[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
28 มีนาคม 2567 16:39:43 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า:  [1] 2   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: the post office onupon in thailand  (อ่าน 18894 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
sometime
บุคคลทั่วไป
« เมื่อ: 18 กรกฎาคม 2553 21:57:04 »



นาย ศุขเล็ก หรือประยูร จรรยาวงศ์ ท่านกรุณาวาดภาพให้การสื่อสารแห่งประเทศไทยในขณะนั้นมีภาพต้นแบบ หลาย ๆภาพ

ถูกทำ 5 ส.ไป อย่างน่าเสียดาย




<table class="maeva" cellpadding="0" cellspacing="0" border="0" style="width: 800px" id="sae1"> <tr><td style="width: 800px; height: 576px" colspan="2" id="saeva1"><script type="text/javascript"><!-- // --><![CDATA[ var oldLoad = window.onload; window.onload = function() { if (typeof(oldLoad) == "function") oldLoad(); if (typeof(aevacopy) == "function") aevacopy(); } // ]]></script><embed type="application/x-mplayer2" src="http://www.se-ed.com/ads/pr/sile/song/09.%20Track%209.wma" width="800px" height="576px" wmode="transparent" quality="high" allowFullScreen="true" allowScriptAccess="never" ShowControls="True" autostart="false" autoplay="false" /></td></tr> <tr><td class="aeva_t"><a href="http://www.se-ed.com/ads/pr/sile/song/09.%20Track%209.wma" target="_blank" class="aeva_link bbc_link new_win">http://www.se-ed.com/ads/pr/sile/song/09.%20Track%209.wma</a></td><td class="aeva_q" id="aqc1"></td></tr></table>

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18 กรกฎาคม 2553 23:59:00 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #1 เมื่อ: 18 กรกฎาคม 2553 21:58:59 »



บล็อกเกอร์ เสือจุ่น หลงไหลจักรยานภาพนี้ผมถ่ายเมื่อคราวท่านรองนายกรัฐมนตรี ท่านสุเทพฯไปเปิด

ไปรษณียาคารที่เชิง สะพานพุทธ



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18 กรกฎาคม 2553 23:09:52 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #2 เมื่อ: 18 กรกฎาคม 2553 22:00:06 »



บรรยากาศ ปากคลองโอ่งอ่างใกล้ๆที่ตั้งไปรษณีย์กลางแห่งแรก

วันนี้ คือไปรสะนียาคารจำลอง



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18 กรกฎาคม 2553 23:10:38 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #3 เมื่อ: 18 กรกฎาคม 2553 22:01:06 »



เรื่องราวเก่า ๆ มีมนต์ขลังเสมอ และสอนใจเรามากมาย สงสัยว่า

ครูไทยทำไหมไม่สอนประวัติศาสตร์ หรือไม่

ย่อมรับความจริง



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18 กรกฎาคม 2553 23:11:26 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #4 เมื่อ: 18 กรกฎาคม 2553 22:03:00 »














ตู้ไปรษณีย์เก่า ๆ ทางการเมืองระหว่างประเทศที่เยอรมันมอบไว้ให้คราวเปิดไปรษณีย์ ยุครัชกาลที่ 5

ความยุ่งยากมากมาย ประวัติศาศสตร์ตรงนี้ ช่วงพัฒนาชาติ กิจการโทรเลขสมัย ร.4 กิจการกรมไปรษณีย์

และกิจการรถไฟไทยยุ่งยากมากมาย รัฐมนตรีผู้ควบคุมหน่วยงานปัจจุบันนี้

ผมรับรองได้ว่าเขาไม่สนใจศึกษาว่าความเป็นมาลำบากยากเย็นในการจัดสร้าง


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18 กรกฎาคม 2553 23:13:19 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #5 เมื่อ: 18 กรกฎาคม 2553 22:05:42 »


ผมขอใช้ตัวอักษรสีแดง  ที่เป็นสีสัญลักษณ์ของคนไปรษณีย์ สีแดงเลือดหมู เป็นสีที่เราใช้มาตั้งแต่สมัย

รัชกาลที่  5 มาแล้ว สีเป็นเพียงแต่สัญลักณ์ จะชั่วเลวโหดมันไม่ได้ขึ้นอยู่กับสี มันอยู่ที่จิตใจมากกว่านะครับ

70 ปี ของการย้ายขึ้นตึกอาคารรูปตัว T เมื่อ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2483 นั้น ผมอยากให้สถานที่แห่งนี้เก่า

