[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
01 พฤษภาคม 2567 08:05:36 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า:  [1] 2   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: คำสอนของฮวงโป :บันทึกวาน-ลิง  (อ่าน 8953 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 21.0.1180.89 Chrome 21.0.1180.89


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 19 กันยายน 2555 19:06:16 »





คำสอนของฮวงโป :บันทึกวาน-ลิง
พุทธทาสภิกขุ แปล เรียบเรียง

     ๑.การปลุกจิต
      ถาม   ในบรรดาคนที่ชุมนุมกันอยู่ประมาณ ๔-๕ ร้อยคนบนภูเขานี้ มีสักกี่คน ที่ได้เข้าใจในคำสอนของท่านอาจารย์ อย่างเต็มที่ ?
       ตอบ   จำนวนที่ว่านั้นไม่อาจจะทราบได้ ทำไม ? เพราะว่า ทาง ของอาตมา เป็นไปในทางการปลุก จิต ให้ตื่นออกมา มันจะถูกถ่ายออกมาเป็นคำพูดได้อย่างไรกัน ? คำพูดจะมีผลได้บ้างก็ต่อเมื่อพูดใส่หูเด็ก ๆ ที่ยังไม่เคยได้รับคำสั่งสอนอะไรมาก่อนเท่านั้น


      ๒.พุทธะ
      ถาม  พุทธะ (ซึ่งหมายถึงสิ่งสูงสุด) นั้นคืออะไร ?
      ตอบ   จิต คือ พุทธะ ในเมื่อการสิ้นสุดลงแห่งความคิดปรุงแต่ง เป็น ทาง พอสักว่า เธอหยุดการปลุกเร้าความคิดปรุงและการคิดค้น ในเรื่องอันว่าด้วยความมีอยู่และ ความไม่มีอยู่ ความยาวและความสั้น คนอื่นหรือตัวเอง ผู้ทำหรือผู้ถูกทำ และเรื่องอื่นทำนองนี้เสียให้จบสิ้นเท่านั้น เธอจะพบว่า จิต ของเธอเป็น พุทธะ โดยแท้จริง และว่าจิตเป็นสิ่งที่คล้ายกับความว่าง เพราะฉะนั้น จึงมีคำจารึกไว้ว่า ธรรมกาย อันแท้จริงนั้น คล้ายกับความว่าง

      จง อย่าแสวงหาสิ่งอื่นใด นอกไปจากสิ่งนี้ มิฉะนั้นแล้วการแสวงหาของพวกเธอจะจบลงด้วยความเศร้า แม้พวกเธอจะบำเพ็ญบารมีทั้งหกตลอดกัปเป็นอันมาก เท่าจำนวนเม็ดทรายในแม่น้ำคงคา รวมทั้งวัตรปฏิบัติอย่างอื่นที่จะทำให้ได้ตรัสรู้อีกทั้งหมดทั้งสิ้นก็ตาม เธอก็ยังอยู่ไกลจากจุดหมายปลายทางอยู่นั่นเอง

      ทำไมเล่า ? เพราะว่าการทำเช่นนั้นเป็นการสร้างกรรมไม่มีหยุด และเมื่อกุศลกรรมที่ได้สร้างขึ้นนั้น หมดอำนาจลงพวกเธอก็จะกลับไปกำเนิดในภูมิอันต่ำอีก ด้วยเหตุนี้เองจึงมีคำจารึกไว้อีกว่า “สัมโภคกาย นั้น ไม่ใช่พุทธะที่แท้จริง หรือผู้ประกาศธรรมะก็ไม่ใช่”

       เพียง แต่เธอรู้จักธรรมชาติแท้แห่งจิตของเธอเองเท่านั้น ซึ่งในธรรมชาตินั้นไม่มีตนเองไม่มีผู้อื่น แล้วเธอก็จะเป็นพุทธะองค์หนึ่งจริง ๆ

       ๓.ความคิด
     ถาม   เมื่อยอมรับว่า คนรู้แจ้งเห็นจริงแล้ว ซึ่งหยุดความคิดปรุงแต่งของตนเสียได้ คือ พุทธะ ดังนี้แล้ว ก็คนที่ยังโง่อยู่เล่า เมื่อหยุดคิดอย่างปรุงแต่งเสียหมดแล้ว จะมิกลายเป็นคนหลงลืมไม่มีสมปฤดีไปหรือ ?
      ตอบ   ไม่มีคนรู้แจ้งเห็นจริง ไม่มีคนมี่ยังโง่อยู่ และไม่มีแม้ความหลงลืมไม่มีสมปฤดี ถึงกระนั้นก็เถอะ แม้ว่าโดยหลักทั่วไป สิ่งทุกสิ่งจะปราศจากความมีอยู่อย่างเป็นวัตถุตัวตนก็ตาม พวกเธอก็ต้องไม่คิดไปในทำนองที่ว่า ไม่มีสิ่งใดที่มีอยู่ และแม้ว่าสิ่งทั้งหลายมิใช่เป็นสิ่งที่ไม่มีอยู่ พวกเธอก็ต้องไม่ไปคิดว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งมีอยู่

      ความคิดว่า “มีอยู่” ก็ตาม ความคิดว่า “ไม่มีอยู่” ก็ตาม ทั้งสองอย่างล้วนแต่เป็นความคิดที่เคยตัว ไม่ดีอะไรไปกว่าสิ่งซึ่งเป็นมายาทั้งหลาย ดังนั้นจึงมีคำจารึกไว้ว่า “สิ่ง ใดก็ตามที่เข้าใจเอาเองตามความรู้สึกทางอายตนะ ย่อมเป็นเหมือนกับมายา ข้อนี้หมายถึงทุกสิ่งนับตั้งแต่ สิ่งที่เป็นเพียงความคิดไปจนถึงสิ่งที่ มีชีวิตเป็นอยู่จริง ๆ”

      ท่าน อาจารย์ผู้ก่อกำเนิดนิกายเซ็นของเรา ไม่ได้สอนอะไรให้แก่สาวกของท่านเลย นอกจากการทำให้ว่างไปโดยสิ้นเชิง ซึ่งนำไปสู่การเพิกถอนเสียซึ่งความรู้สึกต่าง ๆ ทางอายตนะ ในการทำให้ว่างไปโดยสิ้นเชิงนี่เอง ทาง ของพวกพุทธะทั้งหลายได้เป็นไปอย่างรุ่งเรือง และในขณะเดียวกันนั้นเอง จากการเที่ยวแยกออกไปว่านั่นเป็นนั่น นี่เป็นนี่ อย่างตรงกันข้ามเป็นคู่ ๆ นั่นแหละ ฝูงปีศาจร้ายก็รุ่งเรืองโชติช่วงขึ้นมา


Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 21.0.1180.89 Chrome 21.0.1180.89


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 19 กันยายน 2555 21:04:31 »



   ๔.ยานเดียว

   ถาม   ถ้า จิต กับ พุทธะ เป็นของสิ่งเดียวกันโดยเนื้อแท้แล้ว เราจะต้องปฏิบัติต่อไปในปารมิตาทั้งหก และการปฏิบัติอื่น ๆ ดังที่กล่าวไว้ในแบบฉบับเพื่อการตรัสรู้นั้น ๆ หรือไม่เล่า ?
   ตอบ   การตรัสรู้ ย่อมโพล่งออกมาจากจิตโดยตรง ไม่มีอะไรเกี่ยวกับการบำเพ็ญปารมิตาทั้งหกและข้อปฏิบัติอื่นใด ๆ ของพวกเธอเลย การปฏิบัติบำเพ็ญทำนองนี้ ทั้งหมดทั้งสิ้นเป็นเพียงอุบายสำหรับกุมเอาประโยชน์ทางวัตถุ อันเนื่องอยู่กับปัญหาชีวิตประจำวันเท่านั้นเอง

   ถึงแม้ การตรัสรู้ก็ตาม สิ่งสูงสุดก็ตาม ภาวะแห่งสัจจะก็ตาม การบรรลุฉับพลันก็ตาม ธรรมกาย และอื่น ๆ ทั้งหมดลงไปจนถึงภูิมิแห่งการก้าวหน้าทั้งสิบก็ตาม อริยผลทั้งสี่ อริยภาวะ และมรรคญาณ ก็ตาม ทุกอย่างล้วนแต่เป็นเพียงคิดเอาด้วยความคิด เพื่อช่วยประคับประคองเราไประหว่างสังสารวัฏเท่านั้น ทั้งหมดนั้นไม่ใช่สิ่งที่ต้องทำเกี่ยวกับจิตที่เป็นพุทธะแต่ประการใดเลย

   เนื่องจาก จิต คือ พุทธะ วิธีที่ฉลาดเพื่อลุถึงสิ่ง ๆ นี้ก็คือการเพาะให้ พุทธะ-จิต นั้น ผลิออกมาให้เห็นเท่านั้นเอง เพียงแต่เธอทำมันให้ว่างจากความคิดปรุงแต่งต่าง ๆ ซึ่งล้วนแต่นำไปสู่การเกิดและการดับอยู่ตลอดกาล และนำไปสู่ความทุกข์เดือดร้อนใจของสัตว์โลกและโลกอื่น ๆ เพ่อให้สิ้นเชิงเท่านั้น พวกเธอก็จะไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีวิธีปฏิบัติเพื่อการตรัสรู้และอะไร ทำนองนั้น นานาชนิดเลย
   ฉะนั้นจึงมีคำจารึกไว้ว่า ...

   คำสอนของพุทธะทั้งหมด มีวัตถุประสงค์ข้อนี้เพียงข้อเดียว
   คือ พาพวกเราข้ามขึ้นให้พ้นเสียจากภูมิแห่งความคิด
   บัดนี้ ถ้าข้าพเจ้าหยุดความคิดของข้าพเจ้าได้สำเร็จแล้ว
   ประโยชน์อะไรด้วยธรรมทั้งหลายที่พุทธะได้สอนไว้ ?


   นับตั้งแต่พระพุทธะโคตมะ ลงมาจนตลอดสายของพระสังฆปริณายกทั้งหลาย กระทั่งถึงท่านโพธิธรรมเป็นที่สุด ไม่มีใครเคยสอนว่ามีอะไร นอกจาก จิตหนึ่ง นี้ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือสิ่งที่รู้กันอยู่ว่า ได้แก่ยานแห่งความรอดเพียงยานเดียว ดังนั้น แม้พวกเธอจะเที่ยวแสวงหากันให้ตลอดสากลจักวาล เธอก็จะไม่พบยานอื่นใดเลย ไม่มีที่ไหนดอก ที่โอวาทข้อนี้จะแตกหน่อแยกกิ่งออกไปได้มากหลาย คุณภาพเพียงอย่างเดียวของมัน คือ จริงตลอดกาล ดังนั้น จึงเป็นคำสอนที่รับเอาได้ยาก

   เมื่อท่านโพธะรรมได้มาสู่ประเทศจีน จนลุถึงอาณาจักรเหลียงและอาณาจักรเว่ย ก็มีแต่ท่านสาธุคุณ โก องค์เดียวเท่านั้น ที่ได้รับการเห็นแจ้งอย่างไม่ต้องเอ่ยปากพูดสักคำเดียวต่อจิต ของท่านเอง ในทันทีที่มีการอธิบายแก่ท่าน ท่านเข้าใจได้ว่า จิต คือ พุทธะ และว่า ใจและกายของแต่ละคนนั้นไม่เป็นอะไรเลย คำสอนนี้เรียกว่ามหายาน เนื้อแท้ของมหายานนั้น คือ ความว่างสิ้นเชิงจากของที่ตรงกันข้ามเป็นคู่ ๆ ท่านโพธิธรรมได้มีความเชื่ออย่างแน่นแฟ้นในการ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับเนื้อหาอันแท้จริงของสากลจักรวาลในชีวิต ทัน ตาเห็นนี้ !

   จิตกับ “เนื้อหา” อันนี้ไม่มีความแตกต่างกันเลยแม้แต่นิดเดียว คือว่า “เนื้อหา นั่น แหละ คือ จิต สิ่งทั้งสองนี้ไม่สามารถแยกกันได้เลย เพราะเหตุที่ท่านอาจารย์ได้เปิดเผยความข้อนี้เอง ท่านจึงได้รับสมญาตำแหน่งสังฆปริณายกแห่งนิกายของเรา และเพราะเหตุนั้น จึงมีคำจารึกไว้ว่า “ขณะที่มีการเห็นแจ้งต่อความ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ของ จิต และ เนื้อหา อันนั้น ซึ่งก่อให้เกิดมีหลักสัจจธรรมขึ้นมานั่นแหละ เป็นขณะที่อาจกล่าวได้อย่างแท้จริงว่า ขณะแห่งการเลิกล้างการพร่ำพูดการบรรยายกันเสียที


   ๕.สภาพที่เป็นจริง

   ถาม   พระพุทธเจ้าทรงช่วยสัตว์โลกทั้งหลายให้หลุดพ้นจากสังสารวัฏได้อย่างแท้จริงหรือ ?
   ตอบ   ตามสภาพที่เป็นจริงนั้น หามีสัตว์โลกทั้งหลาย ที่ต้องรับการปลดปล่อยโดยพระตถาคตไม่เลย ถ้าเมื่อตนเองก็มิได้มีสภาพที่เป็นตัวตนอันแท้จริงอย่างใดแล้ว คิดดูเถิด สิ่งอื่นนอกไปจากตน จะเป็นสิ่งที่มีสภาพแห่งความเป็นตัวตน น้อยลงไปอีกสักเท่าไรเล่า ดังนั้น จึงไม่มีทั้งพุทธะ ไม่มีทั้งสัตว์โลกทั้งหลาย ที่ตั้งอยู่โดยสภาพที่เป็นตัวตนอันแท้จริงเลย

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 21.0.1180.89 Chrome 21.0.1180.89


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 25 กันยายน 2555 15:19:42 »



   ๖.ลักษณะ

   ถาม   ถึงอย่างไรก็ยังมีคำจารึกไว้ว่า “ใครก็ตาม ที่ประกอบอยู่ด้วยพุทธะลักษณะ ๓๒ ประการ ย่อมเป็นผู้สามารถปลดปล่อยสัตว์โลกทั้งหลาย จากสังสารทุกข์” ท่านอาจารย์จะปฏิเสธความข้อนี้ได้อย่างไร ?

