[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
28 มีนาคม 2567 22:57:38 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า:  [1] 2   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สุข - สดชื่น - แจ่มใส - เบิกบาน ทุกขณะจิต  (อ่าน 24306 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
sometime
บุคคลทั่วไป
« เมื่อ: 28 ธันวาคม 2552 00:12:26 »

http://img70.imageshack.us/img70/3922/pc240179666.jpg
สุข - สดชื่น - แจ่มใส - เบิกบาน ทุกขณะจิต



พระพรหมมังคลาจารย์วัดชลประทานได้เมตตาเทศนาสั่งสอนธรรมไว้แก่พวกเรา


(:LOVE:)ญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลาย................................ รัก

ณ...... บัดนี้ ถึงเวลาของการฟังปาฐกถาธรรมะ อันเป็นหลักคำสอนในทางพระพุทธศาสนาแล้ว ขอให้ทุกท่านอยู่ในอาการสงบ ตั้งอกตั้งใจฟังด้วยดี เพื่อให้ได้ประโยชน์อันเกิดขึ้นจากการฟังตามสมควรแก่เวลา
ความสำคัญของใจ
วันอาทิตย์...เป็นวันหยุดงานหยุดการทางร่างกาย เราก็มาพักผ่อนทางด้านจิตใจ ร่างกายกับใจนั้นจะต้องมีการพักผ่อนเท่า ๆ กัน ร่างกาย...ก็พักผ่อนด้วยการนอนหลับในเวลากลางคืน ใจ..นั้นพักผ่อนด้วยการสงบอารมณ์ อันเป็นเหตุให้เกิดความวุ่นวายยุ่งยากทางใจประการต่าง ๆ
จิตใจพักผ่อนได้ด้วยการสงบอารมณ์
ถ้าเราพักผ่อนแต่เพียงร่างกาย จิตใจไม่ได้พักผ่อนเลย ก็มักเกิดเป็นปัญหา เพราะว่าความเหน็ดเหนื่อยทั้งหลายนั้นมันอยู่ที่ใจมากกว่าอยู่ที่ร่างกาย
ความเหนื่อยทางใจนั้น เป็นความเหนื่อยที่ลึกซึ้ง ส่วนความเหนื่อยทางร่างกายนั้น เป็นแต่เพียงผิวเผิน แก้ไขได้ง่าย สะดวกสบาย โดยไม่ลำบากอะไร แต่ว่าความเหน็ดเหนื่อยทางจิตใจนั้นเป็นเรื่องที่แก้ยาก
ถ้าไม่ศึกษาวิธีการที่จะแก้ไขความเหน็ดเหนื่อยทางจิตใจกันไว้บ้างแล้ว เราก็จะรู้สึกเหนื่อยใจมากขึ้น ดังที่เราได้ยินคนบางคนพูดว่า เหนื่อยใจ หนักใจ หรือว่าไม่สบายใจ อะไร ๆ ต่าง ๆ อันนี้ก็เนื่องจากว่าใจไม่ได้มีการพักผ่อนเสียบ้างเลย


<table class="maeva" cellpadding="0" cellspacing="0" border="0" style="width: 800px" id="sae1"> <tr><td style="width: 800px; height: 64px" colspan="2" id="saeva1"><script type="text/javascript"><!-- // --><![CDATA[ var oldLoad = window.onload; window.onload = function() { if (typeof(oldLoad) == "function") oldLoad(); if (typeof(aevacopy) == "function") aevacopy(); } // ]]></script><embed type="application/x-shockwave-flash" src="http://www.flash-mp3-player.net/medias/player_mp3_maxi.swf?mp3=http://www.fungdham.com/download/song/sec1/1/sound026.mp3&amp;width=250&amp;showstop=1&amp;showinfo=1&amp;showvolume=1&amp;volumewidth=35&amp;sliderovercolor=ff0000&amp;buttonovercolor=ff0000" width="800px" height="64px" wmode="transparent" quality="high" allowFullScreen="true" allowScriptAccess="never" pluginspage="http://www.macromedia.com/go/getflashplayer" autoplay="false" autostart="false" /></td></tr> <tr><td class="aeva_t"><a href="http://www.fungdham.com/download/song/sec1/1/sound026.mp3" target="_blank" class="aeva_link bbc_link new_win">http://www.fungdham.com/download/song/sec1/1/sound026.mp3</a></td><td class="aeva_q" id="aqc1"></td></tr></table>

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 29 ธันวาคม 2552 09:15:17 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
 
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #1 เมื่อ: 28 ธันวาคม 2552 00:14:01 »

http://img70.imageshack.us/img70/3922/pc240179666.jpg
สุข - สดชื่น - แจ่มใส - เบิกบาน ทุกขณะจิต



สภาพของใจที่ไม่ได้รับการพักผ่อน

(:SL:)ใจที่ไม่มีการพักผ่อนนั้นก็คือใจที่คิดเรื่องอะไรอยู่ตลอดเวลา แล้วไม่ได้คิดเพื่อให้เกิดความสบายใจ เป็นการคิดสร้างความทุกข์ ความเดือดร้อนให้แก่ใจด้วยประการต่าง ๆ ที่เรียกกันว่าความวิตกกังวลนั่นเอง ความวิตกกังวลเมื่อเกิดขึ้นในจิตใจของผู้ใดแล้ว ต้องทำให้ผู้นั้นเหน็ดเหนื่อยทางใจ วุ่นวายใจอยู่ตลอดเวลา ไม่เป็นอันได้พักผ่อน แม้แต่เวลาหลับนอนก็ไม่ได้หลับกับเขา มีอยู่ไม่ใช่น้อยที่คนนอนแล้วกระสับกระส่ายอยู่ตลอดเวลา ในเวลาที่เรานอนไม่หลับนั้น...มันเป็นเรื่องปัญหาในทางใจ ไม่ใช่เรื่องปัญหาทางกายอย่างเดียว
เรื่องปัญหาทางกายนั้นก็มีบ้างเหมือนกัน เช่นว่า ท้องเสีย หรือว่ามีอาการไม่สบายทางร่างกายในส่วนใดส่วนหนึ่งอย่างนี้ก็เป็นเหตุให้นอนไม่หลับ หรือว่าเกิดเจ็บไข้ได้ป่วยด้วยโรคอะไรก็ตาม เรานอนไม่หลับ นั่นเป็นเรื่องของร่างกายแท้ ๆ แต่ว่าบางทีร่างกายเป็นปกติ กินอาหารได้ ท้องไส้เป็นปกติ แต่ว่ากลับนอนไม่หลับ สลึมสลือ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28 ธันวาคม 2552 01:44:36 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #2 เมื่อ: 28 ธันวาคม 2552 00:16:07 »

http://img70.imageshack.us/img70/3922/pc240179666.jpg
สุข - สดชื่น - แจ่มใส - เบิกบาน ทุกขณะจิต



