[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
20 เมษายน 2567 09:44:04 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สติทั่วไป กับสัมมาสติ  (อ่าน 4868 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 13 กรกฎาคม 2553 05:10:59 »


           



                                               สติทั่วไป กับสัมมาสติ


       



                "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย    ด้วยประการดังนี้ 
 
-การคบสัปบุรุษที่บริบูรณ์   ย่อมยังการฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์ 

-การฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์  ย่อมยังการทำไว้ในใจโดยแยบคายให้บริบูรณ์       

- การทำไว้ในใจโดยแยบคาย(โยนิโสมนสิการ)ที่บริบูรณ์  ย่อมยังสติสัมปชัญญะให้บริบูรณ์   

- สติสัมปชัญญะที่บริบูรณ์    ย่อมยังการสำรวมอินทรีย์ให้บริบูรณ์ 

- การสำรวมอินทรีย์(คือคือเมื่ออารมณ์กระทบทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็มีความเพียรรู้)
ที่บริบูรณ์ย่อมยังสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์


- สุจริต  ๓  ที่บริบูรณ์  ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์   

- สติปัฏฐาน ๔  ที่บริบูรณ์   ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ให้บริบูรณ์ 

- โพชฌงค์  ๗  ที่บริบูรณ์   ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์


- พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ หน้าที่ ๒๐๓ ข้อความบางตอนจาก ตัณหาสูตร
 


           


     มิลินทปัญหา

ปัญหาที่ ๑๐ ถามถึงเหตุที่ให้ระลึกถึงสิ่งที่ล่วงแล้วได้


" ข้าแต่พระนาคเสน บุคคลระลึกถึงสิ่งที่ล่วงไปนานแล้วได้ด้วยอะไร? "

" ได้ด้วย สติ ขอถวายพระพร "

" ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า สิ่งที่ล่วงไปนานแล้วสิ่งหนึ่ง บุคคลระลึกได้ด้วย จิต ต่างหาก ไม่ใช่ระลึกได้ด้วยสติ"

" ขอถวายพระพร มหาบพิตรทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งไว้แล้ว ระลึกไม่ได้มีอยู่หรือไม่? "

" มีอยู่ พระผู้เป็นเจ้า "

" ขอถวายพระพร ในเวลานั้นพระองค์ไม่มีจิตหรือ ? "

" จิตมี แต่เวลานั้นสติไม่มี "

" ถ้าอย่างนั้น ขอมหาบพิตรจงเข้าพระทัยเถิดว่า บุคคลระลึกได้ด้วย สติ ไม่ใช่ระลึกได้ด้วย จิต "

" ถูกดีแล้ว พระนาคเสน "


ปัญหาที่ ๑๑ ถาม สติเกิดขึ้นได้เอง หรือเกิดจากผู้อื่น

(เป็นสำนวนแปลของนายยิ้ม ปัณฑยางกูร จากหนังสือ "ปัญหาพระยามิลินท์" ฉบับหอสมุดแห่งชาติ)

พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูกร พระนาคเสน สตินั้นเกิดขึ้นเอง หรือเกิดขึ้นต่อเมื่อมีคนเตือน

พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร เกิดขึ้นได้ทั้ง ๒ ทาง

ม. แต่ความเห็นของข้าพเจ้า ว่า เกิดขึ้นเอง มิพักต้องมีคนอื่นเตือน

น. ถ้าเป็นอย่างพระองค์ตรัส คนก็ไม่ต้องมีครูอาจารย์คอยตักเตือนว่ากล่าว แต่นี่เพราะมิเป็นเช่นนั้น
จึงต้องมีครู มี อาจารย์ คอยให้สติในเมื่อเราพลั้งเผลอ

ม. จริง

จบวรรคที่ ๖



สัมมาทิฏฐิ : http://portal.in.th/i-dhamma/pages/8196/
 ยิ้ม  http://www.tairomdham.net/index.php?topic=179.0

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 25 กรกฎาคม 2553 09:32:27 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 13 กรกฎาคม 2553 05:52:04 »







ถ้าโดยพระอภิธรรม ท่านกล่าวไว้ในปริจเฉทที่ ๒ โสภณเจตสิกดังนี้

สติเจตสิก

๒. สติเจตสิก คือความระลึกรู้อารมณ์และยับยั้งมิให้จิตตกไปในอกุศล ความระลึกอารมณ์ที่เป็นกุศล ความระลึกได้ที่รู้ทันอารมณ์

สติ เป็นธรรมที่มีอุปการะมากต้องใช้สติต่อเนื่องกันตลอดเวลา ในทางเจริญวิปัสสนาหรือเจริญสมาธิ มุ่งทางปฏิบัติซึ่งเป็นทางสายเดียวที่จะหลุดพ้นจากกิเลสไปได้ โดยเจริญสติปัฏฐานทาง กาย เวทนา จิต ธรรม มีสติระลึกรู้อยู่เนื่อง ๆ ว่า กายมีปฏิกูล ฯลฯ


สติมีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้ (นี่คือเหตุให้สัมมาสติเกิด)

1. อปิลาปนลกฺขณา มีความระลึกได้ในอารมณ์เนืองๆคือมีความไม่ประมาทเป็นลักษณะ

2. อสมฺโมหรสา มีการไม่หลงลืม เป็นกิจ

3. อารกฺขปจฺจุปฏฺฐานา มีการรักษาอารมณ์ เป็นผล

4. ถิรสญฺญาปทฏฺฐานา มีการจำได้แม่นยำ เป็นเหตุใกล้
(หลวงพ่อปราโมทย์พูดอยู่บ่อยๆ)

สติเป็นเครื่องชักนำใจให้ยึดถือกุศลธรรมเป็นอุดมคติ ถ้าหากว่าขาดสติเป็นประธานเสียแล้ว สมาธิก็ไม่สามารถจะมีได้เลย และเมื่อไม่มีสมาธิแล้ว ปัญญาก็เกิดไม่ได้


เหตุให้เกิดสติ โดยปกติ (หรือสติโดยทั่วไป) มี ๑๗ ประการ คือ

(๑) ความรู้ยิ่ง เช่น สติของบุคคลที่ระลึกชาติได้ พระพุทธองค์ระลึกชาติได้ไม่จำกัดชาติจะระลึกได้ทุกชาติที่พระองค์ปรารถนา สติของพระอานนท์จำพระสูตรที่พระพุทธจ้าตรัสไว้ได้หมด

(๒) ทรัพย์ เป็นเหตุให้เจ้าของทรัพย์มีสติ คือเมื่อมีทรัพย์มักจะเก็บรักษาไว้อย่างดี และจะระมัดระวังจดจำไว้ว่าตนเก็บทรัพย์ไว้ที่ใด

(๓) สติเกิดขึ้นเนื่องจากเกิดเหตุการณ์ครั้งยิ่งใหญ่ในชีวิต เช่น พระโสดาบันจะจำได้โดยแม่นยำถึงเหตุการณ์ที่ท่านได้บันลุเป็นพระโสดาบัน หรือบุคคลที่ได้รับยศยิ่งใหญ่ครั้งหนึ่งในชีวิต

(๔) สติเกิดขึ้น โดยระลึกถึงเหตุการณ์ที่ตนได้รับความสุขที่ประทับใจ เมื่อนึกถึงก็จะจำเรื่องต่าง ๆ ได้

(๕) สติเกิดขึ้น เนื่องจากความทุกข์ที่ได้รับเมื่อระลึกถึงก็จะจดจำได้

(๖) สติเกิดขึ้น เพราะเห็นเหตุการณ์ที่คล้ายคลึงกับเหตุการณ์ที่ตนเคยประสบ

(๗) สติเกิดขึ้น เพราะเห็นเหตุการณ์ที่ตรงกันข้ามกับที่เคยประสบ

(๘) สติเกิดขึ้น เพราะคำพูดของคนอื่น เช่น มีคนเตือนให้เก็บทรัพย์ที่ลืมไว้

(๙) สติเกิดขึ้น เพราะเห็นเครื่องหมายที่ตนทำไว้ เช่น เห็นหนังสือที่เขียนชื่อไว้ถูกลืมไว้

