[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
19 มีนาคม 2567 15:55:42 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ปริศนาชาติกำเนิด และญาณวิเศษสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)  (อ่าน 25295 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5376


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 06 พฤศจิกายน 2555 21:35:04 »



ปริศนาชาติกำเนิด
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)
วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร   กรุงเทพมหานคร  

ความสับสนในประวัติของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต)  เริ่มมาตั้งแต่เรื่องชาติกำเนิดของท่าน  เพราะไม่ปรากฏหลักฐานยืนยันเป็นที่แน่ชัดได้ว่าโยมบิดา โยมมารดาของท่าน เป็นใครกันแน่ โยมมารดาพอมีชื่อให้เอ่ยถึงกันอยู่บ้าง  แต่ถึงกระนั้นชื่อโยมมารดาของท่านก็ยังเขียนประวัติกันอย่างน้อยถึง ๒ สำนวนด้วยกัน บางสำนวนเขียนว่าโยมบิดามีนามใดไม่ปรากฏทราบแน่ชัด ส่วนโยมมารดาชื่อ เกตุ  เป็นธิดาของนายไชย  ชาวบ้านตำบลท่าอิฐ  อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดอุตรดิตถ์  ปัจจุบันคืออำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์  ซึ่งต่อมาโยมมารดาได้อพยพจากบ้านท่าอิฐอันเป็นถิ่นฐานบ้านเกิด มาอยู่บ้านตำบลไก่จัน (ท่าหลวง) อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เนื่องจากดินฟ้าอากาศแห้งแล้งการทำไร่ไถนาไม่ได้พืชผล  

บางท่านกล่าวว่าท่านเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ โดยสันนิษฐานตามความใกล้ชิดสนิทสนมส่วนพระองค์ ระหว่างพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยกับเจ้าประคุณฯ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต)  บางท่านก็ว่าท่านจะต้องเป็นพระราชโอรสในพระมหากษัตริย์รัชกาลใดรัชกาลหนึ่ง เนื่องจากท่านได้รับความนับถือและได้รับการอภัยโทษจากพระมหากษัตริย์เป็นกรณีพิเศษอยู่เนืองๆ ราวกับเป็นการอภัยโทษให้แก่กันในหมู่พระประยูรญาติ

แต่ข้อมูลประวัติของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ที่ค้นพบและเชื่อว่าเก่าแก่ที่สุด ได้แก่ หนังสือบันทึกสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต  พรหมรังสี)  ของมหาอำมาตย์ตรี พระยาทิพโกษา (สอน  โลหะนันท์) ค้นพบและรวบรวมโดย ม.ล.พระมหาสว่าง  เสนีย์วงศ์  ณ อยุธยา เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๓  ซึ่งนั่นหมายความว่า ท่านมหาอำมาตย์ตรี พระยาทิพโกษา (สอน  โลหะนันท์) ท่านได้เขียนไว้ก่อนหน้านั้นแล้ว และท่านอาจมีชีวิตทันได้เคยพบเห็นเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) มาแล้วก็อาจเป็นไปได้ ดังนั้น ผู้โพสต์จึงเลือกข้อมูลประวัติของเจ้าประคุณสมเด็จฯ จากหนังสือบันทึกของมหาอำมาตย์ตรี พระยาทิพโกษา (ปัจจุบันหนังสือดังกล่าวเก็บรักษาไว้ที่หอสมุดแห่งชาติ)  ผนวกรวมกับข้อมูลจากหนังสือประวัติเจ้าประคุณสมเด็จ (โต) อีกหลายเล่ม จึงอาจไปขัดแย้งกับข้อมูลของท่านผู้อื่นบ้าง


ประวัติของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต  พรหมรังสี)
พระยาทิพโกษา (สอน) ท่านมีความเชื่อว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) เป็นโอรสนอกเศวตฉัตรของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อครั้งดำรงพระยศเป็นพระยาจักรี (ทองด้วง) กับ นางงุด บุตรีนายผล นางลา ชาวเมืองกำแพงเพชร โดยผูกเรื่องไว้ในทำนองนิทาน สรุปดังนี้

“อาเพศครั้งกระนั้นเหนือกรุงศรีอยุธยา อากาศได้เกิดวิปริตแปรปรวนอย่างแปลกประหลาด ผิดฤดูผิดเวลา ฟ้าทะมึนทึนมองดูน่ากลัว สีแดงฉาบฟ้าคล้ายเลือดนองไปทั่วทิศา  เหตุอาเพทได้ปรากฏให้รู้ว่าเป็นลาง พระนเรศวร (รูปปั้นสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ประดิษฐานในท้องพระโรงแสง...kimleng) ในท้องพระโรง ทรงพิโรธโกรธกริ้ว กระทบพระบาทดังลั่นสนั่นไปทั้งแปดทิศ หลวงพ่อโตวัดพนัญเชิง หลั่งน้ำตาไหลอาบแก้ม พระบรมไตรโลกนาถที่วัดพระศรีสรรเพชรท้องเกิดแตก ดวงตาตกลงมาอยู่ที่ตัก และที่วัดราชบูรณะบนปลายยอดพระเจดีย์ได้มีกาดำตัวหนึ่งบินมาเสียบตายอย่างอัศจรรย์

ครั้นแล้วกรุงศรีอยุธยาราชธานี ก็ถึงกาลขาดสะบั้น ปืนใหญ่คำรามก้องลูกแล้วลูกเล่าตกลงสู่พระนคร ระคนไปด้วยเสียงวิ๊ดว๊ายของสนมนางใน เสียงกระจองอแงของลูกเล็กเด็กแดง เกิดเพลิงไม้ขึ้นทุกหนทุกแห่ง เสียงไขโยโห่ฮิ้วของทหารพม่าดังลั่นสนั่นก้อง และแล้วกรุงก็แตกหลังจากที่ถูกพม่าล้อมอยู่เกือบสามปี”     

พระยาวชิรปราการ เจ้าเมืองกำแพงเพชร ซึ่งเข้ามาช่วยรบในกรุงศรีอยุธยา ได้ตีฝ่าวงล้อมทหารพม่าหนีไปตั้งมั่น และยึดตีเมืองจันทบุรีได้ทำการสะสมไพร่พลเกลี้ยกล่อมให้มารวมกันทำงานเตรียมกู้ชาติ แล้วตั้งตนเป็นกษัตริย์ เรียกว่า “พระเจ้าตาก” เพื่อให้คนทั้งหลายยำเกรง ซึ่งจะก่อกู้แผ่นดินสำเร็จได้ง่าย  หลังจากนั้นเพียงไม่กี่เดือน “พระเจ้าตาก” สามารถกรีฑาทัพไปตีกรุงศรีอยุธยาคืนมาจากพม่าได้   เดิมที ทรงคิดจะปฏิสังขรณ์กรุงศรีอยุธยาซึ่งถูกเพลิงพม่าเผาจนเป็นซากปรักหักพังขึ้นมาใหม่ให้กลับคืนเป็นราชธานีดังเดิม แต่ครั้นเมื่อเสด็จเข้าประทับแรมอยู่ ณ พระที่นั่งทรงปืน คืนวันหนึ่งทรงพระสุบินนิมิตว่า “พระมหากษัตริย์แต่ก่อนมาขับไล่เสีย มิให้อยู่”  ครั้นรุ่งเช้าขึ้นได้ตรัสเล่าพระสุบินให้ขุนนางทั้งปวงฟัง แล้วจึงตรัสว่า “เราคิดสังเวช  เห็นว่าบ้านเมืองจะร้างรกเป็นป่าช้า  จะมาช่วยปฏิสังขรณ์ทำนุบำรุงขึ้นให้บริบูรณ์ดีดังเก่า เมื่อเจ้าของเดิมท่านยังหวงแหนอยู่แล้ว เราชวนกันไปสร้างเมืองธนบุรีอยู่กันเถิด”  แล้วพระองค์พร้อมด้วยท่านทั้งปวงก็มาตั้งอยู่ ณ เมืองธนบุรี สืบต่อมาเป็นยุคกรุงธนบุรี
  
หลวงยกกระบัตร เมืองราชบุรี ซึ่งขณะกรุงแตกได้ปฏิบัติราชการอยู่ที่เมืองสมุทรสงคราม ได้เดินทางพร้อมครอบครัวเข้ามารับราชการในพระเจ้ากรุงธนบุรี และได้ช่วยปราบศึกพม่า ลาว เขมร  จนในที่สุดได้รับแต่งตั้งเป็น เจ้าพระยาจักรี (ทองด้วง) ทหารคู่พระทัยของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี

ปลายปี พ.ศ. ๒๓๑๗  พระเจ้าอังวะต้องการปราบไทย ให้อะแซหวุ่นกี้ เป็นแม่ทัพใหญ่ เดินทัพจากเมืองเมาะตะมะเข้ามาทางด่านเมืองตากหยุดพักอยู่ที่นั่น ทำทีเหมือนจะไปตีชิงเอาเมืองกำแพงเพชร  สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ขณะนั้นประทับอยู่ ณ เมืองพิษณุโลก ต้องรีบเสด็จกลับกรุงธนบุรีเพื่อเตรียมการป้องกันราชธานี  เจ้าพระยาจักรีซึ่งเพิ่งเสร็จการศึกจากเชียงใหม่ จึงกราบบังคมทูลรับอาสารบ และได้ยกกองทัพหนุนขึ้นไปช่วยทหารซึ่งขณะนั้นได้ติดตามตีรุก จนทัพพม่าล่าถอยออกพ้นอาณาเขตประเทศสยาม  โดยตัวเจ้าพระยาจักรีตั้งทัพอยู่ ณ เมืองกำแพงเพชร

ณ เมืองกำแพงเพชร ในเวลาเช้าวันหนึ่ง เจ้าพระยาจักรีออกลาดตระเวนกองทัพ และชักม้ากลับเพื่อตัดทาง  ม้าได้พาท่านเข้าป่าฝ่าพงจำเพาะมายังบ้านปลายนา ใต้เมืองกำแพงเพชร  ขณะนั้นเป็นเวลาเย็น   เจ้าคุณแม่ทัพจึงได้ชักม้าไปยังโรงนานั้น  และได้พบหญิงสาวคนหนึ่งเดินออกมา  ท่านจึงขอน้ำดื่มแก้กระหาย  หญิงสาวนั้นได้เข้าไปในโรงนา  ตักน้ำใส่ขันล้างหน้าใบหนึ่งแล้วเลยไปหักดอกบัวหลวงในหนองน้ำข้างโรงนานั้น  ฉีกกลีบเด็ดเอาแต่เกสรบัวโรยลงไปในขันน้ำนั้นจนเต็มนำไปส่งให้ท่านเจ้าคุณบนหลังม้า   เจ้าคุณแม่ทัพรับเอาขันน้ำมาเป่าเกสร  แล้วดื่มน้ำจนหมดขันด้วยความกระหาย  ครั้นดื่มน้ำหมดแล้ว เจ้าคุณแม่ทัพจึงถามนางว่า เหตุไฉนเรากระหายน้ำ สู้อุตส่าห์บากหน้ามาขอน้ำเจ้ากิน  เจ้าแกล้งเอาเกสรบัวโรยลงส่งให้  นางตอบว่า จะได้คิดแกล้งท่านนั้นก็หาไม่  เห็นว่าท่านตากแดดลมเหนื่อยมา และกระหายน้ำ  เพื่อจะป้องกันอันตรายจากการสำลักน้ำ สะอึกน้ำ และกันจุกแน่นแห่งท่าน จึงได้โรยเกสรบัวลงในขันน้ำ

เจ้าคุณแม่ทัพได้ฟังถ้อยคำ เกิดความรักความปรานีขึ้น จึงลงจากหลังม้าและถามนางว่า ตัวของเจ้าก็เป็นสาวเต็มตัว มีใครๆ มาหมั้นหมายผูกสมัครรักใคร่เจ้าบ้างหรือยัง นางบอกว่ายังไม่เห็นมีใครๆ มารักใคร่หมั้นหมาย และนางก็มัวแต่หลบหัวซ่อนตัวอยู่  ด้วยบ้านเมืองเกิดยุ่งตุงนังมานานจนกาลบัดนี้

เจ้าคุณแม่ทัพจึงกล่าวว่า เราเป็นผู้ที่ได้มาเห็นเจ้าเป็นสาวก่อน เจ้าต้องยอมตกลงเป็นคู่รักของเราเราจะต้องเป็นคู่ร่วมรักของเจ้าสืบไป เจ้าจะพร้อมใจยินยอมเป็นคู่รักของเราโดยสุจริตหรือว่าประการใด    

นางตอบว่า การจะมีผัวมีเมียกันตามประเพณีนั้น ท่านต้องเจรจากับผู้ใหญ่จึงจะทราบการ  

เจ้าคุณแม่ทัพถามว่าผู้ใหญ่ของเจ้าไปไหน
 
นางตอบว่า ไปรดน้ำถั่วจวนจะกลับแล้ว

เจ้าคุณแม่ทัพขยับเดินเข้าใกล้   นางนั้นวิ่งปรู๋ออกแอบที่หลังโรงนา และไม่กลับเข้ามา

ท่านเจ้าคุณแม่ทัพก็ต้องนั่งเฝ้าโรงนาคอยท่าบิดามารดาของนาง

ครั้นเมื่อตาผล ยายลา ผู้เป็นบิดามารดาของนางกลับมาถึงโรงนาแล้ว  เจ้าคุณแม่ทัพ จึงยกมือขึ้นไหว้บอกว่า ฉันจะสมัครเข้ามาเป็นลูกเขยท่านทั้งสอง    แล้วเล่าถึงกาลแรกมาขอน้ำดื่ม  นางได้โต้ตอบด้วยถ้อยคำน่าฟังน่านับถือ  จึงทำให้เกิดความรักปรานีขึ้น  และตั้งใจจะเลี้ยงดูจริง  จึงต้องทนอยู่คอยท่านเพื่อจะแสดงความเคารพและจะขอเป็นเขย  ขอให้พ่อแม่ได้โปรดยกนางสาวลูกนั้นให้เป็นสิทธิแก่ฉันในวันนี้   แล้วเจ้าคุณแม่ทัพถอดแหวนออกจากนิ้วแล้วบอกว่า แหวนวงนี้มีราคาสูง  ถ้าว่าท่านบิดามารดายินยอมยกแม่งุดให้เป็นเมียเป็นสิทธิ์แก่ฉันแล้ว ฉันจะยกแหวนวงนี้ ตั้งราคาทำสัญญาให้ไว้เป็นสินไถ่ ๒๐ ชั่ง คิดเป็นทุนเป็นค่าทองหมั้นขันหมากผ้าไหว้อยู่ใน ๒๐ ชั่ง  ทั้งค่าเครื่องเหย้าเครื่องเรือนเบี้ยเลี้ยงค่าเลี้ยงดู  ค่าเครื่องเส้นวักตั๊กกระแตนเสร็จในราคา ๒๐ ชั่ง ด้วยแหวนวงนี้

สองตายายได้ฟัง เต็มใจพร้อมใจ ตกลงยกลูกสาวให้ตามปรารถนา ให้ศีลให้พร จัดแจงหุงข้าว ต้มแกง เทียบสำรับตามป่าๆ แล้วเชิญให้อาบน้ำทาดินสอพอง ลูกสาวทาขมิ้น  แล้วยายก็ยกสำรับปูเสื่อลำแพน เชิญเจ้าคุณแม่ทัพให้รับประทาน  ยายตาก็รับประทานพร้อมกัน  นางงุดนั้นให้กินภายหลัง ครั้นเวลา ๔ ทุ่ม จึงพาลูกสาวออกมารดน้ำรดท่า แล้วก็ส่งมอบฝากฝังตามธรรมเนียมของชาวเมืองกำแพงเพชร อันเคยทำพิธีมาแต่ก่อน

ส่วนเจ้าคุณแม่ทัพรับตัวนางงุดแล้ว ก็หลับนอนอยู่ด้วยในกระท่อมโรงนา จนรุ่งสางจึงตื่นขึ้นอาบน้ำรับประทานอาหารแล้วขึ้นหลังม้ามาบัญชาการที่กองทัพ แม่ทัพนายกองทั้งปวงจะได้ล่วงรู้และร่ำลือให้อื้อฉาวก็เป็นอันว่าหามิได้ แต่บุตรชายของเจ้าคุณแม่ทัพซึ่งนอนอยู่ในค่ายมีอายุ ๘ ขวบ ก็เข้าใจว่าเจ้าคุณแม่ทัพผู้เป็นบิดาได้ดูแลตรวจตราบัญชาการ เป็นดังนี้นานประมาณเดือนเศษ ตามสังเกตรู้ว่านางงุดตั้งครรภ์

ครั้นพอมีท้องตราหากองทัพกลับ  เจ้าคุณแม่ทัพก็ไปล่ำลาและสั่งสอนกำชับกำชาโดยนานัปการ  จนนางงุดเข้าใจ ตลอดรับคำทุกอย่างแล้ว  ท่านก็คุมกองทัพกลับกรุง.




สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

เมื่อครรภ์ยังอ่อนๆ อยู่นั้น นางงุดปรึกษาหารือตาผลยายลาผู้เป็นบิดามารดาว่าจะคิดขึ้นล่องค้าขายกรุงธนบุรีและเมืองเหนือ  เมื่อคนทั้งสามตกลงเห็นชอบพร้อมใจกันแล้ว จึงได้รวบรวมเงินต้นทุนแล้วละโรงนานั้นเสีย  พากันลงอยู่ในเรือใหญ่ จัดการซื้อสินค้าบรรทุกเรือนั้นเต็มระวาง ออกเรือล่องลงมาถึงบ้านบางขุนพรหม ฝั่งตะวันออกแห่งกรุงธนบุรี  เข้าจอดเรืออาศัยท่าหน้าบ้านนายทอง นางเพียน บางขุนพรหม ซึ่งเป็นคนเคยอยู่เมืองเหนือมาแต่ก่อน แล้วผ่อนสินค้าขายส่งจนหมดลำ แล้วจัดการซื้อสินค้าบางกอกและสินค้าเมืองปักษ์ใต้บรรทุกเรือเต็มระวาง แจวกลับขึ้นไปปากน้ำโพ จำหน่ายในตลาดเมืองเหนือตั้งแต่เมืองนครสวรรค์ จนถึงเมืองกำแพงเพชร แล้วก็กลับบรรทุกสินค้าเมืองเหนือกลับล่องเรือมาจอดท่าหน้าบ้านนายทอง นางเพียน บางขุนพรหมอีก

ค้าขายมาโดยนิยมดังนี้ ล่วงวันและราตรีมาถึงเก้าเดือน ได้กำไรมากพอแก่การปลูกเรือน จึงให้ปลูกเรือนแพสองหลังแฝด มีชานสำหรับผึ่งแดด พร้อมครัวไฟ บันไดเรือน บันไดน้ำ จำนองที่ดินในถิ่นบางขุนพรหมเหนือบ้านนายทอง นางเพียนขึ้นไปสัก ๔ วาเศษ เพื่อเหตุจะได้อาศัยคลอดลูก  และใช้ผูกหย่อนสินค้าเห็นเป็นการสะดวกที่สุด


แกนกระดูกเป็นท่อนเดียวกัน
วันพุธ เดือนหก ปีวอก พ.ศ. ๒๓๑๙ * นางงุดปั่นป่วนครรภ์ เป็นสำคัญรู้กันว่าจะคลอดบุตร จึงจัดแจงห้องนางงุดให้เป็นที่คลอดบุตร บนเรือนที่ปลูกใหม่บางขุนพรหมนั้น ครั้นได้ฤกษ์งามยามดี นางงุดก็คลอดบุตรเป็นชาย  ครั้นบุตรนั้นเจริญวัฒนาการประมาณได้สักเดือนเศษ  หมู่ญาติมิตรพากันสังเกตตรวจตราจับต้องประคองทารกน้อยขึ้นเชยชม  บางคนคลำถูกกระดูกแขน เห็นเป็นแกนกระดูกเป็นท่อนเดียวกัน ครั้นช้อนทารกขึ้นนอนบนขาเพื่อจะอาบน้ำ ก็เห็นเป็นปานดำที่กลางหลังอยู่หนึ่งดวง  ต่างพากันทักท้วงต่างๆ นานา ทำให้นางงุดเกิดความไม่สบายใจ เกรงไปว่าวาสนาตัวน้อยจะไม่สามารถเลี้ยงลูกคนนี้ได้ จึงอ้อนวอนบิดามารดา ให้ช่วยสืบเสาะพระสงฆ์ที่ปฏิบัติเคร่งครัด ขอได้ช่วยพาบุตรไปถวายเป็นลูกท่านองค์นั้นในวัดเถิด

----------------
*  ข้อมูลจากหนังสือหลายฉบับระบุวันเดือนเกิดของเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต)  คือวันพฤหัสบดีที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๓๓๑  ตรงกับวันขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๕ ปีวอก สัมฤทธิศก จ.ศ. ๑๑๕๐  เวลาพระบิณฑบาต หรือราว ๐๖.๕๔ น.  จึงขัดแย้งกับหนังสือบันทึก ฉบับของพระยาทิพโกษา (สอน  โลหะนันท์)


ลูกหลวงพ่อแก้ว  วัดบางลำพูบน
นายทอง  นางเพียน  นึกถึงหลวงพ่อแก้ว วัดบางลำพูบน จึงบอกแก่นายผลว่า หลวงพ่อแก้ว วัดบางลำพูบน ท่านเป็นพระสำคัญ เคร่งครัดทั้งปริยัติและปฏิบัติ วิชาก็ดี มีอัธยาศัยกว้างขวาง ผู้คนนับถือท่านมาก ถ้าพวกเราออกปากถวายเจ้าหนูแก่ท่าน  ท่านเห็นจะไม่ขัดข้อง

เมื่อปรึกษากันแล้ว จึงพากันเอาเจ้าหนูน้อยไปถวายให้เป็นลูกแก่หลวงพ่อแก้ว ฝ่ายพระอาจารย์แก้ว ตรวจตราพิจารณาชะตาราศีดูแล้ว ท่านก็รู้ว่าเด็กคนนี้มีปัญญาเฉลียวฉลาดในการร่ำเรียน มีความเพียรและความอดทน จะเป็นบุคคลที่เปรื่องปราชญ์อาจเชี่ยวชาญวิทยาคม จะมีแต่คนนิยม ฤาชาปรากฏ กอปรด้วยอิสริยศบริวารยศมาก เป็นคนประหลาดแปลกกว่าคน  จะเจริญชนม์มีอายุยืนนาน  ครั้นแล้ว ท่านจึงผูกข้อมือเสกเป่าเข้าปาก นวดนาบด้วยนิ้วของท่าน เพื่อรักษาเหตุการณ์ตาลซาง ละลอก ทรพิษ ไม่ให้มีฤทธิ์มารบกวนแก่กุมารน้อยต่อไป  แล้วท่านก็ฝากให้นางงุดช่วยเลี้ยงจนกว่าจะได้สามขวบ ค่าจ้างค่าน้ำนมข้าวป้อนเสร็จปีละ ๑๐๐ บาท เมื่อหนูน้อยมีอายุเจริญขึ้นได้ ๓ เดือน จึงหาฤกษ์โกนผมไฟในเดือน ๙ แล้วจัดสรรพสินค้าเมืองปักษ์ใต้ออกเรือไปจำหน่ายเมืองเหนือ จำหน่ายหมดก็จัดซื้อสินค้าจากเมืองเหนือมาจำหน่ายในบางกอก กระทำอย่างนี้เสมอมา ก็บันดาลผลให้เพิ่มพูนมั่งคั่งขึ้นหลายสิบเท่า คนทั้งปวงก็รู้จักมักคุ้นขึ้นเป็นลำดับ  

ตาผล ยายลาและนางงุด จึงได้ละถิ่นฐานมาจับจองที่ดินเหนือเมืองพิจิตร ปลูกคฤหสถานตระหง่านตามวิสัย ได้ทำบุญให้ทานที่วัดใหญ่ในเมือง จึงได้ชอบชิดสนิทกับท่านพระครูใหญ่วัดนั้น ทายกแจกฎีกาไม่ว่าการอะไร มาถึงแล้วไม่ผลัก รักในการทำบุญการกุศล เลยเป็นบุคคลมีหน้ามีตาในเมืองพิจิตร


ปี พ.ศ. ๒๓๒๕ แผ่นดินพระเจ้ากรุงธนบุรีสิ้นอำนาจ สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ได้ขึ้นเถลิงถวัลย์ราชย์ปราบดาภิเษกเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ปฐมกษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ พระองค์ได้ย้ายเมืองหลวงจากกรุงธนบุรี ซึ่งเป็นอาณาจักรของคนไทยในช่วงเวลาสั้นๆ ไปยังฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา คือกรุงเทพมหานครในปัจจุบัน ฝ่าย “หนูโต”  บุตรชายของนางงุดเมืองพิจิตรนั้น  มีชนมายุได้ ๗ ปี นางงุดได้นำเข้าไปถวายท่านพระครูวัดใหญ่เมืองพิจิตร ให้เรียนหนังสือไทย หนังสือขอม และกิริยามารยาท ขนบธรรมเนียมการวัด การบ้านการเมือง จวบจนหนูโตอายุได้ ๑๓ ปี ก็ได้มีพิธีโกนจุกเลี้ยงพระทำขวัญ ครั้นล่วงมาอีก ๗ วัน  นางงุดจึงนำหนูโตไปมอบถวายพระครูวัดใหญ่ในเมืองพิจิตร แล้วให้ท่านสอนสามเณรสิกขาให้รู้ในข้อวัตรทาสสามเณรภูมิต่อไป


มุ่งสู่พระนคร  มอบถวายสามเณรโต
แล้วตาผลเป็นผู้นำสามเณรโตพร้อมด้วยคนแจวลงเรือส่งสามเณรไปกรุงเทพฯ ให้เรือออกจากท่าหน้าบ้านแจวออกทางแม่น้ำพิษณุโลก  ล่องมาหลายเพลาก็มาถึงวัดพระชินราชในวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีฉลู พ.ศ. ๒๓๓๖  จึงนิมนต์สามเณรโตขึ้นไปโบสถ์พระชินราชเข้านมัสการสักการบูชาเสร็จแล้ว ก็กราบลาพาสามเณรโตมาลงเรือแจวล่องลงมา

สองคืนก็ถึงหน้าวัดบางลำพูบน กรุงเทพฯ ตอนเวลาเช้า ๒ โมง วันแรม ๒ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีฉลู พ.ศ. ๒๓๓๖ เป็นปีที่ ๑๒ ในรัชกาลที่ ๑ ขณะนั้นสามเณรโตมีอายุย่างเข้า ๑๘ ปี ตาผลผู้เป็นตาได้นำพาสามเณรขึ้นไปมอบถวายพระอาจารย์แก้ว วัดบางลำพูบน พระนคร  ตาผลได้เล่าถึงการเรียนของสามเณรโต จนกระทั่งถึงท่านพระครูจังหวัดวัดทางเมืองเหนือทั้ง ๒ อาราม มีความเห็นชอบพร้อมกันที่จะให้ลงมากรุงเทพฯ  ฝ่ายพระอาจารย์แก้วทราบพฤติการณ์ตามที่ตาผลเล่าก็เกิดความเชื่อเลื่อมใสในสามเณรโต เห็นสมจริงดังที่เคยพยากรณ์ไว้แต่ยังนอนแบเบาะ  และได้รับเป็นลูกไว้ จึงนึกขึ้นได้ถึงเงินที่ลั่นวาจาว่าจะจ้างแม่มันเลี้ยงปีละ ๑๐๐ บาท  นาน ๓ ปี จนหย่านม เป็นเงินจ้าง ๓๐๐ บาท  

ตาผลน้อมรับเอาเงิน ๓๐๐ บาทมากำไว้สักครู่ เมื่อจวนจะลากลับ จึงพรรณนาฝากสามเณร แล้วถวายเงิน ๓๐๐ บาทนั้นคืนหลวงพ่อแก้ว  และถวายอีก ๑๐๐ บาท เป็นค่าบำรุงเณร จากนั้นก็ลาพระอาจารย์แก้วกลับไป   ฝ่ายพระอาจารย์แก้วจึงจัดห้องหับให้สามเณรอยู่บนหมู่บน  คณะวัดบางลำภูบนตั้งแต่นั้นมา เวลาเช้าสามเณรก็ลุกออกบิณฑบาต บารมีศีลและธรรมที่สามเณรโตประพฤติดี ก็บันดาลให้มีผู้ขึ้นถวายเช้าและเพล ที่ปวารณาก็กลายเป็นโภชนะสัปปายะของโยคะบุคคลทุกเวลา


เจ็ดโยมอุปถัมภ์
พระอาจารย์แก้ว  เมื่อเห็นฤกษ์ดีจึงได้นำสามเณรโตไปฝากพระโหราธิบดี พระวิเชียร กรมราชบัณฑิต ให้ช่วยแนะนำสั่งสอนสามเณรให้มีความรู้ดีในคัมภีร์พระปริยัติธรรมทั้ง ๓ ปิฎก  พระโหราธิบดี พระวิเชียรก็รับและสอนตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา

พระโหราธิบดี พระวิเชียร บ้านอยู่หลังวัดบางลำภูบน เสมียนตราด้วง ท่านขุนพรหมเสนา บ้านบางขุนพรหม ปลัดกรมนุท บ้านบางลำภูบน เสมียนบุญ และพระกระแสร ท่านทั้ง ๗ เป็นคนมั่งมีหลักฐานดี ทั้งมีศรัทธาเชื่อมั่นในบวรพุทธศาสนา เมื่อได้เห็นจรรยาอาการของสามเณรโต และความประพฤติดี มั่นเรียนเพียรมาก ปากคอลิ้นคางคล่องแคล่วไม่ขัดเขิน เคร่งครัดดี รูปกายก็ผึ่งผายองอาจ ดูอาการมิได้น้อมไปทางกามคุณ มารยาทก็ละมุนละม่อม เมื่อร่ำเรียนธรรมะในคัมภีร์ไหนก็เอาใจใส่ไต่ถามให้รู้ลักษณะจะเดินประโยคอะไรที่ถูกต้องตามรูปประโยคแบบอย่าง ถูกใจอาจารย์มากกว่าผิด  

ท่านทั้ง ๗ คนดังออกนามมานี้ พร้อมกันเข้าเป็นโยมอุปัฏฐากช่วยกันอุปถัมภ์บำรุงสามเณร  





เข้าเฝ้าถวายตัว
พ.ศ. ๒๓๓๗  เป็นปีที่ ๑๓ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก  สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร   ขณะนั้นทรงพระชนมายุ ๒๘ พรรษา  อายุสามเณรโตก็ได้ ๑๘ ปีบริบูรณ์  ท่านพระโหราธิบดี  พระวิเชียร  และเสมียนตราด้วง  พิจารณากิริยาท่าทาง และสติปัญญาอย่างเยี่ยมแปลกกว่าที่เคยได้เห็นมาของสามเณรโต ซึ่งท่านเล่าเรียนพระปริยัติธรรมจนสำเร็จหลักสูตรมูลกัจจายน์ตั้งแต่ในพรรษาแรกๆ สามารถแปลภาษาบาลีจากพระไตรปิฎกได้อย่างเชี่ยวชาญแตกฉานเป็นที่เคารพนับถือของบุคคลทั่วไป ทั้งมีรัดประคดหนามขนุนที่โยมมารดาให้มาคาดด้วย จะทักถามและพยากรณ์เองก็ใช่เหตุ จึงปรึกษาเห็นตกลงพร้อมกันนำเข้าถวายตัวแด่สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทรให้ได้ทรงทอดพระเนตร บางทีพ่อเณรมีวาสนาดีก็อาจจะเป็นพระหลวงเณรหลวงก็ได้  ครั้นเดือน ๕ ขึ้น ๕ ค่ำ ปีขาล  ตรงกับ พ.ศ. ๒๓๓๗  พระโหราธิบดี พระวิเชียร และเสมียนตราด้วง จึงนมัสการลาพระอาจารย์แก้ว แล้วพาสามเณรโตลงเรือแหวด ๔ แจว คนแจวล่องลงมาจอดที่ท่าตำหนักแพหน้าพระราชวังเดิม ณ ฝั่งธนบุรีใต้วัดระฆังนั้น

ฝ่ายพนักงานหน้าท้องพระโรง นำความขึ้นกราบทูล จึงเสด็จออกท้องพระโรง และได้ทรงสดับคำพระโหราธิบดีกราบทูลเสนอคุณสมบัติของสามเณรให้ทรงทราบ ครั้นได้ทอดพระเนตรสามเณรโต  ทรงเห็นสามเณรโตเปล่งปลั่งรังสีรัศมีกายออกงามมีราศี  เหตุกำลังอำนาจศีลคุณ  สมาธิคุณ  ปัญญาคุณ  สมกับผ้ากาสาวพัสตร์ และมีรัดประคดหนามขนุนอย่างของขุนนางผู้ใหญ่คาดเป็นบริขารมาด้วย สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ทรงพระเกษมสันต์โสมนัสยิ่งนัก  จึงเสด็จตรงเข้าจับมือสามเณรโต แล้วจูงมาให้นั่งพระเก้าอี้เคียงพระองค์ แล้วทรงไต่ถามความเป็นมา บ้านเกิดอยู่ที่ไหนฯ ทูลว่าขอถวายพระพร  บ้านเดิมอยู่ใต้เมืองกำแพงเพชร  แล้วย้ายลงมาตั้งบ้านเรือนอยู่เหนือเมืองพิจิตร
 
รับสั่งถามว่า โยมผู้ชายชื่ออะไร  ทูลว่า ขอถวายพระพร ไม่รู้จัก

รับสั่งถามว่า โยมผู้หญิงชื่ออะไร ทูลว่า ขอถวายพระพร ชื่อแม่งุด โยมผู้หญิงเป็นแต่กระซิบบอกว่า เจ้าของรัดประคดนี้เป็นเจ้าคุณแม่ทัพ คือ โยมผู้ชาย ขอถวายพระพร

ได้ทรงฟัง ตระหนักพระหฤทัยแล้วก็ทรงทราบโยมผู้ชายเป็นใคร  จึงทรงพระปราโมทย์เอ็นดูสามเณรยิ่งขึ้น จึงรับสั่งทึกทักว่าพระโหรานำช้างเผือกเข้ามาถวาย พระองค์จะเป็นผู้อุปถัมภ์บำรุงสามเณร และย้ายเณรให้มาอยู่วัดนิพพานารามกับสมเด็จพระสังฆราชมี (วัดนิพพานาราม ปัจจุบัน คือ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏ์) รับสั่งแล้ว จึงทรงพระราชหัตถเลขามอบสามเณรโตแก่สมเด็จพระสังฆราช (มี) แล้วมอบลายพระราชหัตถเลขานั้นแก่พระโหราธิบดีให้นำไปถวาย

ฝ่ายขุนนางทั้ง ๓ ก็พาสามเณรลงเรือแจวข้ามฟากมาขึ้นท่าวัดนิพพานารามตามรับสั่ง แล้วทูลถวายพระราชหัตถเลขา สมเด็จพระสังฆราชรู้ความในพระกระแสรับสั่งนั้น จึงรีบสั่งให้พระครูใบฎีกาไปพาตัวพระอาจารย์แก้ว วัดบางลำพู ซึ่งเป็นเจ้าของสามเณรเดิมนั้นขึ้นมาเฝ้า  พระอาจารย์แก้วทราบว่าพระยุพราชนิยม ก็มีความชื่นชมอนุญาตถวายเณรให้อยู่วัดนิพพานารามต่อไป ได้รับนิสัยแต่สมเด็จพระสังฆราชด้วยแต่วันนั้นมา  ได้เล่าเรียนคัมภีร์พระปริยัติธรรม จนทราบลัทธิวิธีของสมเด็จพระสังฆราชเจ้าจนชำนิชำนาญดี และเรียนกับพระอาจารย์สม วัดนิพพานารามอีกอาจารย์หนึ่งด้วย



ภิกษุหลวง
ครั้น เดือน ๖ ปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๓๔๐ เป็นปีที่ ๑๖ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช  สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร  ทรงพระคำนวณปีเกิดของสามเณรโตเป็นกำหนดครบ ๒๑ ปีบริบูรณ์ ควรอุปสมบทได้แล้ว จึงรับสั่งให้พระโหราธิบดีกับเสมียนตราด้วงมาเฝ้า แล้วทรงรับสั่งให้เป็นธุระการบวชสามเณรแทนพระองค์ที่วัดตะไกร เมืองพิษณุโลก  แล้วทรงมอบกิจการทั้งปวงแก่พระโหราธิบดีพร้อมทั้งเงินที่จะใช้สอย ๔๐๐ บาท ทั้งเครื่องบริขารพร้อมและรับสั่งให้ทำขวัญนาคเวียนเทียนแต่งตัวนาคอย่างแบบนาคหลวง  การแห่แหนนั้นอนุญาตตามใจญาติโยมและตามคติของชาวพื้นเมือง แล้วรับสั่งให้เสมียนตราด้วง  ท้องตราบัวแก้วขึ้นไปวางให้เจ้าเมืองพิษณุโลก ให้เจ้าเมืองเป็นธุระช่วยการบวชนาคสามเณรโตให้เรียบร้อยดีงาม กับทั้งขอแรงเจ้าเมืองกำแพงเพชร เจ้าเมืองพิจิตร เจ้าเมืองพิชัย และเจ้าเมืองชัยนาทบุรีให้มาช่วยกันดูแลการงาน รับสั่งให้สังฆการีในพระราชวังบวรวางฎีกาอาราธนาสมเด็จพระวันรัต วัดระฆังให้ขึ้นไปบวชนาคที่วัดตะไกร งานบวชก็ดำเนินไปตามพระกระแสรับสั่งทุกประการ

สามเณรโตก็สำเร็จเป็นภิกษุภาวะในเพลา ๓๒ ชั้น คือ ๗ นาฬิกาเช้า วันพุธขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะเส็งนพศก จุลศักราช ๑๑๕๙ ปี ประชุมสงฆ์ ๒๘ รูป เป็นคณะปักกะตัดตะ ในพัทธสีมาวัดตะไกร เมืองพิษณุโลก โดยมีสมเด็จพระวันรัต วัดระฆังโฆสิตาราม ธนบุรี เป็นพระอุปัชฌาย์  พระอาจารย์แก้ว วัดบางลำพูบน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการ วัดตะไกรเมืองพิษณุโลก เป็นอนุสาวะนะ นามฉายาว่า "พฺรหฺมรํสี" แปลว่า รังสีแห่งพรหม งานบวชและงานสมโภชพระภิกษุโตเอิกเกริกใหญ่โตมโหฬาร สมกับเป็นนาคหลวง

แรม ๔ ค่ำศกนั้น พระยาพิษณุโลกได้อาราธนาสมเด็จพระวันรัต พระอาจารย์แก้ว พระภิกษุโต เข้าไปฉันในจวน เลี้ยงข้าหลวงเสมียนตราพาย พราหมณ์ เสร็จแล้วก็ลงเรือล่องลงมาเป็น ๕ ลำด้วยกัน วันแรม ๖ ค่ำ ก็ถึงวัดนิพพานาราม สมเด็จพระวันรัต พระอาจารย์แก้ว ได้พาพระภิกษุโต พระยาพิษณุโลก พระโหราธิบดี เสมียนตราด้วง เข้าเฝ้าสมเด็จพระสังฆราชพร้อมกัน กราบเรียนให้ทราบพอสมควร  สมเด็จพระสังฆราช จึงมอบให้เป็นหน้าที่ของสมเด็จพระวันรัตเป็นอาจารย์สอนและบอกคัมภีร์พระปริยัติธรรมต่อไป แล้วรับสั่งให้พระครูฐานาจัดกุฏิให้ภิกษุโตอาศัยต่อไปในคณะตำหนัก วัดนิพพานารามแต่วันนั้น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร เสด็จออกทรงรับพระราชกุศล ถวายองค์เป็นอุปัฏฐาก ท่านก็รุ่งเรืองในกรุงเทพฯ แต่นั้นมา


Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30 กรกฎาคม 2557 19:01:44 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
godone108
godone108
นักโพสท์ระดับ 2
**

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 8


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Firefox 16.0 Firefox 16.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 16 พฤศจิกายน 2555 18:49:17 »

ละเอียดมาก ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5376


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 21 พฤศจิกายน 2555 18:02:57 »

.

เรือกราบ หรือเรือกระแฉ่ง (เป็นเรือทรงเฉพาะเจ้านายชั้นพระองค์เจ้าเท่านั้น)

มหาโต
ลุปีขาล พ.ศ. ๒๓๔๙ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ได้รับการสถาปนาให้ดำรงพระยศเป็นสมเด็จกรมพระราชวังบวรสถานมงคล หรือพระมหาอุปราช และมีฐานะเป็นองค์รัชทายาทผู้มีสิทธิ์ที่จะขึ้นครองราชสมบัติพระองค์ต่อไป  ขณะนั้น พระภิกษุโตมีอายุ ๓๐ ปี พรรษาได้ ๑๐ ท่านได้เข้าเฝ้าถวายพระพรชัยมงคลในพระราชพิธี  จึงได้ทรงโปรดพระราชทานเรือกราบ ถวายแก่พระภิกษุโต โปรดรับสั่งว่า "เอาไว้สำหรับเทศน์โปรดญาติโยม" ทั้งยังทรงตั้งให้เป็น "มหาโต" ด้วย แต่นั้นมาผู้คนทั่วแผ่นดินจึงเรียกท่านว่า "มหาโต"

สองปีล่วงมา สมเด็จพระสังฆราชชราภาพถึงมรณะล่วงไปแล้ว ยังหามีสมเด็จพระสังฆราชครองวัดนิพพานารามไม่  

ปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๓๕๒  กรมพระราชวังบวรเสด็จขึ้นเถลิงราชย์เป็นพระเจ้าแผ่นดิน (พระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒)จึงทรงพระกรุณาโปรดยกพระปัญญาวิสารเถระ (พระชินวร) วัดสมอราย ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราชเจ้า ทรงพระราชทานนามวัดนิพพานารามเสียใหม่ว่า "วัดมหาธาตุ"  สมเด็จพระสังฆราชได้ลงมาประทับอยู่ที่วัดมหาธาตุด้วย  พระมหาโตจึงร่วมอุโบสถสังฆกรรมกับสมเด็จพระสังฆราชถึง ๒ พระองค์ คือ สมเด็จพระสังฆราชมี และสมเด็จพระสังฆราชนาค

ในศกนี้ พระมหาโตมีพรรษา ๑๒ มีความเชี่ยวชาญรอบรู้พระไตรปิฎกแตกฉาน ทั้งยังเป็นพระของพระเจ้าแผ่นดิน อันพระองค์ทรงเป็นอุปัฏฐาก อดิเรกลาภ ลูกศิษย์ลูกหาก็มีทวีคูณมากมาย

ปีฉลู พ.ศ. ๒๓๖๐ ทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าให้สร้างตำหนักใหม่ในวัดมหาธาตุ เพราะทูลกระหม่อมเจ้าฟ้าพระองค์ใหญ่ (รัชกาลที่ ๔) จะทรงพระผนวชเป็นสามเณร  ครั้นทรงผนวชแล้วก็เสด็จมาประทับอยู่ พระมหาโตได้เป็นพระพี่เลี้ยงและได้เป็นครูสอนอักขระขอมตลอดจนถึงคัมภีร์มูลกิจจายน์  ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๓๖๗ วันพุธเดือน ๘ ขึ้น ๑๒ ค่ำ ทูลกระหม่อมพระองค์ใหญ่ ทรงผนวชเป็นพระภิกษุเสด็จขึ้นไปประทับวัดสมอราย (ต่อมาเปลี่ยนเป็นวัดราชาธิวาส)  ภายหลังกลับมาประทับ ณ ตำหนักเติมวัดมหาธาตุ พระมหาโตก็ได้เป็นผู้บอกธรรมวินัยและพระปริยัติธรรมอีก เป็นเหตุให้ทรงคุ้นเคยกันมาขึ้นเพราะมีอัธยาศัยต้องกัน  

ในศกนี้ สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จสรรคต พระมหาโตมีอายุได้ ๔๙ พรรษา ๒๘  กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์เสด็จเถลิงถวัลย์ครองราชสมบัติเป็นพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓)  พ.ศ. ๒๓๖๙ สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าให้นิมนต์ทูลกระหม่อมใหญ่ (ภายหลังเถลิงราชย์เป็นรัชกาลที่๔) ให้ทรงแปลพระปริยัติธรรม ๓ วัน ก็ทรงแปลได้หมด แล้วให้พระมหาโตแปลแก้รำคาญหูเสียบ้าง ท่านเข้าแปลถวายหนึ่งวันแปลได้สักลานกว่า ผู้กำกับการสอบไล่ถือพัดยศเข้ามา ท่านก็เลยม้วนหนังสือถวายกราบลามาข้างนอกพระราชวัง ใครถามว่า "ได้แล้วหรือขอรับคุณมหา" ท่านรับคำว่า "ได้แล้วจ๊ะ"  

พ.ศ. ๒๓๗๒ ทูลกระหม่อมองค์ใหญ่ไม่สำราญพระหฤทัยในวัดมหาธาตุ จึงทรงกลับมาประทับ ณ พระตำหนักเดิม วัดสมอราย.