เหตุแห่งความเหน็ดเหนื่อยของจิตใจ

เหตุที่นอนไม่หลับก็เพราะว่าใจมันคิดเรื่องอะไรต่ออะไรยุ่งวุ่นวายไปหมด ความวุ่นวายที่เกิดขึ้นในใจนั้น ก็เนื่องจากกระทบกับอารมณ์บางประเภทที่เราไม่นึกไม่ฝันว่ามันจะเกิดขึ้นในชีวิตของเรา เมื่อสิ่งนั้นเกิดขึ้นโดยกะทันหัน โดยเราไม่รู้เนื้อรู้ตัว ก็เกิดความครุ่นคิดอยู่ในใจตลอดเวลา
ตัวอย่างง่าย ๆ เช่น เราสูญเสียอะไรที่เรารักใคร่ พอใจไป จะเป็นคนก็ตาม เป็นวัตถุเป็นสิ่งของก็ตาม เราไม่นึกว่ามันจะสูญเสีย เราไม่นึกว่ามันจะจากเราไป แต่ว่าเกิดสูญเสียขึ้นอย่างกะทันหัน โดยเราไม่ได้คิดนึกไว้ก่อน พอสิ่งนั้นเกิดขึ้นเราก็ไม่สบายใจ มีความกระทบกระเทือนทางจิตใจ ถ้าคนเป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจอยู่บ้าง ก็คงจะกระทบกระเทือนอย่างหนัก จนอาจจะเรียกว่าช็อคไปเลยก็ได้ แต่ถ้าไม่มีโรคทางอย่างนั้น เขาเรียกว่าไม่เป็นโรคหัวใจ ความคิดต่าง ๆ เกิดมากขึ้นในใจจนนอนไม่หลับ บางทีเป็นอย่างนั้นมีบ่อย ๆ
วันก่อนนี่มีพระองค์หนึ่ง ท่านต้องสูญเสียบิดาไปแล้วก็มานอนพักอยู่ที่กุฏิ ทั้งคืนไม่ได้นอน ไฟสว่าง หยิบหนังสือเล่มนั้นมาอ่านจบไป เล่มโน้นมาอ่านจบไป อาตมาก็หลับไปเต็มตื่น ตื่นขึ้นมาเห็นยังนั่งอ่านหนังสืออยู่ ก็ถามว่า ทำไมไม่หลับไม่นอน? บอกว่า...มันนอนไม่หลับ.. นอนไม่หลับมาหลายคืนแล้ว อันนี้เกิดจากความคิดนั่นเอง คือมันคิดอยู่แต่เรื่องที่เราประสบกับปัญหา ไม่ได้ปล่อยวางปัญหานั้น หรือไม่ได้คิดที่จะเตรียมตัวไว้ก่อนในเรื่องปัญหาอย่างนั้น อาการอย่างนั้นจึงเกิดขึ้นในใจสุข
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28 ธันวาคม 2552 01:44:59 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #3 เมื่อ: 28 ธันวาคม 2552 00:18:37 »

http://img70.imageshack.us/img70/3922/pc240179666.jpg
สุข - สดชื่น - แจ่มใส - เบิกบาน ทุกขณะจิต


อย่าตั้งความหวังกับสิ่งใด ๆ มากเกินไป


ญาติโยมที่อยู่บ้านก็คงมีปัญหาประเภทอย่างนี้ ที่จะเกิดขึ้นแก่เราได้บ่อย ๆ เช่น เราเป็นคนประกอบธุรกิจ เรื่องธุรกิจที่เรากระทำนั้น มันก็ไม่แน่เสมอไป..ไม่แน่ว่าเราจะมีกำไรเสมอไป หรือว่าเราจะได้ดังที่เราต้องการเสมอไป บางครั้งมันก็ได้ แต่บางครั้งมันก็ไม่ได้
เวลาได้รู้สึกอย่างไร?...ถ้าเวลาได้ก็มักสบายใจ ชุ่มชื่นรื่นเริงด้วยประการต่าง ๆ แต่ถ้าเวลาเราไม่ได้...จะรู้สึกอย่างไร? ...เราก็รู้สึกไม่สบายใจ ผิดหวังในเรื่องนั้นเรื่องนี้ การที่เราผิดหวังก็เพราะว่าเราตั้งความหวังไว้มากเกินไป อย่าไปตั้งความหวังในอะไร ๆ ให้มากเกินไป
อย่าตั้งความหวังกับสิ่งใด ๆ มากเกินไป
อันนี้เป็นเรื่องหลักที่ควรจะคิดไว้ในใจบ่อย ๆ ว่า เราจะทำอะไรก็ตาม อย่าไปหวังให้มากเกินไป คืออย่าหวังเอาร้อยเปอร์เซ็นต์ สุดแล้วแต่มันจะได้ดีกว่า ถ้าเราไปหวังมากเกินไปแล้วก็รุนแรง เป็นความคิดที่มีความหวังรุนแรง เมื่อสิ่งนั้นไม่สมหวัง เราก็เสียดาย เราก็มีความทุกข์ มีความเดือดร้อนใจ บางทีก็เป็นทุกข์เอามากทีเดียว
เมื่อถามว่าเป็นทุกข์ด้วยเรื่องอะไร ก็ว่า แหม!...มันไม่เหมือนใจเลยคราวนี้ หวังจะได้อย่างนั้นอย่างนี้ แต่ไม่ได้ดังที่ต้องการ อันนี้คือความผิดพลาดของการดำเนินชีวิตของเราในแง่จิตใจ การดำเนินชีวิตผิดในแง่จิตใจ มันสร้างความทุกข์ความเดือดร้อนแก่เราอย่างเหลือกินทีเดียว
เพราะฉะนั้น จึงอยากจะแนะนำไว้ให้กับโยมทั้งหลายว่า ไม่ว่าเรื่องอะไร ๆ เราอย่าไปตั้งความหวังในเรื่องที่จะได้ไว้มากเกินไป เรามีความคิดแต่เพียงประการเดียวว่า เราจะทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ ทำไปตามหน้าที่ที่เราจะต้องทำ เช่น เราทำการค้าขาย ประกอบธุรกิจการงานอะไร ๆ ก็ตาม เราก็ทำไปตามหน้าที่ของเรา เราไม่ต้องการผลิตอะไรให้มากเกินไป เพียงสักแต่ว่าทำไปเท่านั้น ทำด้วยสติปัญญา ความสามารถมีเท่าใดก็ลงทุนไปเถอะ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28 ธันวาคม 2552 01:47:34 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #4 เมื่อ: 28 ธันวาคม 2552 00:20:38 »

http://img70.imageshack.us/img70/3922/pc240179666.jpg
สุข - สดชื่น - แจ่มใส - เบิกบาน ทุกขณะจิต



