[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
17 เมษายน 2567 02:38:14 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: กำเนิดคณะธรรมยุต  (อ่าน 3699 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5433


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 07 ตุลาคม 2555 17:05:26 »


พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔
ภาพจาก : chaoprayanews.com

กำเนิดคณะธรรมยุต

พระสงฆ์คณะธรรมยุติกนิกาย หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า คณะธรรมยุต นั้นคือพระสงฆ์ที่ออกมาจากคณะสงฆ์เดิมของไทยนั่นเอง  แต่ได้รับอุปสมบทซ้ำในรามัญนิกายด้วย อันเป็นผลเนื่องมาจากการที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ขณะเมื่อยังทรงผนวชอยู่ ทรงศึกษาพระไตรปิฎก และทรงปรับปรุงแก้ไขวัตรปฏิบัติของพระองค์ขึ้นก่อนเป็นประเดิม  ตามความรู้ที่ได้ทรงศึกษามาจากพระไตรปิฎก  ภายหลังจึงมีภิกษุอื่น ๆ เกิดความนิยมนับถือแล้วถวายตัวเป็นศิษย์ปฏิบัติตามแบบอย่างที่พระองค์ได้ทรงริเริ่มปรับปรุงแก้ไขนั้นทีละรูปสองรูป และเพิ่มจำนวนมากขึ้นเป็นลำดับ จนกลายเป็นพระสงฆ์หมู่หนึ่งที่ได้รับขนานนามว่าคณะธรรมยุต  หรือ คณะธรรมยุติกนิกายในภายหลังต่อมา

โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อทรงมีพระชนมายุ ๑๔ พรรษา ทรงผนวชเป็นสามเณร ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง  โดยมีสมเด็จพระสังฆราช (มี) วัดมหาธาตุ เป็นพระอุปัชฌาย์  สมเด็จพระญาณสังวร (สุก) เป็นพระอาจารย์ถวายศีล  ประทับ ณ วัดมหาธาตุ เป็นเวลา ๗ เดือน จึงทรงลาผนวช

ถึง พ.ศ. ๒๓๖๗  พระชนมายุ ๒๐ พรรษา ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ตามโบราณราชประเพณี  โดยมีสมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) วัดมหาธาตุ เป็นพระอุปัชฌาย์ เสด็จประทับ ณ วัดมหาธาตุ  ทรงทำอุปัชฌายวัตร ๓ วัน แล้วเสด็จไปจำพรรษา ณ วัดสมอราย เพื่อทรงศึกษาวิปัสสนาธุระตามธรรมเนียมนิยมของเจ้านายผู้ทรงผนวชเพียงพรรษาเดียวในครั้งนั้น หลังจากทรงผนวชได้เพียง ๑๕ วัน  พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  พระบรมชนกนาถ  ทรงพระประชวรเสด็จสวรรคต  จึงได้ทรงตั้งพระราชหฤทัยที่จะดำรงสมณเพศศึกษาวิปัสสนาธุระที่ได้ทรงเริ่มศึกษามาแต่แรกทรงผนวชแล้วให้ถ่องแท้ต่อไป  ได้ทรงศึกษาอยู่ในสำนักอาจารย์ ณ วัดสมอรายนั้น  และได้เสด็จไปทรงศึกษา ณ วัดราชสิทธาราม อันเป็นสำนักวิปัสสนาที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งในยุคนั้น  แต่ไม่ได้ประทับอยู่ประจำ  คงเสด็จไปมาระหว่างวัดราชสิทธารามกับวัดสมอราย  นอกจากนี้ยังได้เสด็จไปทรงศึกษากับอาจารย์ในสำนักอื่น ๆ ที่ปรากฏว่ามีการเล่าเรียนวิปัสสนาธุระทั่วทุกแห่งในยุคนั้น  แม้กระนั้นก็ยังไม่เต็มตามพระราชประสงค์  จึงทรงพระราชดำริที่จะศึกษาพระปริยัติธรรม คือภาษามคธหรือภาษาบาลี  เพื่อจะได้สามารถอ่านพระไตรปิฎกได้ด้วยพระองค์เอง  อันจะเป็นทางให้ทรงศึกษาหาความรู้ในพระปริยัติธรรมให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไปได้โดยลำพังพระองค์ต่อไป