(๑๐) สติเกิดขึ้น เพราะเห็นเรื่องราวต่าง ๆ หรือผลงาน เช่น เห็นพุทธประวัติก็ระลึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นต้น

(๑๑) สติเกิดขึ้น เพราะความจำได้ เช่น มีการนัดหมายไว้ เมื่อมองไปที่กระดานก็จำได้ว่าต้องไปตามที่ได้นัดไว้

(๑๒) สติเกิดขึ้น เพราะการนับ เช่น การเจริญสติระลึกถึงพระพุทธคุณ ก็ใช้นับลูกประคำ เพื่อมิให้ลืม

(๑๓) สติเกิดขึ้น เพราะการทรงจำเรื่องราวต่าง ๆ ที่ศึกษาค้นคว้า แล้วจำเรื่องราวต่าง ๆ ได้

(๑๔) สติเกิดขึ้นเพราะการระลึกชาติได้ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง (บุคคลที่มิใช่พระพุทธเจ้า)

(๑๕) สติเกิดขึ้น เพราะการบันทึกไว้ เมื่อดูบันทึกก็จำได้

(๑๖) สติเกิดขึ้น เพราะทรัพย์ที่เก็บได้เช่นเห็นทรัพย์ก็นึกขึ้นได้ว่าได้เก็บทรัพย์ไว้

(๑๗) สติเกิดขึ้น เพราะสิ่งที่เคยพบเคยเห็นมาแล้ว เมื่อเห็นอีกครั้งก็ระลึกได้


- ขอสรุปง่ายๆ ว่า ถ้าระลึกรู้ในเรื่องทั่วๆไป ซึ่งคนที่ไม่ได้ฝึกวิปัสสนากรรมฐานก็ระลึกรู้ได้อยู่แล้ว คือสติโดยทั่วไป

- แต่ถ้าระลึกรู้ในกาย เวทนา จิต ธรรม จนสติเป็นอัตโนมัติ (เห็นกายใจไม่ใช่เรา) นั่นแหละสัมมาสติเกิดขึ้นแล้ว

- แต่ถ้าเรื่องของการปฏิบัติแล้ว สงสัยก็รู้ว่าสงสัย ที่อาตมานำเอาปริยัติมาตอบคงไม่ได้ทำให้คุณหยุดสงสัยได้ คงต้องตามรู้ตามดูกายใจเรื่อยไป จะเลิกสงสัยไปเอง เรื่องของการปฏิบัติมีแค่นั้น




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 13 กรกฎาคม 2553 09:21:26 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #2 เมื่อ: 13 กรกฎาคม 2553 08:42:49 »






รัก(บางครั้ง)เคยอ่านใน สัทธรรมปรุณฑริสูตร ฝ่ายมหายานมีกล่าวไว้มีอยู่ประโยคหนึ่งกล่าว 1 ขณะจิต สามพัน แต่นำมาใช้



ในชีวิตประจำวันไม่ได้เลยเพราะฉะนั้นจึงไม่อยากกล่าวถึง(หนึ่งขณะจิตสามพัน) รัก





« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 13 กรกฎาคม 2553 09:44:10 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 13 กรกฎาคม 2553 09:17:48 »




เหงื่อตก  ยังอ่านไม่เจอ หนึ่งขณะจิต สามพันดวงค่ะ
แต่ถ้าน้องว่านำมาใช้ในชีวิตประจำวันไม่ได้ ก็ไม่ค้นก็ได้ค่ะ
 รัก  ขอบคุณน้อง "บางครั้ง" นะคะ
บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #4 เมื่อ: 13 กรกฎาคม 2553 09:24:47 »




เหงื่อตก  ยังอ่านไม่เจอ หนึ่งขณะจิต สามพันดวงค่ะ
แต่ถ้าน้องว่านำมาใช้ในชีวิตประจำวันไม่ได้ ก็ไม่ค้นก็ได้ค่ะ
 รัก  ขอบคุณน้อง "บางครั้ง" นะคะ








(:SLE:)พี่ แป๋ม นี่งัย หนึ่งขณะจิต สามพัน (:SLE:)อ่านตาลายแน่ ๆ พี่ แป๋ม จ๋า หลับ