รู้สภาพความเป็นจริงของสิ่งทั้งปวง

ในเรื่องนั้นการลงทุนทำได้เต็มที่ แต่อย่าไปหวังว่าจะได้เท่านั้นจะได้เท่านี้ให้มากเกินไป เพราะสิ่งต่าง ๆ นี้ไม่ได้อยู่ในอำนาจของเรา เราบังคับมันไม่ได้ ให้ได้ดังใจมันไม่ได้ เช่นว่าเราลงทุนไปก้อนหนึ่ง เพื่อสร้างงานการอะไรขึ้นมา ถ้าเราหวังว่ามันจะได้กำไรเท่านั้นเปอร์เซ็นต์เท่านี้เปอร์เซ็นต์ แต่ว่าเอาจริงเอาจังเข้ากลับไม่ได้ เพราะสิ่งทั้งหลายในโลกนี้..เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ไม่มีอะไรหยุดนิ่งสักอย่าง การค้าขายก็มีความเปลี่ยนแปลง การบ้านการเมือง เรื่องของคน เรื่องของพื้นแผ่นดิน เรื่องดินฟ้าอากาศ อะไร ๆ ต่าง ๆ นี้ มันเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เราจะไปกำหนดเอาตายตัวว่าจะเป็นอย่างนั้น จะเป็นอย่างนี้นั้น เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ เพราะสิ่งเหล่านั้นไมได้อยู่ในอำนาจของเรา
เช่น เราสั่งอะไรมาอย่างหนึ่ง แล้วก็นึกว่า คราวนี้แหละเราจะได้กำไรมากมายจากสิ่งเหล่านี้ แต่ว่าดินฟ้าอากาศเปลี่ยนแปลงไป เช่นว่า เราอยู่อากาศมันก็แห้ง ๆ ฝนฟ้าไม่ตก แต่พอเราลงมือทำงานทำการเรื่องนั้น...ฝนเทลงมาจั๊ก ๆ น้ำท่วมบ้านท่วมเมืองเลยทีเดียว ทำให้สินค้าที่เราสั่งมานั้นมีอุปสรรค ไม่สามารถจะส่งไปที่นั่นที่นี่ได้ดังใจ อันนี้มันเป็นเรื่องธรรมดาที่อาจจะเกิดขึ้นแก่ใคร ๆ กิจการงานที่เรากระทำอยู่เมื่อใดก็ได้ เพราะฉะนั้นพระท่านจึงสอนว่า อย่าไปมีความหวังในเรื่องอะไร ๆ ให้มันมากเกินไป
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28 ธันวาคม 2552 01:46:18 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #5 เมื่อ: 28 ธันวาคม 2552 00:24:20 »

http://img70.imageshack.us/img70/3922/pc240179666.jpg
สุข - สดชื่น - แจ่มใส - เบิกบาน ทุกขณะจิต



ความหวังนั่นแหละคือความอยาก

ชาวโลกเรามักพูดกันว่า เราอยู่กันด้วยความหวัง คือว่าหวังน้ำบ่อหน้ากันเรื่อยไป คล้าย ๆ กับคนเดินทาง พอมาถึงศาลาพักร้อนหลังนี้ พักแล้วก็เดินต่อไป นึกว่าจะไปพักศาลาโน้นต่อไป พอถึงศาลานั้นก็นึกว่าจะไปพักศาลาโน้นต่อไป อย่างนี้เรียกว่าเดินไปด้วยความหวัง
ความหวังนั้นก็คือ...ความอยากนั่นเอง เราเอาความอยากมาเป็นอาหารใจ มาเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงจิตใจ ชาวโลกทั่วไปอยู่ด้วยความอยาก อยู่ด้วยความปรารถนาว่าจะมีสิ่งนั้นจะมีสิ่งนี้ เรียกว่าหาเหยื่อมาล่อจิตใจอยู่ตลอดเวลา ทีนี้การที่เราเอาเหยื่อต่าง ๆ มาล่อจิตใจอยู่ตลอดเวลา ทีนี้การที่เราเอาเหยื่อต่าง ๆ มาล่อจิตใจเรานั้น...มันไม่สุขใจอะไรมากนัก แล้วอาจจะผิดหวังเมื่อใดก็ได้ เราก็เกิดเป็นความทุกข์เกิดความเดือดร้อน เมื่อเราผิดหวัง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28 ธันวาคม 2552 01:48:01 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #6 เมื่อ: 28 ธันวาคม 2552 00:27:33 »

http://img70.imageshack.us/img70/3922/pc240179666.jpg
สุข - สดชื่น - แจ่มใส - เบิกบาน ทุกขณะจิต



(:LOVE:)ดำเนินชีวิตอยู่เพื่อทำหน้าที่ให้สมบูรณ์ รัก


ถ้าพูดกันในแง่ธรรมะในแง่จิตใจอย่างแท้จริงแล้ว เราไม่ควรจะอยู่ด้วยความหวังอย่างนั้น แต่เราควรจะอยู่อย่างไร? เราควรจะอยู่เพียงเพื่อทำหน้าที่ของเราเพียงอย่างเดียวเท่านั้นเอง
ใครมีหน้าที่อันใดก็ทำหน้าที่อันนั้นไป มีหน้าที่พ่อค้า..ก็ค้าขายไป หน้าที่ราชการ..ก็ทำไป หน้าที่พ่อหน้าที่แม่ก็ทำไป ใครมีหน้าที่อันใดก็ทำหน้าที่อันนั้นไป อันนี้คือสิ่งที่จำเป็นสำหรับชีวิต ไม่ใช่เรื่องที่เราจะหวังได้เสมอไป เราจะหวังว่าเมื่อทำงานชิ้นนี้แล้ว..จะได้เท่านั้น จะได้เท่านี้ อันนี้อย่าไปสร้างความหวังไว้เลย เพราะถ้าเราสร้างไว้ก็เท่ากับสร้างวิมานในอากาศ เป็นความฝันแบบลม ๆ แล้ง ๆ ที่เราสร้างขึ้นมาในมโนภาพของเราเท่านั้น มันจะสลายลงเมื่อใดก็ได้ และเมื่อมันสลายไป จิตใจเราก็ต้องมีความทุกข์ มีความเหี่ยวแห้งใจ มีความไม่สบายใจด้วยประการต่าง ๆ แล้วมันเรื่องอะไรที่เราไปหาเรื่องให้เกิดความทุกข์ความเดือดร้อน มันเรื่องอะไรที่จะไปหาความทุกข์ให้แก่จิตใจของเราเอง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28 ธันวาคม 2552 01:48:30 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #7 เมื่อ: 28 ธันวาคม 2552 00:31:06 »

http://img70.imageshack.us/img70/3922/pc240179666.jpg
สุข - สดชื่น - แจ่มใส - เบิกบาน ทุกขณะจิต