วิชาเปลี่ยนหน้า

ถึงปี พ.ศ. ๒๓๙๓ สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสรรคต พระมหาโตมีอายุได้ ๖๔ ปี ๔๒ พรรษา  พวกข้าราชการได้ทูลอัญเชิญทูลกระหม่อมพระราชาคณะ วัดบวรนิเวศน์วรวิหาร ให้เสด็จนิวัตออกเถลิงราชย์เป็นรัชกาลที่ ๔

พระมหาโตออกธุดงค์หายไปหลายเดือน ครั้นทรงระลึกถึงได้จึงรับสั่งให้หาตัวมหาโตก็ไม่พบ ทรงกริ้วสังฆการี รับสั่ง "ท่านเหาะก็ไม่ได้ ดำดินก็ไม่ได้ แหกกำแพงจักรวาลหนีก็ยังไปไม่ได้" จึงรับสั่งให้พระญาณโพธิ์ออกติดตามก็ไม่พบ ก็รับสั่งว่า"ฉันตามเอง"

ครั้นถึงเดือนเจ็ดปีนั้น มีกระแสรับสั่งถึงเจ้าเมืองฝ่ายใต้ ฝ่ายเหนือ ตะวันตก ตะวันออก ทั้งพระราชอาณาจักร จับพระมหาโตส่งมายังเมืองหลวงให้ได้  ให้เจ้าคณะเหนือ กลาง ใต้ ออก ตก ออกค้นตามหา เลยสนุกกันใหญ่ทั้งฝ่ายพุทธจักร อาณาจักร แม้จะมีท้องตรารับสั่งเร่งรัดอย่างไรก็ยังเงียบอยู่  เจ้าเมือง เจ้าหมู่ฝ่ายพระ ร่วมใจกันจับพระอาคันตุกะทุกองค์ส่งยังศาลากลาง  คราวนี้พระมหาโตลองวิชาเปลี่ยนหน้า ทำให้คนรู้จักกลับจำไม่ได้ เห็นเป็นพระองค์อื่น ปล่อยท่านไปก็มี (อาคมชนิดนี้ พระอาจารย์เจ้าเรียกว่า นารายณ์แปลงรูป)  ต่อมาท่านพิจารณาเห็นว่านายด่าน นายตำบล เจ้าเมือง กรรมการจับพระ ไปอดเช้าบ้าง เพลบ้าง ตากแดดตากฝนได้รับความลำบาก ทำทุกข์ยากแก่พระสงฆ์ คงไม่ดีแน่ จึงแสดงตนให้กำนันบ้านไผ่รู้จัก จึงส่งตัวมายังศาลากลาง  เจ้าเมืองมีใบบอกมายังกระทรวงธรรมการๆ บอกส่งไปวัดโพธิเชตุพนฯ พระญาณโพธิขึ้นไปดูตัวก็จำได้ แล้วคุมตัวมหาโต ลงมาเฝ้า ณ พระที่นั่งอมรินทร ท่ามกลางขุนนางข้าราชการ

จึงมีพระราชดำรัสว่า "เป็นสมัยของฉันปกครองแแผ่นดิน ท่านต้องช่วยฉันพยุงพระบวรพุทธศาสนาด้วยกัน" แล้วมีพระบรมราชโองการให้กรมสังฆการวางฎีกาตั้งพระราชาคณะตามธรรมเนียม  ทรงถวายสัญญาบัตรตาลปัตรแฉกหักทองขวางด้ามงา เป็นพระราชาคณะที่ พระธรรมกิตติ เจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม มีฐานะนุกรม ๓ องค์ มีนิตยภัตรเดือนละ ๔ ตำลึง ๑ บาท ทั้งค่าข้าวสาร

เมื่อออกจากพระบรมราชวังแล้ว ท่านแบกพัดไปเองถึงบางขุนพรหม และบางลำพูบน บอกลาพวกสัปปุรุษที่เคยนับถือ แล้วท่านก็กลับมาวัดมหาธาตุ ลาพระสงฆ์ทั้งปวง ลงเรือกราบสีที่ได้รับพระราชทานมาแต่พระพุทธเลิศหล้า เข้าไปกับเด็กช้างผู้เป็นหลาน  ท่านถือบาตร ผ้าไตร และบริขารไปบอกพระวัดระฆังว่า "เจ้าชีวิต ทรงตั้งฉันเป็นที่พระธรรมกิตติมาเฝ้าวัดระฆังวันนี้จ๊ะ"   ท่านแบกตาลปัตรพัดแฉกสะพายถุงย่ามสัญญาบัตรไปเก้ๆ กังๆ พะรุงพะรัง พวกพระนึกขบขันจะช่วยท่านถือ เจ้าคุณธรรมกิตติก็ไม่ยอม  พระเลยสนุกตามมุงดูกันแน่น แห่กันเป็นพรวนเข้าไปแน่นในโบสถ์  บางองค์ก็นัดโน่นทำนี้ ต้มน้ำบ้าง ตักน้ำถวายบ้าง ตะบันหมากบ้าง.

เดือน ๑๑ ขึ้น ๑๔ ค่ำ ปีชวดศกนั้น ทรงพระมหากรุณาโปรดเลื่อนสมณศักดิ์พระธรรมกิตติ (โต) ขึ้นเป็นพระเทพกวี ราชาคณะผู้ใหญ่ในตำแหน่งสูง มีนิตยภัตร ๒๘ บาท ค่าข้าว ๑ บาท  

ปี พ.ศ. ๒๔๐๘ จึงทรงสถาปนาพระเทพกวี (โต) ขึ้นเป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ รับหิรัญบัตรมีถานา ๑๐ มีนิตยภัตร ๓๒ บาท ค่าข้าวสาร ๑ บาทต่อเดือน  

สมเด็จฯ มีพระชนมายุ ๗๘ พรรษา ๕๖ ได้เป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ ในปีโสกันต์สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง โสกันต์คราวนี้มีเขาไกรลาศ  

รวมที่ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นราชาคณะ เป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ เป็นเจ้าอาวาสวัดระฆังมาได้ ๑๕ ปี จึงได้เป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์


สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ท่านเกิดในรัชกาลที่ ๑ เมื่อท่านยังเป็นสามเณรอยู่ มีชื่อเหลือเกิน เทศน์คนติดใจทีเดียวว่าเทศน์ไพเราะ ความรู้ภาษาบาลี พระปริยัติธรรมก็เปรื่องปราดแตกฉาน รัชกาลที่ ๑ ก็ทรงพระเมตตา แต่ภายหลังอุปสมบทแล้วท่านไม่ยอมเข้าสอบ ไม่ยอมเข้าอยู่ประจำที่ ท่านออกเดินธุดงค์บำเพ็ญกรรมฐานของท่านเรื่อยไป จนสิ้นรัชกาลที่ ๑ มาถึงรัชกาลที่ ๒ ทรงขอร้องท่านมหาโตนี้ จะให้เป็นพระราชาคณะสักที ท่านไม่ยอมรับ ท่านทำอะไรของท่านตามใจ ชอบเป็นอิสระไม่ยอมอยู่ในอาณัติ มาถึงรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็อยากให้รับเป็นพระราชาคณะสักหน่อยหนึ่ง ไม่รับอีก  

พอรัชกาลที่ ๔ ขึ้นเสวยราชย์เป็นปีแรกก็ยังยุ่งกับพระราชกิจอยู่ พอถัดมาได้ ๓ ปี คือปี พ.ศ. ๒๓๙๖ ทรงติดต่อกับท่านมหาโตขอให้ยอมรับเป็นพระราชาคณะสักที ท่านไม่ยอมรับ ๒-๓ รัชกาลมาแล้ว  แต่เป็นที่น่าพิศวงว่าเหตุไร พระเถระผู้มีญาณวิเศษ มีอาจารปฏิบัติในทางที่ดีงามรูปนี้ จึงรับสนองพระกรุณาเป็นพระราชาคณะ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในขณะท่านมีอายุถึง ๖๕ ปี  ซึ่งเห็นจะเป็นเจ้าคุณที่แก่ที่สุดในประเทศไทย คืออายุ ๖๕ ปี เป็นพระราชาคณะ อีก ๒ ปี เป็นเจ้าคุณเทพกวี  แล้วต่อมาอีก ๖-๗ ปี เป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต)



ย่ำรุ่งถึง
ครั้งหนึ่งมีราชการโสกันต์ สังฆการีฎีกาว่าย่ำรุ่งถึง แล้วถวายพระพรถวายชัยมงคลคาถา พระฤกษ์โสกันต์ วางฎีกาสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต)

ครั้นได้เวลาย่ำรุ่งตรง ท่านก็มาถึง พระมหาปราสาทยังไม่เปิดพระทวาร  สมเด็จพระพุฒาจารย์ก็มานั่งอยู่บนบันไดพระมหาปราสาทชั้นบน แล้วท่านก็สวดชัยมงคลคาถาชยันโตโพธิยา ลั่นอยู่องค์เดียวสามจบ จากนั้นท่านก็ไปฉันข้าวต้มที่ที่พักสงฆ์ แล้วก็ไปพักจำวัดในโรงม้าต้นในพระบรมมหาราชวัง

ครั้นเวลาสามโมงเช้าเสด็จออก จวนพระฤกษ์ สังฆการีประจุพระราชาคณะประจำที่หมด ยังขาดแต่สมเด็จพระพุฒาจารย์องค์เดียว เที่ยวตามหากันลั่นไปหมด สมเด็จพระจอมเกล้าทรงกริ้วใหญ่  พวกทนายและสนมในบอกต่อๆ กันเข้าไปว่า ได้เห็นสมเด็จหายเข้าไปในโรงม้าต้น พวกสังฆการีเข้าไปค้นเอาองค์ท่านมาได้ ช่วยกันรุนกันดันส่งเข้าไปในพระทวาร  ครั้นทอดพระเนตรเห็นก็กริ้ว แหวรับสั่งว่าถอดๆ ไม่ระวังรั้วงานราชการ เป็นขุนนางไม่ได้เอาแฉกคืนๆ  

เร็วๆ เอาชยันโตทีเดียว ขรัวโตก็เดินชยันโตจนถึงอาสน์สงฆ์แล้วนั่งลงเข้าแถวสวด  พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงคีบพระเมาลี พระบวรวงศานุวงศ์ผู้ใหญ่ก็คีบแลโกนเป็นลำดับไป  ครั้นเสร็จแล้วประเคนอังคาสพระสงฆ์แล้วเสด็จเข้าฉากไป  ขรัวโตฉันแล้วก็นั่งนิ่ง เสด็จออกเร่งให้ยถา ขรัวโตก็ยถาแต่ไม่ตั้งตาลปัตร  เวลานั้นพระธุระมาก มัวหันพระพักตร์ไปรับสั่งราชกิจอื่นๆ  พระพุฒาจารย์โตก็เดินดุ่มๆ รีบออกไปลงเรือข้ามฟาก แปรพักตร์มารับสั่งว่าถวายอติเรกจะรีบ

พระราชาคณะรองๆ ลงมาก็ไม่มีใครกล้า นั่งงันกันไปหมด  รับสั่งถามว่า อ้าวสมเด็จหายไปไหน เขาทูลว่า ท่านกลับไปแล้ว อ้าวพัดยังอยู่ ชรอยจะใจน้อยไม่เอาพัดไป เร็วเอาพัดไปส่งตัว มาถวายอติเรกก่อน

สังฆการีรีบออกเรือตามร้องเรียกเจ้าคุณขอรับ นิมนต์กลับมาก่อนมาเอาพัดแฉก

ท่านร้องตอบมาว่า พ่อจะมาตั้งสมเด็จกลางแม่น้ำได้หรือ

สังฆการีว่า รับสั่งให้หา ท่านก็ข้ามกลับมาเข้าทางประตูต้นสนดุ่มๆ ขึ้นมาบนพระปราสาท  

แล้วรับสั่งให้ถวายอติเรกเร็วๆ ทูลว่าขอถวายพระพร ถวายไม่ได้  รับสั่งถามว่า ทำไมถวายไม่ได้

ทูลว่า ขอถวายพระพร เหตุพระราชบัติตราไว้ว่าให้พระราชาคณะถวายอติเรก บัดนี้ อาตมาภาพกลายเป็นพระอันดับแล้ว จึงไม่ควรถวายอติเรก ขอถวายพระพร

รับสั่งว่า อ้อจริงๆ เอาสิตั้งกันใหม่ กรมวังออกหมายตั้งสมเด็จ บอกให้เลี้ยงพระอีก สังฆการีวางฎีกาเอาพระชุดนี้ก็ได้ ทำไม่ทันก็ทำแต่น้อยก็ได้เพียง ๕ องค์

ศุภรัตน์เตรียมผ้าไตรตั้งและพระไตรชยันโต แล้วเสด็จ พวกสังฆการี วางฎีกาพระชุดโสกันต์กำหนดเวลาเลยกลับไม่ได้

ครั้นเวลา ๕ โมง เสด็จออกทรงประเคนพระฉันแล้ว (ประกาศ ตั้งสมเด็จ) ทรงประเคนหิรัญบัตร ประเคนไตร บาตร ตาลปัตร ย่าม พระก็ชยันโต  

คราวนี้สมเด็จยกไตรแพรครองกลับเข้ามาอนุโมทนา แล้วถวายอติเรก ถวายพระพรลา เป็นอันเสร็จการไปคราวหนึ่ง.



ปาปมุตตก์
แม้ว่าสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) จะดำรงสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระราชาคณะชั้นพิเศษแล้ว  แต่ท่านก็ยังคงประพฤติตามความพอใจของท่านอยู่อย่างเดิม ที่ว่าคงทำตามเดิมนั้น เช่นว่า ไปไหนมาไหน ลูกศิษย์แจวเรือ เห็นลูกศิษย์เมื่อย เอ็งพัก ข้าจะแจวบ้างก็เข้าไปแจว  อันนี้คงเป็นไปตามเดิม

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักในอุปนิสัยของท่านเป็นอย่างดี ดังนั้น แม้ว่าบางครั้งสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) จะกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่แตกต่างไปจากผู้อื่นบ้างก็ไม่ทรงถือ พระราชทานอภัยให้เสมอมา ถือว่าเป็นปาปมุตตก์ ทรงเข้าถึงกันและกัน เข้าใจกันและกัน ดังเช่นที่สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงกล่าวไว้ในหนังสือ “เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์”  ความตอนหนึ่งว่า “ท่าน (สมเด็จพระพุฒาจารย์–โต  พฺรหฺมรํสี  เข้าไปถวายเทศน์ในงานหลวงครั้ง ๑ พอเสด็จออก ท่านขึ้นธรรมาสน์ถวายศีลบอกศักราช ถวายพระพร  ตั้งนะโมว่าอรรถแล้วแปลสักสองสามคำ ท่านก็กล่าวขึ้นว่า จะถวายเทศนาพระธรรมหมวดใดๆ ก็ทรงทราบอยู่หมดแล้ว แล้วลงเอย เอวํ  จบเทศนาลงจากธรรมาสน์ ต่อมามีพระราชาคณะองค์อื่นไปเอาอย่างก็ถูกกริ้ว เพราะมิได้พระราชทานอภัยอย่างสมเด็จพระพุฒาจารย์โต  แลยังมีเรื่องราวเล่ากันอีกหลายเรื่องมาก”
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30 กรกฎาคม 2557 19:41:45 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5376


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 30 พฤศจิกายน 2555 20:08:16 »

.
ข้อความต่อไปนี้ คัดจาก หนังสือ "ประวัติเจ้าประคุณ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต  พฺรหฺมรํสี)
ค้นคว้า รวบรวมและเรียบเรียง โดย พระมหาสมคิด  ปิยวณฺโณ ป.ธ.๙  
วัดระฆังโฆสิตาราม จัดพิมพ์เผยแพร่และสงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ (ยกเว้นพิมพ์เพื่อเป็นธรรมทาน)
จึงแจ้งมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน
- www.sookjai.com



ภาพท่านเจ้าประคุณสมเด็จโต ออกว่าอธิกรณ์  
ภาพจาก เว็บไซต์พลังจิต
เจ้าประคุณสมเด็จฯ กับงานปกครอง

๑. งานปกครอง
๑.๑ ฉันฝากตัวด้วย
ครั้งหนึ่ง พระวัดระฆังฯ เต้นด่าท้าทายกันขึ้น อีกครู่หนึ่ง พระเทพกวี (โต)  ท่านเอกเขนกนั่งอยู่นอกกุฏิท่าน ท่านแลเห็นเข้าทั้งได้ยินพระทะเลาะกันด้วย จึงลุกเข้าไปในกุฏิจัดดอกไม้ธูปเทียนใส่พานรีบเดินเข้าไปในระหว่างพระคู่วิวาท ทรุดองค์ลงนั่งคุกเข่าไปถวายดอกไม้ธูปเทียนพระคู่นั้น แล้วอ้อนวอนฝากตัวว่า พ่อเจ้าประคุณ พ่อจงคุ้มฉันด้วย ฉันฝากตัวกับพ่อด้วย ฉันเห็นจริงแล้วว่าพ่อเก่งเหลือเกิน เก่งพอใช้ เก่งแท้ๆ พ่อเจ้าประคุณลูกฝากตัวด้วย เลยพระคู่นั้นเลิกทะเลาะกันมาคุกเข่ากราบพระเทพกวี (โต)ๆ ก็คุกเข่ากราบพระ กราบกันอยู่นั้นหมอบกราบกันอยู่นาน


๑.๒ พ่อช่างเก่งเหลือเกิน
เล่ากันว่า สมัยนั้นโปรดเกล้าฯ ให้พระภิกษุสามเณรที่สนใจศึกษาคันถธุระเข้าไปฟังราชบัณฑิตบอกหนังสือในพระบรมมหาราชวัง และราชบัณฑิตในยุคนั้นได้แก่ พระมหาวิชาธรรม และพระยาพจนสุนทร เป็นต้น ระหว่างที่ภิกษุสามเณรมารอคอยราชบัณฑิตบอกหนังสืออยู่นั้น ได้เอาตะกร้อมาเตะฆ่าเวลาด้วย  วันหนึ่งเป็นเวลาที่ราชบัณฑิตยังรอเฝ้าตามตำแหน่งอยู่ภายในท้องพระโรงดุสิตมหาปราสาท ภิกษุสามเณรที่มาเรียนหนังสือกับราชบัณฑิตก็เอาตะกร้อมาเตะเล่นกันตามเคย บังเอิญพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราเชนทรยานผ่านมา มีผู้นำความกราบทูลพระราชปฏิบัติว่า พระภิกษุกำลังเตะตะกร้อกันอยู่ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสว่า “เจ้ากูจะเตะแก้เมื่อยบ้างจะเป็นไรไปเล่า” ตรัสอย่างนั้นแล้วก็ทรงพระราเชนทรยานผ่านไป

เรื่องดังกล่าวนี้ได้เรื้อรังสืบมา จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเถลิงถวัลยราชย์สืบสันตติวงศ์ ทรงเริ่มให้กวดขันในเรื่องมิให้พระภิกษุสามเณรกัดปลา ชักว่าว ชนไก่ เตะตะกร้อยิ่งขึ้น ได้กำชับไปทุกพระอารามให้เจ้าอาวาสช่วยดูแล  ให้ภิกษุสามเณรประพฤติปฏิบัติให้สมกับเป็นสมณะศากยบุตรจริง ๆ

สมัยนั้น เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ได้ครองวัดระฆังโฆสิตารามแล้ว ภิกษุสามเณรในวัดระฆังฯ มีอยู่พวกหนึ่งที่หัวดื้อ ไม่ฟังสังฆาณัติที่สมเด็จฯ ได้ประกาศไป  ยังพากันแอบเตะตะกร้อเล่นอยู่เสมอ  จนกระทั่งเรื่องได้เกิดขึ้น ในวันหนึ่งกลุ่มพระภิกษุนักเตะตะกร้อในวัดระฆังโฆสิตาราม สมัยนั้นมีอยู่ ๘ รูปด้วยกัน ล้วนเป็นนักเตะตะกร้อฝีเท้าเอก  เพราะไม่ว่าจะเตะลักษณะพลิกแพลงอย่างไหนเป็นเตะได้ทั้งสิ้น เช่น ลูกแปล ลูกแข้ง ลูกไขว้ ลูกหลัง และลูกชนิดกลเม็ด เช่น ลูกหนุมานถวายแหวน ลูกขี่ม้าส่งเมือง ลูกกวางเหลียวหลัง และลูกโหม่งด้วยศีรษะ ลูกศอก ลูกเข่า แต่ละองค์ต่างสามารถเตะได้อย่างแม่นยำ เป็นที่นิยมชมชื่นของผู้ที่ได้พบเห็นเป็นอันมาก

วันนั้นเย็นแล้ว คณะเตะตะกร้อฝีเท้าเอกยังประลองฝีเท้ากันอยู่ ส่งเสียงเฮฮากันสนั่นทุกครั้ง เมื่อสามารถเตะลูกกลเม็ดได้อย่างงดงามที่ลานหน้าวัด ต่างเต็มไปด้วยผู้มาล้อมวงดู  กระทั่งศิษย์วัดก็มาและภิกษุในวัดที่สนใจในฝีเท้าที่เตะก็พากันมาดูที่โคนต้นโพธิ์ ขรัวตาผู้เฒ่าองค์หนึ่งก็นั่งดูอยู่ด้วย  แต่ใช้ผ้าอาบคลุมศีรษะกันน้ำค้างไว้ ทำให้เห็นหน้ามิถนัดว่าเป็นภิกษุรูปใดกันแน่

ขณะที่ภิกษุเตะตะกร้อกัน อย่างถึงขนาดเล่นลูกกลเม็ดดังกล่าวมา เช่น ลูกขี่ม้าส่งเมือง และลูกหนุมานถวายแหวน  คือพอตะกร้อลูกเตะโด่งไปจากภิกษุองค์หนึ่งไปยังอีกองค์หนึ่ง และภิกษุนั้นก็สามารถเตะรับไว้ได้ด้วยลูกกลเม็ดเตะกลับไปยังองค์ที่เตะกลับมาอีก ก็ส่งเสียงกันดังอื้ออึงขึ้นด้วยความพอใจ บางองค์ก็ตะโกนขอลูกพระรามเดินดงบ้าง ลูกกวางเหลียวหลังบ้าง ลูกปะขาวกวาดวัดบ้าง ดูเป็นที่สำราญหนักหนา

โดยที่ไม่มีผู้ใดทันได้คิดฝัน  ภิกษุชรารูปที่ใช้ผ้าอาบคลุมศีรษะดูภิกษุชาญเตะตะกร้ออยู่ที่โคนต้นโพธิ์พุทธคยานั้นลุกขึ้น แล้วเดินตรงมาที่วงตะกร้อ เมื่อมาถึงก็เดินเข้าไปกลางวง ขณะนั้นใกล้ค่ำแล้ว  ภิกษุนักเตะตะกร้อองค์หนึ่งฉุนจัด ตะโกนเอ็ดตะโรว่า“แล้วกันขรัวตา เดี๋ยวถูกลูกหลงเข้าเท่านั้นเอง”  ภิกษุชราไม่ตอบ เอาผ้าอาบที่คลุมศีรษะออกจากศีรษะ ปูลงที่กลางวงตะกร้อแล้วก้มลงกราบพลางกล่าวว่า “พ่อเจ้าประคุณ พ่อช่างเก่งกันเหลือเกิน พ่อไปหัดมาจากไหนกัน นี่แหละเขาเรียกกันว่า บวชเสียผ้าเหลืองละ” “สมเด็จฯ” ภิกษุนักตะกร้อรูปหนึ่งตะโกนขึ้น  ทันใดนั้นเอง ประดาภิกษุสามเณรที่ล้อมดูตะกร้อวงสำคัญต่างทยอยกันกลับทีละองค์สององค์จนหมด

ตั้งแต่นั้นมาที่วัดระฆังฯ ก็เป็นอันไม่ต้องออกสังฆาณัติอีก เพราะภิกษุชำนาญตะกร้อต่างพากันเลิกเล่นอย่างเด็ดขาด ด้วยอุบายอันเลิศของสมเด็จฯ เข้าไปปูผ้าชมถึงกลางวงตะกร้อนั่นแล  เรื่องนี้แสดงให้รู้ว่า เจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านชำนาญการปกครองและชำนาญการฝึกภิกษุดื้อด้วยอุบายอันฉลาด เพราะวิสัยคนดื้อนั้นย่อมห้ามด้วยยากต้องใช้วิธี



๑.๓ คุณตีเขาก่อน
ครั้นกาลเวลาล่วงมา สมเด็จพระวันรัตวัดมหาธาตุฯ ถึงมรณกรรมแล้ว สมเด็จพระวันรัต (เซ่ง) วัดอรุณฯ เป็นเจ้าคณะกลาง ครั้งนั้นพระอันดับในวัดระฆังฯ ทะเลาะกันและฝ่ายหนึ่งได้ตีอีกฝ่ายศีรษะแตก  ฝ่ายศีรษะแตกได้เข้าฟ้องพระเทพกวี (โต) เจ้าอาวาส ๆ ก็ชี้หน้าว่าคุณตีเขาก่อน  พระองค์หัวแตกเถียงว่าผมไม่ได้ทำอะไร องค์นั้นตีผม  พระเทพกวี ว่าก็เธอตีเขาก่อนเขาก็ตีเธอบ้าง  พระก็เถียงว่าเจ้าคุณเห็นหรือ  พระเทพกวี (โต) เถียงว่าถึงฉันไม่ได้เห็นก็จริงแต่ฉันรู้อยู่นานแล้วว่าคุณตีเขาก่อน คุณอย่าเถียงฉันเลย พระองค์ศีรษะแตกเสียใจมาก จึงได้อุตส่าห์เดินลงไปวัดอรุณฯ เข้าอุทธรณ์ต่อสมเด็จพระวันรัต (เซ่ง) เจ้าคณะกลาง

ส่วนสมเด็จพระวันรัต (เซ่ง) จึงเรียกตัวพระเทพกวี (โต) ไปชำระตามคำอุทธรณ์  พระเทพกวี (โต) ก็โต้คำอุทธรณ์และตอบสมเด็จพระวันรัตว่า ผมรู้ดีกว่าเจ้าคุณอีก เจ้าคุณได้รู้แต่ว่าเห็นเขาหัวแตกเท่านั้น ไม่รู้ถึงเหตุผลในกาลเดิม มูลกรณีผมรู้ดีว่าคุณองค์นี้ได้ตีคุณองค์นั้นก่อน แต่เขาบ่อห่อนจะรู้สึกตัว เขามามัวแต่ถือหัว หัวเขาจึงแตก สมเด็จพระวันรัต (เซ่ง) ฟัง ๆ ก็นึกแปลก แยกวินิจฉัยไม่ออกกลับจะเป็นคนเอาแต่คำบอกหามีความพิจารณาไม่  ได้ย้อนถามว่าเจ้าคุณเห็นอย่างไรจึงรู้ว่าพระองค์นี้ตีพระองค์นั้นก่อน แจ้งให้ฉันฟังสักหน่อยได้แลเห็นบ้างจะได้ช่วยกันระงับอธิกรณ์

พระเทพกวี (โต) ว่า พระเดชพระคุณจะมีวิจารณ์ยกขึ้นพิจารณาแล้วกระผมก็เต็มใจอ้างอิงพยานถวาย  สมเด็จพระวันรัตว่า เอาเถอะผมจะตั้งใจฟัง เจ้าคุณชี้พยานอ้างอิงมา  พระเทพกวี (โต) จึงว่าผมทราบตามพุทธฎีกาบอกให้ผมทราบว่า “น หิ เวรานิ วูปสมฺมนฺติ ว่า เวรต่อเวรกันร่ำไป  ถ้าระงับเวรเสียด้วยไม่ตอบ  เวรย่อมระงับ” นี่แหละพระพุทธเจ้าบอกผมเป็นพยาน กระผมว่าเวรต่อเวรมันจึงทำกันได้  ผมเห็นตามคำพระพุทธเจ้าบอกผมเท่านี้  ผมจึงพิจารณากล้ากล่าวได้ว่า คุณตีเขาก่อน สมเด็จพระวันรัต (เซ่ง) ชักงงใหญ่  จะเถียงก็ไม่ขึ้นเพราะท่านอ้างพุทธภาษิตจึงล้มเข้าหาพระเทพกวี (โต) ว่า ถ้ากระนั้นเจ้าคุณต้องตัดสินระงับอธิกรณ์เรื่องนี้ว่าใครเป็นผู้ผิด ผู้ถูก โทษจะตกกับผู้ใดแล้วแต่เจ้าคุณจะตัดสินเถิด  พระเทพกวี (โต) มัดคำสมเด็จพระวันรัตว่า พระเดชพระคุณอนุญาตผมตามใจผม  ผมจะชี้โทษชี้คุณให้ยินยอมพร้อมใจกันทั้งคู่ความทั้งผู้พิพากษาให้อธิกรณ์ระงับได้ ให้เวรระงับด้วย สมเด็จพระวันรัตก็อนุญาต

พระเทพกวี (โต) ก็ประเล้าประโลมโน้มน้าวกล่าวธัมมิกถา พรรณนาอานิสงค์ของผู้ระงับเวร พรรณนาโทษของผู้ต่อเวรให้โจทก์จำเลยสลดจิตคิดเห็นบาปบุญคุณโทษเกิดปราโมทย์เข้าหากัน ท่านจึงแก้ห่อผ้าไตรออกกับเงินอีกสามตำลึงทำขวัญองค์ที่ศีรษะแตก แยกบทชี้เป็นสามสถาน  ผู้ตีตอบเอาเป็นหมดเวรจักไม่ตีใครต่อไป  ถ้าขืนไปตีใครอีกจะลงโทษว่า เป็นผู้ก่อเวรฝืนต่อพระบวรพุทธศาสนามีโทษหนักฐานละเมิด ผู้ที่ถูกตีก็ระงับใจไม่อาฆาตไม่มุ่งร้ายต่อก่อเวรอีก ถ้าขืนคดในใจทำหน้าไว้หลังหลอก ฉันซึ่งเป็นผู้ปกครองหรือขืนฟ้องร้องกันต่อไป ว่าฉันเอนเอียงไม่เที่ยงธรรมแล้ว จะต้องโทษฐานบังอาจหาโทษผู้ใหญ่โดยหาความผิดมิได้  ทั้งจะเป็นเสี้ยนหนามต่อพระบวรพุทธศาสนาเป็นโทษใหญ่ร้อนถึงรัฐบาลจะต้องลงอาญาระบิลเมือง

ฝ่ายฉันเป็นคนผิดเพราะเอาแต่ธุระอื่น ไม่สอดส่องดูแลลูกวัดไม่คอยชี้แจงสั่งสอนอันเตวาสิก สัทธิวหาริกให้รู้ธรรมรู้วินัย  จึงลงโทษตามพระวินัยว่าไม่ควรย่อมเป็นโทษแท้ ขอคดีเรื่องนี้จงเลิกระงับไปตามวินัยนี้  พระฐานาที่นั่งฟังทั้งมหาบาเรียนและพระอันดับ พระคู่ความก็สาธุการเห็นดีพร้อมกันอย่างเต็มใจ สมเด็จพระวันรัต (เซ่ง) ก็เห็นดีสงบเรื่องลงเท่านี้



๒. คุณธรรม
๒.๑ ช่วยโจร  ช่วยขโมย
คุณธรรมของเจ้าประคุณสมเด็จฯ ก็นับเป็นยอดเยี่ยมอย่างหนึ่งคือ มักน้อยสันโดษ ปรากฏว่าท่านมีอัธยาศัยยินดีในปัจจัยตามมีตามได้ไม่สะสมทรัพย์สมบัติ ได้ลาภสักการะมาในทางใดๆ ก็เอาไปใช้จ่ายในการกุศลต่าง ๆ มีสร้างวัดเป็นต้น และช่วยเกื้อกูลอนุเคราะห์แก่คนทุกชั้นไม่เลือกหน้า แม้ที่สุดโจรมาลักของท่านก็ยังช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่โจรดังมีเรื่องเล่ากันว่า ครั้งหนึ่ง ท่านนอนอยู่ มีโจรขึ้นล้วงหยิบตะเกียงลานไม่ถึง จึงใช้เท้าช่วยเขี่ยส่งให้โจร ท่านว่ามันอยากได้

ครั้งหนึ่ง ท่านไปเทศน์ในต่างจังหวัดโดยทางเรือ ได้เครื่องกัณฑ์เทศหลายอย่างมีเสื่อหมอนเป็นต้น ขากลับมาพักแรมคืนกลางทาง ตกเวลาดึกมีโจรพายเรือเข้าเทียบเรือของท่าน พอโจรล้วงหยิบเสื่อได้แล้ว เผอิญท่านตื่นจึงร้องบอกว่า เอาหมอนไปด้วยซีจ๊ะ โจรได้ยินตกใจกลัวรีบพายเรือหนี ท่านจึงเอาหมอนโยนไปทางโจรนั้น โจรเห็นว่าท่านยินดีให้ จึงพายเรือกลับมาเก็บเอาหมอนนั้นไป

ครั้งหนึ่ง เวลาจำวัดอยู่ในกุฏิของท่านที่วัดระฆังฯ นั้น ขโมยเจาะพื้นกุฏิล้วงเอาข้าวของที่วางเกลื่อนไว้ขโมยเอื้อมไม่ถึง ท่านก็ช่วยเอาไม้เขี่ยของนั้นๆ เข้าไปให้ใกล้มือขโมย

ครั้งหนึ่ง ขโมยลักเข็นเรือใต้ถุนกุฏิ ท่านก็เปิดหน้าต่างสอนขโมยว่า “เข็นเบาๆ หน่อยจ๊ะ  ถ้าดังไปพระท่านได้ยินเข้าท่านจะตีเอาเจ็บเปล่าจ๊ะ เข็นเรือบนที่แห้ง เขาต้องเอาหมอนรองข้างท้ายให้โด่งก่อนจ๊ะถึงจะกลิ้งสะดวกดี เรือก็ไม่ช้ำไม่รั่วจ๊ะ”  ขโมยเกรงใจเลยเลิกไม่เข็นต่อไป



๒.๒ ของแก-ของข้า
ครั้งหนึ่ง ท่านไปเทศน์ที่บ้านทางฝั่งพระนคร (ว่าแถววัดสามปลื้ม) โดยเรือพาย ท่านนั่งกลาง ศิษย์ ๒ คนพายท้าย  ขากลับมาตามทาง ศิษย์ ๒ คน จัดแบ่งเครื่องกัณฑ์เทศน์กัน คนหนึ่งว่า “กองนี้ของเอ็ง กองโน้นของข้า” อีกคนหนึ่งว่า “กองนี้ข้าเอา  เอ็งเอากองโน้น”  ท่านเอ่ยถามขึ้นว่า “ของฉันกองไหนละจ๊ะ” ว่าเมื่อถึงวัดศิษย์ ๒ คน  ได้ขนเอาเครื่องกัณฑ์เทศน์กันไปหมด ท่านก็มิได้บ่นว่ากระไร


๒.๓ หลบก่อนชก
คุณธรรมของเจ้าประคุณสมเด็จฯ อย่างหนึ่งคือขันติ  ท่านเป็นพระหนักแน่นมั่นคง  สงบจิตระงับใจไม่ยินร้ายเมื่อประสบอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความโกรธ ดังจะนำเรื่องมาสาธกเป็นอุทาหรณ์ว่า  ครั้งหนึ่งมีบ่าวของท่านพระยาคนหนึ่ง บ้านอยู่หลังตลาดบ้านขมิ้น จังหวัดธนบุรี เสพสุรามึนเมาเข้าไปหาเจ้าประคุณสมเด็จฯ ถามว่า “นี่หรือคือสมเด็จฯ ที่เขาเลื่องลือกันว่ามีวิชาอาคมขลัง อยากจะลองดีนัก”  พอพูดขาดคำก็ตรงเข้าชก แต่ท่านหลบเสียก่อน หาทันถูกชกไม่ แล้วท่านบอกบ่าวคนนั้นรีบหนีไปเสีย ด้วยเกรงว่ามีผู้พบเห็นจะถูกจับกุมมีโทษ ความนั้นได้ทราบถึงท่านเจ้าพระยาผู้เป็นนายจ้าง จึงจัดการลงโทษบ่าวคนนั้นโดยเอาโซ่ล่ามไว้กับขอนไม้ที่สนามหญ้าหน้าบ้าน ท่านทราบเรื่องได้ไปเยี่ยม เอาเงิน ๑ สลึงกับอาหารคาวหวานไปให้บ่าวคนนั้นทุกวัน ฝ่ายท่านเจ้าพระยาคิดเห็นว่าการที่เจ้าประคุณสมเด็จฯ ทำดังนั้น ชะรอยท่านจะมาขอให้ยกโทษโดยทางอ้อม จึงให้แก้บ่าวนั้นปล่อยให้เป็นอิสรเสรีต่อไป  


๒.๔ โคลนเปื้อนจีวร
ครั้งหนึ่ง มีคนนิมนต์เจ้าประคุณสมเด็จฯ ไปในงานพิธีมงคลโกนจุก ณ ที่บ้านตำบลบางพลัด จังหวัดธนบุรี บ้านของเขาอยู่ในสวนมีคลองเข้าไป ขณะที่ศิษย์พายเรือเข้าไปในคลองนั้น คนพายท้ายได้เห็นปลาตีนตัว ๑ จึงเอาพายตีแต่ตีหาถูกไม่ ปลานั้นได้วิ่งไปทางหัวเรือ ศิษย์คนหัวเรือจึงเอาพายตีแต่ก็ตีไม่ถูกอีก โคลนได้กระเด็นเปื้อนจีวรของเจ้าประคุณสมเด็จฯ หมด ท่านนิ่งเฉยไม่พูดว่ากระไร เมื่อไปถึงบ้านงาน เจ้าภาพและคนอื่นๆ ต่างมารุมกันถาม ท่านตอบว่า “โยม ๒ คนนี้เขาตีปลาตีนกันจ๊ะ”


๒.๕ นั่งคอย
ครั้งหนึ่ง ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ไปสวดมนต์ในพระบรมมหาราชวัง ขณะที่กำลังสวดมนต์อยู่นั้น ลูกศิษย์ได้หลบไปเที่ยวเล่นในที่อื่นจนสวดมนต์จบแล้วลูกศิษย์นั้นก็ยังมิได้กลับมา ท่านจึงถือพัดกับย่ามออกมาจากวังมานั่งคอยอยู่ในเรือซึ่งจอดอยู่ที่ท่าช้างวังหลวง  สักครู่หนึ่งลูกศิษย์ก็กลับมา  ท่านจึงให้ศิษย์นั้นแก้โซ่ลงเรือพายกลับวัดระฆัง


๒.๖ คนอื่นเขาก็มีแรง
ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ จะไปในกิจนิมนต์ด้วยเรือเก๋ง พอท่านก้าวลงเรือยังไม่ทันจะนั่งเรียบร้อยดี ศิษย์ก็ถอยเรือรีบแจวด้วยกำลังแรง ก้นท่านจึงกระแทกกับพื้นเรือ แทนที่ท่านจะขัดเคืองท่านกลับพูดว่า “พ่อจะอวดว่าพอแรงแต่คนเดียวนะ คนอื่นเขาก็แรงกว่าพ่อยังมีอีกถมไป”


๒.๗ อ่อนน้อม
เจ้าประคุณสมเด็จฯ ทรงคุณธรรมอีกอย่างหนึ่งคือ ท่านมีคารวะอ่อนน้อม กล่าวกันว่าท่านไปพบพระพุทธรูปท่านจะหลีกห่างราว ๔ ศอก แล้วนั่งลงกราบ ที่สุดไปพบหุ่นพระพุทธรูปท่านก็ทำดังนั้น เคยมีผู้ถามท่านตอบว่า ดินก้อนแรกที่หยิบขึ้นมาปั้นหุ่นก็นับเป็นองค์พระแล้ว เพราะผู้ทำตั้งใจมาแต่เดิม ที่จะทำพระพุทธรูป  ในหนังสือ “บุญญวัตร” นายชุ่ม จันทนบุบผา เปรียญ เรียบเรียง (พิมพ์ชำร่วยเป็นที่ระลึกในงานฌาปนกิจศพอุบาสิกาเผื่อน  จันทนบุบผา ณ เมรุวัดระฆังฯ เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๔๙๕) ความตอนหนึ่งกล่าวถึงเรื่องเจ้าประคุณสมเด็จฯ เคารพหุ่นพระพุทธเจ้า ดังคัดมาลงไว้ดังต่อไปนี้...“ข้าพเจ้าได้รับบอกล่าวจาก ท่านพระครูปลัดสัมพิพัฒนศีลาจารย์ (ชม  จันทนบุบผา) ฐานานุกรมของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ม.ร.ว.เจริญ  อิศรางกูร ณ อยุธยา) วัดระฆังฯ ผู้เป็นลุงมาอีกต่อหนึ่ง ท่านเล่าว่าเมื่อครั้งท่านยังเด็กอายุราว ๑๕ ปี  ได้เป็นศิษย์ของปลัดฤกษ์ คราวหนึ่งไปสวดมนต์ที่บ้านชาวเหนือ (คือบ้านช่างหล่อปัจจุบันนี้) ไปพร้อมกับสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ที่บ้านนั้นเขาเอาหุ่นพระพุทธรูปตั้งผึ่งแดดไว้ห่างทางเดินราว ๒ ศอก เมื่อสมเด็จฯ เดินผ่านมาในระยะนี้ ท่านก้มกายยกมือขึ้นประนมเหนือศีรษะกระทำคารวะ  พระและศิษย์ที่ไปด้วยก็กระทำตาม เมื่อขึ้นบ้านงานและนั่งบนอาสนะเรียบร้อยแล้ว นายเทศผู้ช่วยเจ้าภาพซึ่งคุ้นเคยกับสมเด็จฯ ได้เรียนถามว่า “กระผมสงสัยเพราะไม่เคยเห็นเจ้าประคุณสมเด็จฯ กระทำดังนี้ ท่านจึงตอบว่า “แต่ก่อนไม่เคยเห็นจริงจ๊ะ  แต่วันนี้เป็นเหตุบังเอิญจ๊ะ  เพราะฉันเดินผ่านในเขตอุปจารของท่านไม่เกิน ๔ ศอก จึงต้องทำดังนี้”  นายเทศจึงเรียนว่า “ยังไม่ยกขึ้นตั้งและยังไม่เบิกพระเนตรจะเป็นพระหรือขอรับ” ท่านตอบว่า “เป็นจ๊ะ เป็นตั้งแต่ผู้ทำหุ่นยกดินก้อนแรกวางลงบนกระดานแล้วจ๊ะ เพราะผู้ทำตั้งใจให้เป็นองค์พระอยู่แล้ว เรียก อุทเทสิกเจดีย์ ยังไงล่ะจ๊ะ" เมื่อสวดมนต์จบแล้ว  ขากลับผ่านมาก็กระทำอย่างนั้นอีก รุ่งขึ้นไปฉัน ตอนนี้ท่านเห็นพระตั้งอยู่ไกลออกไปราว ๖ ศอก  ต่อจากทางที่ไปเมื่อวาน ท่านไปหยุดยืนอยู่ตรงหน้าพระ แล้วประนมมือพร้อมกับพระที่ไปด้วยประมาณสัก ๑ นาที แล้วจึงขึ้นไปบนเรือน เมื่อกระทำภัตตกิจเสร็จ เจ้าภาพถวายเครื่องสักการะและท่านยถาสัพพีเสร็จแล้วก็นำธูปเทียนดอกไม้ที่เจ้าภาพถวายสักการะบูชาพระที่ขึ้นหุ่นไว้นั้น พร้อมกับพระสงฆ์ที่ตามมาด้วยกันแล้วจึงกลับวัด


๒.๘ ช่วยแจวเรือ
เจ้าประคุณสมเด็จฯ เป็นพระเถระที่ไม่ถือยศถือศักดิ์ (เจ้ายศเจ้าอย่าง) ชอบประพฤติเป็นอย่างพระธรรมดาสามัญ (พระลูกวัด) (ว่าท่านเคยพูดกับคนอื่นว่ายศช้างขุนนางพระจะดีอย่างไร) ท่านจะทำอะไร ท่านก็ทำตามอัธยาศัยของท่าน ไม่ถือความนิยมของผู้อื่นเป็นสำคัญ เป็นต้นว่า ท่านเห็นศิษย์แจวเรือเหนื่อยท่านก็แจวแทนเสีย