ไปกว่านี้ จึงได้ทำบันทึกทางราชการ ผ่านผู้บังคับบัญชาไปตามลำดับชั้น ถึงผู้เกี่ยวข้อง และได้รับคำตอบ

ว่าเริ่มนับตั้งแต่ วันย้ายขึ้นตึกใหม่ ไม่ได้นับตั้งแต่วันที่ย้ายมาทำการที่สถานทูตอังกฤษ.ตามบันทึกตอบท่าน

ฝตป.คุณ มาลินี ธรรมตารีย์(ฝตป ย่อมาจาก ผู้จัดการการฝ่ายตลาดตราไปรษณียากร) เมื่อท่านตอบ มาแบบ

ไม่ให้เก่าแก่ผมก็ย่อมตามที่ ท่านผู้ช่วยเมธินทร์ ลียากาศ อธิบายมาครับ



สถานทูตอังกฤษที่ไปรษณีย์ซื้อมาทำอาคารไปรษณีย์ ก่อนเปิดอาคารตัว T


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18 กรกฎาคม 2553 23:23:20 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #6 เมื่อ: 18 กรกฎาคม 2553 22:06:46 »


สถานกงศุลอังกฤษ ในอดีต มีอนุสาวรีย์ พระนางวิคตอเรียร์ ตั้งอยู่ด้านหน้าที่ถนนเจริญกรุง พระบาทสมเด็จ

พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรูณาโปรดเกล้าฯช่วยนายจินเจล จัดซื้อที่ดิน ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา โดยซื้อ

คืนจากชาวมอญและพม่า ตารางวาละ 1 บาท พร้อมพระราชทานเสาธงไม้ให้สถานกงศุล ใช้มาถึง

พ.ศ. 2435 ถูกพายุโค่นหักลง ทางการอังกฤษได้ซื้อเสาธงเหล็ก ขนาดใหญ่ ราคา 500 ปอนด์ มาจากฮ่องกง



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18 กรกฎาคม 2553 23:24:11 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #7 เมื่อ: 18 กรกฎาคม 2553 22:08:10 »



ตามที่ท่านผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายการตลาดตราไปรษณียากร กรุณาส่งภาพอธิบายตามที่ผมสอบถามถึงวันย้าย

มาที่สถานทูตอังกฤษ ท่านกรุณาอธิบายด้วยลายมือสวยงามของท่านเองว่า.กรมไปรษณีย์โทรเลข ย้าย

ออฟฟิสไปรษณีย์ที่ 1 จากไปรสนียาคาร และออฟฟิสไปรษณีย์ที่ 2 จากศุลกสถาน (โรงภาษีร้อยชักสาม)

รวมเข้าด้วยกันเรียกว่า สำนักงานไปรษณีย์กลาง ตั้งแต่วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2469 โดยใช้สถานทูต

อังกฤษเดิม ที่ย้ายออกไปเพลินจิตเป็นสำนักงาน



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18 กรกฎาคม 2553 23:25:46 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #8 เมื่อ: 18 กรกฎาคม 2553 22:09:12 »



สถาพบริเวณไปรษณีย์กลาง มุมบนซ้าย ริมแม่น้ำ ภาพตึกบัญชาการกรมไปรษณีย์โทรเลข เป็นอาคาร 6 ชั้น

สถานที่แห่งนี้อาคารหลังนี้ เป็นสถานที่ปฐมนิเทศน์ผู้เขียนเข้าทำงาน กรมไปรษณีย์โทรเลข ดังนั้นผมจึงเป็น

คน 3 แผ่นดินดังนี้..........................................
 
1.รับราชการในกรมไปรษณีย์โทรเลข เมื่อเรียนจบจากโรงเรียนกรมไปรษณีย์โทรเลข มาเป็นลูกพ่อขุนภายหลัง โดยทำงานไปด้วยเรียนไปด้วย

2.เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจการสื่อสารแห่งประเทศไทย เมื่อ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520

3.เป็นพนักงานบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด เมื่อ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2546



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18 กรกฎาคม 2553 23:27:06 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #9 เมื่อ: 18 กรกฎาคม 2553 22:09:57 »



จากรายงาน พลเอก พระยาพหลฯ ในพิธีเปิด เอกสาร ข่าวโฆษณาการ หน้า 1080 ฉบับที่ 5 ประจำเดือน

สิงหาคม พ.ศ. 2483 ความตอนหนึ่งว่า ตึกที่ทำการใหม่ของกรมไปรษณีย์โทรเลขกลางนี้เป็นศิลปกรรม