เมื่อไม่ตั้งความหวัง ก็ไม่พบความผิดหวัง

เราไม่ได้เกิดมาเพื่ออยู่กับความทุกข์ อยู่กับความเดือดร้อนใจ แต่เราเกิดมาเพื่อความรู้เท่ารู้ทันในสิ่งเหล่านั้นตามสภาพที่เป็นจริง อยู่ในโลกด้วยปัญญา ไม่ใช่อยู่ด้วยความโง่เขลา หรือด้วยอวิชชา คือความไม่รู้ชัด ไม่เข้าใจชัดในเรื่องนั้นตามสภาพที่เป็นจริง ทำให้เป็นเหตุให้เกิดปัญหาวุ่นวายขึ้นในจิตใจของเราด้วยประการต่าง ๆ
เราได้ยินข่าวปรากฏอยู่บ่อย ๆ ว่า คนที่พลาดหวังนั้นมักจะทำอะไรในทางแปลก ๆ แผลง ๆ เช่นว่า ทำลายตัวเองเสียเพราะว่าไม่สมหวัง เช่น ชายหนุ่มหญิงสาวที่มีความรักกัน แล้วมีความหวัง 100% ว่าจะได้อยู่กินแต่งงานกันตามเรื่องตามราว แต่มันเกิดผิดหวังขึ้นมา เพราะเหตุการณ์เปลี่ยนแปลง เช่นว่าคนโน้นเขาคลายความรักไป เขาไม่รักเหมือนเดิมแล้ว เขาไปมีรักใหม่แล้ว คนที่ถูกพรากความรักไปก็เสียอกเสียใจ ไม่กินไม่นอน ไม่อยากจะอยู่ในโลกต่อไป อันนี้ก็เพราะว่าผิดหวังจึงได้เกิดอารมณ์เช่นนั้นขึ้นมา
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28 ธันวาคม 2552 01:48:54 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #8 เมื่อ: 28 ธันวาคม 2552 00:33:06 »

http://img70.imageshack.us/img70/3922/pc240179666.jpg
สุข - สดชื่น - แจ่มใส - เบิกบาน ทุกขณะจิต


นำประสบการณ์ในชีวิตมาเป็นบทเรียน

หรือในเรื่องอื่น ๆ อีกก็เหมือนกัน มันมีมากมายก่ายกองที่สร้างปัญหา คือความทุกข์ ความเดือดร้อนให้เกิดขึ้นในใจของเราด้วยประการต่าง ๆ ถ้าหากว่าเราศึกษาในเรื่องอย่างนี้ คือศึกษาจากประสบการณ์ในชีวิตของเราเองว่า ในชีวิตของเรามันมีอะไรเกิดขึ้น แล้วสิ่งที่เกิดขึ้นนั้น มันให้อะไรแก่เรา ให้ความสุขใจเบาใจแก่เรา ให้ความทุกข์ความหนักใจแก่เรา หรือให้ความเดือดเนื้อร้อนใจแก่เรา เราจะต้องศึกษาเรื่อย ๆ ไป นำประสบการณ์เหล่านั้นมาเป็นบทเรียน เป็นเครื่องเตือนจิตสะกิดใจไว้บ่อย ๆ เพื่อจะได้ไม่ทำอะไรซ้ำลงไปในเรื่องอย่างนั้นอีก จะได้หลีกเลี่ยงจากเรื่องที่มันเคยเป็นเหตุให้เกิดความทุกข์ความเดือดร้อนแก่เรา เราก็จะมีปัญญามากขึ้นในเรื่องเกี่ยวกับชีวิต
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28 ธันวาคม 2552 01:49:20 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #9 เมื่อ: 28 ธันวาคม 2552 00:35:07 »

http://img70.imageshack.us/img70/3922/pc240179666.jpg
สุข - สดชื่น - แจ่มใส - เบิกบาน ทุกขณะจิต



ควบคุมความคิดได้ จิตใจจักสงบ


การเป็นอยู่ในชีวิตประจำวัน ต้องเป็นอยู่ด้วยการศึกษาหาความรู้ ความเข้าใจ จากประสบการณ์ที่เราผ่านมาทุกเรื่องทุกประการ ให้ถือว่าเรื่องต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตของเรานั้นเป็นครูเราทั้งนั้น เป็นบทเรียนสอนใจเราทั้งนั้น และเมื่อเราถือเอาเรื่องเหล่านั้นเป็นบทเรียนเครื่องสอนใจ แล้วเราก็จำไว้ทีหลังเราจะไม่คิดอย่างนั้น จะไม่นึกในรูปนั้นอีกต่อไป เพราะการคิดนึกในรูปอย่างนั้นมันสร้างความทุกข์ความเดือดร้อนให้แก่เรา แต่ว่าเราจะคิดในรูปที่เรียกว่ามีปัญญา มีความเข้าใจในเรื่องนั้น ๆ ถูกต้องตามสภาพที่เป็นจริง อันนี้จะช่วยให้เกิดการผ่อนคลายทางด้านจิตใจ จะได้คลายความทุกข์ความเดือดร้อนใจไปได้ นี้ประการหนึ่ง
ทีนี้อีกประการหนึ่ง ความผิดในเรื่องนี้ที่ทำให้เกิดความหนักอกหนักใจ เหนื่อยใจ ในชีวิตของเราทั่ว ๆ ไปก็คือ การคิดในเรื่องเก่า ๆ ที่ผ่านมานั้น ไม่ใช่ว่าจะห้ามเสียเลยหามิได้...คิดได้ แต่ว่าต้องคิดด้วยปัญญา คิดเพื่อเอามาเป็นบทเรียนไว้สอนใจ หาความจริงในเรื่องอย่างนั้น คิดแบบวิเคราะห์วิจัย...อย่างนี้ไม่เสียหาย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28 ธันวาคม 2552 01:49:47 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #10 เมื่อ: 28 ธันวาคม 2552 00:36:50 »

http://img70.imageshack.us/img70/3922/pc240179666.jpg
สุข - สดชื่น - แจ่มใส - เบิกบาน ทุกขณะจิต