ยังมีเรื่องเล่ากันอีกว่า คราวหนึ่งท่านได้รับนิมนต์ไปในงานที่บ้านแขวงจังหวัดนนทบุรี ขากลับเจ้าภาพได้ให้บ่าว ๒ คนผัวเมียแจวเรือมาส่ง  ขณะที่มาตามทางจะเนื่องด้วยเหตุใดไม่ปรากฏ บ่าว ๒ คนนั้นเกิดเป็นปากเสียงเถียงกัน ถึงกล่าวถ้อยคำหยาบคายต่าง ๆ  ท่านได้ขอร้องหญิงชาย ๒ คนให้เลิกทะเลาะวิวาทกัน และให้เข้ามานั่งในประทุนแล้วท่านได้แจวเรือมาเองจนถึงวัดระฆังฯ



๒.๙ เคารพพระธรรม
เล่ากันว่า จรรยาอาการของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พระองค์นี้ ประพฤติอ่อนน้อมยำเกรงผู้ใหญ่และพระสงฆ์ ว่ากันว่า พระภิกษุจะมีอายุพรรษามากหรือน้อยก็ตาม เมื่อไปกราบท่าน ท่านก็กราบ (ว่ากราบท่านกี่ครั้ง ท่านก็กราบตอบเท่านั้นครั้ง) พระอุปัชฌาย์เดช วัดกลางธนรินทร์ จังหวัดสิงห์บุรีว่า “ครั้งหนึ่งไปหาเจ้าประคุณสมเด็จฯ ที่วัดระฆังฯ เมื่อกราบท่านๆ ก็กราบตอบ  พระอุปัชฌาย์เดชนึกประหลาดใจ จึงกราบเรียนถามว่า ทำไมท่านจึงต้องทำดังนั้น ท่านตอบว่าท่านทำตามบาลีพุทธฎีกาที่ว่า วนฺทโก  ปฏิวนฺทนํ  ผู้ไหว้ (กราบ) ย่อมได้รับไหว้ตอบ (กราบ) ตอบ ดังนี้ และเมื่อเจ้าประคุณสมเด็จฯ ไปพบพระเณรแบกหนังสือคัมภีร์ไปเรียน ท่านจะต้องประนมมือหรือก้มกายแสดงคารวะพระธรรม  ถ้าพระเณรไม่ทันพิจารณาสำคัญว่าท่านก้มเคารพตนและก้มตอบเคารพตอบท่าน ทีนั้นเถอะไม่ต้องไปกัน ต่างหมอบกันแต้อยู่นั่นเอง”

แม้ใครจะฉายรูปฉายาลักษณ์ของท่านในอิริยาบถใดก็ตาม ถ้าในนั้นมีหนังสือเทศน์ ท่านจะต้องหยิบขึ้นมาถือประหนึ่งเทศน์เสมอ อีกอย่างหนึ่งถ้าท่านไปพบพระเณรกำลังแสดงธรรม (เทศน์) อยู่  ท่านจะต้องหยุดฟังจนจบแล้วจึงไปในที่อื่น ว่าที่ท่านทำดังนั้นด้วยประสงค์จะประพฤติตามเยี่ยงอย่างพระพุทธเจ้าทรงสดับธรรมที่พระอนุรุทธ์แสดงความว่า ครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จไปพบพระอนุรุทธ์กำลังแสดงธรรมอยู่ พระองค์ได้ประทับยืนฟังอยู่จนจบ เมื่อพระอนุรุทธ์ทราบจึงทูลขออภัยที่ทำให้ประทับยืนนาน พระองค์ตรัสว่า แม้จะนานกว่านั้นสักเท่าไรก็จะประทับยืนเพราะพระองค์ทรงเคารพในพระธรรม



๒.๑๐ สุนัขไม่เห่า-ไม่แฮ่
ท่านเข้าบ้านแขกบ้านจีน  ส่วนใหญ่เดินได้สบาย ไม่ต้องเกรงสุนัขที่เขาเลี้ยงนอนขวางทาง ท่านต้องก้มให้สุนัขแล้วยกมือขอทางเจ้าสุนัขว่า “ขอดิฉันไปสักทีเถิดจ๊ะ” แล้วก้มหลีกไปไม่ข้าม สุนัขจะดุอย่างไรจะเป็นสุนัขฝรั่งหรือสุนัขไหหลำก็ไม่แห้ไม่เห่าหอน นอนดูท่านทำแต่ตาปริบๆ มองๆ เท่านั้น โดยที่สุดแม้สุนัขจูที่ปากเปราะๆ ก็ไม่เห่าไม่ห้ามท่าน


๒.๑๑ สมเด็จฯ เข็นเรือ
คราวหนึ่งมีผู้อาราธนาท่านไปเจริญพระพุทธมนต์ที่บ้านในสวน ตำบลราษฎร์บูรณะ จังหวัดธนบุรี  บ้านของเขาอยู่ในคลองลึกเข้าไป ท่านไปด้วยเรือสำปั้นกับศิษย์  เวลานั้นน้ำแห้งเข้าคลองไม่ได้ ท่านก็ลงไปเข็นเรือกับศิษย์ของท่าน  ชาวบ้านเห็นก็ร้องบอกกันว่า “สมเด็จฯ เข็นเรือ ๆ “  ท่านบอกว่า “ฉันไม่ใช่สมเด็จดอกจ๊ะ ฉันชื่อว่าขรัวโต  สมเด็จท่านอยู่ที่วัดระฆังฯ จ๊ะ (หมายถึงว่า พัดยศสมเด็จอยู่ที่วัดระฆังฯ) แล้วชาวบ้านก็ช่วยกันเข็นเรือไปจนถึงบ้านงาน


๒.๒ กึ่งแจว-กึ่งพาย
คราวหนึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จลงประทับพระที่นั่งชลังคพิมาน พระที่นั่งริมน้ำ วันนั้นท่านมีกิจจำเป็นจะต้องแจวเรือผ่านหน้าพระที่นั่งนั้น พอเรือจะผ่านหน้าพระที่นั่ง ท่านก็นั่งลงเอาแจวพุ้ยน้ำในลักษณะกึ่งแจวกึ่งพาย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทอดพระเนตรเห็นก็ทรงพระสรวล รับสั่งว่า “ขรัวโตนี่ฉลาด” มีผู้ถามถึงเหตุที่ท่านทำดังนั้น ท่านตอบว่า เพราะมีหมายรับสั่งฉบับหนึ่ง ประกาศห้ามไม่ให้พระสงฆ์แจวเรือ พายเรือเวลาเสด็จทางชลมารคและเสด็จประทับพระที่นั่งริมน้ำ


๒.๑๓ จ๊ะจ๋า
ตามปกติเจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านพูดจาจ๊ะจ๋ากับคนทุกคน แม้สัตว์ดิรัจฉานท่านก็พูดอย่างนั้น ยกตัวอย่างเช่น ดังคราวหนึ่งท่านเดินไปพบสุนัขนอนขวางทางอยู่ ท่านพูดกับสุนัขนั้นว่า “โยมจ๋า ขอฉันไปทีจ๊ะ” แล้วท่านก็ก้มกายเดินหลีกทางไป  มีผู้ถามว่าทำไมท่านจึงทำดังนั้น ท่านว่า ฉันรู้ไม่ได้ว่าสุนัขนี้เคยเป็นพระโพธิสัตว์หรือไม่ เพราะในเรื่องชาดกกล่าวว่า ในกาลครั้งหนึ่ง พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นสุนัข


๒.๑๔ ติดแร้วแทนนก
นอกจากนี้เจ้าประคุณสมเด็จฯ ยังแผ่เมตตาไปให้สัตว์ทั้งหลายไม่มีประมาณ เมื่อพบสัตว์ประสบทุกข์ต้องภัย ท่านก็ช่วยเหลือแก้ไขด้วยการุณยจิต  ดังเล่ากันว่า ครั้งหนึ่งท่านเดินทางไปต่างจังหวัด ระหว่างทางไปพบนกตัวหนึ่งติดแร้วอยู่ ท่านจึงรีบแก้บ่วงปล่อยนกนั้นไป แล้วท่านก็ใช้เท้าของท่านสอดเข้าไปในบ่วง นั่งทำเป็นติดแร้ว มีคนมาพบจะช่วยแก้บ่วง ท่านไม่ยอมให้แก้ บอกให้ไปตามเจ้าของแร้วมาก่อน เมื่อเจ้าของแร้วมาบอกอนุญาตให้ท่านปล่อยนกนั้นได้ ท่านจึงแก้บ่วงออกจากเท้าแล้วบอกให้เจ้าของแร้วกรวดน้ำ ท่านยะถาสัพพี เสร็จแล้วท่านจึงออกเดินทางต่อไป

ข้อที่เจ้าประคุณสมเด็จฯ แก้บ่วงปล่อยนกไปนั้น ว่าตามทางพระวินัยท่านมีความผิดปรับเป็นภัณฑ์ไทย เพราะนกนั้นเป็นทรัพย์มีเจ้าของ ดังนั้น ท่านจึงต้องคอยให้เจ้าของแร้วอนุญาตก่อน  อนึ่ง การปล่อยนกในฐานะอย่างนั้นนับเป็นทานอย่างหนึ่ง เรียกอภัยทาน  การที่เจ้าของแร้วอนุญาตให้เจ้าประคุณสมเด็จฯ ปล่อยนกได้นั้น ชื่อว่าได้บำเพ็ญกุศลส่วนอภัยทานโดยปริยายหนึ่ง ท่านจึงบอกให้กรวดน้ำและท่านก็กล่าวคำอนุโมทนา



๒.๑๕ หลักดี
ครั้งหนึ่งเข้าบิณฑบาตเวรในพระบรมมหาราชวัง พอถึงตรงขันทรง เสื่อกระจูดลื่นแทบคะมำ  แต่หลักท่านดี มีสติปัญญามาก ท่านผสมก้มลงจับมุมเสื่อ เต้นตามเสื่อตุ๊บตั๊บไป  สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงทำพระสุรเสียง โอ่ะ โห่ะๆ เจ้าคุณหลักดี เจ้าคุณหลักดี ทรงชม


๒.๑๖ ซื้อแตงโมแล้วคืน
ครั้งหนึ่ง เจ้าประคุณสมเด็จฯ ข้ามฟากไปฝั่งพระนครด้วยกิจธุระอย่างหนึ่ง พบชายหญิง ๒ คนผัวเมียนั่งอยู่ในเรือซึ่งบรรทุกแตงโมเต็มลำจอดอยู่ที่ท่าช้างวังหลวง  ทั้ง ๒ คนนั้นมีอาการส่อว่ามีความทุกข์ใจอย่างใดอย่างหนึ่ง  ถามได้ความว่า บรรทุกแตงโมมาขายหลายวันแล้วก็ยังขายไม่ได้ เป็นทุกข์กลัวขาดทุน  ท่านจึงรับซื้อแตงโมนั้นทั้งหมด  เมื่อให้ศิษย์ชำระเงินแล้ว ท่านได้บอกคืนแตงโมให้เป็นสิทธิ์แก่ชายหญิงนั้นแล้วหลีกไป  ข่าวเรื่องเจ้าประคุณสมเด็จฯ ซื้อแตงโมได้แพร่สะพัดไปโดยรวดเร็วราวกับไฟไหม้ป่า ว่าพวกนักเลงหวยถือเอาแตงโมเป็นนิมิตแทงตัว ม. หันหุน ก็ถูก


๒.๑) พัดของขรัวโตอยู่ไหน
ต้นเหตุที่พัดยศเกิดอื้อฉาว เรื่องมีอยู่ว่า วันหนึ่ง สมเด็จฯ ได้รับนิมนต์เข้าไปเทศน์ในพระบรมมหาราชวัง ขณะที่นั่งเรือจ้างข้ามฟาก เจ้าของได้ปรารภถึงความทุกข์อันเกิดขึ้นจากความยากจนให้ฟังเพราะมีหนี้สินรุงรัง เกิดจากตนนำเงินที่สะสมได้ไม่ถึงตำลึงไปแทงหวยเสียหมด  มาบัดนี้เรือที่อาศัยเลี้ยงชีพก็รั่ว ชันกระทะหมันที่ตอกไว้ก็คลายหมด ต้องเอาเรือขึ้นคานจ้างเขาหมันและพอนใหม่ก็หมดหนทางที่จะทำได้ เพราะเงินค่าจ้างไม่มีให้ เขาคิดค่าทำทั้งหมดแปดสลึง ไม่เห็นใครจะช่วยได้ นอกจากสมเด็จฯ องค์เดียวเท่านั้น

สมเด็จฯ นั่งฟังคนแจวเรือจ้างบรรยายความทุกข์ด้วยอาการดุษณีภาพ ขณะนั้นเรือจ้างก็ถึงท่าช้างวังหลวงพอดี  ขึ้นจากเรือแล้วสมเด็จฯ ได้เรียกคนแจวเรือจ้างขึ้นมาและเรียกศิษย์เข้ามาใกล้ ๆ เอื้อมมือไปหยิบพัดยศจากศิษย์มาถือไว้ พลางกล่าวกับเจ้าของเรือว่า “วันนี้ข้าไม่มีเงิน ถ้ามีข้าจะให้เจ้าเป็นค่าพอนเรือ เอ้า! เอานี่ไว้ก่อน  พัดเล่มนี้จะทำให้เจ้าได้เงินค่าขึ้นคานพอนเรือ” คนแจวเรือจ้าง รับพัดยศของสมเด็จฯ มาถือไว้อย่างงุนงงสงสัย ลางถามสมเด็จฯ ว่า “คุณพ่อจะให้พัดผมไว้ทำไมขอรับ?” ครั้นได้ยิน สมเด็จฯ ตอบว่า “เจ้าถือไว้ก่อนเถอะ พัดเล่มนี้จะทำให้เจ้าได้เงินค่าตอกหมันยาชันเรือใหม่”  คนแจวเรือจ้างตกใจสุดกำลัง เข้าใจเลยไปว่า สมเด็จฯ คงจะให้พัดยศแก่เขาเพื่อเอาไปจำนำเอาเงินเป็นค่าพอนเรือตามที่เขาปรารภให้สมเด็จฯ ฟังระหว่าแจวอยู่กลางน้ำ เมื่อคิดอย่างนั้นยิ่งตกใจจนตัวสั่นลำล่ำละลักพูดกับสมเด็จฯ ว่า “ไม่เอาขอรับคุณพ่อ  นรกจะกินกบาลผม พัดยศของหลวงเสียด้วย ดีไม่ดีหวายจะมาลงหลัง คุณพ่อเอาคืนไปเถอะขอรับ”

สมเด็จฯ ไม่ยอมรับพัดยศคืน บังคับให้คนแจวเรือจ้างรับพัดไว้ แล้วท่านกับศิษย์ก็เดินไปเข้าประตูพระบรมมหาราชวัง ปล่อยให้คนแจวเรือจ้างต้องแบกพัดยศของสมเด็จฯ ลงไปรอคอยอยู่ในเรือด้วยความวุ่นวายใจ  เมื่อสมเด็จฯ กับศิษย์เข้าไปถึงในวัง  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ กำลังประทับอยู่บนพระราชอาสน์  พระสงฆ์ราชาคณะผู้ทรงสมณศักดิ์สูงกำลังนั่งรอสมเด็จฯ อยู่ตามลำดับอาวุโสและมีพัดยศมาด้วย โดยเฉพาะวันนั้นท่านเป็นผู้อาวุโสสูงทั้งพรรษาและสมณศักดิ์ สมเด็จฯ นั่งลงเหนืออาสน์ที่จัดไว้อย่างสงบเสงี่ยมทั้งที่ไม่มีพัดยศติดมา

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงทราบโดยพระญาณทันทีว่า ต้องมีอะไรบางอย่างเกิดขึ้นแก่สมเด็จฯ แล้วทรงผินพระพักตร์มาทางเจ้ากรมสังฆการี  ขณะนั้นพระธรรมการเจ้ากรมสังฆการีหมอบเฝ้าอยู่ไม่ห่างนัก พอสบกับพระเนตรก็แทบจะละลายไปเหมือนถูกฟ้าผ่า  เพราะได้ยินกระแสพระราชดำรัสว่า “พัดของขรัวโตอยู่ไหน?” พระธรรมการกราบถวายบังคมแล้วกระมิดกระเมี้ยนเข้าไปหาสมเด็จฯ  แล้วกระซิบถามเบาๆ ว่า “เย็นวันนี้เทศน์จบแล้วจึงสวดมนต์และถวายอดิเรกถวายอนุโมทนา และถวายพระพรลา พระคุณเจ้าไยไม่เอาพัดมาด้วยขอรับ?”

สมเด็จฯ กระซิบตอบเบาๆ แล้วเล่าเรื่องให้พระธรรมการฟังอย่างละเอียด  สุดท้ายว่า “ขณะนี้พัดอยู่ในเรือจ้าง คุณพระจะไปเอาต้องเอาเงินไปให้มันกึ่งตำลึง  ให้ศิษย์อาตมาพาไป”
พระธรรมการเหงื่อแตกและแทบจะเหาะไปเดี๋ยวนั้น  แต่เป็นหน้าพระที่นั่ง จำต้องคลานถอยออกมาอย่างสุภาพ  แล้วมากราบบังคมทูลว่า “ข้าพระพุทธเจ้าจะไปเอาพัดเดี๋ยวนี้พุทธเจ้าข้า” ไม่ทันฟังดำรัสตอบ พระธรรมการกราบถวายบังคม  แล้วถอยออกมาและได้ยินเสียงทรงพระสรวลไม่ทรงโกรธ  เพราะประทานอภัยสำหรับสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) อยู่แล้ว

ภายหลังที่พระธรรมการเจ้ากรมสังฆการีนำศิษย์ของสมเด็จฯ หายออกไปพักหนึ่ง ก็กลับเข้ามาพร้อมด้วยพัดยศที่สมเด็จฯ ให้คนแจวเรือจ้างถือไว้ พระธรรมการนำเข้าไปถวาย ต่อจากนั้น พระราชพิธีจึงได้เริ่ม สมเด็จก็ขึ้นนั่งบนธรรมาสน์เพื่อเตรียมถวายพระธรรมเทศนา เมื่อเสร็จพระราชพิธี สมเด็จพระพุฒาจารย์ ถวายอดิเรกแล้วถวายพระพรลา

ขณะที่นั่งเรือจ้างลำเก่ากลับวัดระฆังฯ สมเด็จฯ ถามคนเรือว่า “เจ้าได้เงินค่าขึ้นคานพอนเรือหรือยังฯ” เจ้าคนแจวเรือจ้างปล่อยแจว นั่งลงพนมมือยิ้มแก้มแทบแตก ตอบคำถามของสมเด็จฯ ว่า “ได้แปดสลึงขอรับคุณพ่อ  พรุ่งนี้ผมเอามันขึ้นคานเสียที”  ตอบแล้วก็ยืนขึ้นออกแรงโหนแจวจนตัวโค้งทำให้เรือจ้างแล่นเหมือนจับพุ่ง.

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30 กรกฎาคม 2557 14:00:02 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5376


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 19 ธันวาคม 2555 16:39:10 »

.
ข้อความต่อไปนี้ คัดจาก หนังสือ "ประวัติเจ้าประคุณ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต  พฺรหฺมรํสี)"
ค้นคว้า รวบรวมและเรียบเรียง โดย พระมหาสมคิด  ปิยวณฺโณ ป.ธ.๙  ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม และครูใหญ่โรงเรียนพระปริยัติธรรม (พฺรหฺมรํสี)
วัดระฆังโฆสิตาราม จัดพิมพ์เผยแพร่และสงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ (ยกเว้นพิมพ์เพื่อเป็นธรรมทาน)
จึงแจ้งมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน
- www.sookjai.com



พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อขณะยังทรงพระเยาว์
และสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร
ภาพและคำบรรยายภาพ จาก หนังสือ"ประวัติเจ้าประคุณ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต  พฺรหฺมรํสี)"
วัดระฆังโฆสิตาราม พิมพ์เผยแพร่

เจ้าประคุณสมเด็จฯ กับงานปกครอง

๓. เทศนา
๓.๑ ใจขุ่นมัวเทศน์ยาว
เมื่อพระธรรมการ เจ้ากรมสังฆการีกับศิษย์ของสมเด็จฯ นำเงินกึ่งตำลึงออกไปแล้วก็กลับเข้ามาพร้อมด้วยพัดยศที่สมเด็จฯ ให้คนแจวเรือถือไว้  หลังจากนั้นจึงอาราธนาศีลและพระปริตร เสร็จแล้ว สมเด็จฯ (โต) ก็เริ่มขึ้นนั่งบนธรรมาสน์เริ่มแสดงพระธรรมเทศนาว่าด้วยทศพิธราชธรรมข้อ “อกฺโกธํ” พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงยิ้มแย้มแจ่มใส สดับพระธรรมเทศนาของสมเด็จฯ พอประทับทรงสดับไปได้สักครู่หนึ่งก็มีมหาดเล็กผู้หนึ่งคลานเข้ามากราบถวายบังคมทูลข้อความบางประการ  สังเกตเห็นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ มีสีพระพักตร์วิตกกังวลพระราชหฤทัย เมื่อมหาดเล็กกราบถวายบังคมทูลถอยออกไปแล้ว สมเด็จฯ ก็ยังคงถวายเทศน์สืบไป แต่การถวายเทศนาครั้งนี้ สังเกตเห็นสมเด็จฯ ถวายอย่างยืดยาวผิดกว่าปกติคือไม่พยายามจบ แม้จะเห็นพระอากัปกิริยาของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ  แสดงว่าทรงกังวลพระราชหฤทัยใคร่จะให้จบการถวายพระธรรมเทศนาเร็ว ๆ ก็ยังไม่ยุติ คงแสดงพระธรรมว่าด้วยทศพิธราชธรรม การฆ่าความโกรธอย่างพิสดาร

สมเด็จพระพุฒาจารย์ ถวายเทศนานานถึง ๑ นาฬิกาเศษจึงได้จบการถวายเทศนา ทั้ง ๆ ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ประทับกระวนกระวายพระราชหฤทัยอยู่อย่างนั้น เมื่อจบการแสดงธรรมแล้วจึงได้สวดพระปริตร ขณะที่สวดพระปริตรอยู่นั้น ได้ยินเสียงประโคมพิณพาทย์และดุริยางค์มาทางหมู่พระที่นั่งด้านใต้ บัดเดี๋ยวก็แลเห็นมหาดเล็กคนเก่านั่นเองเข้ามากราบถวายบังคมทูลอีกครั้งหนึ่ง

สมเด็จพระราชาคณะทั้งหมดในราชพิธีเย็นวันนั้นทราบโดยไม่ต้องไต่ถามว่าการประโคมพิณพาทย์ดุริยางค์นั้น หมายถึงพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ได้พระเจ้าลูกเธอราชธิดาอีก ๑ องค์ ที่ทราบว่าพระราชธิดาก็จากการประโคมพิณพาทย์ดุริยางค์ เพราะถ้าเป็นพระเจ้าลูกยาเธอราชโอรสจะต้องได้ยินเสียงอื่นแทน



๓.๒ ใจขาวเทศน์สั้น
แต่พระราชพิธีนั้น  รุ่งขึ้นยังมีถวายภัตตาหารและมีเทศน์ถวายอานิสงส์อีกหนึ่งกัณฑ์  สมเด็จพระพุฒาจารย์ต้องเข้ามาในพระบรมมหาราชวังอีกครั้งหนึ่ง

รุ่งขึ้นก่อนเพล ณ พระบรมมหาราชวัง บนพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ประทับบนพระราชอาสน์  เพื่อจะทรงสดับพระธรรมเทศนาถวายอานิสงส์ และมีพระประสงค์จะฟังให้ชื่นพระทัยก่อนถวายภัตตาหารเพล  แต่ตรงกันข้าม พอสมเด็จพระพุฒาจารย์ตั้งนโมเดินจุณณียบทแล้วก็ถวายพระธรรมเทศนาว่า “ธรรมะใด ๆ ที่ได้รับพระราชทานถวายวิสัชนามา มหาบพิตรพระราชสมภารเจ้า ก็ทรงทราบจนหมดสิ้นแล้ว เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้ ขอถวายพระพร”

สมเด็จฯ ยุติการถวายเทศน์สั้น ๆ เพียงแค่นั้น แล้วก็ลงจากธรรมาสน์มานั่งยังอาสน์ที่สังฆการีจัดไว้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงตรัสว่า "เมื่อวานมีกิจไม่สบายใจไม่อยากฟังเทศน์นาน   ขรัวโตก็เทศน์เสียหนึ่งนาฬิกาเศษ  วันนี้สบายใจ ตั้งใจจะฟังเทศน์ให้เต็มที่  ขรัวโตกลับจบเร็ว”   สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ถวายพระพรว่า “ขอถวายพระพร เมื่อวานนี้อาตมภาพเห็นมหาบพิตรพระราชสมภารเจ้าไม่ทรงสบายพระราชหฤทัย จึงต้องถวายพระธรรมเทศนาให้นานเพื่อจะได้กล่อมพระหฤทัยให้ทรงเกษมสำราญ  แต่วันนี้ถวายเทศนาเพียงแค่นี้ อาตมภาพเห็นว่ามหาบพิตรพระราชสมภารเจ้าทรงเกษมสำราญพระราชหฤทัยแล้ว หาจำเป็นต้องถวายพระธรรมเทศนาให้ยาวไม่ ขอถวายพระพร"

เล่ากันว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดและทรงพอพระทัยในคำถวายพระพรของสมเด็จพระพุฒจารย์เป็นอย่างยิ่ง



๓.๓ ฉศก
เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒจารย์ (โต)  ท่านมีชื่อเสียงในทางเทศน์ตัดทอนธรรมะให้ผู้ฟังเข้าใจง่ายไม่ต้องเสียเวลาไตร่ตรองสำนวน เพราะเทศน์อย่างคำไทยตรง ๆ จะเอาข้อธรรมะอะไรแสดงก็ง่ายต่อผู้ฟังดังประสงค์ อย่างที่ถวายในวังสมเด็จเจ้าฟ้ามหามาลา  ผู้ฟังชมว่าดีเกิดโอชะในธรรมสวนะได้ง่าย  โลกนิยมเทศน์อย่างนี้มาก พระธรรมกิติแสดงธรรมตามภาษาชาวบ้าน ถือเอาความเข้าใจของผู้ฟังเป็นเกณฑ์ไม่ต้องร้อยกรอง

ปีชวด ฉศก พ.ศ. ๒๔๐๗ (จ.ศ. ๑๒๒๖) ได้ถูกนิมนต์เทศน์หน้าพระที่นั่ง พอเข้าไปถึงพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็เสด็จออก จึงปราศรัยสัพยอกว่า “ว่าไงเจ้าคุณ เขาพากันชมว่าเทศน์ดีนักนี่ วันนี้ต้องลองดู” พระธรรมกิติ (โต) ถวายพระพรว่า “ผู้ที่ไม่มีความรู้เหตุผลในธรรม ครั้นเขาฟังรู้ เขาก็ชมว่าดี ขอถวายพระพร”

พระองค์ทรงพระสรวลแล้วทรงถามว่า “ได้ยินข่าวเขาว่า เจ้าคุณบอกหวยเขาถูกกันจริงหรือ” ทูลว่า “ขอถวายพระพร  อาตมภาพจะขอแถลงแจ้งคำให้การ แก้พระราชกระทู้โดยสัจจ์ว่า ตั้งแต่อาตมภาพได้อุปสมบทมา ไม่เคยออกวาจาว่าหวยจะออก ด กวางเหมงตรงๆ เหมือนดังบอก ด กวางเหมง แต่สมเด็จพระบรมบพิตร พระราชสมภารเจ้าอย่างวันนี้ ไม่ได้เคยบอกแก่ใครเลย”

ได้สดับแล้วก็ทรงพระสรวลอีก แล้วทรงจุดเทียน พระธรรมกิติจับตาลปัตรแฉกขึ้นธรรมาสน์ เมื่ออาราธนาแล้วก็ถวายศีล เสร็จแล้วถวายศักราช พอถึงปีชวดท่านก็ย้ำว่า “ฉศก ฉศก ฉศก”

สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกำลังทรงพระอักษรอยู่ได้ทรงฟัง ปีชวด ฉศก ย้ำๆ อยู่นาน ก็เงยพระพักตร์ขึ้น พนมหัตถ์รับว่า “ถูกแล้ว ชอบแล้ว เจ้าคุณ”

แต่กาลก่อนที่ล่วงมาแล้ว เดิมเลข ๖ ท้ายศักราช เขียนและอ่านต่อ ๆ มาว่า “ฉ้อศก” นั้นไม่ถูก แล้วรับสั่งกรมราชเลขาให้ตราพระราชบัญญัติออกประกาศเป็นใบปลิวให้รู้ทั่วกันทั่วพระราชอาณาจักรว่า “ตั้งแต่ปีชวด ฉศก เหมือนศกนี้มีเลข ๖ เป็นเศษท้ายไม่ให้เขียนและอ่านว่า ฉ้อศก อย่าเขียนตัว อ เคียง ไม่ให้เขียนไม้โท ลงไปเป็นอันขาด ให้เขียน ฉ เฉย ๆ ก็พอ  ถ้าเขียนและอ่านว่าฉ้อศกอีก จะต้องว่าผู้นั้นผิดและฝ่าฝืน”  กรมราชเลขาก็บันทึกและออกประกาศให้ทราบทั่วกัน และนิมนต์ท่านเทศน์ต่อไป

พระธรรมกิติก็ตั้งคัมภีร์บอกศักราชต่อจนจบถวายพระพรแล้วเดินคาถาจุณณียบทอันมีมาในพราหมณสังยุตตนิกายปาฏิกวรรคนั้น แปลถวายว่า ยังมีพราหมณ์ผู้หนึ่งแกนั่งคิดว่า “สมณํ  โคตมํ  อุปสงฺกมิตฺวา  อิมํ ปญฺหํ  ปุจฺฉามิ  อหํ กูจะเข้าไปหาพระสมณะโคดมแล้วจะถามปัญหากับเจ้าสมณะโคดมดูสักหน่อย สีสํ  นหาตฺวา  ปารุปนํ  นิวาเสตฺวา  คามโต  นิกฺขมิตฺวา  เชตวเน  มหาวิหาราภิมุโข  อคมาสิ แปลว่าโสพฺราหฺมโณ พราหมณ์ผู้นั้น  คิดฉะนี้แล้ว  แกจึงลงอาบน้ำดำเกล้า โสพฺเภ ในห้วย  แล้วแกออกจากบ้านแก  แกตั้งหน้าตรงไปพระเชตวันมหาวิหาร ถึงแล้วแกจึงตั้งคำถามขึ้นต้น  แกเรียกกระตุกให้รู้ตัวขึ้นก่อนว่า "โภ  โคตม นี่แนะพระโคดม”

ครั้นท่านว่ามาถึงคำว่า “นี่แนะพระโคดม”  เท่านี้แล้วก็กล่าวว่า คำถามของพราหมณ์และคำเฉลยของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นมีอยู่เป็นประการใด สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้าได้ทรงตรวจตราตริตรองแล้ว ก็ได้ทรงทราบแล้วทุกประการ  ดังรับประทานวิสัชนามาก็สมควรแก่เวลาแต่เพียงนี้ ขอถวายพระพร

พอยถาสัพพีแล้วก็ทรงพระสรวลตบพระหัตถ์ว่า “เทศน์เก่งจริง พวกพราหมณ์ที่เขาถือตัวว่าเขารู้มากเขาแก่มาก  เขาไม่ใคร่ยอมคำรพพระพุทธเจ้านัก  เขามาคุย ๆ ถามพอแก้รำคาญ  ต่อนาน ๆ เขาก็เชื่อในธรรม เขาก็สำเร็จเป็นพระโสดา  ที่ความดำริของพราหมณ์ผู้เจ้าลัทธิทั้งหลายเขาวางโตทุกคน  เจ้าคุณแปล อหํ ว่ากู นั้น ชอบแท้ทางความดีจริง ๆ จึงได้รับพระราชทานรางวัล ๑๖ บาท เติมท้องกัณฑ์ ๒๐ บาท  รวมเป็น ๓๖ บาท (การถวายเทศน์เรื่อง ฉศก  อย่างที่เรียงมานี้  พระปรีชาเฉลิม (แก้ว) และพระธรรมถาวร รับว่าจริง  แต่เทศน์อย่างไรนั้นลืมไป  ท่านเจ้าคุณธรรมถาวรบอกต่อว่า วันที่ถวายเทศน์ถวายฉศกนี้ และถวาย ด กวางเหมงไว้ก่อนขึ้นเทศน์ วันนั้นจำเพาะออก ด กวางเหมงจริง อย่างที่ท่านแก้พระราชกระทู้ ว่าไม่เคยบอกตัวตรง ๆ กับใคร ๆ เหมือนดังบอกสมเด็จบรมบพิตรวันนี้)
 


๓.๔ หัวล้าน - หัวเหลือง
อนึ่ง ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ สมเด็จพระพุฒจารย์ (โต) เมื่อครั้งยังเป็นพระเทพกวี เคยเทศน์คู่กับพระพิมลธรรม (ถึก) วัดพระเชตุพนฯ เสมอ เป็นคู่เทศน์ที่เผ็ดร้อนถึงอกถึงใจคนฟัง จนความทราบถึงพระกรรณพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงนิมนต์เจ้าคุณทั้ง ๒ เข้าไปเทศน์ในพระบรมมหาราชวัง ครั้งหนึ่ง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงติดเงินพระราชทานให้สลึงเฟื้อง พระเทพกวีไหวทัน หันมาบอกกับพระพิมลธรรมว่า เจ้าถึกจ๋าเจ้าถึก เจ้าถึกรู้ตัวหรือยัง พระพิมลธรรมถามว่าจะให้รู้อะไรหนาฯ อ้าวท่านเจ้าถึงยังไม่รู้ตัว โง่จริงๆ แฮะฯ   ท่านเจ้าถึกถามรุกใหญ่ว่า จะให้รู้อะไรอีก นอกคอกเปล่า ๆ พระเทพกวีว่า จะนอกคอกทำไม เรามาเทศน์กันวันนี้ในวังมิใช่หรือฯ  รับว่าในวังนั่นสิฯ ก็ในวังในคอก ในกำแพงด้วยซ้ำ รู้ไหมหล่ะฯ รู้อะไรนะฯ จงรู้เถิดจะบอกให้ว่า ท่านเจ้าถึกนั้นหัวล้านมีศรี  ฝ่ายพระเทพกวีนั้นหัวเหลือง  สมเด็จบรมบพิตรจึงทรงติดให้สลึงเฟื้องรู้ไหมฯ พอหมดคำก็ฮาครืนแร่นคึกบนพระที่นั่ง เลยให้รางวังองค์ละ ๑๐ บาท พ่อจงเอาเงินนี้มาแบ่ง จงจัดแจงให้เข้าใจ พ่อถึกหัวล้าน พ่อโตหัวเหลือง เป็นหัวละเฟื้องสองไพฯ ได้อีกฮา ได้องค์ละ ๑๐ บาท คราวนี้เจ้าจอมคึกคักกันแซ่คนเฒ่าคนแก่ยิงเหงือกยิงฟัน อ้าปากกันหวอไปหมด สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินก็ทรงพระสรวล แล้วถวายพระธรรมเทศนาปุจฉาวิสัชนาสืบไปจนจบ


๓.๕ เทศน์เมืองเขมร
ครั้นคราวหนึ่งนักองค์ด้วง เจ้าแผ่นดินเขมร กลุ้มพระทัยมีใบบอกเข้ามากราบบังคมทูลพระกรุณาให้ทรงทราบ จึงมีพระบรมราชโองการโปรดให้เผดียงสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ให้ออกไปแสดงธรรมโปรดนักองค์ด้วง ณ เมืองเขมร คราวนี้สมเด็จพระพุฒาจารย์ถึงกับบ่นที่วัดระฆังฯ ว่า สมเด็จพระนั่งกล้าฯ ก็ไม่ใช่โง่ แต่ว่าใช้ขรัวโตไม่ได้ สมเด็จพระจอมเกล้าฯ ฉลาดว่องไวกลับมาได้ใช้ขรัวโต  

ครั้นถึงวันกำหนด  ท่านก็พาพระฐานา ๔ รูป ไปลงเรือสยามูปถัมภ์ เจ้าพนักงานไปส่งถึงเมืองจันบุรีแล้วขึ้นเกวียนไปทางเมืองตราด ไปถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่งแขวงเมืองตราดนั้น เป็นตำบลที่มีเสือชุมมาก มันเผ่นเข้าขวางหน้าเกวียน เวลารอนๆ จวนค่ำ คนนำทางหน้าเกวียนจดพลองเล่นตีกับเสือจนเสือแยกเขี้ยวหื้อใส่ขนาบ คนถือพลองถอยหลังทุกที จนถึงหน้าเกวียนสมเด็จฯ คนหน้าเกวียนยกเท้ายันคนถือพลองไว้ไม่ให้ถอย

สมเด็จพระพุฒาจารย์ท่านเห็นเสือมีอำนาจดุมากจึงบอกว่าเสือเขาจะธุระกับฉันคนเดียวดอกจ๊ะ ฉันจะพูดจาขอทุเลาเสือสักคืนในที่นี้ ครั้นแล้วท่านก็ลง ส่งเกวียนส่งคนให้ไปคอยอยู่ข้างหน้า ท่านก็นอนขวางทางเสือเสีย เสือก็นอนเฝ้าท่านคืนหนึ่ง เสือก็ไปไหนไม่ได้ จะไปไล่คนอื่นก็ไปไม่ได้ ต้องเฝ้ายามสมเด็จฯ ยันรุ่ง

ครั้นเวลาเช้าท่านเชิญเสือให้กลับไปแล้วท่านลาเสือว่า ฉันลาก่อนจ๊ะเพราะมีราชกิจใช้ให้ไปจ๊ะ ว่าแล้วก็เดินตามเกวียนไปทันกัน ท่านเล่าให้พระครูปลัด (พระครูปลัดคือพระธรรมถาวร) พวกครัวก็หุงต้มเลี้ยงท่าน เลี้ยงกันเสร็จแล้วก็นิมนต์สมเด็จฯ ขึ้นเกวียนคนลาก ท่านไม่ชอบวัวควายเทียมเกวียน

ครั้นไปถึงเมืองพระตะบอง ข้าหลวงฝ่ายสยามการเข้าไปถึงกรมเมืองเขมร กรมเมืองทราบแล้วนำความทูลนักองค์ด้วงเจ้าเมืองเขมร ๆ ทรงทราบแล้ว  สั่งคนนำแคร่ออกไปรับสมเด็จฯ เข้าไปถึงวังใน  กระทำความเคารพปฏิสันถารปรนนิบัติแก่สมเด็จฯ เป็นอันดีแล้วสั่งให้จัดการเลี้ยงดูข้าหลวงและผู้คนที่เชิญสมเด็จฯ มานั้น  และให้จัดที่พักที่อยู่ตามสมควร ครั้นเวลาเช้าจัดแจงตั้งธรรมาสน์  บอกกล่าวพระยาพระเขมร ตลอดพ่อค้าคฤหบดีเขมรให้มาฟังธรรมของสมเด็จฯ จอมปราชญ์สยาม  สมเด็จพระเจ้ากรุงสยามรับสั่งโปรดให้สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) มาโปรดเขมร  เขมรทั้งหลายต่างก็ยินดีเต็มใจพร้อมใจกันมาฟังสมเด็จฯ ทุกคน

ครั้นเพลแล้วก็อาราธนาให้ขึ้นเทศน์  สมเด็จฯ ก็เลือกเฟ้นหาธรรมะนำมายกขึ้นแสดงชี้แจงและแปลแก้ไขเป็นภาษาเขมร  ให้พวกเขมรเข้าใจต่อตลอดมา  ถึงพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระเจ้ากรุงสยามด้วย  เชื่อมสาสนปสาสน์และพระรัฏฐะปสาสน์ให้กลมเกลียวกลืนกัน  เทศน์ให้ยึดโยงหยั่งถึงกัน  ชักเอาเหตุผลตามชกดกต่างๆ พระสูตรต่าง ๆ ทางพระวินัยต่างๆ อานิสงส์สันติภาพ และอานิสงส์สามัคคีธรรม นำมาปรุงเป็นเทศนากัณฑ์หนึ่ง ครั้นจบลงแล้ว นักองค์จันทร์มารดานักองค์ด้วง ได้สละราชบุตรราชธิดาบูชาธรรมและสักการะด้วยแก้วแหวนเงินทอง ผ้าผ่อน และชัชชะโภชนาหารตระการต่างๆ เขมรนอกนั้นก็เลื่อมใสเห็นจริงตามเทศนาของสมเด็จฯ ทุกคน และต่างก็เกิดความเลื่อมใสในองค์เจ้าประคุณสมเด็จฯ

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) จึงได้ฝากนางธิดากุมารีไว้กับมารดาเจ้านักองค์ด้วง รับมาแต่เจ้ากุมารชายคนเดียว นักองค์ด้วงเจ้าเมืองเขมรจึงจัดการส่งเสด็จ มีเกวียนส่งเข้ามาจนถึงเมืองตราด เจ้าเมืองตราดจัดเกวียนส่งมาถึงเมืองจันทบุรี เจ้าเมืองจันทบุรีจัดเรือใบเรือเสาธงเข้ามาถึงกรุงเทพพระมหานคร จอดหน้าวัดระฆังฯ ทีเดียว

ครั้นรุ่งเข้า สมเด็จพระพุฒาจารย์จึงเข้าไปในพระบรมมหาราชวัง เสด็จออกรับและทรงสดับรายงานการไปและไปถึงแล้ว เจ้าเขมรยินดีรับรองเลื่อมใสได้เทศน์โปรดด้วยข้อนั้น นำข้อนั้นเทียบข้อนั้นให้เจ้าเขมรเข้าใจด้วยนัยอย่างนั้น ลงมติอย่างนั้นตลอดเสนาเขมรทั่วถึงกัน เขมรบูชาธรรมเป็นธรรมพลี บรรณาการมาอย่างนั้นเท่านั้น ของเท่านั้นๆ ให้ทรงถวายโดยละเอียดทุกประการ

สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงทราบรายงานของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) บรรยายถวายเป็นที่พอพระราชหฤทัยยิ่งนัก ทรงนิยมชมเชยความสามารถของสมเด็จพระพุฒาจารย์ จึงทรงปวารณาว่าเจ้าคุณประสงค์สิ่งอะไร พอที่โยมจะอนุญาตได้โยมก็จะถวายแล้วก็เสด็จขึ้น  สมเด็จพระพุฒาจารย์ก็กลับวัดระฆัง



๓.๖ นักษัตร-อริยสัจ
ท่านพระยาผู้หนึ่งเคยนิมนต์พระมาแสดงพระธรรมเทศนาให้ฟังอยู่เนืองๆ ที่บ้านของท่าน  วันหนึ่งท่านคิดอยากฟังเทศน์จตุราริยสัจ จึงใช้บ่าวคนหนึ่งว่า เจ้าจงไปนิมนต์เจ้าประคุณสมเด็จฯ ที่วัดระฆังฯ มาเทศน์จตุราริยสัจสักกัณฑ์หนึ่งในค่ำวันนี้  ท่านหาได้เขียนฎีกาบอกชื่ออริยสัจให้บ่าวไปไม่  บ่าวก็รับคำสั่งไปนิมนต์เจ้าประคุณสมเด็จฯ ที่วัดว่า เจ้าคุณที่บ้านให้มาอาราธนาเจ้าประคุณไปแสดงพระธรรมที่บ้านค่ำวันนี้ เจ้าประคุณสมเด็จฯ ถึงถามว่า ท่านจะให้เทศน์เรื่องอะไร บ่าวลืมชื่ออริยสัจเสียจำไม่ได้ จึงคะเนได้แต่ว่า ๑๒ นักษัตร จึงกราบเรียนว่า ๑๒ นักษัตรขอรับกระผม แล้วก็กราบลาลงมา