หลับ (:SLE:)ภาษาญีปุ่น อิชิเน็นซันเซ็น แปลว่า หนึ่งขณะจิตสามพัน หลับ หลับ



Chapter 16 - Jigage by Rev.Kangyo Noda


หน้า12 ธรรมนิพนธ์เรื่องการสวดไดโมขุแห่งสัทธรรมปุณฑริกสูตร(โชฮกเขะไดโมขุโช) ถามว่า ผู้ที่เชื่อต่อสัทธรรมปุณฑริกสูตรนั้น สิ่งสักการบูชา(ฮนซน) ก็ดีการทำพิธีก็ดี และการปฏิบัติโดยปกติก็ดี เป็นสิ่งใดเล่า ตอบว่า อันดับแรก พูดถึงสิ่งสักการบูชา (หมายถึงโงะฮนซน)ก็คือสัทธรรมปุณฑริกสูตร 8 ม้วน หรือ 1 ม้วน หรือ 1 บท หรือเขียนเป็นหัวข้อ (ชื่อหัวข้อของสัทธรรมปุณฑริกสูตร ซึ่งหมายถึงเมียวโฮเร็งเงเคียว) ที่กำหนดไว้ว่าเป็นสิ่งสักการบูชา (โงะฮนซน) นั้น สามารถพบได้ในบทธรรมาจารย์ (สัทธรรมปุณฑริกสูตรบทที่ 10) และในบทพลังอิทธิฤทธิ์ของพระตถาคต (บทที่ 21 ของสัทธรรมปุณฑริกสูตร) ............ และการปฏิบัติโดยปกติก็คือ จะต้องสวดไดโมขุแห่งนัมเมียวโฮเร็งเงเคียว หน้า 14 ธรรมนิพนธ์เรื่องการสวดไดโมขุแห่งสัทธรรมปุณฑริกสูตร(โชฮกเขะไดโมขุโช) มหาธรรมาจารย์เทียนไท้บอกว่า “ถ้าแต่เดิมมา (ประชาชน) เคยมี (สันดาน) กุศล พระพุทธเจ้าก็จะช่วยปกปักรักษาพวกเขาด้วย (ธรรมะ) เล็ก (หมายถึงคำสอนชั่วคราว และที่แต่เดิมมา (ประชาชน) ไม่เคยมี (สันดาน) กุศลนั้น (ก็เปรียบเสมือนเป็นการปฏิบัติของ) พระสทาปริภูตโพธิสัตว์บังคับเอาพิษที่ (ประชาชน) ให้มาด้วย (ธรรมะ) ใหญ่ (หมายถึงสัทธรรมปุณฑริกสูตร)” ซึ่งจิตใจของตัวอักษรนั้นก็เพื่อคนที่มีสันดานกุศลมาแต่เดิม และเพื่อผู้ที่สามารถได้รับการรู้แจ้งอยู่ในชาตินี้นั้น ก็จงเทศนาสั่งสอนสัทธรรมปุณฑริกสูตรให้ในทันที แต่อยู่ในนั้น (ผู้ที่) ยังมีสันดานที่ฟัง (ธรรมะ) แล้วดูหมิ่น และชั่วครู่เดียวก็จะทำพระสูตรชั่วคราวขึ้นมา ก็จงเทศนาสั่งสอนสัทธรรมปุณฑริกสูตรในภายหลังด้วย สันดานกุศลอันยิ่งใหญ่แต่เดิมมาก็ไม่มี ปัจจุบันก็ไม่มี การศรัทธาในสัทธรรมปุณฑริกสูตร เนื่องด้วย(บุคคลเหล่านี้นั้น) ตกอยู่ในหนทางชั่วที่ปกติธรรมดา ดังนั้น เฉพาะเทศนาสั่งสอนสัทธรรมปุณฑริกสูตรอย่างเข้มงวดกวดขัน และให้เขาเหล่านี้ดูหมิ่นไปก่อน ให้กลายเป็น (ประชาชนแห่ง) ปัจจับตรงกันข้าม (นี่คือทางด้านธรรมเรียกว่าปัจจัยกลองพิษ) หน้า 16 ธรรมนิพนธ์เรื่องการสวดไดโมขุแห่งสัทธรรมปุณฑริกสูตร(โชฮกเขะไดโมขุโช) จงยึดถือปรัชญาธรรม และแยกให้ออกว่าผิดหรือถูก ห้ามพึ่งพาอินทรีย์แก่กล้ากับอภินิหาร หน้า 24 ริชโช่อันโคขุรน การห้ามต่อหนึ่งความชั่วร้าย (ความหมายตามตัวอักษรหมายถึงนิกายสุขาวดี ความหมายใต้ตัวอักษรหมายถึงนิกายมนตรยาน) นี้ ไม่ด้อยไปกว่าการหมื่นอธิษฐานทั้งหลายของเขา หน้า 33 ริชโช่อันโคขุรน ปีโชคะที่ 1 (ค.ศ.1257) วันที่ 23 สิงหาคม มีแผนดินไหวอย่างไม่เคยมีมาก่อน และปีโชคะที่ 2 (ค.ศ.1258) วันที่ 1 สิงหาคม มีลมไต้ฝุ่น และปีโชคะที่ 3 (ค.ศ.1259) มีทุพภิกขภัยอันยิ่งใหญ่เกิดขึ้น และปีโชเง็นที่ 1 (ค.ศ.1259) เกิดโรคระบาดอันยิ่งใหญ่ และปีโชเง็นที่ 2 (ค.ศ.1260) เกิดโรคระบาดอันยิ่งใหญ่ตลอด 4 ฤดูกาลไม่ขาดสาย ประชาชนทั้งหมดมากกว่าครึ่งหนึ่งได้เสียชีวิตไป หน้า 67 (โชฮกเขะไดโมขุโช) อยู่ในสมัยชั่ว (หมายถึงสมัยธรรมปลาย) นี้มีภิกษุมากมาย และร่างกายนั้นยึดถือไตรจีวรหนึ่งบาตร และอาศัยอยู่ในอาราม และกิริยามารยาทดุจเดียวกับอรหันต์แห่งวิทยา 3 อภิญญา 6 ของมหากัสสปต่าง ๆ ซึ่งได้รับการเคารพยกย่องจากคนทั้งหลายผู้เป็นฆราวาส และถ้าพูด 1 คำแล้วก็จะสามารถคิดได้ว่าดุจเดียวกับพุทธวาจาของพระตถาคต และเพื่อพูดโดยทำลายต่อผู้ที่ปฏิบัติสัทธรรมปุณฑริกสูตร จึงพบและพูดกับพระเจ้าแผ่นดิน และมหาอำมาตย์ต่าง ๆ ว่า คน ๆ นี้เป็นผู้ที่มีมิจฉาทิฎฐิ และปรัชญาธรรมนั้นเป็นปรัชญาธรรมที่ผิด ซึ่งเป็นผู้ที่ไม่เอาใจใส่ หน้า 153 ธรรมนิพนธ์เรื่องท่านเร็นโจ พระพุทธะช่วยเหลือประชาชนด้วยตัวอักษร คำถาม รากฐานของเรื่องนี้เป็นอย่างไรหรือ ตอบว่า ในม้วนที่ 15 ของนิรวาณสูตรกล่าวว่า ปรารถนาว่าประชาชนต่าง ๆ ทั้งหมดทุกคน ขอให้รับและยึดถือต่ออักษรของการปรากฏขึ้นมาในโลก (หมายถึงความปรารถนาที่มีมานานของการเกิดมาในโลกนี้ของพระพุทธะ)” หรือพระสูตรโชโบเค็ตจึงิเคียวกล่าวว่า “เนื่องด้วยพึ่งพาตัวอักษร จึงสามารถช่วยเหลือประชาชน และทำให้ได้รับการรู้แจ้ง” ซึ่งได้มีกล่าวไว้เช่นนี้ถ้าห่างจากตัวอักษรแล้ว จะมีสิ่งใดหรือที่สามารถเป็นการกระทำของพระพุทธะ (หมายถึงสิ่งสักการบูชาที่สามารถช่วยเหลือประชาชน) หน้า 153 ธรรมนิพนธ์เรื่องพระสงฆ์เร็นโจ มหาสมถวิปัสสนา (มะคะชิคัน) กล่าวว่า “ถ้าไม่ได้พบอาจารย์แล้ว ปัญญาชั่วจะเพิ่มขึ้นทุกวัน” หน้า 166-167 ธรรมนิพนธ์เรื่องถามตอบเพื่อให้ได้รับชัยชนะโดยเร็ว (ฮายางาจิมนโด) พระพุทธะทั้งหลายนั้น เนื่องด้วยเฉพาะเหตุและปัจจัยของเรื่องที่ยิ่งใหญ่อันดับหนึ่ง