   ตอบ   สิ่งใด ๆ ที่ประกอบอยู่ด้วยลักษณะใด ๆ ล้วนแต่เป็นมายาทั้งสิ้น ต่อเมื่อรู้ชัดแจ้งว่า ลักษณะทุกลักษณะหาใช่ลักษณะไม่ นั่นแหละ พวกเธอจึงจะรู้จักพระตถาคตเจ้า
   พระพุทธเจ้าก็ดี สัตว์โลกทั้งหลายก็ดี ทั้งสองอย่างนี้เป็นเพียงความคิดปรุงขึ้นมาอย่างผิด ๆ ในจิตของเธอเองนานาชนิดเท่านั้น เป็นเพราะพวกเธอไม่ได้รู้จัก จิตจริงแท้ พวกเธอจึงได้ลวงตัวเองด้วยความคิดปรุงแต่งในทางความมีตัวมีตนทำนองนั้น

   ถ้าเธอยังจะถือว่ามีพุทธะอยู่ เธอก็จะถูกปิดกั้นเสียด้วยพุทธะนั้น นั่นเอง และเมื่อเธอยังจะถือว่า มีสัตว์โลกทั้งหลายอยู่ เธอก็จะถูกปิดกั้นเสียด้วยสัตว์โลกทั้งหลายเหล่านั้น นั่นเอง ความคิดปรุงแต่งที่เป็นคติทวินิยม เช่นเห็นว่ามี “สัตว์ที่ยังโง่หลง” หรือ “สัตว์ที่ตรัสรู้แล้ว” มี “บริสุทธิ์” หรือ “ไม่บริสุทธิ์” ดังนั้นเป็นต้นก็ตาม นั่นแหละคือสิ่งกีดกั้นปิดบังไม่ให้เห็นแจ้ง

   มันเป็นเพราะจิตของพวกเธอ ถูกปิดกั้นเสียด้วยสิ่งเหล่านั้น นั่นเอง ธรรมจักรจึงยังจำเป็นที่จะต้องหมุนไป ๆ มันเหมือนกับลิงที่ขว้างอะไรลงไปแล้วหยิบมันขึ้นมาอีก ขว้างอะไรลงไปแล้วหยิบมันขึ้นมาอีก ดังนี้เรื่อยไปไม่มีหยุด นี้ฉันใด พวกเธอและการศึกษาของพวกเธอก็เป็นฉันนั้น
   ทั้งหมดเท่าที่เธอควรปรารถนานั้น มันมีแต่หยุด “การศึกษา” ของเธอเสีย เลิกล้างความคิดว่า โง่หรือฉลาด บริสุทธิ์หรือไม่บริสุทธิ์ ใหญ่หรือเล็ก เป็นต้น เสียให้สิ้นเชิง ตัดความยึดมั่นถือมั่น และหยุดการกระทำกรรมเสียอย่างเด็ดขาดเท่านั้น สิ่งเหล่านี้ทั้งหมด เป็นเพียงสิ่งที่เพิ่มความลำบากให้มากขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวกนิดหน่อยเท่านั้น หรือเป็นเพียงเครื่องประดับประดา (ที่ไม่จำเป็น) ภายใน จิตหนึ่ง นั้นเท่านั้น

   อาตมาได้ยินว่าพวกเธอเคยได้ศึกษาสูตรต่าง ๆ แห่งตรียานทั้งสิบสองหมวด สิ่งเหล่านี้ทั้งหมด เป็นเพียงข้อคิดที่เขาระบายกันออกไปพล่อย ๆ ตามที่เคยประสบ เพราะเคยปากเท่านั้น พวกเธอจะต้องสลัดออกไปเสียให้หมดจริง ๆ
   ดังนั้น พวกเธอจงสลัดเสียให้ได้ทุกสิ่งที่เคยเรียนเข้าไว้ ซึ่งมันไม่มีอะไรมากไปกว่าผ้าปูนอนที่เขาปูให้เธอเมื่อคราวเจ็บไข้เท่านั้น

   มันเป็นได้เฉพาะต่อเมื่อพวกเธอ ได้สลัดความรู้สึกสำคัญมั่นหมายต่าง ๆ เสียทั้งหมด จนไม่มีอะไรเหลืออยู่ในสภาพที่เป็นตัวตนให้ยึดถืออีกต่อไป และเฉพาะต่อเมื่อปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่แวดล้อมเธอ ไม่สามารถสกัดกั้นปิดบังเธอได้อีกเลย และเฉพาะต่อเมื่อ พวกเธอได้พรากตัวเองออกมาเสียจากความคิดอย่างคติทวินิยมได้ตลอดแนว ไม่มีเหลือให้รู้สึกว่า มีคนที่ “ยังโง่” และคนที่ “ตรัสรู้แล้ว” อีกต่อไปจริง ๆ เท่านั้น ที่พวกเธอจะนำตนขึ้นสู่สมญาว่า พุทธะผู้อยู่เหนือโลกได้ในที่สุด

   ด้วยเหตุดังกล่าวมานี้ จึงมีคำจารึกไว้ว่า “การ เชื่ออย่างหมอบราบคาบแก้วของพวกเธอนั้นเป็นสิ่งที่ไร้ผล อย่าปลงความเชื่อลงไปในพิธีรีตองต่าง ๆ ทำนองนั้น รีบหนีไปเสียโดยเร็ว จากความเห็นผิดเชื่อผิดทำนองนั้น
   เนื่องจาก จิต เป็นสิ่งที่ไม่อาจถูกแบ่งแยกให้เป็นนั่นเป็นนี่ได้เลย เพราะฉะนั้น ปรากฏการณ์ทั้งหลายที่ปรากฏแก่เธอก็ต้องไม่ถูกแยกเป็นชนิดนั้นชนิดนี้ ตามคติทวินิยม โดยเท่าเทียมกัน
   เนื่องจาก จิต เป็นสิ่งที่อยู่เหนือการกระทำกรรมทั้งปวง ดังนั้น ปรากฏการณ์ทั้งหลายก็ต้องเป็นเช่นนั้นด้วย

   ปรากฏการณ์ ทุกอย่างตามที่ปรากฏแก่เราอยู่นี้เป็นสิ่งสร้างสรรค์ขึ้นของความคิด เพราะฉะนั้น อาตมาจึงต้องการเพียงให้ทำจิตของเธอให้ว่าง เพื่อจะได้พบความจริงว่าทุกสิ่งทั้งหมดนั้นเป็นของว่างจริง ๆ วัตถุหรืออารมณ์ต่าง ๆ ที่รู้สึกกันอยู่ทางอายตนะทั้งหลายก็ล้วนแต่เป็นอย่างเดียวกันกับปรากฏการณ์ ทั้งหลายที่กล่าวแล้ว ไม่ว่ามันจะอยู่ในจำพวกไหน สักกี่หมื่นกี่แสนจำพวกก็ตาม

   ความว่างอันใหญ่หลวงที่ครอบงำสิ่งทั้งปวงอยู่ทุกทิศทุกทางนั้น เป็นเนื้อแท้อันเดียวกันกับ จิต นั้น และเนื่องจาก จิต นั้นเป็นสิ่งที่ไม่อาจถูกแบ่งแยกออกเป็นส่วน ๆ ได้ ตามธรรมชาติในตัวมันเอง ดังนั้นสิ่งต่าง ๆ ทุกสิ่งจึงต้องเป็นเช่นนั้นด้วย


   ความมีความเป็นนานาชนิด ที่ปรากฏแก่พวกเธอว่ามันต่าง ๆ กันนั้น มันเป็นเพราะความสำคัญมั่นหมายของเธอเองต่างหากที่ต่างกันอยู่ในตัวมัน แล้วไปทำให้รู้สึกต่อของข้างนอกว่าต่างกันนานาชนิด ทำนองเดียวกันแท้กับสีสันต่าง ๆ ของอาหารทิพย์ของพวกเทวดา ที่เขากล่าวกันว่ามีต่าง ๆ กัน ตามควรแก่บุญกุศลของพวกเทวดาองค์หนึ่ง ๆ ซึ่งเสวยมัน

   อนุตตรสัมมาสัมโพธิ นั้น เป็นชื่อของการเห็นแจ้งว่า บรรดาพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ในสากลจักรวาลนั้น ตามความจริงแล้ว ท่านมิได้มีลักษณะแห่งความเป็นพระพุทธเจ้าอะไร ๆ โดยเฉพาะที่เราอาจจะแบ่งแยกออกมาให้เห็นได้แม้แต่น้อยเลย มีอยู่ก็แต่ จิตหนึ่ง เท่านั้น

   ตามที่จริงแล้ว ไม่มีความทวีตัวเป็นความอเนกอนันต์แห่งรูปทั้งหลาย ไม่มีความรุ่งเรืองอย่างสวรรค์ ไม่มีชัยชนะอย่างรุ่งโรจน์ หรือไม่มีการยอมจำนนต่อผู้ชนะ เนื่องจากไม่มีใครมีชัยชนะอย่างรุ่งโรจน์ ดังนั้นจึงไม่อาจมีการได้สมัญญาตามแบบฉบับว่าใครได้เป็นพุทธะสักองค์หนึ่ง และเนื่องจากไม่มีการพ่ายแพ้ จึงไม่อาจมีการได้สมัญญาตามแบบฉบับนั้น ๆ ว่าใครเป็นสามัญสัตว์ ไปได้เลย

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 21.0.1180.89 Chrome 21.0.1180.89


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 25 กันยายน 2555 17:18:50 »



   ๗.เดินผิดทาง
   ถาม   แม้ว่า จิต นั้นเป็นสิ่งที่ไม่มีรูปลักษณะ แต่ท่านอาจารย์อาจปฏิเสธได้อย่างไรว่าไม่มีพุทธลักษณะ ๓๒ ประการ หรือไม่มีอุดมภาพ ๘๐ ประการ ซึ่งสัตว์อาศัยข้ามฟากแห่งสังสารวัฏได้ ?
   ตอบ   ลักษณะ ๓๒ ประการ ก็เป็นเพียงสักว่าลักษณะของรูป สิ่งใดก็ตามที่มีรูป สิ่งนั้นเป็นมายา อุดมภาพ ๘๐ ประการนั้น ก็ยังตกอยู่ในวงของสสาร (วัตถุ) อยู่นั่นเอง
   ผู้ใดก็ตาม สำคัญว่าตัวตนมีอยู่ในสสาร ก็เป็นผู้ที่กำลังเดินผิดทาง ดังนี้เขาจึงไม่สามารถเข้าใจเรื่องของพระตถาคตเจ้าได้อย่างถูกต้องเลย


   ๘.พุทธยาน
   ถาม   เนื้อหาอันแท้จริงของพระพุทธเจ้า ต่างจากเนื้อหาอันแท้จริงของสามัญสัตว์ทั้งปวงโดยสิ้นเชิง หรือว่าเป็นอันเดียวกัน ?
   ตอบ   เนื้อหาอันแท้จริง ย่อมไม่มีทางที่จะไปเป็นความเป็นอันเดียวกันหรือเป็นของต่างกันกับสิ่งใด ๆ เลย

   ถ้าพวกเธอ ไปรับเอาคำสอน
ตามแบบฉบับของพวกตรียานมาศึกษาให้เห็นความแตกต่างระหว่างพุทธ ภาวะ กับสภาวะของสามัญสัตว์ทั้งหลายอยู่ พวกเธอก็จะต้องสร้างกรรมแห่งตรียานขึ้นสำหรับตัวเอง ครั้นแล้วความเป็นสิ่งเดียวกัน หรือความแตกต่างกันนานาชนิดก็จะเกิดมีขึ้นมา ในฐานะที่เป็นผลของการทำเช่นนั้น

   แต่ถ้าพวกเธอถือตามคำสอนแห่งพุทธยาน ซึ่งถ่ายทอดให้โดยท่านโพธิธรรม เธอจะไม่มีการพูดถึงสิ่งเหล่านี้เลย เธอจะเพ่งตรงไปยัง จิตหนึ่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่ปราศจากความเป็นอันเดียวกันหรือความแตกต่างกัน ปราศจากความเป็นเหตุและความเป็นผล (เป็นต้น)

   ด้วยเหตุดังนั้น จึงมีคำจารึกไว้ว่า “มี หนทางแต่ทางเดียวของพวกเอกยานเท่านั้น ไม่มีทางที่สอง ทางที่สาม เว้นเสียแต่ทางหลาย ๆ แบบ ที่พระพุทธเจ้าท่านใช้แต่เพียงในฐานะเป็นอุบายล้วน ๆ เพื่อปลดเปลื้องสัตว์ที่ยังจมอยู่ในความหลงผิดเต็มที่เท่านั้น”