ฝ่ายเจ้าประคุณสมเด็จฯ ก็คิดว่า เห็นท่านพระยาจะให้เทศน์อริยสัจแต่บ่าวลืมชื่อไปจึงมาบอกว่า ๑๒ นักษัตรดังนี้ พอถึงเวลาค่ำท่านก็มีลูกศิษย์ตามไป เข้าไปแสดงธรรมเทศนาที่บ้านท่านพระยาผู้นั้น มีพวกอุบาสกอุบาสิกามาคอยฟังอยู่ด้วยกันมาก เจ้าประคุณสมเด็จจึงขึ้นธรรมาสน์ ให้ศีลบอกศักราช แลตั้งนะโม ๓ หน จบแล้วจึงว่าจุณณียบทสิบสองนักษัตรว่ามุสิโก อุสโภ พยคฺโฆ สโส นาโค สปฺโป อสฺโส เอฬโก มกฺกโฏ กุกฺกุโฏ สุนโข สุกโร   แปลเป็นภาษาไทยว่า มุสิโก หนู, อุสโภ  วัวผู้, พยคฺโฆ  เสือ, สโส กระต่าย,  นาโค  งูใหญ่, สปฺโป งูเล็ก อสฺโส  ม้า, เอฬโก แพะ, กฺกโฏ  ลิง,  กุกฺกุโฏ  ไก่, สุนโข  สุนัข, และ สุกโร  สุกร

ฝ่ายท่านพระยาเจ้าของกัณฑ์กับพวกสัปบุรุษทายกทายิกา ก็มีความสงสัยว่า ทำไมเจ้าประคุณสมเด็จฯ จึงมาเทศน์ ๑๒ นักษัตรดังนี้เล่า แลสงสัยว่าบ่าวจะไปนิมนต์ท่าน เรียกชื่ออริยสัจผิดไปดอกกระมัง  ท่านเจ้าพระยาจึงเรียกบ่าวคนนั้นเข้ามาถามว่า เจ้าไปนิมนต์เจ้าประคุณสมเด็จเทศน์เรื่องอะไร  บ่าวก็กราบเรียนว่า นิมนต์เทศน์เรื่อง ๑๒ นักษัตรขอรับผม ท่านเจ้าพระยาจึงว่านั่นประไรเล่า เจ้าลืมชื่ออริยสัจไปเสียแล้วไปคว้าเอา ๑๒ นักษัตรเข้า ท่านจึงมาเทศน์ตามเจ้านิมนต์นั่นซิ

ฝ่ายเจ้าประคุณสมเด็จฯ ก็เป็นผู้ฉลาดเทศน์ ท่านจึงอธิบาย บรรยายหน้าธรรมาสน์ว่า อาตมภาพก็นึกอยู่แล้วว่า ผู้ไปนิมนต์จะลืมชื่ออริยสัจเสีย ไปบอกว่าท่านให้นิมนต์เทศน์ ๑๒ นักษัตร  อาตมภาพก็เห็นว่า ๑๒ นักษัตรนี้คือเป็นต้นทางของอริยสัจแท้ทีเดียว ยากที่บุคคลจะได้ฟังธรรมเทศนาเรื่อง ๑๒ นักษัตรสักครั้งสักหน  เทศน์ที่ไหน ๆ ก็มีแต่เทศน์อริยสัจทั้งนั้น ไม่มีใครจะเทศน์ ๑๒ นักษัตรสักครั้งสักหน ไม่มีใครจะเทศน์ ๑๒ นักษัตรสู่กันฟังเลย  ครั้งนี้เป็นบุญลาภของท่านเจ้าพระยาเป็นมหัศจรรย์  เทพเจ้าผู้รักษาพระพุทธศาสนา จึงได้ดลบันดาลให้ผู้รับใช้เคลิบเคลิ้มไปให้บอกว่าเทศน์ ๑๒ นักษัตรดังนี้  อาตมาก็มาเทศน์ตามผู้นิมนต์เพื่อจะให้สาธุชนและท่านเจ้าพระยาเจ้าของกัณฑ์ได้ฟังธรรมเทศนาเรื่อง ๑๒ นักษัตรอันเป็นต้นทางของอริยสัจทั้ง ๔ จะได้ธรรมสวนานิสงส์อันล้ำเลิศซึ่งจะพาให้ก่อเกิดปัจจเวกขณญาณในอริยสัจทั้ง ๔

แท้จริงธรรมเนียมนับปี เดือน วัน คืนนี้ นักปราชญ์ผู้รู้โหราศาสตร์แต่ครั้งโบราณ ต้นปฐมกาลในชมพูทวีปบัญญัติตั้งแต่งไว้ คือกำหนดหมายเอาชื่อดวงดาราในอากาศเวหาตั้งเป็นชื่อปี เดือน วัน ดังนี้
      (๑) หมายเอาชื่อดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดาวอังคาร ดาวพุธ ดาวพฤหัสบดี ดาวศุกร์ ดาวเสาร์ รวม ๗ ดวง มาตั้งชื่อวันทั้ง ๗ วัน และให้นับเวียนไปเวียนมาทุกเดือนทุกปี
      (๒) หมายเอาชื่อดวงดาวรูปสัตว์และดาวรูปสิ่งอื่น ๆ มาตั้งเป็นชื่อเดือนทั้งสิบสองเดือน มีดังนี้คือ
            เดือนเมษายน   ดาวรูปแพะ
            เดือนพฤษภาคม  ดาวรูปวัวผู้
            เดือนมิถุนายน  ดาวรูปคนคู่หนึ่ง
            เดือนกรกฎาคม  ดาวรูปปูป่าหรือปูทะเล
            เดือนสิงหาคม  ดาวรูปราชสีห์
            เดือนกันยายน  ดาวรูปนางสาวที่น่ารักใคร่
            เดือนตุลาคม  ดาวรูปคันชั่ง
            เดือนพฤศจิกายน  ดาวรูปแมลงป่อง
            เดือนธันวาคม  ดาวรูปธนู
            เดือนมกราคม  ดาวรูปมังกร
            เดือนกุมภาพันธ์  ดาวรูปหม้อ (จะเข้)
            เดือนมีนาคม  ดาวรูปปลา (ตะเพียน)
            รวมเป็น ๑๒ ดาว  หมายเป็นชื่อ ๑๒ เดือน
       (๓) หมายเอาดาวรูปสัตว์ ๑๒ ดาวที่ประทับอยู่ในท้องฟ้าอากาศเป็นชื่อปีทั้ง ๑๒ ดังนี้คือ
            ปีชวด  ดาวรูปหนู
            ปีฉลู  ดาวรูปวัวตัวผู้
            ปีขาล  ดาวรูปเสือ
            ปีเถาะ  ดาวรูปกระต่าย
            ปีมะโรง  ดาวรูปงูใหญ่ คือ นาค
            ปีมะเส็ง  ดาวรูปงูเล็ก คือ งูธรรมดา
            ปีมะเมีย  ดาวรูปม้า
            ปีมะแม  ดาวรูปแพะ
            ปีวอก  ดาวรูปลิง
            ปีระกา  ดาวรูปไก่
            ปีจอ  ดาวรูปสุนัข
            ปีกุน  ดาวรูปสุกร
รวมเป็นชื่อดาวรูปสัตว์ ๑๒ ดวง ตั้งชื่อเป็นปี ๑๒ ปี  ใช้เป็นธรรมเนียมเยี่ยงอย่างนับปีเดือนวันนี้คืนนี้ เป็นวิธีกำหนดนับอายุกาลแห่งสรรพสัตว์ในโลกทั่วไป ที่นับเป็นของใหญ่ ๆ ก็คือนับอายุโลกธาตุ นับเป็นอันตรกัลป์  มหากัลป์  ภัทรกัลป์ เป็นต้น แลนับอายุชนเป็นรอบ ๆ คือ ๑๒ ปี เรียกว่ารอบหนึ่ง แล ๑๒ รอบ เป็น ๑๔๔ ปี  แต่มนุษย์เราเกิดมาในกลียุคนี้ กำหนดอายุขัยเพียง ๑๐๐ ปี แลในทุกวันนี้อายุมนุษย์ก็ลดถอยลงน้อยกว่า ๑๐๐ ปีก็มีมาก  ที่มีอายุกว่า ๑๕๐ ปี หรือ ๒๐๐ ปี ก็มีบ้างในบางประเทศตามจดหมายเหตุของประเทศต่าง ๆ ได้กล่าวมา แต่มีเป็นพิเศษแห่งละ ๑ คน  ๒ คน  หรือ ๓ คน  ๔ คนเท่านั้น หาเสมอทั่วกันไปไม่  แต่ที่อายุต่ำกว่า ๑๐๐ ปี ลงมานั้น มีทั่วกันไปทุกประเทศ  จึงเป็นที่สังเกตได้ว่าคำเรียกว่ากลียุคนี้เป็นภาษาพราหมณ์ชาวชมพูทวีป  แปลว่าคราวชั่วร้าย คือสัตว์เกิดมาภายหลังอันเป็นครั้งคราวชั่วร้ายนี้ย่อมทำบาปอกุศลมากจนถึงอายุสัตว์ลดน้อยถอยลงมาก

ด้วยสัตว์ที่เกิดในโลกต้นกัลป์นั้นเห็นจะมากไปด้วยเมตตากรุณาแก่กันและกันชักชวนกันทำบุญกุศลมาก  อายุจึงยืนหลายพันหลายหมื่นปี แต่ยังจะต่อลงไปข้างปลายโลก  บางทีสัตว์จะทำบาปอกุศลยิ่งกว่านี้  อายุสัตว์บางทีก็จะเรียวน้อยถอยลงไปจนถึง ๑๐ ปีเป็นขัย แลสัตว์มีอายุเพียง ๕ ปี จะแต่งงานเป็นสามีภรรยาต่อกันก็อาจจะเป็นไปได้ แลในสมัยเช่นนั้น อาจจะเกิดมิคสัญญี ขาดเมตตาต่อกันและกันอย่างประหนึ่งว่านายพรานสำคัญในเนื้อ จะฆ่าฟันกันตายลงเกลื่อนกลาด ดังมัจฉาชาติต้องยาพิษทั่วไปในโลก แต่สัตว์ที่เหลือตายนั้นจะกลับบ่ายหน้าเข้าหาบุญก่อสร้างการกุศล ฝูงคนในครั้งนั้นจะกลับมีอายุยืนยิ่งๆ ขึ้นไป จนอายุตลอดอสงไขย  ซึ่งแปลว่านับไม่ได้ นับไม่ถ้วน ภายหลังสัตว์ทั้งปวงก็กลับตั้งอยู่ในความประมาทก่อสร้างบาปอกุศลครุ่นๆ ไปอีกเล่า อายุสัตว์ก็กลับลดน้อยถอยลงมาอีก  ตามธรรมดาของโลกเป็นไปดังนี้

สมเด็จพระพุทธเจ้าของเรา ผู้เป็นพระสัพพัญญูตรัสรู้แจ้งในธรรมทั้งปวง  พระองค์ทรงแสดงธรรมที่จริง ๔ ประการไว้ให้สัตว์ทั้งหลายรู้แจ้งคือ (๑) ความทุกข์มีจริง (๒) สิ่งที่ให้เกิดทุกข์มีจริง (๓) ธรรมเป็นที่ดับทุกข์มีจริง (๔) ข้อปฏิบัติให้ถึงธรรมเป็นที่ดับทุกข์มีจริง นี่แลเรียกว่าอริสัจ ๔ คือเป็นความจริง ๔ ประการ ซึ่งเพิ่มอริยะเข้าอีกคำหนึ่งนั้น คือ อริยะ แปลว่า พระผู้รู้ประเสริฐอย่างหนึ่ง พระผู้ไกลจากกิเลสอย่างหนึ่ง รวมอริยะและสัจจะสองคำเป็นคำเดียวกัน เรียกว่า อริยสัจ แลเติมจตุรสังขยานามเข้าอีกคำหนึ่ง  แลแปลงตัว  สระอะ  เป็นตัว สระอา  เพื่อจะให้เรียกเพราะสละสลวยแก่ลิ้นว่า จตุราริยสัจ  แปลว่า ความจริงของพระอริยเจ้า ๔ อย่าง  ซึ่งท่านอ้างว่าความจริง ๔ อย่างนี้เป็นของพระอริยะนั้น อธิบายว่า ต่อเป็นพระอริยเจ้าจึงจะเห็นจริง คือพระอริยเจ้าเห็นว่า ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ซึ่งสัตว์เวียนว่ายทนรับความลำบากอยู่ในวัฏสงสารเป็นความทุกข์จริง  ตัณหา คือ ความอยาก ความดิ้นรน ของสัตว์นั้น ให้เกิดความทุกข์จริง พระอมตมหานิพพาน ไม่มีเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นที่ดับทุกข์จริงและสุขจริง  ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์มีจริง

พระอริยเจ้ามีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ย่อมเห็นจริงแจ้งประจักษ์ในธรรม ๔ อย่างดังนี้ แลสั่งสอนสัตว์ให้รู้ความจริงเพื่อจะให้ละทุกข์เข้าหาความสุขที่แท้จริง  แต่ฝ่ายปุถุชนนั้นเห็นจริงบ้างแต่เล็กน้อย ไม่เห็นความจริงแจ้งประจักษ์เหมือนอย่างพระอริยเจ้าทั้งปวง พวกปุถุชนเคยเห็นกลับไปว่า เกิดแล้วตายๆ แล้วเกิดก็ดี ไม่เป็นทุกข์อะไรนัก บ้างก็ว่าเจ็บก็เจ็บ สนุกก็สนุก ทุกข์ก็ทุกข์ สุขก็สุข จะกลัวทุกข์ทำไม  บ้างก็ว่าถ้าตายแล้วเกิดใหม่ได้เกิดที่ดีๆ เป็นท้าวพระยามหาเศรษฐีมั่งมีทรัพย์สมบัติมากมายแล้วก็หากลัวทุกข์อะไรไม่ ขอแต่อย่าให้ยากจนเท่านั้น  บ้างก็ว่าตายแล้วไปเกิดในสวรรค์ได้เสวยทิพยสมบัติมีนางฟ้านับพันแวดล้อมเป็นบริวารเป็นสุขสำราญชื่นอกชื่นใจดังนั้นแล้ว ถึงจะตายบ่อยๆ ก็ไม่กลัวทุกข์กลัวร้อนอะไร  บ้างก็ว่าถ้าไปอมตมหานิพพาน ไปนอนเป็นสุขอยู่นมนานแต่ผู้เดียวไม่มีคู่เคียงเรียงหมอนจะนอนด้วยแล้ว เขาก็ไม่อยากจะไป เขาเห็นว่าอยู่เพียงเมืองมนุษย์กับเมืองสวรรค์เท่านั้นดีกว่า เขาหาอยากไปหาสุขในนิพพานไม่ พวกปุถุชนที่เป็นโลกียชนย่อมเห็นไปดังนี้

นี่แลการฟังเทศน์อริยสัจให้รู้ความจริงและเห็นธรรมที่ดับทุกข์เป็นสุขจริงของพระอริยเจ้าทั้ง ๔ อย่างนั้น แต่ก็ควรฟังเทศน์เรื่อง ๑๒ นักษัตรเสียก่อน จะได้เห็นว่า วัน คืน เดือน ปี ซึ่งเป็นอายุของเรา ย่อมล่วงไปทุกวันทุกเวลา ประเดี๋ยวก็เกิด ประเดี๋ยวก็แก่ ประเดี๋ยวก็เจ็บ ประเดี๋ยวก็ตาย เราเวียนวนทนทุกข์ อยู่ด้วยความลำบาก ๔ อย่างนี้แลไม่รู้สิ้นรู้สุด เมื่อเราสลดใจเบื่อหน่ายต่อความเกิดแก่เจ็บตายในโลกแล้ว เราก็ควรรีบเร่งก่อสร้างบุญกุศลจนกว่าจะได้มีบารมีแก่กล้าจะได้ความสุขในสวรรค์แลความสุขในอมตมหานิพพานในภายหน้าซึ่งไม่มีความเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นสุขเที่ยงแท้ถาวรอย่างเดียวไม่มีทุกข์มาเจือปนเลย  แลเรื่อง ๑๒ นักษัตร คือ ดาวชื่อเดือน ๑๒ ดาว และดาวชื่อปี ๑๒ ปี และดาวชื่อวันทั้ง ๗ วันนี้ เป็นที่นับอายุของเราไม่ให้ประมาทแลให้คิดพิจารณาเห็นความจริงในอริยสัจทั้ง ๔ ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงสั่งสอนเราไว้ให้รูตามนั้นทีเดียว  สาธุชนทั้งหลายผู้มาได้ฟังพระธรรมเทศนาเรื่อง ๑๒ นักษัตรกับอริยสัจ ๔ ด้วยในเวลานี้ ไม่ควรจะโทมนัสเสียใจต่อผู้ไปนิมนต์ ควรจะชื่นชมโสมนัสต่อผู้รับใช้ไปนิมนต์อาตมภาพมาเทศน์ด้วย ถ้าไม่ได้อาศัยผู้นิมนต์เป็นต้นเป็นเหตุดังนี้แล้ว ที่ไหนจะได้ฟังธรรมเทศนาเรื่อง ๑๒ นักษัตรเล่า ควรจะโมทนาสาธุการ อวยพรแก่ผู้ไปนิมนต์จงมาก เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้

ฝ่ายท่านพระยาเจ้าของกัณฑ์กับสัปบุรุษทายกทั้งปวงได้ฟังธรรมเทศนาเรื่อง ๑๒ นักษัตรกับอริยสัจ ๔ ของเจ้าประคุณสมเด็จฯ แล้ว ต่างก็ชื่นชมยินดีหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส บ้างก็ยิ้มน้อยยิ้มใหญ่ไม่ใคร่จะวายยิ้มเลยแทบทุกคน ท่านพระยาเจ้าของกัณฑ์จึงว่าข้าขอบใจเจ้าคนไปนิมนต์ ขอให้เจ้าได้บุญมากๆ ด้วยกันเถิดฯ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30 กรกฎาคม 2557 19:46:22 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5376


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: 23 ธันวาคม 2555 14:48:15 »

.
ข้อความต่อไปนี้ คัดจาก หนังสือ "ประวัติเจ้าประคุณ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต  พฺรหฺมรํสี)"
วัดระฆังโฆสิตาราม จัดพิมพ์เผยแพร่และสงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ (ยกเว้นพิมพ์เพื่อเป็นธรรมทาน)
จึงแจ้งมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน
- www.sookjai.com



รูปหล่อเจ้าขรัวแสง วัดมณีชลขันณฑ์ กับ รูปหล่อเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)
ประดิษฐานในวิหารวัดมณีชลขัณฑ์ ตำบลพรหมมาสตร์ อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี
“คนทั้งปวงเขาพากันสร้างรูปของข้าทั่วแผ่นดิน  แต่จะหาใครคิดสร้างรูปของอาจารย์ข้า น้อยเหลือเกินฯ  
...ที่มีขรัวโตได้ในวันนี้ ก็เพราะข้ามีอาจารย์แสงเป็นอาจารย์ของข้านี้เอง..”

๓.๗ ได้สลึงเฟื้อง
เมื่อแผ่นดินสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ยายคุณท้าวแฟงเก็บตลาด (เลี้ยงโสเภณี) เอาผลกำไรได้มาก แกรู้ว่าในหลวงทรงโปรดทำบุญสร้างวัด แกจึงสร้างวัดด้วยเงินรายได้ของแกไว้ที่ในตรอกแขวงพระนคร ครั้นวัดเสร็จแล้วแกทูลขอพระราชทานนาม  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า “วัดคณิกาผล” แกจึงนิมนต์พระมหาโตไปเทศน์ฉลอง พระมหาโตเทศน์ว่าเจ้าภาพคิดเพื่อเหตุเช่นนี้ ทำด้วยผลทุนรอนอย่างนี้ย่อมได้อานิสงส์สลึงเฟื้อง  เช่น ตากับยายฝังเงินเฟื้องไว้ที่ศิลารองหน้าบันได เงินสลึงเฟื้องหนีไปเข้าคลังเศรษฐี ไปติดอยู่กับเงินก้อนใหญ่ของเศรษฐี  ตาจึงขุดตามรอยที่เงินหนีไปเข้าไปจนถึงบ้านเศรษฐี เศรษฐีจึงห้ามมิให้ขุด ตาก็จะขุดให้ได้ อ้างว่าจะขุดตามอ้ายน้อยไปหาอ้ายใหญ่ เศรษฐีจึงถามว่า อ้ายน้อยคืออะไร ตาก็บอกว่า อ้ายน้อยคือเงินที่เทวดาให้ผมสลึงเฟื้อง เศรษฐีมั่นใจว่า เงินในคลังมีแต่ก้อนใหญ่ ๆ ทั้งนั้น เงินย่อยหามีไม่ จึงท้าตาว่า ถ้าขุดตามได้เงินสลึงเฟื้อง เราจะทำขวัญให้ตาหนักเท่าตัว ถ้าขุดตามไม่ได้จะเอาเรื่องกลับฐานเป็นคนร้ายบุกรุก  ตาก็ยินยอมเลยขุดต่อไปได้พบเงินสลึงเฟื้อง คลานเข้าไปกอดกับเงินก้อนใหญ่ของเศรษฐีอยู่  เศรษฐีก็ยอมให้ตาปรับตามที่ตกลงกันไว้  ครั้นเอาตัวตาขึ้นตราชั่ง  ก็ได้น้ำหนักเพียงแค่สลึงเฟื้องตามที่เทวดาเคยชั่งให้  ด้วยผลบุญที่ตั้งค่าไว้น้อย ตั้งมูลไว้ผิดฐาน ดังเจ้าของวัดนี้ สร้างลงไปจนแล้วเป็นการดี แต่ฐานตั้งไม่ถูกบุญใหญ่  ผลจึงใหญ่ไปไม่ได้  คงได้สลึงเฟื้องของเศษบุญเท่านั้น

เจ้าของวัดขัดใจโกรธจัดจนหน้าแดง แกเกือบจะด่าเสียอีก แต่เกรงจะหมิ่นประมาท แกประเคนเครื่องกัณฑ์กระแทก ๆ ดังกุกกักใหญ่  แกขึ้นไปเชิญเสด็จทูลกระหม่อมพระมาประทานธรรมบอกอานิสงส์บ้างต่ออีกกัณฑ์  ทูลกระหม่อมทรงแสดงถึงจิตของบุคคลทำกุศลว่า ถ้าทำด้วยจิตผ่องใสไม่ขุ่นมัวจะได้ผลมาก  ถ้าทำด้วยจิตขุ่นมัวย่อมได้ผลน้อย  ดังเช่น สร้างวัดนี้ด้วยเงินขุ่นมัวทั้งนั้น  แต่ท่านมหาโตชักนิทานเรื่องทุคคะตะบุรุษ ที่ทำกุศลเศร้าหมองไว้แต่บุเรชาติ  ครั้นมาชาตินี้ได้อัตภาพเป็นมนุษย์เหมือนเขา แต่ยากจนจึงได้ไปอ้อนขอเงินเทวดาที่ต้นไม้ใหญ่  เทวดารำคาญจึงชั่งตัวบุรุษนั้นแล้วให้เงินตามน้ำหนัก ครั้นจะให้น้อยก็จะว่าแกล้งให้  ครั้นจะให้มากก็ไม่เห็นมีบุญคุณควรจะได้มาก  เทวดาจึงชั่งตัวให้เขาจะได้สิ้นธุระต่อว่าต่อขาน ชั่งให้ตามน้ำหนักตัว เป็นอันหมดแง่ที่จะต้องค้อนติงต่อ

การที่ว่าผลแห่งบุญจะอำนวยเพียงเล็กน้อยคือท่านแบ่งผลบุญเป็น ๘ ส่วน คงได้ผลแต่เพียง ๓ ส่วน เหมือนเงิน ๑ บาท แปดเฟื้องโว้งเว้ง หายไปเสีย ๕ เฟื้อง คือ ๕ ส่วน คงได้แต่ ๓ ส่วน  นี่ยังดีนักทีเดียว  ถ้าเป็นความเห็นของข้าพเจ้าแล้วคงจะตัดสินให้ได้บุญเพียงสองไพเท่านั้น ในการสร้างวัดด้วยวิธีคิดในใจไว้แต่เดิมเท่านี้ มีดีเท่านี้ เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้



๓.๘ ความโกรธไม่ดีมีแต่เสีย
การจะนิมนต์สมเด็จฯ ไปเทศน์ ถ้ากำหนดเวลาท่านไม่รับ หากไม่กำหนดเวลาท่านรับทุกแห่ง ตามแต่ท่านจะไปถึง  คราวหนึ่งเขานิมนต์ไปเทศน์ที่วัดหนึ่งในคลองมอญ  สมเด็จฯ ไปถึงแต่เช้าเจ้าภาพก็เลยต้องให้มีเทศน์พิเศษขึ้นอีกกัณฑ์หนึ่ง  เพราะกำหนดเวลาเอาไว้ว่าจะมีเทศน์คู่ตอนฉันเพลแล้ว พอ ๔ โมงกว่า พระพิมลธรรม (ถึก) คู่เทศน์ก็ไปถึง สมเด็จก็หยุดลงฉันเพล  ครั้นฉันแล้วก็ขึ้นเทศน์  สมเด็จฯ ถามท่านเจ้าถึก ท่านเจ้าถึกติดเลยนิ่ง สมเด็จฯ บอกกล่าวสัปบุรุษว่า ดูนะดูเถิดจ๊ะ ท่านเจ้าถึกเขาอิจฉาฉัน เขาเห็นฉันเทศน์ ๒ กัณฑ์  เขาเทศน์ยังมิได้สักกัณฑ์ เขาจึงอิจฉาฉัน ฉันถามเขา เขาจึงไม่พูด ถามไปไม่ตอบนิ่งอม...ได้ยินว่าทายกเขาจัดเครื่องกัณฑ์ให้ท่านเจ้าถึกได้เท่ากับ ๒ กัณฑ์เท่ากัน ท่านเจ้าถึกจึงถามบ้างว่า เจ้าคุณ โทโสเป็นกิเลสสำคัญพาเอาเจ้าของต้องเสียทรัพย์ เสียชื่อเสียเงินทอง เสียน้องเสียพี่ เสียที่เสียทาง เสียอย่างเสียธรรมเนียม เสียเหลี่ยม เสียแต้ม ก็เพราะลุแก่อำนาจโทโส ให้โทษให้ทุกข์แก่เจ้าของมากนักก็ลักษณะแรก โทโสจะเกิดขึ้นเกิดตรงที่ไหนก่อนนะขอรับ ขอให้แก้ให้ขาว

สมเด็จฯ นั่งหลับ กรนเสียด้วย ทำเป็นไม่ได้ยินคำถาม ท่านเจ้าถึกก็ถามซ้ำอีก ๒-๓ ครั้ง สมเด็จฯ ก็นิ่งเฉย ท่านเจ้าถึกชักฉิวตวาดแหวออกมาว่า ถามแล้วไม่ฟังนั่งหลับใน ท่านเจ้าถึกตวาดซ้ำไป สมเด็จฯ ตกใจตื่น แล้วด่าออกไปด้วยว่า อ้ายเปรต อ้ายกาก อ้ายห่า อ้ายถึก กวนคนนอนหลับ

ท่านเจ้าถึกมีพื้นฉิวอยู่ก่อนแล้ว ครั้นถูกด่าเสียเกียรติในที่ประชุมชนเช่นนั้นก็ชักโกรธฉิวลืมสังวร จึงจับกระโถนปามาตรงสมเด็จฯ ท่านนั่งภาวนากันตัวอยู่กระโถนไพล่ไปโดนเสาศาลา กระโถนแตกดังเปรี้ยง สมเด็จฯ เทศน์ผสมซ้ำแก้ลักษณะโทโสว่า สัปบุรุษดูซิเห็นไหมๆ เจ้าคุณพิมลธรรมองค์นี้ท่านดีแต่ชอบคำพูดเพราะ ๆ แต่พอได้รับเสียงด่าก็เกิดโทโสโอหังเพราะอนิฏฐารมณ์ รูปร่างที่ไม่อยากดูมากระทบนัยน์ตา เสียงไม่น่าฟังมากระทบหู กลิ่นที่ไม่น่าดมมากระทบจมูก รสที่ไม่น่ากินมากระทบลิ้น สัมผัสความกระทบถูกมากระทบถึงกาย ความคิดที่ไม่สมคิดผิดหมายมากระทบใจให้เป็นมูลมารับเกิดสัมผัสสชาเวทนาขึ้นภายใน สำรวมไม่ทันจึงดันออกข้างนอกให้คนอื่นรู้ว่าเขาโกรธดังเช่นเจ้าคุณพิมลธรรมเป็นตัวอย่าง ถ้าเขายอท่านว่าพระเดชพระคุณแล้ว ท่านยิ้ม พอเขาด่าก็โกรธ โทโสเกิดในทวาร ๖ เพราะถูกกระทบกระเทือนสิ่งที่เป็นอนิฏฐารมณ์ ไม่พอใจก็เกิดโกรธ  แต่โทโสก็ไม่มีอำนาจกดขี่เจ้าของเลย เว้นแต่เจ้าของโง่เผลอสติเช่นพระพิมลธรรมถึกนี้โทโสกดขี้ได้ ถ้าฉลาดแล้วระวังตั้งสติไม่พลุ่มพล่าม โทโสเป็นสหชาติเกิดดับด้วยจิต ไม่ได้ติดอยู่กับใจ ถึงเป็นรากเหง้าเค้ามูลก็จริง  แต่เจ้าของไม่นำพาหรือคอยห้ามปรามข่มขู่ไว้โทโสก็ไม่เกิดขึ้นได้ เปรียบเช่นพืชพันธุ์เครื่องเพาะปลูก เจ้าของอย่าเอาไปดองอย่าเอาไปแช่  อย่าเอาไปหมักในที่ฉ่ำแฉะแล้วเครื่องพืชพันธุ์เพาะปลูกทั้งปวงไม่ถูกชื้นแล้วงอกไม่ได้โทโสก็เช่นกัน ถ้าไม่รับให้กระทบถูกแล้ว โทโสก็ไม่เกิดขึ้นได้ ดูแต่ท่านเจ้าถึกเป็นตัวอย่าง ตัวท่านเป็นเพศพระครั้นท่านขาดสังวร ท่านก็กลายเป็นโพระ กระโถนเลยพลอยแตกดังโพล๊ะเพราะโทโส ท่านรับรองยึดถือทำให้มูลแฉะขึ้น จงจำไว้ทุกคนเทอญ



๓.๙ ลืมโศก
ในครั้งหนึ่ง หม่อมชั้นเล็ก คนโปรดของสมเด็จเจ้าพระยามหาศรีสุริยวงศ์ ผู้สำเร็จราชการ ถึงอนิจกรรมลง ท่านรักหม่อมชั้นเล็กมาก ถึงกับโศกาไม่ค่อยสร่าง จึงใช้ให้ทนายไปอาราธนาสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) วัดระฆังฯ  ให้ไปเทศน์ตัดโศกให้ท่านฟัง  ทนายก็ไปอาราธนาว่า “ฯพณฯ หัวเจ้าท่านให้อาราธนาพระเดชพระคุณไปแสดงธรรมแก้โศกให้ ฯพณฯ ท่านฟังขอรับกระผม  ในวันนี้เพลแล้วขอรับกระผม”

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) รับว่า “จ๊ะ เรื่องเทศน์แก้โศกนั้น ฉันยินดีเทศน์นักจ๊ะ ฉันจะไปจ๊ะ” ครั้นถึงเวลา สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ก็ลงเรือกาบสีไปถึงบ้านสมเด็จเจ้าพระยามหาศรีสุริยวงศ์ นั่งที่บัญญัติอาสน์ ข้างฝ่ายสมเด็จเจ้าพระยาฯ ก็ออกมารับสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ปฏิสันถารกันแล้วก็จุดเทียน สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ขึ้นธรรมาสน์ให้ศีลบอกศักราชแล้วถวายพรแล้วก็เริ่มนิกเขปบทที่เป็นทำนองเส้นเหล้าในกัณฑ์ชูชกว่า  “ตทา กลิงฺครฏฺเฐ  ทุนฺนวิฏฺฐพฺราหฺมณวาสี  ชูชโก  นาม  พฺราหฺมโณ ฯเปฯ  ตสฺส อทาสิ”  แปลความหมายว่า “ตทา กาเล”  ในกาลเมื่อสมเด็จพระบรมหน่อชินวงศ์วิษณุเวทฯ กล่าวถึงกำเนิดชูชก  ของท่านว่าผูกขึ้นใหม่ขบขันคมสันมาก เพราะแหล่ออกแบบต้องขำอยู่เองและแลเห็นความเป็นจริงเสียด้วย

คราวนั้น สมเด็จเจ้าพระยาฯ ยิ้มแป้น พวกหม่อมฯ เหล่านั้น และคนผู้ใหญ่ ผู้หญิง เด็ก ทนาย ข้าราชการฟังเป็นอันมากก็พากันยิ้มแป้นไปถ้วนทั่วทุกคน ครั้นพอถึงแหล่ขอทาน  แหล่ทวนทอ  แหล่พานาง คราวนี้ถึงกับหัวเราะกันจนท้องคัดท้องแข็ง  ส่วนสมเด็จเจ้าพระยาฯ เองก็หัวเราะถึงกับออกวาจาว่าสนุกดีจริง

ขุนนางและทนายหน้าหอ พนักงานเหล่านั้นลืมเกรงสมเด็จเจ้าพระยาฯ  สมเด็จฯ ท่านก็ลืมโศกคิดถึงหม่อมเล็ก ตั้งกองหัวเราะก๊าก ก๊าก กันไปทั้งบ้าน เทศน์ไปถึงแหล่เชิญแหล่จบก็จบกัน ลงท้ายเหนื่อยไปตามกัน รุ่งขึ้นที่บ้านนั้นก็ลือกันแต่ชูชกที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) เทศน์  ฝ่ายสมเด็จเจ้าพระยาฯ ก็ลืมโศก ชักคุยแต่เรื่องชูชกตรงนั้นผู้นั้นแต่ง ไม่มีใครร้องไห้ถึงหม่อมชั้นเล็กอีกนาน



๓.๑๐ บอกราคาค่าเทศน์
มีหญิงหม้ายคนหนึ่งอยู่ตำบลช่างหล่อ จังหวัดธนบุรี ได้นิมนต์เจ้าประคุณสมเด็จฯ ไปเทศน์ที่บ้าน ก่อนแต่จะเทศน์หญิงคนนั้นได้เอาเงินติดกัณฑ์เทศน์ ๑๐๐ บาท  พร้อมกับกราบเรียนว่า “ขอให้พระเดชพระคุณเทศน์ให้เพราะๆ สักหน่อยนะเจ้าคะ วันนี้ดิฉันมีศรัทธาติดกัณฑ์เทศน์ ๑๐๐ บาท” พอได้เวลา เจ้าประคุณสมเด็จฯ ก็ขึ้นธรรมาสน์ให้ศีลบอกศักราช ตั้งนะโม  แล้วว่า “พุทธํ  ธมฺมํ  สงฺฆํ” ลง เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้ ว่า ยถา สัพพี แล้วลงจากธรรมาสน์ เขาว่าหญิงคนนั้นขัดเคืองมากแต่มิรู้จะว่ากระไร ได้แต่นึกในใจว่า “เทศน์อะไรฟังไม่รู้เรื่องรู้ราว เสียแรงติดกัณฑ์เทศน์ตั้ง ๑๐๐ บาท”

ครั้นวันรุ่งขึ้น เจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้ไปเทศน์ที่บ้านนั้นอีกโดยมิได้ถูกนิมนต์ ก่อนเทศน์ท่านได้บอกหญิงนั้นว่า “เมื่อวานนี้ฉันรับจ้างเทศน์จ๊ะ วันนี้ฉันจะมาเทศน์ให้เป็นธรรมทานนะจ๊ะ” แล้วท่านก็เทศน์ต่อไปจนจบกัณฑ์ ว่าวันนั้นท่านเทศน์แจ่มแจ้งไพเราะจับใจคนฟังมาก



๓.๑๑ ฌานโลกีย์
ครั้งหนึ่ง ที่วังเจ้าฟ้ามหามาลา กรมหมื่นบำราบปรปักษ์ มีเทศน์ไตรมาส ๓ วันยก พระพิมลธรรม (อ้น) ถวายเทศน์ พระธรรมกิติ (โต) เป็นผู้รับสัพพี พระพิมลถวายเทศน์เรื่องปฐมสมโพธิปริจเฉทลักขณะปริวัตร ความว่า “กาลเทวินทร์ดาบสร้องไห้เสียใจว่าตนจะตายไปก่อนไม่ทันเห็นพระสิทธาตถ์ (พระสิทธัตถะ) ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ซ้ำจะต้องไปเกิดในอสัญญีภพเสียอีก  เพราะผลของอรูปสมาบัติเนวะสัญญานาสัญญายะตะนะญานในปัจจุบันชาติ” วันที่ ๓ ก็มาถวายอีก พระธรรมกิติ  ก็ไปรับสัพพีอีก เจ้าฟ้ามหามาลาฯ ทรงรับสั่งถามพระพิมลธรรมว่า “พระคุณเจ้าฌานโลกีย์นี้ได้ยินว่าเสื่อมได้ไม่ใช่หรือ” พระพิมลธรรมรับว่า “ถวายพระพร เสื่อมได้” ทรงรับสั่งรุกอีกว่า “เสื่อมก็ได้ ทำไมกาลเทวินทร์ไม่ทำให้เสื่อมเสียก่อน บำเพ็ญแต่กามาวจรฌานถึงตายก่อนสิทธาตถ์ ก็พอไปเกิดเป็นรูปพรหมหรือฉกามาพจรชั้นใดชั้นหนึ่งก็พอจะได้ เหตุใดไม่ทำญาณของตนให้เสื่อมต้องมานั่งร้องไห้เสียน้ำตาอยู่ทำไม” คราวนี้พระพิมลธรรมอั้นตู้ ไม่สามารถแก้ไขออกให้แจ้งได้  ส่วนพระธรรมกิติ (โต) เป็นพระรับสัพพี  เห็นพระพิมลธรรมไม่เฉลยข้อปัญหานั้นจึงออกเสียงเรอดัง “เออ” แล้วบ่นว่า “เราหนอช่างกระไรวัดระฆังฯ อยู่ใกล้ๆ ตรงวังข้ามฟาก เหตุใดจึงไม่ข้ามฟาก ต้องมาฝืนร่างกายทนลำบากจนดึกดื่น ๒ วัน ๓ คืนดังนี้ แล้วท่านก็นั่งนิ่ง สมเด็จเจ้าฟ้ามหามาลาฯ ก็ทรงจุดเทียน พระพิมลธรรมก็ขึ้นถวายเทศน์จนจบ ลงธรรมาสน์แล้วสมเด็จเจ้าฟ้ามหามาลาฯ ก็ประเคนเครื่องไทยธรรม พระพิมลธรรม ยะถา พระธรรมกิติ รับสัพพี พระพิมลธรรม ถวายพระพรลา เมื่อถึงกำหนดเทศน์อีก พระธรรมกิติ ก็ได้รับฎีกาอันเป็นลายพระหัตถ์ของสมเด็จเจ้าฟ้ามหามาลาฯ นิมนต์เทศน์ต่อจากพระพิมลธรรม ท่านเต็มใจรับและบอกมหาดเล็กให้ไปกราบทูลให้ทรงทราบ

ครั้นวัน ๗ ค่ำ เวลา ๓ ทุ่ม  พระธรรมกิติก็ไปถึงท้องพระโรง  สมเด็จเจ้าฟ้ามหามาลาฯ เสด็จออกทรงเคารพแล้วปราศรัย  แล้วจุดเทียน พระธรรมกิติขึ้นธรรมาสน์ถวายศีล ถวายศักราช ถวายพระพร แล้วจึงเดินคาถาที่ผูกขึ้นว่า “วิมลธมฺมสฺส ฯเปฯ  กสฺมา  โส  วิโสจตีติ” อธิบายความว่า “มหาบพิตรเจ้า  มีพระปุจฉาแก่พระพิมลธรรมว่า เหตุไฉนกาลเทวินทร์จึงร้องไห้  ควรทำฌานของตนให้เสื่อมดีกว่านั่งร้องไห”  ดังนี้ ข้อนี้อาตมาภาพ  ผู้มีสติปัญญาทรามหากได้รับอภัยโทษ โปรดอนุญาตให้แสดงต่อปุจฉา  อาจมาจำต้องแก้ต่างเจ้าคุณพระพิมลธรรมดังมีข้อความตามพระบาลีที่มีมาในพระปุคคลบัญญัติมีอรรถกถาฎีกาแก้ไว้พร้อมตามพระคัมภีร์ว่า “กุปฺปธมฺโม  อกุปฺปธมฺโม”

ท่านแสดงตามคัมภีร์เสียพักหนึ่งว่าด้วยฌานโลกีย์ เสื่อมได้ในคนที่ควรเสื่อม ไม่เสื่อมได้ในคนที่ไม่ควรเสื่อม ญาณก็เสื่อมไม่ได้ตามบาฬี แล้วอธิบายซ้ำว่า ธรรมดาฌานโลกีย์เสื่อมได้เร็วก็จริงอยู่ แต่บุคคลผู้เป็นเจ้าของผู้ได้ฌานมีความกระหายต่อเหตุการณ์ อารมณ์ที่เกิดขึ้นในใจเป็นของใหม่ ของเก่าก็ยังอาลัย สละทอดทิ้งเสียไม่ได้เพราะเคยเสวยสุขคุ้นเคยกันมานาน  ของเก่าคือฌานที่ตนสงสัยสงบอารมณ์ก็เห็นมีคุณดีอยู่ ของใหม่ตามข่าวบอกเล่ากันต่อมา และคนที่ควรเชื่อได้ชี้แจงอย่างถี่ถ้วนว่า ของใหม่ดีอย่างนั้นๆ แต่อาลัยของเก่ามาก จึงทิ้งไม่ได้ ทำไปไม่ได้ จะยึดสองฝ่ายก็ไม่ได้เพราะของใหม่ไม่คุ้นกัน ไม่เคยเห็นใจกัน พะอืดพะอมมาก เสียดายของรักก็มี เสียดายของใหม่  คือรู้แน่ว่าพระสิทธาตถ์จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าก็มี แต่แกเสียใจว่าจะตายไปเสียก่อน และเห็นว่าพรหมโลกอยู่ในเงื้อมมือแน่นอน แต่คุณของการพบพระพุทธเจ้านั้นจะทำประโยชน์สุขสมบัติอหไร กาลเทวินทร์ยังไม่รู้ จึงไม่อาจทำฌานให้เสื่อม ทั้งเป็นบุคคลที่เป็นกุปปธรรมยังไม่เป็นคนที่ควรเสื่อมจากคุณธรรมที่ตนได้ตนถึงด้วย เปรียบเหมือนคนที่ป่วยไข้อยู่ จะกระทำกระปรี้กระเปร่าแข็งแรงคึกคัก กินข้าว กินน้ำอร่อยอย่างคนธรรมดาดีๆ นั้นไม่ได้ คนที่ดีๆ ผิวพรรณผุดผ่อง จะมารยาทำป่วยไข้ จะนั่งห่มผ้าคลุมกรอมซอมซ่อพูดกระร่อกระแร่เป็นคนไข้ก็ทำไม่ได้   ทำให้คนอื่นแลเห็นรู้แน่ว่า คนที่ทำเป็นไข้นั้น เป็นไข้มารยาไข้ไม่จริง คนในเห็นคนนอกเป็นสุขสบายก็ออกมาเป็นคนนอกไม่ได้ เหตุอาลัยความคุ้นเคยข้างในอยู่มาก  คนนอกเห็นคนในนวยนาฏน้ำนวลผ่องใสด้วยผ้านุ่งห่ม แต่ไม่อาจเป็นคนในกับเขา เพราะเป็นห่วงอาลัยของข้างนอกจะไปเที่ยวชั่วคราวนั้นได้  แต่จะไปอยู่ทีเดียวไม่ได้เพราะไม่ไว้วางใจว่าเหตุการณ์ข้างในจะดีหรือเลวยังไม่แน่ใจ แต่กระหายอยู่เท่านั้น คนที่มีความสุขสบายอยู่ด้วยเพศบวชมาช้านาน แต่แลเห็นคนที่ไม่บวชเที่ยวเตร่ กิน นอน ดู ฟัง เล่นหัวสบาย ไม่มีเครื่องขีดคั่นอะไร บางคราวชาววัดบางคนเห็นดี แต่ไม่อาจออกไปเพราะถ้าออกไปไม่เหมือนเช่นเขาหรือเลวทรามกว่าเขาจะทุกข์ตรมระบมทวีมาก จะเดือดร้อนยิ่งใหญ่มาก ก็เป็นแต่นึกสนุกแต่ไม่ออกไปทำอย่างเขา  เพราะอาลัยในความสุขในการบวชค้ำใจอยู่ออกไปไม่ได้ เป็นแต่ทำเอะอะฮึดฮัดไปตามเพลง คนที่ยังไม่เคยบวชนั้น เห็นว่าผู้บวชสบายไม่ต้องกังวลอะไร กินแล้วก็นอน นอนแล้วก็เที่ยวตามสบาย ไม่ต้องเหงื่อไหลไคลย้อย ไม่ต้องแสวงหาอาหาร มีคนเลี้ยงคนเชิญน่าสบาย คนที่ไม่บวชคิดเห็นดีไปเพ้อๆ เท่านั้น แต่ไม่กล้าหันเข้ามาบวช เหตุว่ากามคุณทั้งห้าเหนี่ยวรั้งน้ำใจไว้ สละมาเอาอย่างผู้บวชไม่ได้เลยนั่งดูกันไปดูกันมา เพราะยังไม่ถึงคราวจะบวช หรือยังไม่ถึงคราวจะสึก ก็ยังสึกยังบวชไม่ได้นั่นเอง