จึงสามารถปรากฏออกมาในโลก ................... พระพุทธะทั้งหลายนั้นอยากจะเปิดปัญญาพระพุทธะให้แก่ประชาชน และปรารถนาให้ได้รับความสะอาดบริสุทธิ์ ดังนั้น จึงปรากฏออกมาในโลก และเนื่องด้วยปรารถนาให้ประชาชนรู้แจ้งปัญญาของพระพุทธะ จึงปรากฏออกมาในโลก และเนื่องด้วยปรารถนาให้ประชาชนสามารถเข้าสู่เส้นทางปัญญาของพระพุทธะ จึงปรากฏออกมาในโลก หน้า 171 ธรรมนิพนธ์เรื่องจดหมายถึงท่านเฮอิโนะซาเอมนโนะโจโยริจึนะ ท่านนั้น (หมายถึงเฮอิโนะซาเอมน) เป็นเจ้าบ้าน (หมายถึงหัวหน้ารัฐบาล) ของทั่วฟ้า และเป็นแขนขาของประชาชนทั้งหมด หน้า 173 (นิกาย) สุขาวดีนั้นเป็นกรรมของนรกอเวจี นิกายเซ็นนั้นเป็นการกระทำของพญามาร (นิกาย) มนตรยานนั้นเป็นธรรมะชั่วของประเทศที่ประสบกับความพินาศล่มจม นิกายวินัยนั้นเป็นคำสอนที่โกหกหลอกลวงของโจรของประเทศ หน้า 176 ต้องการให้ (ประชาชนทั้งหมดสามารถ) เท่าเทียมกับตถาคต และไม่ให้มีความแตกต่างกันอย่างเด็ดขาด (เนียวงะโทมุอิ) หน้า 177 ธรรมนิพนธ์เรื่องจดหมายถึงบรรดาลูกศิษย์ที่เป็นอุปัฏฐาก ลูกศิษย์และฆราวาสของอาตมานิชิเร็นจะต้องถูกโทษเนรเทศและโทษประหารอย่างแน่ นอน แต่อย่ามีจิตใจกลัวสิ่งนี้แม้แต่นิดเดียว คำพูดแข็งกร้าวต่อผู้อื่นนั้นก็ไม่จำเป็น เพราะว่าคำพูดที่ “แข็งกร้าวก่อให้เกิดพิษ” (นิโงโดะขุชิ – หมายถึง ผู้ที่ไม่อยากฟัง แต่เราก็กล้าพูดอย่างเข้มแข็งกับเขา ซึ่งอาจจะทำให้เขาบังเกิดจิตใจที่โมโหซึ่งหมายถึงพิษ ทั้งนี้ก็เพื่อให้สิ่งนี้เป็นปัจจัยแก่เขา ในอนาคตจะได้พบกับโงะฮนซนอีก มีความหมายเหมือนกับปัจจัยกลองพิษ – ดกขุโนะเอ็น) นั่นเอง อาตมานิชิเร็นก็เคยปรารถนาต่อสิ่งนี้ ดังนั้น ทุกคนจะต้องมีความระมัดระวังไว้ด้วย อย่าเป็นห่วงภรรยาบุตรหรือบริวารแม้แต่นิดเดียว และอย่าได้เกรงกลัวต่ออิทธิพลอำนาจ ขอให้คราวนี้สามารถตัดความผูกมัดแห่งการเกิดตาย (ความทุกข์) และบรรลุผลการตรัสรู้เป็นพระพุทธะด้วย หน้า 187 ธรรมนิพนธ์เรื่องเปิดดวงตา ตอนหน้า (พูดถึงเดียรถีย์นั้น) แม้ว่าจะบรรลุ (รู้แจ้ง) ได้สูงสุดจนถึงรูปภพ อรูปภพ และกำหนดว่านิพพานก็คือโลกสูงสุด จึงสามารถขึ้นไปโจมตีได้ (หมายถึงพยายามปฏิบัติ) ดุจเดียวกับหนอนคืบก็ตาม แต่จากชั้นเนวสัญญานาสัญญายตนะจะกลับกลายเป็นตกอยู่ในอบายภูมิ 3 (นรก เปรต เดรัจฉาน) และที่เหลืออยู่ในโลกเทวะก็ไม่มีเลยแม้แต่คนเดียว หน้า 189 ธรรมนิพนธ์เรื่องเปิดดวงตา ตอนหน้า ปรัชญาธรรมแห่งหนึ่งขณะจิตสามพัน (หมายถึงนัมเมียวโฮเร็งเงเคียวของธรรมะเร้นลับอันยิ่งใหญ่ 3 ประการ) นั้น เฉพาะซ่อนอยู่ใต้ตัวอักษรของบทการหยั่งอายุกาลของพระตถาคต ซึ่งเป็นปรัชญาธรรมที่แท้จริง (ฮนมน) ของสัทธรรมปุณฑริกสูตรนั่นเอง พระนาคารชุน พระวสุพันธุ์นั้นรู้อยู่ แต่ก็ยังไม่หยิบเอาออกมา เฉพาะเทียนไท้ผู้ฉลาด(ที่เป็นพวกเดียวกัน) ของอาตมาเท่านั้นที่เก็บสิ่งนี้ (หมายถึงนัมเมียวโฮเร็งเงเคียวของธรรมะเร้นลับอันยิ่งใหญ่ 3 ประการ) ไว้ในใจ หน้า 192 ธรรมนิพนธ์เรื่องเปิดดวงตา ตอนหน้า ลูกศิษย์ของพระพุทธะนั้นจะต้องรู้พระคุณ 4 ประการ (ได้แก่ 1.พระคุณบิดามารดา 2. พระคุณประชาชน 3. พระคุณพระมหากษัตริย์ 4. พระคุณพระรัตนตรัย) และจะต้องตอบแทนบุญคุณอยู่แล้ว นอกจากนี้แล้ว พระสารีบุตร พระมหากัสสป ฯลฯ ซึ่งเป็นทวิยานนั้นยึดถือศีล 250 ข้อ ............ ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ดีของผู้ที่รู้จักตอบแทนบุญคุณอยู่แล้ว แต่พระพุทธเจ้าก็ได้กำหนดไว้ว่า (บุคคลเหล่านี้) เป็นผู้ที่ไม่รู้จักตอบแทนบุญคุณ ก็ด้วยสาเหตุที่ว่า เมื่อออกจากบ้านบิดามารดาไปออกบวชเป็นพระสงฆ์นัน้ ก็เพื่ออยากจะช่วยบิดามารดา แต่ทวิยานนั้น แม้ว่าตัวเองจะรู้ตัวว่าหลุดพ้นได้ก็ตาม แต่ก็ขาดการปฏิบัติเพื่อผู้อื่น ....................... เมื่อเปรียบเทียบความดีงามทั้งหลายของทวิยานกับความชั่วของมนุษย์ปุถุชนแล้ว ความชั่วของมนุษย์ปุถุชนนั้น ถึงแม้ว่าจะ (ชั่วร้ายก็สามารถ) เป็นพระพุทธะได้ก็ตาม แต่ความดีงามของทวิยานนั้นไม่สามารถที่จะเป็นพระพุทธะได้ 197 ธรรมนิพนธ์เรื่องเปิดดวงตา ตอนหน้า อวตังสักสูตรไปจนถึงมหาปรัชญาปารมิตาสูตร และมหาไวโรจนสูตร ต่าง ๆ (หมายถึงคำสอน 42 ปีก่อนสัทธรรมปุณฑริกสูตร) นั้น ไม่เพยงแต่จะซ่อนการที่ทวิยานเป็นพระพุทธะได้ (นิโยซะบุตจึ) แล้ว ยังซ่อนการบรรลุพุทธภาวะที่แท้จริงในสมัยกาลนาน 500 ธุลีกัป (ของพระพุทธะ – คุอนจิตจึโย) อีกด้วย แต่คัมภีร์เหล่านี้มีข้อผิดพลาดอยู่ 2 ประการด้วยกัน หนึ่งก็คือ เนื่องด้วยยังอยู่ (หมายถึงยังสอนอยู่) ต่อการแยกความแตกต่าง (หมายถึงการที่ทวิยานไม่เป็นพระพุทธะ) ดังนั้น จึงยังเปิดต่อคำสอนชั่วคราว (ซึ่งทำให้ยังไม่ได้เปิดเผยสัทธรรมปุณฑริกสูตคร) จึงทำให้ซ่อนต่อหนึ่งขณะจิตสามพันของปรัชญาธรรมชั่วคราว