แบบทันสมัย รูปตัวอักษรโรมัน ตัว T โครงตึกเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18 กรกฎาคม 2553 23:28:09 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #10 เมื่อ: 18 กรกฎาคม 2553 22:11:51 »



จากรายงานประจำปี พ.ศ. 2454 ช่วงรัชกาลที 5 ต่อรัชกาลที่ 6 ( 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 ร.5 สวรรคต)

ครุฑ ในรายงานรุ่นแรกยังไม่ได้เป็นครุฑแตรหง่อน ครุฑแตร่หง่อนน่าจะเป็นการใช้เมื่อภายหลัง ผมสืบค้น

ยังไม่พบว่าเริ่มใช้เมื่อไร ? ใครทราบประวัติการใช้อ่านพบที่ใดขอความกรุณาแจ้งให้ผมทราบด้วยครับ



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18 กรกฎาคม 2553 23:29:13 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #11 เมื่อ: 18 กรกฎาคม 2553 22:13:09 »



มีเกร็ดเกี่ยวกับพญาครุฑที่ไปรษณีย์กลางที่สร้างสมัยนาย ควง อภัยวงศ์ ขณะที่ท่านเป็นอธิบดีกรมไปรษณีย์

โทรเลขเมื่อคราวสงครามโลกสัมพันธมิตรทิ้งระเบิดเพื่อจะทำลายศูนย์กลางโทรคมนาคมของชาติเวลานั้น

ตึกป็นตึกสูงที่สุดเวลานั้นบริเวณใกล้เคียงถูกระเบิดทำลายหมด แต่ไปรษณีย์ไม่ถูกระเบิดทำลาย ชาวบ้าน

เขาเชื่อ ว่าพญาครุฑ ช่วยปกป้อง เมื่อเครื่องบินมาทิ้งระเบิด ครุฑ สองตัวบินไปปัดลูกระเบิด ตกที่อื่น

เมื่อสื่อมวลชนมาสัมภาษณ์ นายควง อภัยวงศ์ ว่ามีของดีอะไรที่ไปรษณีย์กลาง

บางรักนายควงฯ ท่านตอบออกมาเสียงดัง ๆว่า มีซิของดีจึงคลาดแคล้วมาตลอด มีซีเมื่อเวลาสร้างตึก

หลังนี้ไม่มีใครไปโกงกินเอากำไรแบบโกงกินกันเลย แล้วนั้นไม่ใช่ของดีหรือ ?




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18 กรกฎาคม 2553 23:30:42 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #12 เมื่อ: 18 กรกฎาคม 2553 22:14:29 »



ตึกประธาน ด้านเป็นศรีษะของตัวอักษร T มีขนาดกว้าง 17.6 เมตร ยาว 103.80 เมตร สูง 31.52 เมตร

และตึกหลังนี้ได้สร้างแบ่งออกเป็น 3 ตอน มี 3 มุข ตอนกลางชั้นล่าง จัดทำเป็นห้องโถงใหญ่ สำหรับ

ประชาชนที่จะมาติดต่อ เกี่ยวกับการไปรษณีย์ การธนาณัติและการอื่นๆ เหนือห้องโถงนี้ขึ้นไปชั้นที่ 2 จัดทำ

เป็นที่ทำการของสำนักงานเลขานุการกรมไปรษณีย์โทรเลข  ชั้นที่ 3 และชั้นที่ 4 เป็นห้องส่งกระจายเสียง

หรือสถานีวิทยุ ซึ่งขณะนี้ยังดำเนินการจัดสร้างสถานียังไม่แล้วเสร็จ  และใต้ห้องโถงนี้ลงไปเป็นห้องใต้ระดับ

พื้นดินสำหรับเก็บสิ่งของ และงานบางอย่าง ตรงนี้ผมขอเสริมสักนิดฐานะที่ผมคนช่างเล่าเกี่ยวข้องอยู่บ้าง เมื่อ

คราวปฏิบัติหน้าที่ อยู่ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขวัดเลียบ วิ่งสอบสวนธนาณัติ ของคุณยายแก่ ๆ ที่ลูกหลานส่ง

มาให้แต่คุณยายหลง ๆ ลืมไปเมื่อสอบกระจ่างคุณยายเข้าใจ

(เพื่อเป็นเกียรติประวัติ ผู้รับเหมา และความหลังการไม่ถูกระเบิดคราวสงครามนั้นทั้งๆที่เป็นเป้าหมายทิ้ง