ข้ออุปมาทั้งหลาย ดังถวายวิสัชนามานี้ ก็มีอุปไมยเปรียบเทียบด้วยฌานทั้ง ๙ ประการ ที่เป็นธรรมเสื่อมได้เร็วก็จริง แต่ยังไม่ถึงคราวเสื่อมก็ยังเสื่อมไม่ได้  กาลเทวินทร์ดาบสก็เปรียบดังชาววัด ชาวบ้าน ชาวนอก ชาวใน ต่างเห็นของกันและกันไม่อาจแสร้งให้ฌานเสื่อม  ที่ตรงแกร้องไห้นั้น อาตมภาพเข้าใจว่า แกร้องไห้เสียดายขันธ์เพราะแกกล่าวโดยอันยังไม่รู้เท่าขันธ์ว่า มันเป็นสภาพแปรปรวนแตกดับเป็นธรรมดาของมันเอง แต่เวลานั้นโลกยึดขันธ์มาช้านานที่กาลเทวินทร์เจริญอรูปฌานจนสำเร็จ ก็เพราะคิดรักษาขันธ์เพื่อมิให้ขันธ์พลันแตกสลายทำลาย จึงพยายามมาได้สำเร็จ ความปรารถนาและเสียดายหน้าตา  ถ้าชีวิตของแกอยู่มาอีก ๓๖ ปี แกจะได้เข้าบรรจบประสบคุยกับหมู่พุทธบริษัทและหมู่พระประยูรญาติและหมู่พุทธมามกะผู้นับถือ แกจะมีชื่อยกตัวเป็นครูอย่างดีกว่าที่แล้วมา  แต่พระอรรถกถาจารย์ท่านไม่ว่าอย่างขรัวโตเห็นท่านว่าเพียงว่า กาลเทวินทร์เสียใจว่าจะตายเสียก่อนเท่านั้น ไม่ทันพระสิทธาตถ์เป็นพระพุทธเจ้าเท่านี้

เรื่องเทศน์ฯ ถวายและเฉลยพระปัญหาถวายสมเด็จเจ้าฟ้ามหามาลา กรมหมื่นบำราบปรปักษ์ ตามที่เรียบเรียงไว้นี้  ได้ฟังมาจากสำนักพระปรีชาเฉลิม (แก้ว) เจ้าคุณพระปรีชาเฉลิม (แก้ว) ได้ฟังมาจากเจ้าคุณปรีชาเฉลิม (เกษ) พระปรีชาเฉลิม (เกษ) เป็นเปรียญ ๖ ประโยค  อยู่วัดอรุณราชวราราม  ได้เป็นพระรับสัพพี  จึงได้ยินเทศนาถวายของเจ้าคุณธรรมกิติ (โต)



๓.๑๒ มัทรี
ในท้องคุ้งแห่งอำเภออัมพวานั้น  มีคฤหบดีอยู่ผู้หนึ่งนับว่าเป็นผู้มั่งคั่งด้วยโภคะ  ผู้คนนับหน้าถือตามาก ครั้งนั้นคฤหบดีประสงค์จะได้ฟังเทศน์มหาชาติ แต่บรรดาภิกษุผู้อยู่ในวัดแห่งท้องถิ่นนั้นก็ได้นิมนต์มาเทศน์จนหมดทุกองค์แล้ว กิตติศัพท์ของสมเด็จพระพุฒาจารย์ ว่าเทศน์ได้ไพเราะนัก ได้ระบือมาถึงหู จึงประสงค์จักได้ฟังสมเด็จพระพุฒาจารย์ท่านเทศน์บ้าง แต่ไม่ทราบว่าจะนิมนต์สมเด็จองค์นั้นมาเทศน์ได้อย่างไร  พอดีได้พบปะกับเพื่อนบ้าน ผู้เข้ามาเที่ยวบางกอกเพิ่งกลับออกไปจึงนำเอาข้อข้องใจของตนมาหารือด้วย เพื่อนบ้านผู้นั้นครั้นได้ทราบก็เล่าให้ฟังว่า “สมเด็จฯ ท่านเทศน์ไพเราะนัก ผู้ใดได้ฟังต้องหลงใหลในสมเด็จฯ ทุกคน  อนึ่ง ท่านไม่ถือตัวว่าเป็นสมเด็จพระราชาคณะผู้ใหญ่ดอก ผู้ใดนิมนต์ท่าน ถ้าท่านไม่ได้รับกิจที่อื่นไว้ก่อน ท่านเป็นต้องรับนิมนต์และมาตามนั้นทุกครั้ง ไม่ว่าผู้นิมนต์จะเป็นคนชั้นไร”  คฤหบดีผู้นั้นเกิดศรัทธาในสมเด็จพระพุฒาจารย์เต็มที่จึงได้จัดการให้เพื่อนบ้านไปติดต่อนิมนต์สมเด็จฯ มาเทศน์ที่บ้านให้จงได้ ส่วนการไปการมานั้น ขอสมเด็จฯ อย่าได้กังวลเลย เป็นหน้าที่ของคฤหบดีจะจัดการส่งสมเด็จฯ ทั้งไปทั้งกลับทีเดียว

เพื่อนบ้านผู้มีศรัทธาไม่น้อยไปกว่าคฤหบดีผู้นั้น อาสาเข้ามาบางกอกเพื่อนิมนต์สมเด็จฯ ไปเทศน์ กำหนด ณ วันอาทิตย์ ขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือนยี่ เป็นแน่นอน  ภายหลังที่หายเข้ามาในบางกอกประมาณ ๗ วัน ก็กลับออกไปและนำความไปแจ้งแก่คฤหบดีให้ทราบว่า สมเด็จฯ รับนิมนต์แล้ว ส่วนการที่จะจัดเรือแพไปรับนั้น  สมเด็จฯ ไม่ยอม ท่านว่าท่านกับศิษย์จะเดินทางมาเองหาต้องให้เราลำบากลำบน  ด้วยการเอาเรือแพนาวาไปรับท่านไม่ คฤหบดีย้อนถามเพื่อนบ้านว่า “แล้วเกลอไปนิมนต์ท่านมาเทศน์กัณฑ์อะไรล่ะ?”  ”มัทรี ซิ เขาว่าสมเด็จฯ เทศน์มัทรีจับใจยิ่งนัก จึงนิมนต์ท่านมาเทศน์กัณฑ์มัทรีเสียเลย”  ข่าวที่สมเด็จพระพุฒาจารย์จะมาเทศน์ที่บ้านคฤหบดี ในวันอาทิตย์ขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือนยี่ ได้ระบือไปทั่วท้องคุ้ง ประชาชนที่อยู่ในถิ่นนั้นต่างเตรียมตัวมาฟังสมเด็จพระพุฒาจารย์เทศน์ที่บ้านคฤหบดีเกือบทุกคน ประกอบทั้งบ้านของคฤหบดีผู้นั้นเป็นเรือนแพอยู่ติดลำน้ำด้วยจึงเหมาะแก่การนำเรือมาจอดที่หน้าแพ  พอถึงวันกำหนดเทศน์ ที่บ้านคฤหบดีก็มีอุบาสกอุบาสิกาผู้เฒ่าผู้แก่และหนุ่มสาวที่ตั้งใจมาฟังสมเด็จฯ เนืองแน่น

บ่ายวันนั้นเอง พอคฤหบดีได้ตระเตรียมสถานที่และจัดธรรมาสน์สำหรับสมเด็จพระพุฒาจารย์เสร็จแล้ว ก็ตระเตรียมเครื่องกัณฑ์เป็นการใหญ่มีทั้งเงินและเครื่องอันควรแก่สมณะบริโภค ประกอบทั้งได้เอาข้าวของต่างๆ ของผู้มีศรัทธารวมเข้าด้วย จึงเป็นเครื่องกัณฑ์กองมหึมา กระทำให้บรรดาผู้ที่มาพบเห็นโจษจันกันไปต่างๆ  เย็นแล้วสมเด็จพระพุฒาจารย์ก็ยังมาไม่ถึง คฤหบดีผู้เป็นเจ้าของกัณฑ์เทศน์กระวนกระวายใจหันมาถามเพื่อนสนิทที่เป็นผู้นิมนต์ว่า “อย่างไรเกลอ สมเด็จฯ ท่านรับนิมนต์มาแน่หรือ?” เพื่อนของคฤหบดีตอบว่า “มาแน่ สมเด็จฯ ท่านไม่ยอมผิดนัดนิมนต์ อดใจอีกนิดเถอะน่า ป่านนี้คงจะเลี้ยวคุ้งแล้วกระมัง”

ทันใดนั้นก็มีเรือแจวเล็กๆ ลำหนึ่งโผล่ท้องคุ้งมาให้เห็น แต่คนทั้งหลายที่ตั้งตาคอย หาได้สนใจไม่เพราะใครก็รู้กันว่าสมเด็จฯ ได้รับพระราชทานเรือกัญญา ไฉนจะมานั่งเรือจ้างลำเล็กๆ เช่นนั้น แต่เมื่อเรือลำนั้นใกล้เข้ามา เพื่อนของคฤหบดีก็ชี้มือพร้อมตะโกนด้วยความดีใจว่า “นั่นอย่างไร สมเด็จฯ มาแล้ว” คฤหบดีแลตามมือที่เพื่อนชี้ คนทั้งหลายที่มาประชุมฟังเทศน์ก็ดูพร้อมๆ กัน  ปรากฏว่าสมเด็จฯ ท่านมาในเรือลำนั้นจริงๆ พร้อมกับศิษย์ ๑ คน แลเห็นคนแจวกำลังโหมกำลังแจวอย่างเต็มกำลัง ความผิดหวังได้เกิดแก่คฤหบดีเป็นอย่างยิ่ง เพราะเข้าใจว่า สมเด็จฯ จะนั่งเรือกัญญามาเทศน์ที่บ้านของตน ตรงกันข้ามสมเด็จฯ กลับนั่งเรือจ้างลำเล็กๆ และก็มาอย่างเงียบๆ ไม่เอิกเกริกเช่นตัวคิด

หวนระลึกถึงเครื่องกัณฑ์ที่จัดหาไว้อย่างมากมายก็คิดเสียดายทันที ไม่ทันที่เรือของสมเด็จฯ จะเข้าเทียบที่หน้าแพ คฤหบดีก็หันกลับเข้าไปในบ้านแบ่งเอาเครื่องกัณฑ์ที่เป็นส่วนตัวเข้าไปซ่อนเสียเกือบหมด คงเหลือไว้พอเป็นธรรมเนียมในการเทศน์แต่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ครั้นแล้วก็ออกมา ประจวบกับเรือเข้าเทียบแพพอดี คฤหบดีได้นิมนต์สมเด็จฯ ด้วยกิริยาอันเจื่อนๆ ทั้งนี้เป็นเพราะตนเองมีความเสื่อมศรัทธาอยู่ในใจด้วยเลยทำให้หมดใจที่ฟังสมเด็จฯ เทศน์เหมือนที่ตั้งใจไว้แต่แรก

เกลอของคฤหบดีเป็นผู้นิมนต์สมเด็จฯ นั่งในที่อันควรพร้อมทั้งประเคนน้ำร้อน น้ำชา  สมเด็จฯ ก็รับประเคนแล้วทอดสายตาดูไปรอบเรือนแพของคฤหบดีผู้นั้น แลเห็นผู้คนมาคอยกันมากมายก่ายกอง  สมเด็จฯ ถามคนซึ่งไปนิมนต์ว่า “จะให้อาตมภาพเทศน์เมื่อไร?”  ได้รับตอบว่า “ถ้าพระคุณเจ้าหายเหน็ดเหนื่อยแล้วก็นิมนต์เถิดขอรับ  ขอให้ชาวบ้านอัมพวาได้ฟังมัทรีให้ชื่นใจสักครั้งเถิด”  สมเด็จฯ ก้าวขึ้นธรรมาสน์ที่เจ้าของบ้านจัดเตรียมไว้ ภายหลังจากอาราธนาศีล ให้ศีลและอาราธนาธรรมแล้ว  สมเด็จฯ ก็เริ่มเทศน์มัทรีตามที่ได้รับนิมนต์ไว้

ดังได้รู้กันทั่วไปว่าสมเด็จฯ เทศน์ได้เพเราะยิ่งนัก สำหรับวันนั้นท่านเทศน์ไพเราะขึ้นไปอีก ทั้งทำนองและซุ่มเสียงวิเวกวังเวงจับใจบรรดาผู้ฟังยิ่งขึ้นเป็นลำดับ จนกระทั่งถึงตอนมัทรีกลับจากหาผลไม้มาพบเทพยดาแปลงเป็นราชสีห์หนึ่งตัว เสือโคร่งหนึ่งตัว และเสือเหลืองหนึ่งตัวขวางทางอยู่ ได้อ้อนวอนขอทาง ราชสีห์และเสือก็หลีกทางให้ เวลานั้นใกล้ค่ำแล้ว เมื่อนางกลับมาถึงบริเวณกุฏิก็ไม่เห็นกัณหาชาลีเพราะพระเวสสันดรได้ให้สองกุมารแก่ชูชกไปเสียแล้ว

พอสมเด็จฯ เดินทำนองว่า “ตโย  เทว  ปุตฺตา มาถึง  วจฺฉา  พาลาว  มาตรํ”  บรรดาผู้มานั่งฟังต่างถอนสะอื้นไปตามๆ กัน บางคนนั่งกัดฟันข่มความโศกสะอื้นอันสะท้อนอยู่ภายในและเมื่อสมเด็จฯ เดินทำนองมาถึง “เมื่อสมเด็จพระมัทรีเธอ กราบทูลพระราชสามีสักเท่าใดๆ ท้าวเธอมิได้ตรัสปราศรัยจำนรรจา นางยิ่งกลุ้มกลัดขัดอุราผะผ่าวร้อน ข้อนพระทรวงทรงกรรแสง”  ถึงตอนนี้สมเด็จฯ ได้ขึ้นทำนองมัทรีอันเลื่องลือของท่านว่า “เจ้าแม่เอ๋ย แม่มิเคยได้แค้นเคืองเหมือนครั้งนี้”

พอสมเด็จฯ เทศน์เท่านั้น บรรดาชายหญิงทั้งผู้เฒ่าผู้แก่ ต่างร้องไห้สะอึกระงมไปหมดทั้งท้องคุ้ง ท่านคฤหบดีเจ้าของบ้านผู้ได้นั่งฟังอยู่ด้วยก็อดที่จะเสียน้ำตาไม่ได้ดุจกัน ทันใดนั้นเองได้ลุกเข้าไปข้างในขนเอาเครื่องกัณฑ์ที่ตัวยักยอกเอาไปซ่อนไว้ออกมาถวายสมเด็จฯ อีกจนหมด และกลับซ้ำเอาเงินมาติดกัณฑ์เทศน์เพิ่มให้อีกนับเป็นจำนวนยี่สิบตำลึง

เมื่อสมเด็จฯ ผู้ชาญฉลาดในการเทศนาจบมัทรีด้วย อิติ เมาะ อิมินา ปกาเรน และ มทฺทิปพฺพํ นิฏฺฐิตํ ประดับด้วยพระคาถา ๙๙ คาถา แล้วก็ลงจากธรรมาสน์มานั่งอยู่ในที่เจ้าของบ้านจัดไว้ให้ บรรดาอุบาสกอุบาสิกา ต่างเข้ามากราบนมัสการถวายเครื่องกัณฑ์ตลอดจนคฤหบดีผู้เป็นเจ้าของกัณฑ์ก็ได้มาถวายเงินและเครื่องกัณฑ์ด้วย

สมเด็จฯ นั่งรับประเคนเครื่องกัณฑ์จากผู้ที่มาฟังและมีจิตศรัทธาถวายของตามฐานะจนทั่วถึงกันแล้วจึงพูดกับคฤหบดีว่า “ประสกจงเอาเครื่องกัณฑ์เหล่านี้ พร้อมทั้งเงินที่ถวายแก่อาตมาแจกจ่ายแก่คนยากจนทั้งหลายที่อาศัยอยู่ในตำบลนี้จงทั่วกันเถิด อาตมาไม่ขอเอาไป อาตมาขอแจ้งแก่ประสกว่า คนเราถ้าชำระจิตใจให้สะอาด ปราศจากตระหนี่เหนียวแน่นแล้ว ชาติหน้าจะอุดมสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ผู้ใดตระหนี่ ชาติหน้าจะเกิดเป็นคนยากจน อาตมภาพรู้ว่า ประสกเป็นผู้ที่ไม่มีจิตใจตระหนี่เหนียวแน่นแต่อย่างใด เว้นแต่ขาดศรัทธาและยังลุ่มหลงในเรื่องยศศักดิ์อยู่บ้าง อันยศศักดิ์นั้นเป็นของจอมปลอมเป็นของสมมติกันทั้งสิ้นหาความจริงอันใดมิได้ จงดูพระเวสสันดรเป็นตัวอย่างเถิด ท่านสละได้แม้แต่ไอสูรย์สมบัติ สละแม้ลูกและเมีย เพื่อผลในโพธิญาณ  ประสกจงถือเป็นแบบอย่าง การบำเพ็ญทานอย่าได้เจาะจงด้วยตัวบุคคลที่จะให้  อาตมาเทศน์ครั้งนี้ไม่ได้ปรารถนาเครื่องกัณฑ์อย่างใดๆ ของประสก  แต่เพื่อเฉลิมศรัทธาของประสกที่ประสงค์จะฟังเทศน์จากสมเด็จพระราชาคณะ  ฉะนั้น จงแจกจ่ายเครื่องกัณฑ์เหล่านี้ให้เป็นทานแก่คนยากจนในตำบลนี้ด้วย ส่วนสิ่งใดที่เป็นของอันสมควรแก่สมณะบริโภคก็ขอได้นำไปถวายยังวัดที่อยู่ใกล้ที่สุด”

สมเด็จฯ พูดเท่านั้นแล้วก็อำนวยพรลา  โดยไม่ยอมให้ผู้ที่เป็นคฤหบดีนำเรือไปส่ง และได้กลับวัดด้วยเรือลำที่นั่งมานั่นเอง



๓.๑๓ เลิกเทศน์เลิกสวด
ปลายมีมะเมีย โทศก พ.ศ. ๒๔๑๓ (จ.ศ. ๑๒๓๒) สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ได้มีลายลิขิตแจ้งแก่กรมสังฆการีว่า “จะขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตยกเป็นกิตติมศักดิ์ ด้วยเหตุชราทุพพลภาพไม่สามารถรับราชการเทศน์แลสวดฉัน ในพระบรมมหาราชวังได้”

ได้ทรงพระมหากรุณาโปรดพระราชทานพระบรมราชานุญาตตกเป็นพระมหาเถรกิตติมศักดิ์และได้ทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาหม่อมเจ้าพระ (ทัด) ในกรมสมเด็จพระราชวังหลังขึ้นเป็นพระราชาคณะรองเจ้าอาวาส พระราชทานสมณศักดิ์ ในราชทินนามที่ “หม่อมเจ้าพระพุทธบาทปิลันทน์” มีฐานา ๓ รูป มีนิตยภัตรเดือนละ ๑๖ บาท ค่าข้าวสาร ๑ บาท เป็นผู้ช่วยบัญชากิจการวัดระฆังฯ ต่อไป
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30 กรกฎาคม 2557 16:05:16 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5376


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #6 เมื่อ: 21 มกราคม 2556 12:08:55 »

.
ข้อความต่อไปนี้ คัดจาก หนังสือ "ประวัติเจ้าประคุณ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต  พฺรหฺมรํสี)"
ค้นคว้า รวบรวมและเรียบเรียง โดย พระมหาสมคิด  ปิยวณฺโณ ป.ธ.๙  ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม และครูใหญ่โรงเรียนพระปริยัติธรรม (พฺรหฺมรํสี)
วัดระฆังโฆสิตาราม จัดพิมพ์เผยแพร่และสงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ (ยกเว้นพิมพ์เพื่อเป็นธรรมทาน)
จึงแจ้งมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน
- www.sookjai.com



สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)
ภาพจากปกหนังสือ : ประวัติเจ้าประคุณ สมเด็จพระพุฒาจารย์
(โต  พฺรหฺมรํสี)
(ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ ๑)
วัดระฆังโฆสิตาราม

๔. วาทะสมเด็จโต

๔.๑ สระนี้ตระการตาเหมือนราชรถ
ครั้งนั้นเป็นที่เลื่องลือในความสนุกสนานกันมากทั้งบรรดาเจ้าหม่อมห้ามและทั้งบรรดาข้าราชการอำมาตย์ราชเสวก เมื่อเอ่ยถึงสระปทุมแล้ว หมายถึงความรื่นรมย์เป็นอย่างยิ่งสำหรับสมัยนั้น  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ก็ทรงสำราญพระราชหฤทัยด้วยดุจกัน  

ในยามเช้าเสด็จออกทรงบาตรแก่พระภิกษุราชาคณะ ผู้ลงเรือสำปั้นน้อยพายเข้ามารับบาตร ทั้งนี้ เป็นด้วยทรงคุ้นเคยกับพระสงฆ์ราชาคณะอยู่ทุกรูปแต่ครั้งเสด็จทรงผนวชอยู่ และเพื่อให้พระสงฆ์ราชาคณะได้พบเห็นทิวทัศน์อันสวยงามในบริเวณสระปทุมที่ทรงนฤมิตรขึ้นเป็นเกาะเกียนปลูกพรรณอุบลชาติ บัวเผื่อน บัวผัน บัวหลวง ตลอดจนพรรณบุปผชาติต่างๆ สมกับพระราชศรัทธาก็มักจะนิมนต์พระสงฆ์ราชาคณะวัดต่าง ๆ เข้ามารับพระราชทานบิณฑบาตทางเรือสำปั้นทุกๆ เวรที่ทรงเสด็จประพาสและเสด็จมาประทับแรม  โดยเฉพาะถ้าเป็นฤดูน้ำ ในสระปทุมนั้นก็เหมือนสระสวรรค์อันชะลอมาตั้งในเมืองมนุษย์ ผู้ใดได้พบเห็นก็นับเป็นบุญตาและเป็นบุญตัว

น่าอัศจรรย์ที่พระสงฆ์ราชาคณะ ได้รับนิมนต์ลงเรือสำปั้นลำน้อยเข้าไปรับพระราชทานอาหารบิณฑบาตที่ในสวนสระปทุมหมดทุกองค์ เว้นแต่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) องค์เดียว หาได้รับนิมนต์เข้าไปรับบาตรโดยทางเรือนั้นไม่ จะเป็นเพราะเพิ่งทรงรำลึกได้หรือประการใดไม่แน่ชัด

ครั้งหลังประมาณพุทธศักราช ๒๔๐๙ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สังฆการีนิมนต์สมเด็จฯ กับพระราชาคณะรูปอื่นๆ อีกหลายรูปลงเรือสำปั้นน้อยเข้ารับพระราชทานอาหารที่ทรงบาตร

เวรรับพระราชทานอาหารบิณฑบาตเช้าวันนั้นสมเด็จฯ เป็นองค์นำพร้อมกับพระสงฆ์ราชาคณะชั้นสามัญอีก ๑๐ รูป ทางสังฆการีจัดให้จอดเรืออยู่ก่อน แต่ละรูปมีบาตรตั้งมากลางลำ ทุกองค์พายเรือเอง คอยอาณัติสัญญาณจากสังฆการี  ถ้าเสด็จลงทรงบาตรเมื่อใด  สังฆการีจะให้สัญญาณแล้วขอให้สมเด็จฯ พายเรือนำพระสงฆ์ราชาคณะอีก ๑๐ รูป เข้ารับบาตรเป็นลำดับอย่าให้เป็นที่ขัดเคืองพระราชอัธยาศัยได้ สมเด็จฯ กับพระสงฆ์ราชาคณะรับทราบด้วยอาการดุษฎี ครั้นแล้วสังฆการีก็ลงเรือไปจอดอยู่ที่หน้าพลับพลาริมท่าน้ำที่จะเสด็จลงทรงบาตร

เช้าวันนั้นประมาณ ๐๙.๔๐ นาฬิกา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ มีพระราชหฤทัยสำราญเสด็จประทับพลับพลา เตรียมพร้อมที่จะทรงบาตร เจ้ากรมสังฆการี ก็กราบบังคมทูลถวายรายงานชื่อพระสงฆ์ราชาคณะที่จะเข้ามารับพระราชทานอาหารบิณฑบาต  ให้ทรงทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท “ขอเดชะ สมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดระฆังฯ จะเป็นองค์แรกเข้ารับพระราชทานอาหารบิณฑบาตพร้อมกับราชาคณะสามัญอีก ๑๐ รูป พระพุทธเจ้าข้า” ครั้นแล้วก็กราบทูลรายนามพระราชาคณะให้ทราบทุกองค์

พอกราบทูลเสร็จก็หันไปให้สัญญาณแก่พระดั่งได้ตกลงกันไว้  สมเด็จฯ เห็นสังฆการี ให้สัญญาณว่าพร้อมแล้วก็พายเรือเข้าไปยังที่ประทับพลับพลาริมท่าด้วยความชำนิชำนาญ พอเรือใกล้ที่จะถึงก็คัดวาดเรือสำปั้นเข้าเทียบหน้าที่ประทับ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ พอแลเห็นสมเด็จฯ ก็แย้มพระโอษฐ์ “อ้อ! ขรัวโต”

สมเด็จฯ สำรวมอิริยาบถด้วยอินทรีย์สังวรบนเรือสำปั้นน้อยอย่างสงบเสงี่ยม ในมือทั้งสองข้างถือพายราน้ำ คอยคัดวาดเรือให้อยู่นิ่งกับที่ พอพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงบาตรเสร็จแล้วตรัสถามว่า “ดีไหมขรัวโต สระปทุม” สมเด็จฯ ถวายพระพรทูลว่า “สระปทุมนี้ ตระการตาเหมือนราชรถ ขอถวายพระพร”

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ พระพักตร์บึ้ง สมเด็จฯ เห็นเสร็จภาระรับพระราชทานอาหารบิณฑบาตแล้วก็ค่อยๆ เอาพายพุ้ยน้ำให้เรือสำปั้นเคลื่อนจากที่พลับพลาหน้าที่ประทับ เพื่อให้พระสงฆ์ราชาคณะองค์อื่นๆ เข้ารับพระราชทานอาหารบิณฑบาตตามลำดับ แต่สมเด็จฯ ท่านยังคงพายวนเวียนไปมาอยู่นั่นเองหาได้ไปห่างไกลไม่  เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงบาตรทั้งคาวหวานครบทุกองค์แล้ว ทอดพระเนตรเห็นสมเด็จฯ ยังพายเรือวนเวียนอยู่จึงให้สังฆการีนิมนต์เข้ามา  สังฆการีพายเรือปราดเหมือนจับพุ่ง ไปนิมนต์สมเด็จฯ ว่า มีพระบรมราชโองการให้นิมนต์ไปพบ สมเด็จฯ จึงพายเรือตามสังฆการีไปจนถึงหน้าพลับพลาที่ประทับริมท่าน้ำ

ดูเหมือนสังฆการีเองก็ไม่สบายใจนักเพราะแลเห็นพระพักตร์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ไม่ทรงแจ่มใสเหมือนแต่แรก  

ขณะที่กำลังวิตกอยู่ดังนั้น ก็ได้ยินพระสุรเสียงตรัสกับสมเด็จฯ “เขาให้แล้ว ทำไมยังไม่กลับ พายวนเวียนอยู่ทำไม”  น้ำพระสุรเสียงที่ตรัสค่อนข้างเฉียบขาด “จะเอาอะไรอีกเล่า”  สมเด็จฯ พายราน้ำพลางถวายพระพรทูลว่า “ที่พายวนเวียนอยู่เพราะเกรงว่า พระราชาคณะที่แก่เฒ่าและบางองค์ว่ายน้ำไม่เป็นถ้าเรือล่มลงจะได้ช่วยทัน ขอถวายพระพร”

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ประทับนิ่ง ครั้นสมเด็จฯ เห็นหมดเวลาพระราชปฏิสันถารแล้วก็ถวายพระพรลาพายเรือกลับมายังวัดปทุมวรานาม  เพื่อลงเรือกลับมายังวัดระฆังฯ อีกทอดหนึ่ง

การที่สมเด็จฯ ท่านทูลถวายพระพรว่า “สระปทุมนี้ตระการตาเหมือนราชรถ” นั้น  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงทราบทันที เพราะมีพระคาถาพุทธศาสนสุภาษิตบทหนึ่งปรากฏอยู่ในพระธรรมวิจารณ์ (พระนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสมณะเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส) ว่า


เอถ  ปสฺสถิมํ  โลกํ  จิตฺตํ  ราชรถูปมํ
ยตฺถ  พาลา  วิสีทนฺติ  นตฺถิ  สงฺโค  วิชานตํ ฯ


แปลว่า
สูทั้งหลาย จงมาดูโลกนี้อันตระการตาดุจราชรถ
ที่พวกคนเขลาหมกอยู่ แต่พวกผู้รู้หาข้องอยู่ไม่ฯ

เห็นจะมีแต่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) องค์นี้องค์เดียวเท่านั้น ที่สามารถพูดถวายพระพรแก่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ อย่างไม่เกรงกลัวพระราชอาญา  แต่นั่นแหละ วิสัยขัตติยบัณฑิตยชาติ เช่น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงโปรดความจริง เพราะทรงศึกษามาเจนจบและทรงนิยมในคุณวิเศษของสมเด็จฯ  เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว หาทรงถือโทษไม่ นี้เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่สมเด็จฯ ท่านสามารถโต้กับองค์พระมหากษัตริย์ด้วยพระปรมัตถธรรม ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงศึกษาทราบอย่างลึกซึ้งมาแล้ว


๔.๒ สัมมามัวรินกินน้ำชา
ครั้งหนึ่งสมเด็จพระยามหาศรีสุริวงศ์ (ช่วง) นิมนต์เข้าไปเทศน์ที่จวน  สมเด็จเจ้าพระยาฯ จุดเทียน พระเทพกวีขึ้นธรรมาสน์ ครั้นรับศีลเสร็จแล้วพวกหัวเมืองเข้ามาหาสมเด็จเจ้าพระยาฯ หมอบกันเป็นแถว ส่วนตัวเจ้าพระยาฯ นั้น เอกเขนกรินน้ำชาไขว่ห้างฟังพระเทศน์  พระเทพกวีเลยเทศน์ว่า “สัมมามัวรินกินน้ำชา มิจฉาหมอบก้มประนมมือ”  สมเด็จเจ้าพระยาฯ เลยบาดหูลุกเข้าเรือน ส่วนพระเทพกวีจึงลงจากธรรมาสน์กลับวัดระฆังฯ ข่าวว่าตึงกันไปนาน


๔.๓ อะไรๆ ถวายได้ แต่ผ้าเช็ดมือไม่ถวาย
ครั้งหนึ่ง เข้าไปฉันในพระบรมราชวัง ได้ทรงประเคนไตรแพร ท่านก็นำไตรแพรนั้นเช็ดปากเช็ดมือยุ่งไปหมด รับสั่งทักว่า ไตรเขาดีๆ เอาไปเช็ดเปรอะหมด  ท่านตอบว่าอะไรถวายได้ ผ้าเช็ดมือถวายไม่ได้ อาตมภาพก็ต้องเอาผ้าไตรของอาตมามาเช็ด อันได้บริโภคของทายกแล้วไม่เป็นสัทธาเทยยวินิบาต (ทำศรัทธาไทยให้ตกต่ำ)


๔.๔ วันนี้รวยใหญ่ๆ
ครั้งหนึ่ง เข้าไปฉันในพระบรมมหาราชวัง ถวายเงินองค์ละ ๒๐ บาท  สมเด็จฯ ทำดีรวบเงินใส่ย่ามกราว ทรงทักว่า “อ้าว พระจับเงินได้หรือ”  “ขอถวายพระพร เงินพระจับไม่ได้ผิดวินัย แต่ขรัวโตชอบ”  เรื่องแรงๆ ของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) องค์นี้ ตั้งแต่เป็นพระธรรมกิติมาจนเป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ มีต่อหน้าพระที่นั่งเสมอมา แต่ก็ทรงอภัย ซ้ำพระราชทานรางวัลอีกด้วย ถึงวันนี้ก็รวบเงินรางวัลอีก ๓๐ บาท ใส่ย่ามทันที ครั้นหิ้วคอนย่ามออกมา คนนั้นล้วงบ้าง คนนี้ล้วงบ้าง จนหมดย่าม ท่านคุยพึมว่า “วันนี้รวยใหญ่ๆ”


๔.๕ กระต่ายตัวไหนจะดี  
ครั้นเมื่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ยังเป็นพระมหาโตในแผ่นดินพระนั่งเกล้าฯ ทูลกระหม่อมพระจอมเกล้า (ร. ๔) ยังเป็นพระราชาคณะเจ้าอาวาสวัดสมอราย ได้นิมนต์มหาโตไปสนทนาด้วยเป็นทางที่จะชวนเข้าหมู่ รับสั่งถามว่า “มีบุรุษสองคนเป็นเพื่อนเดินทางมาด้วย คนทั้งสองเดินมาพบไหมเข้าจึงทิ้งปอที่แบกมาเสียเอาไหมไป อีกคนหนึ่งไม่เอาคงแบกเอาปอไป ท่านจะเห็นว่าคนแบกปอดีหรือคนแบกไหมดี”

มหาโตทูลเฉลยไปอีกทางหนึ่งว่า “ยังมีกระต่าย ๒ ตัว ขาวตัวหนึ่งดำตัวหนึ่งเป็นเพื่อนร่วมหากินกันมาช้านาน วันหนึ่งกระต่ายสองตัวเที่ยวและเล็มหญ้ากิน แต่กระต่ายขาวเห็นหญ้าอ่อนๆ ฝั่งโน้นมีชุมจึงว่ายน้ำข้ามฟากไปหากินข้างโน้น กระต่ายตัวดำไม่ยอมไป ทนกินอยู่ฝั่งเดียว แต่นั้นมากระต่ายขาวก็ข้ามน้ำไปหาหญ้าอ่อนกินฝั่งโน้นอยู่เรื่อย วันหนึ่งขณะที่กระต่ายขาวกำลังว่ายน้ำข้ามฟากบังเกิดมีลมพัดจัดมีคลื่นปั่นป่วนกระแสน้ำเชี่ยวกรากพัดเอากระต่ายขาวไปจะเข้าฝั่งไหนก็ไม่ได้เลยจมน้ำตายในที่สุด ส่วนกระต่ายดำก็ยังเที่ยวหากินอยู่ได้ไม่ตาย” ฝ่าธุลีพระบาทลองทำนายว่า กระต่ายตัวไหนจะดี



๔.๖ ยถาให้คน
ครั้งหนึ่ง เมื่อยังเป็นพระเทพกวี ได้เข้าไปฉันบนพระที่นั่ง ยถาจบแล้ว สมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงสัพยอกว่า ทำไมจึงไปให้เปรตเสียหมด คนผู้ที่ทำจะไม่ให้บ้างหรือ  สมเด็จพระพุฒาจารย์ ยถาใหม่ว่า“ยถา วาริวหา ปูรา ปริปูเรนฺติ สาครํ เอวเมว อิโต ทินฺนํ ทายกานํ ทายิกานํ สพฺเพสํ อุปกปปฺปติฯ” รับสั่งว่า “ยถาอุตฺตริ  สัพพิอุตฺตรอย”  แล้วทรงรางวัล ๖ บาท  สมเด็จฯ เข้าวังทีใดอะไรมิอะไรก็ก็ขยายให้เป็นที่พอพระราชหฤทัยได้รับรางวัลทุกคราว


๔.๗ ไม่จนเรื่องโลก
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ นั้น เป็นระยะที่ชาวฝรั่งตื่นตัวเข้ามาเมืองไทยมากที่สุด เป็นพวกสอนศาสนาบ้าง เป็นพวกศึกษาเกี่ยวกับการแสวงหาเมืองขึ้นบ้าง เป็นพวกที่สนใจในทรัพยากรของชาติบ้าง ทั้งนี้เป็นเพราะประเทศไทยยังไม่มีนโยบายป้องกันคนต่างด้าวเข้าประเทศเหมือนชาติอื่นๆ ทรงนิยมติดต่อกับชาวต่างประเทศในฐานะที่ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ในภาคบูรพาทิศ ที่สามารถทรงศึกษาภาษาอังกฤษแตกฉานเป็นองค์แรก ตามจดหมายเหตุของเซอร์ยอน เบราริง ทรงเปิดโอกาสให้ชาวต่างประเทศเข้ามาเผยแพร่ลัทธิศาสนา ตลอดจนมาตั้งทำเลค้าขายได้ตามประสงค์มากขึ้น ปรากฏว่าครั้งนั้นชาวต่างชาติสามารถเข้าเฝ้าได้ในพระที่นั่งอันรโหฐาน และได้รับเชิญเข้าไปเป็นแขกเกียรติยศของราชสำนักมากที่สุด แม้นโยบายของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ก็ประสงค์ให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่ก้าวหน้าไปทันอารยประเทศ ในด้านวัตถุและการศึกษาศิลปวิทยาการจึงได้ทรงโปรดเกล้าฯ จ้างครูสอนภาษาอังกฤษผู้หนึ่งเป็นหญิง ชื่อ มิสซิสแอนนา เรียวโนเวล เข้ามาสอนภาษาอังกฤษแก่สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์ และแก่พระเจ้าลูกยาเธออื่นๆ ตลอดจนเจ้าจอมหม่อมห้ามด้วย ซึ่งเรื่องนี้ได้ปรากฏความพิสดารอยู่ในประวัติศาสตร์

บรรดาชาวต่างชาติที่เข้ามาในประเทศไทยครั้งกระนั้น ปรากฏว่ามีพวกมิสชันนารี คือพวกบาทหลวงสอนศาสนาและเผยแผ่ศาสนาคริสต์มากกว่าพวกอื่น ซึ่งมักจะเข้าเฝ้ารบกวนพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทั้งในด้านขอให้ทรงพระราชทานศาสนูปถัมภ์และไต่ถามถึงเหตุการณ์ต่างๆ เกี่ยวกับลัทธิขนบธรรมเนียม ข้อสำคัญก็คือเรื่องอันเกี่ยวแก่พระบวรพุทธศาสนา โดยเหตุที่มิสชันนารีพวกนี้สนใจในหลักธรรมของพระบวรพุทธศาสนามาก

ครั้งหนึ่งได้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทกราบทูลไต่ถามพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ว่า

“ลัทธิหลักธรรมของพระบวรพุทธศาสนา ตลอดจนศีลที่ประชาชนและภิกษุสามเณรถือเป็นวัตรปฏิบัติรู้สึกว่า ลุ่มลึกยิ่งนักสงสัยว่ายังจะมีผู้ใดประพฤติปฏิบัติได้โดยสมบูรณ์อยู่หรือพระพุทธเจ้าข้า?”

ทรงมีพระราชกระแสดำรัสว่า “มีซิ” ก็กราบทูลอีกว่า “ผู้ใดเล่าที่เป็นผู้ทรงคุณวิเศษสามารถประพฤติธรรมและศีลสมบูรณ์เช่นนั้น ข้าพระพุทธเจ้า จะมีเกียรติรู้จักเขาผู้นั้นหรือไม่ พระพุทธเจ้าข้า?”

เล่ากันมาว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ได้รับสั่งให้สังฆการีเข้าเฝ้า ทรงสั่งว่า “พระธรรมการแกพาคณะบาทหลวงเหล่านี้ไปหาสมเด็จพระพุฒาจารย์วัดระฆังฯ”   แล้วหันมารับสั่งกับคณะบาทหลวงผู้สอนศาสนาว่า “ท่านไปกับผู้นี้ เขาจะพาท่านไปพบกับผู้ทรงคุณธรรมวิเศษของพระพุทธศาสนา” รับสั่งเท่านั้นแล้วก็เสด็จขึ้น

ฝ่ายพระธรรมการตำแหน่งสังฆการี เมื่อรับพระบรมราชโองการใส่เกล้าฯ ก็นำคณะบาทหลวงไปหาสมเด็จพระพุฒาจารย์ที่วัดระฆังฯ เมื่อไปถึงก็กราบนมัสการแล้วแจ้งข้อความให้ทราบตามพระราชโองการทุกประการ  สมเด็จฯ พอฟังแล้วก็ทราบทันทีว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ประสงค์จะให้ท่านเป็นผู้ตอบโต้ปัญหาที่เกี่ยวกับการปฏิบัติธรรมชั้นสูง อันเป็นส่วนพระปรมัตถ์แก่คณะบาทหลวง เพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติพระบวรพุทธศาสนากับอีกประการหนึ่งเพื่อเป็นการแสดงให้รู้ว่า ประเทศไทยก็ยังมีผู้ปฏิบัติธรรมแห่งพระพุทธศาสนา นับเป็นหน่อเนื้อศากยบุตรอยู่อีกไม่น้อยเหมือนกัน

ปรากฏว่าการเจรจาไต่ถามเป็นไปอย่างเผ็ดร้อนถึงขีด เพราะบาทหลวงคณะนั้นได้ศึกษาภาษาไทยและพูดไทยได้ดี ผลของการสนทนาถึงข้อปฏิบัติเกี่ยวกับศีลและการบำเพ็ญธรรมได้จบลง ด้วยคณะบาทหลวงกล่าวคำสรรเสริญสมเด็จพระพุฒาจารย์ว่า “พระคุณเจ้าเป็นผู้ทรงคุณธรรมวิเศษในพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง แต่ส่วนทางโลกพระคุณเจ้าไม่รู้อะไรเลย

สมเด็จฯ ย้อนตอบว่า “อย่าว่าแต่อาตมภาพจะไม่แจ้งโลกเลย แม้แต่พวกท่านก็อยู่ในลักษณะไม่แจ้งโลกเหมือนกัน”  คณะบาทหลวงแย้งว่า “พวกกระผมซิพระคุณเจ้าที่แจ้ง คือแจ้งว่าโลกนี้กลมหาใช่แบนแล้วหามีปลาอานนท์หนุนอยู่เหมือนที่คนไทยเข้าใจกันไม่" สมเด็จฯ หัวเราะแล้วพลางกล่าวว่า “เข้าใจกันไปคนละอย่างเสียแล้วละท่าน  อาตมภาพคิดว่าเป็นการแจ้งโลกแบบโลกวิทู หาได้คิดถึงเรื่องโลกกลมโลกแบนอย่างท่านกล่าวไม่  อ้ายโลกกลมโลกแบนอาตมภาพก็แจ้งเหมือนกัน ซ้ำแจ้งต่อไปอีกว่า ใจกลางของโลกนั้นอยู่ตรงไหน”  คณะบาทหลวงงุนงงด้วยคำเจรจาของสมเด็จฯ เป็นอันมาก ต่างแลดูตากัน ครั้นแล้วบาทหลวงผู้หนึ่งนมัสการถามว่า “พระคุณเจ้าทราบถึงที่ตั้งใจกลางโลกจริงๆ หรือขอรับ?”