ปล่อยวางในสิ่งที่คิดแล้วเป็นทุกข์

แต่ว่าโดยมากหาได้คิดในรูปนั้นไม่ เอามาคิดในรูปที่มันจะสร้างปัญหา คือความทุกข์ความเดือดร้อนทั้งนั้น คือคิดด้วยความโง่เขลา ไม่ได้คิดด้วยปัญญาในเรื่องอะไรต่าง ๆ เรื่องบางเรื่องมันผ่านพ้นไปตั้งนานแล้ว แต่เราก็เอามาคิด พอคิดแล้วก็เกิดความไม่สบายใจ เกิดเป็นทุกข์ขึ้นมาก็เพราะเรื่องอย่างนั้น
บางคนถึงกับว่าน้ำตาไหล ถามว่าทำไมจึงน้ำตาไหล? แหม!...คิดถึงเรื่องเก่าแล้วฉันเศร้าใจเหลือเกิน เรื่องอะไรที่ไปคิดให้มันเศร้าใจ มันเรื่องอะไรอยู่ดี ๆ ไม่ว่าไปหาเรื่องให้เกิดความทุกข์ความเดือดร้อน ที่คนโบราณเขาว่า เอามือไปซุกหีบ มือมันอยู่ดี ๆ ไม่ชอบ เอาเข้าไปซุกในหีบ แล้วก็ปิดฝาหีบลงไป โดนเอามือเจ็บปวดไปเปล่า ๆ นี่มันไม่ได้เรื่องอะไร ทำไมจึงชอบคิดในเรื่องอย่างนั้น เรื่องเก่า ๆ ที่ผ่านมาแล้ว ไม่ชอบปล่อยชอบวาง ไม่ชอบทิ้งเรื่องนั้นออกไปเสีย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28 ธันวาคม 2552 01:50:15 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #11 เมื่อ: 28 ธันวาคม 2552 00:38:27 »

http://img70.imageshack.us/img70/3922/pc240179666.jpg
สุข - สดชื่น - แจ่มใส - เบิกบาน ทุกขณะจิต



หลักการคิดของพระพุทธเจ้า

ในหลักธรรมะของพระพุทธเจ้านั้น ท่านวางหลักในเรื่องนี้เอาไว้ว่าอย่างไร ให้เราคิดอย่างไร นึกอย่างไร พระผู้มีพระภาควางหลักเรื่องนี้ไว้ว่า “อย่าคิดถึงสิ่งที่ล่วงมาแล้ว อย่าคิดถึงสิ่งที่ยังไม่มาถึง สิ่งใดเกิดขึ้นเฉพาะหน้า...ให้เพ่งพิจารณาในเรื่องนั้น เพื่อให้รู้ชัด เห็นชัดตามสภาพที่มันเป็นอยู่จริง ๆ” อันนี้เป็นหลักการอันหนึ่งซึ่งเราควรนำมาใช้ในชีวิตประจำวันของเรา
เพราะว่าคนเราทั่ว ๆ ไปที่มีความทุกข์ระทมตรอมใจ อะไรต่าง ๆ นั้นส่วนมากก็เป็นเรื่องเก่า ๆ ที่มันผ่านพ้นมาแล้ว ของหายไปตั้งสองเดือนแล้วก็ยังเอามาคิดถึงอยู่ คือบางทีก็พูดกะใคร ๆ ว่า แหม!... นึกถึงเรื่องนั้นทีไรแล้วแสนจะกลุ้มใจ รู้แล้วว่ากลุ้มใจ แต่ทำไมไปคิดถึงเรื่องนั้น นี่เขาเรียกว่าเผลอไป ประมาทไป ไม่ได้ระมัดระวังควบคุมความคิดของตัว แล้วก็ไปคิดถึงเรื่องที่ทำให้เศร้าใจ ให้เสียใจ เป็นทุกข์เป็นร้อนด้วยประการต่าง ๆ ล้วนแต่เป็นเรื่องเก่า ๆ แก่ ๆ ทั้งนั้น เอามานั่งคิดนั่งฝันไป ไม่ได้เรื่องอะไร อย่างนั้นไม่ควรคิด เพราะผ่านพ้นไปแล้ว
สุข
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28 ธันวาคม 2552 01:50:47 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #12 เมื่อ: 28 ธันวาคม 2552 00:40:27 »

http://img70.imageshack.us/img70/3922/pc240179666.jpg
สุข - สดชื่น - แจ่มใส - เบิกบาน ทุกขณะจิต



เรื่องเวลานี้มันมีสามกาล คือว่า ปัจจุบัน อดีต อนาคต สามกาลนี้มันนิดเดียวเท่านั้นเอง ตัวปัจจุบันก็นิดเดียว แล้วมันก็กลายเป็นอดีตไป แล้วอนาคตก็ย่างเข้ามา กลายเป็นตัวปัจจุบัน แล้วก็เป็นอดีตต่อไป
ถ้าหากว่าเราถือหลักว่า เวลานี้ไม่คงที่...มันมาถึงเราแล้วก็ผ่านพ้นไป ๆ วินาทีนั้นผ่านพ้นไป วินาทีใหม่ผ่านเข้ามาแล้วก็ผ่านพ้นไป คล้าย ๆ กับว่าภาพยนตร์ เวลาเราดูหนัง ภาพต่าง ๆ ซึ่งมันผ่านสายตาเราไปในรูปต่าง ๆ กัน นั่นก็คือความเปลี่ยนแปลงของภาพอยู่ตลอดเวลา ภาพมันถี่ยิบเพราะความหมุนของเครื่อง แล้วฟิล์มมันก็หมุนไป เราก็เห็นว่าเป็นภาพวิ่งแสดงอย่างนั้นอย่างนี้ เป็นปรากฏการณ์แก่สายตาของเรา ทำให้เราเห็นว่ามันเป็นจริง ๆ จัง ๆ เป็นเรื่องเป็นราว บางทีดูด้วยความเพลิดเพลิน บางทีดูแล้วก็เศร้าโศกเสียใจ เวลาจบเรื่องลงไปก็พลอยเศร้าไปกับพระเอกหรือนางเอกที่ต้องพบชะตากรรมที่ไม่นึกไม่ฝันว่าจะเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ ที่จริงภาพเหล่านั้นมันเป็นมายาที่มาหลอกตาเราชั่วขณะหนึ่งเท่านั้นเอง แต่ว่าภาพมันติดต่อกัน เลยเห็นเป็นเรื่องเดียวกันตลอดเวลา อย่างนี้มันก็ผ่าน ๆ ไปเท่านั้นเอง อะไร ๆ มันก็ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป ไม่ได้หยุดอยู่ มันผ่านมาแล้วก็ผ่านไป ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป ไม่ได้หยุดอยู่ แต่ว่าเรานั้นเป็นผู้ทำผิด...ทำผิดในเรื่องอย่างไร? คือไปเก็บเอาสิ่งนั้นไว้เอามาใส่ในใจ มาใส่ไว้ในห้วงนึกในความคิดของเรา เก็บเรื่อยไปไม่รู้ว่าอะไรต่ออะไร