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 21.0.1180.89 Chrome 21.0.1180.89


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: 25 กันยายน 2555 19:39:35 »



   ๙.ความพลาดอันน่าทุเรศ
   ถาม   ทำไมพระโพธิสัตว์แห่งอนันตภาวะ จึงไม่สามารถมองเห็นเครื่องหมายศักดิ์สิทธิ์ที่มงกุฎแห่งเศียรของพระพุทธเจ้าเล่า ?
   ตอบ   สำหรับท่านไม่มีอะไรเลยที่จะเห็นได้จริง ๆ ทำไม ? เพราะพระโพธิสัตว์แห่งอนันตภาวะนั้นคือพระตถาคต ทั้งยังแถมอีกว่า ความประสงค์ที่จะดู ย่อมไม่เกิดขึ้นเลย

   คำอุปมานั้น มุ่งหมายที่จะ
ป้องกันพวกเธอเสียจากการคิดว่า พุทธะและสามัญสัตว์ ทั้งหลายนั้น มีตัวมีตนอยู่มากมายแล้ว เธอก็ตกลงไปสู่ความหลงผิด แห่งความมีอยู่อย่างแตกต่างกันเป็นพิเศษนั่นเอง
   ข้อนี้เป็นคำเตือนที่ต่อต้านความคิดที่ว่า ตัวตนมีอยู่หรือไม่มีอยู่ และเพราะคิดเช่นนั้นจึงตกลงไปสู่ความผิดพลาดแห่งความคิดว่ามีอยู่อย่างแตกต่างกันเป็นพิเศษ และทั้งเพื่อต่อต้านความคิดที่ว่ามีบุคคลที่ยังโง่หลงอยู่ และบุคคลที่ตรัสรู้แล้ว ซึ่งเพราะคิดเช่นนั้น จึงได้ตกลงไปสู่ความหลงผิดชนิดเดียวกับที่กล่าวแล้ว

   มีได้แต่คนที่สามารถเปลื้องตนออกมาเสียจากความคิดทำนองนั้นโดยสิ้นเชิงเท่านั้น ที่จะสามารถมี กายแห่งอนันตภาวะได้  ความคิดปรุงแต่งทั้งหลายทั้งปวง เรียกได้ว่า ความเห็นผิด
   ผู้ถือลัทธิผิด ๆ เช่นนั้น
ย่อมยินดีในการทวีความคิดปรุงแต่ง แต่พระโพธิสัตว์ยังคงนิ่งเงียบ อยู่ในท่ามกลางฝูงคนจำพวกนี้ทั้งหมด

   คำว่า “ตถาคต” หมายถึงตถาตา (คือความเป็นตามที่เป็นจริง ๆ ) ของสิ่งทั้งหลายทั้งปวงที่ปรากฏให้เราเห็น เพราะฉะนั้น จึงมีคำกล่าวไว้ว่า “พระเมตไตรย ก็เป็นเช่นนี้ มุนีและปราชญ์ทั้งหลายก็เป็นเช่นนี้
   ตถาตา มิได้มีอยู่ในสิ่งที่อาจเกิดขึ้น หรืออาจสลายลง ตถาตา มิได้มีอยู่ในสิ่งซึ่งมองเห็นได้ หรือฟังได้ยินได้ มงกุฏแห่งพระเศียรของพระตถาคตนั้น เป็นเพียงความคิดที่ผู้กล่าวได้เล็งถึงภาวะแห่งความสมบูรณ์ชนิดที่พวกเธอจะ รู้สึกต่อมันได้โดยทางอายตนะ ฉะนั้นพวกเธออย่าได้ตกลงไปสู่ความคิดปรุงแต่ง เรื่องความสมบูรณ์ ตามความคิดว่ามีตัวตนเลย

   ยิ่งกว่านั้นมันยังมีอีกว่า พุทธกายหรือสิ่งสูงสุดนั้นย่อมอยู่เหนือการกระทำทั้งปวง ซึ่งเป็นไปในทางการก่อรูปต่าง ๆ เพราะฉะนั้น พวกเธอต้องระวังการหลงทำความแบ่งแยกสิ่งต่าง ๆ เป็นนั่นเป็นนี่คู่กันอย่างนั้นอย่างนี้ ในบรรดาสิ่งทั้งหลายนับด้วยหมื่นแสน ซึ่งมีรูปต่าง ๆ กัน
   สังขารธรรมทั้งปวง เกิดขึ้นตั้งอยู่ชั่วขณะแล้วดับไปดังนี้ เทียบได้กับความไม่มีอะไรล้วน ๆ ส่วนมหาศุนยตา หรือ ความว่างอันใหญ่หลวง นั้น เป็นภาวะแห่งความสมบูรณ์ซึ่งในนั้นไม่มีทั้งความพร่องและความล้น เป็นความสงบเงียบอย่างมีระเบียบ ซึ่งในนั้นการกระทำทั้งปวงย่อมหยุดนิ่ง

   พวกเธออย่าขืนไปคิดว่า อาจจะมีส่วนอื่น ๆ ซึ่งอยู่นอกออกไปจาก มหาศุนยตา นี้ การดันทุรังไปเช่นนั้น จะนำพวกเธอไปสู่การคิดแบ่งแยกสิ่งต่าง ๆ เป็นพวก ๆ โดยไม่มีทางทีจะหลีกเลี่ยงได้เลย ฉะนั้น จึงมีคำจารึกไว้ว่า “ภาวะแห่งความสมบูรณ์นั้น คือมหาสมุทรแห่งญาณ ส่วนสังสารวัฏนั้น คือความสับสนที่หมุนเชี่ยวอยู่
   เมื่อเราพูดกันว่า ความรู้ที่ “ฉัน” ได้รับ การศึกษาที่ “ฉัน” ได้กระทำ ความเข้าใจอันลึกซึ้ง “ของฉัน” ความหลุดพ้นจากการเวียนเกิด “ของฉัน” วิถีชีวิตในทางธรรม “ของฉัน” ดังนี้นั้น ความสำเร็จของเราย่อมทำให้ความคิดเหล่านี้ รู้สึกเป็นสุขแก่เราเป็นที่สุด แต่ความพลาดของเราทำให้มันดูน่าทุเรศไป ทั้งหมดนั้น จะเป็นประโยชน์อะไรที่ไหนกัน ?

   ฉันขอตักเตือนพวกเธอ ให้คงสภาพสงบเงียบ อยู่อย่างมีระเบียบและอยู่เหนือกรรมทั้งปวง อย่าลวงตนเองด้วยความคิดปรุงแต่งของตนเอง และอย่าเที่ยวมองหาสัจจธรรมในที่ใด ๆ เลย เพราะว่าทั้งหมดที่เราประสงค์นั้น คือการเว้นขาดจากการยอมให้ความคิดปรุงแต่งเกิดขึ้น
   มันเป็นสิ่งที่ชัดแจ้งอยู่แล้วว่า ความคิดต่าง ๆ ภายในใจและความรู้สึกต่าง ๆ ที่เกิดจากอารมณ์ภายนอกนั้น เป็นสิ่งที่ทำให้เดินผิดทางได้โดยเท่ากัน และว่า
ทางแห่งพุทธะทังหลายก็เป็นอันตรายแก่เธอเช่นเดียวกับทางแห่งมารทั้งหลาย ดังนั้นเมื่อพระโพธิสัตว์มัญชุศรี ได้หลงพลัดเข้าไปสู่คติทวินิยมชั่วคราว ท่านพบตัวเองว่าถูกบีบ ให้เตี้ยแคระโดยภูเขาเหล็กสองลูกซึ่งปิดกั้นโดยไม่มีทางออก

   แต่พระมัญชุศรีมีความเข้าใจที่แท้จริง ในเมื่อพระสมันตภัทรมีแต่ความรู้ชั่วแล่น แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อความเข้าใจอันแท้จริงกับความรู้ชั่วแล่น ได้เข้าผสมกันอย่างเหมาะส่วนเป็นอันเดียวกันแล้ว ก็ปรากฏว่าทั้งสองอย่างนั้นมิได้มีอยู่อีกต่อไป มีอยู่ก็แต่ จิตหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่ทั้งพุทธะและทั้งสัตว์ทั้งหลาย ทั้งนี้เพราะว่าใน จิตหนึ่ง นั้นมิได้มีคติทวินิยมเช่นนั้น

   ในทันทีที่พวกเธอมีความคิดว่า พุทธะ ขึ้นมา เธอก็ต้องถูกบังคับให้มีความคิดว่า สามัญสัตว์ทั้งหลายตามขึ้นมา หรือให้คิดเป็นความคิดรวบยอด และความคิดไม่รวบยอด ความคิดกว้างขวาง และความคิดขี้เหร่ขึ้นมา ซึ่งมันจะจองจำเธอไว้ในระหว่างภูเขาเหล็กสองลูกนั้นอีกโดยแน่นอน

   ในกรณีที่มีอุปสรรคต่อการปฏิบัติธรรม เกิดขึ้นมาจากการคิดค้นอย่างคติทวินิยมนั้น ท่านโพธิธรรมแนะให้แก้ไขด้วยการที่ท่านเพียงแต่ชี้ตรงไปยัง จิต และ เนื้อหาอันแท้จริง ดั้งเดิมของเราในฐานะซึ่งตามความจริงแท้แล้ว เป็นพุทธะอยู่แล้วทั้งหมด ท่านมิได้มอบวิธีการผิด ๆ ในการทำตนเองให้สมบูรณ์มาให้เลย ท่านมิได้เป็นพวกนิกายแบบที่มีการบรรลุอย่างค่อยเป็นค่อยไป

   หลักคำสอนของท่าน ไม่ยอมรับว่ามีสิ่งที่มีคุณลักษณะอันทำให้ได้ชื่อว่า
สว่างและมืด เมื่อสิ่งนั้น ไม่ใช่ความสว่าง ก็จงดูให้เห็นว่าไม่มีความสว่างอะไรที่ไหน เมื่อสิ่งนั้นไม่ใช่ความมืด ก็จงดูให้เห็นว่านั่นมันไม่มีความมืดอะไรที่ไหน ! ดังนั้นจึงมีผลตามมาว่า ไม่มีความมืดหรือปลายสุดของความมืด

   ใครก็ตาม ที่เข้ามาสู่ประตูแห่งนิกายของเรา เขาต้องจัดการกับทุก ๆ สิ่ง ด้วยอำนาจของสติปัญญาล้วน ๆ เท่านั้น ความรู้สึกด้วยใจจริงชนิดนี้เท่านั้น ที่เรียกว่า ธรรมะ เมื่อธรรมะถูกรู้อย่างประจักษ์แล้ว เราย่อมพูดถึงพุทธะได้ ครั้นรู้ประจักษ์ต่อไปว่า โดยความจริงแล้ว ไม่มีทั้งธรรมะ ไม่มีทั้งพุทธะ นั่นเรียกว่าเข้าถึงสังฆะ หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่ง ก็เรียกว่า “บรรพชิตผู้อยู่เหนือกรรมทั้งปวง” นั่นเอง

   แล้วผลที่เกิดขึ้นทั้งหมดอาจเรียกได้ว่า ตรีรัตนะ หรือเพชรพลอยสามชนิดในเนื้อหาอันเดียวกัน
   บรรดาพวกที่แสวงหาสัจจธรรม เขาต้องไม่แสวงหาจากพุทธะ จากธรรมะ หรือจากสังฆะ เขาจะต้องไม่แสวงหาจากที่ใดเลย เมื่อพุทธะไม่ถูกแสวงหา ก็ไม่มีพุทธะที่จะต้องพบ ! เมื่อธรรมะไม่ถูกแสวงหา ก็ไม่มีธรรมะที่จะต้องพบ ! เมื่อสังฆะไม่ถูกแสวงหา ก็เป็นอันว่าไม่มีสังฆะเลย !

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 22.0.1229.79 Chrome 22.0.1229.79


ดูรายละเอียด
« ตอบ #5 เมื่อ: 07 ตุลาคม 2555 23:07:49 »



   ๑๐.จิตถึงจิต
   ถาม   ท่านอาจารย์เอง ก็เป็นพระสงฆ์องค์หนึ่งอยู่ในสังฆะ ในบัดนี้ และเป็นที่เห็นชัดกันอยู่แล้วว่า ท่านอาจารย์กำลังง่วนอยู่กับการประกาศธรรมะ แล้วท่านอาจารย์ประกาศออกมาว่าไม่มีทั้งสังฆะ ไม่มีทั้งธรรมะ ได้อย่างไรกัน ?
   ตอบ   ถ้าพวกเธอสำคัญไปว่ามีธรรมะที่ต้องประกาศ เธอก็จะขอร้องอาตมาให้แสดงมัน แต่ถ้าเธอเรียกร้องหา “อาตมา” ชนิดที่เล็งถึงความมีอยู่อย่างพิเศษอีกชนิดหนึ่งแล้ว ! ธรรมะนั้นหาใช่ธรรมะที่เธอกำลังขอร้องไม่ มันคือ จิตหนึ่ง โน้น !

   เพราะเหตุนั้นเอง ท่านโพธิธรรม จึงกล่าวไว้ว่า ...
   แม้เราได้ถ่ายทอดให้แล้ว ซึ่งธรรมะแห่ง จิต
   ธรรมะก็จะเป็นธรรมะไปได้อย่างไรกัน ?

