.ประตูชัย สัญลักษณ์ของประเทศลาว สถาปัตยกรรมแบบลาว-ฝรั่งเศส
น้ำผึ้ง มีขายทั่วไปในนครเวียงจันทน์ (ขวดละ ๑๐๐ บาทไทย)
แม่ค้าขายผัก (มะเขือ เห็ดนางฟ้า ผักกวงตุ้ง) หน้าพระธาตุหลวง
เป็นน่าประทับใจพ่อค้า แม่ค้ามาก พอเราขอถ่ายรูป ทุกคนบอกยินดี
และขอบคุณเราด้วย (รวมถึงคุณยายที่กำลังใส่บาตรตามกระทู้ข้างบนก็ขอบใจพวกเรา)
อาคารที่ทำการนครเวียงจันทร์ (คล้าย กทม. หรือเทศบาลนครของเมืองไทย)
ถนนในนครเวียงจันทน์ โล่ง โปร่ง สบาย ยกเว้นระหว่างเที่ยงวันถึงบ่ายโมง การจราจรติดขัดนิดหน่อย
ด้วยเป็นเวลาพักเที่ยงของทางราชการ นักเรียน ครู จะขี่จักรยานหรือเดินกลับไปรับประทานข้าวที่บ้าน
(ถ้าไม่ห่อไปกินที่โรงเรียนหรือที่ทำงาน)
ป้ายทะเบียนรถในประเทศลาว มี ๔ สี
สีขาวคือรถท่องเที่ยวหรือนำเที่ยว สีเหลืองคือรถส่วนบุคคล สีฟ้าคือรถของราชการ และสีแดงคือรถตำรวจ
ร้านจำหน่ายของที่ระลึกและส่งออก
(OUTLET)ประเทศลาวยังไม่มีห้างสรรพสินค้า และร้านสะดวกซื้อ (เซเว่นอีเลฟเว่น)
รถขนส่งสินค้าของประเทศลาวจ้ะ
มีคนลาวภาคหนึ่ง ตามประเพณีสามารถมีภรรยาได้ถึง ๗ คน
ภรรยาหลวงเรียกว่า
เมียบังเกิดเกล้า ภรรยาคนรองถัดไป เรียกว่าเมียบุญธรรม
การที่ผู้ชายจะมีภรรยาบุญธรรม (เมียน้อย) ได้นั้น จะต้องได้รับความยินยอมจากภรรยาหลวงก่อน
และหญิงที่ยอมมาเป็นเมียบุญธรรม จะต้องเสียหัวหมูให้ภรรยาหลวง
ซึ่ีงแล้วแต่ภรรยาหลวงจะเรียกเอาหัวหมูกี่หัว
และเมื่อตกลงยินยอมมาเป็นเมียบุญธรรม(เมียน้อย) แล้ว
การงานในบ้านทุกอย่างจะต้องทำแทนภรรยาก่อนหน้าตนเองทั้งหมด
ภรรยาหลวงไม่ต้องจับต้องงานการสิ่งใดทั้งสิ้น
นี่กระมังที่เรียกว่า "เมียบังเกิดเกล้า" ภาษาพาเพลินตัวอย่าง ภาษาพูดของชาวลาวน้ำแข็ง เรียกว่า น้ำมีอารมณ์
ผ้าเย็น เรียกว่า ผ้าอนามัย (เขาหมายความว่าเป็นผ้าที่สะอาด)
ผ้าอนามัย เรียกว่า ผ้ายันกันโลหิต (ผู้โพสท์ไม่อยากสะกด โดยใช้คำว่า "ยันต์" เพราะห่วงกังวลในเรื่องความหมายของคำ)
ขนมปังฝรั่งเศส (แบบมีไส้) เรียกว่า ข้าวจี่ปาร์ตี้
ไข่ดาว เรียกว่า ไข่เอื้อมไม่ถึง
ห้องตรวจโรค เรียกว่า ห้องสอดแนม
ห้องตรวจภายใน เรียกว่า ห้องจกเบิ่ง
ห้องคลอด เรียกว่า ห้องเกิด หรือ ห้องประสูติ
หมวกกันน็อก เรียกว่า หมวกกันกระแทก
ปั๊มน้ำมันเชลล์ เรียกว่า ปั๊มหอยใหญ่
ปั๊มน้ำมัน ปตท. เรียกว่า ปั๊มหัวหอมใหญ่
ปรบมือ เรียกว่า เอามือตีกัน
แต่งงาน เรียกว่า งานเอากัน
เด็กหญิง หญิงสาว สาวใหญ่ เรียกว่า สาวน้อย สาวใหญ่ สาวมรดก
เด็กผู้ชาย ชายหนุ่ม หนุ่มแก่ เรียกว่า ...น้อย ....ใหญ่ ...เหี่ยวแม่น้ำโขง : เส้นแบ่งเขตแดนระหว่างประเทศ
แม่น้ำโขง (เมื่อวันที่ ๘ กันยายน ๒๕๕๕)
ส่งท้ายด้วยสาระความรู้
เรื่อง เส้นแบ่งเขตแดนไทย-ลาว เส้นแบ่งเขตแดนไทย–ลาว ตามลำแม่น้ำโขง เป็นผลสืบเนื่องจากหนังสือสัญญาที่ไทยทำไว้กับฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๖ (ค.ศ. ๑๘๙๓) ซึ่งกำหนดให้สยาม (ไทย) สละข้ออ้างกรรมสิทธิ์เหนือดินแดนฝั่งซ้าย รวมทั้งเกาะทุกเกาะในแม่น้ำโขงให้แก่ฝรั่งเศส ต่อมาได้มีการทำอนุสัญญาฉบับลงวันที่ ๒๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๙ (ค.ศ. ๑๙๒๖) ซึ่งว่าด้วยแม่น้ำโขงโดยเฉพาะอนุสัญญาฉบับนี้กำหนดเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างไทย – ลาว ในแม่น้ำโขง โดยระบุว่า ในตอนที่แม่น้ำโขงไม่แยกออกเป็นหลายสายเพราะมีเกาะตั้งอยู่ ให้ถือร่องน้ำลึกเป็นเส้นแบ่งเขตแดน ส่วนในตอนที่แยกออกเป็นหลายสาย ให้ใช้ร่องน้ำลึกของสายแยกที่ใกล้ฝั่งไทยที่สุดเป็นเส้นแบ่งเขตแดน แม้ภายหลังร่องน้ำลึกดังกล่าวจะตื้นเขินจนเชื่อมเกาะติดกับฝั่ง ก็ยังคงให้ถือร่องน้ำเดิมที่ตื้นเขินนั้นเป็นเส้นแบ่งเขตแดนตลอดไป หากจะย้ายเส้นแบ่งเขตแดนก็ให้เป็นหน้าที่ของคณะข้าหลวงใหญ่ประจำแม่น้ำโขงเป็นผู้พิจารณา โดยย้ายไปได้เพียงร่องน้ำที่อยู่ใกล้ที่สุด ถัดจากร่องน้ำเดิมที่ตื้นเขินเท่านั้น นอกจากนี้ ยังได้ระบุชื่อเกาะ ๘ เกาะให้เป็นดินแดนของไทยด้วย เช่น ดอนเขียว ดอนเขียวน้อย ดอนน้อย ดอนบ้านแพงที่มา :“เส้นแบ่งเขตแดนระหว่างประเทศ” : หนังสือสารานุกรมไทยฯ โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เล่ม ๓๒ หน้า ๑๖๒-๑๖๔