ระเบิด จะขอเล่าภายหลัง ผู้รับเหมาก่อสร้างคือ นายดั่นบังหยิน สร้างตึกกลางและตึกประธาน เป็นนายอิ้ว

บริษัท ง่วนเลี่ยงไถ่ ฐานรากนายดั่นบังหยินเป็นผู้สร้าง เริ่มสร้างเมื่อ 1 มีนาคม พ.ศ. 2478 สร้างเสร็จส่ง

มอบงานเมื่่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2482 รวมเวลาก่อสร้าง 3 ปี 5 เดือน หรือ 1,259 วันพอดี การตกแต่ง

นายเอ ช.เกอร์สัน นายยี.แบคเกอร์ ทำประตูหน้าต่าง น่าจะบอกให้ทราบเป็นความรู้เรื่องราคาขณะนั้นว่านัก

ก่อสร้างทำ โครงการไม่โกงกิน นายควง อภัยวงศ์ กล่าวไว้ดังมีราคาดังนี้.............................

ราคาค่าก่อสร้างตึกนี้คิดเป็นเงินตามรายการต่อไปนี้

1.ตึกประธานด้านหน้า 467,469 บาท
 
2.ตึกกลาง 157,135 บาท

3.ตึกท้าย 56,053 บาท

4.ค่าเครื่องตกแต่งต่าง ๆ 300,132 บาท

รวมทั้งสิ้นเป็นเงิน 976,967 บาท



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18 กรกฎาคม 2553 23:31:54 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #13 เมื่อ: 18 กรกฎาคม 2553 22:15:41 »



ด้านตัวอักษรตัว T  ถ่ายจากลานโพธิ์ ตึกนี้เป็นที่แลกเปลี่ยนถุงเมล์ในอดีต และเป็นศูนย์ถ่ายทอดโทรเลข


ในประเทศ ต่างประเทศ เข้าเวร มี 3 เวร เข้าเช้า -บ่าย- ดึก พวกพนักงานโทรเลข เป็นดงเสือ สิงห์ กระทิง


แรดในสายตาสาว ๆ กองบัญชี คือเธอ พวกทำงานเข้าเวรไม่เรียบร้อย ไม่สุภาพ


[/color]


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18 กรกฎาคม 2553 23:39:53 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #14 เมื่อ: 18 กรกฎาคม 2553 22:17:12 »



ตัว T  ส่วนหาง เมื่อคราวที่โทรเลขกลาง ยังเคาะสัญญาณ รหัสมอร์ส ท่านๆอาจจะเห็นว่ารหัสมอร์ส

เป็นเรื่องเก่าคร่ำครึ่ ท่านไม่ทราบหรอกว่า เรือเดินทะเล หรือวิทยุสมัครเล่นระดับสูงยังใช้สัญญาณ

รหัส มอร์สติดต่ออยู่ ถามว่าทำไหม? เมื่อเทคโนโลยีสื่อสารระดับสูงมีแล้ว ตอบว่าเป็นเป็นเครื่องมือสำรอง

โดยไม่ประมาทนั้นเอง คราวเรือดำน้ำรัสเซียจมลงขั่วโลกเหนือได้รหัสมอร์สสื่อสารกันได้



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18 กรกฎาคม 2553 23:41:08 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #15 เมื่อ: 18 กรกฎาคม 2553 22:18:18 »



มุขด้านใต้ของตึกนี้ ชั้นที่ 1 ชั้นที่ 3 ชั้นที่ 4 และชั้นที่ 5 จัดเป็นที่ตั้งของกองบัญชี เป็นหมู่บ้าน ที่รำรวย

ไม้คานทองคำครับสถานที่แห่งนี้
 
ชั้น ที่ 2 เป็นที่ทำการกองพัสดุและโรงงาน  ส่วยมุขทางด้านเหนือชั้นล่างจัดเป็นที่ทำงานสำหรับรับฝากโทร

เลขที่ประชาชนมาติดต่อฝากส่ง ชั้นเหนือขึ้นไป ชั้นที่ 2 ชั้นที่ 3 ชั้นที่ 4 และชั้นที่ 5 เป็นที่ทำการกองวิทยุ

อำนาจของกองนี้แหละ เป็นผู้บริหารคลื่นความถี่วิทยุ ที่พวกนักธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคมถวิลหาเวลานี้



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18 กรกฎาคม 2553 23:42:17 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #16 เมื่อ: 18 กรกฎาคม 2553 22:20:03 »






(:LOVE:)ภาพแสตมป์ ที่ฝาผนัง เป็นแสตมป์รัชกาลที่ 6 ครับ รัก







(:LOVE:)บรรยากาศภายในโดม ห้องโถงประชาชน ผู้มาใช้บริการที่ไปรษณีย์กลางบางรัก ถ่ายเมื่อ 17 ก.ค.53 รัก



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18 กรกฎาคม 2553 23:44:17 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #17 เมื่อ: 18 กรกฎาคม 2553 22:21:16 »



สภาพอาคารตึกด้านหลัง ผมถ่ายมาเมื่อวันเสาร์ที่ 17 กรกฏาคม พ.ศ. 2553 ก่อนเทียงวัน ตึกนี้เป็นด้านหลังตัว

T มีสภาพ น่าเกลียด ไปรษณีย์นั้นอยากปรับปรุงให้สวยงาม แต่กรมศิลปกร กำลังถ่อเรืออยู่



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18 กรกฎาคม 2553 23:50:07 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #18 เมื่อ: 18 กรกฎาคม 2553 22:22:26 »



ตึกส่วนหางตัวที มองจากริมแม่น้ำเจ้าพระยา แบ่งออกเป็น 2 ตอน มีตึกกลาง และตึกท้าย ตึกกลางกว้าง18 เมตร ยาว 70 เมตร

4 ชั้น สูง 28.56 เมตร เป็นที่ทำงานของกองสื่อสาร กองช่างโทรเลข และกอง.

ช่างโทรศัพท์ส่วน ตัวท้ายกว้าง 22 เมตร ยาว 26 เมตร สูง 3 ชั้น ความสูงช่วงนี้ 21.69 เมตร เป็นที่ตั้งโทรศัพท์อัตโนมัติ

เรื่องโทรศัพท์ในประเทศนั้นประวัติ ศาสตร์ของกิจการโทรโศัพท์ จะอยู่ในรายงานของหนังสือกรอบๆจะขาด

มิขาด หนังสือเก่าแก่มากไว้มีโอกาสจะคัดมาเล่าให้ฟัง โทรศัพท์นั้นผมเคยเขียนไว้ว่าในกรุงเทพ ฯแยกตัว

ออกไปเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2497 และต่างจังหวัดค่อย ๆ แยกไปหลัง พ.ศ.2500





« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18 กรกฎาคม 2553 23:51:17 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #19 เมื่อ: 18 กรกฎาคม 2553 22:23:44 »