   เพราะว่า ไม่ใช่ทั้งธรรมะ ไม่ใช่ทั้ง จิต
   ที่สามารถมีอยู่อย่างมีความเป็นตัวเป็นตน
   เข้าใจข้อนี้เท่านั้น เธอจึงจะเข้าใจ
   ธรรมะ ซึ่งถ่ายทอดด้วย จิต ถึง จิต


   ความที่รู้อยู่ว่า ในสัจจธรรมนั้น ไม่มีอะไรเลยแม้สักอย่างเดียวที่ดำรงอยู่ ซึ่งอาจยึดถือเอาได้ เข้าถึงได้ บรรลุได้ ตรัสรู้ได้ หรือเสวยผลได้ ! นั่นแหละคือการนั่งอยู่ในโพธิมณฑล
   โพธิมณฑล คือภาวะซึ่งอยู่ในนั้น ไม่มีความคิดเกิดขึ้นเป็นรูปต่าง ๆ
ในนั้นแหละที่พวกเธอจะได้ลืมตาต่อความว่างอันแท้จริงของสิ่งทั้งปวงที่ปรากฏ แก่มนุษย์
และเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า เป็นความว่างอย่างยิ่งยวด แห่งตถาคตครรภ์

   ไม่มีอะไรเลยสักสิ่งเดียวที่มีอยู่
   ดังนั้นฝุ่นสกปรกจะจับได้ที่ตรงไหน ?
   ถ้าท่านเข้าใจถึงหัวใจของความจริงเรื่องนี้
   ทำไมจะต้องพร่ำถึงความสุขชั้นเลิศด้วยเล่า ?


   ๑๑.โพธิ
   ถาม   “ถ้าไม่มีอะไรเลยสักสิ่งเดียว ที่มีอยู่” ดังนี้แล้ว เราจะเอ่ยถึงปรากฏการณ์ทั้งหลาย ในฐานะที่มิได้เป็นสิ่งที่มีอยู่ ได้อย่างไรหรือ ?
   ตอบ   คำว่า “มิได้มีอยู่” ก็เป็นคำพูดที่ผิดเช่นเดียวกับคำตรงข้ามที่ว่า “มีอยู่โพธินั้น หมายถึงความไม่มีแห่ง “ความคิด ว่ามีอยู่หรือมิได้มีอยู่

   ๑๒.จิตนั้นแหละคือพุทธะ
   ถาม   พุทธะ คืออะไร ?
   ตอบ   จิต ของเธอ คือพุทธะ พุทธะคือ จิต จิต กับพุทธะ เป็นสิ่งที่ไม่แยกจากกันได้ เพราะฉะนั้น จึงมีคำจารึกไว้ว่า “สิ่งซึ่งได้แก่ จิต นั่นแหละ คือ พุทธะ” ถ้ามันเป็นสิ่งอื่นนอกไปจาก จิต มันก็เป็นสิ่งอื่นนอกไปจาก พุทธะ โดยแน่นอน

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 22.0.1229.79 Chrome 22.0.1229.79


ดูรายละเอียด
« ตอบ #6 เมื่อ: 07 ตุลาคม 2555 23:37:25 »



   ๑๓.ความเป็นอันหนึ่งอันเีดียว
   ถาม   ถ้าจิตของเราเองก็เป็นพุทธะ ท่านโพธิธรรมเมื่อมาจากอินเดียท่านถ่ายทอดธรรมะของท่านไว้อย่างไร ?
   ตอบ   เมื่อท่านโพธิธรรมมาจากอินเดีย ท่านถ่ายทอดแต่ จิต-พุทธะ เท่านั้น ท่านเพียงแต่ชี้ความจริงในข้อที่ว่า จิตของพวกเราทุกคนเป็นอันเดียวกับพุทธะมาแล้ว แต่แรกเริ่มเดิมทีเดียว และไม่มีทางที่จะแยกกันได้แต่อย่างใดเลย นั่นแหละคือข้อที่ว่าทำไมเราจึงเรียกท่านว่า สังฆปริณายกของเรา

   ใครก็ตาม เข้าใจความจริงข้อนี้ได้ทันที เขาก็อยู่เหนือการนำของพระอรหันต์ทั้งหลาย และอยู่เหนือคำสอนอันถนัดปากและถนัดมือของพวกยานทั้งสาม ไม่ว่าจะเป็นยานใด ได้ทั้งหมดในทันทีอีกเหมือนกัน
   พวกเธอเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน กับพุทธะ มาตลอดเวลา ดังนั้นอย่าเที่ยวลวงใคร ๆ ว่าเธอลุถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวนี้ได้ด้วย
การปฏิบัตินานาชนิด


บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 22.0.1229.79 Chrome 22.0.1229.79


ดูรายละเอียด
« ตอบ #7 เมื่อ: 08 ตุลาคม 2555 00:08:25 »



   ๑๔.บทบัญญัติของพระพุทธเจ้าทั้งปวง
   ถาม   ถ้าเป็นดังนั้นจริง ธรรมะอะไรกันเล่าที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ได้ทรงนำมาสอน ในเมื่อพระองค์เสด็จมาปรากฏต่อโลก ?

   ตอบ   เมื่อพุทธะทั้งหลาย มาปรากฏพระองค์ในโลกนี้ พระองค์ไม่ได้ทรงประกาศอะไรเลย นอกจาก จิตหนึ่ง นี้เท่านั้น ดังนั้นพระพุทธะโคตมะ จึงได้ถ่ายทอดธรรมให้แก่ พระมหากาศยปะอย่างเงียบกริบว่า จิตหนึ่ง ซึ่งเป็นเนื้อหาอันแท้จริงของสิ่งทุกสิ่งนั้น เป็นสิ่งที่แผ่กว้างควบคู่เป็นเนื้อเดียวกันไปกับ ความว่าง และบรรจุเต็มอยู่ทั่วในทุกสิ่งที่ปรากฏอยู่ในโลก นี้แหละคือสิ่งที่เรียกว่าบทบัญญัติของพระพระพุทธเจ้าทั้งปวง

   พวกเธอจงวิพากษ์วิจารณ์ดูตามที่เธอจะทำได้กันเถิด แล้วพวกเธอจะไม่สามารถแม้แต่หวังว่าจะเข้าถึงสัจจะอันนี้ได้โดยทางคำสอนได้ อย่างไรกัน ? หรือว่ามันจะเป็นสิ่งที่รู้โดยประจักษ์ได้โดยวิธีของนามธรรมหรือรูปธรรม ได้อย่างไรกัน ?
   เมื่อเป็นดังนี้ ความเข้าใจอย่างเต็มที่ จะมาสู่พวกเธอได้ก็แต่โดยทางหรือวิธีที่ลี้ลับไม่อาจอธิบายได้เท่านั้น

   วิธีที่จะเข้าถึงจิต จิตหนึ่ง นี้ให้ได้จริง ๆ นั้นเรียกว่า ปากทางแห่งความนิ่งเงียบเหนือกรรมทั้งปวง ถ้าพวกเธออยากจะเข้าใจก็จงรู้ไว้ว่าความรู้ประจักษ์ต่อสิ่ง ๆ นี้ โดยฉับพลันนั้น จะมีมาต่อเมื่อจิตถูกชำระล้างแล้วอย่างสิ้นเชิง จากใยยุ่งของมโนกรรมที่เป็นความคิดปรุงแต่ง และที่แบ่งแยกสิ่งทั้งปวงเป็นพวก ๆ คู่ ๆ ตามแบบคติทวินิยม เท่านั้น
   พวกที่แสวงหาสัจจธรรมนี้ โดยวิธีของการใช้สติปัญญาและการศึกษานั้น
มีแต่จะถอยห่างออกไปจากมันทุกที ๆ เท่านั้นเอง

   จนกว่าเมื่อไร ความคิดของเธอหยุดแตกกิ่งแตกก้านทางโน้นทางนี้เสียทุก ๆ ทาง จนกว่าเมื่อไร พวกเธอจะสลัดความคิดในการแสวงหาอะไรบางอย่าง เสียได้ทุก ๆ ทาง และจนกว่าเมื่อไร จิตของพวกเธอจะหยุดการเคลื่อนไหวเสียได้ราวกะว่า มันเป็นท่อนไม้หรือก้อนหินเท่านั้น ที่พวกเธอจะเดินถูกทางไปสู่ ปากประตู ที่กล่าวนั้นได้

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 22.0.1229.79 Chrome 22.0.1229.79


ดูรายละเอียด
« ตอบ #8 เมื่อ: 08 ตุลาคม 2555 00:27:55 »



   ๑๕.ความคิดกับสิ่งต่างๆ
   ถาม   แม้ในขณะนี้แท้ ๆ ความคิดผิด ๆ นานาชนิด ก็กำลังไหลพล่านอยู่ในใจของพวกเรา แล้วท่านอาจารย์กล่าวได้อย่างไรกัน ว่าพวกเราจะไม่มีมันเล่า ?

   ตอบ   ความคิดผิดเป็นสิ่งที่ไม่มีตัวตนจริง ทั้งหมดนั้นเป็นเพียงผลิตผลที่พวกเธอคิดมันขึ้นมาเอง และพวกเธอรู้ว่า จิต คือพุทธะและว่า จิต นั้น โดยพื้นฐานแล้วเป็นสิ่งปราศจากความคิดผิด เมื่อใดความคิดต่าง ๆ เกิดขึ้น พวกเธอจะเห็นได้โดยประจักษ์ว่า ความคิดเหล่านั้นแหละ เป็นอะไร ๆ ทั้งหมดที่ทำให้ความคิดผิดเกิดขึ้น ถ้า พวกเธอห้ามกันความคิดปรุงแต่งเสียได้ทุกคราวและทำกระแสแห่งความคิดให้หยุด ไหลเสียได้ ก็ย่อมไม่มีความคิดผิดใด ๆ เหลืออยู่ที่พวกเธอได้เองโดยธรรมชาติ เพราะฉะนั้นจึงมีคำกล่าวไว้ว่า “เมื่อความคิดต่าง ๆ เกิดขึ้น สิ่งต่าง ๆ ทั้งหมดก็ต้องเกิดขึ้น เมื่อความคิดต่าง ๆ ดับหายไป สิ่งต่าง ๆ ทั้งหมด ก็ต้องดับหายไป

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 22.0.1229.94 Chrome 22.0.1229.94


ดูรายละเอียด
« ตอบ #9 เมื่อ: 22 ตุลาคม 2555 14:54:54 »



   ๑๖.ความตระหนัก
   
   ถาม   เมื่อความคิดผิด ๆ ทั้งหลายกำลังเกิดอยู่ในใจของพวกเรา ในขณะนั้น พุทธะไปอยู่เสียที่ไหน ?
   ตอบ   ในขณะนั้น พวกเธอกำลังตระหนักแน่ ต่อความคิดอันผิดเหล่านั้น ความตระหนักของพวกเธอนั่นเอง คือพุทธะยังไงล่ะ บางทีพวกเธออาจเข้าใจได้กระมังว่า ถ้าพวกเธอเพียงแต่เปลื้องกระแสแห่งความคิด ซึ่งล้วนแต่เป็นมายาทุกกระแส ออกไปเสียให้หมดเท่านั้น มันก็ไม่มีพุทธะพุทเธอะอะไรที่ไหนกัน

   ทำไมจึงเป็นเช่นนั้นเล่า ? เพราะว่า เมื่อใดพวกเธอยอมให้พฤติแห่งจิตของเธอไปผลิตผลออกมาเป็นความคิดว่า พุทธะ เมื่อนั้นชื่อว่าเธอกำลังไปนำเอาความมีความเป็นฝ่ายรูปธรรมอย่างใดอย่าง หนึ่งซึ่งสามารถเอามาทำให้เป็นผู้ตรัสรู้ได้นั้นมาปั้นให้เป็นตัวเป็นตนขึ้น มาเอง

   โดยทำนองเดียวกัน ความคิดปรุงใด ๆ ของสัตว์ทั้งหลายที่กำลังกระหายต่อความหลุดพ้น ย่อมสร้างภาวะแห่งความเป็นเช่นนั้น ขึ้นเป็นเป้าหมายชนิดที่พวกเธอกำลังเล็งถึงกันอยู่ในบัดนี้ กรรมวิธีทางสติปัญญาและการเคลื่อนไหวของความคิดทั้งหมดทุกชนิด เป็นผลเกิดมาจากความคิดปรุงแต่งของพวกเธอเอง ซึ่งไปจับฉวยเอานั่นนี่มาคิดให้เป็นตัวเป็นตนขึ้นมา

   ถ้าพวกเธอเว้นขาดจากการคิดปรุงแต่งเสียอย่างสิ้นเชิง แล้วพุทธะจะมีที่ตั้งอยู่ที่ไหนกัน ? พวกเธอกำลังอยู่ในสภาพเข้าตาจนเหมือนโพธิสัตว์มัญชุศรี ผู้ซึ่งพอสักว่าได้ยอมตนให้เกิดความคิดว่ามีพระพุทธเจ้าในฐานะที่มีตัวตน อย่างรูปธรรม ก็กลายเป็นคนแคระและตกอยู่ในที่บีบอัดของภูเขาเหล็กสองลูกอยู่ทุกทิศทุกทาง

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 22.0.1229.94 Chrome 22.0.1229.94


ดูรายละเอียด
« ตอบ #10 เมื่อ: 22 ตุลาคม 2555 18:59:22 »



   ๑๗.พุทธกิจ
   ถาม   ก็ในขณะแห่งการตรัสรู้นั้นเล่า พุทธะอยู่ที่ไหน ?
   ตอบ   คำถามของพวกเธอ พลุ่งออกมาจากหน ? ความรู้สึกเช่นนั้นของพวกเธอ โผล่ออกมาจากไหนกัน ? เมื่อใดคำพูดหยุดเงียบ การเคลื่อนไหวทุกอย่างหยุดสนิท ภาพและเสียงทุกชนิดอันตรธานไปหมด เมื่อนั้นแหละ พุทธกิจแห่งการปลดปล่อยสัตว์ ได้กำลังเป็นไป อย่างแท้จริง เมื่อเป็นดังนี้ พวกเธอจะแสวงหาพุทธะที่ไหนกัน ?