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงศึกษาพระปริยัติธรรมมิใช่เพื่อพระเกียรติยศหรือผลประโยชน์อื่นใด  แต่ทรงศึกษาด้วยทรงมุ่งหวังที่จะทราบพระธรรมวินัยให้แจ้งชัดในข้อปฏิบัติ  อันเป็นมูลรากของพระศาสนาว่าเป็นอย่างไร  ผลแห่งการศึกษาและทรงพิจารณาอย่างละเอียดทั่วถึง  ทำให้ประจักษ์แก่พระราชหฤทัยว่าวัตรปฏิบัติและอาจาริยสมัยที่ได้สั่งสอนสืบกันมาในครั้งนั้นได้คลาดเคลื่อนหรือหย่อนยานไปเป็นอันมาก  จึงทรงรู้สึกสลดสังเวชพระราชหฤทัย  ถึงกับทรงเห็นว่ารากเหง้าเค้ามูลแห่งการบรรพชาอุปสมบทจะเสื่อมสูญเสียแล้ว





ทรงญัตติซ้ำในรามัญนิกาย

ในระหว่างที่กำลังทรงพระปริวิตกถึงเรื่องความเสื่อมสูญแห่งวงศ์บรรพชาอุปสมบทอยู่นั้นเอง  ก็ได้ทรงพบพระเถระชาวรามัญรูปหนึ่งชื่อ ซาย  พุทฺธวํโส   ซึ่งอุปสมบทมาแต่เมืองมอญมาอยู่วัดบวรมงคลได้เป็นพระราชาคณะที่พระสุเมธมุนี   เป็นผู้ชำนาญพระวินัยปิฎก ประพฤติวัตรปฏิบัติอย่างเคร่งครัด  สามารถทูลอธิบายเรื่องวัตรปฏิบัติของพระสงฆ์รามัญคณะกัลยาณีที่ท่านได้รับอุปสมบทให้ทรงทราบอย่างพิสดาร  ทรงพิจารณาเห็นว่าสอดคล้องต้องกันกับพระพุทธพจน์ที่ได้ทรงศึกษามาจากพระบาลีไตรปิฎก  ก็ทรงเลื่อมใสและทรงรับเอาวินัยวงศ์นั้นเป็นแบบอย่างสำหรับปฏิบัติสืบมา ด้วยการทำทัฬหีกรรม คือทรงอุปสมบทซ้ำในคณะสงฆ์รามัญอีกครั้งหนึ่ง โดยมีพระสุเมธมุนี (ซาย  พุทธวํโส)  เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อ จ.ศ. ๑๑๘๗  ตรงกับ พ.ศ. ๒๓๖๘  อันเป็นปีที่ทรงผนวชได้ ๒ พรรษา  การทำทีทัฬหีกรรมครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ ๑

การที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทำทัฬหีกรรมอุปสมบทซ้ำในคณะสงฆ์รามัญนั้น นับเป็นจุดเริ่มต้นของการปรับปรุงแก้ไขวัตรปฏิบัติของคณะสงฆ์ โดยเริ่มต้นที่พระองค์เป็นประเดิมแล้วจึงมีภิกษุอื่นเกิดความนิยมเลื่อมใสและประพฤติปฏิบัติตามอย่างขึ้นในช่วงที่ประทับอยู่ที่วัดมหาธาตุนั้น  มีภิกษุมาถวายตัวเป็นศิษย์เพื่อเล่าเรียนพระปริยัติธรรมและประพฤติปฏิบัติตามแนวพระราชดำริเพียง ๕ – ๖ รูปเท่านั้น ในบรรดาผู้ที่มาถวายตัวเป็นศิษย์ในชั้นแรกนี้ก็คือ สมเด็จพระวันรัตน์ (ทับ  พุทฺธสิริ)  เมื่ออุปสมบทได้ ๒ พรรษา สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์  แต่เมื่อแรกทรงอุปสมบท  ในระยะนี้การเปลี่ยนแปลงแก้ไขในทางวัตรปฏิบัติคงทำได้ไม่มากนัก  เพราะยังทรงอยู่ในระหว่างศึกษาพระปริยัติธรรมและเริ่มมีผู้มาศึกษาปฏิบัติอยู่ด้วยเพียงห้าหกรูป  แต่คงค่อยเปลี่ยนแปลงแก้ไขมาโดยลำดับ  ส่วนการแนะนำสั่งสอนในพระธรรมวินัยแก่ผู้ที่นิยมเลื่อมใสนั้น คงทรงกระทำในขอบเขตที่ทรงกระทำได้  ดังที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ทรงบันทึกไว้ในพระราชประวัติว่า
“พระองค์ทรงอนุเคราะห์สั่งสอนกุลบุตรผู้มีศรัทธาให้เล่าเรียนศึกษา ทั้งกลางวันกลางคืน  มิได้ย่อหย่อนพระทัย ทรงสั่งสอนในข้อวินัยวัตรและสุตตันตปฏิบัติต่างๆ  ให้ถูกต้องสมธรรมวินัย  เป็นข้ออ้างแห่งธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้า  ครั้งนั้นก็เป็นมหามหัศจรรย์ประจักษ์แก่ตาโลก  ด้วยมีกุลบุตรซึ่งมีศรัทธาเลื่อมใสเข้ามาสู่สำนักพระองค์ท่านขอบรรพชาอุปสมบทประพฤติตามลัทธิธรรมยุติกนิกายมีปรากฏขึ้นเป็นครั้งปฐมหลายองค์  โดยไม่ได้ข่มขี่ล่อลวงหลอกหลอนหามิได้”