สองก็คือเนื่องด้วยพูดถึงการเริ่มบรรลุพุทธภาวะในโลกนี้ แต่ก็ยังไม่เปิดเผยถึงสภาพจิตใจชั่วคราว (หมายถึงพระพุทธเจ้ายังไม่ได้ละทิ้งสภาพชั่วคราว และปรากฏตัวตนที่แท้จริง และไม่เปิดเผยถึงอายุกาลอันยาวนานของพระพุทธะ) จึงซ่อนต่อสมัยกาลนาน (500 ธุลีกัป) ของปรัชญาธรรมที่แท้จริง ธรรมะอันยิ่งใหญ่ 2 ประการดังกล่าวนั้นเป็นสาระสำคัญของหนึ่งชั่วพระชนมายุ และเป็นแก่นสารของพระสูตรทั้งหมด (ของพระพุทธจ้า) ดังนั้น บทกุศโลบายของปรัชญาธรรมชั่วคราวนั้นเทศนาถึงทวิยานเป็นพระพุทธะได้ กับ หนึ่งขณะจิตสามพัน จึงสามารถหลีกเลี่ยงต่อข้อผิดพลาดหนึ่งประการของข้อผิด พลาด 2 ประการของคำสอนก่อนสัทธรรมปุณฑริกสูตร แต่ทว่า ยังไม่ได้ละทิ้งสภาพชั่วคราว และปรากฏตัวตนที่แท้จริงอยู่แล้ว ดังนั้น หนึ่งขณะจิตสามพันที่แท้จริงก็ไม่สามารถปรากฏออกมา และการที่ทวิยานเป็นพระพุทธะก็ไม่ได้กำหนดไว้ ดุจเดียวกับการดูพระจันทร์ที่อยู่ในน้ำและคล้ายกับหญ้าที่ไม่มีรากจะลอยอยู่ บนคลื่นเช่นกัน เมื่อเข้าถึงปรัชญาธรรมที่แท้จริง และสามารถตีแตกต่อเรื่องการเริ่มบรรลุพุทธภาวะในโลกนี้แล้ว ก็จะสามารถตีแตกต่อผลของคำสอน 4 ชนิด (ได้แก่ 1.คำสอนปิฏก 2.คำสอนสัมพันธ์ 3.คำสอนแยกจำแนก 4. คำสอนสมบูรณ์) ถ้าตีแตกผลของคำสอน 4 ชนิดแล้ว ก็จะตีแตกเหตุของคำสอน 4 ชนิด้ดวย การตีแตกต่อเหตุและผลของ 10 โลกของพระสูตรก่อนสัทธรรมปุณฑริกสูตร และปรัชญาธรรมชั่วคราว และการปรากฏการเทศนาเหตุและผลของ 10 โลกของปรัชญาธรรมที่แท้จริง สิ่งนี้ก็เท่ากับเป็นปรัชญาธรรมแห่งเหตุพื้นฐานและผลดั้งเดิม 9 โลกก็มีพร้อมโลกพุทธะที่ไม่มีจุดเริ่มต้น และโลกพุทธะก็มีอยู่ใน 9 โลกที่ไม่มีจุดเริ่มต้น จึงจะต้องเป็นสิบโลกมีพร้อมซึ่งกันและกัน ร้อยโลกพันเช่นนี้ และหนึ่งขณะจิตสามพันที่แท้จริง หน้า 202 ธรรมนิพนธ์เรื่องเปิดดวงตา ตอนหน้า คาถาของ 20 บรรทัดของบทคันยิบน (บทที่ 13) ของม้วนที่ 5 ของสัทธรรมปุณฑริกสูตร (หมายถึงในนั้นมีเขียนคำพยากรณ์ของพระพุทธเจ้าที่ว่า ผู้ปฏิบัติสัทธรรมปุณฑริกสูตรในสมัยธรรมปลายนั้นจะต้องถูกด่าว่านินทา และพบกับการบีฑาธรรมด้วยดาบ ไม้ตะพด กระเบื้อง หิน และถูกเนรเทศบ่อย ๆ แต่ก็ต้องอดทน) นั้น ถ้าแม้นอาตมานิชิเร็นไม่เกิดในประเทศนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าเกือบจะต้องเป็นผู้กล่าวเท็จที่ยิ่งใหญ่ก็ได้....... ถ้าไม่มีอาตมานิชิเร็นแล้ว............ บันทึกอนาคตของ 1 คาถานี้ก็จะกลายเป็นคำเท็จไป หน้า 202 ธรรมนิพนธ์เรื่องเปิดดวงตา ตอนหน้า และที่กล่าวว่า ถูกเนรเทศบ่อย ๆ (ซาขุซาขุเค็นฮินซุย ที่กล่าวอยู่ในบทคันยิบน) และอื่น ๆ นั้น อาตมานิชิเร็น ถ้าไม่ถูกเนรเทศบ่อย ๆ เพราะสัทธรรมปุณฑริกสูตรแล้ว อักษร 2 ตัวของ “บ่อยๆ (ซาขุซาขุ)” จะเป็นอย่างไร อักษร 2 ตัวนี้ พระเทียนไท้ พระเด็งเงียวก็ยังไม่ได้อ่านเลย นับประสาอะไรกับคนอื่น ๆ หน้า 208 ธรรมนิพนธ์เรื่องเปิดดวงตา ตอนหน้า ที่เรียกว่าอาจารย์นั้นจะสอนเรื่องที่ลูกศิษย์ไม่รู้ นั่นก็คืออาจารย์ หน้า 208 ธรรมนิพนธ์เรื่องเปิดดวงตา ตอนหน้า พูดถึงอาจารย์ของมนุษย์ก็คือสามารถสอนในสิ่งที่ลูกศิษย์ไม่รู้จักนั้นเรียก ว่าอาจารย์ หน้า 215 ธรรมนิพนธ์เรื่องเปิดดวงตา ตอนหลัง นิกายต่าง ๆ นั้นหลงผิดต่อสิ่งสักการบูชา หน้า 223 ธรรมนิพนธ์เรื่องเปิดดวงตา ตอนหลัง (ธรรมนิพนธ์ฉบับนี้) จะเป็นกระจกใส ดังนั้น ควรจะต้องรู้ว่าเป็นมรดก หน้า 223 ธรรมนิพนธ์เรื่องเปิดดวงตา ตอนหลัง บทพระเทวทัตนี้มีคำตักเตือนของพระพุทธะ 2 ข้อ พระเทวทัตนั้นเป็นอิจฉานติก แต่สามารถ (อยู่ในบทนี้) เขียนว่าเทวราชตถาคต (หมายถึงอนาคตสามารถบรรลุพุทธภาวะและมีชื่อเช่นนี้)......... อนันตริยกรรม 5 (1.ฆ่าบิดา 2.ฆ่ามารดา 3.ฆ่าพระอรหันต์ 4.ทำร้ายพระพุทธะจนถึงห้อพระโลหิต 5.สังฆเภท) อนันตริยกรรม 7 (หมายถึง 1-5 กับ 6.ฆ่าอุปชยายะ 7.ฆ่าอาจารย์ผู้สั่งสอน) หมิ่นประมาทธรรม และอิจฉานติกทั้งหมดนั้นสามารถถูกระบุว่าเป็นเทวราชตถาคต (เพราะพระเทวทัตเป็นตัวอย่างของคนชั่ว) ซึ่งเหมือนกับยาพิษเปลี่นยเป็นน้ำอมฤต ซึ่งเหนือกว่ารสชาติทั้งหมด การบรรลุพุทธภาวะของนาคราชบุตรี นี่คือไม่ใช่เพียงแค่คนหนึ่ง แต่จะเป็นการแสดงถึงการบรรลุพุทธภาวะของสตรีทั้งหมดอยู่แล้ว อยู่ในคำสอนเถรวาทต่าง ๆ ของ (คำสอน) ก่อนสัทธรรมปุณฑริกสูตร ไม่อนุญาตต่อการบรรลุพุทธภาวะของสตรี อยู่ในคำสอนมหายานต่าง ๆ นั้น ดูเหมือนว่าอนุญาตต่อการบรรลุพุทธภาวะ หรือการตายและเกิดที่ (ดินแดน) สุขาวดีที่สะอาดบริสุทธิ์ก็ตาม แต่บางทีก็เป็นการบรรลุพุทธภาวะโดยเปลี่ยนรูป (หมายถึงผู้หญิงต้องตายและเกิดใหม่เป็นชาย และบำเพ็ญเพียรแล้ว จึงจะสามารถบรรลุพุทธภาวะได้) และไม่เป็นการบรรลุพุทธภาวะของหนึ่งขณะจิตสามพันอยู่แล้ว