   พวกเธอไม่สามารถใส่หัวอีกหัวหนึ่งลงบนหัวของเธอ หรือใส่ปากอีกปาหนึ่งเข้าที่ปากของเธอ ยิ่งกว่านั้นอีก พวกเธอต้องเว้นขาดจากสิ่งที่แตกต่างตรงกันข้ามเป็นคู่ ๆ ทุกชนิดเสียทีเดียว ภูเขาก็เป็นภูเขา น้ำก็เป็นน้ำ บรรพชิตก็เป็นบรรพชิต ชาวบ้านก็เป็นชาวบ้าน แต่ว่าภูเขาเหล่านี้ แม่น้ำเหล่านี้ โลกเองทั้งหมด พร้อมทั้งดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดวงดาวทั้งหลาย ทั้งหมดนั้นไม่มีอะไรสักอย่างเดียวที่ตั้งอยู่ภายนอกจิตของเธอ !

   สากลโลกธาตุอันไพศาล ก็ตั้งอยู่แต่ภายในใจเธอเท่านั้น เมื่อเป็นดังนั้น จะมีที่อื่นที่ไหนอีกเล่า ที่จะหาพบสิ่งต่าง ๆ ที่มีปรากฏการณ์นานาชนิด ภายนอกของจิตไม่มีอะไรเลย ทิวเขาเขียวเป็นพดจับสายตาของพวกเธออยู่ทุกทางก็ดี ฟ้าอันเวิ้งว้างซึ่งเธอเห็นสว่างจ้าอยู่เหนือโลกก็ดี ทั้งหมดนี้ไม่มีอะไรสักเส้นผมเดียวที่อยู่นอกจากความคิดที่พวกเธอคิดมันขึ้น มาเอง ! ดังนั้นจึงเป็นอันว่า ภาพและเสียงแต่ละอย่างทุก ๆ อย่างเป็นเพียง จักษุแห่งปัญญาของพุทธะ

   ปรากฏการณ์ ทั้งหลาย ไม่เกิดขึ้นได้โดยลำพังตนเอง แต่อาศัยสิ่งแวดล้อมปรุงแต่ง และมันได้แก่ความปรากฏของสิ่งเหล่านั้นที่ปรากฏออกมาเป็นวัตถุและเรื่องราว ต่าง ๆ นั้นเอง ที่ทำให้เกิดความจำเป็นที่จะต้องมีวิชาความรู้ ชนิดที่เป็นของเหมาะเฉพาะตัวเป็นคน ๆ ไป ขึ้นมา

   พวกเธออาจพูดไปได้ตลอดทั้งวัน ถึงกระนั้นก็จะมีอะไรบ้างที่ได้พูดออกมา ? พวกเธออาจฟังไปได้ตั้งแต่เช้าจนพลบค่ำ ถึงกระนั้นก็มีอะไรบ้างที่เธอได้ยิน ? เพราะฉะนั้น แม้ว่าพระโคตรมะพุทธะจะได้ทรงประกาศธรรมเป็นเวลาถึง ๔๙ ปี โดยความจริงแล้วไม่มีถ้อยคำใด ๆ ซึ่งพระองค์ได้ตรัสเลย


   ๑๘.โพธิมิใช่เป็นภาวะ
   ถาม   สมมติว่าทั้งหมดนั้นเป็นเช่นนั้นจริงแล้วภาวะเช่นไรโดยเฉพาะเล่า ที่ถูกหมายถึงโดยความหมายของคำว่า โพธิ ?
   ตอบ   โพธิมิใช่เป็นภาวะ พระพุทธองค์มิได้ทรงลุถึงโพธิ สัตว์ทั้งปวงก็มิได้ไร้จากโพธิ มันมิใช่สิ่งที่ถึงได้ด้วยกาย หรือแสวงหาได้ด้วยใจ สัตว์ทั้งหลาย ทั้งปวง เป็นสิ่งที่มีภาวะเป็นอันเดียวกันกับโพธิ เสร็จเรียบร้อยแล้ว

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 22.0.1229.94 Chrome 22.0.1229.94


ดูรายละเอียด
« ตอบ #11 เมื่อ: 22 ตุลาคม 2555 20:17:43 »



   ๑๙.โพธิมิได้เป็นสิ่งซึ่งต้องลุถึง

   ถาม   แล้วคนเราจะลุถึง “โพธิ-จิต” ได้อย่างไรกันเล่า ?
   ตอบ   โพธิ มิได้เป็นสิ่งซึ่งต้องลุถึง เดี๋ยวนี้นี่แหละ ถ้าพวกเธอสามารถเข้าใจ ซึมซาบ ถึงความที่มันเป็น สิ่งที่ไม่ต้องมีการลุถึงด้วยใจเธอเอง และเป็นผู้แน่ใจจริง ๆ ว่า ไม่มีอะไรเลยที่ใคร ๆ เคยลุถึง แล้วเธอจะเป็นผู้มีโพธิ-จิต ไปแล้วทันที

   เพราะเหตุที่ โพธิมิได้เป็นภาวะอย่างใดอย่างหนึ่ง มันจึงมิได้เป็นอะไร ๆ เพื่อให้เธอลุถึง เพราะฉะนั้นจึงมีคำจารึกเกี่ยวกับพุทธโคตมะ ไว้ว่า “เมื่อ ตถาคตยังท่องเที่ยวอยู่ ในพุทธสมัยของพระพุทธจ้าทีปังกร ก็ไม่มีอะไรแม้แต่นิดเดียวที่เราจะต้องบรรลุในเวลานั้นเอง ที่พระพุทธเจ้าทีปังกรได้ทรงพยากรณ์ว่า แม้แต่เราตถาคตก็เหมือนกัน จะเป็นพุทธะองค์หนึ่ง

   ถ้าพวกเธอทราบโดยประจักษ์ว่า สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงเป็นของอันเดียวกันกับโพธิมาเสร็จเรียบร้อยแล้ว พวกเธอจะหยุดคิดถึงโพธิในฐานะเป็นสิ่งที่ต้องลุถึง เธออาจได้ยินมาแล้วเมื่อไม่นานนี้เอง ที่คนเขาพูดกันถึงเรื่อง “การลุถึงโพธิ-จิต” แต่นั่นเรียกได้ว่า เป็นวิธีที่ฉลาดที่สุด ที่เขาใช้เพื่อขับไล่พุทธะไปเสียจากเธอ !

   โดยการปฏิบัติตามวิธีนั้น พวกเธอก็ได้แต่เพียงแสดงท่าทีว่าจะเข้าถึงพุทธภาวะให้สำเร็จ แม้เธอจะใช้เวลากัปแล้วกัปเล่าในการปฏิบัติเช่นนั้น เธอก็จะเข้าถึงได้เพียงสัมโภคกาย และนิรมานกายเท่านั้น แล้วข้อนั้นมันเกี่ยวอะไรกันเล่า กับพุทธภาวะดั้งเดิมและแท้จริง ของพวกเธอ ? ด้วยเหตุนี้แหละ จึงมีคำจารึกไว้ว่า “การแสวงหาพุทธะข้างนอก เพื่อให้ได้พุทธะที่มีรูปนั้นไม่มีอะไรเลยที่พวกเธอจะต้องทำ” ดังนี้

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 22.0.1229.94 Chrome 22.0.1229.94


ดูรายละเอียด
« ตอบ #12 เมื่อ: 22 ตุลาคม 2555 20:40:15 »



   ๒๐.ธาตุแท้

   ถาม   ถ้าชาวเราเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพุทธะ (สิ่งสูงสุด) อยู่ตลอดเวลาแล้ว ซึ่งจะอย่างไรก็ตาม ก็ยังมีสัตว์ที่เกิดในกำเนิดทั้งสี่และอยู่ในภูมิทั้งหก ทำไมแต่ละตน ๆ จึงมีรูปลักษณะเฉพาะและความปรากฏต่าง ๆ กัน ตามกำเนิดและภูมิของตน ๆ ด้วยเล่า

   ตอบ   ธาตุแท้ซึ่งเป็นเนื้อหาของพุทธะนั้น เป็นสิ่ง ๆ เดียว ซึ่งเต็มเปี่ยมอยู่ทั้งหมด ไม่มีการล้น ไม่มีการพร่อง มันแทรกซึมอยู่ในภูมิแห่งความเป็นอยู่ของสัตว์ทั้งหกภูมิถึงกระนั้นมันก็ยัง เป็นเนื้อเดียวกัน ซึ่งเต็มเปี่ยมอยู่เสมอทุกหนทุกแห่ง ดังนั้น ปรากฏการณอันมากมายนับไม่ถ้วนในสากลจักรวาลนี้ ทุก ๆ อย่างล้วนเป็นพุทธะ (สิ่งสูงสุด) นั้น ทั้งนั้น

   เนื้อหาแห่งพุทธะนี้อาจจะเปรียบกันได้กับปรอทจำนวนหนึ่งซึ่งเมื่อกระจัดกระจายไปทุก ทิศทุกทางแล้ว ย่อมกลับรวมตัวเป็นสิ่งสมบูรณ์สิ่งเดียวได้ในที่ทุกหนทุกแห่ง เมื่อยังไม่กระจัดกระจายมันเป็นธรรมชาติแห่งของสิ่งเดียว-ของสิ่งเดียวซึ่ง ประกอบอยู่ด้วยของทั้งหมด หรือของทั้งหมด ซึ่งประกอบกันเป็นของสิ่งเดียว

   ส่วนรูปร่างและปรากฏการณ์ต่าง ๆ ซึ่งมันแสดงออกมาอีกทางหนึ่งนั้น เปรียบเหมือนกับที่อยู่อาศัย เหมือนกันแท้กับคนที่ยอมทิ้งโรงเลี้ยงสัตว์เพื่อเอาบ้านที่สบายฉันใด คนเราก็เปลี่ยนร่างที่เป็นกายมนุษย์เพื่อกายสวรรค์ และเปลี่ยนสูงขึ้นไปโดยทำนองนั้น จนกระทั่งถึงปัจเจกพุทธะ ชั้นโพธิสัตว์ และชั้นพุทธะทั้งหลาย

   แต่ปรากฏการณ์ทุก ๆ อย่างนั้น ล้วนแต่เป็นสิ่งที่พวกเธอได้แสวงหา หรือได้ทอดทิ้งโดยเสมอกันด้วยกันทั้งนั้น เพราะฉะนั้น จึงเกิดมีผลคือความแตกต่างกันในระหว่างสิ่งเหล่านั้น แต่มันจะเป็นไปได้อย่างไร ในข้อที่ว่า ตัวธรรมชาติเดิมอันเป็นเนื้อหาแท้ของสากลจักรวาลนั้น จะตกอยู่ภายใต้อำนาจของการถูกทำให้แตกต่างกัน เช่นนั้น ?

