[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
20 เมษายน 2567 17:51:55 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ความไม่ต้องคิด  (อ่าน 1766 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 5.0.375.99 Chrome 5.0.375.99


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 21 กรกฎาคม 2553 22:32:47 »

[ คัดลอกมาจากบทความที่โพสท์ในบอร์ดเก่า โดย อ.ฐิตา ]







ความไม่ต้องคิด


กายสังขารอันประกอบไปด้วย ดิน น้ำ ลมไฟ ย่อมมีกำเนิดมาจากพ่อแม่ ซึ่งเป็นมนุษย์เหมือนกัน จุดสิ้นสุดของร่างกายนี้เป็นไปตามกฎแห่งอนิจจัง เกิด แก่ เจ็บ ตาย กลายเป็น ดิน น้ำ ลม ไฟ ไปตามธรรมชาติ ส่วน "ธรรมญาณ" ซึ่งอาศัยอยู่ในตัวปลอมมีต้นกำเนิดมาจากอนุตตรภูมิอันเป็นศูนย์พลังแห่งธรรมชาติซึ่งก่อให้เกิดสรรพสิ่งได้ไม่มีที่สิ้นสุดแต่เมื่อมาอาศัยกายมนุษย์ได้สูญเสียศักยภาพไปตามอายตนะหก คือ ตา หู จมูก ปาก กาย และ จิต

ดังนั้น "ธรรมญาณ" จึงไม่สามารถคืนกลับสู่ต้นกำเนิดเดิมได้ ถ้าเปรียบเทียบ "ธรรมญาณ" เป็นเช่นกระแสไฟฟ้าซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากแหล่งกำเนิดไฟฟ้า เมื่อกระแสไฟฟ้าเข้าสู่เครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น ตู้เย็น ก็ทำหน้าที่ให้ความเย็น หรือเข้ามาสู่หลอดไฟฟ้าก็ให้แสงสว่าง เช่นเดียวกับ "ธรรมญาณ" ที่เข้ามาอาศัยอยู่ในมนุษย์ซึ่งมีความสามารถแตกต่างกัน จึงทำหน้าที่ไม่เหมือนกัน กระแสไฟฟ้าไม่อาจกลับคืนสู่ต้นกำเนิดเดิมได้เพราะมีการ "ช็อต" ทำให้ไฟฟ้ารั่วจึงอ่อนกำลังลงเช่นเดียวกับ "ธรรมญาณ" ไม่อาจคืนกลับแดนอนุตตรภูมิได้เพราะศักยภาพเดิมสูญเสียไปตามกิเลสที่ยั่วย้อมทำลายความสามารถดั้งเดิมลงไปนั่นเอง

ความสมบูรณ์ของ "ธรรมญาณ" อยู่เหนือสภาวะแห่งความคิดเห็นใดๆ ทั้งสิ้น ธรรมญาณ จึงอยู่เหนือปัญญา ธรรมญาณ อยู่เหนือ "จิต" ถ้านำเอาคำกล่าวของเหลาจื่อมาเทียบเคียงแล้วก็จะให้ความหมายอันแท้จริงของ "ธรรมญาณ" กล่าวคือ "ความไม่มีคือภาวะที่แท้ของธรรมะ แต่ความมีเป็นบทบาทของธรรมะ" ธรรมะ คือความว่างอันไร้ขอบเขต แต่สามารถสร้างสรรพสิ่งแต่สรรพสิ่งทั้งปวงมิใช่ธรรมะ สภาวะแห่ง "ธรรมญาณ" จึงไม่มี แต่เมื่อเกิดอาการเคลื่อนไหวจึงเป็นจิตที่คิดได้มากมายจนมีสรรพสิ่งทั้งปวง ซึ่งมิใช่ธรรมะ

พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงกล่าวว่า "บุคคลผู้เข้าถึงวิถีทางแห่ง "ความไม่ต้องคิด" จึงรู้แจ้งในสรรพสิ่งและได้ดื่มรสที่พระพุทธเจ้าทุกข์พระองค์ได้ดื่มมาแล้ว และย่อมบรรลุความเป็นพระพุทธเจ้าในกาลข้างหน้าต่อไป" การเข้าถึงสภาวะแห่ง "ความไม่ต้องคิด" ก็คือการคืนสู่สภาวะแห่ง "ธรรมญาณ" อันเป็นธรรมชาติเดิมแท้และเป็นตัวตนที่แท้จริงที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปลักษณ์ใดๆ เลย ความไม่มีอันแท้จริงเท่านั้นจึงทำให้ไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามกฎของอนิจจังแต่สิ่งที่เป็นบทบาทของ "ธรรมญาณ" อันมีสภาวะเป็น "จิต" นั้นจึงตกอยู่ในกฎแห่งการเกิด-ดับ ไม่มีที่สิ้นสุด เหตุไฉน "ความไม่ต้องคิด" จึงรู้แจ้งในสรรพสิ่ง เหตุเพราะ "ความไม่ต้องคิด" เป็นสภาวะแห่งความว่างดั้งเดิมตามธรรมชาติซึ่งก่อให้เกิดสรรพสิ่งอันประมาณมิได้