ภาพวาดในจานใบใหญ่ ที่พระนัดดา พระบิดาไปรษณีย์ให้ยืมมาจัดงานเปิดไปรสะนียาคารเมื่อวันก่อนประวัติ ตึกที่ทำการ
ไปรษณีย์กลางบางรักกิจการไปรษณีย์ในประเทศไทย เริ่มจัดให้มีขึ้นโดยกงศุลอังกฤษ ณ.ที่ตั้งสถานกงศุลอังกฤษ ตำบลบางรัก จังหวัดพระนคร
จนกระทั้งในปี พ.ศ. 2424 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ หัวรัชกาลที่ 5 ทรงโปรดเกล้าฯให้พระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์
จัดตั้งไปรษณีย์เมื่อ 4 สิงหาคม พ.ศ.2426 ได้เปิดไปรษณีย์ไทย โดยใช้อาคาร บ้านของพระปรีชากลการ(สำอางค์ อมาตยกุล)ซึ่งตั้งอยู่ปาก
คลองโอ่งอ่าง ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งพระนคร ที่ถูกยึดเข้าเป็นของหลวงในปี พ.ศ. 2422ดัดแปลงให้ เป็น ตึกไปรสะนียาคาร เป็นที่ตั้งของกรมไปรษณีย์โทรเลขสยามและเป็นที่ทำการไปรษณีย์แห่งแรก ปัญหาพระปรีชากลการ บุตรเขย นายทอมัซ ยอร์ช นอกซ์ กงศุลใหญ่อังกฤษมีมากมาย พระปรีชากลการถูก ประหารชีวิต ที่เมืองปราจีน เมื่อ 24 พฤศจิกายน พ.ศ.2422 อายุได้ 35 ปี เป็นคนไทยคนแรกที่ไปเรียนจบวิศวกรรม
เหมื่องแร่ จากมหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษปี พ.ศ.2428 กิจการไปรษณีย์ขยายออกไปถึงหัวเมืองต่าง ๆ กิจการเจริญขึ้นการงานขยาย
ตัวมากขึ้น ในปี พ.ศ.2470 ทางการได้พิจารณาเห็นว่าสถานที่ปากคลองโอ่งอ่าง มีความคับแคบไม่เหมาะสมจึงได้ซื้อ สถานทูตอังกฤษสถานที่
เคยเปิดกิจการไปรษณีย์มาก่อน ประจวบกับในปี พ.ศ.2464 ทางการอังกฤษได้ ไปซื้อที่ดิน จากนายเลิศ หรือพระยาภักดีนรเศรษฐ์ ที่ถนนเพลินจิต 28 ไร่ สถานกงศุลอังกฤษรัฐบาลไทย ซื้อคืนมาในราคา 101, 000 ปอนด์เสตอร์ลิง สถานทูตอังกฤษย้ายมาตั้งที่เพลินจิต เมื่อ 22 กันยน
พ.ศ. 2469(ประวัติไปรษณีย์และตำนานแสตมป์ พ.ต.อ นายแพทย์ พิพัฒน์ ชูวรเวช หน้า 73)ไปรษณีย์ ได้ย้ายเข้า มาอยู่ที่สถานทูต เมื่อ 10 พฤศจิกายน พ.ศ.2469 จากเหตุผลตรงนี้ผมได้ทำหนังสือบันทึก ลงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ส.2553 เรื่องขอให้พิจารณา ปีที่เปิด ที่ทำการสำนักงานไปรษณีย์โทรเลขกลาง โดยอ้างถึงคำสั่งกรมไปรษณีย์โทรเลขที่ 94/2469 เรื่องย้ายที่ว่าการกรมไปรษณีย์โทรเลขกับที่ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขที่ 2 ไปตั้งรวมทำการ ณ สถานทูตอังกฤษเก่า คำสั่งนี้อยู่ในหน้า 187 ในหนังสือรวบรวมคำสั่ง ปี พ.ศ.2469 และแจ้งความที่ 13/2469 หน้า 338 ในหนังสือเล่มเดียวกัน ผมโต้แย้งไปเพื่อให้อายุอาคารเก่าแก่ ยิ่งขึ้นนั้นเอง แต่ได้รับคำชี้แจง ตามบันทึก ลงวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ.2553 เรื่องวัน - เดือน - ปี ที่เปิดที่ทำการไปรษณีย์แห่งที่ 1 และแห่งที่ 2 ลงนามโดย นางมาลินี ธรรมตารีย์ ฝ่ายตลาดตราไปรษณียากร โดยชี้แจงว่าการนับอายุให้นับตั้งแต่วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2483 วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2553 จึงครบรอบ 70 ปี อาคารที่ทำการไปรษณีย์กลางและบันทึกตบท้ายว่าไม่ได้นับอายุวันสถาปนาที่ทำการไปรษณีย์กลาง พร้อมภาพประกอบโดยท่านผู้ช่วยเมธินทร์ลียากาศ ผมจึงขอขอบคุณมา ณ.ที่นี้ด้วยครับ ผมขอขอบคุณ ท่าน ฝ่ายไปรษณีย์นครหลวงเหนื่อ คุณ ชาญชัย พรหมรส ที่กรุณา ผ่านเรื่อง สอบถามไปให้ กล่าวคือ ผมได้บันทึกรายงานผ่านผู้บังคับบัญชาไปตามลำดับชั้นนั้นเองในหนังสือข่าวโฆษณาการ ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม พ.ศ.2483 หน้า 1078 กล่าวว่า ทางราชการกรมไปรษณีย์โทรเลข ไปซื้อสถานกงศุลอังกฤษ แม้จะมีอาคารหลายหลังแต่ละหลังเก่าแก่ ไม่เหมาะที่จะใช้ทำอาคารที่ทำ การไปรษณีย์โทรเลข นายพลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธินเสนาบดี กระทรวงพาณิชย์และ คมนาคม มีโครงการสร้างตึกขึ้น ขณะนั้นพระยาประกิตกลศาสตร์ เป็นผู้รั้งตำแหน่งอธิบดีแต่ไม่ได้ดำเนินการเนื่องมาจากภาวเศรษฐกิจตกต่ำฐานะทางการเงินของชาติย่ำแย่ใน ปี พ.ศ.2476 หลวงไกรฤกษ์ราชเสวี เป็นอธิบดี ได้ปัดฝุ่นโครงการสร้างอาคารใหม่ขึ้นมาอีกเป็นครั้งที่ 2 คุณหลวง ต้องย้ายไปรับราชการที่กระทรวงอื่นเรื่องการสร้างอาคารจึงระงับไปอีกครั้งต่อมาในปี พ.ศ. 2477 หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองหลวงโกวิทอภัยวงศ์ รัฐมนตรี ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลขก็