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 22.0.1229.94 Chrome 22.0.1229.94


ดูรายละเอียด
« ตอบ #13 เมื่อ: 22 ตุลาคม 2555 21:29:40 »



   ๒๑.การสั่งสอน

   ถาม   ด้วยอาการอย่างไร ที่พุทธะทั้งหลายย่อมประกาศธรรมแก่สรรพสัตว์ เนื่องจากความเมตตาและความกรุณา อันมหาศาลของท่าน ?
   ตอบ   พวกเรากล่าวถึงความเมตตาและความกรุณาของท่านว่าเป็นสิ่งมหาศาล ก็เพราะว่า มันอยู่เหนือกฎแห่งความเป็นเหตุและผล (ดังนั้น มันจึงไม่มีของขีดจำกัด) โดยคำว่าเมตตาโดยแท้จริง หมายความว่า ไม่รู้สึกว่ามีพุทธะที่จะเป็นผู้ตรัสรู้ พร้อมกันนั้นคำว่า กรุณา โดยแท้จริง ย่อมหมายความว่าไม่รู้สึกว่ามีตัวสัตว์ทั้งหลายที่จะต้องปลดปล่อย

   โดยความจริงแล้ว ธรรมของพุทธะเหล่านั้น มิได้ถูกสอนโดยทางคำพูด หรือโดยวิธีทำความเข้าใจกันโดยวิธีอื่นใด ทางฝ่ายผู้ฟังนั้นเล่า ไม่มีใครได้ยิน หรือได้บรรลุอะไรเลย มันเหมือนกับศาสดาในฝัน สอนประชาชนในฝัน

   เมื่อกล่าวถึงการสั่งสอน ทั้งหมดเหล่านี้ ถ้าหากว่าเห็นแก่ทางอันประเสริฐนั้น อาตมาก็จะกล่าวแก่ท่าน จากความรู้อันลึกและนำท่านไปข้างหน้า และท่านอาจจะเข้าใจคำที่อาตมากล่าวได้โดยแน่นอน แต่สำหรับความเมตตา และความกรุณานั้น ถ้าสมมติว่าอาตมาจะเอาสิ่งต่าง ๆ มาคิด และทำการศึกษาถึงความคิดเห็นของคนอื่น ๆ เพื่อเห็นแก่พวกเธอ โดยการกระทำทั้งสองอย่างนี้จะไม่ช่วยให้พวกเธอเข้าถึงความรอบรู้ต่อจิตของ เธอเอง จากภายในตัวเธอเองได้เลย ดังนั้น ในที่สุดสิ่งทั้งสองนี้จะไม่มีประโยชน์อะไรเลย

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 22.0.1229.94 Chrome 22.0.1229.94


ดูรายละเอียด
« ตอบ #14 เมื่อ: 22 ตุลาคม 2555 21:53:37 »



   ๒๒.ความขยันอย่างกระตือรือร้น
   ถาม   อะไรคือความหมายคำว่า “ความขยันอย่างกระตือรือร้น ?”
   ตอบ   ความขยันอย่างกระตือรือร้น ที่มีรูปแห่งการประสบความสำเร็จอย่างสมบูรณ์ถึงที่สุดนั้น คือความที่ความรู้สึกแตกต่างกันเป็นคู่ เช่นว่า “กายของฉัน” “ใจของฉัน” เป็นต้น ได้หมดไปจากใจของพวกเธอโดยสิ้นเชิง นั่นเอง

   ในทันทีที่พวกเธอเริ่มแสวงหาอะไรบางอย่าง ภายนอกจาก จิต ของเธอเอง พวกเธอย่อมเป็นเหมือนกลิราชาผู้เมาด้วยการล่าเนื้อ แต่พอพวกเธอห้ามกันจิตของพวกเธอเสียจากการท่องเที่ยวไปภายนอกตัวมันเองเท่า นั้น เธอเป็นกษันติฤาษีองค์หนึ่งขึ้นมาแล้ว ไม่มีกาย-ไม่มีจิต” นี้คือ ทาง ของพุทธะทั้งหลาย


   ๒๓.การสร้างความมีอยู่
   ถาม   ถ้ากระผมปฏิบัติ ทาง นี้ และเว้นขาดจากกรรมวิธีต่าง ๆ ทางสติปัญญาและการปรุงแต่งเสียให้หมดสิ้น กระผมจะเป็นผู้เที่ยงแต่ การบรรลุ ถึงจุดหมายปลายทางหรือไม่ ?
   ตอบ   การไม่ใช้สติปัญญาอะไรเลยเช่นนั้น เป็นการปฏิบัติตาม ทาง นี้อยู่แล้ว ! ทำไมจะต้องพูดถึงการบรรลุ หรือการไม่บรรลุเช่นนี้กันอีกเล่า ? เรื่องมันมีอย่างนี้ คือ ...

   โดยการคิดถึงอะไรบางอย่าง เธอย่อมสร้างความมีอยู่ (ของตัวตนอย่างใดอย่างหนึ่ง) ขึ้นมาอย่างหนึ่ง และโดยการคิดถึงความไม่อะไร เธอย่อมสร้างความมีอยู่ (ของความไม่มีอะไร) ขึ้นมาอีกอย่างหนึ่ง ขอให้การคิดในทำนองที่ผิด ๆ เช่นนี้ จงสูญสิ้นไปโดยเด็ดขาดเถิด แล้วก็จะไม่มีอะไรเหลืออยู่ ให้เธอเที่ยวแสวงอีกต่อไป


บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 22.0.1229.94 Chrome 22.0.1229.94


ดูรายละเอียด
« ตอบ #15 เมื่อ: 22 ตุลาคม 2555 22:26:25 »



   ๒๔.การข้ามขึ้นพ้นจากโลกทั้งสาม
   ถาม   “การข้ามขึ้นพ้นจากโลกทั้งสาม” หมายความว่าอย่างไร ?
   ตอบ   การข้ามขึ้นพ้นจากโลกทั้งสาม เล็งถึงการขึ้นอยู่เหนือความเป็นของคู่แห่งความดีและความชั่ว พุทธะทั้งหลายอุบัติขึ้นในโลกก็โดยประสงค์จะทำความสิ้นสุดให้แก่ปรากฏการณ์ ทั้งหลาย ที่เป็น กาม รูป อรูป สำหรับพวกเธอก็เหมือนกัน โลกทั้งสามจะดับหายไป ถ้าหากเธอได้ลุถึงขั้นที่อยู่เหนือการคิด

   โดยทำนองตรงกันข้าม ถ้าพวกเธอยังคงยึดเหนี่ยวอยู่ในความสังเกตเห็นว่า ยังมีอะไรบางอย่าง แม้จะเล็กเท่าเศษหนึ่งส่วนร้อยของธุลีเม็ดหนึ่งก็ตาม อาจตั้งอยู่ได้โดยความเป็นตัวเป็นตนอยู่ดังนี้แล้ว ต่อให้ความเชี่ยวชาญแตกฉานอย่างสมบูรณ์ในคัมภีร์ฝ่ายมหายานทั้งหมด ก็ยังล้มเหลวต่อการที่จะช่วยเธอให้เอาชนะเหนือโลกทั้งสามได้อยู่นั่นเอง

   ต่อเมื่อส่วนที่ละเอียดที่สุดทุก ๆ ส่วน ถูกเห็นเป็นความไม่มีตัวตนไปแล้วทั้งหมดเท่านั้น มหายานจึงจะสามรถทำความสำเร็จให้เธอในเรื่องนี้ได้
   วันหนึ่ง เมื่อได้นั่งในห้องประชุมใหญ่แล้ว ท่านครูบา ได้เริ่มกล่าวข้อความเหล่านี้


   ๒๕.ธรรมะแห่งจิตหนึ่ง
   เนื่องจาก จิต คือ พุทธะ (สิ่งสูงสุด) มันย่อมรวมสิ่งทุกสิ่งเข้าไว้ในตัวมันนับตั้งแต่ พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้วทั้งหลาย เป็นที่สุดในเบื้องสูงลงไปจนกระทั่งถึงสัตว์ประเภทที่ต่ำต้อยที่สุด ซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานอยู่ด้วยอก และแมลงต่าง ๆ เป็นที่สุดในเบื้องต่ำ
   สิ่งเหล่านั้นทุกสิ่ง ย่อมมีส่วนแห่งธรรมชาติของความเป็นพุทธะเท่ากันหมด และทุก ๆ สิ่งมีเนื้อหาเป็นอันเดียวกันกับ จิตหนึ่ง นั้น ดังนั้น เมื่อท่านโพธิธรรมได้มาถึงจากตะวันตก ท่านมิได้ถ่ายทอดอะไรให้เลย นอกจาก ธรรมะ แห่ง จิตหนึ่ง นี้เท่านั้น ท่านได้ชี้ตรงไปยังความจริงที่ว่า สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงได้เป็นสิ่งที่มีเนื้อหาเป็นอันเดียวกันกับ พุทธะ อยู่แล้วตลอดเวลา

   ท่านโพธิธรรมมิได้ปฏิบัติตาม “วิธีแห่งการบรรลุ” ผิด ๆ ของคนเหล่าโน้น แม้แต่ประการใดเลย และถ้าพวกเธอ เพียงแต่สามารถทำความเข้าใจใน จิต ของเธอเองนี้ให้สำเร็จ แล้วค้นพบธรรมชาติอันแท้จริงของพวกเธอได้ ด้วยความเข้าใจอันนั้น เท่านั้น มันก็จะเป็นที่แน่นอนว่าไม่มีอะไรที่พวกเธอต้องแสวงหา แม้แต่อย่างใดเลย


บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 22.0.1229.94 Chrome 22.0.1229.94


ดูรายละเอียด
« ตอบ #16 เมื่อ: 23 ตุลาคม 2555 00:00:39 »



   ๒๖.ทางแ่ห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
   
   ถาม   ถ้าเป็นดังนั้น คนเราควรทำความเข้าใจใน จิต ของตนเองให้สำเร็จได้อย่างไร ?
   ตอบ   ก็อ้ายสิ่งที่ถามปัญหาที่ออกมานั่นแหละ คือ จิต ของเธอเองแล้วละ แต่ถ้าเธอทำความสงบอยู่จริง ๆ และเว้นขาดจากการคิดนึกซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวของจิตแม้ที่น้อยที่สุดเสียให้ ได้จริง ๆ แล้วตัวแท้ของมันก็จะปรากฏออกมาเป็นของว่าง แล้วเธอจะได้พบว่ามันเป็นสิ่งปราศจากรูป มันมิได้กินเื้นื้อที่อะไร ๆ ในที่ไหนแม้จุดเดียว และมิได้ตกลงสู่การบัญญัติว่า เป็นพวกที่มีความเป็นอยู่ หรือไม่มีความเป็นอยู่ แม้แต่ประการใดเลย

   เพราะ เหตุที่สิ่งนี้ เป็นสิ่งที่เรารู้สึกต่อมันไม่ได้โดยทางอายตนะ ท่านโพธิธรรมจึงกล่าวว่า จิต ซึ่งเป็นธรรมชาติแท้ ของคนเรานั้นเป็น ครรภ์ ซึ่งมิได้มีใครทำให้เกิดขึ้น และเป็นสิ่งทำลายไม่ได้ ในการทำปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ นั้น มันเปลี่ยนรูปตัวมันเองออกมาเป็นปรากฏการณ์ต่าง ๆ

   เพื่อความสะดวกในการพูด เราพูดถึง จิต ในฐานะที่เป็นตัวสติปัญญา แต่ในขณะที่มันมิได้ทำการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม (คือมิได้เป็นตัวสติปัญญาที่คิดนึก หรือสร้างสิ่งต่าง ๆ) นั้น มันเป็นสิ่งที่ไม่อาจถูกกล่าวถึง ในการที่จะบัญญัติว่ามันเป็นความมีอยู่หรือมิใช่ความมีอยู่ ยิ่งไปกว่านั้นอีก แม้ในขณะที่มันทำหน้าที่สร้างสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมาในฐานะที่ตอบสนองต่อกฎแห่งความเป็นเหตุและผลของกันและกันนั้น มันก็ยังเป็นสิ่งที่เรารู้สึกต่อมันไม่ได้โดยทางอายตนะ (ตา หู จมูก ลิ้น กาย และมโนทวาร) อยู่นั่นเอง

   ถ้าเธอทราบความจริงข้อนี้ และทำความสงบเงียบสนิทอยู่ในภาวะแห่งความไม่มีอะไร ในขณะนั้น พวกเธอกำลังเดินอยู่แล้วในทางแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย โดยแท้จริง เพราะเหตุฉะนี้เองในสูตรจึงกล่าวไว้อย่างจริงจังว่า “จงเจริญจิตซึ่งหยุดอยู่บนความไม่มีอะไรเลยทั้งสิ้น” ดังนี้
   บรรดาสัตว์ทั้งหลาย ที่ผูกพันอยู่กับวงล้อมแห่งการเวียนเกิดเวียนตายนั้น เป็นสิ่งที่ถูกสร้างย้อนกลับมาจากกรรมแห่งตัณหาของเขาเอง ! หัวใจของเขายังผูกพันอยู่กับภูมิแห่งกำเนิดทั้งหกอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ฉะนั้นจึงยังผูกพันตนอยู่กับความทุกข์กายทุกข์ใจ ทุก ๆ ชนิด

   ฉิ่งหมิง พูดว่า “มี คนจำพวกหนึ่งที่มีจิตเหมือนจิตของวานร ซึ่งเป็นพวกที่สอนได้ยากนัก เป็นพวกที่ต้องการข้อบัญญัติและคำสอนทุกชนิด ที่จะเอาไปใช้บีบบังคับจิตของตนให้ยอมจำนนเท่านั้นเอง” ดัง นั้นเมื่อความคิดเกิดขึ้น ธรรมะต่าง ๆ ที่เขาศึกษาอัดเข้าไว้ทุกชนิดก็ตามมา แต่แล้วมันก็สุญสิ้นไปเพราะการหยุดลงของความคิดนั่นเอง
   เราเห็นได้จากข้อนี้เองว่า ธรรมแต่ละชนิด ทุกชนิดเป็นเพียงการสร้างสรรค์ของ จิต สัตว์ทุกจำพวก คือจะเป็น มนุษย์ เทวดา สัตว์ทนทุกข์ในนรก อสูร และสัตว์อื่น ๆ ทุกชนิด บรรดาที่เกิดอยู่ในภูมิกำเนิดทั้งหกก็ตาม ทุก ๆ จำพวกล้วนแต่เป็นสิ่งที่ จิต เสกสรรค์ขึ้น

   ถ้าพวกเธอจะเพียงแต่ศึกษาให้ทราบว่า ทำอย่างไรจึงจะประสบความสำเร็จในการที่จะไม่ให้สติปัญญาทำหน้าที่ของมันเท่า นั้น โซ่แห่งสังสารวัฏก็จะหักเผาะออกไปทันที
   จงเลิกละความคิดผิด ๆ ที่นำไปสู่การจำแนกต่าง ๆ อย่างผิด ๆ เหล่านั้นเสียให้หมดสิ้นเถิด ! ไม่มีตัวเอง ไม่มีผู้อื่น ไม่มีอยากอย่างผิด อยากอย่างถูก ไม่มีเกลียด ไม่มีรัก ไม่มีชนะ ไม่มีล้มเหลว
   เพียงแต่สลัดขบวนการแห่งความคิด ทั้งทางสติปัญญาและความคิดปรุงแต่งเสียเท่านั้น
ธรรมชาติเดิมแท้ของพวกเธอก็จะแสดงความบริสุทธิ์ดั้งเดิมของมันออกมา วิธีนี้วิธีเดียวเท่านั้น ที่จะทำให้ลุถึงความตรัสรู้ ที่จะทำให้เห็นธรรม ที่จะทำให้เป็นพุทธะขึ้นมา และอื่น ๆ ที่เหลืออีกทั้งหมด


   ถ้าเว้นความเข้าใจในข้อนี้เสียแล้ว ความรู้อันมากมายทั้งหมดทั้งสิ้นของพวกเธอก็ดี ความพยายามอย่างเจ็บปวดเพื่อให้ก้าวหน้าของเธอก็ดี การบำเพ็ญตบะต่าง ๆ เกี่ยวกับอาหารและการนุ่งห่มของเธอก็ดี จะไม่ช่วยเธอให้มีความรู้สึกเรื่อง จิต ของเธอเองได้เลย
   สิ่งเหล่านั้นทั้งหมดทั้งสามอย่าง ต้องจัดไว้ว่าเป็นของมายา เพราะอย่างไหนก็ตามในสามอย่างนั้น ย่อมนำพวกเธอไปสู่การเกิดใหม่ในหมู่พวกมารร้าย ซึ่งเป็นศัตรูของธรรม หรือมิฉะนั้นก็เกิดในบรรดาปีศาจซึ่งสันดานหยาบ ผลสุดท้ายชนิดไหนกันเล่าที่จะถูกสนองด้วยการแสวงหาทำนองนั้น ?