สมเด็จฯ ตอบว่า “อาตมภาพไม่เคยมุสาวาทาเลย” “ถ้าเช่นนั้นจะพาคณะกระผมไปดูที่ตั้งใจกลางโลกได้ไหมขอรับ?”  คณะบาทหลวงรุมกันต้อนสมเด็จฯ เพื่อหวังให้จนมุม  “ได้ซิ จะไปเมื่อไหร่ละ” สมเด็จฯ พูด “เดี๋ยวนี้เลยได้ไหมขอรับ?”  คณะบาทหลวงขอร้องเพื่อจะดูว่าสมเด็จฯ สามารถนำไปที่ใจกลางโลกในทัศนะของท่านได้อย่างไร

“ได้” สมเด็จฯ ตอบสั้นๆ พลางลุกขึ้นครองจีวรให้เป็นปริมณฑลตามสมณสารูป แล้วเอื้อมมือไปหยิบไม้เท้าและกล่าวว่า “ตามอาตมภาพมา”  บาทหลวงทั้งคณะลุกขึ้นพร้อมกันแล้วตามสมเด็จฯ ลงจากกุฏิ มายืนคอยอยู่ที่พื้นดินบริเวณหน้าบันไดเบื้องล่าง ณ ตรงบริเวณนั้นเอง  สมเด็จฯ ได้เอาไม้เท้าที่ถือปักลงไปในพื้นดินพลางชี้มือให้คณะบาทหลวงดูแล้วกล่าวว่า“ใจกลางโลกอยู่ที่ตรงนี้” ทุกท่านต้องตลึงงันและงุนงงในเรื่องใจกลางของโลกตามทัศนะของสมเด็จฯ อีกครั้งหนึ่ง แล้วค้านว่า “เป็นไปไม่ได้ดอก พระคุณเจ้าขอรับ ที่นี่มันหน้าบันไดกุฏิพระคุณเจ้าแท้ๆ”

สมเด็จฯ ชี้มือไปที่ไม้เท้าพลางพูดว่า “ก็ท่านกล่าวยืนยันว่าโลกนี้กลมไม่ใช่แบนอยู่เมื่อสักครู่นี้เอง เมื่อโลกนี้กลมจริงอย่างท่านว่า ที่นี่ก็เป็นใจกลางโลก ถ้าท่านสงสัยก็ขอให้วัดดูเถิดว่าจากจุดศูนย์กลางที่ไม้เท้าปักนี้อ้อมไปโดยรอบทั้งสองข้างแล้วที่ตรงนี้เป็นใจกลางโลกจริง” (เปรียบว่าโลกกลมดังลูกบอล เมื่อเอาเข็มหมุดปักลงที่ใด ที่ตรงนั้นก็เป็นจุดศูนย์กลางของลูกบอลแล)  พร้อมกันแล้วกล่าวว่า “จริงของพระคุณเจ้า ใจกลางโลกอยู่ตรงนี้ พระคุณเจ้าทรงคุณธรรมวิเศษจริงๆ”



๔.๘ บ่ทุกข์โศก เมื่อถูกขับออกนอกประเทศ
เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) นั้น ตั้งแต่รับสมณศักดิ์เป็นพระธรรมกิติจนกระทั่งเป็นพระเทพกวีได้มีผิดครั้งหนึ่ง เมื่อเทศน์ถึงตั้งกรุงกบิลพัสดุ์ และตั้งวงศ์ศากยราชในพระปฐมสมโพธิปริเฉทที่ ๑ แต่ในสมัยใช่กาลจะเทศน์ ท่านนำไปเทศน์ถวายว่า “เมื่อตั้งกรุงกบิลพัสดุ์แล้ว จึงนำบุตรกษัตริย์ในวงศ์เดียวกันมาอภิเษก แต่กษัตริย์พระองค์แรกได้นำพระขนิษฐนารีมาอภิเษกตามลัทธิของพวกพราหมณ์ที่พากันนิยมว่า การแต่งงานกันเองไม่เสียวงศ์จนเป็นโลกียบัญญัติสืบมาช้านาน จนถึงกษัตริย์วงศ์รัชกาลที่ ๑ รวมพี่น้อง ๗ องค์ เจ้าชาย ๓ เจ้าหญิง ๓ ออกจากเมืองพระราชบิดาโอกากะมาตั้งเป็นราชธานี ขนานนามว่ากรุงกบิลพัสดุ์ตามบัญญัติของกบิลฤาษี ต่อนี้ไปก็แต่งงานราชาภิเษกกัน พี่ได้น้อง น้องได้พี่ เป็นอย่างนี้กันเรื่อยมา ต่างก็เห็นตามพราหมณ์เขาถือมั่นว่า อสัมภินนวงศ์ไม่แตกพี่แตกน้องแน่นแฟ้นดีบริสุทธิ์ไม่เจือไพร่ คราวนี้เลียนอย่างมาถึงประเทศใกล้เคียง มัชฉิมประเทศก็พลอยเอาอย่างกันสืบๆ มาจนถึงสยามประเทศเอาอย่าง เอาพี่เอาน้อง ขึ้นราชาภิเษกสมรสกันเป็นธรรมเนียมมา”

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ไม่พอพระราชหฤทัยไล่ลงจากธรรมาสน์ “ไปๆ ไปให้พ้นพระราชอาณาจักร ไม่ให้อยู่ในดินแดนของฟ้าไปให้พ้น”  พระเทพกวี ออกจากวังเข้าไปอาศัยในโบสถ์วัดระฆังฯ ออกไม่ได้เป็นเวลานาน ใช้บิณฑบาตในโบสถ์ ลงดินไม่ได้เกรงผิดพระบรมราชโองการ ครั้นถึงคราวถวายผ้าพระกฐิน เสด็จมาพบเข้า จึงได้รับสั่งว่า “อ้าว ไล่แล้วไม่ให้อยู่ในราชอาณาจักรสยาม ทำไมยังขืนอยู่อีกล่ะ”

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) จึงถวายพระพรว่า “อาตมภาพไม่ได้อยู่ในพระราชอาณาจักร อาตมภาพอาศัยอยู่ในพุทธจักรตั้งแต่วันมีพระบรมราชโองการ อาตมภาพไม่ได้ลงดินของพระมหาบพิตร”

ทรงตรัสถามต่อไปว่า “ก็กินข้าวที่ไหน ไปถานที่ไหน”  “ขอถวายพระพร  บิณฑบาตในโบสถ์นี้ฉัน ถานในกระโถน เทวดาเป็นคนนำไปลอยน้ำ”

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ จึงตรัสว่า “โบสถ์นี้ไม่ใช่อาณาจักรของสยามหรือ?”  

สมเด็จพระพุฒาจารย์ตอบว่า “ขอถวายพระพร โบสถ์เป็นวิสุงคาม เป็นส่วนหนึ่งจากพระราชอาณาจักร กษัตริย์ไม่มีอำนาจขับไล่ได้ ขอถวายพระพร”  

ครั้นลงท้ายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ จึงตรัสว่า “ขอโทษ ขอโทษ” แล้วก็ถวายผ้าพระกฐิน ครั้นเสร็จจากการพระกฐินแล้ว ได้รับสั่งว่า“อยู่ในพระราชอาณาจักรสยามได้ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป”

จากหนังสือสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต  พฺรหฺมรํสี)  ซึ่งนายธวัชชัย  อิศรางกูร ณ อยุธยา รวบรวมขึ้นตอนหนึ่งกล่าวว่า “การพระราชทานความรักใคร่ชอบพอสมเด็จฯ และการพระราชทานอภัยสำหรับสมเด็จฯ ทุกอย่างโดยตลอดรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ นั้น นับเป็นเหตุการณ์พิเศษอย่างหนึ่ง ซึ่งเกี่ยวพันสืบเนื่องอยู่กับการเมืองในรัชสมัยนั้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น



๔.๙ มืดจริงหนอ  
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) นั้น มิใช่ท่านจะมุ่งเพ่งเฉพาะแต่การศาสนาเพียงอย่างเดียว หรือการบำเพ็ญทุกข์ร้อนของประชาชนพลเมืองแต่เพียงอย่างเดียวก็หาไม่ เพราะสายตาของสมเด็จฯ นั้น หมายถึง การเพ่งมองไปในแง่การเมืองหรือการแผ่นดินด้วย ดังได้กล่าวแล้วว่าในปัญหาที่เกี่ยวกับการเมืองสำคัญๆ ซึ่งท่านได้ถวายต่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ นั้น ท่านมักจะแสดงออกด้วยวิธีการพิเศษ เช่นในครั้งหนึ่ง ท่านได้เคยจุดไต้เทียนเข้าไปในพระบรมมหาราชวังซึ่งเป็นเวลากลางวันแสกๆ ทั้งนี้เพื่อที่ท่านจะแสดงให้รู้ว่า ในพระบรมมหาราชวังนั้นมืดจึงได้แสดงไปในทางปริศนาธรรม แต่ทุกครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ พระองค์ก็ทรงรู้ว่ามีความหมายเป็นประการใด เช่นกล่าวกันว่า ในกาลครั้งหนึ่ง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ได้โปรดให้มีการแสดงละครขึ้นในวังหลวง และสมเด็จฯ มีความคิดเห็นว่าการแสดงละครบ่อยๆ นั้น จะกระทบต่อพระราชกรณียกิจหรือรัฐประศาสโนบายทางการเมืองอื่นๆ

ท่านได้จุดไต้สว่างโร่ ถือเข้าไปในพระราชวังถึงมหาปราสาทเฉพาะพระพักตร์  เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทอดพระเนตรเห็นเช่นนั้น พระองค์สามารถรู้ได้อย่างปราชญ์ต่อปราชญ์จะเข้าใจกันได้ โดยมีพระราชกระแสรับสั่งกับเสนาบดีผู้ใหญ่ว่า “ขรัวเขารู้แล้ว เขารู้แล้วล่ะ” เมื่อสมเด็จฯ ได้ยินรับสั่งเช่นนั้นท่านก็เข้าใจอย่างปราชญ์ว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ท่านรู้ถึงเรื่องราวซึ่งเป็นนโยบายของพระองค์ท่านแล้ว ท่านก็ใช้ดวงไต้นั้นทิ่มกับผนังมหาปราสาทจนดับสนิท แล้วท่านก็เดินถือไต้ลงจากมหาปราสาทไป”  และมีอีกตอนหนึ่งซึ่งผู้รวบรวมคนเดียวกันนี้ได้เขียนว่า “เกี่ยวกับเหตุการณ์บ้านเมือง ในตอนก่อนที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงจะเสด็จขึ้นสู่ราชบัลลังก์ครองราชย์อย่างเป็นทางการนั้นได้มีการโจษขานกันทั่วไปทั้งแผ่นดินว่า สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ คิดจะแย่งราชสมบัติจากพระพุทธเจ้าหลวง“

เมื่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ ได้ทราบข่าวที่เล่าลือกันเช่นนั้น ก็ทำให้ไม่สบายใจนัก เพราะถ้าคิดไปถึงประวัติศาสตร์เมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาก็อาจซ้ำรอยขึ้นมาก็ได้ เนื่องจากอยุธยานั้นในรัชสมัยของสมเด็จพระเชษฐาธิราชมีพระชนมายุเพียง ๑๔ ปี และได้มีเจ้าพระยากลาโหมสุริวงศ์ เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแทน ก็ได้เคยก่อการแย่งราชบัลลังก์ ยึดอำนาจคุมพวกเข้าแย่งราชสมบัติจับสมเด็จพระเชษฐาธิราชสำเร็จโทษเสีย แล้วสถาปนาตนเองเป็นพระมหากษัตริย์สืบแทนต่อไป


เรื่องก็ได้เกิดมีการวิพากษ์วิจารณ์กันมากขึ้น ก็ด้วยมีเหตุอื่นๆ ประกอบอีกเป็นอันมากว่า การเมืองของกรุงสยามยุคนั้น มีทีท่าจะคล้อยไปในทางประวัติศาสตร์แห่งกรุงศรีอยุธยาจะมาซ้ำรอย  ข่าวจึงได้ระพือโจษขานกันเข้าไปอีก พวกขุนน้ำขุนนาง เจ้าพระยาชั้นผู้ใหญ่ทั้งหลายซึ่งสนิทชิดชอบกับสมเด็จฯ  ต่างพากันนำความนี้ไปถามท่าน และเรียนให้ท่านทราบอยู่เนืองๆ  ซึ่งทำให้สมเด็จฯ พลอยไม่สบายใจไปด้วย มีสิ่งหนึ่งที่ทำให้ท่านวิตกไปมากนั้นก็คือในระหว่าง ความสัมพันธ์ของสมเด็จฯ กับพระพุทธเจ้าหลวงยังทรงพระเยาว์และสมเด็จฯ ได้เข้าไปถวายการสอนหนังสือในพระบรมมหาราชวัง เพราะฉะนั้น เจ้าประคุณสมเด็จฯ ซึ่งมีความจงรักภักดีในพระพุทธเจ้าหลวงมาเป็นเวลาข้านาน เมื่อได้รับข่าวลือเช่นนั้นจึงมีความวิตกกังวลอยู่ไม่น้อย เพราะในขณะนั้นพระพุทธเจ้าหลวงเพิ่งจะมีพระชนมายุอยู่ระหว่าง ๑๖ – ๒๐ พรรษา คือสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เป็นผู้มีอำนาจมากมาย สามารถที่จะสั่งตัดหัวใครได้ ก่อนถวายบังคมขอพระบรมราชานุญาต  เพราะฉะนั้น เมื่ออำนาจของสมเด็จเจ้าพระยาฯ มีมากมายประจักษ์ชัดถึงเพียงนี้จึงเป็นเหตุให้สมเด็จพระพุฒาจารย์ ต้องตัดสินใจแสดงปริศนาธรรมอีกครั้งหนึ่งเพื่อเป็นการยับยั้งความคิดเห็นและการกระทำของสมเด็จเจ้าพระยาฯ

โดยสมเด็จฯ (โต) ได้จุดไต้ (หนังสือประวัติสมเด็จฯ บางเล่มซึ่งผู้รวบรวมบางท่านเขียนว่าจุดเทียนเล่มใหญ่) เข้าไปหาสมเด็จเจ้าพระยาฯ ณ ทำเนียบของท่านในเวลากลางวันแสก ๆ เล่ากันว่า ความจริงแล้ว สมเด็จเจ้าพระยาฯ ก็มีความเคารพในสมเด็จฯ อยู่ไม่น้อยเหมือนกัน เมื่อได้เห็นสมเด็จฯ เดินถือไต้จุดสว่างโร่เข้ามา แสดงว่าสมเด็จฯ ได้ล่วงรู้อะไรซึ่งเป็นการมิดีมิร้ายขึ้นมาก็ยิ่งตกใจยิ่งนัก รีบนิมนต์ให้ท่านนั่งบนอาสนะแลถามท่านว่า “ท่านมีความประสงค์อันใดหรือ? จึงจุดไต้เข้ามากลางวันแสกๆ เช่นนี้ เสมือนหนึ่งแผ่นดินช่างมืดมิดไปหมด” สมเด็จฯ ได้ตอบว่า ทุกวันนี้แผ่นดินมืดมัวนัก เพราะมีคนคิดร้ายจะเอาแผ่นดิน ไม่ทราบเท็จจริงประการใด ถ้าแม้นเป็นความจริง อาตมาใคร่ขอบิณฑบาตเขาเสียสักครั้ง  แทนที่ท่านจะระบุบ่งลงไปตรง ๆ ว่า เขาลือว่า ท่านเจ้าคุณคิดจะแย่งเอาราชบัลลังก์  สมเด็จฯ กลับไม่ระบุและทำเป็นไม่รู้ว่า ใครคิดร้ายต่อแผ่นดินเช่นนั้น แต่ได้กลายเป็นไปขอแรงให้ท่านเจ้าพระยาฯ ช่วยสอดส่อง และไปขอร้องให้ช่วยระงับความคิดนั้นเสีย ซึ่งทำให้ท่านไม่เสียเหลี่ยมในการที่จะนำข่าวลือไปถามตรงๆ  เช่นนั้น เมื่อสมเด็จฯ ได้ถามไปเช่นนั้น สมเด็จเจ้าพระยาฯ ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินรีบตอบว่า “ขอพระคุณท่านอย่าได้วิตกเลย ตราบใดที่กระผมยังมีชีวิตอยู่จะไม่ให้แผ่นดินมัวลงด้วยการแย่งชิงราชสมบัติโดยเด็ดขาด”
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 31 กรกฎาคม 2557 10:40:38 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5376


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #7 เมื่อ: 08 กุมภาพันธ์ 2556 07:50:00 »

.
ข้อความต่อไปนี้ คัดจาก หนังสือ "ประวัติเจ้าประคุณ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต  พฺรหฺมรํสี)"
ค้นคว้า รวบรวมและเรียบเรียง โดย พระมหาสมคิด  ปิยวณฺโณ ป.ธ.๙  ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม และครูใหญ่โรงเรียนพระปริยัติธรรม (พฺรหฺมรํสี)
วัดระฆังโฆสิตาราม จัดพิมพ์เผยแพร่และสงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ (ยกเว้นพิมพ์เพื่อเป็นธรรมทาน)
จึงแจ้งมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน
- www.sookjai.com



พระมหาพุทธพิมพ์ วัดไชโยวรวิหาร ต.ไชโย อ.ไชโย จ.อ่างทอง
...ได้ฟังเล่ากันมาว่าเจ้าประคุณสมเด็จฯ เป็นผู้สร้างในที่ดินของตา
อุทิศให้มารดากับตา มารดาชื่อเกตุ ตาชื่อไชย จึงตั้งนามว่า วัดเกตุไชโย
แต่มักเรียกกันตามสะดวกปากว่า วัดไชโย...

(คำบรรยายภาพ จากหนังสือประวัติ เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

๔.๑๐ สมเด็จโตกับแขกเลี้ยงแพะ
มีแขกพวกหนึ่งที่มาอาศัยท่านอยู่ คือพวกแขกเลี้ยงแพะและเลี้ยงโค ว่ากันว่าแขกพวกนี้มักจะชอบพากันมาสนทนากับท่านเพื่อแสวงหาความรู้เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา และในขณะเดียวกันก็เป็นผู้ที่ให้ความรู้กับท่านเกี่ยวกับศาสนาอิสลามอยู่ด้วย แขกพวกนี้ตามเรื่องมีนิวาสสถานอยู่ที่หลังวัดระฆังฯ  พอเช้าขึ้นมาก็ต้อนวัวและแพะให้กินหญ้าอยู่ที่หลังโบสถ์ แล้วอาศัยหลับนอนอยู่ตามโคนต้นโพธิ์หรือข้างเจดีย์ หรือไม่ก็ไปสนทนากับสมเด็จฯ ดังกล่าว  และแล้วท่านก็ต้องออกข้อบังคับเด็ดขาดแก่พวกแขกเหล่านี้มิให้พวกแพะหรือวัวมากินทางด้านหน้าโบสถ์เป็นอันขาดเพราะมีต้นโพธิ์ที่ได้รับพระราชทานมาจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ กำลังเป็นต้นอ่อนที่จักได้รับการทะนุถนอมเป็นอย่างดียิ่ง

วันหนึ่งปรากฏว่า แขกเลี้ยงแพะนอนหลับไปฝูงแพะเลยยกโขยงมาและเล็มใบโพธิ์ที่กำลังขึ้นอ่อน ๆ ของท่านเสียเรียบหมด ร้อนถึงพวกลูกศิษย์พากันเอ็ดอึง และพวกแขกเลี้ยงแพะมาพบสมเด็จฯ ๆ ก็บอกกับพวกเขาว่ารู้หรือเปล่าว่าต้นโพธิ์ต้นนี้ พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้เมื่อ ๒๕๐๐ ปีกว่ามาแล้ว การที่เอ็งปล่อยให้แพะมันมาล่อใบโพธิ์เสียเรียบร้อยไปทั้งต้นจะต้องได้รับบาปอย่างมหันต์ แขกคนนั้นก็หัวเราะบอกว่า “ไม่ใช่หรอกครับคุณพ่อ ต้นโพธิ์ต้นนี้ไม่ใช่ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้หรอก ต้นที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้นั้นอยู่ที่อินเดียโน่นต่างหาก” สมเด็จฯ หัวเราะด้วยเสียงอันดังและพยักหน้าให้แขกเลี้ยงแพะออกไปได้ซึ่งทำให้มันดีอกดีใจยกใหญ่ เพราะในระยะแรกทีเดียวเข้าใจว่า สมเด็จฯ ท่านจะไม่ยอมให้นำแพะมากินหญ้าในวัดระฆังฯ ต่อไป  เพราะต้นศรีมหาโพธิ์ต้นนั้น ท่านหวงแหนยิ่งนัก นอกจากว่าผู้สำเร็จราชการที่อินเดียจะส่งพันธุ์มาถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ โดยตรงแล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ยังได้ทรงปลูกด้วยพระหัตถ์ของพระองค์เสียอีก แล้วพระราชทานแก่สมเด็จฯ ซึ่งนำเรือกัญญาเป็นเกียรติยศไปรับถึงท่าขุนนางคือท่าราชวรดิษฐ์

เพราะฉะนั้นการที่สมเด็จฯ ไม่ถือโทษในสาเหตุที่แขกเลี้ยงแพะเป็นต้นเหตุนั้น จึงทำให้พวกแขกเลี้ยงแพะวัดระฆังฯ พากันนิยมเลื่อมใสศรัทธาในตัวสมเด็จฯ มากยิ่งขึ้น แล้วพากันมารับใช้สมเด็จฯ สุดแต่ทางวัดจะมีงานการหรือพิธีรีตองอะไร แม้จะมีศาสนาต่างกันก็จริง  แต่ก็ทำให้สมเด็จฯ แปลกใจเหมือนกัน เพราะแขกพวกนี้พากันพกพระสมเด็จฯ ของท่านทุกคน มันบอกว่า แม้จะไม่ได้นับถือพุทธ แต่ก็นับถือสมเด็จฯ อย่างพ่อบังเกิดเกล้าของมันเอง ซึ่งมันได้เรียกสมเด็จฯ ว่าคุณพ่อทุกคน  อยู่มาวันหนึ่งเป็นวันออกบวชของพวกแขกซึ่งจะมีพิธีกินเลี้ยงใหญ่ ปรากฏว่าเจ้าพวกแขกเลี้ยงวัวคนหนึ่งแทนที่จะประกอบอาหารเช่นคนอื่นๆ แล้วนำมาเลี้ยงดูกัน แต่กลับร้องให้ฟูมฟายไปหาสมเด็จฯ บอกว่ากระทะที่จะใช้ประกอบอาหารของมันนั้น ปรากฏว่าลูกศิษย์ของท่านคนหนึ่งแกล้งเอาน้ำมันหมูไปราดไว้เสียจนเต็มกระทะ ขอให้สมเด็จฯ หาตัวลูกศิษย์พิเรนทร์คนนั้นมาลงโทษให้ด้วย เพราะหมูนี้เป็นสัตว์ที่สกปรกยิ่งนักและพระนาบีพระของผมไม่โปรดเลยเป็นอันขาด ถือว่าแม้แต่มีมันหมูจับเป็นคราบอยู่ที่ๆ อาศัยของแขกคนใดที่เป็นลูกศิษย์พระนาบีก็ไม่ได้

สมเด็จฯ ถามว่าก็เพราะเหตุใดพระนาบีไม่โปรดหมูเล่า เมื่อสมเด็จฯ ถามดังนั้น แขกคนนั้นก็เริ่มวิสัชนาประวัติที่มาทำให้พระนาบีเกลียดหมูอย่างจับพระทัยเสียอย่างยืดยาว และจบลงด้วยการชี้มือไปที่ลูกศิษย์ของท่านซึ่งนั่งหัวสลอนอยู่หน้ากุฏิเป็นแถวว่า ขอคุณพ่อได้จัดการชำระโทษให้ได้ด้วยนะครับ  สมเด็จฯ ได้ฟังดังนี้ก็หัวเราะและตอบว่า “หมูตัวนี้ไม่ใช่หมูตัวที่พระนาบีเกลียดนั้นหรอก เป็นหมูคนละตัวต่างหากล่ะ” แขกคนนั้นสะดุ้งเฮือกเมื่อโดนสมเด็จฯ ศอกกลับเข้าแล้วเช่นนั้น เพราะเมื่อสองสามวันมานี้เองที่ตนได้กราบเรียนกับสมเด็จฯ ว่า ต้นโพธิ์ที่แพะของมันและเล็มใบอ่อนเสียหมดทั้งต้นนั้น ไม่มีความสำคัญอะไรหรอกเพราะแม้จะเป็นต้นศรีมหาโพธิ์ส่งมาจากอินเดียก็ตาม แต่ก็ไม่ใช่ต้นที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้

สมเด็จฯ บอกไปเช่นนั้นแล้ว ท่านก็หัวเราะ และทำให้แขกเลี้ยงแพะพลอยหัวเราะไปด้วย พลางกราบเรียนกับท่านว่า “ถูกของคุณพ่อแล้วครับ หมูตัวนี้กับหมูตัวที่พระนาบีเกลียดนั้นคนละตัวกัน ไม่บาปไม่บาปแน่” แล้วก็ลาท่านกลับ พร้อมกับโยนกระทะใบนั้นทิ้งไป



๔.๑๑ ถวายพระพร
ครั้นสมเด็จพระวันรัต (เซ่ง) ถึงมรณภาพแล้ว พระเทพกวีต้องเป็นผู้ใหญ่นั่งหน้า ครั้งหนึ่งมีกิจราชการฉลองสวดมนต์ในพระบรมมหาราชวัง ครั้นพระราชาคณะทั้งหลายสวดเสร็จแล้วเข้ารับพระราชทานฉัน ฉันเสร็จแล้วก็ยถา พระรับสัพพีและสวดคาถาอนุโมทนาจบแล้ว พระเทพกวี (โต) จึงถวายอดิเรกขึ้นองค์เดียวดังนี้

อติเรกวสฺสสตํ  ชีวตุ.  อติเรกวสฺสสตํ ชีวตุ.  อติเรกวสฺสสตํ ชีวตุ.  ทีฆายุโก โหตุ.  อโรโค โหตุ.  ทีฆายุโก โหตุ.  อโรโค โหตุ.  สุขิโต โหตุ มหาราชา.  สิทฺธิกิจฺจํ สิทฺธิกมฺมํ สิทฺธิลาโภ ชโย นิจฺจํ มหาราช วรสฺส ภวตุ สพฺพทา. ขอถวายพระพร

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงโปรดมาก รับสั่งถามว่า แก้ลัดตัดเติมจะได้บ้างไหม พระเทพกวี ถวายพระพรว่า  อาตมภาพได้เปยยาลไว้ในตัวบทคาถา สำหรับสมเด็จพระราชสมภารเจ้าได้ทรงตรอกลงตามพระราชอัธยาศัยแล้ว  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงตรอกซ้ำลงตรงทีฆายุ อีกบรรทัดหนึ่ง ทรงตรอกลงที่หน้าศัพท์ มหาราชวรสฺส เป็น ปรเมนฺทมหาราชวรสฺส นอกนั้นคงไว้ตามคำของพระเทพกวีทุกคำ แล้วตราพระราชบัญญัติประกาศไปทุกๆ พระอารามให้เป็นขนบธรรมเนียมต้องให้พระราชาคณะผู้นั่งหน้าถวายคาถาอดิเรกนี้ก่อนจึงรับ ภวตุ สพฺพทา แล้วจึงถวายพระพรลาออกจากพระที่นั่งได้ ตลอดจนการพระเมรุ การถวายพระกฐินทานตามพระอารามหลวง ต้องมีพระราชาคณะถวายอดิเรกนี้ทุกคราวพระราชดำเนิน จึงเป็นพระราชประเพณีสืบมาจนทุกวันนี้แล



๔.๑๒ เผชิญหน้านักปราชญ์
ปีมะเมีย โทศก จุลศักราช ๑๒๓๒ เป็นปีที่ ๓ ในรัชกาลที่ ๕ กรุงเทพฯ  ที่บ้านสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง)  ได้มีการประชุมนักปราชญ์ทุกชาติทุกภาษา เป็นบุคคลสำคัญๆ รอบรู้ศาสนาของชาตินั้นๆ  สมเด็จเจ้าพระยาฯ ให้ทนายไปอาราธนาสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ไปแสดงเผยแพร่ความรู้ในสิ่งที่ถูกที่ชอบด้วยโลกธรรมในพุทธศาสนาอีกภาษาหนึ่งในชาติของสยามประเทศ ครั้นสมเด็จฯ ได้ยินคำอาราธนาจึงรับรับว่า “ฉันยินดีแสดงนักในข้อนี้”  ทนายก็กลับไปกราบเรียนสมเด็จเจ้าพระยาฯ ว่า “สมเด็จฯ ที่วัดรับแสดงในเรื่องให้รู้ความผิดถูกทั้งปวงได้”

ครั้นถึงกำหนดวัน สมเด็จฯ วัดระฆังฯ ก็ไปถึง นักปราชญ์ทั้งหลายยอมให้นักปราชญ์ของสยามประเทศออกความเห็นก่อนในที่ประชุมและขุนนางทั้งปวงก็มาประชุมฟังด้วย  สมเด็จเจ้าพระยาฯ จึงได้อาราธนาสมเด็จฯ วัดระฆังฯ ขึ้นนั่งบัลลังก์แล้วนิมนต์ให้สำแดง

สมเด็จฯ ก็ออกวาจาสำแดงขึ้นมาว่า “พิจารณา มหาพิจารณา  พิจารณา มหาพิจารณา พิจารณา มหาพิจารณา พิจารณา มหาพิจารณา พิจารณา มหาพิจารณา…” พึมพำทุ้มๆ ครางไปเท่านั้นนานสักชั่วโมง

สมเด็จเจ้าพระยาฯ จึงได้ลุกขึ้นจี้ตะโพกสมเด็จฯ แล้วกระซิบเตือนว่า “ขยายคำอื่นให้ฟังบ้าง”  สมเด็จฯ ก็เปล่งเสียงดังขึ้นกว่าเดิมอีกชั้นหนึ่งโดยขึ้นเสียงว่า  

“พิจารณา มหาพิจารณา” ว่าอยู่นานสักหนึ่งชั่วโมงเห็นจะได้  สมเด็จเจ้าพระยาฯ จึงต้องลุกขึ้นมาจี้ตะโพกสมเด็จฯ อีก แล้วก็ว่า “ขยายคำอื่นให้เขาฟังบางซิ”  สมเด็จฯ จึงตะโกนให้ดังกว่าเดิมว่า “พิจารณา มหาพิจารณา”  แล้วก็อธิบายว่า

“การของโลกก็ดี การของชาติก็ดี การของศาสนาก็ดี กิจที่พึงจะทำต่างๆ ในโลกก็ดี  กิจที่ควรกระทำสำหรับข้างหน้าก็ดี  กิจที่ควรทำให้สิ้นธุระทั้งปัจจุบันและข้างหน้าก็ดี สำเร็จเรียบร้อยดีงามได้ด้วยการพิจารณาเป็นชั้นๆ พิจารณาเป็นเปราะๆ เข้าไป ตั้งแต่หยาบๆ แล้วก็ชั้นสูง ชั้นละเอียด  พิจารณาให้ประณีตละเมียดเข้าจนถึงที่สุดแห่งเรื่อง ถึงที่สุดแห่งอาการ ให้ถึงที่สุดแห่งกรณี ให้ถึงที่สุดแห่งวิธี ให้ถึงที่สุดแห่งประโยชน์ยืดยาว พิจารณาให้รอบคอบทั่วถึงแล้ว ทุกๆ คนจะรู้จักประโยชน์คุณเกื้อกูลตนตลอดทั้งเมื่อนี้เมื่อหน้า จะรู้ประโยชน์อย่างยิ่งได้ก็ต้องอาศัยกิจพิจารณาตลอดทั้งเมื่อนี้เมื่อหน้า จะรู้ประโยชน์อย่างยิ่งได้ก็ต้องอาศัยกิจพิจารณาเลือกเฟ้นค้นหาของดีของจริง เด่นเห็นชัดปรากฏแก่ตนด้วยการพิจารณาของตนนั้น  ถ้าคนใดสติน้อยด้อยปัญญาพิจารณาเหตุผล เรื่องราวกิจการงานของโลกของธรรมแต่พื้นๆ ก็รู้ได้พื้นๆ  ถ้าพิจารณาด้วยสติปัญญาเป็นอย่างกลางก็รู้เพียงชั้นกลาง  ถ้าพิจารณาด้วยสติปัญญาอันละเอียดลึกซึ้งในข้อนั้นๆ อย่างสูงสุด ไม่หลับหูหลับตา ไม่งมงายแล้ว อาจจะเห็นผลแก่ตนประจักษ์แท้แก่ตน ดังบรรยายมาทุกประการ จบที”

เมื่อจบแล้ว ท่านลงจากบัลลังก์ ก็ไม่มีนักปราชญ์ชาติอื่นๆ ซึ่งมี แขก ฝรั่ง เป็นต้น ที่จะสามารถออกปากขัดคอคัดค้านถ้อยคำของท่านสักคน อัดอั้นตู้หมด  สมเด็จเจ้าพระยาฯ พยักหน้าให้หมู่นักปราชญ์ในชาติทั้งหลายที่มาประชุมคราวนั้นขึ้นบัลลังก์ ต่างคนก็ต่างแหยงไม่เอาหน้าออกแถลงในที่ประชุมได้ ถึงต่างคนต่างเขียนมาก็จริง แต่คำของสมเด็จฯ ครอบไปหมด จะยักย้ายโวหารหรือจะอ้างเอาศาสดาของตนๆ มาแสดงในที่ประชุมเล่าเรื่องของตัวก็ชักจะเก้อๆ จะต่ำ จะขึ้นเหนือความพิจารณาที่สมเด็จฯ วัดระฆังฯ กล่าวนั้นไม่ได้เลย

ต่างคนก็ต่างนั่งพยักหน้าเกี่ยงกันขึ้นบัลลังก์ใครก็ไม่อาจขึ้น  สมเด็จเจ้าพระยาฯ เองก็ทราบได้ดีเห็นจริงตามบรรยายของทางพิจารณารู้ได้ตามชั้น ตามภูมิ  ตามกาล ตามบุคคล ที่ยิ่งและหย่อนและกล้า จะรู้ได้ด้วยการพิจารณา ถ้ามีความรู้น้อย ห่างความรู้ จริงตามคำของสมเด็จฯ ที่วัดทุกประการ ในวันนั้นก็เป็นอันเลิกประชุมปราชญ์ ต่างคนต่างลากลับ

ฉะนั้น ข้าพเจ้าผู้รวบรวมเรียบเรียง (พระมหาสมคิด  ปิยวณฺโณ ป.ธ.๙... กิมเล้ง) จึงใคร่ขอให้ท่านผู้อ่านได้ใช้วิจารณญาณการอ่านการดูด้วย “พิจารณา” ดังคำกล่าวของเจ้าประคุณสมเด็จฯ (โต) ข้างต้นต่อไป



๔.๑๓ ข้ออุปมาธรรมดับกิเลส
ปีฉลู พ.ศ. ๒๔๐๘ (จ.ศ. ๑๑๒๗)  สมเด็จพระปวเรนทราเมศร์มหิศเรศร์รังสรรค์ พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ในพระบรมมหาราชวัง (วังหน้า) เสด็จสวรรคตในพระที่นั่งอิศเรศร์ ณ วัน...เดือนยี่ เป็นปีที่ ๑๕ ในรัชกาลที่ ๔ เถลิงราชย์ได้อุปราชาภิเษก ๑๔ ปี กับ ๓ เดือน พระชนม์ ๕๗ ปี กับ ๔ เดือน  ประกอบโกศตั้งบนพระเบญจา ในพระที่นั่งอิศเรศร์ฯ นั้น

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ เสด็จบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทานในพระบวรศพ แต่พอเสด็จถึงพระทวารพระที่นั่งนั้น พระสวดพระอภิธรรม ๘ รูป ตกใจเกรงพระบรมเดชานุภาพจึงลุกวิ่งหนีเข้าแอบในพระวิสูตร (ม่าน) ที่กั้นพระโกศ ทรงทราบแล้วกริ้วใหญ่แหวๆ ว่า “ดูซิ ดูซิ ดูถูกข้า มาเห็นข้าเป็นเสือ เป็นยักษ์ เอาไว้ไม่ได้ต้องสึกให้หมด”  รับสั่งแล้วทรงพระอักษรถึงสมเด็จฯ (โต) ส่งให้พระธรรมเสนา (เนียม) นำลายพระราชหัตถเลขามาถวายสมเด็จฯ วัดระฆังฯ  ครั้นสมเด็จฯ (โต) รับจากสังฆการี อ่านดูแล้วท่านก็จุดธูป ๓ ดอก แล้วจี้ที่กระดาษว่างๆ จากลายพระหัตถ์นั้น ๓ ครั้ง   แล้วส่งให้พระธรรมเสนานำมาถวายคืนในเวลานั้น

พระธรรมเสนาทูลเกล้าถวาย ทรงทอดพระเนตรเห็นรูกระดาษไหม้ ไม่ลามถึงตัวหนังสือก็ทรงทราบปริศนาธรรมจึงรับสั่งว่า “อ้อ ท่านให้เราดับราคะ โทสะ โมหะ  อันเป็นไฟ ๓ กอง งดที งดที เอาเถอะๆ ถวายท่าน”

พระธรรมเสนาไปเอาตัวพระสวดมานั่งประจำที่ให้หมด แล้วทรงแนะนำสั่งสอนระเบียบจรรยาในหน้าพระที่นั่งให้พระรู้ระเบียบรับเสด็จแต่นั้นมาจนถึงทุกวันนี้



๔.๑๔ อุบายวิธีพิเศษคือการแจวเรือ
ครั้งหนึ่ง ถึงเดือน ๑๑ – ๑๒ ลอยกระทงหลวง เสด็จลงประทับบนพระที่นั่งชลังคะพิมาน (ตำหนักแพ) พร้อมด้วยฝ่ายในเป็นอันมาก สมเด็จฯ (โต) แจวเรือข้ามฟากฝ่าริ้วเข้ามา เจ้ากรมเรือดั้งจับเรือแหกทุ่น รับสั่งถามว่า “เรือใคร” เจ้ากรมกราบบังคมทูลพระกรุณาว่า “เรือสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต)”  รับสั่งว่า “เอาเข้ามานี่”

ครั้นเจ้ากรมเรือดั้งนำเรือสมเด็จฯ เข้าไปถวาย นิมนต์ให้นั่งแล้วรับสั่งว่า “ไปไหน”

ทูลว่า “ขอถวายพระพร ตั้งใจมาเฝ้า”
  
“ทำไมเป็นถึงสมเด็จฯ แล้ว เหตุใดต้องแจวเรือเอง เสียเกียรติยศแผ่นดิน”  

ทูลว่า “ขอถวายพระพร!  อาตมภาพทราบว่า  เจ้าชีวิตเสวยน้ำเหล้า สมเด็จฯ ก็ต้องแจวเรือ”  

“อ้อ! จริงๆ การกินเหล้าเป็นโทษ เป็นมูลเหตุให้เสื่อมเสียเกียรติยศแผ่นดินใหญ่โตทีเดียว  ตั้งแต่วันนี้ไปโยมจะถวายพระคุณเจ้า จักไม่กินเหล้าอีกแล้ว”  

สมเด็จฯ เลยถวายยถาสัพพี ถวายพระพรลา รับสั่งให้ฝีพายเรือดั้งไปส่งถึงวัดระฆังฯ



๔.๑๕ อุปมาพระนิพพาน
เกี่ยวกับเรื่องนิพพานนี้ ในหนังสือประวัติเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ซึ่งคุณธวัชชัย อิศรางกูร ณ อยุธยา ได้รวบรวมไว้ว่า เจ้าประคุณสมเด็จฯ นั้น ท่านพูดธรรมสากัจฉากันในสภาการต่างๆ ถ้ามีผู้ถามๆ ขึ้นว่า คำที่เรียกกันว่านิพพานๆ นั้น บางคนเป็นนักแปลก็แปลตามศัพท์ว่า ดับบ้าง ออกจากเครื่องร้อยรัดบ้าง แปลว่า เกิดแล้วไม่ตายบ้าง ตายแล้วไม่มาเกิดบ้าง ดับจากกิเลสบ้าง ดับไม่มีเศษ เลยไม่บอกถิ่นฐาน เป็นทางเดียว จะยังกันและกันให้ได้ความรู้จักพระนิพพานเป็นเงาๆ หรือรู้เรื่องราวบ้างก็ทั้งยาก จึงพากันหารือสมเด็จฯ (โต) ในเรื่องใคร่รู้จักนิพพาน

สมเด็จฯ (โต) ท่านว่าท่านก็ไม่รู้แจ้ง แต่จะช่วยชี้แจงอุปมาเปรียบเทียบให้รู้และเข้าใจเอาเอง ตามเหตุแลผล เทียบเทียมได้บ้างว่า นิพพานจะรู้ได้อย่างไร ท่านอุปไมยด้วยหญิงสองคนพี่น้องจ้องคิดปรารภปรารมภ์อยู่แต่การมีผัวอุตส่าห์อาบน้ำ ทาขมิ้น นุ่งผ้าใหม่ ผัดหน้า หวีผมแปล้ ก็ประสงค์ความรักให้เกิดกับชายผู้แลเห็นจะได้มาสู่ขอเป็นสามีเท่านั้น  ครั้นล่วงมาก็สบโชคสบช่องของคนพี่สาวมีผู้มีชื่อมีหน้ามาขอ ได้ตกลงแต่งงานร่วมห้องร่วมหอกันแล้ว หญิงผู้ที่เป็นนางน้องสาวก็มาเยี่ยมแล้วตั้งวิงวอนเซ้าซี้ซักถามว่า
“พี่จ๋า การที่พี่หลับนอนกับผัวนั้น มีรสชาติครึกครื้นสนุกสนานชื่นบานเป็นประการใด จงบอกให้ฉันรู้บ้าง”  นางพี่สาวก็ไม่รู้แห่งจะนำความรื่นรมย์สมสนิทด้วยสามีนั้น ออกมาตีแผ่เปิดเผยให้น้องสมรู้ตามเห็นตามในรื่นรมย์แห่งโลกสันนิวาสได้ นางพี่สาวก็ได้แต่บอกว่า น้องมีผัวบ้างก็จะรู้เอง ไม่ต้องถามเอาเรื่องกับพี่หรอก ครั้นอยู่มาไม่นาน นางผู้เป็นน้องสาวได้สามีแล้วไปหาพี่สาวๆ ถามว่า”การหลับนอนรมย์รื่นชื่นใจกับผัวน้องมีความรู้ว่าเป็นเช่นไร ลองเล่าบอกออกความให้พี่เข้าใจบ้างซีแม่น้อง”  นางน้องสาวฉอเลาะตอบพี่สาวทันทีว่า “พี่ไม่ต้องเยาะ ไม่ต้องเยาะ แล้วพี่น้องหญิงคู่นั้นก็นั่งสรวลหัวเราะกันตามฐานที่รู้รสสังวาสเสมอกัน”

ข้ออุปมานี้ฉันใดก็ดี พระโยคาวจรกุลบุตรมีความมุ่งหมายออกจากชาติจากภพ เบื่อหน่ายโลกสันนิวาส เห็นว่าเป็นหม้อต้มหรือเรือนอันไฟไหม้ คิดจะออกจะหนีให้พ้น ก็ทำความพยามยามแข็งข้อถกเขมรจะเผ่นข้ามให้พ้นจากหม้อต้มสัตว์และเรือนไฟอันไหม้ลุกลามก็เตรียมตัวทำศีลให้บริสุทธิ์ ปราศจากโทษเศร้าหมอง ทำสมาธิตั้งใจตรง จงใจทำสมถกัมมัฏฐาน ทำปัญญาให้เป็นวิปัสสนาญาณอย่างยิ่งยอด ตัดสังโยชน์ให้ขาดเด็ดแล้วด้วยมีดคมกล้ากล่าวคือ โคตรภูญาณ อนุโลมญาณ  มรรคญาณ ทำช่องให้เวิ้งว้างเห็นแสงสว่างปรากฏ

พระโยคาวจรกุลบุตรก็กำหนดดวงจิต จิตวางอารมณ์ วางสัญญา วางอุปาทานเครื่องยึดถือ ทำลายเครื่องกั้นห้าง ๕ ละวางได้ขาด  ประกอบองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา ฟอกใจ  คราวนี้ใจก็กอปรด้วยวิสุทธิ ๗ เมื่อวิสุทธิ ๗ ประการผุดขึ้นแล้ว พระโยคาวจรกุลบุตรก็มาละวิตก ละวิจาร ละปีติ ละสุข ละเอกัคคตา เหลือแต่อุเบกขาญาณดำเนินไป  อุเบกขาญาณมีองค์ ๖ ประการเป็นพื้นมโนธาตุ ก็กลายเป็นอัพยากฤต ไม่ติดบุญ ไม่ติดบาปต่อไป จะยังมีลมหายใจหรือหมดลมหายใจ มโนธาตุก็ตั้งอยู่ตามตำแหน่ง ไม่เข้าสิงในเบญจขันธ์ต่อไปเรียกว่า ธรรมธาตุ บริสุทธิ์จำเพาะตน เรียกว่า พระนิพพาน  ท่านผู้ได้ผู้ถึงท่านรู้กันว่าเป็นเอกันตบรมสุข ไม่ระคนปนด้วยทุกข์  ต่อไปท่านไม่ต้องซักถามเซ้าซี้เช่นหญิงทั้ง ๒ ดังสำแดงมา



๔.๑๖ นโม
ในรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ โปรดให้สร้างพระเจดีย์องค์หนึ่ง ประดิษฐานไว้บนฐานชุกชีเป็นประธานอยู่กลางพระพุทธมณเทียร มีเครื่องแต่งทำดูเป็นเค้าจะให้หมายว่าพระจุฬามณี เช่น มีรูปหุ่นเทวดาแขวนสายลวดจากเพดานรายรอบ เหมือนอย่างว่าเหาะมาบูชาพระเจดีย์   