ได้รื้อฟื้นโครงการสร้างตึกขึ้นมาผมขอเล่าเสริมเพื่อเป็นความรู้ที่เกี่ยวข้องกัน กับกรมไปรษณีย์โทรเลข เมื่อสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรม พระยา
เทวะวงศ์วโรปการ ได้รับแต่งตั้ง เป็นนายกสภาการคลังในปี พ.ศ.2465 เรื่องสภาการคลังนี้สืบเนื่องมาจากพระบาทสม เด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระกระแสรับสั่งกับพระองค์เจ้าศุภโยคเกษม รองเสนากระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ในขณะนั้นว่า การที่กระทรวงพระคลังฯสั่งซื้อสถานทูตอังกฤษเดิม ที่ตำบลบางรักจากพระยาภักดี นรเศรษฐ์ เป็นเงินจำนวน มากถึง 1,800,000.บาท นอกเหนือไปจากขออนุญาตจัดการด้านต่าง ๆ อีกเช่นการขยายเขตกรม ศุลกากรและ การตั้งธนาคารชาติที่ล้วนแล้วแต่ เป็นเรื่องจะต้องใช้เงินพระคลังเป็นจำนวนมากโดยมิได้กราบบังคมทูลให้ทรงทราบก่อนนั้นเป็นสิ่ง ที่เหมาะควรหรือไม่ ? พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริเห็นว่า ถ้าหากกระทรวงพระคลังฯเห็นว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องลับควรปกปิดไม่ควรเปิดเผย น่าจะตีตราลับไว้ที่ซองได้(จากหนังสือประวัติสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ เขียนโดย วิมลพรรณ ปีตธวัชชัย) เรื่องนี้น่าจะเป็นเรื่องไม่ชอบมาพากลในอดีตครับ จากข้อความดังกล่าวที่ผมคัดมาเล่านั้นทำให้น่าสงสัยว่า พระยาภักดีนรเศษรฐ์น่า จะเป็นนายหน้าจัดซื้อขาย ที่ดินที่ไปรษณีย์กลางโดยที่สถานทูตอังกฤษไปซื้อที่ดินของท่านริมคลองแสนแสบ 28 ไร่แล้วท่าน มาซื้อ
ที่ดินที่ตั้งสถานทูตอังกฤษเก่าไว้ขายทาง ราชการอีก จนพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงไม่พอพระราชหฤทัยตามที่อ้างแล้ว
ขอเล่าเพิ่มเติมจาก หนังสือคุณหมอพิพัฒน์ฯ ที่อ้างแล้ว หน้า 72เมื่อ Sir Ralph  Paget เข้ามาเป็นราชทูตพบว่าสิ่งแวดล้อมรอบสถานทูตเต็มไปด้วยมลพิษ จึงทำเรื่องขอย้ายสถานทูต กล่าวคือฝั่งตรงข้ามสถานทูตหรือที่ทำการไปรษณีย์กลางอีกฝากฝั่ง แม่น้ำเจ้าพระยามีโรงสีตั้งอยู่ 2 โรงมีขี้ฝุ่นปลิวมา เสียงหวูดโรงสีไฟเปิดดังหนวกหูเสียงเรือยนต์ดังมากยามค่ำคืนเสียงดนตรี และเสียงกลองดังมาจากโรงเหล้า ของมาดามสตาโร (Madame Staro)ที่ตั้งฝั่งตรงข้ามสถานทูตริมถนนเจริญกรุงกลางคืน ลูกค้าโรงเหล้าพวกกลาสีเมาเสียงดังอาละวาดอยู่หน้าอนุสาวรีย์เมื่อนาย
ควง อภัยวงศ์หรือหลวงโกวิทยอภัยวงศ์ รื้อฟื้นโครงการสร้างตึกที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขขึ้นมาอีกเป็นครั้งที่ 3 จึงได้ รายงานกระทรวงตั้งคณะกรรมการขึ้นมาคณะหนึ่ง มีรายชื่อดังนี้ 1.พระอจิรกิจวิจารณ์ ผู้ช่วยอธิบดีฝ่ายในประเทศเป็นประธาน
2. พระอร่ามรณชิต นายช่างกำกับการวิทยุ เป็นกรรมการ
3. หลวงไปรษณีย์ธุรานุรักษ์ ผู้ช่วยอธิบดีฝ่ายการต่างประเทศเป็นกรรมการ
4. หลวงสรรพพัสดุกิจ นายช่างกำกับการโทรศัพท์เป็นกรรมการ
5. หลวงชำนิกลการ นายช่างกำกับการกองพัสดุและโรงงานเป็นกรรมการละเลขานุการโดยให้ คณะกรรมการชุดดังกล่าว มีหน้าทีเร่งรัดและ
พิจารณาโครงการสร้างตึกที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขให้ เสร็จลงโดยรวดเร็วเมื่อกรรมการได้ประชุมหารื้อตกลงในเรื่องแบบแผนตลอดจนรายล
ละเอียดต่าง ๆ เรียบร้อยจึงได้เลือก พระสาโรชรัตนนิมมานท์หัวหน้ากอง สถาปัตยกรรม กรมศิลปากรเป็นสถาปนิกและได้เลือกนาย หมิว อภัยวงศ์ น้องชายต่างมารดานายควง อภัยวงศ์ มาเป็นผู้ช่วยสถาปนิก และเลือกนาย เอ็ช เฮอร์มันเป็นวิศวกรตึก ที่ทำการของกรมไปรษณีย์โทรเลขเป็นศิลปกรรมแบบทันสมัย รูปอักษร T โครงสร้างอาคารเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ผนังก่ออิฐ หลังคาทำเป็นดาดฟ้าเรื่องราวต่าง ๆเ มื่อ ที่บางรักคับแคบ ย้ายไปทุ่งหลักสี่ เรื่องเล่าไปรษณีย์มีมากมาย แม้กระทั้งเรื่องราวการ ทำงานในชีวิตประจำวัน ครับไปรษณีย์ จะคงอยู่ไปตราบนานเท่านาน เพราะการปรับปรุงตัว เองเพื่อความอยู่รอดขององค์กรโดยบุคคลากร ต้องเปลียนพฤติกรรมในการให้บริการการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาช่วยในการให้บริการ ที่สำคัญนั้นจะต้องเห็นผู้มาใช้บริการคือราชัน หรือผู้มีพระคุณนะครับ