จึงเป็นการตายและเกิดที่ (ดินแดน) สุขาวดีที่สะอาดบริสุทธิ์ของการมีแต่ชื่อ แต่ไม่มีความหมายที่แท้จริง ที่เรียกว่าการอ้างตัวอย่างหนึ่งแล้วทุกอย่างก็สามารถเหมือนกันหมด ดังนั้น การบรรลุพุทธภาวะของนาคราชบุตรีนั้นจึงสามารถเปิดทางของการบรรลุพุทธภาวะของ สตรีอยู่แล้ว หน้า 231 ธรรมนิพนธ์เรื่องเปิดดวงตา ตอนหลัง พระสูตรหฤทัยภูมิธยานมีว่า ถ้าอยากจะรู้เหตุของอดีต จงดูผลของปัจจุบัน และถ้าอยากจะรู้ผลของอนาคต จงดูเหตุของปัจจุบัน หน้า 232 ธรรมนิพนธ์เรื่องเปิดดวงตา ตอนหลัง สรุปแล้ว แม้ว่าเทวดาจะทอดทิ้ง (อาตมา) ไป และจะต้องพบกับอุปสรรคต่าง ๆ นานาก็ตาม ก็ยอมอุทิศทั้งร่างกายและชีวิต (เพื่อการเผยแผ่ธรรม) ถึงแม้ว่าพระสารีบุตร (จะได้ทับถมการ) บำเพ็ญเพียรของโพธิสัตว์ถึง 60 กัป แต่ถอยศรัทธา (และไม่บรรลุพุทธภาวะ) นั้น เพราะอดทนไม่ไหวต่อความทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัสจากพราหมณ์ (ตาบอด) ที่ขอตา (ของพระสารีบุตร) นั่นเอง และคนที่ (เพาะเมล็ดของสัทธรรมปุณฑริกสูตร) ในสมัยกาลนาน (500 ธุลีกัป) หรือในสมัยพระมหาภิชญาชญาณาภิภุ (3000 ธุลีกัป) บุคคลผู้นั้น (ที่ตกอยู่ในหนทางชั่ว) ในเวลา (อันยาวนาน ) 3000 ธุลีกัป และ 500 ธุลีกัป ก็ด้วยสาเหตุที่ว่าได้พบกับอกัลยาณมิตร (จึงถอยศรัทธา) นั่นเอง จะติดตามความดีหรือติดตามความชั่วก็ตาม แต่การละทิ้งสัทธรรมปุณฑริกสูตรนั้นจะเป็นกรรมของนรก ขณะนี้นี่แหละได้ตั้งความปรารถนาอันยิ่งใหญ่ เชน่ ให้ละทิ้งสัทธรรมปุณฑริกสูตร และยอมรับอมิตายุสูตร (นิกายสุขาวดี) ต่าง ๆ และหวังต่อชาติหน้าแล้ว ก็จะมอบตำแหน่งของประเทศญี่ปุ่นให้ แต่ถ้าไม่สวดต่ออมิตาภพุทธะแล้ว จะตัดศีรษะของบิดามารดา ถึงแม้ว่าจะมีอุปสรรคอันยิ่งใหญ่หลากหลายชนิดอื่นๆ ก็ตาม แต่(ในอนาคต) ถ้าคำสอนของอาตมาถูกทำลายจากผู้ฉลาดแล้ว ก็ไม่ควรจะนำมาใช้ (แต่เรื่องนี้เป็นไปไม่ได้) อุปสรรคอันยิ่งใหญ่อื่น ๆ นอกจากนี้ (ถูกทำลายจากผู้ฉลาด) แล้ว ก็เป็นเพียงแค่ผงธุลีในสายลม อาตมาเป็นเสาของประเทศญี่ปุ่น (คุณธรรมแห่งเจ้า) อาตมาเป็นดวงตาของประเทศญี่ปุ่น (คุณธรรมแห่งอาจารย์) อาตมาเป็นเรือใหญ่ของประเทศญี่ปุ่น (คุณธรรมแห่งบิดามารดา) และอื่น ๆ นั้น เป็นคำสัตย์ปฏิญาณที่เป็นคำอธิษฐานที่ไม่อาจจะถูกทำลายได้ หน้า 234 ธรรมนิพนธ์เรื่องเปิดดวงตา ตอนหลัง อาตมาพร้อมกับลูกศิษย์ของอาตมา ถึงแม้ว่าจะมีอุปสรรคต่าง ๆ ก็ตาม แต่ถ้าไม่มีจิตใจที่สงสัยแล้ว ก็จะสามารถเข้าสู่โลกพุทธะได้อย่างธรรมชาติ ดังนั้น ถ้าไม่มีเรื่องการรักษาคุ้มครองของเทวดา ก็อย่าสงสัย และเรื่องที่ไม่มีความราบรื่นปลอดภัยในชาตินี้ ก็อย่าคร่ำครวญ (อาตมา) พร่ำสอนแก่ลูกศิษย์ของอาตมาอยู่ทุกเช้าค่ำก็ตาม แต่(ถ้ามีอุปสรรคเกิดขึ้นแล้ว) ทุกคนก็ก่อเกิดความสงสัย และทิ้ง (สัทธรรมปุณฑริกสูตร หมายถึงโงะฮนซน) เสียแล้ว ซึ่งนิสัยของคนโง่เขลานั้น เรื่องที่เคยให้คำมั่นสัญญา ในเวลาที่ (พบกับ) เรื่องจริงแล้ว ก็จะลืมไปเลย หน้า 235 ธรรมนิพนธ์เรื่องเปิดดวงตา ตอนหลัง ในสมัยที่ไม่มีปัญญา และคนชั่วเต็มไปหมดในดินแดนนั้น จะต้องชักชวนโดยทำตามลักษณะพื้นฐานชีวิตของเขาก่อน ดุจเดียวกับบทการปฏิบัติที่มีความสงบราบรื่น (บทที่ 14 ของสัทธรรมปุณฑริกสูตร) แต่ในสมัยที่ผู้ที่มีปัญญาชั่วกับผู้ที่ดูหมิ่นธรรมะมากมายนัน้ จะต้องชักชวนโดยพูดตรง ๆ ก่อน ดุจเดียวกับบทพระสทาปริภูตโพธิสัตว์ (บทที่ 20 ของสัทธรรมปุณฑริกสูตร) ................. สมัยธรรมปลายนี้ควรจะต้องมีการชักชวนโดยทำตามลักษณะพื้นฐานชีวิต และชักชวนโดยพูดตรง ๆ ก็หมายถึงสาเหตุที่มีประเทศชั่วกับประเทศที่ทำลายธรรมะ ซึ่งมีทั้ง 2 ประเทศอยู่แล้ว ดังนั้น ควรจะต้องรู้ว่า สมัยนี้ของประเทศญี่ปุ่นนั้นเป็นประเทศชั่ว หรือประเทศที่ทำลายธรรมะ อันใดกันเล่า หน้า 237 ธรรมนิพนธ์เรื่องเปิดดวงตา ตอนหลัง อาตมานิชิเร็นนั้นเป็นเจ้านาย อาจาราย์ และบิดามารดาของผู้คนทั้งหลายในประเทศญี่ปุ่น หน้า 237 ธรรมนิพนธ์เรื่องเปิดดวงตา ตอนหลัง หากว่าเนื่องสัทธรรมปุณฑริกสูตรแล้ว ก็ไม่เป็นที่อับอาย การได้รับการชมเชยจากคนโง่นั้นเป็นความอับอายอันดับ หนึ่ง................... พุทธธรรมนั้นขึ้นอยู่กับเวลา โทษเนรเทศของอาตมานิชิเร็นนั้นเป็นความทุกข์ที่เล็กน้อยในชาตินี้ จึงไม่คร่ำครวญ (เพราะ) ชาติหน้าจะต้องได้รับความสุขสำราญที่ยิ่งใหญ่ จึงปีติยินดีอย่างมหาศาล หน้า 239 ธรรมนิพนธ์เรื่อง หนึ่งขณะจิตสามพันนั้นครอบคลุมทั้งชีวิตที่มีความรู้สึกและชีวิตที่ไม่มี ความรู้สึก หน้า 240 เห็นแจ้งจิต (คันยิน) ก็คือ สามารถเห็นแจ้งต่อจิตใจของตัวเอง และสามารถดูต่อสิบโลกธรรม นี่คือเรียกว่าการเห็นแจ้งจิต หน้า 241 แต่เฉพาะโลกพุทธะเท่านั้นปรากฏออกมาได้ยาก............... มนุษย์ปุถุชนในสมัยธรรมปลายที่เกิดมา