   ฉิกุง กล่าวว่า “ร่างกายของเราทั้งหลาย เป็นสิ่งที่สร้างขึ้นด้วยจิตของเราเอง” แล้วใครหวังที่จะได้รับความรู้เช่นนี้จากตำราได้อย่างไร ? ถ้าพวกเธอเพียงแต่เข้าใจธรรมชาติแห่ง จิต ของเธอเองให้ได้และทำที่สุดจบให้แก่การคิดจำแนกแจกแจงต่าง ๆ เสียให้ได้เท่านั้น มันก็ไม่มีเนื้อที่เหลือไว้ให้ความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ แม้แต่เมล็ดเดียว
   ฉิ่ง หมิง ได้บรรยายความข้อนี้ไว้ เป็นโศลกบทหนึ่งว่า ...
   เพียงแต่ปูเสื่อออกเท่านั้น
   เพื่อจะได้นอนลงให้ราบจริง ๆ
   เมื่อความคิดผูกติดอยู่กับเตียง
   เหมือนคนไข้หนักนอนแบะอยู่กับเตียง

   กรรมทั้งหลายจะสิ้นสุดลง
   และความคิดต่าง ๆ ย่อมสลายไป

   นั่นแหละคือสิ่งที่หมายถึงด้วยคำ โพธิ !


   ตามที่มันเป็นอยู่จริงนั้น คือ ตลอดเวลาที่จิตของพวกเธอยังอยู่ในวิสัยที่จะต้องเคลื่อนไหวในการคิดแม้แต่ นิดเดียว เธอก็จะยังคงถูกปิดล้อมอยู่ในวงของความหลงผิด ในการที่จะถือว่า “ยังหลงใหล” และ “ตรัสรู้แล้ว” ว่าเป็นภาวะที่แตกแยกต่างกัน

   ความหลงผิดอันนี้
จะยืนกรานอยู่เช่นนั้นโดยไม่คำนึงถึงความรู้มหายานอันกว้างของเธอ หรือความมีอุปนิสัยที่สมารถจะผ่านอรหัตตภูมิทั้งสี่ และโพธิสัตว์ภูมิทั้งสิบอยู่แล้ว ของพวกเธอเลย ทั้งนี้เพราะว่า การแสวงหาทำนองนั้น เป็นของชั่วแล่น แม้ความเพียรอันแข็งขันของเธอ ก็จะต้องประสบโชคเป็นความล้มเหลวเหมือนกันแท้กับลูกศรที่เพลี่ยงพลาดในวิธี ยิง มันขึ้นไปไม่ได้สูงต้องลงนอนหมดแรงอยู่กลางดินใกล้ ๆ ผู้ยิงนั่นเอง

   แม้ว่าความรู้และอุปนิสัยเหล่านั้นจะมีอยู่เธอก็ยังเป็นที่แน่นอนว่าจะต้องพบตนเองวกกลับมาสู่วงล้อของความเกิด และความตายอยู่ร่ำไป การปล่อยตนให้เดินปตามทางปฏิบัติเช่นนี้ ย่อมเป็นการแสดงอยู่แล้วโดยปริยาย ถึงความล้มเหลวของเธอ ในการที่จะเข้าใจถึงความหมายอันแท้จริงของพระพุทธะ แน่นอนทีเดียว การยอมทนทุกข์ทรมานอย่างใหญ่หลวงโดยไม่จำเป็นเช่นนี้มิใช่อะไรอื่นนอกจาก ความผิดพลาดอันมหาศาล จริงไหมเล่า ?
   ฉิกุง ได้กล่าวไว้ในที่อื่นอีกว่า “ถ้าท่านไม่ได้พบกับศาสดาผู้สามารถข้ามขึ้นเหนือโลกทั้งหลายแล้ว ท่านก็จะต้องกลืนยาของมหายานธรรมเรื่อยไป โดยไม่ได้รับประโยชน์อะไรเลย

   บัดนี้ หากพวกเธอได้ปฏิบัติ ในการรักษาจิตของพวกเธอให้ปราศจากพฤติการณ์เคลื่อนไหวใด ๆ อยู่ตลอดเวลา ทั้งเดิน ยืน นั่ง นอน ก็ดี ในการเพ่งจิตทั้งหมด เฉพาะต่อการที่จะไม่สร้างความคิดใด ๆ ขึ้น ต่อความไม่ยึดถือว่ามีของคู่ ต่อความไม่อิงอาศัยสิ่งอื่นใดในภายนอก หรือต่อความไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งใดก็ดี ในการปล่อยให้สิ่งทั้งปวงเป็นไปตามเรื่องตามราวของมันทั้งวัน ๆ ราวกะว่าเธอเจ็บหนักเกินไปกว่าที่จะไปเป็นห่วงด้วยได้ก็ดี และในการมีจิตของเธอเหมือนหินแท่งทึบ ที่มีมีรอยต้องอุดต้องซ่อมแล้ว เมื่อนั้นแหละ ธรรมทั้งหลายจะซึมเข้าไปในความเข้าใจของเธอทะลุปรุโปร่งแล้วปรุโปร่งอีก และชั่วเวลาอีกเล็กน้อย เธอก็จะได้พบว่าตัวเองเป็นอิสระแล้วอย่างมั่นคง

   เมื่อเป็นดังนั้น เธอจะได้พบเป็นครั้งแรกในชีวิตอันมากมายหลายชนิดของเธอว่า ปฏิกิริยาของเธอต่อปรากฏการณ์ต่าง ๆ ได้ลดลงและในที่สุดเธอจะได้ข้ามขึ้นเหนือโลกทั้งสาม และมหาชนจะได้กล่าวกันว่าพุทธะองค์หนึ่ง ได้ปรากฏขึ้นในโลกแล้ว
   ความรู้อันบริสุทธิ์และปราศจากกิเลสย่อมแสดงโดยปริยายอยู่แล้วว่า เป็นการทำความสิ้นสุดให้แก่ความคิดและความฝันอันไหลเรื่อย ทั้งนี้เพราะว่า โดยทางนั้นเอง เธอได้หยุดสร้างกรรมอันนำไปสู่การเกิดใหม่ ไม่ว่าจะเกิดเป็นเทวดาหรือมนุษย์ หรือเป็นสัตว์ที่ทนทุกข์อยู่ในนรก

   คราใดที่กรรมวิธีของจิตทุกชนิดหยุดลงแล้ว กรรมก็จะไม่ถูกสร้างขึ้นแม้แต่สักอนุภาคเดียว เมื่อเป็นดังนั้นแล้ว แม้ในชาตินี้ ใจและกายของเธอก็เป็นสิ่งที่เป็นอิสระแล้ว โดยสมบูรณ์
   แม้สมมติว่าข้อนี้ยังไม่ให้ผลแก่เธอ ถึงกับปลดเปลื้องเธอเธอจากการเกิดใหม่ได้ทันที อย่างน้อยที่สุดเธอก็ยังแน่ใจได้ว่า การเกิดใหม่นั้นจะเป็นไปในลักษณะที่เธอปรารถนาทุกประการ สูตรมีข้อความปรากฏอยู่ว่า “โพธิสัตว์ทั้งหลาย มีการเกิดใหม่ในรูปตามที่ตนปรารถนาทุกประการ”

   แต่ถ้าเผอิญโพธิสัตว์เหล่านั้นเกิดถอยกำลัง ในการรักษาจิตของท่านให้เป็นอิสระจากความคิดปรุงแต่ง ความคิดยึดมั่นถือมั่นในรูปก็จะลากตัวท่านกลับมาสู่โลกแห่งปรากฏการณ์อีก แล้วรูปเหล่านั้นแต่ละอย่างก็จะสร้างกรรมของมารขึ้นสำหรับท่าน !

   ลักษณะเช่นนั้น ย่อมมีอยู่ในการปฏิบัติของพวกนิกายดินแดนบริสุทธิ์ (Pure Land Sect) ด้วยเหมือนกัน เพราะปฏิบัติเหล่านี้ทั้งหมด เป็นไปเพื่อการสร้างกรรม ดังนั้นเราอาจเรียกข้อปฏิบัติเหล่านั้นได้ว่า เป็นเครื่องปิดบังพุทธะ ครั้นเครื่องปิดบังเหล่านี้ได้ปิดกั้นจิตของเธอเสียแล้ว โซ่แห่งความคิดปรุงแต่งโดยความเป็นเหตุและผลแก่กันและกัน ก็จะรึงรัดเธอเข้าอย่างแน่นแฟ้นขึ้นอีก มันจะลากตัวเธอกลับไปยังภาวะแห่งบุคคลที่ยังไม่มีการหลุดพ้นแต่ประการใดเลย

   ด้วยเหตุดังกล่าวนั้น ธรรมะทั้งหมดดังที่คนเหล่านั้นอวดอ้างไปในทำนองว่าสามารถนำคนไปสู่การตรัสรู้ ได้นั้น ไม่มีความจริงอยู่ในนั้นเลย พระพุทธวจนะทั้งหลาย เป็นสิ่งที่ประสงค์ให้เห็นเครื่องล่อที่เหมาะสมสามารถเกิดผลได้จริง ในการจูงคนออกมาเสียจากความมืดบอดของอวิชชาอันเลวร้ายเท่านั้น มันเหมือนกันแท้กับที่คนเลี้ยงเด็ก เอาใบไม้เหลือง ๆ ชูขึ้นบอกว่าเป็นทองคำ เพื่อล่อให้เด็กหยุดร้องไห้

   สัมมาสัมโพธิเป็นชื่ออีกชื่อหนึ่งของการเห็นแจ้งชัดว่าไม่มีธรรมใดเลยที่ไม่เป็น โมฆะ เมื่อเธอเข้าใจความจริงข้อนี้แล้ว ของหลอกเล่นเหล่านั้น จะมีประโยชน์อะไรแก่เธอ ?
   เธอควรดำเนินตนต่อไป ในลักษณะที่อนุโลมกันได้อย่างกลมกลืนกับสถานการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตปัจจุบันของเธอ ตามที่โอกาสอันเหมาะสมจะเกิดขึ้น จงไถ่ถอนกรรมเก่าที่เคยสะสมไว้แต่ปางก่อนให้น้อยลงไป และที่ยิ่งกว่าสิ่งใดทั้งหมดนั้นเธอต้องหลีกเลี่ยงการสร้างกรรมใหม่ ๆ ที่จะตอบสนองแก่เธอขึ้นมาอีกอย่างเด็ดขาด

   จิตย่อมเต็มไปด้วยความใสกระจ่างอย่างมีประภัสสร ดังนั้นมันย่อมขจัดเสียซึ่งความมืดแห่งความคิดดั้งเดิมทั้งหลายของพวกเธอ ฉิ หมิ่ง กล่าวไว้ว่า “จงปลดเปลื้องตัวท่านทั้งหลาย ออกเสียจากทุก ๆ สิ่ง” ข้อความในสัทธรรมปุณฑริกสูตร ซึ่งกล่าวถึงการเสียเวลาไปตั้งยี่สิบปีเต็ม ในการโกยปุ๋ยทิ้งเสีย ย่อมแสดงให้เห็นถึงความจำเป็นในการที่จะขับไล่สิ่งทุกสิ่งซึ่งเอียงไปในทาง การคิดปรุงแต่งออกไปเสียจากใจของพวกเธอ

   ข้อความอีกแห่งหนึ่งในสูตรเดียวกันนั่นเอง ได้ระบุให้เห็นว่ากองปุ๋ยคอกเหล่านั้น ต้องขนใส่เกวียนไปทิ้งเสียด้วยอภิปรัชญาและเล่ห์อุบายอันแยบควาย ดังนั้น “ครรภ์แห่งพระตถาคตทั้งหลาย” จึงเป็นสิ่งว่างและสงบเงียบอย่างแท้จริง ไม่ประกอบอยู่กับสิ่ง (ธรรม) ใด ๆ ที่เป็นตัวตน แต่อย่างใดหรือชนิดใดเลย และเพราะเหตุนั้นเองสูตรซึ่งมีคำกล่าวว่า “ทั่วทุก ๆ อาณาจักรแห่งพุทธะทั้งหลายย่อมเป็นของว่างโดยเสมอกัน”