สรรพสิ่งที่เกิดขึ้นมีรากฐานมาจากความว่างอันเดียวกัน เพราะฉะนั้นใครเข้าถึง "ความไม่ต้องคิด" ก็คือ การคืนสู่สภาวะแห่ง "ธรรมญาณ" ของตนซึ่งตรงต่อสภาวะของต้นกำเนิดเดิม จึงได้ดื่มรสเดียวกันกับพระพุทธเจ้าทั้งปวงเช่นกัน ผู้ที่คืนสู่สภาวะแห่ง "ธรรมญาณ" ของตนย่อมบรรลุถึงความเป็นพระพุทธเจ้าในกาลต่อไปนั้น ถ้านำเอา ปณิธาน ของพระพุทธองค์ในสมัยที่เกิดเป็น สุเมธดาบส มาเทียบเคียงก็เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนเพราะในครั้งนั้น พระพุทธทีปังกร พุทธเจ้าเสวยอายุปกครองธรรมกาลอยู่นั้นได้เสด็จไปพร้อมกับสาวกสู่นครแห่งหนึ่ง ชาวพระนครกำลังตระตรียมปัดกวาดบ้านเมืองเพื่อรับเสด็จพระพุทธเจ้า สุเมธดาบสรู้ข่าวจึงเข้าร่วมงานบุญนี้ด้วย พอดีพระพุทธทีปังกรเสด็จมาถึง แต่หนทางยังไม่เสร็จ สุเมธดาบส จึงสละกายตนทอดเป็นสะพานให้พระพุทธทีปังกรเสด็จเหยียบไปบนหลังของตนเอง พร้อมกันนั้น ได้ตั้งปณิธานจักสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าบ้าง พระพุทธทีปังกรทรงทราบได้ด้วยพระญาณจึงทรงพยากรณ์ไว้ว่า ดาบสผู้นี้จักสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าในภัทรกัปป์

ถ้าสุเมธดาบสได้ดื่มรสแห่ง "ความไม่ต้องคิด" ซึ่งหมายถึง "ธรรมญาณ" ของตนเองแล้ว เหตุไฉนจึงมีจิตตั้งปณิธานจักสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงจึงกล่าวว่า "ผู้ที่ได้รับคำสอนของอาตมาจะให้สัจปฏิญาณในท่ามกลางหมู่ศิษย์ด้วยกันว่าจะอุทิศชีวิตตนเองทั้งหมดเพื่อปฏิบัติตามคำสอนแห่ง "สำนักฉับพลัน" โดยไม่ย่อท้อถอยหลังอันเป็นความตั้งใจขนาดเดียวที่จะปรนนิบัติรับใช้พระพุทธเจ้าแล้วไซร้ เขาก็จักบรรลุถึง วิสุทธิมรรคาโดยไม่มีความล้มเหลวเป็นแน่แท้"

ในขณะเดียวกันพระธรรมมาจารย์ฮุ่ยเหนิง ได้ถ่ายทอดคำสอน "รู้อย่างฉับพลัน" ต่อๆ กันไป โดยไม่มีการปิดบังซ่อนเร้นแม้แต่น้อยแต่สำหรับบุคคลผู้อยู่ในนิกายอื่นซึ่งมีความเห็นและจุดมุ่งหมายผิดไปจากนี้ไม่ควรถ่ายทอดหลักธรรมะนี้ให้ เพราะจักเกิดผลร้าย เพราะเกรงว่าพวกคนเขลาเหล่านี้ นอกจากไม่เข้าใจแล้วยังจะให้ร้ายป้ายสีหลักธรรมะอันจักเป็นผลร้ายทำลายเมล็ดพืชแห่งความเป็นพุทธะให้เหือดแห้งเป็นหมันไปหลายร้อยกัลป์พันชาติ "ความไม่ต้องคิด" จึงเป็น "ความว่างอันสมบูรณ์" เพราะฉะนั้นจึงเป็นการยากนักที่ผู้ไม่ใช้ปัญญาจะทำความเข้าใจได้และยังหัวเราะเยาะทำลายคุณธรรมของตนลงไป แต่กลับสร้างบาปกรรมโดยไม่รู้ตัวด้วย




http://i116.photobucket.com/albums/o8/kedluvu/miscellenious/MoonBeachGif.gif
ความไม่ต้องคิด



Pics by : Google

Credit by : :) http://www.baanjomyut.com/pratripidok/wenglang/21.html

ขอบพระคุณที่มาทั้งหมดมากมาย
อนุโมทนาสาธุธรรมค่ะ





Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
คำค้น: ความคิด ไม่คิด ไม่ต้องคิด ธรรมะ สุขใจ 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
ความไม่ต้องคิด
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
เงาฝัน 1 1716 กระทู้ล่าสุด 08 พฤษภาคม 2554 18:06:35
โดย 時々๛कभी कभी๛
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.275 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 05 มีนาคม 2567 01:12:37