สภาพของจิตที่ชอบสะสมอารมณ์

ลักษณะของจิตมันก็อย่างนั้นอยู่ด้วยเหมือนกัน คือชอบสะสมอารมณ์ประเภทต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามา แล้วก็เก็บเอาไว้ แล้วเอามานั่งคิดนึกให้เกิดความทุกข์ ความเศร้าใจ ไม่มีเรื่องอะไรจะคิด...ก็ไปเอาเรื่องที่มันเศร้าใจทำให้ไม่สบายใจ
บางทีเอาไปคิดในเวลาใกล้จะนอน จึงกระทบอารมณ์...เลยนอนไม่หลับ หรือบางทีเอาไปคิดเวลารับประทานอาหาร เลยเกิดเบื่ออาหารขึ้นมา ไม่อยากจะรับประทานแล้ว ใจมันไม่สบาย คนอื่นนั่งใกล้ก็ถามว่าไม่สบายด้วยเรื่องอะไร? แหม!... ใจมันไปคิดในเรื่องครั้งกระโน้น เก่าไม่รู้สักกี่สิบปีแล้ว ถ้าเป็นวัตถุก็เรียกว่าบูดแล้ว เน่าแล้ว เปื่อยแล้ว เราอุตส่าห์เอามาสร้างเป็นโครงร่างขึ้นมาใหม่ ไปเก็บเอาขี้เถ้ามา เอามาเสกสรรปั้นแต่งให้มันเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา แล้วนั่งดูด้วยความเศร้าโศกใจ นี่เรียกว่าความเขลาหรือความฉลาด ขอให้เราคิดดูสักเล็กน้อย
ถ้าคิดดูแล้วก็เห็นว่า เอ...มนุษย์นี่แย่เต็มที เรื่องเป็นขี้เถ้าผงไปหมดแล้ว อุตส่าห์เอาขี้เถ้าขึ้นมาเสกอีกให้เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา แล้วก็มานั่งฝันในเรื่องที่เป็นความทุกข์ความเศร้าใจ อันนี้มันไม่ใช่เรื่องที่ควรจะเป็นไปเลย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28 ธันวาคม 2552 01:51:24 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #13 เมื่อ: 28 ธันวาคม 2552 00:45:37 »

http://img70.imageshack.us/img70/3922/pc240179666.jpg
สุข - สดชื่น - แจ่มใส - เบิกบาน ทุกขณะจิต



พิจารณาสิ่งต่าง ๆ ด้วยปัญญา

สิ่งใดที่ผ่านไปแล้วก็ปล่อยไป...ช่างมันเถอะ ผ่านพ้นไปแล้ว เราจะไปคิดถึงสิ่งนั้นทำไม ให้มันเป็นอดีตไป อดีตมันก็ผ่านพ้นไปแล้ว ปัจจุบันมันก็ผ่านพ้นไปแล้ว อนาคตก็ยังมาไม่ถึง... แต่ถ้ามาถึงเข้าเราก็พิจารณาต่อไปด้วยปัญญาว่า สิ่งนี้กำลังเกิดขึ้นแก่เรา แต่ว่าสิ่งนี้มันไม่เที่ยง มันมีความเปลี่ยนแปลง คอยดูว่ามันจะเปลี่ยนแปลงอย่างไรต่อไป ให้เราทำตนเป็นคนดูด้วยปัญญา อย่าดูด้วยความยึดมั่นถือมั่น อย่าดูด้วยความหลงผิดในเรื่องนั้น ๆ จิตใจเราก็จะสบายขึ้น ไม่มีปัญหา ไม่มีความทุกข์ ความเดือดร้อนใจ
นี่เป็นหลักหนึ่งที่ช่วยแก้ปัญหา คือความทุกข์เหมือนกัน คือให้รู้ว่าอะไรที่ผ่านพ้นไปแล้วก็ผ่านพ้นไป อย่าไปรื้อไปค้นเอามาคิดนึกให้เสียเวลา ให้มันเกิดความทุกข์ความเดือดร้อนใจเปล่า ๆ แต่ถ้าเราจะเอามาคิดนึกก็เรียกว่าคิดด้วยปัญญา รื้อมันด้วยปัญญา และสร้างขึ้นด้วยปัญญาตลอดเวลา อย่างนั้นสิ่งนั้นจะเป็นประโยชน์...ไม่เป็นความเสียหายในการที่เราจะคิด เพราะเอามาศึกษาค้นคว้าในเรื่องอย่างนั้น ว่าสิ่งนี้มันเกิดขึ้นอย่างไร ตั้งอยู่เปลี่ยนแปลงไปในสภาพอย่างไร เพื่อเราจะได้จดจำไว้เป็นบทเรียนสำหรับชีวิตของเราต่อไป นี่ไม่ใช่เรื่องเสียหาย แต่ถ้าเอามานั่งคิดด้วยความเขลาแล้ว เรานั่งกลุ้มใจ เป็นทุกข์ไม่สบาย อย่างนั้นมันไม่ใช่เรื่องที่เราควรกระทำ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28 ธันวาคม 2552 01:51:50 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #14 เมื่อ: 28 ธันวาคม 2552 00:47:44 »

http://img70.imageshack.us/img70/3922/pc240179666.jpg
สุข - สดชื่น - แจ่มใส - เบิกบาน ทุกขณะจิต