และเชื่อสัทธรรมปุณฑริกสูตรนั้น ก็เนื่องด้วยโลกมนุษย์นี้มีพร้อมโลกพระพุทธะนั่นเอง หน้า 241 ความโกรธคือนรก หน้า 242 เงียวโอกับชุนโอ (กษัตริย์ที่อยู่ในเรื่องที่เล่าต่อ ๆ กันมาตั้งแต่สมัยโบราณของประเทศจีน) ต่าง ๆ ซึ่งเป็นเสมือนอริยบุคคลนั้นได้ให้ (ความเมตตากรุณา) แก่ประชาชนทั้งหมดโดยไร้ซึ่งความอยุติธรรม ซึ่งก็เป็นส่วนหนึ่งของโลกพุทธะในโลกมนุษย์นั่นเอง หน้า 246 พระสูตรความหมายนับไม่ถ้วน (มุเรียวงิเคียว) กล่าวว่า “แม้ว่าเราจะยังไม่ได้บำเพ็ญเพียรบารมี 6 ก็ตาม แต่บารมี 6 ก็มีอยู่ที่ตรงหน้าแล้วโดยธรรมชาติ”...................... สองธรรมะแห่งการบำเพ็ญเพียรเหตุ กับบุญกุศลมากมายเป็นผล (อินเงียวคะโทขุ) ของพระศากยะผู้ประเสริฐนั้นมีพร้อมอยู่ในอักษร 5 ตัวของเมียวโฮเร็งเงเคียวอยู่แล้ว ถ้าพวกเราสามาถรับและยึดถืออักษร 5 ตัวนี้แล้ว (หมายถึงโงะฮนซนแห่งนัมเมียวโฮเร็งเงเคียว) ก็จะสามารถได้รบมอบบุญกุศลแห่งเหตุและผลของพระองค์ (หมายถึงพระพุทธเจ้า) ได้อย่างธรรมชาติ หน้า 247 เรื่องอักษร 5 ตัวของนัมเมียวโฮเร็งเงเคียว ซึ่งเป็นสาระสำคัญของปรัชญาธรรมที่แท้จริงนี้นั้น พระมัญชุศรี พระไภษัชยราช และคนอื่น ๆ นั้น พระพุทธะยังไม่ส่งมอบสิ่งนี้ให้ แล้วนับประสาอะไรกับคนอื่น ๆ เล่า แต่เฉพาะเรียกออกมาต่อโพธิสัตว์ที่ปรากฏจากพื้นโลกในพันโลก และเทศนาต่อ 8 บท แล้วส่งมอบสิ่งนี้ให้ หน้า 247 ธรรมาจารย์เมียวลักกล่าวว่า “หนึ่งกายหนึ่งขณะจิตจะเพียบพร้อมทั่วถึงไปด้วยธรรมธาตุ (และได้รับสภาพชีวิตที่อิสระเสรี) (อิดชินอิชิเน็นโฮไคนิอามาเนะชิ)” หน้า 247 พระวิศิษฏ์จาริตร พระอนันตจาริตร พระวิสุทธิจาริตร และพระสุประดิษฐจาริตร ทั้งหลายนั้นเป็นโพธิสัตว์แห่งจิตใจของตัวเองของพวกเรานั่นเอง หน้า 248 สิ่งสักการบูชาดุจเดียวกับสิ่งนี้นั้นไม่มีอยู่ในระหว่าง 50 กว่าปีของสมัยที่พระพุทธเจ้ามีชีวิตอยู่ (หมาย ถึงคำสอนของคำสอนก่อนสัทธรรมปุณฑริกสูตร) ส่วนในระหว่าง 8 ปี(หมายถึงเทศนาสัทธรรมปุณฑริกสูตร) ก็เฉพาะจำกัดอยู่ใน 8 บท ในระหว่าง 2000 ปีสมัยสุทธิธรรม สมัยรูปธรรมนั้น สำหรับพระศากยะผู้ประเสริฐ (หมายถึงสิ่งสักการบูชา) ของ (คำสอนหรือนิกาย) เถรวาทนั้น ให้พระมหากัสสปและพระอานนท์เป็นผู้ที่ทำหน้าที่อยู่เคียงข้าง และพระศากยะผู้ประเสริฐ (หมายถึงสิ่งสักการบูชา) ของคำสอนมหายานชั่วคราว พร้อมกับนิรวาณสูตรหรือปรัชญาชั่วคราวของสัทธรรมปุณฑริกสูตร ต่าง ๆ นั้น ให้พระมัญชุศรีและพระสมันตภัทรต่าง ๆ เปนผู้ทำหน้าที่อยู่เคียงข้างอยู่แล้ว แต่ถึงแม้ว่าจะจารึกหรือขีดเขียนพระพุทธะ (หมายถึงสิ่งสักการบูชา)เหล่านี้นั้นก็ตาม แต่ยังไม่มีพระพุทธะของบทการหยั่งอายุกาลของพระตถาคต (ถ้าความหมายตามตัวอักษรก็คือพระพุทธเจ้า แต่ถ้าความหมายใต้ตัวอักษรแล้วก็หมายถึงพระนิชิเร็นไดโชนิน ซึ่งเป็นพระพุทธะแท้) ต่อเมื่อเข้าสู่สมัยธรรมปลาย จึงจะเริ่มปรากฏต่อพระพุทธรูป (ที่เป็นวัตถุ ซึ่งหมายถึงโงะฮนซน) นี้นั่นเอง หน้า 249 ปรัชญาธรรมของสมัยที่พระพุทธเจ้ามีพระชนม์ชีพอยู่ กับตอนเริ่มต้นของสมัยธรรมปลาย (หมายถึงสมัยของพระนิชิเร็นไดโชนิน) นั้น เป็นความบริบูรณ์ที่บริสุทธิ์เหมือนกัน (หมายถึงทั้งสองสมัยสอนธรรมะที่เป็นสัจจธรรม) แต่ว่าเขา (หมายถึงพระพุทธเจ้า) นั้นเป็นผู้เก็บเกี่ยว ส่วนเรา (หมายถึงพระนิชิเร็นไดโชนิน) นั้นเป็นผู้เพาะเมล็ด และเขา (หมายถึงพระพุทธเจ้า) นั้น (หลักก็คือ) หนึ่งบทสองครึ่ง ส่วนเรา (หมายถึงพระนิชิเร็นไดโชนิน) นั้น (หลักก็คือ) เฉพาะอักษร 5 ตัวแห่งไดโมขุ (หมายถึงนัมเมียวโฮเร็งเงเคียว) หน้า 254 ถ้าท้องฟ้าแจ่มใสแล้ว พื้นดินก็ชัดแจ้ง ผู้ที่รู้สัทธรรมปุณฑริกสูตรจะสามารถรุ้แจ้งต่อกฎของสังคม หน้า 254 จงรู้ไว้ด้วยว่า 4 โพธิสัตว์นี้ (หมายถึงพระวิศิษฏ์จาริตรโพธิสัตว์) ในเวลาที่ปรากฏออกมาชักชวนผู้อื่นโดยพูดตรง ๆ (หมายถึงในเวลาของการชักชวนนะนำผู้อื่นโดยพูดตรง ๆ แห่งแบบอย่างวิธี –เคงิโนะชะขุบุขุ) จะสามารถกลายเป็น (เกิดมา) กษัตริย์ผู้ฉลาด และตักเตือนต่อกษัตริย์ผู้โง่เขลา และในเวลาที่ปฏิบัติโดยชักชวนต่อผู้อื่นโดยทำตามลักษณะพื้นฐานชีวิตของเขา นั้น (หมายถึงในเวลาของการชักชวนผู้อื่นโดยพูดตรง ๆ แห่งตัวตนธรรม – ฮตไทโนะชะขุบุขุ) จะสามารถกลายเป็น (เกิดมา) พระสงฆ์ และยึดถือ และเผยแผ่ต่อสัจจธรรม หน้า 254 โงะฮนซนอันดับหนึ่งแห่งชมพูทวีปจะก่อตั้งที่ประเทศนี้ (ญี่ปุ่น) หน้า 256 ธรรมนิพนธ์เรื่องเลือกกาลเวลา หนึ่งขณะจิตสามพันก็คือ 9 โลกเท่ากับพระพุทธะ และพระพุทธะเท่ากับ 9 โลก หน้า 256 ธรรมนิพนธ์เรื่องเลือกกาลเวลา สำหรับเวลาที่ศึกษาพุทธธรรมนั้น จงศึกษาต่อเวลา (สมัย) เสมอ หน้า 260 ธรรมนิพนธ์เรื่องเลือกกาลเวลา เวลาของการเผยแผ่สัทธรรมปุณฑริกสูตรนั้นมี 2 ครั้ง