กว่าจะเป็นผืนผ้าไตร ต้องทำอะไรกันบ้าง
ต้นฝ้าย การทอผ้าไตรใช้ดอกฝ้ายเป็นวัสดุสำคัญ

เครื่องทอผ้า
การหีบดอกฝ้าย หรือการอิ้วดอกฝ้าย
ในถาดคือดอกฝ้าย ที่เก็บมาจากต้นฝ้าย สำหรับทอผ้าไตรจีวร

เครื่องมือแยกเมล็ดฝ้าย...ต้องฝ้ายนำเข้าเครื่องแยกเมล็ดฝ้ายซึ่งเรียกว่า "การอิ้วดอกฝ้าย"
ปุยสีขาวฟู ๆ คือปุยฝ้ายซึ่งเครื่องได้รีดเมล็ดฝ้ายออกไปเรียบร้อยแล้ว
การดีดฝ้าย
อุปกรณ์ดีดฝ้าย ลักษณะคล้ายคันธนู

ใช้มือ หรือไม้ท่อนกลมเล็กขนาดประมาณคืบ ดีดที่เส้นเชือกซึ่งขึงตึงรั้งปลายทั้งสองข้างของเครื่องดีดเบา ๆ
ถ้ายิ่งดีดฝ้ายนานเท่าใด ฝ้ายจะยิ่งขาวเนียนขึ้นๆ จากของเดิมออกสีขาวหม่น

ใยฝ้ายที่ได้จากการดีด ฟูเบา ขาวเนียน
นอกจากนำไปทอเป็นผืนผ้า ใยผ้ายนี้ยังใช้ทำสำลี
ชนิดต่างๆ เช่น สำลีก้าน สำลีก้อน สำลีแผ่น หรือ ฯลฯ
การม้วนด้าย
นำไปวางบนกระดานแผ่นยาว ม้วนด้วยไม้กลมๆ แล้วดึงไม้ออก

มีลักษณะใยฝ้ายเป็นหลอดเล็กๆ ตามภาพที่เห็นวางเรียงในถาด
การเข็นฝ้าย (การทำให้เป็นเส้นด้าย)
นำใยฝ้ายที่ม้วนไว้ มาเข้าเครื่องเข็นฝ้าย เพื่อให้ใยฝ้ายม้วนตัวออกมาเป็นเส้นด้าย
ซึ่งยังใช้ไม่ได้ ต้องนำไปเข้าเครื่องระวิงอีกครั้งหนึ่ง
ด้ายสีขาว (ลักษณะสามเหลี่ยมทรงพีรามิด) ได้จากการนำใยฝ้ายที่ม้วนไว้เป็นหลอด ๆ
ส่งเข้าไป แล้วใช้มือขวาหมุนเครื่องระวิง ซึ่งจะเป็นเส้นด้ายออกมา แต่เส้นยังไม่สม่ำเสมอเท่ากัน
การปั่นฝ้าย ด้วยเครื่องมือปั่นฝ้าย ที่เรียกว่า หลา หรือ ไน


การนำเส้นด้าย ที่ได้จากการปั่นฝ้ายด้วยอุปกรณ์ที่เรียกว่าระวิง



ปั่นให้เส้นเรียบตรง เป็นเงามัน ด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า "หลา หรือ ไน"
ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้ายก่อนนำเส้นไหมไปถักทอเป็นผืนผ้า
งานถักรัดปะคด 
งานย้อมผ้า รีดผ้า 
ย้อมผ้า แล้วนำไปผึ่งลมหรือปั่นพอหมาด ๆ

รีดให้เรียบ
ย่ามพระ
ผึ่งลมให้แห้งสนิท

พับให้เรียบร้อย จัดวางบนพานผ้าไตร สำหรับถวายพระสงฆ์ต่อไป

เป็นอันเสร็จพิธีทำผ้ากฐิน



หลวงปู่เฉลิม เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน (พ.ศ.2558)
อายุ 80 ปีเศษ พรรษา 60 กว่า (ผู้โพสท์จำไม่ได้จริงๆ เคยกราบเรียนถามท่านหลายปีแล้ว)