[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
28 มีนาคม 2567 20:59:49 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: วิธีปฏิบัติของผู้เล่าเรียนมาก :หลวงปู่มั่น  (อ่าน 1626 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 21.0.1180.83 Chrome 21.0.1180.83


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 04 กันยายน 2555 21:06:32 »





พระธรรมเทศนา ของหลวงปู่มั่น ภูริทัตตมหาเถร
ที่ได้มีการจดบันทึกไว้
บันทึกโดย พระอาจารย์วัน อุตฺตโม และ พระอาจารย์ทองคำ ญาโณภาโส
ณ วัดป่าบ้านหนองผือ อ. พรรณานิคม จ. สกลนคร พ.ศ. ๒๔๙๑ – ๒๔๙๒


เรื่อง วิธีปฏิบัติของผู้เล่าเรียนมาก
พระธรรมเทศนา ของหลวงปู่มั่น ภูริทัตตมหาเถร

ผู้ที่ได้ศึกษาเล่าเรียนคัมภีร์วินัยมาก มีอุบายมากเป็นปริยายกว้างขวาง
ครั้นมาปฏิบัติทางจิต จิตไม่ค่อยจะรวมง่าย
ฉะนั้นต้องให้เข้าใจว่าความรู้ที่ได้ศึกษามาแล้วต้องเก็บใส่ตู้ใส่หีบไว้เสียก่อน
ต้องมาหัดผู้รู้คือจิตนี้ หัดสติให้เป็นมหาสติ หัดปัญญาให้เป็นมหาปัญญา

กำหนดรู้เท่ามหาสมมติ-มหานิยม อันเอาออกไปตั้งไว้ว่าอันนั้นเป็นอันนั้น

เป็นวันคืนเดือนปี เป็นดินฟ้าอากาศ กลางหาวดาวนักขัตตฤกษ์
สารพัดสิ่งทั้งปวงอันเจ้าสังขารคือการจิตหาออกไปตั้งไว้บัญญัติไว้ว่า
เขาเป็นนั้นเป็นนี้ จนรู้เท่าแล้ว เรียกว่ากำหนดรู้ทุกข์ สมุทัย


เมื่อทำให้มาก-เจริญให้มาก รู้เท่าเอาทันแล้ว จิตก็จะรวมลงได้
เมื่อกำหนดอยู่ก็ชื่อว่าเจริญมรรค หากมรรคพอแล้ว นิโรธก็ไม่ต้องกล่าวถึง
หากจะปรากฏชัดแก่ผู้ปฏิบัติเอง เพราะศีลก็มีอยู่ สมาธิก็มีอยู่ ปัญญาก็มีอยู่
ในกาย วาจา จิตนี้ ที่เรียกว่า อกาลิโก ของมีอยู่ทุกเมื่อ


โอปนยิโก เมื่อผู้ปฏิบัติมาพิจารณาของที่มีอยู่ ปจฺจตฺตํ จึงจะรู้เฉพาะตัว
คือมาพิจารณากายอันนี้ให้เป็นของอสุภะ เปื่อยเน่า แตกพังลงไป
ตามสภาพความจริงของภูตธาตุ ปุพฺเพสุ ภูเตสุ ธมฺเมสุ ในธรรมอันมีมาแต่เก่าก่อน

สว่างโร่อยู่ทั้งกลางวันและกลางคืน ผู้มาปฏิบัติพิจารณาพึงรู้อุปมารูปเปรียบดังนี้

อันบุคคลผู้ทำนาก็ต้องทำลงไปในแผ่นดิน ลุยตมลุยโคลนตากแดดกรำฝน
จึงจะเห็นข้าวเปลือก ข้าวสาร ข้าวสุกมาได้ และได้บริโภคอิ่มสบาย
ก็ล้วนทำมาจากของมีอยู่ทั้งสิ้นฉันใด ผู้ปฏิบัติก็ฉันนั้น
เพราะ ศีล สมาธิ ปัญญา ก็มีอยู่ใน กาย วาจา จิต ของทุกคน ฯ



http://www.facebook.com/profile.php?id=100002432664085

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
การภาวนาและวิธีการภาวนา (หลวงปู่มั่น)
ธรรมะจากพระอาจารย์
เงาฝัน 1 2913 กระทู้ล่าสุด 19 กุมภาพันธ์ 2554 20:23:11
โดย 時々๛कभी कभी๛
เมื่อเกิดมาอาภัพชาติแล้ว อย่าให้ใจอาภัพอีก - หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต
ธรรมะจากพระอาจารย์
หมีงงในพงหญ้า 0 1962 กระทู้ล่าสุด 21 กันยายน 2557 10:01:17
โดย หมีงงในพงหญ้า
หลวงปู่เจี๊ยะ ถามเรื่องเทวดากับ หลวงปู่มั่น
ธรรมะจากพระอาจารย์
วันศุกร์ นัดทานข้าว 1 11251 กระทู้ล่าสุด 28 พฤศจิกายน 2557 02:23:17
โดย วันศุกร์ นัดทานข้าว
ประวัติ หลวงปู่ตื้อ ศิษย์เอก หลวงปู่มั่น
พุทธประวัติ - ประวัติพระสาวก
มดเอ๊ก 0 1188 กระทู้ล่าสุด 28 กรกฎาคม 2559 00:38:43
โดย มดเอ๊ก
“เทวดาทำบุญแบบคนไม่ได้จึงมาขอฟังธรรม เพื่อสร้างบารมีบุญ กับ หลวงปู่มั่น”
กฏแห่งกรรม - ท่องไตรภูมิ
มดเอ๊ก 0 1772 กระทู้ล่าสุด 07 ธันวาคม 2559 02:40:39
โดย มดเอ๊ก
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.27 วินาที กับ 34 คำสั่ง

Google visited last this page 13 มีนาคม 2567 07:56:52