ควรจำไว้ก็คือหญ้าหนวดแมวมีเกลือโพแทสเซียมอยู่ในปริมาณสูง ดังนั้นจึงไม่ควรใช้คู่กับยาแอสไพริน
และผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจ เพราะอาจเกิดอันตรายต่อสุขภาพได้ หากไม่มั่นใจต้องปรึกษาแพทย์ก่อนนำมาดื่ม

นอกจากนี้แล้วสมุนไพรอื่นๆ อาทิ ขิง มะขาม แมงลัก ก็สามารถช่วยลดอาการโรคความดันโลหิตสูงได้  

ยังมีผลการวิจัยและค้นคว้าที่ยืนยันว่า ชาดำ ชาเขียว ก็ช่วยลดได้เช่นกัน (ไม่ใช่ใส่นมใส่น้ำตาลนะจ๊ะ อันนั้นแรงไป งุงิ)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 29 สิงหาคม 2555 23:48:01 โดย wondermay » บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
6 เทคนิค 'ลด ละ เลี่ยง' โรคความดันโลหิตสูง
สุขใจ อนามัย
ใบบุญ 0 1298 กระทู้ล่าสุด 06 มิถุนายน 2558 18:05:24
โดย ใบบุญ
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.293 วินาที กับ 30 คำสั่ง

Google visited last this page 01 เมษายน 2567 09:52:33