วันหนึ่งมีพระราชดำรัสเกณฑ์พระราชาคณะทุกองค์ ให้เลือกหาพระธรรมจำเพาะข้อที่ดีคัดขึ้นถวาย  ถ้าทรงพระราชดำริเห็นว่าของใครดีก็จะทรงเอาเข้าบรรจุในพระเจดีย์นั้น ทำให้พระราชาคณะทั้งหลายพากันขวนขวายเลือกหาพระธรรมที่ว่าข้อไรจะดี (ติดจะเป็นการแข่งขันกัน) ต่างก็เลือกคัดเขียนข้อธรรมที่เชื่อว่าดีล้ำเลิศขึ้นถวายทั่วกัน 

ส่วนสมเด็จฯ (โต) นั้นว่าท่านเขียน “นโม” ถวายขึ้นไป กราบทูลอธิบายว่า ธรรมที่ดีใดๆ พระราชาคณะทั้งหลายคงจะได้เลือกคัดขึ้นถวายสิ้นแล้ว แต่คงขาดประณามพระพุทธเจ้าอันเป็นสิ่งสำคัญ แม้จะกล่าวพระธรรมข้อใดก็ต้องประณามพระพุทธเจ้าก่อน จึงได้เขียนประณามพระพุทธเจ้ามาถวาย  แทนที่จะกริ้วกลับโปรดจึงรับของท่านบรรจุไว้ในพระเจดีย์ด้วย



๔.๑๗ ตัวทิฐิ
คราวหนึ่ง เจ้าประคุณสมเด็จฯ ไปเทศน์ที่วัดศรีประวัติ จังหวัดนนทบุรี จะเป็นงานอะไรไม่ทราบแน่ ก่อนเทศน์ท่านได้นั่งพักบนอาสน์สงฆ์ในศาลาการเปรียญสนทนากับพวกอุบาสกอุบาสิกา มีอุบาสกคนหนึ่งกราบเรียนถามว่า “ตัวทิฏฐินั้นอย่างไร”

ท่านตอบว่า “ถ้าอยากรู้ตัวทิฏฐิ เดี๋ยวก็รู้”  ครั้นถึงเวลาเทศน์ เจ้าภาพจึงจุดเทียนที่ธรรมาสน์  ปี่พาทย์ก็เริ่มบรรเลงเพลงสาธุการ แต่เจ้าประคุณสมเด็จฯ ยังคงนั่งเฉยอยู่  มีใครคนหนึ่งกราบเรียนว่า ”ถึงเวลาแล้ว ขอกราบอาราธนาพระเดชพระคุณ” 

ท่านจึงว่า “นี่แหละคือตัวทิฏฐิละจ้ะ”   แล้วลงจากอาสน์สงฆ์ขึ้นธรรมาสน์เทศน์ต่อไป



๔.๑๘ พระศรีมหาโพธิ์
มีเรื่องหนึ่งว่าด้วยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ พระราชทานต้นโพธิ์ไปปลูกตามพระอารามหลวง ซึ่งเนื่องในเรื่องประวัติเจ้าประคุณสมเด็จฯ จะกล่าวถึงต้นศรีมหาโพธิ์ที่นำมาปลูกในเมืองไทยก่อน ต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่มีในเมืองไทยแต่โบราณ ล้วนได้พันธุ์มาจากต้นที่พระเจ้าอโศกมหาราชส่งไปปลูกไว้ที่เมืองอนุราธบุรีในลังกาทวีปทั้งนั้น

ครั้งที่สุดปรากฏในพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ว่า เมื่อรัชกาลที่ ๒ พระอาจารย์เทพผู้เป็นนายกสมณะทูตไทย กลับจากลังกาเมื่อปีขาล พ.ศ. ๒๓๖๑ ได้ต้นโพธิ์เมืองอนุราธบุรีมาถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ๓ ต้น  โปรดฯ ให้ปลูกไว้ในวัดมหาธาตุฯ ๑ ต้น  วัดสุทัศน์ ๑ ต้น  และวัดสระเกศ ๑ ต้น  ยังปรากฏอยู่จนบัดนี้

แต่พันธุ์พระศรีมหาโพธิ์ที่เมืองไทยรับตรงมาจากพุทธคยา เพิ่งปรากฏว่าได้มาเมื่อรัชกาลที่ ๔ ด้วยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงศึกษาทราบเรื่องพุทธเจดีย์ในอินเดียก่อนผู้อื่น  ทรงขวนขวายหาพันธุ์พระศรีมหาโพธิ์ที่พุทธคยา ได้เมล็ดมายังเมืองไทยเป็นครั้งแรก  เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ  บุนนาค)  กล่าวไว้ในหนังสือพงศาวดารรัชกาลที่ ๔ ตอนว่าด้วยบูรณะพระปฐมเจดีย์ (ปีวอก โทศก พ.ศ.๒๔๐๓)  ว่าต้นโพธิ์ที่โปรดฯ ให้ปลูกไว้ ๔ มุมบริเวณนั้น “ได้ผลมาแต่เมืองพุทธคยาบุรี ว่าเป็นหน่อเดิมที่ได้ตรัสรู้ พระมหาโพธิ์นั้นมีพระระเบียงล้อมถึง ๗ ชั้น  พวกพราหมณ์หวงแหนอยู่แน่นหนา เจ้าเมือง (คือไวสรอย) อังกฤษจึงไปขอเอาผลและใบถวายเข้ามา” 

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเพาะเมล็ดพระศรีมหาโพธิ์นั้นขึ้นเป็นต้น พระราชทานไปปลูกตามพระอารามหลวง กล่าวกันว่าเมื่อโปรดฯ พระราชทานต้นพระศรีมหาโพธิ์ไปปลูกตามพระอารามหลวงนั้น เจ้าพนักงานได้มีหมายแจ้งไปยังเจ้าอาวาสให้ไปรับต้นพระศรีมหาโพธิ์มาปลูก เจ้าอาวาสทั้งหลายก็เอาเรือจ้างและเรืออื่นๆ ไปรับ

ฝ่ายเจ้าประคุณสมเด็จฯ กลับมีลิขิตตอบไปว่า ท่านไปรับไม่ได้ ด้วยเกรงจะเป็นการดูหมิ่นเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินไป ควรให้เจ้าหน้าที่นำเรือกัญญาไปรับต้นพระศรีมหาโพธิ์แล้วมีเรือดั้งนำเชิญไปพระราชทานตามวัดจึงจะสมควรแก่พระเกียรติยศ  เจ้าพนักงานได้นำลิขิตนั้นขึ้นกราบบังคมทูล ดำรัสว่า “ถูกของท่าน” ทีนี้วัดที่รับต้นพระศรีมหาโพธิ์ไปแล้วก็ต้องนำมาส่งคืน  เจ้าพนักงานจึงเชิญต้นพระศรีมหาโพธิ์ลงเรือกัญญา มีเรือขบวนแห่ไปส่งตามพระอารามหลวงต่อไป



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 31 กรกฎาคม 2557 11:09:41 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5376


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #8 เมื่อ: 10 มีนาคม 2556 14:11:58 »

.
ข้อความต่อไปนี้ คัดจาก หนังสือ "ประวัติเจ้าประคุณ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต  พฺรหฺมรํสี)"
ค้นคว้า รวบรวมและเรียบเรียง โดย พระมหาสมคิด  ปิยวณฺโณ ป.ธ.๙  ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม และครูใหญ่โรงเรียนพระปริยัติธรรม (พฺรหฺมรํสี)
วัดระฆังโฆสิตาราม จัดพิมพ์เผยแพร่และสงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ (ยกเว้นพิมพ์เพื่อเป็นธรรมทาน)
จึงแจ้งมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน
- www.sookjai.com

 

พระยืน ปางอุ้มบาตร ก่ออิฐถือปูน สูง ๖ วาเศษ ที่วัดกลาง ต.คลองข่อย จ.ราชบุรี
(ปัจจุบันบูรณะซ่อมแซมและทาสีองค์พระไปแล้ว)
...เล่ากันว่า สถานที่ที่เจ้าประคุณสมเด็จฯ สร้างพระยืนนั้น เดิมเป็นป่ารก ท่านเอาเงินเหรียญชนิดกลมมาแต่ไหนไม่ทราบ
โปรยเข้าไปในป่านั้น ไม่ช้าป่าน้้นก็เตียนโล่งไปหมด ท่านก็ทำการได้สะดวก ว่าเงินนั้นเป็นเงินตราเก่าๆ ด้วย
และว่าในตอนที่จะสร้างพระองค์นี้ ท่านต้องการไม้ไผ่ ท่านไม่มีเงิน เผอิญมีผู้ล่องแพไม้ไผ่มาทางนี้
จึงไปที่ใต้ต้นโพธิ์ในบริเวณนั้น ก็ได้เงินมาซื้อไม้ไผ่ตามประสงค์ ว่าต้นโพธิ์นั้นในปัจจุบันก็ยังมีปรากฏอยู่...
ภาพจาก : เว็บไซต์โอเคเนชั่นดอทเน็ท  คำบรรยายภาพ : หนังสือประวัติเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)


๔.๑๙ แกงร้อนของสมเด็จ
สิ่งสำคัญของเจ้าประคุณสมเด็จฯ มีอยู่อย่างหนึ่งคือ การเคารพต่อความจริงและท่านฉันอาหารสำรวมเป็นการประจำ  กล่าวคือ ในบาตรของท่านย่อมมีอาหารสารพัดอย่างทั้งอาหารคาวและหวาน ท่านคลุกเข้ารวมกันเสร็จแล้วก็ฉัน

การกระทำดังกล่าวแล้วของท่านนั้น มีประสงค์จะไม่ให้เกิดรสชาติในความเอร็ดอร่อย อันจะทำให้รู้สึกว่าชีวิตนี้เป็นสิ่งที่น่าอภิรมย์ ความจริงแล้ว เมื่อท่านฉันอาหารในบาตร ท่านก็มีความรู้สึกเหมือนกันว่าอาหารนั้นฉันไม่เป็นท่าหรือเป็นสัปปะรดอันใดเลย  และอีกประการคือเจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านอึดอัดใจเพราะรู้สึกว่า มิได้รับทราบเจตนาอันแท้จริงของบรรดาพระภิกษุสามเณรในวัดโดยสัตย์โดยควร ไม่ว่าจะปราศรัยไต่ถามความเห็นอย่างไรเป็นต้องได้รับคำตอบว่า ดีแล้ว ถูกแล้ว งดงามแล้ว ทุกครั้งทุกคราวไป หาใครปฏิเสธหรือโต้แย้งมิได้เลย

เพราะอัธยาศัยของสมเด็จฯ ท่านชอบฟังความคิดของผู้อื่นจึงใคร่จะทดลองให้ตระหนักอีกครั้งหนึ่ง  คราวนี้ดูทีหรือว่าจะมีผู้ใดให้คำตอบที่ออกจากใจจริงบ้าง หรือจะยังมีภิกษุสามเณรใดเป็นผู้เคร่งต่อวาจาสัตย์ เอื้อเฟื้อต่อศีลข้อมุสาวาทะบ้าง การทดลองครั้งนั้นจึงได้เริ่มขึ้น

เจ้าประคุณสมเด็จฯ ให้เอาแกงร้อนวุ้นเส้นที่ทายกนำมาถวายนั้นเทลงในกระทะ เอาผักทอดยอดที่ขึ้นอยู่ในคลองข้างวัดมาล้างน้ำหั่นใส่  วันนั้นอาหารกี่อย่างที่มีผู้นำมาถวายสมเด็จฯ ท่านก็ใส่รวมกันทั้งหมดแล้วโหมไฟให้ร้อนจนน้ำเดือดพล่าน แล้วก็สั่งให้ตีกลองเป็นสัญญาณว่าให้ภิกษุในวัดทุกรูปมารับอาหารแจก

วันนั้นเป็นวันธรรมสวนะ พอตกเย็นภิกษุทุกรูปต้องลงไปทำวัตรค่ำที่โบสถ์  สมเด็จฯ ท่านรีบไปนั่งอยู่ที่เชิงบันได ภิกษุทุกรูปพอจะเข้าโบสถ์ สมเด็จฯ ก็ถามว่า “เป็นอย่างไรคุณ อาหารที่ฉันปรุงเมื่อเพลนี้?”

ภิกษุที่ถูกถามประนมมือตอบว่า “แหม อร่อยเหลือเกินขอรับกระผม” เมื่อได้ฟังคำตอบดังนั้น สมเด็จฯ ท่านหัวเราะหึๆ แต่ท่านยิ่งประหลาดใจมากขึ้น เพราะภิกษุในวัดระฆังฯ มีประมาณ ๕๐ รูป ต่างตอบสมเด็จฯ เป็นทำนองเดียวกันหมด อร่อยบ้าง, รสดีบ้าง, มีกลิ่นหอมหวนบ้าง ฯลฯ ทำให้สมเด็จฯ หลากใจว่าภิกษุในวัดไฉนจึงเป็นเช่นนั้นไปหมด

ยังเหลืออีกองค์เดียวเป็นภิกษุชรา เด็กๆ ในวัดเรียกกันว่า “ขรัวตา” เป็นภิกษุบวชมาเก่าแก่ ลงมาทำวัตรค่ำกับเขาด้วย สมเด็จฯ พอเห็นขรัวตารูปนั้นเดินงกๆ เงิ่นๆ เข้ามา พอตรงหน้า จึงถามว่า“ขรัวตา อาหารมื้อเพลเป็นอย่างไร? ฉันปรุงเอง”

ขรัวตายืนประคองร่างอย่างสำรวมแล้วตอบสมเด็จฯ ว่า “ไม่ไหวพระเดชพระคุณขอรับ เทให้สุนัขมันยังไม่กินเลย"  สมเด็จฯ ท่านยกมือทั้งสองขึ้นประนม แล้วหันหน้าไปทางพระประธานในโบสถ์ร้องขึ้นว่า “สาธุ ขรัวตานี่แหละศีลบริสุทธิ์ ควรแก่การเคารพนบไหว้”  

พูดแล้วก็เข้าในโบสถ์เพื่อนำการสวดทำวัตรค่ำ และคืนนั้นภายหลังทำวัตรแล้ว สมเด็จฯ ได้เทศน์อบรมพระภิกษุในวัดถึงเรื่องศีล ด้วยการยกเอากลิ่นหอมแห่งจันทน์ขึ้นมาอ้าง ว่าบรรดากลิ่นมีกลิ่นจันทน์เป็นต้น  ก็มิมีกลิ่นใดล้ำไปกว่ากลิ่นแห่งศีล ฉันใด  เกิดมาเป็นคน ศีลเป็นสิ่งสำคัญ ฉันนั้น และเป็นภิกษุยิ่งสำคัญมาก เพราะมีศีลเป็นเครื่องร้อยรัดให้ภิกษุอยู่ในระเบียบวินัย ถ้าไม่มีศีลไม้ลอยน้ำยังดีกว่า เพราะยังเก็บเอามาทำประโยชน์ได้บางอย่าง แต่ผู้ที่พูดเท็จนั้น เชื่อถืออะไรไม่ได้เลย

เมื่อสมเด็จฯ ท่านได้เทศน์จบ ภายในโบสถ์วัดระฆังฯ เงียบกริบ  สมเด็จฯ ลงจากธรรมาสน์แล้วกล่าวเตือนภิกษุอีกครั้งหนึ่งว่า ขอให้สังวรในศีลจงหนัก  เพราะศีลเป็นธงชัยของภิกษุ ถ้าปราศจากศีล แม้จะปลงผมห่มเหลือง ก็จะไม่เป็นภิกษุที่มีศีลาจารวัตรอันงามเลย  สุดท้ายยกย่องภิกษุชรา คือ ขรัวตารูปนั้นว่า เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ควรแก่การคารวะและเป็นสมณะผู้ศากยบุตรแท้



๔.๒๐ นางนาคเอ๊ย อย่ารบกวนคุณเณรซี
ครั้งเมื่อสมัยนางนาคบ้านพระโขนง เขาตายทั้งกลม ปีศาจนางนาคกำเริบ เขาลือกันต่อมาว่า ปีศาจนางนาคมาเป็นรูปคนช่วยผัววิดน้ำเข้านาได้  จนทำให้ชายผู้ผัวมีเมียใหม่ไม่ได้  ปีศาจนางนาคเที่ยวรังควานหลอนหลอกจนคนเดินเรือในคลองพระโขนงไม่ได้  

ตั้งแต่เวลาเย็นตะวันรอนๆ ลงไป  ต้องแลเห็นปีศาจนางนาคเดินห่มสีบ้าง โหนตัวบนต้นโพธิ์ต้นไทรบ้าง  พระสงฆ์ในวัดพระโขนงมันก็ล้อเล่น  จนกลางคืนพระภิกษุสามเณรต้องนอนรวมกัน ถ้าปลีกไปนอนองค์เดียวเป็นต้องถูกปีศาจนางนาครบกวน จนเสียงก๊อกแก๊กอื่นๆ ก็เหมาว่าเป็นปีศาจนางนาคไปหมด จนนักเลงกลางคืนก็ต้องหยุดเซาลงเพราะกลัวปีศาจนางนาค  

พวกหมอผีไปทำเป็นผู้มีวิเศษ ตั้งพิธีผูกมัดเรียกภูตมัน  มันก็เข้ามาแลบลิ้นเหลือบตาเอาเจ้าหมอต้องเจ๊งมาหลายคน  จนพวกแย่งชิงล้วงลัก ปลอมเป็นนางนาคหลอกลวงเจ้าของบ้าน  เจ้าของบ้านกลัวนางนาคเลยมุดหัวเข้ามุ้ง  ขโมยเก็บเอาของไปสบาย  ค่ำลงก็ต้องล้อมต้องนั่งกองกันยังรุ่งก็มี
 
สมเด็จฯ (โต) ท่านรู้เหตุปีศาจนางนาคกำเริบเหลือมือหมอ ท่านจึงลงไปค้างที่วัดมหาบุศ ในคลองพระโขนง  พอค่ำท่านก็ลงไปนั่งที่ปากหลุมแล้วท่านเรียกนางนาคปีศาจขึ้นมาสนทนากัน ฝ่ายปีศาจนางนาคก็ขึ้นมาพูดจา ตกลงกันอย่างไรไม่ทราบ ผลลงท้ายที่สุดท่านได้เจาะเอากระดูกหน้าผากนางนาคที่เขาฝังไว้มาได้  แล้วท่านมานั่งขัดเกลาจนเป็นมัน ท่านนำขึ้นมาวัดระฆังฯ ท่านลงยันต์เป็นอักษรไว้ตลอด เจาะเป็นปั้นเหน่งคาดเอว ไปไหนท่านก็เอาติดตัวไปด้วย ปีศาจในพระโขนงก็หายกำเริบซาลง

เมื่อสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ม.ร.ว. เจริญ) ยังเป็นสามเณร อยู่ในกุฏิสมเด็จฯ (โต) นางนาคได้ออกมารบกวนเขา หม่อมราชวงศ์เณร ร้องฟ้องสมเด็จฯ ว่า สีกามารบกวนเขาเจ้าข้า สีกามากวนเขา สมเด็จฯ ท่านร้องว่า “นางนาคเอ๊ย อย่ารบกวนคุณเณรซี”

ปีศาจนั้นก็สงบไป นานๆ จึงออกมารบกวน  ครั้นท่านชรามากแล้ว  ท่านจึงมอบปั้นเหน่งกระดูกหน้าผากนางนาคประทานไว้กับหม่อมเจ้าพระพุทธบาทปิลันท์  มอบหม่อมราชวงศ์สามเณรเจริญให้ไปอยู่กับหม่อมเจ้าพระพุทธบาทปิลันท์ด้วย  นานๆ นางนาคออกหยอกเย้าหม่อมราชวงศ์สามเณรเจริญๆ ต้องร้องฟ้อง  หม่อมเจ้าพระพุทธบาทปิลันท์ทรงกริ้วนางนาคว่า เป็นผู้หญิงยิงเรืออย่ามารบกวน  คุณเณรจะดูหนังสือหนังหา  เสร็จกริ้วแล้วก็เงียบไป (สำหรับเรื่องนี้ เจ้านายหม่อมราชวงศ์วังหลังเล่าให้ฟัง)



๕. การพยากรณ์
ในตอนชรา เจ้าประคุณสมเด็จฯ (โต) เห็นจะเบื่อหน่ายที่จะพยากรณ์ให้แก่ใครๆ ท่านมักเอาน้ำปัสสาวะราดบนพื้นกุฏิ และประตูหน้าต่างกุฏิก็เปิดพอมีแสงสลัวด้วยประสงค์จะให้ผู้ที่มาเมื่อเสร็จธุระแล้วจะได้รีบกลับ แม้การทายถาม ก็ทายแต่น้อย เช่นดูคนป่วย ถ้าท่านว่า “ให้รีบกลับไป”  ว่าคนป่วยตาย  ถ้าหากท่านว่า “ไม่เป็นไร” ว่าคนป่วยไม่ตาย เล่ากันมาดังนี้

เจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้รับการยกย่องว่าพยากรณ์ชีวิตในทางส่วนตัวของบุคคลได้แม่นยำ หรือการพยากรณ์หวยได้ถูกต้องทุกครั้งจนเป็นเรื่องราวที่เล่าสืบต่อกันมามากมาย โดยเฉพาะในการพยากรณ์ทางการเมืองหรือกิจการเรื่องราวที่เกี่ยวกับบ้านเมืองปรากฏว่าสมเด็จฯ ได้พยากรณ์ได้อย่างแม่นยำเช่นเดียวกัน หนังสือประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) รวบรวมโดย พระครูกัลยาณานุกุล ได้กล่าวในเรื่องพยากรณ์ไว้ว่า “เจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้ศึกษาวิชาโหราศาสตร์ต่อผู้ใดไม่ปรากฏๆ  แต่ว่าท่านรอบรู้ชำนาญในศาสตร์นี้ ดังจะเห็นได้ในเรื่องเทศน์ ๑๒ นักษัตร

ที่ท่านอธิบายลักษณะการจัดแบ่งดวงดาวเป็นชื่อวัน เดือน ปี ตามตำราโหราศาสตร์โดยละเอียดแจ่มแจ้ง แต่ดูเหมือนท่านจะไม่ใช้ตำรานี้พยากรณ์ กล่าวกันว่าเมื่อมีผู้ขอให้พยากรณ์ ท่านไม่ใช้วิธีผูกดวงชะตา เพียงแต่ท่านนั่งนิ่งอยู่สักประเดี๋ยวท่านก็พยากรณ์ ท่านใช้วีการทางญาณศาสตร์คือหยั่งรู้เหตุการณ์ด้วยญาณทัศนะดังที่เรียกกันเป็นสามัญว่า “ดูทางใน” (ว่ากันว่าผู้ที่ขาดความชำนาญทางญาณศาสตร์ จะเป็นนักพยากรณ์ที่ดีเด่นไม่ได้) ท่านพยากรณ์แม่นยำมีชื่อเสียงเลื่องลือกันมากในสมัยนั้น มีผู้จดจำเรื่องราวที่ท่านพยากรณ์มาเล่ากันหลายเรื่อง ที่นับเป็นเรื่องสำคัญคือเรื่องเกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ สวรรคต เรื่องเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงเครื่องแต่งกายของข้าราชการในรัชกาลที่ ๕ และเรื่องเกี่ยวกับการเมือง ดังจะพรรณนาต่อไปโดยลำดับ



๕.๑ สวรรคตของรัชกาลที่ ๔
ความปรากฏในจดหมายเหตุว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ได้ทรงศึกษาวิชาโหราศาสตร์ทั้งตามตำราไทยและตำราฝรั่งจนชำนาญ ทรงคำนวณทราบว่าในปีมะโรง สัมฤทธิศก จ.ศ. ๑๒๓๐ (พ.ศ. ๒๔๑๑) จะเห็นสุริยุปราคาหมดดวงในประเทศสยามนี้ เมื่อวันอังคารขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๑๐ และทางโคจรของดวงอาทิตย์จะเห็นสุริยุปราคาหมดดวงที่ตำบลหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  ซึ่งโปรดฯ ให้ตั้งพลับพลาสถานที่สำหรับทอดพระเนตรสุริยุปราคาหมดดวงที่ตำบลหว้ากอนั้น เล่ากันว่า ก่อนที่จะไปทอดพระเนตรสุริยุปราคาหมดดวงนั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ได้ทรงคำนวณทราบว่าพระชะตาจะถึงฆาตในปีนั้นด้วย 

ความที่กล่าวข้อนี้มีหลักฐานประกอบด้วยปรากฏในจดหมายเหตุ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ เสด็จสวรรคต พระนิพนธ์สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ตอนหนึ่งว่า “ตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ จับประชวรได้ไม่ช้า พระองค์ก็ทรงทราบโดยพระอาการว่า ประชวรครั้งนั้นเห็นจะเป็นที่สุดพระชนมายุสังขาร”  อีกตอนหนึ่งว่า “ครั้น ณ วันพุธ เดือน ๑๑ ขึ้น ๑๔ ค่ำ โปรดฯ ให้พระองค์เจ้าหญิงโสมาวดี เชิญพระกระแสไปทูลสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมขุนพินิตประชานาถ ว่า เวลานั้นประชวรไข้และเกิดพระยอดมีพิษขึ้นที่พระศอ ถ้าพระอาการประชวรค่อยคลายพอจะมาเฝ้าได้ให้เสด็จเสียก่อนวันขึ้น ๑๕ ค่ำ ถ้ารอไปถึงวันแรม ๑ ค่ำ ก็จะได้แต่สรงพระบรมศพไม่ทันได้สั่งเสียอันใด” ดังนี้

วันหนึ่ง จึงมีพระราชดำรัสถามเจ้าประคุณสมเด็จฯ ณ ที่รโหฐานว่า พระองค์จะเสด็จกลับมา (สวรรคตที่กรุงเทพฯ) ทันหรือไม่ เจ้าประคุณสมเด็จฯ ถวายพระพรเสด็จกลับทัน ครั้นถึง ณ วันศุกร์ เดือน ๙ แรม ๔ ค่ำ จึงเสด็จทรงเรือพระที่นั่งอัครราชวรเดชออกจากกรุงเทพฯ ประทับแรมอยู่ที่หว้ากอ ๙ วัน เสด็จกลับถึงกรุงเทพฯ เมื่อวันศุกร์ เดือน ๑๐ ขึ้น ๔ ค่ำ ต่อมาอีก ๕ วัน ถึงวันพุธ เดือน ๑๐ ขึ้น ๙ ค่ำ ก็เริ่มมีพระอาการประชวรจับไข้ ทรงประชวรอยู่ ๓๗ วัน เสด็จสวรรคตเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๑๑ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เวลา ๓ ทุ่ม



๕.๒ ข้าราชการเปลี่ยนเครื่องแต่งตัวอย่างใหม่
ปีมะเมีย พ.ศ. ๒๔๑๓ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ เสด็จไปพระราชทานพระกฐินที่วัดระฆังฯ เจ้าประคุณสมเด็จฯ เอาผ้าพันเท้าทั้งสองลงรับผ้าพระกฐิน มีพระราชดำรัสถามถึงสาเหตุที่กระทำดังนั้น สมเด็จฯ ถวายพยากรณ์ว่า ปีหน้าจะต้องเป็นอย่างนี้ คือข้าราชการจะต้องสวมถุงเท้า  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงแย้มพระโอษฐ์ไม่ตรัสว่ากระไร ครั้นถึงเดือน ๔ ในปีมะเมียนั้น ได้เสด็จโดยเรือพระที่นั่งพิทยัมรณยุทธไปประพาสเมืองสิงคโปร์ เมืองปะตาเวีย และเมืองสมารัง 

กล่าวไว้ในจดหมายเหตุว่า เสด็จออกจากกรุงเทพฯ เมื่อ ณ วันพฤหัสบดี เดือน ๔ แรม ๔ ค่ำ เสด็จกลับมาถึงกรุงเทพฯ เมื่อวันเสาร์เดือน ๔ แรม ๑๑ ค่ำ  รวมเวลาเสด็จไปครั้งนั้น ๓๗ วัน เมื่อเสด็จกลับมาแล้วก็เริ่มทรงจัดการแก้ไขเปลี่ยนแปลงขนบธรรมเนียมในราชสำนักหลายอย่าง  จะกล่าวแต่เฉพาะอย่างหนึ่ง คือ โปรดฯ ให้ผู้ที่เข้าเฝ้าแต่งตัวสวมถุงเท้า รองเท้า เสื้อเปิดคอ และยืนเฝ้าเหมือนกัน การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมา ถ้าว่าถามความเห็นในสมัยนี้ดูก็เป็นการเล็กน้อย แต่คนในสมัยนั้นเห็นแปลกประหลาด  จมื่นเก่งศิลป์ (หรุ่น) เขียนลงเป็นจดหมายเหตุ “ปูมโหร” เมื่อวันเสาร์เดือน ๗ ขึ้น ๒ ค่ำ ปีมะแม (พ.ศ. ๒๔๑๔) ว่า “ในข้างขึ้นเดือนนี้ ข้าราชการแต่งคอเสื้อ ผ้าผูกคอ ด้วยเป็นธรรมเนียมฝรั่งธรรมเนียมนอก”

และปรากฏในจดหมายเหตุของหมดบรัดเลว่า “วันที่ ๑ กรกฎาคม (ตรงกับวันเสาร์เดือน ๘ ขึ้น ๑๔ ค่ำ ปีมะแม) พ.ศ. ๒๔๑๔  ข้าราชการเปลี่ยนเครื่องแต่งตัวอย่างใหม่ คือ สวมถุงเท้าเข้าเฝ้าฯ และยืนเฝ้าฯ เวลาเสด็จออกไปรเวต” ดังนี้




๕.๓ การบ้านการเมือง
เรื่องพยากรณ์เกี่ยวกับบ้านเมืองนั้น เรียกกันว่า “พยากรณ์สมเด็จฯ”  มี ๑๐ ข้อ คือ “มหากาฬ, พาลยักษ์, รักมิตร  (รักบัณฑิต),  สนิทธรรม,  จำแขนขาด, ราษฎร์โจร, ชนร้องทุกข์, ยุคทมิฬ, ถิ่นตาขาว, ชาว (สิ) วิไลซ์”

เหตุที่พบพยากรณ์สมเด็จฯ นั้นว่า เมื่อปีวอก พ.ศ. ๒๔๑๕  เจ้าประคุณสมเด็จฯ ถึงมรณภาพ เวลาเที่ยงคืน ครั้นเวลารุ่งขึ้น นายอาญาราช (อิ่ม) บิดาพระยาอารักษ์นัฏกาภรณ์ (ผล ผลวัฒนะ) ศิษย์ก้นกุฏิได้ช่วยขนย้ายสิ่งของและทำความสะอาดเพื่อจัดที่ประดิษฐานศพ ไปพบพยากรณ์สมเด็จฯ จดลงไว้ในเศษกระดาษอยู่ใต้ที่นอนของท่าน จึงเก็บรักษาไว้ ภายหลังได้บอกให้ผู้หลักผู้ใหญ่ทราบ มีหลายคนได้พิเคราะห์ดูเหตุการณ์ต่างๆ เกี่ยวกับบ้านเมืองในสมัยรัตนโกสินทร์ที่เกิดขึ้นในรัชกาลหนึ่งๆ เห็นว่าถูกต้องตรงคำพยากรณ์ จึงได้จดจำบอกเล่ากันต่อๆ มาดังนี้ กล่าวกันว่าพยากรณ์สมเด็จฯ ข้อ ๑-๒ เป็นของสมเด็จพระสังฆราช (สี) วัดระฆังฯ ซึ่งเป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์แรกในกรุงรัตนโกสินทร์ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๑ เมื่อปีขาล พ.ศ. ๒๓๓๗  นอกนั้นเป็นของเจ้าประคุณสมเด็จฯ



๕.๔ ยุคทมิฬ
พยากรณ์สมเด็จฯ นี้  โหรแฉล้ม  เลี่ยมเพชร์รัตน์ นักพยากรณ์นามอุโฆษ  ได้เขียนคำอธิบายลงไว้ในหนังสือชื่อ “เคล็ดลับโหราศาสตร์” พิมพ์เมื่อวันที่ ๒๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๙ ตอนหนึ่งได้กล่าวว่า “ขณะหัวเลี้ยวหัวต่อยุคทมิฬจะหมดเข้าถิ่นตาขาวนี้ อุปมาว่า อันพระราชวงศ์จักรี เดิมเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ นั้น ทุกคนต่างพากันตำหนิเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินกันมาก ท่านโหรอธิบายว่า อุปมาเหมือนต้นไม้งดงามอยู่หนึ่ง พระยาแร้งใหญ่เปรียบเหมือนเคราะห์ แร้งได้บินมาจับต้นไม้แล้วไต่ตามคาคบกิ่งไม้อยู่จน ๑๕ ปี กิ่งใดไม่แข็งแรงก็หักไป ใบยอดดอกก็ทำลายลง ครั้นจวนจะออก เท้าก็ถีบกระพือปีกบินออก ขณะถีบบินออก ต้นไม้ก็หวนเหเซซวนหักเสียหาย แต่พอหยุดเป็นปกติแล้วก็คงเจริญดีต่อไป 

ฉะนั้น จำต้องกล่าวถึงผู้มีบุญในยุคทมิฬก่อน คือวันรัชกาลที่ ๘ เข้าแก้ไขยุคทมิฬ  โดยดวงพระชะตามีบุญล้นเหลือที่ราศีกรกฏ มีราหู และต่อไปในราศีกรกฏนั้นจวนต่อราศีสิงห์มีพุธเป็นมหาจักร ต่อไปมีอาทิตย์และอังคารเป็นมหาจักร กับต่อไปราศีตุลมีจันทร์และเสาร์เป็นมหาอุดศุกร์เป็นเกสร ราศีพิจิกว่าง ราศีธนูมีพฤหัสบดีเป็นเกษตรบดี ดวงพระชะตาเป็นดวงลัคณาขับพลคือถือราหูกุมลัคณาขับพลไปจนถูกพฤหัสที่เป็นอริ เป็นดวงชะตามีบุญได้ราชสมบัติแค่ ๙ ขวบ และครองราชย์มา ๑๓ ปี ได้เข้าแก้ไขชาติใหม่ โดยพระองค์เองเสด็จมาเมืองไทยจึงมีการเซ็นสัญญากับอังกฤษสำเร็จ ที่ฉลองสันติภาพแล้ว พระมหากษัตริย์พระองค์นี้อยู่ในยุคทมิฬ  พอยุคทมิฬหมดจากไปด้วยความวิปโยค พระองค์ก็ด่วนเสด็จไล่ตามยุคทมิฬไปอันจะได้กล่าวในถิ่นตาขาวต่อไป



๕.๕ ยุคถิ่นตาขาว
ในระหว่างที่ทรงประทับในพระนครนั้น ครั้นวันที่ ๖ เมษายน ๒๔๘๙ อันเป็นวันเสาร์ห้า ตรงกับ ๑๖๕ ปีที่แล้วมา  ข้าพเจ้า (โหรแฉล้ม) ผู้เป็นโหรก็ได้ถวายพวงมาลัยและพยากรณ์ถึงวันที่ยุคทมิฬจะจากไปแล้ว พระราชวงศ์จักรีจะสถาพรดุจเดิมเปลี่ยนยุคเป็นถิ่นตาขาว  ซึ่งข้าพเจ้า (โหรแฉล้ม) ขอคัดหนังสือพิมพ์ “แนวหน้า” (และหนังสือพิมพ์จีนมีลงบางฉบับ) ลงที่กรุงเทพฯ เป็นรายวัน  หนังสือพิมพ์แนวหน้านั้นพิมพ์ด้วยอักษรตัวเขื่องๆ ว่า โหรแฉล้มทำนายชะตาเมืองในวันจักรี ในคอลัมน์ก็เขียนด้วยตัวอักษรขนาดกลางว่า โหรแฉล้มเอามาลัยไปคล้องพระศอพระบรมรูปสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกในวันที่ ๖ อักษรตัวเล็กนั้นว่า ตอนบ่าย ๖ เมษายน ซึ่งเป็นวันที่ระลึกจักรีผู้แทนของเราได้ผ่านไปทางสะพานพระพุทธยอดฟ้า เพื่อถวายบังคมพระบรมรูปรัชกาลที่ ๑ ปฐมกษัตริย์แห่งบรมราชจักรีวงศ์

นอกจากดอกไม้ธูปเทียนมาลาเครื่องสักการะเหมือนปกติอย่างที่เคยมาทุกปีแล้ว ที่พิเศษกว่าแต่ก่อนก็คือมาลัยขนาดใหญ่คล้องพระศอ ชายที่เป็นพระอุบะห้อยถึงพระอุระ  ผู้ที่ยืนชมอยู่ที่นั้นคนหนึ่งบอกแก่ผู้แทนของเราว่า เขาทราบจากเจ้าหน้าที่ดูและพระบรมรูปว่า เป็นของโหรแฉล้ม ซึ่งได้มาถวายบังคมเมื่อตอนเช้าวันที่ ๖ นี้ ครั้นผู้แทนของเรามาพบกับโหรแฉล้มเลื่องชื่อที่สำนักงาน  โหรแฉล้มก็อธิบายให้ทราบว่า เพราะ ๖ เมษาฯ นี้ เป็นวันเสาร์ห้า คือวันเสาร์ขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๕ และเป็นการคล้องจองอย่างน่าประหลาดอีกอย่างหนึ่งก็คือ ๖ เมษายน เมื่อ ๑๖๕ ปีมาแล้วคือ วันปราบดาภิเษกพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าก็เป็นวันเสาร์ เดือน ๕ เมษายนเหมือนกัน

โหรแฉล้มได้ไขเคล็ดทางโหราศาสตร์ให้ผู้แทนเรา (น.ส.พ.แนวหน้า) ให้ทราบต่อไปอีกว่า พูดถึงดวงชะตาเมือง โหรไทยบางท่านน่าจะวิตกเพราะอีกไม่ช้าดาวเสาร์อันเป็นดาวให้ทุกข์ให้โทษจะมาทับจันทร์ในราศีกรกฏ 

อนึ่ง ราหูตัวมัวเมาร้ายก็ทับอังคารเดิมของดาวเมืองในราศีพฤษภ  อาจเกิดมีการเสียหายบางอย่างเกิดขึ้น  แต่ก็ควรจะอุ่นใจเพราะมีเครื่องประกันอย่างหนึ่ง คือ ดาวพฤหัสบดี  พักตร์โคจรย้อนหลังมาเป็นประในราศีกันย์อย่างหนึ่ง เพียง ๕ องศา แล้วก็จะโคจรต่อไปตามเดิม เป็นการช่วยคุ้มครองเรื่องร้ายไว้  อนึ่ง ความบังเอิญของเสาร์ห้า ใน ๖ เมษายนนี้กับเสาร์ห้าปราบดาภิเษก เมื่อ ๑๖๕ ปีมาแล้ว เป็นมงคลนิมิตล้างคำปรัมปราที่ว่าพระราชวงศ์จักรีจะเสื่อมสิ้นเมื่อครบ ๑๕๐ ปีแล้วหมดสิ้น 

โหรแฉล้มย้ำว่า นับแต่ ๑๔ นาฬิกา ๖ เมษายน เป็นต้นไปแล้วสิ่งเศร้าหมองต่างๆ อันเกิดจากเวรกรรมนำเนื่องไปเสื่อมพระเกียรติศักดิ์พระเกียรติคุณของพระราชวงศ์จักรีจักสูญสิ้นไป กษัตริย์ในพระบรมราชวงศ์จักรีจะครองราชย์เป็นกษัตริย์ไทยในระบอบประชาธิปไตยอย่างเจริญรุ่งเรืองไปชั่วฟ้าดินสลาย



๕.๖ หวยจะลอดร่อง
นายแจ่ม และนายเปรื้อง  แจ่มใส  สองพี่น้องบ้านช่างหล่อธนบุรี เล่าว่า เมื่อเยาว์วัย ได้เป็นศิษย์อยู่กับเจ้าประคุณสมเด็จฯ ในเวลาค่ำเสมอ ขณะที่กำลังนวดอยู่นั้น เจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านมักพูดว่า พรุ่งนี้หวยจะออกตัวนั้นตัวนี้  ทั้งสองคนนั้นสังเกตเห็นว่า หวยมักจะออกตรงตามที่เจ้าประคุณสมเด็จฯ พูดเสมอ จึงไปบอกเล่าญาติผู้ใหญ่ฟัง

วันหนึ่งญาติสองคนได้บอกนายแจ่ม (วันนี้เป็นเวรนายแจ่ม) ว่า คืนวันนี้เจ้าประคุณสมเด็จ บอกว่าพรุ่งนี้หวยจะออกตัวใด ให้จดลงในเศษกระดาษแล้วทิ้งลอดร่องลงไป ตนจะไปคอยรับอยู่ที่ใต้ถุนกุฏิ  แต่น่าประหลาดที่ในวันนั้นเจ้าประคุณสมเด็จฯ นิ่งเฉยไม่พูดถึงเรื่องหวยเช่นเคยมา  นายแจ่มจึงกราบเรียนถามว่า “หลวงพ่อ พรุ่งนี้หวยจะออกตัวอะไรครับ” 

เจ้าประคุณสมเด็จฯ ตอบ่า “วันนี้ฉันบอกไม่ได้ เพราะฉันกลัวหวยของฉันจะลอดร่องจ๊ะ”  ญาตินายแจ่มสองคนที่คอยอยู่ใต้ถุนกุฏิได้ยินดังนั้นเห็นขันกลั้นหัวเราะไม่ได้ ต่างพากันหัวเราะคิกคักๆ เจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้ชี้มือไปที่ร่องพร้อมกับพูดว่า”นั่นอย่างไรละจ๊ะ” (เรื่องที่กล่าวนี้ชี้ให้เห็นว่า เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ท่านชำนาญในญาณศาสตร์เป็นอย่างยอดเยี่ยม)



๕.๗ แปลหนังสือในวัง
ได้ฟังเล่ากันมาอีกเรื่องหนึ่งว่า คราวหนึ่งเจ้าประคุณสมเด็จฯ เอาหนังสือใบลานกับกากะเยีย) เครื่องสำหรับวางหนังสือใบลาน ทำด้วยไม้แปดอันร้อยไขว้กัน) เข้าไปในพระบรมมหาราชวัง กางกากะเยียเอาหนังสือวางบนนั้นเปิดหนังสืออก แล้วพยากรณ์ถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ว่าคำพยากรณ์นั้นเกี่ยวกับดินฟ้าอากาศ หรือเหตุการณ์เกี่ยวกับบ้านเมือง เช่นว่า ปีนี้ฝนจะแล้ง ข้าวแพง เกิดโรคระบาด พลเมืองเดือดร้อน เป็นต้น  และเพราะลักษณะอาการที่ถวายพยากรณ์นั้นเป็นทำนองแปลหนังสือ จึงเลยเรียกกันว่า “แปลหนังสือในวัง” แต่นั้นมา
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 31 กรกฎาคม 2557 11:40:46 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5376


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #9 เมื่อ: 30 มีนาคม 2556 11:50:54 »

.
ข้อความต่อไปนี้ คัดจาก หนังสือ "ประวัติเจ้าประคุณ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต  พฺรหฺมรํสี)"
ค้นคว้า รวบรวมและเรียบเรียง โดย พระมหาสมคิด  ปิยวณฺโณ ป.ธ.๙  ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม และครูใหญ่โรงเรียนพระปริยัติธรรม (พฺรหฺมรํสี)
วัดระฆังโฆสิตาราม จัดพิมพ์เผยแพร่และสงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ (ยกเว้นพิมพ์เพื่อเป็นธรรมทาน)
จึงแจ้งมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน
- www.sookjai.com

 
http://www.laksanathai.com/book1/Images/441.jpg
ปริศนาชาติกำเนิด และญาณวิเศษสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

หลวงพ่อโต ก่ออิฐถือปูน สูง ๓๒ เมตร วัดอินทรวิหาร  กรุงเทพมหานคร
...จุลศักราช ๑๒๓๔ เป็นปีที่ ๕ ในรัชกาลที่ ๕  สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต)
ไปดูการก่อสร้างพระโตวัดบางขุนพรหมใน อาพาธด้วยโรคชรา ๑๕ วัน ก็ถึงมรณภาพบนศาลาใหญ่
เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๑๕ (จุลศักราช ๑๒๓๔) แรม ๒ ค่ำ เดือน ๘ (ต้น) รศ. ๙๑
เวลา ๒๔.๐๐ น. สิริรวมชนมายุ ๙๖ ปีบริบูรณ์ ๗๕ พรรษา....  
ภาพจาก : laksanathai.com คำบรรยายภาพ : หนังสือประวัติเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