เอกสารอ้างอิ้ง ประวัติสมเด็จฯกรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการข่าวโฆษณาการ ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2483
ประวัติไปรษณีย์และตำนานแสตมป์ไทย โดย พ.ต.อ.นายแพทย์ พิพัฒน์  ชูวรเวช




ที่มาของเรื่องราวคือ.............................http://www.oknation.net/blog/nakornrajsima/2010/07/18/entry-1



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18 กรกฎาคม 2553 23:55:25 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
คำค้น: post office ไปรษณีย์ อดีต อนุรักษ์ กลาง oneupon thai bangkok 
หน้า:  [1] 2   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
ธีรยุทธ บุญมี. โลก MODERN & POST MODERN.
สุขใจ หนังสือแนะนำ
มดเอ๊ก 0 2903 กระทู้ล่าสุด 18 พฤศจิกายน 2553 16:33:12
โดย มดเอ๊ก
POST เพลินไปเลย{ชาติสุดท้าย}หลวงตามหา(บัว)
ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน
時々๛कभी कभी๛ 0 1567 กระทู้ล่าสุด 15 เมษายน 2554 20:24:04
โดย 時々๛कभी कभी๛
POST ตามสไตล์ของ(ฉัน)Bindiya Bole Kya Bole
หนังกลางแปลง (ดูหนัง รีวิวหนัง)
時々๛कभी कभी๛ 0 1512 กระทู้ล่าสุด 29 มิถุนายน 2554 12:45:45
โดย 時々๛कभी कभी๛
POST ตามสไตล์ของฉันอีกแล้ว{จางเสี่ยวอิง}
หน้าเวที (มุมฟังเพลง)
時々๛कभी कभी๛ 0 7588 กระทู้ล่าสุด 29 มิถุนายน 2554 14:22:22
โดย 時々๛कभी कभी๛
[ข่าวมาแรง] - The post-secular กับฮาเบอร์มาส
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 65 กระทู้ล่าสุด 22 ธันวาคม 2566 02:53:06
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.444 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 03 มีนาคม 2567 09:18:42