ที่กล่าวว่า “ขอบรรพชาอุปสมบทประพฤติตามลัทธิธรรมยุติกนิกาย”  ดังที่อ้างมาข้างต้นนั้น คงหมายถึง อุปสมบทวิธีแบบรามัญที่ทรงเห็นว่าถูกต้องตามพระพุทธบัญญัติ  และทรงแนะนำผู้ที่มาถวายตัวเป็นศิษย์ในระยะที่ประทับ ณ วัดมหาธาตุนั้น  ให้รับการอุปสมบทซ้ำในคณะสงฆ์รามัญตามอย่างพระองค์  คงมิได้หมายถึงทรงให้บรรพชาอุปสมบทด้วยพระองค์เอง  ดังปรากฏในประวัติสมเด็จพระวันรัตน์ที่ท่านเขียนเองว่า  เมื่อท่านได้ถวายตัวเป็นศิษย์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ขณะที่เสด็จประทับ ณ วัดมหาธาตุนั้น  พระองค์ได้ทรงสั่งสอนชี้แจง  โดยข้อปฏิบัติสิกขาบทวินัยต่าง ๆ ทรงแนะนำในพิธีอุปสมบทรามัญและอักขรวิธี  โดยฐานกรณ์ที่ถูกต้องตามพุทธบัญญัติ  พร้อมทั้งทรงจัดหาพระรามัญจากวัดชนะสงครามมาเป็นพระอุปัชฌาย์  นิมนต์พระสงฆ์รามัญมาเป็นคณปูรกะ  อุปสมบทให้ใหม่ตามรามัญวิธีในพระอุโบสถวัดมหาธาตุนั้น

เพราะเหตุใดจึงทรงเลือกรับเอาวงศ์บรรพชาของพระสงฆ์รามัญมาเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระบรมราชาธิบายไว้ในพระมหาสมณศาสนภาษาบาลีที่พระราชทานไปยังลังกา ตอนหนึ่งว่า
“อนึ่ง ในเรื่องวงศ์นี้ พวกข้าพเจ้าขอบอกความมุ่งหมายของบัณฑิตฝ่ายธรรมยุตตามเป็นจริงโดยสังเขป  คือหากสีหฬวงศ์เก่ายังตั้งอยู่ในสีหฬทวีป  มาจนถึงปัจจุบันนี้ไซร้ พวกธรรมยุตบางเหล่าจักละวงศ์เดิมของตนบ้าง  บางเหล่าจักให้ทำทัฬหีกรรมบ้าง  แล้วนำวงศ์ (สีหฬ) นั้นไปเป็นแน่แท้  แต่เพราะไม่ได้วงศ์เก่าเช่นนั้น ไม่เห็นวงศ์อื่นที่ดีกว่าจึงตั้งอยู่ในรามัญวงศ์  ซึ่งนำไปแต่สีหฬวงศ์เก่าเหมือนกัน  ด้วยสำคัญเห็นวงศ์ (รามัญ) นั้นเท่านั้นเป็นวงศ์ดีกว่าเพื่อนโดยความที่ผู้นำวงศ์ไปนั้นเป็นผู้นำไปจากสีหฬทวีปในกาลก่อนบ้าง  โดยความวิธีเปล่งเสียงอักขระของภิกษุรามัญเหล่านั้นใกล้เคียงกับสีหฬในบัดนี้บ้าง”


http://www.sookjaipic.com/images/6272349382_kimleng._1_.gif
กำเนิดคณะธรรมยุต

ที่มา : หนังสือ “พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับงานพระพุทธศาสนา”  จัดพิมพ์เป็นที่ระลึกในโอกาสที่วันพระบรมราชสมภพครบรอบ ๒๐๐ ปี  พุทธศักราช ๒๕๔๗  โดย คณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว   กรมการศาสนา  กระทรวงวัฒนธรรม

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 05 ตุลาคม 2556 15:16:21 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น: กำเนิดคณะธรรมยุต 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.326 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 08 กุมภาพันธ์ 2567 18:03:09