ควบคุมจิตให้เป็นปัจจุบัน

 บ๊าบบายอันเรื่องที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า เรื่องนั้นเรียกว่าเรื่องปัจจุบัน เราควรจะทำจิตให้เป็นปัจจุบันไว้ จิตที่เป็นตัวปัจจุบันหมายความว่า...ตื่นอยู่ตลอดเวลา ไม่หลับใหล ไม่มัวเมา
ตื่นตัวอยู่ด้วยสติปัญญา
คำว่า หลับใหลในทางจิต นั้น หมายความว่า ไม่รู้ ไม่เข้าใจ เมื่อใดเราไม่รู้ ไม่เข้าใจ ก็เรียกว่าเราหลับแล้ว พอหลับแล้วมันก็วุ่นวาย มันเกิดปัญหาอะไรร้อยแปดต่าง ๆ ขึ้นมา เพราะไม่ได้ตื่นด้วยสติปัญญา เรากลายเป็นคนหลับอยู่ในขณะนั้น...ไม่ดี ไม่งาม
เราจะต้องเพ่งปัจจุบัน หมายความว่า ตื่นตัวอยู่ด้วยสติปัญญา นั่นแหละมันจะช่วยให้เรามองเห็นอะไรได้อย่างชัดเจนแจ่มแจ้ง ว่ามีอะไรเกิดขึ้นแล้ว มีอะไรเกิดขึ้นต่อไป มันเปลี่ยนแปลงไปในรูปอย่างไร คอยมองไป ค้นคว้าไป ศึกษาไปในเรื่องนั้น ๆ อย่างนี้เรียกว่าอยู่ด้วยความตื่นตัว อยู่ด้วยปัญญาความตื่นตัว นั่นก็คือ ความมีสติคอยพิจารณาอะไรต่าง ๆ ไว้
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28 ธันวาคม 2552 01:52:15 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #15 เมื่อ: 28 ธันวาคม 2552 00:49:40 »

http://img70.imageshack.us/img70/3922/pc240179666.jpg
สุข - สดชื่น - แจ่มใส - เบิกบาน ทุกขณะจิต



ทีนี้โดยปกติอารมณ์ต่าง ๆ นั้น ไม่ใช่ว่ามันจะเป็นเครื่องยั่วเสมอไป ไม่ใช่ยั่วให้เกิดความโกรธเคืองอะไร ๆ เสมอไปก็หามิได้ มันมีเฉพาะเรื่อง เฉพาะบางประการ
ขอให้เราสังเกตว่า ตาได้เห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายได้ถูกต้องสิ่งใดก็ตาม บางทีมันก็เฉย ๆ ไม่มีความรู้สึกอะไร เช่น ตาเราเห็นของบางอย่าง มันก็เฉย ๆ ไม่มีการปรุงแต่งเป็นความรัก ความชัง หรืออะไรขึ้นมาในใจแม้แต่น้อย มันเพียงสักแต่ว่าเห็นแล้วผ่านพ้นไปเท่านั้นเอง แต่ว่าอารมณ์บางประเภทมันก่อให้เกิดอะไรขึ้น เช่น ก่อให้เกิดความกำหนัด เกิดความขัดเคือง เกิดความลุ่มหลง เกิดความมัวเมาขึ้นในใจของเรา มันก็มีเหมือนกัน



สังเกตลักษณะความคิดที่เกิดขึ้นในจิตใจ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28 ธันวาคม 2552 01:52:51 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #16 เมื่อ: 28 ธันวาคม 2552 00:51:18 »

http://img70.imageshack.us/img70/3922/pc240179666.jpg
สุข - สดชื่น - แจ่มใส - เบิกบาน ทุกขณะจิต



อันนี้ขอให้เราสังเกตดูตัวเราเองว่า เวลาเราเห็นอะไร ได้ยินอะไร ได้รสอะไร ได้ถูกต้องสิ่งใด สภาพจิตของเรามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง ความกำหนัดเกิดขึ้นหรือไม่ มีโทสะเกิดขึ้นหรือไม่ มีความลุ่มหลงเกิดขึ้นหรือไม่ มีความมัวเมา มีความริษยา พยาบาทเคียดแค้นต่อสิ่งเหล่านั้นที่มากระทบหรือไม่ ให้คอยสังเกตลักษณะความคิดที่เกิดขึ้นในใจของเรา การคอยสังเกตนี่แหละ คือเพ่งอยู่เฉพาะหน้าเหมือนกัน

การเพ่งอยู่เฉพาะหน้า

การเพ่งอยู่เฉพาะหน้า ก็คือการคอยสังเกตดูว่า เมื่อสิ่งนั้นมากระทบตาเกิดอะไรขึ้น เสียง...มากระทบหู แล้วเกิดอะไรขึ้น กลิ่น...มากระทบจมูกของเรา แล้วเกิดอะไรขึ้น เรารับประทานอาหาร เช่นว่ารับประทานรสเปรี้ยว รสเค็ม รสหวาน รสผสมกัน เราก็ต้องคอยสังเกตว่า พอเคี้ยวถูกสิ่งนั้น มีรสเป็นอย่างนั้น เกิดอะไรขึ้นในใจของเรา...ให้คอยกำหนดไว้ ขณะรับประทานอาหารเข้าไปในปากก็คอยกำหนดไว้ ขณะดื่มก็คอยกำหนดไว้ ขณะรับประทานอะไรเข้าไปในปากก็คอยกำหนดไว้ ตาได้ดู หูได้ฟัง จมูกได้กลิ่น มือได้สัมผัสกับสิ่งใด เราก็คอยกำหนดสิ่งนั้นไว้ว่ามันเกิดอะไรขึ้นมาบ้างในจิตของเรา เราก็จะได้รู้ว่ามันเกิดอะไร
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28 ธันวาคม 2552 01:53:21 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #17 เมื่อ: 28 ธันวาคม 2552 00:53:05 »

http://img70.imageshack.us/img70/3922/pc240179666.jpg
สุข - สดชื่น - แจ่มใส - เบิกบาน ทุกขณะจิต