   แม้คนพวกอื่นอาจจะพูดกัน ถึงเรื่องทางของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ว่าเป็นสิ่งที่อาจลุถึงได้ด้วยการบำเพ็ญบุญ มีประการต่าง ๆ หรือด้วยศึกษาสูตรทั้งหลายก็ตาม เธอต้องไม่มีอะไรที่จะต้องทำเกี่ยวกับความคิดชนิดนั้น
   การเกิดความรู้สึกซึมซาบได้ในเวลาชั่วกระพริบตาเดียว ว่าผู้กระทำและสิ่งที่ถูกกระทำ (จิตและวัตถุ) เป็นของสิ่งเดียวกัน นั่นแหละ จะนำไปสู่ความเข้าใจอันลึกซึ้งและลึกลับเหนือคำพูด และโดยความเข้าใจอันนี้เอง พวกเธอจะลืมตาต่อสัจจะของเซ็น

   เมื่อเธอบังเอิญพบกับคนบางคน ซึ่งไม่มีความเข้าใจอะไรเลยเธอต้องยืนยันที่จะขอเป็นผู้ไม่รู้อะไร แม้เขาผู้นั้นอาจดีอกดีใจอยู่ด้วยการค้นพบ “ทางเพื่อการตรัสรู้” อะไรบางอย่างของเขา แม้กระนั้นเธอก็จะต้องไม่ยอมให้เขาจูงไป เธอจะไม่ได้รับความยินดีปรีดาอะไร แต่จะต้องทนรับความโทมนัสและความผิดหวัง ความคิดชนิดนั้นของเขาจะมีอะไรที่เกี่ยวกับการศึกษาเซ็นด้วยเล่า ?
   แม้หากว่าเธอได้รับ “วิธีการ” อะไรบางอย่างเล็ก ๆ น้อย ๆ มาจากเขาจริง มันก็จะเป็นแต่เพียงสิ่ง (ธรรม) ที่สร้างขึ้นจากความคิด หามีอะไรเกี่ยวกับเซ็นไม่เลย เพราะเหตุนั้นเอง ท่านโพธิธรรมจึงได้เข้าฌานนิ่ง ๆ หันหน้าเข้าผนังถ้ำเสีย ท่านไม่หาทางที่จะนำคนให้มีความคิดเห็นต่าง ๆ นานา ดังนั้น จึงมีคำจารึกไว้ว่า การนำออกมาจากใจเสียให้หมดสิ้น แม้กระทั่งหลักซึ่งเป็นที่เกิดแห่งการประกอบกรรมต่าง ๆ นั่นแหละคือคำสอนที่แท้จริง ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ส่วนคติทวินิยมนั้น เป็นเรื่องในวงของหมู่มารในขณะเดียวกันนั่นเอง”

   ธรรมชาติเดิมแท้ของเธอนั้น เป็นสิ่งซึ่งมิได้หายไปจากเธอแม้ในขณะที่เธอกำลังหลงผิดด้วยอวิชชา และมิได้รับกลับมาในขณะที่เธอมีการตรัสรู้ มันเป็น ธรรมชาติ แห่ง ภูตตถตา ในธรรมชาตินี้ไม่มีทั้งอวิชชา ไม่มีทั้งสัมมาทิฏฐิ มันเต็มอยู่ในความว่างทั่วทุกหนทุกแห่งและเป็นเนื้อหาอันแท้จริงของ จิตหนึ่ง นั่นเอง เมื่อเป็นดังนั้นแล้ว อารมณ์ต่าง ๆ ที่จิตของพวกเธอได้สร้างขึ้น (ทั้งฝ่ายรูปธรรมและนามธรรม) จะเป็นสิ่งที่อยู่ภายนอกของ ความว่าง นั้นได้อย่างไรกันเล่า ?

   โดยหลักมูลฐานแล้ว ความว่าง นั้น เป็นสิ่งซึ่งปราศจากมิติต่าง ๆ แห่งการกินเนื้อที่ ปราศจากกิเลส ปราศจากกรรม ปราศจากอวิชชาและปราศจากสัมมาทิฏฐิ พวกเธอต้องเข้าใจอย่างกระจ่างชัดว่าในสิ่งนี้ไม่มีอะไรเลย ไม่มีคนธรรมดา ไม่มีพระพุทธเจ้า เพราะว่าใน ความว่าง นี้ไม่มีอะไรบรรจุอยู่แม้เท่าเส้นผมที่เล็กที่สุด อันเป็นสิ่งที่จะมองเห็นได้โดยทางมิติ (หรือกฎแห่งการกินเนื้อที่) เลย แม้มันต้องอาศัยอะไรและไม่ติดเนื่องอยู่กับสิ่งใด

   ความว่าง นั้น เป็นสิ่งที่สิงซึมอยู่ทั่วทุกหนทุกแห่ง เป็นความงามที่ไร้ตำหนิ เป็นสิ่งซึ่งมีอยู่ได้โดยตัวมันเอง และเป็นสิ่งสูงสุดที่ไม่มีอะไรสร้างขึ้น เมื่อเป็นดังนั้นแล้ว มันจะเกิดเป็นปัญหาที่จะต้องถกเถียงกันขึ้นได้อย่างไรในข้อที่ว่า พระพุทธะ ที่แท้ ไม่มีปากและมิได้ประกาศธรรมใด ๆ เลย และว่า การได้ยิน ที่แท้ นั้น ไม่ต้องการหู เพราะว่าใครหนอ อาจได้ยินมันได้ ? โอ มันเป็นเพชรพลอยที่อยู่เหนือการตีค่าทั้งปวงเสียจริง !

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 22.0.1229.94 Chrome 22.0.1229.94


ดูรายละเอียด
« ตอบ #17 เมื่อ: 29 ตุลาคม 2555 16:21:15 »




   ๒๗. เพื่อนรัก
   
   ครั้งแรกทีเดียว ท่านครูบาของพวกเราได้มาจากฟู่เกียน แต่ท่านได้ปฏิญญา (ที่จะอยู่) บนภูเขาฮวงโป ในเขตซึ่งปกครองโดยข้าหลวงประจำเขต ๆ นี้ ตั้งแต่ท่านยังหนุ่มมากที่กลางหน้าผากของท่านมีก้อนเล็ก ๆ ก้อนหนึ่งโผล่ขึ้นมามีรูปคล้ายไข่มุก น้ำเสียงของท่านนุ่มนวลและน่าฟัง มรรยาทของท่านเสงี่ยมและสงบ

   หลังจากการการบวชของท่านไม่กี่ปีนัก ขณะที่เดินทางไปยังภูเขาเทียนไห้ ท่านได้พบกับภิกษุรูปหนึ่ง ซึ่งในไม่ช้าก็สนิทสนมกันราวกะว่าเพื่อนรักเก่าแก่ ดังนั้นท่านจึงร่วมเดินทางต่อไปด้วยกันสองรูป
   เมื่อได้เห็นว่าหนทางนั้น มีกระแสน้ำเชี่ยวที่ไหลมาจากภูเขาขวางหน้าอยู่ ท่านครูบาของเราได้หยุดยืนค้ำกายด้วยไม้เท้านิ่งอยู่ซึ่ง ณ ที่นั้นเอง เพื่อนของท่านได้ขอร้องให้ท่านเดินทางต่อ

   ท่านครูบาได้ตอบว่า “ไม่ละ ท่านไปก่อนเถอะ” ดังนั้นเพื่อนของท่านจึงลอยหมวกฟางกันฝนใบใหญ่ของเขาลงในกระแสน้ำเชี่ยวข้ามไปสู่ฟากโน้นได้โดยง่าย
   ท่านครูบาได้ถอนใจ กล่าวว่า “เรายอมให้คนอย่างนี้ติดตามเรามาแล้วตลอดทาง ! เราควรจะได้ฆ่าเขาเสียก่อนหน้านี้ ด้วยไม้เท้านี้ !”


บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 22.0.1229.94 Chrome 22.0.1229.94


ดูรายละเอียด
« ตอบ #18 เมื่อ: 29 ตุลาคม 2555 16:26:31 »




   ๒๘. การแก้เผ็ด
   
   ครั้งหนึ่ง ภิกษุรูปหนึ่ง เมื่อเข้าไปขออนุญาตต่อครูบา เกว่ย-สุ่ง เพื่อออกเดินทางต่อไป
   ได้ถูกท่านครูบานั้นถามว่าเขาตั้งใจจะไปที่ไหน ?
   ภิกษุนั้น ตอบ ว่า “กระผมตั้งใจจะไปเยี่ยมสำนักทุกสำนักที่มีการสอนเซ็นครบทั้ง ๕ แบบ”
   ครั้น ภิกษุนั้นถามขึ้นว่าแบบนั้นเป็นอย่างไร เขาก็ได้รับการฟาดเข้าให้โป้งหนึ่ง เขาร้องลั่นด้วยความตกใจว่า ผมทราบแล้วครับ ผมทราบแล้วครับ !

   ท่าน เกว่ย-สุ่ง คำรามออกมาว่า “พูดออกมาซี่ พูดออกมาซี่ !” ภิกษุนั้นก็ทำท่าว่าจะพูดต่อไป ในทันใดนั้นเขาก็ได้รับการฟาดเข้าให้อีกโป้งหนึ่ง
   หลังจากนั้น ภิกษุนั้นไปสำนักครูบาของเรา และเมื่อถูกถามโดยท่านครูบาฮวงโปว่ามาจากไหน เขาก็ตอบว่าเพิ่งมาจากสำนักของท่านครูบา เกว่ย-สุ่ง หยก ๆ นี่เอง
   ท่านครูบาของเราได้ถามว่า “เธอได้รับคำสอนอะไรจากท่านผู้นั้น ?” เมื่อเป็นดังนั้น ภิกษุรูปนั้นก็เล่าเรื่องดังกล่าวแล้วข้างต้นให้ฟังทุกประการ

   ในท่ามกลางที่ประชุมครั้งต่อมา ท่านครูบาขอเราได้ถือเอาเรื่องของภิกษุนั้นเป็นหัวข้อสำหรับบรรยาย และได้พูดว่า “ท่านครูหม่านี้ช่างเลิศกว่าบรรดาท่านที่รู้อย่างลึกซึ้งทั้ง ๘๔ รูป เสียจริง ๆ ! ปัญหา ต่าง ๆ ที่คนเขาถามกันทั้งหมดนั้น ไม่ดีไปกว่าปุ๋ยคอกที่เปียกแฉะชุ่มไปทั้งพื้นดิน ส่งกลิ่นเหม็นคลุ้งอยู่ทั่วไป มีแต่ท่าน เกว่ย-สุ่ง ผู้เดียวเท่านั้นที่คู่ควรต่อการแก้เผ็ดกับมัน

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 22.0.1229.94 Chrome 22.0.1229.94


ดูรายละเอียด
« ตอบ #19 เมื่อ: 29 ตุลาคม 2555 16:33:16 »



                 

   ๒๙. การแสดงความเคารพ
   
   ครั้งหนึ่ง ท่านครูบาของเราได้เข้าร่วมในที่ประชุมแห่งหนึ่งที่สำนักงานของข้าหลวงควบคุมเกลือแห่งพระจักรพรรดิ ซึ่งในการประชุมคราวนั้นมีจักรพรรดิไต้-ซุง ในขณะที่สมาทานศีลอย่างสามเณรรวมอยู่ด้วยคนหนึ่ง
   สามเณรได้สังเกตเห็นท่านครูบาของเรา เข้าไปในห้องโถงที่ตั้งเครื่องบูชาและทำการหมอบกราบต่อพระพุทธรูปสามครั้ง

   เนื่องจากเหตุนั้น สามเณรจึงได้ถามท่านครูบาว่า “ถ้าเราไม่ต้องแสวงหาอะไรจากพุทธะ ธรรมะ หรือสังฆะแล้ว พระคุณเจ้าหมอบกราบสามครั้งเช่นนั้น เพื่อแสวงหาอะไร ?
   ท่านครูบาได้ตอบว่า “แม้ว่าเราไม่แสวงหาอะไรจากพระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์ก็ตาม มันเป็นธรรมเนียมของเรา ที่จะต้องแสดงความเคารพโดยวิธีนี้”

   “แล้วการกระทำเช่นนั้นมันได้สนองเจตนาอะไรของเราให้สมประสงค์ได้บ้าง ?” สามเณรได้ขืนซักต่อไป จนทำให้ถูกตบโดยกะทันหันเข้าครั้งหนึ่ง
   สามเณรได้ร้องขึ้นว่า “โอ ท่านนี่หยาบจริง !”

   ท่านครูบาได้ร้องขึ้นว่า “หยาบชนิดไหนกัน ? จงนึกว่าเป็นการทำให้เห็นความแตกต่างระหว่างละเอียดกับหยาบ ก็แล้วกัน” กล่าวดังนั้นแล้ว ก็ตบหน้าสามเณรเข้าอีกฉาดหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุให้สามเณรเองต้องแจวอ้าวไปที่อื่น !

บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า:  [1] 2   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.467 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 02 มกราคม 2567 10:04:51