๑. อภินิหารสมเด็จฯ (โต  พฺรหฺมรํสี)
อภินิหารหนังสือประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) รวบรวมและเรียบเรียงโดยพระครูกัลยาณานุกูล กล่าวถึงดังนี้ “ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านศึกษารอบรู้ชำนาญทั้งในด้านคันถธุระและวิปัสสนาธุระ (ข้อนี้เป็นจุดเด่นของท่านอันหนึ่ง ด้วยปรากฏว่ามีผู้ชำนาญเฉพาะแต่คันถธุระหรือวิปัสสนาธุระอย่างใดอย่างหนึ่ง  ที่เชี่ยวชาญทั้ง ๒ ธุระนั้นหาได้ยากยิ่ง) และท่านเป็นนักเสียสละ เมื่อได้ลาภสักการะมาในทางใดๆ ท่านก็ใช้จ่ายไปในการสร้างสิ่งสาธารณกุศลต่างๆ ดังมีปูชนียวัตถุสถานปรากฏเป็นหลักฐานอยู่

นอกจากนี้ท่านเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลาจารวัตรอันดีงาม ควรแก่การเคารพบูชาของสาธุชนทั่วไป นับว่าท่านได้บำเพ็ญบารมีธรรมเต็มเปี่ยม  ดังบาลีว่า กตํ กรณียํ (บำเพ็ญบารมีสมบูรณ์แล้ว) และเพราะเหตุนี้ท่านจึงทรงอภินิหาร เป็นวิสามัญบุคคลผู้หาเสมอเหมือนได้โดยยาก เจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านประพฤติปฏิบัติแปลกๆ ซึ่งพระองค์อื่นไม่ทำหรือทำไม่ได้ แทนที่จะถูกตำหนิกล่าวโทษ ท่านกลับได้รับความนิยมนับถือยิ่งขึ้น แม้พระเจ้าแผ่นดินซึ่งเป็นสมมติเทวดาก็ยังโปรดถึงพระราชทานอภัยเสมอ

จะกล่าวถึงเรื่องอภินิหารเจ้าประคุณสมเด็จฯ ต่อไป เจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านทรงเกียรติคุณหลายอย่าง ว่าเฉพาะทางกฤตยาคม ว่ากันว่าน้ำมนต์เครื่องวิทยาคมของท่านมีคุณานุภาพศักดิ์สิทธิ์ คือใช้แก้เหตุขัดข้องนานาประการ แก้โรคต่างๆ คุ้มกันสรรพภัย ค้าขายดี ทางเมตตามหานิยมก็ว่าดีนัก และว่าท่านทรงคุณวิเศษถึงสามารถทำสิ่งซึ่งเหลือวิสัยมนุษย์สามัญให้สำเร็จได้ อาทิเช่น ทำให้คลื่นลมสงบ ห้ามฝน ย่นทาง ฯลฯ ดังจะยกมาสาธกเป็นอุทาหรณ์ดังต่อไปนี้


ผจญทะเลบ้า
ครั้งหนึ่ง  สมโภชพระราชวังบนเขามไหศวรรย์ เมืองเพชรบุรี สังฆการีวางฎีกา ท่านไปเรือญวน ๔ แจว ออกทางปากน้ำบ้านแหลม เวลานั้นทะเลเป็นบ้า คลื่นลมจัดมากชาวบ้านในอ่าวบ้านแหลมช่วยกันร้องห้ามว่า “เจ้าประคุณอย่าออกไปจะล่มตาย”  ท่านตอบว่า “ไปจ๊ะ ไปจ๊ะ”

ท่านออกยืนหน้าเก๋งเอาพัชนีใบตาลโบกแหวกลมหน้าเรือลูกคลื่นโตกว่าเรือท่านมากบังเรือมิด แต่ทางหน้าเรือคลื่นไม่มี ลมก็แหวกทางเท่ากับแจวในลำท้องร่องน้ำเรียบ แต่น้ำข้างๆ กระเซ็นบ้าง เพราะคลื่นข้างเรือทั้งสองโตเป็นตลิ่งทีเดียว

พระธรรมถาวรเล่าว่า เวลานั้นท่านเป็นพระครูปลัดไปกับท่าน ได้เห็นน่าอัศจรรย์ ใจท่านหายๆ ดูไม่รู้ว่าจะคิดเกาะเกี่ยวอะไร สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ท่านยืนโบกพัดเฉย  คนก็แจวเฉยเป็นปกติ  จนเข้าปากน้ำเมืองเพชร ท่านจึงเข้าเก๋งเอนกาย  ชาวปากอ่าวเมืองเพชรเกรงบารมีสมเด็จฯ ท่านมาก ยกมือท่วมหัว สรรเสริญคุณสมบัติของสมเด็จฯ ตลอดจนเจ้าขุนนางที่ตามเสด็จคราวนั้นว่า เจ้าพระคุณสำคัญมารก แจวฝ่าคลื่นลมกลางทะเลมาได้ตลอดปลอดโปร่งปราศจากอุทกอันตราย



ฝ่าคลื่นลม
คราวหนึ่ง เจ้าประคุณสมเด็จฯ มีกิจไปทางจังหวัดพระนครศรีอยุธยาโดยเรือแจว เมื่อไปถึงบ้านลานเท (ตำบลบางไทร อำเภอบางไทร) เผอิญเกิดมีคลื่นลมจัด ท่านได้ล้วงหยิบเทียนเล่ม ๑ จากย่าม จุดเทียนนั้นแล้วติดกับปากโอ (ภาชนะเครื่องสานอย่างหนึ่งสำหรับใส่ของ รูปคล้ายขัน) วางลอยน้ำไป ว่าคลื่นลมก็พลันสงบลงทันที (เรื่องนี้เจ้าคุณพระราชธรรมภาณี วัดระฆังฯ เล่า


ห้ามฝน
คราวหนึ่ง มีการก่อพระเจดีย์ทรายที่วัดระฆังฯ ประจวบกับวันนั้นมีเมฆฝนตั้งมืดครึ้ม คนทั้งหลายเกรงฝนจะตกจึงไปกราบเรียนปรารภกับเจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านได้กล่าวพร้อมกับโบกมือว่า “ตกที่อื่นๆ”  ว่ากันว่า น่าประหลาดนักที่ในวันนั้น ปรากฏว่าฝนไปตกที่อื่น หาได้ตกในที่ตำบลศิริราชไม่


ย่นทาง
คราวหนึ่ง มีผู้นิมนต์เจ้าประคุณสมเด็จฯ ไปในงานพิธีมงคลโกนจุกที่จังหวัดอ่างทอง ท่านได้เริ่มออกเดินทางก่อนถึงกำหนดเวลาเพียง ๓ ชั่วโมง มีคนสงสัยกันว่า จะไปทันเวลากำหนดได้อย่างไร ถึงกับได้สอบถามไปยังเจ้าภาพในภายหลังต่อมา ก็ได้รับคำตอบว่าท่านไปทันเวลาตามที่กำหนดในฎีกาไม่คลาดเคลื่อน (ว่ากันว่าวิชานี้ท่านศึกษาต่อ]พระอาจารย์แสง ที่จังหวัดลพบุรี)...

(*ข้อมูล "เจ้าขรัวแสง" วัดมณีชลขัณฑ์พระอาจารย์ของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต)  สนใจกดอ่านที่ลิงค์นี้ http://www.sookjai.com/index.php?topic=46250.0)


ขันจมงมที่หน้าวัด
คราวหนึ่ง เจ้าประคุณสมเด็จฯ ไปธุระที่จังหวัดนนทบุรีโดยเรือแจว ขากลับพอมาถึงปากคลองสามเสน เด็กศิษย์คนหนึ่งเอาขันออกไปตักน้ำ จะเนื่องด้วยเหตุใดไม่ปรากฏ ขันนั้นได้พลัดหลุดมือจมลงไปในแม่น้ำ ท่านพูดว่า “งมที่นี่ไม่ได้ เพราะน้ำลึก ต้องไปงมที่หน้าวัดระฆังฯ จึงจะได้” เมื่อถึงวัดระฆังฯ ท่านให้ศิษย์นั้นลงไปงมที่หน้าวัดก็ได้ขันสมจริงดังที่ท่านบอก


ไปค้นหาใหม่
กล่าวกันว่า ตามปกติเจ้าประคุณสมเด็จฯ ไม่มีเงินทองติดตัวเพราะท่านใช้จ่ายก่อสร้างวัดวาอารามและบริจาคทานเป็นนิจ แต่น่าประหลาดที่ท่านจะสร้างอะไร ก็สร้างสำเร็จตามประสงค์ทุกครั้ง มีผู้พยายามสังเกตกันหนักหนาแล้ว แต่ไม่ทราบว่าท่านเอาเงินมาแต่ไหน พระเทพราชแสนยาว่า ครั้งหนึ่ง จีนช่างปูนไปขอเบิกค่าจ้างก่อสร้างจากเจ้าประคุณสมเด็จฯ ๑ ชั่ง (๘๐ บาท)  ท่านบอกให้หลวงวิชิตตรณชัยหลานชายไปเอาเงินที่ใต้ที่นอนของท่าน  หลวงวิชิตฯ กลับมากราบเรียนท่านว่า ได้ไปค้นหาดูแล้วไม่เห็นมีเงินอยู่เลย ท่านบอกให้ไปค้นหาใหม่ ก็ได้เงิน ๑ ชั่ง  เรื่องนี้หลวงวิชิตฯ ว่าน่าอัศจรรย์นักหนา


พูดได้กับนกกา
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ตั้งแต่ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตปลดชรายกเป็นสมเด็จพระราชคณะกิตติมศักดิ์แล้ว ท่านก็คลายอิสริยศ บริวารยศ แบกตาลปัตรเอง พายเรือบิณฑบาตเองจนเป็นที่คุ้นเคยกันกับอีกา กาจับบ่ากินอาหารกับท่าน จนท่านพูดกับกาที่ประตูอนงคลีลา (ประตูดิน)  กาตัวหนึ่งบอกว่าจะไปวัดมหาธาตุฯ  กาตัวหนึ่งจะไปท่าเตียน  สมเด็จฯ ว่า “ไปท่าเตียนดีกว่าไปวัดมหาธาตุฯ เพราะคนเขาทิ้งหัวกุ้งหัวปลาหมักหมมไว้มาก ที่วัดมหาธาตุฯ ถึงมีโรงครัวก็จริง แต่ว่าคนเขาขนเก็บกวาดเสียหมดแล้วจ๊ะ”


เทียนสู้ลม
ครั้นเป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์แล้ว ท่านก็ยังเป็นตลกมากขึ้น ความไหวพริบในราชการเจนจัดขึ้นยิ่งกว่าเป็นพระเทพกวี ดูเหมือนคอยแนะนำเป็นปุโรหิตอ้อมๆ

ครั้งหนึ่งไปสวดมนต์ที่วังกรมเทวาฯ วังเหนือวัดระฆังฯ พอพายเรือไปถึงท้ายวัง เกิดพายุใหญ่ฝนตกห่าใหญ่ เม็ดฝนโตๆ คลื่นก็จัดละลอกก็แรง  สมเด็จฯ เอาโอต้นเถามาใบหนึ่ง จุดเทียนติดปากโอแล้วลอยลงไปบอกพระให้คอยดูด้วยว่า เทียนจะดับเมื่อใด พระธรรมถาวรเล่าว่า เวลานั้นท่านเป็นที่พระครูสังฆวิชัย ได้เป็นผู้ตั้งตาคอยดูตาม แลเห็นเป็นแต่โอโคลงไปโคลงมาเทียนก็ติดลุกแวบวาบไปจนสุดสายตา เลยหน้าวัดระฆังฯ ก็ยังไม่ดับ



ฉันนิยมคนจน
พระอาจารย์ขวัญ วิสิฏโฐ เล่าว่า มีหญิงคนหนึ่งชื่อจัน ภูมิลำเนาเดิมอยู่จังหวัดอ่างทอง คุ้นเคยสนิทสนมกับเจ้าประคุณสมเด็จฯ แต่ยังเยาว์วัย ต่อมานางจันได้ย้ายมาประกอบอาชีพตั้งร้านค้าอยู่ทางแขวงจังหวัดนนทบุรี  ภายหลังยากจนลงเพราะการค้าขาดทุน นางจันได้ยินกิตติศัพท์เลื่องลือคุณวิเศษของเจ้าประคุณสมเด็จฯ วันหนึ่งจึงเข้าไปหาท่าน สนทนากันในตอนหนึ่ง นางจันกราบเรียนว่า เวลานี้ดิฉันยากจนมาก เจ้าประคุณสมเด็จฯ ว่า “มาที่นี่ไม่จนหรอกแม่จัน”  แล้วท่านก็หยิบพระประจำวันให้นางจันองค์หนึ่ง (จะเป็นพระประจำวันอะไรหาทราบไม่)  บอกให้อาราธนาทำน้ำมนต์อธิษฐานความปรารถนาและว่า “ถ้าแม่จันรวยแล้วอย่ามาหาฉันอีกนะจ๊ะ”  นางจันกราบเรียนถามว่า “เป็นไงล่ะเจ้าค่ะ “  ท่านตอบว่า “ฉันไม่ชอบคนรวย ฉันชอบคนจนจ๊ะ” นางจันได้พระมาแล้วทำตามที่ท่านบอก แต่นั้นมาการค้าก็เจริญขึ้นโดยลำดับ ที่สุดนางจันก็ตั้งตัวได้เป็นหลักฐานผู้หนึ่งในถิ่นนั้น นางจันมีอายุอ่อนกว่าเจ้าประคุณสมเด็จฯ เรียกเจ้าประคุณสมเด็จฯ ว่า “หลวงพี่”  มีคนถามนางจันว่า “รวยแล้วทำไมไม่ไปหาสมเด็จฯ อีกเล่า”  นางจันตอบว่า “เพราะหลวงพี่โตบอกว่า ถ้ารวยห้ามไม่ให้ไปหา หลวงพี่โตนี่แหละศักดิ์สิทธิ์นัก พูดคำไหนต้องเป็นคำนั้น”


๒. อภินิหารพระสมเด็จ (วัตถุมงคล)
ส่วนพระพิมพ์ของเจ้าประคุณสมเด็จฯ หรือที่เรียกกันตามสะดวกปากว่า “พระสมเด็จ” นั้น ได้กล่าวมาแล้ว่า เจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้สร้างขึ้นไว้ด้วยมุ่งหมายจะให้เป็นการสืบต่ออายุพระศาสนาเป็นข้อสำคัญ แต่น่าประหลาดอยู่ ที่คนทั้งหลายต่างนับถือพระสมเด็จเป็นเครื่องรางที่ทรงคุณานุภาพเป็นอย่างวิเศษ ว่าในบรรดาพระเครื่องรางพระสมเด็จเด่นอยู่ในความนิยมของสังคมในทุกยุคทุกสมัย และว่าจะหาซื้อได้ด้วยเงินตราในราคาแพงมาก อันเรื่องเกี่ยวกับอภินิหารของพระสมเด็จนั้นได้ฟังเล่ากันมากมายหลายเรื่องจะเขียนลงไว้แต่เฉพาะ ดังต่อไปนี้

กล่าวกันว่า ภายหลังเจ้าประคุณสมเด็จฯ ถึงมรณภาพ พระสมเด็จที่ใส่บาตรสัดและกระบุง ตั้งไว้ที่หอสวดมนต์นั้น ได้ขนย้ายเอาไปไว้ในพระวิหารวัดระฆังฯ (ว่าเอาไว้บนเพดานพระวิหารก็มี)  โดยมิได้มีการพิทักษ์รักษากันอย่างไร เป็นต้นว่าประตูพระวิหารก็มิได้ใส่กุญแจ



แคล้วคลาด
ในปีหนึ่งเป็นเทศกาลสงกรานต์มีทหารเรือหลายคนมาเล่นการพนันที่หน้าวัด เช่น หยอดหลุม ทอยกอง เป็นต้น  จะเนื่องด้วยเหตุใดไม่ปรากฏ ทหารเรือเหล่านั้นได้เกิดวิวาทชกต่อยตีรันกันเป็นโกลาหล  ทหารเรือคนหนึ่งได้เข้าไปเอาพระสมเด็จในพระวิหารมาอมไว้องค์ ๑ แล้วกลับมาชกต่อยตีรันประหัตประหารกันต่อไป ที่สุดปรากฏว่า ทหารเรือคนนั้นไม่ได้รับบาดเจ็บแต่อย่างใด แม้รอยช้ำก็ไม่มี ส่วนทหารเรือคนอื่นๆ ต่างได้รับบาดเจ็บที่ร่างกายมีบาดแผลมากบ้างน้อยบ้างทุกคน


ไม่บาดเจ็บ
นายเปลื้อง  แจ่มใส  พูดว่า เมื่อครั้งรับราชการในกรมรถไฟ แผนกช่างเวลานั้นอายุราว๒๕ ปี คราวหนึ่งได้ขึ้นไปตรวจทางรถไฟสายเหนือเพิ่งสร้างเสร็จ ขณะยืนตรวจการอยู่ข้างท้ายรถ ถึงที่แห่งหนึ่ง (ตำบลบ้านแม่ปิน จังหวัดแพร่)  รถแล่นเข้าทางโค้ง เพราะความประมาทจึงพลัดตกจากรถลงไปนอนอยู่ข้างทาง (ว่าเวลาตกรู้สึกตัวเบามาก) แต่ไม่ได้รับบาดเจ็บอย่างใด เป็นเพียงเท้าขัดยอกบ้างเล็กน้อยเท่านั้น นายเปลื้องว่าที่ตัวไม่มีอะไร นอกจากพระสมเด็จ จึงเชื่อมั่นว่าที่ไม่เป็นอันตรายเป็นเพราะอานุภาพพระสมเด็จแน่นอน พระสมเด็จนั้นมีกิตติศัพท์เลื่องลือกันแพร่หลายสืบมา

บ่อน้ำมนต์สมเด็จฯ
ยังมีของขลังอย่างหนึ่งที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้ทำไว้ที่วัดระฆังฯ คือท่านได้ปลุกเสกลงเลขยันต์ศิลาไว้ ๓ ก้อน ก้อน ๑ อยู่ในสระหลังวัด (สระนี้ตื้นเขินนานแล้ว) ก้อน ๑ อยู่ในแม่น้ำตรงหน้าวัด (ห่างเขื่อนราว ๒ วา ประมาณว่าอยู่ตรงโป๊ะท่าเรือ)  ก้อน ๑  อยู่ที่สระกลางวัด ว่าน้ำในที่ทั้ง ๓ นั้นมีประสิทธิผลต่างกัน คือน้ำที่สระหลังวัดอยู่ยงคงกระพันชาตรี น้ำที่สระกลางวัดทางเมตตามหานิยม น้ำที่สระหน้าวัดทำให้เสียงไพเราะ (เหมาะกับนักร้อง) เมื่อจะตักน้ำที่หน้าวัดนั้น ให้ตักตามน้ำ (ห้ามตักทวนน้ำ) ถ้าน้ำนิ่งให้ตักตรงหน้าไป


ขจัดทุกข์โศก-นำโชคชัย
ตามปกติมีประชาชนนิยมน้ำมนต์ของท่านมาก มีผู้มาขอไม้เว้นแต่ละวัน น้ำมนต์ของท่านเมื่ออธิษฐานแล้วใช้ได้ตามความปรารถนา เป็นมหานิยมดีด้วย เวลาที่จะไปหาผู้ใด ผู้นั้นก็เมตตากรุณา ก่อนที่จะใช้น้ำมนต์ของท่านให้ได้สมความปรารถนา ควรจะทราบวิธีใช้ด้วยคือ เมื่อผู้ใดจะเอาน้ำมนต์ของหลวงพ่อไปใช้ควรหาเครื่องสักการบูชา เช่น ธูปเทียนดอกไม้บูชาเสียก่อนแล้วตั้งจิตให้แน่วแน่น้อมระลึกถึงองค์หลวงพ่อโต  ตลอดจนสมเด็จฯ (โต) ผู้สร้าง ให้ช่วยตามความปรารถนาแล้วนำน้ำมนต์ไปใช้ดื่มและอาบตามความประสงค์  ดังนั้น จะประสบแต่โชคชัย เคราะห์ร้ายก็อาจจะกลับกลายเป็นดีได้ ด้วยประการฉะนี้


ทำให้โรคหาย
อีกเรื่องหนึ่งเล่าว่า คราวหนึ่งมีชายคนหนึ่งอยู่บ้านตำบลไชโย จังหวัดอ่างทอง ป่วยเป็นโรคอหิวาต์ คืนวันหนึ่งฝันว่า เจ้าประคุณสมเด็จฯ มาบอกว่า “ยังไม่ตาย ให้ไปเอาพระสมเด็จฯ ที่บนเพดานพระวัดระฆังฯ มาทำน้ำมนต์กินเถิด  พวกญาติได้พยายามแจวเรือกันมาเอาพระสมเด็จไปอธิษฐานทำน้ำมนต์กินก็หายจากโรคภัยนั้น  ทั้ง ๒ เรื่องที่กล่าวมานี้ ว่าเป็นมูลให้เกิดคำเล่าลือถึงอภินิหารพระสมเด็จเป็นปฐม

อภินิหารของเจ้าประคุณสมเด็จฯ นับถือกันสืบมา จนเมื่อท่านถึงมรณภาพแล้ว ดังปรากฏว่ามีผู้คนไปนมัสการบนบานปิดทองรูปหล่อของท่านอยู่เนืองๆ เล่ากันว่าเพียงแต่ตั้งจิตระลึกถึงท่านก็ยังให้เกิดประสิทธิผลอย่างน่ามหัศจรรย์ดังจะยกมาอ้างเป็นอุทาหรณ์



หลวงพ่อช่วยด้วย
ครั้งหนึ่ง เจ้าคุณราชธรรมภาณี (ลมูล สุตาคโม) วัดระฆังฯ นักเทศน์นามอุโฆษ เมื่อยังเป็นเปรียญได้ไปเทศน์ที่วัดโคกกุ่ม  หลังสถานีบ้านหมอ แขวงจังหวัดสระบุรี กลับไม่ทันรถไฟ  ต้องเดินมาลงเรือเมล์โดยสารที่ท่าเรือ พอย่างเข้าชานสถานีท่าเรือ มีชายคนหนึ่งในเครื่องแต่งกายชุดดำเดินออกจากที่กำบังตรงเข้ามาขวางทาง (สังเกตไม่ได้ว่าจะมีอาวุธหรือไม่เพราะเป็นเวลามืดค่ำ)    ถามว่า “ท่านจะไปไหน?”  ตอบว่า “จะไปหาสมภารวัดหนองแห้ว” (ซึ่งอยู่ติดต่อกับเขตสถานี)  ถามอีกว่า “ไปทำไม?”  ตอบว่า “เพราะรู้จักคุ้นเคยกัน”  ทันใดนั้น ท่านได้ระลึกถึงท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ขอให้ช่วยคุ้มกันภัย  ท่านว่าแล้ว ชายคนนั้นก็ออกเดินหลีกทางไปโดยมิได้พูดอะไร

อีกคราวหนึ่ง (ราว พ.ศ. ๒๔๘๕) ท่านไปเทศน์ที่วัดอินทาราม (ต.ทางช้าง  อ.บางบาล) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  ให้เรือจ้างลงที่แพหน้าวัดสุวรรณเจดีย์ (ต.หัวเวียง  อ.เสนา  ห่างวัดอินทารามราว ๒ ก.ม.)  ด้วยหมายจะขึ้นไปพักที่วัดนั้นก่อน แต่ขึ้นวัดไม่ได้เพราะน้ำท่วม  เวลานั้นดึกมากผู้คนนอนหลับกันหมดแล้วทั้งฝนก็ตกพรำๆ ท่านมิรู้ที่จะทำอย่างไรเลยนั่งพักอยู่บนตุ่มปูนที่ข้างแพนั้น สักครู่มีชาย ๒ คนพายเรือทวนน้ำขึ้นไปทางเหนือ ท่านจึงเอาไฟฉายส่องที่ตัวท่านเพื่อให้รู้ว่าเป็นพระพร้อมกับร้องบอกให้ช่วยรับส่งขึ้นที่วัด  ชายสองคนนั้นจะได้ยินหรือไม่ไม่ทราบ แต่หาได้นำพาต่อคำขอร้องของท่านไม่ คงเร่งรีบพายเรือกันต่อไป ท่านจึงตั้งจิตระลึกถึงเจ้าประคุณสมเด็จว่า “เวลานี้ลูกกำลังลำบาก ขอให้หลวงพ่อช่วยลูกด้วย”  ท่านว่า น่าประหลาดนักที่ต่อมาสัก ๔-๕ นาที ชาย ๒ คนนั้น ได้พายเรือกลับมารับท่านส่งขึ้นวัดสุวรรณเจดีย์ตามประสงค์



สมเด็จฯ (โต) ถึงจะห้ามได้
พระอาจารย์ขวัญ วิสิฏฺโฐ เล่าเรื่องหนึ่งว่า คราวหนึ่งมีงานฉลองสุพรรณบัฏสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ม.ร.ว.เจริญ  อิศรางกูร ณ อยุธยา) ที่วัดระฆังฯ  ในลานนั้นมีพระอาจารย์มาประชุมกันหลายรูป พอตกบ่ายฝนตั้งเค้ามืดครึ้ม เสมียนตราเหมือน บ้านหลังตลาด บ้านขมิ้น จังหวัดธนบุรี ผู้ที่มีความเคารพนับถือในองค์เจ้าประคุณสมเด็จฯ มาก ได้กล่าวขึ้นในที่ประชุมว่า ท่านผู้ใดสามารถห้ามไม่ให้ฝนตกได้ ที่ประชุมต่างนิ่งไม่มีใครว่าขานอย่างไร

เสมียนตราเหมือนกล่าวต่อไปว่า “สมเด็จฯ โต ถึงจะห้ามฝนได้”  ดังนี้แล้วผินหน้าไปทางรูปหล่อเจ้าประคุณสมเด็จฯ (รูปหล่อเจ้าประคุณสมเด็จฯ นั้น ปัจจุบันประดิษฐาน ณ วิหารหน้าพระอุโบสถวัดระฆัง) จุดธูปเทียนบูชาสักการะตั้งสัตยาธิษฐานขออย่าให้ฝนตกที่วัด ว่าวันนั้นฝนตกเพียงแค่โรงหล่อหาตกถึงที่วัดระฆังฯ ไม่ คนทั้งหลายต่างเห็นเป็นอัศจรรย์ยิ่งนัก



หามเขาดีๆ
ครั้งหนึ่ง ท่านตั้งขรัวตาขุนเณรเป็นพระวัดชีประขาวเป็นที่พระอุปัชฌาย์ เมื่อแห่จากวัดมาวัดไชโยแล้ว นั่งพร้อมกันบนอาสน์สงฆ์  สมเด็จฯ โต อุ้มไตรเข้าไปกระแทกลงที่ตักขรัวตาขุนเณรแล้วออกวาจาว่า ฉันให้ท่านเป็นอุปัชฌาย์หนาจ๋า พระอื่นๆ ก็เสกชยันโตโพธิยา  ขรัวตาทอง วัดเกตุไชโยเล่าว่า ท่านได้ทันเห็นสมเด็จฯ ฝังตุ่มใหญ่ไว้เหนือพระโตแล้วเอาเงินใส่ไว้ ๑ บาท เอากระเบื้องหน้าวัดปิดหลุมไว้ ครั้งหนึ่ง ท่านขึ้นไปตรวจงานที่วัดเกตุไชโย  ท่านป่าวร้องชาวบ้านมาช่วยกันทำบุญเลี้ยงพระบนศาลาท่านแจกทานของท่านคนละเหรียญฬศ ๑  ในรัชกาลที่ ๔ กับผ้าขาวคนละฝ่ามือจนทั่วกันหมดทุกคน  ครั้นตอนสุดที่พระแล้วท่านขึ้นไปที่วัดเกตุไชโย สัปบุรุษเอาแคร่คานหามลงไปรับท่าน  ครั้นท่านนั่งบนแคร่แล้ว สองมือเหนี่ยวแคร่ไว้แน่น ปากก็ว่าไปไม่หยุดว่า หามเขาดีๆ จ๊ะ อย่าให้เขาตกหนาจ๋า เขาเป็นของหลวงหนาจ๋า


อย่าอวดกล้ากับผี อย่าอวดดีกับตาย
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ท่านทำอะไรแปลกๆ ทำขันๆ พูดแปลกหู แต่พูดแล้วทำแล้วไม่ซ้ำแบบใคร เป็นไปได้ปรากฏทันตาเห็น ทันหูได้ยิน แจ๋วๆ แว่วๆ อยู่จนทุกวันนี้ เมื่อการสร้างพระเสร็จถวายเป็นวัดหลวงแล้ว ทรงรับเข้าทะเบียนแล้ว ท่านอยู่ในกรุงเทพฯ ก็ไม่มีเวลาว่างเปล่าสักวันเดียว มีผู้คนไปมาหาสู่ไม่ขาดสาย  จนท่านต้องนำปัสสาวะสาดกุฏิบ้าง เอาทาหัวบ้างจนหัวเหลือง ต้องมาพักผ่อนอารมณ์ในป่าช้าผีดิบ วัดสระเกศที่สำราญของท่านมาก จนพวกวัดสระเกศหล่อรูปท่านไว้ ปรากฏจนทุกวันนี้

กุฏิเก่าเขาสร้างถวายท่านหลังหนึ่ง ท่านเขียนภาษิตไว้ในกุฏินี้บทหนึ่งยาวมาก จำได้บ้าง ๒ วรรค ท่านว่า “อย่าอวดกล้ากับผี อย่าอวดดีกับตาย” บางวันก็ไปผ่อนอารมณ์อยู่ในวัดบางขุนพรหม  มีคนแถบนี้นิยมนับถือท่านมาก บางรายถวายที่สวนเข้าเป็นที่วัดก็มากเต็มไปทั้ง ๔ ทิศ  ทางตะวันตกถึงแม่น้ำ ซึ่งเป็นวัดทั้ง ๒ อยู่ในบัดนี้ ฝั่งเหนือจดคลอง ตะวันออกก็เป็นพรมแดนกับบ้านพาน บ้านหล่อพระนคร เป็นวัดกลางสวน  ท่านจึงสร้างพระ คิดจะสร้างพระปางโปรดยักษ์ตนหนึ่งในป่าไม้ตะเคียน ท่านคิดจะทำพระนั่งบนตอไม้ตะเคียนใหญ่ ท่านจึงเตรียมอิฐ ปูน ทราย ช่างก่อ แต่เป็นการไม่เร่ง ท่านก่อตอไม้ขึ้นก่อนแล้วก่อขาเป็นพระลำดับขึ้นไป



พระพุทธบาทลพบุรีของแท้หรือ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ขึ้นเถลิงถวัลยราชสืบสันตติวงศ์แล้ว สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) จึงทำพิมพ์ ๕ ชั้น ๗ ชั้น ๙ ชั้น ขึ้นอีก  ตั้งใจว่าจะถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ พิมพ์แล้วครั้งก่อนไปแอบบรรจุไว้ในพระเกตุไชโยหมด  แล้วพิมพ์พระ ๕ ชั้น ๗ ชั้น ๙ ชั้น รวมกันให้ได้ ๘๔,๐๐๐ เท่ากับพระธรรมขันธ์ ที่กำลังพิมพ์อยู่  วิธีทำเช่นครั้งก่อน แปลกแต่เสกข้าวในบาตรใส่ด้วย จานหนังสือใส่บาตรไปด้วย ไปบิณฑบาตก็จานหนังสือไปด้วย แล้วนำผลลงตัวเขียนยันต์  ตำปูนเพชรไปทุกวันๆ  กลางวันไปก่อเท้าพระ วัดบางขุนพรหม  เจริญทิวาวิหารธรรมด้วย  ดูช่างเขียนออกแบบกะส่วนให้ช่างเขียนๆ ประวัติของท่านที่ผ่านมาขึ้นตั้งแต่ต้นจนจบ  ตลอดจนท่านไปนมัสการพระพุทธบาทตามฤดูเสมอ  คราวหนึ่งทูลกระหม่อมพระ คือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ยังทรงผนวชอยู่วัดสมอราย (วัดราชาธิราช)  ได้ทรงซักถามพระมหาโตว่า ท่านเชื่อพระพุทธบาทลพบุรีเป็นของแท้หรือ   พระมหาโตทูลว่า เป็นเจดีย์ที่น่าประหลาดเป็นที่ไม่ขาดสักการะ


สิ้นสนุก
ครั้นถึงปีมะโรง สัมฤทธิศก จุลศักราช ๑๒๓๐ พ.ศ. ๒๔๑๑ ณ วันพฤหัสบดี เดือน ๑๑ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เวลายามกับ ๑ บาทนาฬิกา  สมเด็จปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าฯ เสด็จสวรรคต พระชนมายุได้ ๖๔ พรรษา เถลิงถวัลยราชได้ ๑๗ ปี ๖ เดือน กับ ๑๔ วัน  เวลานั้นอายุเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้ ๙๒ ปี  เป็นสมเด็จฯ มาได้ ๓ ปีเศษ

ครั้นเมื่อเจ้าประคุณสมเด็จฯ ทราบแน่ว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ สวรรคตแล้ว ท่านเดินร้องไห้รอบวัด เดินบ่นไปด้วยร้องไห้ไปด้วยว่า สิ้นสนุกแล้วๆ ครั้งนี้ๆ สิ้นสนุกแล้ว เดินร้องไห้โฮๆ รอบวัดระฆังฯ ดังจนใครๆ ได้ยิน



มรณภาพ
ครั้นถึง ณ วันเดือน ๕ ปีวอก จัตวาศก เป็นปีที่ ๕ ในรัชกาลที่ ๕ กรุงเทพมหานคร  สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ไปดูการก่อสร้างพระโต วัดบางขุนพรหมใน  อาพาธด้วยโรคชรา ๑๕ วัน ก็ถึงมรณภาพบนศาลาใหญ่ เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๑๕ (จุลศักราช ๑๒๓๔)  แรม ๒ ค่ำ เดือน ๘ (ต้น) รศ. ๙๑  เวลา ๒๔.๐๐ น.  สิริรวมชนมายุ ๙๖ ปีบริบูรณ์  ๗๕ พรรษา  เป็นเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตารามมาได้ ๒๑ ปี รับตำแหน่งที่ สมเด็จพระพุฒาจารย์ได้ ๘ ปี  ท่านได้รับพระราชน้ำสรงศพ  ไตรครอง  ผ้าขาวเย็บถุง  โกศ  กลองชนะ  อภิรมย์  สนมซ้าย  ฝีพาย  เรือตั้งบรรทุกศพ

เมื่อเจ้านาย ขุนนาง อุบาสก อุบาสิกา ประชาชนชาวบ้านบางขุนพรหมและปวงพระสงฆ์ สรงน้ำเจ้าประคุณสมเด็จฯ แล้ว สนมก็มัดตราสังศพบรรจุในโกศไม้ ๑๒ เสร็จแล้วก็ยกลงมาที่ท่าริมแม่น้ำเจ้าพระยา  ฝีพายหลวงพายลงมาตามลำแม่น้ำ เรือตามก็ตามลายแม่น้ำส่งศพกระทั่งถึงท่าวัดระฆังฯ สนามเชิญโกศศพขึ้นบนกุฏิเจ้าประคุณสมเด็จ อยู่แถบข้างท้ายวัดริมคลองคูวัดระฆังฯ แล้วตั้งศพบนฐานเบ็ญจาสองชั้นมีอภิรมย์ ๖ คน มีกลองชนะ ๒๓ จ่าปี่ จ่ากลองพร้อม มีพระสวดพระอภิธรรม มีเลี้ยงพระ ๓ วัน เป็นของหลวง

** เรื่องเกี่ยวกับการพระราชทานเพลิงศพเจ้าประคุณสมเด็จฯ ยังค้นไม่พบจดหมายเหตุ ได้ฟังแต่คำบอกเล่าว่า พระราชทานเพลิงศพที่เมรุปูนวัดอรุณราชวราราม และว่าสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงได้เสด็จไปพระราชทานเพลิง พอเสด็จถึงท่าราชวรดิษฐ์ ฝนตกหนัก จึงโปรดฯ ให้สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยาบำราบปรปักษ์ แต่ครั้งยังดำรงพระยศเป็นกรมขุนเสด็จแทนพระองค์


ข้อมูล (รวบรวมและเรียบเรียง) จาก : -
๑. หนังสือ อักขรานุกรมประวัติศาสตร์ไทย (โต, สมเด็จพระพุฒาจารย์-บุคคล),  กรมศิลปากร จัดพิมพ์เผยแพร่เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๓๘
๒. หนังสือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับงานพระพุทธศาสนา, กรมการศาสนา  กระทรวงวัฒนธรรม จัดพิมพ์เผยแพร่เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๔๗ 
๓. หนังสือ "ประวัติเจ้าประคุณ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต  พฺรหฺมรํสี) จัดพิมพ์โดยวัดระฆังโฆสิตาราม เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๕๑
๔. หนังสือ ๔ ยอดอริยะ ๔ ภาค  โดย เวทย์  วรวิทย์, สำนักพิมพ์ร่มฟ้าสยาม,  กาญจบุรี



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 31 กรกฎาคม 2557 12:33:48 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5376


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #10 เมื่อ: 31 กรกฎาคม 2557 12:46:52 »

.

http://www.thaprachan.com/upload/shop_product/07-07-12-10-01-03-22.jpg
ปริศนาชาติกำเนิด และญาณวิเศษสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

พระบูชาสมเด็จโตจุดใต้เข้าวัง สร้างเป็นอนุสรณ์ ๑๐๘ ปีวัดระฆัง
ภาพจาก : เว็บไซต์ท่าพระจันทร์ดอทคอม

สมเด็จโตจุดไต้
ผมได้หนังสือดีๆ เป็นของขวัญวันปีใหม่ จากเครืออมรินทร์ มาเต็มกระเช้าใหญ่ เล่ม ลำธาร ริมลานธรรม ๒ รวมเกร็ดชีวิตและปฏิปทาของพระดีพระแท้ เขียนโดยพระไพศาล วิสาโล ขายดีจนพิมพ์เป็นครั้งที่ ๖

สมัยที่ขรัวโต วัดระฆัง ยังมีสมณศักดิ์เป็นพระเทพกวี  ได้รับนิมนต์ไปเทศน์ที่จวน สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)

สมเด็จเจ้าพระยาฯ พระองค์นี้ รู้กันดีท่านมีอำนาจมาก แม้แต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ทรงเกรงใจ

ขึ้นธรรมมาสน์แล้ว ให้ศีลแล้ว พระเทพกวีก็เริ่มแสดงธรรมเทศนา ขุนนางใหญ่น้อย และพวกที่มาจากหัวเมือง พากันหมอบกับพื้นฟังธรรม ตรงข้ามกับสมเด็จเจ้าพระยาฯ ที่นั่งเอกเขนกอยู่บนเก้าอี้ ไขว่ห้างรินน้ำชา

พระเทพกวี...เหลือบมาเห็น ก็เปลี่ยนเรื่องเทศน์ เป็นบทเป็นกลอน “สัมมามัวรินกินน้ำชา มิจฉาหมอบก้มประนมมือ”

สมเด็จเจ้าพระยาฯ รู้ตัวว่าสมเด็จเทศน์แขวะ ก็โกรธ ลุกขึ้นจากเก้าอี้ เดินหายเข้าไปในเรือน ส่วนพระเทพกวี ก็ไม่น้อยหน้า เลิกเทศน์ทันที ลุกขึ้นจากธรรมาสน์ กลับวัดระฆัง

ร่ำลือกันอยู่นาน ว่าสมเด็จโตวัดระฆัง กับสมเด็จเจ้าพระยาฯ ไม่กินเส้นกัน

เวลาผ่านไป ปลายรัชกาลที่ ๔ พระเทพกวี ได้เลื่อนเป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ ถึงตอนนั้นท่านก็หง่อมมากแล้ว เพราะอายุปาเข้าไปถึง ๗๘ ปี

สามปีต่อมา รัชกาลที่ ๔ สวรรคต พระราชโอรส ขึ้นครองราชย์ เป็นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะที่ทรงมีพระชนมายุเพียง ๑๕ พรรษา

พระเจ้าอยู่หัวพระองค์ใหม่ ยังทรงพระเยาว์ อำนาจตัดสินใจในการบริหารราชการแผ่นดิน อยู่ในมือสมเด็จเจ้าพระยาฯ ซึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการ

มีข่าวลือ จะมีการก่อกบฏ ชิงอำนาจจากพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ใหม่

วันหนึ่ง เวลากลางวันแสกๆ สมเด็จพระพุฒาจารย์โต ก็จุดไต้ถือตาลปัตรไปที่จวนสมเด็จเจ้าพระยาฯ เดินวนอยู่รอบบ้าน

สมเด็จเจ้าพระยาฯ รู้ ก็เดินออกมา ถาม “ท่านเจ้าคุณจุดไต้ทำไม”

“อาตมภาพ ได้ยินว่า ทุกวันนี้ แผ่นดินมืดมัวนัก” สมเด็จโตตอบ “ได้ยินข่าวว่า จะมีคนคิดร้ายจะเอาแผ่นดิน ไม่ทราบว่าเท็จจริงจะเป็นเช่นไร ถ้าแม้เป็นความจริงแล้วไซร้ อาตมภาพก็ใคร่จะขอบิณฑบาตเขาไว้ เสียสักครั้ง”

“โยมว่า ไม่สู้มืดดอก เจ้าคุณ” สมเด็จเจ้าพระยาฯ ตอบ “โยม มีใจแน่นแฟ้นในพุทธศาสนาแน่นอนมั่นคง โยมทะนุบำรุงแผ่นดิน ตั้งใจประคับประคองสนองพระเดชพระคุณโดยตรงสุจริต อยู่เป็นนิตย์”

ขอเจ้าคุณอย่าปริวิตกให้ยิ่งกว่าเหตุ

สมเด็จพระพุฒาจารย์โต ดับขันธ์เมื่อปี ๒๔๑๕ สมเด็จเจ้าพระยาฯ ทิวงคต ปี ๒๔๒๕

เวลาได้พิสูจน์ว่า สมเด็จเจ้าพระยาฯ ท่านมีวาจาสัจ ไม่ได้ทำปฏิวัติยึดแผ่นดิน ตามวิถีของผู้มีอำนาจมากทั่วๆ ไป แต่ประการใด

บ้านเมืองเราแต่โบราณ เวลามีปัญหา สมัยรัตนโกสินทร์ มีสมเด็จโต...สมัยอยุธยาพม่ามาประชิดติดเมือง มหานาคก็เกณฑ์ชาวบ้านขุดคลองช่วย...

ส่วนบ้านเมืองสมัยใหม่ พระท่านก็มีใจช่วยเหมือนกัน...เพียงแต่ปฏิกิริยาที่พระเจอ ไม่ใช่ดอกไม้ธูปเทียนบูชา ฯลฯ


ที่มา : คอลัมน์ชักธงรบ "สมเด็จโตจุดไต้" โดย กิเลน ประลองเชิง หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ



สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)
เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในต้นรัชกาลที่ ๕ ระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๑๑-๒๔๑๖
(ว่าราชการแผ่นดินไปจนกว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
จะมีพระชนมายุพอที่จะผนวชได้ คือ ๒๐ พรรษา)
ภาพจาก : เว็บไซต์ วิกิพีเดียสารานุกรมเสรี
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 31 กรกฎาคม 2557 17:01:01 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
คำสอนสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต)พรหมรังสี
ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน
sometime 2 5392 กระทู้ล่าสุด 10 เมษายน 2553 17:01:07
โดย sometime
กุศโลบายของสมเด็จ(โต)พรหมรังสี
ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน
sometime 0 3964 กระทู้ล่าสุด 12 มิถุนายน 2553 13:22:31
โดย sometime
ปริศนาธรรมของสมเด็จ{โต}พรหมรังสี ตอน พิจาราณา
ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน
時々๛कभी कभी๛ 1 4224 กระทู้ล่าสุด 11 กันยายน 2553 10:31:04
โดย เงาฝัน
ปริศนาธรรมของสมเด็จ{โต}พรหมรังสี ตอน โทโส
ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน
時々๛कभी कभी๛ 0 2318 กระทู้ล่าสุด 11 กันยายน 2553 09:10:17
โดย 時々๛कभी कभी๛
คติธรรมคำสอน ของ สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี )
ธรรมะจากพระอาจารย์
เงาฝัน 1 5969 กระทู้ล่าสุด 24 พฤษภาคม 2555 16:28:04
โดย เงาฝัน
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 4.851 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 28 กุมภาพันธ์ 2567 06:19:25