วิเคราะห์เหตุที่ทำให้เกิดอารมณ์นั้น ๆ

แล้วเมื่อรู้ว่ามันเกิดอะไรขึ้นแล้ว เราก็อย่าให้มันพ้นไปเฉย ๆ แต่เราควรจะตั้งปัญหาต่อไปว่า ทำไมจึงเกิดอย่างนี้ ทำไมจึงเกิดความพอใจ ทำไมจึงไม่พอใจ ทำไมจึงไปโกรธเขา ทำไมจึงไปเกลียดเขา ทำไมจึงไปริษยาเขา หรือทำไมจึงไปพยาบาทเขา ไปอาฆาตเขา ให้เอามาแยกแยะวิเคราะห์วิจัยดูอารมณ์นั้นว่า ทำไมมันเป็นอย่างนั้น แล้วสิ่งนั้นมันคืออะไร...ที่ทำให้เราโกรธเคืองมันคืออะไร
ยกตัวอย่างง่าย ๆ เช่นคำด่าว่า...คำด่าว่าที่คนอื่นด่าเรา เช่น เขาด่าเราว่าอ้ายชาติชั่ว หรือว่า ชาตินั้นชาตินี้ หรือคนอย่างนั้นอย่างนี้ พอได้ฟังแล้ว แหม  - !...ซ่าขึ้นมาทีเดียว หูแดง ตาแดง ขึ้นมาทีเดียว มันมาแล้วอารมณ์มันมาแล้ว มันเกิดความโกรธขึ้นมาแล้ว ทำไมจึงเกิดความโกรธขึ้นมาในเมื่อเขาว่าอย่างนั้น ก็เพราะว่าเราไปสำคัญผิด...สำคัญผิดว่าเขาด่าเรา มันมีเราแล้วก็มีเขา มีสองผู้ขึ้นมา ผู้รับกับผู้ให้ ผู้รับคือตัวเรา ผู้ให้ก็คือผู้ที่ด่าเรา เกิดเป็นสองคนขึ้นมา คนหนึ่งเป็นผู้ด่า อีกคนหนึ่งเป็นผู้รับคำด่า เรียกว่ามีตัวสมมติขึ้นสองตัวในโลกแล้ว คือตัวเราตัวหนึ่ง แล้วตัวเขาอีกตัวหนึ่ง แล้วเราก็เกิดฟังขึ้นมาว่า มันด่ากูนี่หว่า อ้ายคนด่าก็มีขึ้นมากลายเป็นสองตัวขึ้นมามีสองผู้ขึ้นมาแล้ว เรียกว่าผู้ด่ากับผู้ถูกด่า..................มีสองอย่าง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28 ธันวาคม 2552 01:54:24 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #18 เมื่อ: 28 ธันวาคม 2552 00:55:30 »

http://img70.imageshack.us/img70/3922/pc240179666.jpg
สุข - สดชื่น - แจ่มใส - เบิกบาน ทุกขณะจิต



ละจากความยึดมั่นถือมั่น

ในโลกนี้มันก็มีอยู่สองเรื่องนี้ ญาติโยมจำไว้ด้วย มีอยู่สองเรื่องเท่านี้ คือสิ่งที่เรารับรู้ แล้วก็ความรับรู้ของเรา หรือว่าผู้กระทำ ผู้ถูกกระทำว่านาย ก. ด่า นาย ก. เป็นผู้กระทำ เราเป็นผู้ถูกกระทำคือถูกด่าแล้ว เราก็ไปโกรธนาย ก. โกรธนาย ก. ว่าด่าเรา เรามองเห็นว่านาย ก. เป็นก้อนเป็นกลุ่มขึ้นมา ว่าเป็นตัวเป็นตน มีอะไรต่ออะไรพร้อม แล้วก็พูดคำผรุสวาทด่าเราอย่างนั้น แล้วเราก็มองดูตัวเราว่า ฉันก็เป็นตัวเหมือนกัน เป็นตัวที่จะออกไปรับคำด่า เลยเกิดโกรธขึ้นมาเช่นนั้น...
สาเหตุมันอยู่ที่ตรงนี้ ไม่ใช่เรื่องอะไร ตรงที่ว่าเรายึดมั่นถือมั่นว่า ฉันมี ฉันเป็น แล้วก็ยึดมั่นว่าเขามี ว่าเขาเป็น มันมีเรามีเขาขึ้นมา เขาด่าเรา เราเป็นผู้ถูกด่า แล้วเราเป็นผู้โกรธ โกรธเขาผู้นั้นว่าเขาผู้นั้นมันด่าเรา เราก็โกรธขึ้นมาทันที
อันนี้เป็นความคิดที่ได้รับมานานแล้ว ฝังอยู่ในใจมานานแล้ว ตั้งแต่เป็นเด็กตัวน้อย ๆ เพราะว่าคนเราพอเกิดมาก็ถูกสอนให้ยึดมั่นถือมั่นในเรื่องอะไรต่าง ๆ ให้ยึดมั่นในเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ แล้วก็ค่อยขยายไปทุกวันทุกเวลา
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28 ธันวาคม 2552 01:54:55 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #19 เมื่อ: 28 ธันวาคม 2552 00:57:54 »

http://img70.imageshack.us/img70/3922/pc240179666.jpg
สุข - สดชื่น - แจ่มใส - เบิกบาน ทุกขณะจิต



สร้างฐานจิตใจที่ถูกต้อง

อยู่ในครอบครัว...เด็กตัวน้อย ๆ ก็ยึดมั่นในของที่ตัวมี เช่นว่า นี่ของเล่นของฉัน คนอื่นมาแตะต้องไม่ได้ มาเอาไปก็ไม่ได้ ถ้าเอาไปก็ร้องไห้ ทำอะไรไม่ได้ก็ร้องไห้ไปตามเรื่อง เมื่อเขาเอาอะไรของฉันไป เกิดความทุกข์ความเดือดร้อนใจขึ้นมา เพราะความยึดถือว่า สิ่งนี้เป็นของฉัน แล้วแม่พ่อก็สอนอย่างนั้น...นี่ของหนูนะ บอกให้เด็กรับไว้ว่าเป็นของหนู ตุ๊กตาของหนู อ้ายนี่ของหนู เราสอนมาอย่างนั้น สอนให้ยึดไว้โดยไม่รู้ตัวตั้งแต่ตัวน้อย ๆ แต่ว่าเด็กนั้นเราจะอธิบายเหตุผลมันก็ลำบาก จึงต้องให้เข้าใจอย่างนั้นไว้ก่อน
แต่ว่าเมื่อเด็กนั้นพอรู้เดียงสา พอพูดจากันเข้าใจ พ่อแม่ควรจะเพาะเอาไว้ แล้วเพาะให้เรียนรู้ความจริงของชีวิตให้รู้ว่า อะไรที่เป็นตัวเรานั้นมันหามีไม่ ไม่มีอะไรที่เป็นของเรา หลักอนัตตาไม่ใช่ว่าเป็นเรื่องที่จะสอนคนแก่หรือว่าคนมี่มีอายุมาก ๆ อะไรหามิได้ เราจะต้องสอนเด็กตั้งแต่ตัวน้อย ๆ ให้เขามีฐานทางจิตใจถูกทางไว้ตั้งแต่เบื้องต้น ไม่ให้เกิดความยึดถือที่รุนแรงในเรื่องอะไร ๆ ต่าง ๆ
ให้รู้ว่าอะไรเป็นของสมมติ อะไรเป็นของจริงเป็นของแท้



เครียด.........................มีต่อหน้าที่ 2 .............................ลัลลา
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 29 ธันวาคม 2552 09:13:43 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า:  [1] 2   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
สุข - สดชื่น - แจ่มใส โดย พระพรหมมังคลาจารย์
ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน
時々๛कभी कभी๛ 0 3245 กระทู้ล่าสุด 27 พฤษภาคม 2554 12:43:36
โดย 時々๛कभी कभी๛
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.349 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 04 มีนาคม 2567 12:50:29