กล่าวคือ 8 ปีที่ (พระพุทธเจ้า) ทรงมีพระชนม์ชีพอยู่ กับภายหลัง (พระพุทธเจ้า) ปรินิพพานแล้ว ซึ่งเป็นช่วง 500 ปีของการเริ่มต้นของสมัยธรรมปลาย แต่พระเทียนไท้ พระเมียวลัก พระเด็งเงียวทั้งหลายนั้น ช่วงหน้าก็ยังตกหล่นอยู่ในสมัยที่ (พระพุทธเจ้า) ทรงมีพระชนม์ชีพอยู่ และเทศนาสั่งสอนสัทธรรมปุณฑริกสูตร และภายหลังปรินิพพาน (ของพระพุทธเจ้านั้น) ซึ่งเป็นเวลาของสัทธรรมปุณฑริกสูตรก็ยังไม่เกิด การอยู่ในช่วงกลางจึงทำให้สลดใจ และทำให้คิดถึงสมัยแรกริ่มของสมัยธรรมปลาย ...................... แม้ว่าจะเป็นคนป่วยโรคเรื้อนที่สวดนัมเมียวโฮเร็งเงเคียว (ในสมัยธรรมปลาย) ก็ยังดีกว่าพวกเขาที่เป็นศาสดาแห่ง(นิกาย)เทียนไท้ หน้า 265 ธรรมนิพนธ์เรื่องเลือกกาลเวลา การเผยแผ่มหาสัจจธรรมของสัทธรรมปุณฑริกสูตรในประเทศญี่ปุ่นและในชมพูทวีปได้ นั้น มิต้องสงสัยอะไรเลย หน้า 266 ธรรมนิพนธ์เรื่องเลือกกาลเวลา ในประเทศญี่ปุ่น พุทธธรรมข้ามมาถึงประมาณ 700 กว่าปี นอกจากพระมหาธรรมาจารย์เด็งเงียวกับอาตมานิชิเร็นแล้ว ไม่มีผู้ปฏิบัติสัทธรรมปุณฑริกสูตรแม้แต่คนเดียว หน้า 268 ธรรมนิพนธ์เรื่องเลือกกาลเวลา (เมื่อทหารมองโกลบุกเข้ามาประเทศญี่ปุ่นแล้ว) แม้ขณะนี้ภิกษุที่มีสมณศักดิ์ชั้นสูงต่าง ๆ ของประเทศญี่ปุ่นอยากจะสวดนามุนิชิเร็นโชนินก็ตาม แต่นามุเพียงอย่างเดียวเท่านั้น น่าสงสาร น่าสงสาร หน้า 287 ธรรมนิพนธ์เรื่องเลือกกาลเวลา วันที่ 12 กันยายน ค.ศ.1271 เวลาบ่าย 4 โมงได้พูดกับเฮอิโนะซาเอมน (อยู่ที่กุฏิ) ว่า อาตมานิชิเร็นเป็นเสาหลักของประเทศญี่ปุ่น ถ้าทำ (อาตมา) ให้เสียไปแล้ว ก็เหมือนกับทำเสาของประเทศญี่ปุ่นให้ล้มลง หน้า 293 ธรรมนิพนธ์เรื่องการตอบแทนบุญคุณ การติดตามบิดามารดา อาจารย์ พระเจ้าแผ่นดิน และอื่น ๆ ไม่สามารถที่จะบรรลุได้ หน้า 293 ธรรมนิพนธ์เรื่องการตอบแทนบุญคุณ นับประสาอะไรกับผู้ที่เล่าเรียนพุทธศาสนาจะลืมบุญคุณของบิดามารดา อาจารย์ และประเทศชาติได้อย่างไร ในการที่จะตอบแทนบุญคุณอันยิ่งใหญ่นั้น แน่นอนว่าจะต้องเล่าเรียนค้นคว้าพุทธธรรมให้ทะลุปรุโปร่ง และต้องบรรลุเป็นผู้ฉลาดด้วยมิใช่หรือ หน้า 311 ธรรมนิพนธ์เรื่องการตอบแทนบุญคุณ ถึงแม้ว่าจะรวบรวมเอาอุจจาระและเพียรทำให้กลายเป็นไม้ของต้นมะกล่ำตาช้าง (ที่เป็นสีเดียวกัน) ก็ตาม แต่ในเวลาเผานั้น ก็เป็นได้แค่กลิ่นอุจจาระ แม้จะรวบรวมคำพูดโกหกอันยิ่งใหญ่ และอ้างว่าเป็น (คำพูดของ) พระพุทธะก็ตาม แต่ก็เป็นได้เพียง (ตกลงไปสู่) นรกอเวจี หน้า 323 ธรรมนิพนธ์เรื่องการตอบแทนบุญคุณ พระโมคคัลลาน์ผู้สูงศักดิ์คิดอยากจะช่วยนางโมคคัลลี (โชไดเนียว) ผู้เป็นมารดาที่ตกอยู่ในหนทางเปรต (งะคิโด) หรือแม้แต่พระภิกษุสนกษตร (เซ็นโชบิกขุ) ผู้เป็นบุตรของผู้รู้แจ้งที่ยิ่งใหญ่แห่งโลก (ไดคะขุเซซน) ก็ยังตกในนรกอเวจี เรื่องนี้แม้คิดช่วยด้วยพลังอานุภาพที่มีอยู่ก็ตาม แต่ทางด้านผลกรรมที่ทำเองรับเองนั้นช่วยได้ยาก หน้า 323 ธรรมนิพนธ์เรื่องการตอบแทนบุญคุณ นั่นก็คือ สำหรับคนแล้วจะต้องตอบแทนบุญคุณบิดามารดา ตอบแทนบุญคุณอาจารย์ ตอบแทนบุญคุณพระรัตนตรัย และตอบแทนบุญคุณประเทศ หน้า 324 ธรรมนิพนธ์เรื่องการตอบแทนบุญคุณ ท่านทั้งสองนั้นเป็นอาจารย์ของอาตมานิชิเร็นในวัยเด็ก .................. อาตมานิชิเร็นถูกเกลียดชังจากท่านคาเงโนบุ (อาตมานิชิเร็น) จึงอยากออกจากภูเขาคิโยสุมิ การสามารถซุกซ่อนและแอบหลบหนีไปได้นั้น (ทั้งสองคน) ก็ได้ทำการรับใช้สัทธรรมปุณฑริกสูตรอันดับหนึ่งในโลกอยู่แล้ว ชาติหน้า(จะสามารถมีความสุขได้) นั้นไม่ต้องสงสัยอะไรเลย หน้า 325 ธรรมนิพนธ์เรื่องการตอบแทนบุญคุณ อักษร 5 ตัวของเมียวโฮเร็งเงเคียว (หมายถึงหัวข้อของสัทธรรมปุณฑริกสูตร) นั้น เป็นสาระสำคัญของ 1 คัมภีร์ (ของสัทธรรมปุณฑริกสูตร 8 ม้วน 28 บทมิใช่หรือ ................. หัวข้อก็คือจิตใจของสัทธรรมปุณฑริกสูตรอยู่แล้ว................. อินเดียนั้นมี 70 ประเทศ (หมายถึงรัฐ) ชื่อรวมนั้นเรียกว่าแคว้นกุศานะ ญี่ปุ่นนั้นมี 60 ประเทศ (หมายถึงจังหวัด) ชื่อรวมนั้นเรียกว่าประทเศญี่ปุ่น อยู่ในชื่อกุศานะนี้มีพร้อม 70 ประเทศ (หมายถึงรัฐ) จนกระทั่งถึงมนุษย์ สัตว์ และเพชรพลอย อยู่ในชื่อที่เรียกว่าญี่ปุ่นนั้นมี 66 ประเทศ (หมายถึงจังหวัด) ปีก (ที่ใช้เป็นหางลูกธนู) ของ (จังหวัด) เดวะ หรือทองของ (จังหวัด) โอชู จนกระทั่งถึงเพชรพลอยของประเทศ มนุษย์ สั
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 13 กรกฎาคม 2553 09:42:48 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
คำค้น: สติทั่วไป สัมมาสติ ความต่าง 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 1.429 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 01 กุมภาพันธ์ 2567 08:44:21